เมื่อวันที่ 18 ก.ย. 55 ท่านกงสุลไทยที่สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโคลัมโบ ประเทศศรีลังกากำลังทำงานอยู่ดีๆ ก็มีอันต้องวางมือเมื่อจู่ๆ ตำรวจแขกบุกมาพบถึงสถานทูตโดยมิได้มีการนัดหมาย พร้อมกับนำตัวหญิงไทย 2 คน มาด้วย สอบถามได้ความว่า ตำรวจไปจับหญิงไทยทั้งสองมาจากร้านนวดแห่งหนึ่งและต้องการสอบปากคำแต่สื่อสารกันไม่รู้เรื่องจึงมาขอให้สถานทูตช่วยเป็นล่ามให้
ท่านกงสุลก็จัดหาล่ามมาให้ตามที่คุณตำรวจแขกร้องขอ และถือโอกาสนั่งฟังการสอบปากคำด้วยซะเลยจากการสอบปากคำดังกล่าวของตำรวจได้ความว่า หญิงไทยทั้งสองคนมีอาชีพเป็นหมอนวดแผนไทย แต่เดิมนั้นได้เดินทางไปทำงานอยู่เกาะมัลดีฟส์ แต่ทำอยู่ได้ไม่นานเกิดเหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมืองขึ้นที่นั่น นายจ้างเกรงว่าหญิงไทยทั้งสองจะไม่ปลอดภัยจึงส่งตัวกลับประเทศไทยผ่านทางกรุงโคลัมโบ ประเทศศรีลังกา นายจ้างชาวมัลดีฟส์ก็ยังหวังดีแนะนำให้หมดนวดไทยทั้งสองว่าถ้ายังไม่อยากกลับเมืองไทยก็อาจจะลองไปทำงานที่ร้านนวดในกรุงโคลัมโบซึ่งรู็จักกัน นายจ้างชาวศรีลังกาจะจัดการทุกอย่างให้ทั้งเรื่องวีซ่า ที่พัก อาหารการกิน หญิงไทยทั้งสองจึงตกลงทำงานที่ต่อที่ศรีลังกา แทนที่จะกลับเมืองไทย
พอมาถึงกรุงโคลัมโบ ประเทศศรีลังกา นายจ้างคนใหม่ก็มารับที่สนามบินและพาไปที่ร้านเพื่อเริ่มทำงาน
ที่ร้านแห่งใหม่นี้ หญิงไทยทั้งสองบอกว่าไม่ค่อยมีลูกค้ามากนัก บางวันก็ไม่มีผู้มาใช้บริการเลย สภาพของร้านก็คือเมื่อมีลูกค้ามาใช้บริการจะต้องติดต่อกับพนักงานต้อนรับที่ชั้นล่างก่อน จากนั้นจึงจะขึ้นมาใช้บริการที่ห้องชั้นบนโดยจะมีห้องแยกไว้เป็นสัดส่วน จนวันหนึ่งมีชายสองคนมาใช้บริการในเวลาไล่เลี่ยกัน คนหนึ่งเข้าไปในห้องแล้วก็ดึงเสื้อผ้าของหมอนวดไทยคนหนึ่งจนล่อนจ้อน หมอนวดไทยตกใจทำอะไรไม่ถูก แขกหื่นคนนั้นยังได้ใช้เท้าเขี่ยเสื้อผ้าของเธอไปที่มุมห้อง ระหว่างกำลังตะลึงอยู่นั่นเอง ลูกค้าก็เดินไปเปิดประตูห้องและมีคนเข้ามาถ่ายรูปของเธอตอนกำลังเปลือยไว้ด้วย พอถ่ายจนหนำใจแล้วจึงได้มีตำรวจหญิงคนหนึ่งนำเสื้อผ้าเข้ามาให้
ในเวลาเดียวกันนั้นเองอีกห้องหนึ่ง หมอนวดไทยอีกรายหนึ่งกำลังบริการลูกค้าอยู่ประมาณ 15 นาที ลูกค้าก็เสนอเงินเพื่อขอใช้บริการทางเพศแต่หมอนวดไทยปฏิเสธ หลังจากนั้นมีตำรวจประมาณ 10 นายบุกเข้าไปในห้องพร้อมอาวุธปืนและทำการจับกุม
ท่านกงสุลนั่งฟังการสอบปากคำอยู่นานสองนานเริ่มพบว่าเรื่องนี้มีสิ่งผิดสังเกตไม่น่าจะเป็นการจับกุมตามปกติ พอตำรวจตั้งคำถามกับหญิงไทยทั้งสองว่าต้องการจะเรียกร้องอะไรจากนายจ้างบ้างหรือไม่ ท่านกงสุลก็เริ่มพอจะเข้าใจอะไรบางอย่างจึงได้เลียบๆ เคียงๆ ถามทางเจ้าของร้านซึ่งตำรวจพามาด้วย เจ้าของร้านบอกว่า ร้านของตนตั้งอยู่ตรงข้ามกับบ้านพักของนายตำรวจใหญ่คนหนึ่ง ซึ่งอาจจะมีเรื่องอะไรที่ไม่พอใจจึงหาทางกลั่นแกล้ง ทั้งๆ ที่ทางร้านก็เปิดดำเนินการโดยถูกกฎหมายมีใบอนุญาตถูกต้อง ขณะนี้ ร้านของตนก็ถูกสั่งปิดและศาลได้ยึดหนังสือเดินทางของหญิงไทยทั้งสองไว้
ได้ฟังแบบนี้ ท่านกงสุลจึงถึงบางอ้อ ที่แท้เป็นเรื่องของแขกกลั่นแกล้งกันเองโดยใช้หมอนวดไทยเป็นเครื่องมือ ก็เลยต้องหาทางช่วยคนไทยไว้ก่อน โดยขั้นแรกได้ขอให้ทนายความช่วยนำหนังสือเดินทางของทั้งสองไปขอต่อวีซ่าเพื่อให้อยู่ในศรีลังกาได้อย่างถูกต้องและจะได้ไม่มีปัญหาเมื่อเวลาเดินทางกลับประเทศไทย ส่วนเรื่องคดีความนั้นทั้งสองต้องขึ้นศาลอีกหลายครั้ง ระหว่างนี้ นายจ้างก็ใจดี ให้ที่พักและอาหาร แต่ก็ไม่ได้ทำงาน
นี่ก็เป็นอีกหนึ่งชะตากรรมของหมอนวดไทยในต่างแดน สองคนนี่นึกว่าจะโชคดีที่เจอนายจ้างดีทั้งสองครั้ง แต่แล้วก็ต้องแพ้ภัยที่ตัวเองไม่ได้ก่อขึ้น ตอนแรกทำงานอยู่ดีๆ ก็เกิดเหตุความไม่สงบทางการเมือง ต้องหนีเอาตัวรอด พอได้ที่ปลอดภัยได้ทำงานใหม่แล้วก็ต้องมาเจอกับภัยจากความขัดแย้งทางผลประโยชน์ของผู้มีอิทธิพลอีก หนีเสือปะจระเข้แท้ๆ นี่ก็ยังไม่รู้ชะตากรรมว่าศาลท่านจะเอายังไง ต้องถูกปรับติดคุกติดตะรางหรือเปล่าก็ยังไม่รู้ แต่อย่างไรก็ตาม ทางสถานทูตกำลังติดตามดูแลอยู่แล้วไม่ต้องห่วง ยังไงก็ไม่ให้คนไทยต้องเดือดร้อนโชคร้ายไปมากกว่านี้
ที่มา : สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโคลัมโบ
วันศุกร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2555
วันอังคารที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2555
คิดจะหาสามีต่างชาติ อย่าเชื่อนายหน้า/แม่สื่อมากเกินไป
ความนิยมในการหาสามีต่างชาติของสาวไทยยังฮิตไม่เลิก ยิ่งในโลกยุคไซเบอร์การจับคู่แต่งงานข้ามโลกกลายเป็นเรื่องง่ายกว่าสั่งพิซซ่าซะอีก ส่วนสาวคนไหนไม่มีความรู้เรื่องคอมพิวเตอร์ พูดภาษาอังกฤษไม่ได้ ก็ไม่ใช่ปัญหาเพราะจะมีบรรดาพ่อสื่อแม่ชัก รวมทั้งบริษัทนายหน้ารับจัดหาคู่ให้ การแต่งงานใช้ชีวิตคู่ของมนุษย์ที่ควรจะมีพื้นฐานจากความรัก ความเมตตา ความเข้าใจ กลับกลายเป็นการแต่งงานเพื่อผลประโยชน์ส่วนตัวไปหมดแล้ว และเมื่อพบว่าไม่สมประโยชน์หรือหมดประโยชน์ก็ไม่พ้นต้องโบกมืออำลาหาได้มีเยื่อไยอันใดหลงเหลือ เหมือนกับสาวใหญ่วัยดึกชาวโคราชรายนี้
กระทรวงการต่างประเทศได้รับการร้องขอความช่วยเหลือจากหนุ่มโคราชวัยเก๋าส์ อายุ 66 ปี บอกว่าหลานสาวของตนอายุ 51 ปี ได้รับการชักชวนจากคนบ้านเดียวกันให้ไปแต่งงานกับชายชาวโครเอเชีย หลานสาวได้โทรศัพท์มาแจ้งว่าขณะนี้ถูกกักขังอยู่ในอพาร์ทเม้นต์ของฝ่ายชายในกรุงซาเกร็บ เมืองหลวงของประเทศโครเอเชีย
ทางกระทรวงการต่างประเทศก็รีบแจ้งให้สถานทูตไทยที่กรุงบูดาเปสต์ที่มีเขตอาณาดูแลประเทศโครเอเชียด้วยให้ดำเนินการช่วยเหลือหญิงไทยรายนี้โดยทันที แต่พอสถานทูตตรวจสอบเข้าไปเหตุการณ์กลับไม่ได้เลวร้ายอย่างที่ได้รับแจ้ง แต่กลายเป็นการที่ฝ่ายหญิงไทยวัยดึกทนต่อสภาพความเหงาไม่ไหวและไม่ได้รับผลประโยชน์ตามที่ตนคาดหวังเอาไว้
หญิงไทยจากแดนที่ราบสูงบอกกับเจ้าหน้าที่สถานทูตว่า ตนเดินทางไปประเทศโครเอเชียเพื่อแต่งงานกับชายโครเอเชียคนหนึ่งซึ่งมีอายุถึง 71 ปี แล้ว โดยการแนะนำจากเพื่อนบ้านที่มีบุตรสาวแต่งงานกับชาวต่างชาติเช่นเดียวกันและทำธุรกิจจัดหาคู่ให้คนไทยที่ประสงค์จะแต่งงานกับชาวต่างชาติในยุโรป
เคยมีการดูตัวกันมาแล้วโดยฝ่ายชายเดินทางมาประเทศไทยถึง 2 ครั้งเพื่อดูตัว และได้ตกลง "เลือก" ซึ่งกันและกัน
จากนั้นก็พากันเดินทางเข้าสู่เรือนหอรอรักที่บ้านพักของฝ่ายชายที่ประเทศโครเอเชีย พอไปถึงฝ่ายหญิงไทยไม่สามารถปรับตัวกับสภาพแวดล้อมได้ ที่พักของฝ่ายเจ้าบ่าวที่วาดฝันว่าจะเป็นคฤหาสน์ใหญ่โตเหมือนบ้านทรายทองกลายเป็นเพียงอพาทเม้นต์แคบๆ อึดอัด ไม่สะดวกสบายเหมือนบ้านปลายนาอันกว้างขวางโอ่โถงโล่งสบายที่โคราชบ้านเอง อาหารการกินก็บ่แซบถูกปาก ตกเย็นแดดร่มลมตกก็ไม่รู้จะไปคุยกับใครเพราะพูดภาษาบ้านเขาไม่ได้เลย ฝ่ายชายก็ไม่ได้ร่ำรวยอย่างที่คิด เป็นเพียงคนแก่ที่รับเงินสวัสดิการกระเบียดกระเสียนชักหน้าไม่ถึงหลัง เจอเข้าแบบนี้ ความฝันของสาวไทยวัยใกล้ฝั่งถึงกับมลายสลายไปพร้่อมกับความเหงาจับจิตจับใจที่เข้ามาแทนที่จึงได้โทรศัพท์ข้ามขอบฟ้ามาที่เมืองไทยหวังจะได้ระบายความเซ็งให้ที่บ้านได้รับรู้บอกว่าที่พักที่โครเอเชียเล็กและอึดอัดเหมือนอยู่ในกรง ทางบ้านที่เมืองไทยฟังไม่ได้ศัพท์แล้วต๊กกะใจนึกว่าญาติของตัวถูกหน่วงเหนี่ยวกักขังอยู่ในกรงลำบากน่าเวทนา จึงได้รีบแจ้นมาขอให้ทางการช่วยเหลือจากทางการ ( เล่นเอาข้าราชการบัวแก้ว โตะ จาย โหมะ เลย )
พอเห็นว่ามีสถานทูตเข้าไปช่วยตรวจสอบ หญิงไทยรายนี้จึงถือโอกาสขอให้ช่วยเจรจากับฝ่ายชายว่าตนไม่ประสงค์จะแต่งงานอยู่กินกันฉันท์สามีภรรยาอีกต่อไปแล้วเพราะดูแล้วว่าหนุ่มโครเอเชียคนนี้คงไม่มีเงินให้ตนนำไปใช้หนี้สินที่เมืองไทยได้ และจะขอกลับประเทศไทยโดยเร็วที่สุด สถานทูตก็ช่วยเจรจาให้ซึ่งทางฝ่ายชายก็ไม่ได้ว่าอะไร บอกแต่เพียงว่าที่ตกลงใจแต่งงานกับหญิงไทยรายนี้เนื่องจากตนอายุมากแล้วต้องการคนดูแล และตนก็ไม่ได้ร่ำรวยเงินถุงเงินถังเหมือนชายกลางแห่งบ้านทรายทองจึงต้องใช้จ่ายอย่างประหยัดเพราะรายได้จากเงินสวัสดิการคนชราไม่ได้มากมายอะไร ส่วนโทรศัพท์ก็ไม่ได้ห้ามใช้เพียงแต่ขอให้ใช้น้อยๆ หน่อยเพราะมันแพง และถ้าฝ่ายเจ้าสาวอาวุโสจะกลับเมืองไทยก็ไม่ขัดข้องอันใด ตั๋วเครื่องบินก็มีแล้วขออัญเชิญกลับบ้านได้ตามอัธยาศรัย
เมื่อการณ์กลายกลับเป็นเยี่ยงนี้ สถานทูตต้องเสียเวลาเข้าไปดูแลจัดการ จึงต้องให้สาวใหญ่รายนี้ชดใช้กันหน่อย ก็เลยขอว่าเมื่อกลับถึงโคราชบ้านเองแล้ว ให้ช่วยบอกเล่าเรื่องราวนี้ให้กับคนที่หมู่บ้านได้รับรู้ว่า การแต่งงานกับคนต่างชาติโดยหวังจะได้เงิน เป็นความคิดที่ผิด คนต่างชาติไม่ได้ร่ำรวยทุกคน หากจะแต่งงานขอให้รอบคอบ คิดให้ดี ให้ถี่ถ้วนและไม่ควรเชื่อนายหน้าหรือพวกพ่อสื่อแม่ชัก ซึ่งเธอก็รับปากจะ "จัดให้" ด้วยความเต็มใจเพราะผู้หญิงที่บ้านของเธอมีค่านิยมแต่งงานกับคนต่างชาติกันมาก
สถานทูตไทยได้ช่วยจัดการอำนวยความสะดวกให้เธอได้กลับบ้านได้แน่นอนภายในต้นเดือนตุลาคมนี้
นิยายรักข้ามโลกของหญิงไทยก็คงจะจบลงไปอีกเรื่องหนึ่ง ก็ได้แต่หวังว่าคงไม่มีนิยายรักน้ำเน่าแบบนี้เกิดขึ้นอีก แต่.. ก็คงได้แต่ฝันเพราะปัจจุบันค่านิยมการแต่งงานกับชาวต่างชาติมันฝังแน่นในหัวของหญิงไทยมากขึ้นเรื่อยๆ
เรื่องแบบนี้ ห้ามกันไม่ได้ซะด้วยสิ คงได้แต่ดูอยู่ห่างๆ อย่างห่วงๆ ขออย่าให้มีปัญหาในชีวิตคู่เหมือนอย่างคุณป้าชาวโคราชรายนี้เลย เจ้าประคู๊ณณณณ
ด้วยความปรารถนาดีจาก : กองคุ้มครองและดูแลผลประโยชน์คนไทยในต่างประเทศ
กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ
กระทรวงการต่างประเทศได้รับการร้องขอความช่วยเหลือจากหนุ่มโคราชวัยเก๋าส์ อายุ 66 ปี บอกว่าหลานสาวของตนอายุ 51 ปี ได้รับการชักชวนจากคนบ้านเดียวกันให้ไปแต่งงานกับชายชาวโครเอเชีย หลานสาวได้โทรศัพท์มาแจ้งว่าขณะนี้ถูกกักขังอยู่ในอพาร์ทเม้นต์ของฝ่ายชายในกรุงซาเกร็บ เมืองหลวงของประเทศโครเอเชีย
ทางกระทรวงการต่างประเทศก็รีบแจ้งให้สถานทูตไทยที่กรุงบูดาเปสต์ที่มีเขตอาณาดูแลประเทศโครเอเชียด้วยให้ดำเนินการช่วยเหลือหญิงไทยรายนี้โดยทันที แต่พอสถานทูตตรวจสอบเข้าไปเหตุการณ์กลับไม่ได้เลวร้ายอย่างที่ได้รับแจ้ง แต่กลายเป็นการที่ฝ่ายหญิงไทยวัยดึกทนต่อสภาพความเหงาไม่ไหวและไม่ได้รับผลประโยชน์ตามที่ตนคาดหวังเอาไว้
หญิงไทยจากแดนที่ราบสูงบอกกับเจ้าหน้าที่สถานทูตว่า ตนเดินทางไปประเทศโครเอเชียเพื่อแต่งงานกับชายโครเอเชียคนหนึ่งซึ่งมีอายุถึง 71 ปี แล้ว โดยการแนะนำจากเพื่อนบ้านที่มีบุตรสาวแต่งงานกับชาวต่างชาติเช่นเดียวกันและทำธุรกิจจัดหาคู่ให้คนไทยที่ประสงค์จะแต่งงานกับชาวต่างชาติในยุโรป
เคยมีการดูตัวกันมาแล้วโดยฝ่ายชายเดินทางมาประเทศไทยถึง 2 ครั้งเพื่อดูตัว และได้ตกลง "เลือก" ซึ่งกันและกัน
จากนั้นก็พากันเดินทางเข้าสู่เรือนหอรอรักที่บ้านพักของฝ่ายชายที่ประเทศโครเอเชีย พอไปถึงฝ่ายหญิงไทยไม่สามารถปรับตัวกับสภาพแวดล้อมได้ ที่พักของฝ่ายเจ้าบ่าวที่วาดฝันว่าจะเป็นคฤหาสน์ใหญ่โตเหมือนบ้านทรายทองกลายเป็นเพียงอพาทเม้นต์แคบๆ อึดอัด ไม่สะดวกสบายเหมือนบ้านปลายนาอันกว้างขวางโอ่โถงโล่งสบายที่โคราชบ้านเอง อาหารการกินก็บ่แซบถูกปาก ตกเย็นแดดร่มลมตกก็ไม่รู้จะไปคุยกับใครเพราะพูดภาษาบ้านเขาไม่ได้เลย ฝ่ายชายก็ไม่ได้ร่ำรวยอย่างที่คิด เป็นเพียงคนแก่ที่รับเงินสวัสดิการกระเบียดกระเสียนชักหน้าไม่ถึงหลัง เจอเข้าแบบนี้ ความฝันของสาวไทยวัยใกล้ฝั่งถึงกับมลายสลายไปพร้่อมกับความเหงาจับจิตจับใจที่เข้ามาแทนที่จึงได้โทรศัพท์ข้ามขอบฟ้ามาที่เมืองไทยหวังจะได้ระบายความเซ็งให้ที่บ้านได้รับรู้บอกว่าที่พักที่โครเอเชียเล็กและอึดอัดเหมือนอยู่ในกรง ทางบ้านที่เมืองไทยฟังไม่ได้ศัพท์แล้วต๊กกะใจนึกว่าญาติของตัวถูกหน่วงเหนี่ยวกักขังอยู่ในกรงลำบากน่าเวทนา จึงได้รีบแจ้นมาขอให้ทางการช่วยเหลือจากทางการ ( เล่นเอาข้าราชการบัวแก้ว โตะ จาย โหมะ เลย )
พอเห็นว่ามีสถานทูตเข้าไปช่วยตรวจสอบ หญิงไทยรายนี้จึงถือโอกาสขอให้ช่วยเจรจากับฝ่ายชายว่าตนไม่ประสงค์จะแต่งงานอยู่กินกันฉันท์สามีภรรยาอีกต่อไปแล้วเพราะดูแล้วว่าหนุ่มโครเอเชียคนนี้คงไม่มีเงินให้ตนนำไปใช้หนี้สินที่เมืองไทยได้ และจะขอกลับประเทศไทยโดยเร็วที่สุด สถานทูตก็ช่วยเจรจาให้ซึ่งทางฝ่ายชายก็ไม่ได้ว่าอะไร บอกแต่เพียงว่าที่ตกลงใจแต่งงานกับหญิงไทยรายนี้เนื่องจากตนอายุมากแล้วต้องการคนดูแล และตนก็ไม่ได้ร่ำรวยเงินถุงเงินถังเหมือนชายกลางแห่งบ้านทรายทองจึงต้องใช้จ่ายอย่างประหยัดเพราะรายได้จากเงินสวัสดิการคนชราไม่ได้มากมายอะไร ส่วนโทรศัพท์ก็ไม่ได้ห้ามใช้เพียงแต่ขอให้ใช้น้อยๆ หน่อยเพราะมันแพง และถ้าฝ่ายเจ้าสาวอาวุโสจะกลับเมืองไทยก็ไม่ขัดข้องอันใด ตั๋วเครื่องบินก็มีแล้วขออัญเชิญกลับบ้านได้ตามอัธยาศรัย
เมื่อการณ์กลายกลับเป็นเยี่ยงนี้ สถานทูตต้องเสียเวลาเข้าไปดูแลจัดการ จึงต้องให้สาวใหญ่รายนี้ชดใช้กันหน่อย ก็เลยขอว่าเมื่อกลับถึงโคราชบ้านเองแล้ว ให้ช่วยบอกเล่าเรื่องราวนี้ให้กับคนที่หมู่บ้านได้รับรู้ว่า การแต่งงานกับคนต่างชาติโดยหวังจะได้เงิน เป็นความคิดที่ผิด คนต่างชาติไม่ได้ร่ำรวยทุกคน หากจะแต่งงานขอให้รอบคอบ คิดให้ดี ให้ถี่ถ้วนและไม่ควรเชื่อนายหน้าหรือพวกพ่อสื่อแม่ชัก ซึ่งเธอก็รับปากจะ "จัดให้" ด้วยความเต็มใจเพราะผู้หญิงที่บ้านของเธอมีค่านิยมแต่งงานกับคนต่างชาติกันมาก
สถานทูตไทยได้ช่วยจัดการอำนวยความสะดวกให้เธอได้กลับบ้านได้แน่นอนภายในต้นเดือนตุลาคมนี้
นิยายรักข้ามโลกของหญิงไทยก็คงจะจบลงไปอีกเรื่องหนึ่ง ก็ได้แต่หวังว่าคงไม่มีนิยายรักน้ำเน่าแบบนี้เกิดขึ้นอีก แต่.. ก็คงได้แต่ฝันเพราะปัจจุบันค่านิยมการแต่งงานกับชาวต่างชาติมันฝังแน่นในหัวของหญิงไทยมากขึ้นเรื่อยๆ
เรื่องแบบนี้ ห้ามกันไม่ได้ซะด้วยสิ คงได้แต่ดูอยู่ห่างๆ อย่างห่วงๆ ขออย่าให้มีปัญหาในชีวิตคู่เหมือนอย่างคุณป้าชาวโคราชรายนี้เลย เจ้าประคู๊ณณณณ
ด้วยความปรารถนาดีจาก : กองคุ้มครองและดูแลผลประโยชน์คนไทยในต่างประเทศ
กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ
วันจันทร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2555
รัฐบาลเมียนมาร์อภัยโทษแก่นักโทษไทย 84 คน
คนไทย 84 คน ได้กลับบ้านหลังจากที่รัฐบาลของประเทศเมียนมาร์แสดงน้ำใจอภัยโทษแก่นักโทษที่ถูกคุมขังอยู่ทั่วประเทศ
การปล่อยตัวนักโทษชาวไทยครั้งนี้ ได้รับการประสานงานด้วยดีจากทุกฝ่าย โดยนายมิ้นท์ โก มุขมนตรีภาคตะนาวศรีของเมียนมาร์ได้มีคำสั่งด่วนให้ปล่อยตัวนักโทษไทยที่ถูกคุมขังอยู่ที่เรือนจำเกาะสองจำนวน 83 คน และเมื่อวันที่ 18 กันยายน 2555 ทางเรือนจำก็ได้ปล่อยนักโทษทั้งหมดเรียบร้อยแล้ว โดยนอกจากนักโทษชาวไทยที่เรือนจำเกาะสองทั้ง 83 รายดังกล่าวแล้ว รัฐบาลเมียนมาร์ยังได้อภัยโทษนักโทษไทยอีก 1 ราย ที่ถูกคุมขังอยู่ที่เมืองชิตต่วย รัฐยะไข่อีกด้วย รวมเป็นนักโทษชาวไทยทีีได้รับอภัยโทษทั้งสิ้น 84 คน
การอภัยโทษนักโทษในครั้งนี้ ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากความตั้งใจของรัฐบาลเมียนมาร์ที่จะเสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของรัฐบาลเมียนมาร์ที่จะเสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดีต่อประชาคมระหว่างประเทศ รวมทั้งกระชับความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน นอกจากนี้ ความพยายามจากทั้งระดับสูงและระดับเจ้าหน้าที่ของไทยที่ช่วยผลักดันและติดตามให้การดูแลนักโทษไทยอย่างต่อเนื่องก็น่าจะเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้นักโทษไทยทั้ง 84 คน ถูกรวมอยู่ในรายชื่อนักโทษที่ได้รับการอภัยโทษในครั้งนี้ด้วย
ถึงแม้ว่าจะยังมีนักโทษชาวไทยยังคงถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำประเทศเมียนมาร์อีกจำนวนหนึ่ง และญาติที่ประเทศไทยอาจจะยังมีความเข้าใจผิดว่าทางการไทยและสถานเอกอัครราชทูตไทยไม่ดูแล ซึ่งในความเป็นจริง หน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทยโดยเฉพาะสถานทูตไทยได้ให้การดูแลนักโทษไทยทุกคนอย่างทั่วถึง มีการติดตามสอบถามสถานะความเป็นอยู่ของนักโทษทุกคนจากพัศดีอย่างสม่ำเสมอ นอกจากนี้ สถานทูตยังได้ยื่นเรื่องเพื่อขออภัยโทษ/ขอลดโทษให้แก่นักโทษไทยทุกคนตามโอกาสสำคัญๆทุกครั้งโดยไม่แบ่งแยก และรับรองว่าไม่มีการเลือกปฏิบัติอย่างแน่นอน และขอให้ญาติของนักโทษเข้าใจด้วยว่า สถานทูตไม่สามารถแทรกแซงกระบวนการยุติธรรมของเมียนมาร์ได้ และการอภัยโทษหรือการปล่อยตัวนักโทษคนใดเป็นเรื่องของทางการเมียนมาร์เป็นผู้พิจารณากำหนดเอง
ที่มา : สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงย่างกุ้ง
การปล่อยตัวนักโทษชาวไทยครั้งนี้ ได้รับการประสานงานด้วยดีจากทุกฝ่าย โดยนายมิ้นท์ โก มุขมนตรีภาคตะนาวศรีของเมียนมาร์ได้มีคำสั่งด่วนให้ปล่อยตัวนักโทษไทยที่ถูกคุมขังอยู่ที่เรือนจำเกาะสองจำนวน 83 คน และเมื่อวันที่ 18 กันยายน 2555 ทางเรือนจำก็ได้ปล่อยนักโทษทั้งหมดเรียบร้อยแล้ว โดยนอกจากนักโทษชาวไทยที่เรือนจำเกาะสองทั้ง 83 รายดังกล่าวแล้ว รัฐบาลเมียนมาร์ยังได้อภัยโทษนักโทษไทยอีก 1 ราย ที่ถูกคุมขังอยู่ที่เมืองชิตต่วย รัฐยะไข่อีกด้วย รวมเป็นนักโทษชาวไทยทีีได้รับอภัยโทษทั้งสิ้น 84 คน
การอภัยโทษนักโทษในครั้งนี้ ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากความตั้งใจของรัฐบาลเมียนมาร์ที่จะเสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของรัฐบาลเมียนมาร์ที่จะเสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดีต่อประชาคมระหว่างประเทศ รวมทั้งกระชับความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน นอกจากนี้ ความพยายามจากทั้งระดับสูงและระดับเจ้าหน้าที่ของไทยที่ช่วยผลักดันและติดตามให้การดูแลนักโทษไทยอย่างต่อเนื่องก็น่าจะเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้นักโทษไทยทั้ง 84 คน ถูกรวมอยู่ในรายชื่อนักโทษที่ได้รับการอภัยโทษในครั้งนี้ด้วย
ถึงแม้ว่าจะยังมีนักโทษชาวไทยยังคงถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำประเทศเมียนมาร์อีกจำนวนหนึ่ง และญาติที่ประเทศไทยอาจจะยังมีความเข้าใจผิดว่าทางการไทยและสถานเอกอัครราชทูตไทยไม่ดูแล ซึ่งในความเป็นจริง หน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทยโดยเฉพาะสถานทูตไทยได้ให้การดูแลนักโทษไทยทุกคนอย่างทั่วถึง มีการติดตามสอบถามสถานะความเป็นอยู่ของนักโทษทุกคนจากพัศดีอย่างสม่ำเสมอ นอกจากนี้ สถานทูตยังได้ยื่นเรื่องเพื่อขออภัยโทษ/ขอลดโทษให้แก่นักโทษไทยทุกคนตามโอกาสสำคัญๆทุกครั้งโดยไม่แบ่งแยก และรับรองว่าไม่มีการเลือกปฏิบัติอย่างแน่นอน และขอให้ญาติของนักโทษเข้าใจด้วยว่า สถานทูตไม่สามารถแทรกแซงกระบวนการยุติธรรมของเมียนมาร์ได้ และการอภัยโทษหรือการปล่อยตัวนักโทษคนใดเป็นเรื่องของทางการเมียนมาร์เป็นผู้พิจารณากำหนดเอง
ที่มา : สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงย่างกุ้ง
เหยื่อค้ามนุษย์ : เกือบไม่รอดที่มาเลเซีย
เป็นเหตุการณ์ที่เพิ่งเกิดขึ้นสดๆ ร้อนๆ
ที่ประเทศมาเลเซียอีกแล้ว
หญิงวัยรุ่นไทยอายุ
เพียง
17-18 ปี
ถูกเพื่อนรุ่นพี่ชักชวนให้เดินทางไปเที่ยวที่มาเลเซีย พอลงจากเครื่องบินก็ถูกพาไปพักที่โรงแรมเล็กๆ
แห่งหนึ่งในย่านไชน่าทาวน์กลางกรุงกัวลาลัมเปอร์
มีผู้ชายที่ทำหน้าที่คล้ายเป็นคนคุม
เด็กมายึดเงินส่วนตัวไปจนหมดโดยอ้างว่าเพื่อชดใช้ค่าเดินทาง เด็กสาวคนนี้ไม่รู้ตัวเลยว่าโรงแรมแห่งนี้
มีสภาพไม่ต่างจากซ่องโสเพณีเถื่อนกลางเมืองหลวง
จนกระทั่งเธอผิดสังเกตุเห็นว่าเริ่มมีผู้ชายแวะเวียน
เข้ามาดูตัวที่ห้องพักหลายครั้ง
จึงได้รู้ตัวว่าถูกหลอกมาขายตัวในต่างแดนเข้าแล้ว ด้วยความตกใจเธอ
รีบส่งข่าวขอความช่วยเหลือจากญาติที่เมืองไทยทันที
เจ้าหน้าที่กงสุลของสถานทูตไทยได้รับโทรศัพท์แจ้งเหตุเรื่องนี้อย่างเร่งด่วนจากหลาย
หน่วยงาน ทั้งกระทรวง พ.ม. และ ตำรวจไทย
นี่เป็นกรณีการล่อลวงเพื่อค้ามนุษย์อย่างน่าเศร้าใจที่สุด
เดชะบุญที่ทางราชการเอาใจใส่ต่อเรื่องนี้
และมีเบาะแสชัดเจนเกี่ยวกับโรงแรมนรกที่ว่า
สถานทูตจึง
ระดมเจ้าหน้าที่ผู้ชายหลายคนเดินทางออกไปรับตัวเด็กสาวคนนี้ออกจากโรงแรมกลางดึกทันที
แล้วพาเธอไปพักที่สถานทูตจนถึงวันรุ่งขึ้นก็รีบซื้อตั๋วเครื่องบินส่งตัวกลับประเทศไทยทันที
เรื่องราวอย่างนี้เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่ากับสตรีไทย อย่าว่าแต่ถูกหลอกไปมาเลเซียเลย
บางรายถูกพาไปไกลถึงมัลดีพส์ ดูไบ
บาห์เรน รัสเซีย ฯลฯ
ยิ่งไปไกลจากประเทศไทย ความเสี่ยงอันตรายก็ยิ่งมากขึ้น
บางคนไม่ได้โชคดีเหมือนเด็กสาวคนนี้
เพราะเคยมีหญิงไทยถูกบังคับขืนใจ
ถูกทำร้าย ถูกบังคับให้เสพยาเสพติด
กระทั่งถูกข่มขืนจนตั้งท้องโดยไม่รู้ว่าใครเป็นพ่อเด็กก็เคยเกิดขึ้นมาแล้ว
พวกมิจฉาชีพบาปหนาที่หากินบนความทุกข์ของคนไทยด้วยกัน อย่าคิดว่าจะรอดจาก
เงื้อมือกฏหมาย
เพราะงานนี้ตำรวจจะปราบปรามจับกุมขบวนการอมนุษย์พวกนี้แน่นอน ...
อย่างไรก็ดี
อุทธาหรณ์สำหรับเรื่องนี้มีแต่ต้องย้ำว่า อย่าไว้ใจทางอย่าวางใจคนใกล้ตัวเด็ดขาด
ที่มา : กองคุ้มครองและดูแลผลประโยชน์คนไทยในต่างประเทศ
กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ
: สถานเอกอัครชทูต ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์
วันอาทิตย์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2555
หมอนวดระวังถูกหลอกไปจีน
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง ฝากเตือนผู้ที่จะไปทำงานนวดแผนโบราณหรือนวดสปาในประเทศจีน ว่า จีนไม่อนุญาติให้คนต่างชาติเดินทางไปประกอบอาชีพดังกล่าว ดังนั้น หากมีผู้มาชักชวนให้เดินทางไปประกอบอาชีพนวดแผนโบราณในประเทศจีนก็เท่ากับเป็นการหลอกลวงกันอย่างแน่นอน
ขณะนี้ เริ่มมีหมอนวดไทยถูกหลอกลวงให้ไปทำงานที่ประเทศจีนมากขึ้น โดยทั้งสถานทูตที่ปักกิ่งและสถานกงสุลใหญ่ที่ีตั้งอยู่ตามเมืองต่างๆ ในจีนต่างก็พบว่ามีหมอนวดไทยถูกล่อลวงให้เดินทางไปทำงานนวดสปาหรือนวดแผนโบราณโดยเสนอค่าตอบแทนในอัตราสูง ซึ่งในความจริงแรงงานชาวจีนเองจะได้รับค่าจ้างประมาณเดือนละ 1,500-2,000 หยวน และไม่มีค่าทิปหรือค่าตอบแทนใดๆ เพิ่มเติม
ช่วงเวลาไม่กี่เดือนที่ผ่านมา สถานทูตและสถานกงสุลใหญ่ของไทยในประเทศจีนได้ส่งตัวหมอนวดไทยกลับประเทศไทยแล้วรวมนับสิบรายเนื่องจากมีปัญหาเรื่องค่าจ้างและสวัสดิการต่างๆ ที่ไม่เป็นไปตามตกลง นอกจากนี้ยังมีปัญหาใหญ่คือ เรื่องวีซ่าที่ทางการจีนไม่ยอมออกให้ ส่งผลให้ต้องกลายเป็นแรงงานผิดกฎหมายซึ่งหากตรวจพบจะต้องถูกจับกุมดำเนินคดี
ที่มา : กองคุ้มครองและดูแลผลประโยชน์คนไทยในต่างประเทศ
กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ
: สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง
ขณะนี้ เริ่มมีหมอนวดไทยถูกหลอกลวงให้ไปทำงานที่ประเทศจีนมากขึ้น โดยทั้งสถานทูตที่ปักกิ่งและสถานกงสุลใหญ่ที่ีตั้งอยู่ตามเมืองต่างๆ ในจีนต่างก็พบว่ามีหมอนวดไทยถูกล่อลวงให้เดินทางไปทำงานนวดสปาหรือนวดแผนโบราณโดยเสนอค่าตอบแทนในอัตราสูง ซึ่งในความจริงแรงงานชาวจีนเองจะได้รับค่าจ้างประมาณเดือนละ 1,500-2,000 หยวน และไม่มีค่าทิปหรือค่าตอบแทนใดๆ เพิ่มเติม
ช่วงเวลาไม่กี่เดือนที่ผ่านมา สถานทูตและสถานกงสุลใหญ่ของไทยในประเทศจีนได้ส่งตัวหมอนวดไทยกลับประเทศไทยแล้วรวมนับสิบรายเนื่องจากมีปัญหาเรื่องค่าจ้างและสวัสดิการต่างๆ ที่ไม่เป็นไปตามตกลง นอกจากนี้ยังมีปัญหาใหญ่คือ เรื่องวีซ่าที่ทางการจีนไม่ยอมออกให้ ส่งผลให้ต้องกลายเป็นแรงงานผิดกฎหมายซึ่งหากตรวจพบจะต้องถูกจับกุมดำเนินคดี
ที่มา : กองคุ้มครองและดูแลผลประโยชน์คนไทยในต่างประเทศ
กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ
: สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง
วันศุกร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2555
นักโทษไทยในมาเลเซียต้องโทษประหารชีวิตมากที่สุด
ท่านสมพงษ์ กางทอง อัครราชทูตที่ปรึกษา สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย รายงานเข้ามา "อีกแล้ว" ว่า ท่านได้ไปเยี่ยมนักโทษชาวไทยที่ถูกคุมขังดำเนินคดีอยู่ในรัฐสลังงอร์ ประเทศมาเลเซียเมื่อวันที่ 18 กันยายน 2555 และได้ถือโอกาสนี้สรุปสถิติและข้อมูลเกี่ยวกับนักโทษชาวไทยในมาเลเซีย ดังนี้
1. ขณะนี้มีนักโทษไทยที่ถูกศาลชั้นต้นของมาเลเซียตัดสินประหารชีวิตทั้งสิ้น 25 คน เป็นคดียาเสพติด 22 คน คดีความมั่นคง 3 คน เป็นหญิง 13 คน ชาย 12 คน ซึ่งถือว่าเป็นชาวต่างชาติที่ต้องโทษประหารชีวิตเป็นจำนวนมากที่สุดในมาเลเซีย
2. จากการพูดคุยสัมภาษณ์ผู้ต้องขังชาวไทยพบว่า ผู้ที่ชักนำหญิงไทยเข้าสู่วังวนมหันตภัยคือชาวไนจีเรียเป็นอันดับหนึ่ง รองลงมาคือชาวอิหร่าน และมาเลเซีย โดยคนเหล่านี้จะใช้วิธีสร้างความไว้วางใจก่อนพาไปหลอกให้ขนยาเสพติดจากประเทศแถบลาตินอเมริกาเข้ามายังประเทศมาเลเซีย
3. หญิงไทยที่ตกเป็นเหยื่อจะเป็นหญิงที่ประกอบอาชีพเ้สี่ยงอยู่แล้ว เช่น พนักงานนวด และสตรีจากภาคอิสานที่นิยมหาสามีต่างชาติ สังเกตได้ว่ามีหญิงไทยไปรับรองวีซ่าเข้าประเทศไทยให้กับชาวไนจีเรียบ่อยครั้งแต่ถูกปฎิเสธ
4. การให้ความช่วยเหลือทางคดีทำได้ยาก ค่าจ้างทนายความค่อนข้างสูงและมักถูกทนายความหลอกกินเงินแต่คดีความไม่คืบหน้า ทนายอาสาก็มักไม่รับว่าความคดียาเสพติดให้คนต่างด้าว ผู้ต้องโทษหลายคนถูกนายหน้าหรือเพื่อนส่งนายหน้าไปซ้ำเติมญาติที่ประเทศไทยว่าจะช่วยเหลือขอให้จ่ายเงิน พอได้เงินแล้วก็หายตัวไปเลย บางรายถูกหลอกสูญเงินไปนับแสนบาท
5. การหลอกลวงเข้าไปทำงานประเภทนวดและอื่นๆ ยังมีอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะทุกวันนี้จะอ้างว่ามาเลเซียเปิดเสรีเป็นประชาคมอาเซียน (AEC) แล้ว คนไทยสามารถไปทำงานได้ทุกประเภทอย่างเสรีไม่ต้องใช้ใบอนุญาตทำงาน
ท่านสมพงษ์ฯ ยืนยันว่า ทางการมาเลเซียได้ยุติการออกใบอนุญาตทำงานประเภทนวดตั้งแต่โครงการอภัยโทษ (6P Program) สิ้นสุดลง เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2555 แต่ยังมีการนำหญิงไทยไปทำงานนวดโดยไม่มีใบอนุญาตและถูกจับกุมตั้งแต่ต้นปีจนถึงปัจจุบันกว่า 300 คน โดยเฉพาะกลุ่มหญิงวัยรุ่นที่ไปท่องเที่ยวแต่หลบทำงานเต้นโคโยตี้
จำนวนคนไทยที่ถูกจับกุมมากขนาดนี้ ท่านสมพงษ์ฯ เองก็ต้องทำงานหนักและไม่สามารถจะดูแลได้อย่างทั่วถึง บางครั้งหากเห็นว่าำคนไทยถูกตั้งข้อหาที่ไม่ร้ายแรงและไม่ได้ร้องขอให้สถานทูตช่วยเหลือก็จำเป็นต้องปล่อยให้ทางการมาเลเซียดำเนินดคีไปตามกระบวนการจนกระทั่งส่งตัวกลับประเทศไทย
ท่านอัครราชทูตฯ สมพงษ์ฯ ยังฝากให้ช่วยกันประชาสัมพันธ์เพื่ีอเป็นการช่วยกันเตือนคนไทยที่อาจจะไม่รู้ข้อมูลเหล่านี้ คนไทยจะได้ไม่ถูกดึงเข้าวังวนนรกเหมือนที่คนไทยหลายคนที่กำลังตกนรกอยู่ขณะนี้
ครับ ช่วยกันกระจายข่าว มีลูกบอกลูก มีหลานบอกหลาน มีเพื่อนบอกเพื่อน อย่าเก็บเอาไว้รู้คนเดียว ถือว่าบอกกล่าวกัน คนไทยจะได้หูตาสว่างไม่เป็นเหยื่อ ไม่หลงผิดอีกต่อไป
ด้วยความปรารถนาดีจาก : สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์
1. ขณะนี้มีนักโทษไทยที่ถูกศาลชั้นต้นของมาเลเซียตัดสินประหารชีวิตทั้งสิ้น 25 คน เป็นคดียาเสพติด 22 คน คดีความมั่นคง 3 คน เป็นหญิง 13 คน ชาย 12 คน ซึ่งถือว่าเป็นชาวต่างชาติที่ต้องโทษประหารชีวิตเป็นจำนวนมากที่สุดในมาเลเซีย
2. จากการพูดคุยสัมภาษณ์ผู้ต้องขังชาวไทยพบว่า ผู้ที่ชักนำหญิงไทยเข้าสู่วังวนมหันตภัยคือชาวไนจีเรียเป็นอันดับหนึ่ง รองลงมาคือชาวอิหร่าน และมาเลเซีย โดยคนเหล่านี้จะใช้วิธีสร้างความไว้วางใจก่อนพาไปหลอกให้ขนยาเสพติดจากประเทศแถบลาตินอเมริกาเข้ามายังประเทศมาเลเซีย
3. หญิงไทยที่ตกเป็นเหยื่อจะเป็นหญิงที่ประกอบอาชีพเ้สี่ยงอยู่แล้ว เช่น พนักงานนวด และสตรีจากภาคอิสานที่นิยมหาสามีต่างชาติ สังเกตได้ว่ามีหญิงไทยไปรับรองวีซ่าเข้าประเทศไทยให้กับชาวไนจีเรียบ่อยครั้งแต่ถูกปฎิเสธ
4. การให้ความช่วยเหลือทางคดีทำได้ยาก ค่าจ้างทนายความค่อนข้างสูงและมักถูกทนายความหลอกกินเงินแต่คดีความไม่คืบหน้า ทนายอาสาก็มักไม่รับว่าความคดียาเสพติดให้คนต่างด้าว ผู้ต้องโทษหลายคนถูกนายหน้าหรือเพื่อนส่งนายหน้าไปซ้ำเติมญาติที่ประเทศไทยว่าจะช่วยเหลือขอให้จ่ายเงิน พอได้เงินแล้วก็หายตัวไปเลย บางรายถูกหลอกสูญเงินไปนับแสนบาท
5. การหลอกลวงเข้าไปทำงานประเภทนวดและอื่นๆ ยังมีอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะทุกวันนี้จะอ้างว่ามาเลเซียเปิดเสรีเป็นประชาคมอาเซียน (AEC) แล้ว คนไทยสามารถไปทำงานได้ทุกประเภทอย่างเสรีไม่ต้องใช้ใบอนุญาตทำงาน
ท่านสมพงษ์ฯ ยืนยันว่า ทางการมาเลเซียได้ยุติการออกใบอนุญาตทำงานประเภทนวดตั้งแต่โครงการอภัยโทษ (6P Program) สิ้นสุดลง เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2555 แต่ยังมีการนำหญิงไทยไปทำงานนวดโดยไม่มีใบอนุญาตและถูกจับกุมตั้งแต่ต้นปีจนถึงปัจจุบันกว่า 300 คน โดยเฉพาะกลุ่มหญิงวัยรุ่นที่ไปท่องเที่ยวแต่หลบทำงานเต้นโคโยตี้
จำนวนคนไทยที่ถูกจับกุมมากขนาดนี้ ท่านสมพงษ์ฯ เองก็ต้องทำงานหนักและไม่สามารถจะดูแลได้อย่างทั่วถึง บางครั้งหากเห็นว่าำคนไทยถูกตั้งข้อหาที่ไม่ร้ายแรงและไม่ได้ร้องขอให้สถานทูตช่วยเหลือก็จำเป็นต้องปล่อยให้ทางการมาเลเซียดำเนินดคีไปตามกระบวนการจนกระทั่งส่งตัวกลับประเทศไทย
ท่านอัครราชทูตฯ สมพงษ์ฯ ยังฝากให้ช่วยกันประชาสัมพันธ์เพื่ีอเป็นการช่วยกันเตือนคนไทยที่อาจจะไม่รู้ข้อมูลเหล่านี้ คนไทยจะได้ไม่ถูกดึงเข้าวังวนนรกเหมือนที่คนไทยหลายคนที่กำลังตกนรกอยู่ขณะนี้
ครับ ช่วยกันกระจายข่าว มีลูกบอกลูก มีหลานบอกหลาน มีเพื่อนบอกเพื่อน อย่าเก็บเอาไว้รู้คนเดียว ถือว่าบอกกล่าวกัน คนไทยจะได้หูตาสว่างไม่เป็นเหยื่อ ไม่หลงผิดอีกต่อไป
ด้วยความปรารถนาดีจาก : สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์
สถานทูตไทยหนุนสุดตัวจัดตั้งชมรมคนไทยในอิหร่าน
ประเทศไทยกับประเทศอิหร่านแม้จะอยู่ห่างไกลกันแต่ก็มีความสัมพันธ์ที่แนบแน่นกันมาช้านานหลายร้อยปีตั้งแต่เรียกกันว่าเปอร์เชีย แม้จะผ่านคืนวันมาแสนนาน จนถึงวันนี้ ความสัมพันธ์ก็ยังมิได้เลือนหาย ไทยและเปอร์เชียหรืออิหร่านยังคงมีความสัมพันธ์กันอย่างต่อเนื่อง
ปัจจุบันมีคนไทยพำนักอาศัยในประเทศอิหร่านกว่า 250 คน ทั้งนักเรียน นักธุรกิจ ตลอดจนแรงงานและผู้ที่สมรสกับชาวอิหร่าน ซึ่งตลอดมาก็มีการรวมตัวร่วมกิจกรรมต่างๆ ที่สถานทูตไทยที่เตหะรานจัดขึ้น ล่าสุดก็ได้ร่วมกิจกรรมงานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พรบรมราชินีนาถ เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2555 และได้เกิดความคิดในการจัดตั้งชมรมคนไทยในอิหร่าน เพื่อเป็นศูนย์กลางและศูนย์รวมสำหรับคนไทยในอิหร่านและเป็นช่องทางที่จะติดต่อสื่อสาร ช่วยเหลือกันในด้านต่างๆ อย่างใกล้ชิด รวมถึงการจัดกิจกรรมต่างๆ อย่างเป็นรูปธรรมระหว่างคนไทย
สถานทูตไทยเห็นถึงความตั้งใจดีของคนไทยในอิหร่านจึงได้จัดประชุมตัวแทนคนไทยขึ้นเพื่อให้การสนับสนุนและความร่วมมือในทุกๆ ด้านเพื่อให้มีการรวมตัวของคนไทยเกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม และขณะนี้ก็ได้เกิดชมรมคนไทยในอิหร่านขึ้นแล้วด้วยความร่วมมือร่วมใจของคนไทยและการสนับสนุนอย่างเต็มที่ของสถานทูตไทยในเตหะราน
นางนารี โฮซเซน ไซนาดิ ตัวแทนและประธานชมชรมฯ กล่าวว่ากิจกรรมหลักของชมรมจะจัดให้มีการสอนภาษาไทยสำหรับบุตรหลานชาวไทย โดยในช่วงแรกสถานทูตได้จัดพื้นที่ส่วนหนึ่งของที่ทำการสถานทูตให้ใช้เป็นห้องเรียนไปก่อนโดยจะมีการเรียนการสอนทุกวันพฤหัสบดีและคาดว่าจะเริ่มสอนได้ในเดือนตุลาคมนี้ นอกจากนี้ ชมรมฯ ยังได้ตั้งเป้าหมายจะเปิดสอนภาษาฟาร์ซี (ภาษาพื้นเมืองของอิหร่าน) ให้กับชาวไทยในอิหร่านด้วย และในอนาคตอาจจะมีการสอนการประกอบอาหารไทยด้วย
ในการจัดตั้งชมรมคนไทยในอิหร่านครั้งนี้ สถานทูตไทยได้มอบเงินสนับสนุนในเบื้องต้นตามนโยบายเสริมสร้างชุมชนไทยเข้มแข็งจำนวน 59,554 บาท เพื่อให้นำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนภาษาไทย รวมทั้งการจัดตั้งชมรมฯ
ที่มา : สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเตหะราน
วันจันทร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2555
ไปคืนของที่ร้าน เจอข้อหาบุรุก
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเวลลิงตัน รายงานเข้ามาว่า มีนักท่องเที่ยวชาวไทยถูกตำรวจนิวซีแลนด์จับกุมในข้อหาบุกรุกสถานที่ จากการสอบถามทราบว่านักท่องเที่ยวชาวไทย 2 สามีภรรยา ได้เดินทางไปท่องเที่ยวที่เมืองควีนส์ทาวน์ (Queenstown) และได้ซื้อสินค้าจำพวกเครื่องสำอางและอาหารเสริมจากร้านค้าแห่งหนึ่งโดยรูดบัตรเครดิต ต่อมาทั้งสองคนเห็นว่าสินค้าที่พวกตนซื้อมาอาจจะทำให้นำ้หนักของกระเป๋าเกินน้ำหนักจึงได้กลับไปทีร้านค้าดังกล่าวเพื่อขอคืนสินค้า
ทางร้านค้าก็รับสินค้าคืนแต่โดยดี และเนื่องจากคนไทยทั้งสองคนได้ใช้บัตรเครดิตรูดซื้อสินค้าไปและยังต้องการคืนสินค้าทั้งหมด ทางร้านจึงต้องดำเนินการในการยกเลิกยอดเงินที่ได้รูดซื้อสินค้าด้วย ขณะนั้นเป็นเวลา 21.00 น. ซึ่งเกินเวลาที่ร้านค้าปิดบริการไปแล้ว 30 นาที พนักงานในร้านจึงขอให้นักท่องเที่ยวชาวไทยทั้งสองออกจากร้านไปก่อน แต่ทั้งคู่ก็ไม่ยอมทำตามเนื่องจากการคืนสินค้าและการยกเลิกบัตรเครดิตยังไม่เสร็จสิ้นและทางร้านยังไม่ได้คืนบัตรเครดิตให้ พนักงานจึงได้แจ้งตำรวจมาจับกุมและตั้งข้อหาบุกรุกสถานที่ จากนั้นนำตัวไปยังสถานีตำรวจเพื่อบันทึกปากคำ ถ่ายรูป และแจ้งให้ไปปรากฏตัวที่ศาลในวันรุ่งขึ้น
เจอเข้าไปแบบนี้ นักท่องเที่ยวชาวไทยถึงกับไปไม่เป็น ไม่รู้ว่าเรื่องแบบนี้จะเกิดกับตน และประเทศนิวซีแลนด์มีกฎหมายแปลกๆ แบบนี้ จึงได้โทรศัพท์ไปขอความช่วยเหลือจากสถานทูต ซึ่งทางสถานทูตก็ได้รีบประสานกับทั้งตำรวจและศาลที่ีเมืองควีนส์ทาวน์ทันที โดยขอให้ฝ่ายนิวซีแลนด์พิจารณาโดยเห็นแก่ข้อเท็จจริงที่ว่าคนไทยทั้งสองไม่ได้มีเจตนาจะบุกรุกใดๆ และทุกอย่างเป็นความเข้าใจผิดและการสื่อสารที่ไม่ชัดเจนจึงเกิดมีปากเสียงกับทางร้าน
วันรุ่งขึ้น ศาลเมืองควีนส์ทาวน์ได้พิจารณาว่าคนไทยทั้งสองไม่ได้มีเจตนากระทำความผิดและอาจมีปัญหาด้านการสื่อสารจึงทำให้เกิดความเข้าใจผิด จึงลงโทษเพียงปรับคนละ 300 เหรียญนิวซีแลนด์ และไม่มีการบันทึกประวัติว่าเคยถูกลงโทษในนิวซีแลนด์ คนไทยทั้งสองก็พอใจกับการตัดสินของศาลและยินยอมจ่ายค่าปรับแต่โดยดี จากนั้นก็เดินทางออกจากเมืองควีนส์ทาวน์และกลับประเทศไทยในอีก 2 วันถัดมา
เรื่องนี้ สถานทูตฝากบอกว่า นิวซีแลนด์เป็นประเทศที่มีความเคร่งครัดในเรื่องการบังคับใช้กฎหมายและปฏิบัติตามระเบียบต่างๆ เช่น การเปิด-ปิด ร้านค้าก็มีกฎหมายกำหนดเวลาไว้ หากไม่ปฏิบัติตามก็อาจถูกดำเนินคดีอย่างเช่นกรณีคู่สามี-ภรรยา นักท่องเที่ยวชาวไทย คู่นี้
ที่มา : สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเวลลิงตัน
วันพุธที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2555
โดนอีกแล้ว...หญิงไทย 29 คน โดนตำรวจมาเลเซียรวบตัว
มีข่าวฝากมาจากท่านสมพงษ์ กางทอง อุปทูตที่ปรึกษา สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย " อีกแล้ว "
ที่ท่านอุปทูตฯ ต้องฝากแจ้งข่าวบ่อยๆ ก็เพราะมีคนไทยถูกตำรวจมาเลเซียจับกุมอีกแล้ว คราวนี้ โดนรวดเดียว 29 คน เป็นหญิงแท้ 28 คน และหญิงประเภทสองอีก 1 คน ทั้งหมดโดนรวบตัวเมื่อวันที่ 5 กันยายน 2555 โดยฝีมือตำรวจจากหน่วยปราบปรามอาชญากรรมและการค้าประเวณี (หน่วย D7) เข้ากวาดล้างสถานบันเทิงและได้จับกุมคนไทย 29 คน อายุระหว่าง 20-23 ปี ขณะทำงานเชียร์แขกและเต้นโคโยตี้ ทั้งหมดถูกตั้งข้อหาทำงานโดยไม่ได้รับอนุญาตและเข้าเที่ยวสถานบันเทิงโดยไม่มีสามีเข้าข่าย "เตรียมค้าประเวณี"
ท่านอุปทูตฯ สมพงษ์ฯ ได้รายงานปัญหาคนไทยถูกจับกุมข้อหาลักษณะนี้รวมทั้งการไปทำงานนวดแผนโบราณ มาแล้วหลายต่อหลายครั้ง อีกทั้งกระทรวงการต่างประเทศก็รณรงค์ประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่างๆ มาโดยตลอด แต่ก็ยังมีหญิงไทยจงใจฝ่าฝืนไปทำงานผิดกฎหมาย ทำลายภาพลักษณ์ของประเทศไทยในสายตาชาวต่างชาติ และสิ่งที่ทำให้ท่านอุปทูตฯ ต้องสะท้อนใจทุกครั้งก็คือ เวลาที่สถานทูตเข้าไปเพื่อให้ความช่วยเหลือในกรณีถูกจับกุม คนไทยเหล่านี้จะร้องขอไม่ให้บอกพ่อแม่หรือไม่ต้องการความช่วยเหลือ แสดงให้เห็นว่า คนไทยเหล่านี้ไร้จิตสำนึกรับผิดชอบต่อส่วนรวม ต่อภาพลักษณ์และศักดิ์ศรีของคนไทยทั้งชาติ
ก็ต้องขอร้องกันตรงนี้อีกครั้งว่า อย่าเดินทางไปทำงานผิดกฎหมายในต่างประเทศ เป็นคนไทยอย่าย่ำยีศักดิ์ศรีของประเทศชาติอีกเลย ไม่รักตัวเองก็ขอให้คิดถึงพ่อแม่ว่าท่านต้องเสียใจขนาดไหนถ้ารู้ว่าลูกไปประกอบอาชีพบัดสีน่าอายถึงเมืองนอกเมืองนา
ที่มา : กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ
: สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์
วันจันทร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2555
แอล เอ แผ่นดินไหวถี่ กงสุลไทยปรับแผนเตรียมรับมือ
ตามที่ได้เกิดแผ่นดินไหวติดต่อกันหลายครั้งในเขตนครลอสแอนเจลิส รัฐแคลิฟอร์เนีย ในช่วงตั้งแต่ปลายเดือนสิงหาคม จนถึงต้นเดือน กันยายน 2555 โดยเกิดแผ่นดินไหวขึ้นในเขตดังกล่าวถึง 20 ครั้ง ความรุนแรงสูงสุดตามรายงานอยู่ที่ 3.4 ริกเตอร์ ซึ่งถือว่าเป็นความรุนแรงระดับปานกลาง ล่าสุดเมื่อวันที่ 6 กันยายน 2555 เกิดแผ่นดินไหวขึ้นอีกครั้ง มีจุดศูนย์กลางอยู่ที่เมือง Beverly Hills ความรุนแรงอยู่ที่ 3.4 ริกเตอร์ แต่ไม่มีรายงานผู้เสียชีวิต และยังไม่ได้ส่งผลเสียหายใดๆ
เหตุการณ์แผ่นดินไหวถี่ยิบแบบนี้ สถานกงสุลใหญ่ ณ นครลอสแอนเจลิส จึงต้องปรับแผนเพื่อรับมือกับความเลวร้ายที่อาจเกิดขึ้น เนื่องจากพื้นที่บริเวณตะวันตกชายฝั่งแปซิฟิกของสหรัฐอเมริกาเป็นพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดแผ่นดินไหวอยู่แล้วและในประวัติศาตร์ที่ผ่านมาก็เคยเกิดแผ่นดินไหวรุนแรงมาแล้วหลายครั้ง สร้างความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินอย่างมากมาย ทางสถานกงสุลใหญ่ฯ จึงประชาสัมพันธ์ให้คนไทยในภูมิภาคตะวันตกของสหรัฐให้เตรียมความพร้อมเพื่อรับมือกับการเกิดแผ่นดินไหว โดยได้ลงข้อมูลไว้ในเว็ปไซต์ของสถานกงสุลแล้ว ที่ WWW.thaiconsulatela.org จึงขอให้คนไทยที่พำนักอยู่ในเขตดังกล่าวเฝ้าระวังและติดตามข่าวสารอย่างใกล้ชิดด้วย
ที่มา : สถานกงสุลใหญ่ ณ นครลอสแอนเจลิส
เหตุการณ์แผ่นดินไหวถี่ยิบแบบนี้ สถานกงสุลใหญ่ ณ นครลอสแอนเจลิส จึงต้องปรับแผนเพื่อรับมือกับความเลวร้ายที่อาจเกิดขึ้น เนื่องจากพื้นที่บริเวณตะวันตกชายฝั่งแปซิฟิกของสหรัฐอเมริกาเป็นพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดแผ่นดินไหวอยู่แล้วและในประวัติศาตร์ที่ผ่านมาก็เคยเกิดแผ่นดินไหวรุนแรงมาแล้วหลายครั้ง สร้างความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินอย่างมากมาย ทางสถานกงสุลใหญ่ฯ จึงประชาสัมพันธ์ให้คนไทยในภูมิภาคตะวันตกของสหรัฐให้เตรียมความพร้อมเพื่อรับมือกับการเกิดแผ่นดินไหว โดยได้ลงข้อมูลไว้ในเว็ปไซต์ของสถานกงสุลแล้ว ที่ WWW.thaiconsulatela.org จึงขอให้คนไทยที่พำนักอยู่ในเขตดังกล่าวเฝ้าระวังและติดตามข่าวสารอย่างใกล้ชิดด้วย
ความเสียหายที่เกิดจากแผ่นดินไหวเมื่อปี ค.ศ. 1906 |
และอีกครั้งเมื่อปีค.ศ. 1989 ทั้งสองครั้ง สร้างความเสียหายอย่างกว้างขวาง |
ที่มา : สถานกงสุลใหญ่ ณ นครลอสแอนเจลิส
วันศุกร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2555
สถิติอาชญากรรมเบลเยี่ยมพุ่งกระฉูด
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงบรัสเซลส์รายงานข้อมูลสถิติอาชญากรรมในเบลเยี่ยมว่า สถิติอัตราการเกิดอาชญากรรมในเบลเยี่ยมเพิ่มขึ้นร้อยละ 8-82 ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา โดยกรุงบรัสเซลส์เมืองหลวงครองแชมป์เป็นพื้นที่ที่เกิดอาชญากรรมสูงสุดในประเทศ โดยมีสถิติอาชญากรรม 37 คดีต่อประชากร 100 คน
คดีส่วนใหญ่เป็นคดีเกี่ยวกับทรัพย์ เช่น ฉกชิงวิ่งราว ลักทรัพย์ ขู่กรรโชกทรัพย์ ทำให้เสียทรัพย์ กลุ่มมิจฉาชีพส่วนใหญ่มาจากยุโรปตะวันออกและยุโรปใต้ และหลายกลุ่มใช้ให้ผู้เยาว์ก่อคดีโดยอาศัยช่องว่างของกฎหมายที่ให้การคุ้มครองผู้เยาว์ค่อนข้างมาก นอกจากนี้ คดีลักทรัพย์ในรถยนต์ในปี 2554 เพิ่มสูงขึ้นจากปี 2553 ร้อยละ 5 และอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ก็มีสถิติสูงขึ้นเช่นกัน
ใครจะเดินทางไปยุโรปก็ให้ระวังไว้ด้วย เพราะนอกจากเบลเยี่ยมแล้ว เกือบจะทุกประเทศในยุโรปก็มีปัญหาการเพิ่มสูงขึ้นของอาชญากรรมเช่นเดียวกัน และเหยื่อหรือกลุ่มเป้าหมายของมิจฉาชีพจะเป็นคนต่างชาติโดยเฉพาะนักท่องเที่ยวจากเอเชีย
ที่มา : กองคุ้มครอลและดูแลผลประโยชน์คนไทยในต่างประเทศ
กรมการกงสุล
: สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงบรัสเซลส์
53 น.ศ.ไทยเคว้ง London Metropolitan University ถูกเพิกถอนใบอนุญาต
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร รายงานว่า เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2555 สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองสหราชอาณาจักร (UK Border Agency-UKBA) ได้ประกาศยกเลิกบอนุญาต Highly Trusted Sponsor License ของ London Metropolitan University าำหรับการสอนนักศึกษาต่างชาติเนื่องจากได้ตรวจสอบพบว่านักเรียนต่างชาติที่เรียนที่สถาบันแห่งนี้มีจำนวนมากที่ไม่มีวีซ่านักเรียนที่ถูกต้องและอาศัยอยู่ในประเทศอังกฤษอย่างผิดกฎหมาย นอกจากนี้ มีการตรวจพบว่า เจ้าหน้าที่ของสถาบันแห่งนี้ไม่มีคุณภาพ บางรายไม่สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้ และยังมีสาเหตุย่อยอื่นๆ อีกที่เป็นผลให้ UKBA ต้องยกเลิก License สำหรับสอนนักศึกษาต่างชาติของมหาวิทยาลัยซึ่งส่งผลต่อนักศึกษาต่างชาติที่กำลังศึกษาอยู่ ณ สถานบันแห่งนี้เป็นอย่างมาก รวมถึงนักเรียนชาวไทยที่มีอยู่จำนวน 53 คนด้วย
ในเรื่องนี้ สำนักงานผู้ดูแลนักเรียนในประเทศอังกฤษ (สนร.) ได้พบเจ้าหน้าที่ของมหาวิทยาลัย เพื่อสอบถามถึงการช่วยเหลือนักเรียนไทยจำนวน 53 คน ซึ่งได้รับคำชี้แจงสรุปว่า มหาวิทยาลัยจะช่วยหาที่เรียนใหม่ให้และจะโอนรายวิชาบางส่วนไปยังมหาวิทยาลัยแห่งใหม่ด้วย นอกจากนี้ ยังจะตั้งศูนย์ให้คำปรึกษาด้านการสมัครขอวีซ่านักเรียนใหม่ การคืนเงินค่าเล่าเรียน โดยนักศึกษาสามารถติดต่อขอความช่วยเหลือได้ที่ International Office ของมหาวิทยาลัย
สำหรับนักศึกษาที่ได้ส่งวิทยานิพนธ์แล้วและกำลังรอผลยืนยันการจบการศึกษาในกรณี Dissertation ผ่าน มหาวิทยาลัยคาดว่านักศึกษาจะไม่ได้รับผลกระทบจากกรณีนี้ ส่วนผู้ที่ยังไม่ได้ส่งวิทยานิพนธ์แต่กำลังจะส่งภายในเดือนกันยายนนี้มหาวิทยาลัยก็คาดว่าไม่น่าจะได้รับผลกระทบเช่นกัน
และหากนักศึกษาต่างชาติคนใดอยู่ระหว่างพำนักอยู่นอกสหราชอาณาจักรและจะกลับเข้าสหราชอาณาจักร โปรดติดต่อกับทางมหาวิทยาลัยก่อนเพื่อยืนยันว่าจะไม่มีปัญหาในการผ่านด่านตรวจคนเข้าเมือง ส่วนวีซ่านักเรียนของเดิมจะถูกยกเลิกภายใน 60 วันซึ่งมหาวิทยาลัยจะแจ้งนักศึกษาทุกคนเป็นลายลักษณ์อักษรต่อไป
นักศึกษาสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
***Hotline +44(0) 20 7133 4141 หรือ
*** Mr. Mark Bickerton
Director of International Office
London Metropolitan University
E-mail: m.bickerton@londonmet.ac.uk
*** ข่าวจาก UKBA เกี่ยวกับวีซ่านักเรียนการเดินทางเข้าสหราชอาณาจักร:
http://www.ukba.homeoffice.gov.uk/siteconten/newsarticles/2012/august/28-LMU-revoked1
ที่มา : สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงลอนดอน
ในเรื่องนี้ สำนักงานผู้ดูแลนักเรียนในประเทศอังกฤษ (สนร.) ได้พบเจ้าหน้าที่ของมหาวิทยาลัย เพื่อสอบถามถึงการช่วยเหลือนักเรียนไทยจำนวน 53 คน ซึ่งได้รับคำชี้แจงสรุปว่า มหาวิทยาลัยจะช่วยหาที่เรียนใหม่ให้และจะโอนรายวิชาบางส่วนไปยังมหาวิทยาลัยแห่งใหม่ด้วย นอกจากนี้ ยังจะตั้งศูนย์ให้คำปรึกษาด้านการสมัครขอวีซ่านักเรียนใหม่ การคืนเงินค่าเล่าเรียน โดยนักศึกษาสามารถติดต่อขอความช่วยเหลือได้ที่ International Office ของมหาวิทยาลัย
สำหรับนักศึกษาที่ได้ส่งวิทยานิพนธ์แล้วและกำลังรอผลยืนยันการจบการศึกษาในกรณี Dissertation ผ่าน มหาวิทยาลัยคาดว่านักศึกษาจะไม่ได้รับผลกระทบจากกรณีนี้ ส่วนผู้ที่ยังไม่ได้ส่งวิทยานิพนธ์แต่กำลังจะส่งภายในเดือนกันยายนนี้มหาวิทยาลัยก็คาดว่าไม่น่าจะได้รับผลกระทบเช่นกัน
และหากนักศึกษาต่างชาติคนใดอยู่ระหว่างพำนักอยู่นอกสหราชอาณาจักรและจะกลับเข้าสหราชอาณาจักร โปรดติดต่อกับทางมหาวิทยาลัยก่อนเพื่อยืนยันว่าจะไม่มีปัญหาในการผ่านด่านตรวจคนเข้าเมือง ส่วนวีซ่านักเรียนของเดิมจะถูกยกเลิกภายใน 60 วันซึ่งมหาวิทยาลัยจะแจ้งนักศึกษาทุกคนเป็นลายลักษณ์อักษรต่อไป
นักศึกษาสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
***Hotline +44(0) 20 7133 4141 หรือ
*** Mr. Mark Bickerton
Director of International Office
London Metropolitan University
E-mail: m.bickerton@londonmet.ac.uk
*** ข่าวจาก UKBA เกี่ยวกับวีซ่านักเรียนการเดินทางเข้าสหราชอาณาจักร:
http://www.ukba.homeoffice.gov.uk/siteconten/newsarticles/2012/august/28-LMU-revoked1
ที่มา : สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงลอนดอน
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)