สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงอาบูจา รายงานการให้ความช่วยเหลือหนุ่มไทยที่ถูกหลอกไปทำงานที่ไนจีเรียว่า เมื่อช่วงใกล้ค่ำของวันที่ 19 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่สถานทูตเสร็จสิ้นภารกิจประจำวันกำลังจะกลับบ้านพักก็มีหนุ่มใหญ่ชาวไทยคนหนึ่ง กระเซอะกระเซิงเหมือนหนีอะไรมา พอเจอเจ้าหน้าที่สถานทูตก็ระล่ำีะลักขอความช่วยเหลือให้ส่งตัวกลับเมืองไทยด้วย
เจ้าหน้าที่ต้องพาเข้าไปนั่งพักในสถานทูต น้ำหาท่าให้ดื่มจนสบายใจคลายกังวลจึงได้สอบถามที่มาที่ไปว่าด้วยเหตุผลกลใดหนุ่มไทยจากลุ่มเจ้าพระยาจึงได้เซถลามาถึงกรุงอาบูจาของไนจีเรียได้ หนุ่มใหญ่จากสยามเมืองยิ้มเล่าว่า เมื่อปลายปี 2555 ที่ผ่านมา ตนได้รับการแนะนำจากคนไทยที่เคยทำงานที่ไนจีเรียให้เดินทางไปไนจีเรียเพื่อทำงานในตำแหน่งกุ๊ก โดยอ้างว่าจะได้รับเงินเดือนๆ ละ 700 เหรียญสหรัฐ ( ประมาณ 20,000 บาท ) ก่อนเดินทางมีนายหน้าคนไทยรับเดินทางเรื่องให้ทุกอย่างโดยมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ 20,000 บาท หลังจากได้รับวีซ่าแล้ว หนุ่มไทยรายนี้จึงเดินทางไปไนจีเรียเมื่อวันที่ 19 ต.ค. 55 พร้อมกับคนไทยอื่นๆ ที่ไม่รู้จักอีก 5 คน เมื่อเดินทางถึงสนามบินเมืองลากอส ตนถูกแยกตัวออกไปทำงานที่เมือง Owerri ทำหน้าที่คนสวน โดยได้รับค่าจ้างเพียง 500 เหรียญสหรัฐ (ประมาณ 15,000 บาท - เท่ากับค่าแรงขั้นต่ำของไทยพอดี ) ต่อเดือน ตลอด 3 เดือนที่ผ่านมาตนต้องทำงานหนักทุกวัน ทั้งงานคนสวน ปลูกดอกไม้ใส่ปุ๋ยต้นไม้ใบหญ้าต่างๆ แถมยังมีงานเสริมพิเศษ ( น่าจะเรียกว่างานเพิ่มพิเศษ คืองานเพิ่มแต่เงินไม่เพิ่ม) จัดหนักกันมาทั้งขนลังเครื่องดื่มนับร้อยลังรวมทั้งงานอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวกับงานทำสวน วันหยุดก็ไม่มี เงินก็จ่ายไม่สม่ำเสมอและไม่เต็มจำนวน งานจัดเต็มแต่เงินไม่เต็มแบบนี้ ซ้ำยังเหมือนถูกควบคุมตัว ไม่มีอิสระในการไปไหนมาไหน หนุ่มไทยจึงจำต้องลาจากคิดหาทางเล็ดลอดออกมาจากขุมนรกให้ได้ จนกระทั่งโอกาสมาถึง ร.ป.ภ. ที่เฝ้าอยู่เผลอหลับยาม หนุ่มไทยจึงใช้วิชาตัวเบาที่ฝึกปรือมาตั้งแต่สมัยเป็นนักเรียน โดดหนีออกจากบ้านนายจ้างมาได้ จากนั้นก็กระโดดขึ้นรถโดยสารจากเมืองนั้นหนีมายังกรุงอาบูจา ระยะทางกว่า 600 กิโลเมตร เพื่อขอความช่วยเหลือ และที่ต้องมาถึงสถานทูตเอาเกือบค่ำก็เพราะว่าโดนแท็กซี่หลอกพาไปวนรอบเมืองตั้งหลายรอบ เสียค่าโดยสารไปเกือบหมดตัว กว่าจะมาถึงจึงเกือบค่ำ
เจ้าหน้าที่สถานทูตเห็นสภาพของหนุ่มไทยแล้วก็ให้สงสาร จึงได้จัดหาที่พักและอาหารให้ชั่วคราว จากนั้น จึงได้สำรองค่าใช้จ่ายจัดการให้หนุ่มไทยเดินทางกลับบ้านไปแล้วเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์
เรื่องนี้ เป็นอุทธาหรณ์อีกเรื่องหนึ่ง และเป็นเรื่องที่พิสูจน์ให้เห็นว่า สิ่งที่กระทรวงการต่างประเทศและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้พร่ำเตือนคนไทยไม่ให้ต้องถูกหลอกไปตกทุกข์ได้ยากในต่างประเทศนั้น ไม่ใช่เป็นเรื่องไกลตัวเลย การเดินทางไปทำงานในต่างประเทศไ่ม่ใช่เรื่องที่จะ "คิดกันง่ายๆ ทำกันง่าย แล้วได้สตางค์เยอะ " แต่เป็นเรื่องสำคัญกับชีวิตของท่านและครอบครัว ดังนั้น ขอให้ คิดเยอะๆ ตรวจสอบให้ดี อิงข้อมูลจากหน่วยราชการเอาไว้ก่อน อย่าไปเชื่อนายหน้าเถื่อนหรือใครก็ไม่รู้มาบอกว่าให้ไปทำงานต่างประเทศแล้วจะได้เงินดี ถ้าไม่มีสัญญาจ้างงานที่ผ่านการรับรองจากหน่วยงานของรัฐ คือกระทรวงแรงงานหรือกระทรวงการต่างประเทศ อย่าได้หลงเชื่อเด็ดขาด มิฉะนั้น จะเป็นเหมือนเช่นหนุ่มไทยรายนี้
ที่มา : สถานเอกอัึครราชทูต ณ กรุงอาบูจา
: กองคุ้มครองและดูแลผลประโยชน์คนไทยในต่างประเทศ
กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ
วันพุธที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
วันอังคารที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
กุมภาระส่ำ ภัยพิบัติถี่ยิบทั่วโลก
สถานเอกอัครราชทูต และสถานกงสุลใหญ่ของไทย รายงานเหตุภัยพิบัติช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2556 ดังนี้
1. สถานกงสุลใหญ่ ณ นครหนานหนิง ประเทศจีน รายงานว่า เกิดเหตุแผ่นดินไหวในมณฑลกว่างซี ขนาด 4.5 ริกเตอร์ มีผู้ประสบภัย 3,941 ราย บ้านเรือนเกษตรกรได้รับความเสียหายขั้นรุนแรง 130 หลังคาเรือน และได้รับความเสียหายบางส่วน 1,182 หลังคาเรือน แผ่นดินไหวครั้งนี้ สร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจไม่ต่ำกว่า 4 ล้านหยวน โชคดีที่ไม่มีรายงานผู้เสียชีวิต
2. สถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองเจนไน ประเทศอินเดีย รายงานว่า ได้เกิดเหตุระเบิด 2 ครั้ง ในเมืองไฮเดอราบัด เมืองหลวงของรัฐอานธรประเทศ มีผู้เสียชีวิต 13 ราย บาดเจ็บ 70 ราย ทางการคาดว่าน่าจะเป็นฝีมือของกลุ่ม Lashkar ภายใต้การกำกับของ Indian Mujahideen
สถานกงสุลใหญ่ฯ ได้ตรวจสอบกับนักเรียนไทยและคนไทยที่พำนักอยู่ที่เมืองไฮเดอราบัดซึ่งมีจำนวน 19 คน ทราบว่าทุกคนปลอดภัยดี กงสุลจึงได้ย้ำให้เพิ่มความระมัดระวังให้มากขึ้น
3.สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงมะนิลา รายงานภาพรวมของความเสียหายจากพายุดีเปรสชั่น Crising ที่เคลื่อนตัวผ่านพื้นที่ทางตอนใต้ของเกาะมินดาเนาตั้งแต่วันที่ 19 กุมภาพันธ์ ว่า พายุครั้งนี้ทำให้มีผู้เสียชีวิต 4 คน บาดเจ็บ 4 คน สูญหาย 2 คน มีชาวฟิลลิปปินส์ได้รับผลกระทบมากกว่า 2 แสนคน โดยในจำนวนนี้กว่า 9 หมื่นคนต้องอาศัยอยู่ในศูนย์พักพิงชั่วคราว ถนน 2 สาย สะพาน 6 แห่ง เสียหายใช้สัญจรไม่ได้ บ้าน 87 หลังได้รับความเสียหาย ไม่มีรายงานคนไทยประสบเหตุจากพายุดังกล่าว
4.สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น รายงานการเกิดแผ่นดินไหวที่จังหวัดโทจิกิ ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศเหนือของกรุงโตเกียวห่างออกไปประมาณ 158 กิโลเมตร โดยวัดแรงสั่นสะเทือนได้ 6.2 ริกเตอร์ และยังมีอาฟเตอร์ช็อกตามมาอีกหลายครั้ง แผ่นดินไหวครั้งนี้ไม่ได้สร้างความเสียหายมากนัก ไม่มีผู้เสียชีวิต มีเพียงเกิดรอยแตกบริเวณพื้นถนน 10 สาย ไฟฟ้าดับระยัสั้นๆ
จังหวัดโทจิกิมีคนไทยอาศัยอยู่ 1,929 คน ซึ่งสถานทูตตรวจสอบกับเครือข่ายแล้ว ไม่มีรายงานคนไทยได้รับผลกระทบ โดยคนไทยในญี่ปุ่นต่างรับทราบและเข้าใจถึงสถานการณ์ภัยพิบัติจากแผ่นดินไหวเป็นอย่างดีและมีการระมัดระวังป้องกันตัวโดยมีการเตรียมความพร้อมจัดเตรียมอาหารน้ำดื่มและเวชภัณฑ์รวมทั้งสิ่งของจำเป็นสำหรับกรณีฉุกเฉินไว้แล้ว
ทางสถานทูตเองก็ได้จัดสรรงบประมาณและเตรียมความพร้อมสำหรับกรณีเกิดเหตุการณ์ภัยพิบัติเสียหายและมีคนไทยได้รับผลกระทบก็สามารถให้ความช่วยเหลือได้ทันที
จะเห็นได้ว่า ปัจจุบันภัยพิบัติต่างๆ ทั้งจากเหตุธรรมชาติและภัยจากการก่อการร้าย รวมทั้งอุบัติภัยเกิดขึ้นค่อนข้างบ่อยครั้งในทั่วทุกมุมโลก คนไทยที่พำนักอยู่ในต่างประเทศจึงต้องเฝ้าระวังตัวให้มากขึ้น และคอยติดตามข่าวสารและการเตือนภัยต่างๆ ตลอดเวลา
ที่มา : กองคุ้มครองและดูแลผลประโยชน์คนไทยในต่างประเทศ
กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ
: สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโตเกียว
: สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงมะนิลา
: สถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองเจนไน
: สถานกงสุลใหญ่ ณ นครหนานหนิง
1. สถานกงสุลใหญ่ ณ นครหนานหนิง ประเทศจีน รายงานว่า เกิดเหตุแผ่นดินไหวในมณฑลกว่างซี ขนาด 4.5 ริกเตอร์ มีผู้ประสบภัย 3,941 ราย บ้านเรือนเกษตรกรได้รับความเสียหายขั้นรุนแรง 130 หลังคาเรือน และได้รับความเสียหายบางส่วน 1,182 หลังคาเรือน แผ่นดินไหวครั้งนี้ สร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจไม่ต่ำกว่า 4 ล้านหยวน โชคดีที่ไม่มีรายงานผู้เสียชีวิต
2. สถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองเจนไน ประเทศอินเดีย รายงานว่า ได้เกิดเหตุระเบิด 2 ครั้ง ในเมืองไฮเดอราบัด เมืองหลวงของรัฐอานธรประเทศ มีผู้เสียชีวิต 13 ราย บาดเจ็บ 70 ราย ทางการคาดว่าน่าจะเป็นฝีมือของกลุ่ม Lashkar ภายใต้การกำกับของ Indian Mujahideen
สถานกงสุลใหญ่ฯ ได้ตรวจสอบกับนักเรียนไทยและคนไทยที่พำนักอยู่ที่เมืองไฮเดอราบัดซึ่งมีจำนวน 19 คน ทราบว่าทุกคนปลอดภัยดี กงสุลจึงได้ย้ำให้เพิ่มความระมัดระวังให้มากขึ้น
3.สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงมะนิลา รายงานภาพรวมของความเสียหายจากพายุดีเปรสชั่น Crising ที่เคลื่อนตัวผ่านพื้นที่ทางตอนใต้ของเกาะมินดาเนาตั้งแต่วันที่ 19 กุมภาพันธ์ ว่า พายุครั้งนี้ทำให้มีผู้เสียชีวิต 4 คน บาดเจ็บ 4 คน สูญหาย 2 คน มีชาวฟิลลิปปินส์ได้รับผลกระทบมากกว่า 2 แสนคน โดยในจำนวนนี้กว่า 9 หมื่นคนต้องอาศัยอยู่ในศูนย์พักพิงชั่วคราว ถนน 2 สาย สะพาน 6 แห่ง เสียหายใช้สัญจรไม่ได้ บ้าน 87 หลังได้รับความเสียหาย ไม่มีรายงานคนไทยประสบเหตุจากพายุดังกล่าว
4.สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น รายงานการเกิดแผ่นดินไหวที่จังหวัดโทจิกิ ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศเหนือของกรุงโตเกียวห่างออกไปประมาณ 158 กิโลเมตร โดยวัดแรงสั่นสะเทือนได้ 6.2 ริกเตอร์ และยังมีอาฟเตอร์ช็อกตามมาอีกหลายครั้ง แผ่นดินไหวครั้งนี้ไม่ได้สร้างความเสียหายมากนัก ไม่มีผู้เสียชีวิต มีเพียงเกิดรอยแตกบริเวณพื้นถนน 10 สาย ไฟฟ้าดับระยัสั้นๆ
จังหวัดโทจิกิมีคนไทยอาศัยอยู่ 1,929 คน ซึ่งสถานทูตตรวจสอบกับเครือข่ายแล้ว ไม่มีรายงานคนไทยได้รับผลกระทบ โดยคนไทยในญี่ปุ่นต่างรับทราบและเข้าใจถึงสถานการณ์ภัยพิบัติจากแผ่นดินไหวเป็นอย่างดีและมีการระมัดระวังป้องกันตัวโดยมีการเตรียมความพร้อมจัดเตรียมอาหารน้ำดื่มและเวชภัณฑ์รวมทั้งสิ่งของจำเป็นสำหรับกรณีฉุกเฉินไว้แล้ว
ทางสถานทูตเองก็ได้จัดสรรงบประมาณและเตรียมความพร้อมสำหรับกรณีเกิดเหตุการณ์ภัยพิบัติเสียหายและมีคนไทยได้รับผลกระทบก็สามารถให้ความช่วยเหลือได้ทันที
จะเห็นได้ว่า ปัจจุบันภัยพิบัติต่างๆ ทั้งจากเหตุธรรมชาติและภัยจากการก่อการร้าย รวมทั้งอุบัติภัยเกิดขึ้นค่อนข้างบ่อยครั้งในทั่วทุกมุมโลก คนไทยที่พำนักอยู่ในต่างประเทศจึงต้องเฝ้าระวังตัวให้มากขึ้น และคอยติดตามข่าวสารและการเตือนภัยต่างๆ ตลอดเวลา
ที่มา : กองคุ้มครองและดูแลผลประโยชน์คนไทยในต่างประเทศ
กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ
: สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโตเกียว
: สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงมะนิลา
: สถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองเจนไน
: สถานกงสุลใหญ่ ณ นครหนานหนิง
วันอังคารที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
โดนเข้าให้แล้ว จับตัวประกันต่างชาติที่ไนจีเรีย
ตามที่ได้มีการเตือนภัยการเดินทางไปไนจีเรียเนื่องจากอาจมีการก่อการร้ายและการจับชาวต่างชาติเป็นตัวประกัน ล่าสุด สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงอาบูจา ประเทศไนจีเรีย รายงานว่าเมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์เกิดเหตุกลุ่มคนร้ายติดอาวุธบุกเข้าไปยังบริษัทก่อสร้างแห่งหนึ่งซึ่งมีเจ้าของกิจการเป็นชาวเลบานอนและตั้งอยู่ที่เมือง Jama'are รัฐ Bauchi ทางตอนเหนือของไนจีเรีย สังหารเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย 1 นายและจับตัวประกันต่างชาติ 7 คน ประกอบด้วยชาวอังกฤษ 1 คน อิตาเลียน 1 คน กรีก 1 คน และชาวเลบานอน 4 คน ในจำนวนนี้เป็นผู้หญิง 2 คน
เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นกลังจากกลุ่มคนร้ายได้โจมตีสถานีตำรวจและเรือนจำในรัฐ Bauchi ในคืนวันที่ 16 กุมภาพันธ์ และเผาทำลายรถยนต์ของสถานีตำรวจ 2 คัน ขณะนี้ ยังไม่มีกลุ่มใดออกมาแสดงความรับผิดชอบและตำรวจกำลังติดตามจับกุมกลุ่มคนร้ายดังกล่าว
การจับตัวประกันชาวต่างชาติมีแนวโน้มรุนแรงและแผ่ขยายพื้นที่ทั่วประเทศ ซึ่งมีทั้งการจับตัวเพื่อเรียกค่าไถ่ จนถึงการจับตัวประกันและสังหารชาวต่างชาติเพื่อเหตุผลทางการเมืองโดยกลุ่มก่อการร้ายที่มีสมาชิกเป็นกลุ่มมุสลิมหัวรุนแรงในประเทศมาลี ก่อนหน้านี้ มีชาวฝรั่งเศสถูกจับหายไปไร่ร่องรอย ซึ่งเชื่อว่าเป็นการกระทำเพื่อแก้แค้นที่ฝรั่งเศสส่งทหารเข้าไปในประเทศมาลี นอกจากนี้ แพทย์ชาวเกาหลีเหนือ 3 คน ก็ถูกสังหารในที่พักหลังจากที่ทีมเจ้าหน้าที่สาธารณสุขไนจีเรีย 9 คน ถูกยิงสังหารเพียง 1 วัน
เรื่องร้ายแรงแบบนี้ จะแค่ให้ "ระวังตัว" ก็คงไม่พอ เพราะดูจากสภาพการณ์แล้ว ไม่ว่าจะระวังตัวดีแค่ไหน โอกาสที่จะตกเป็นเหยื่อของความรุนแรงนี้ก็มีอยู่สูงมาก โลกสมัยนี้มีเหตุรุนแรงเกิดมากขึ้น ยากที่จะระมัดระวัง และโอกาสที่จะต้องประสบเคราะห์กรรมก็สูงมาก และเมื่อประสบเหตุแล้วการให้ความช่วยเหลือแทบจะเป็นไปไม่ได้เลย ทางที่ดี ควรหลีกเลี่ยงที่จะเอาตัวเองเข้าไปเสี่ยงกับเรื่องแบบนี้ แต่ถ้าจำเป็นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้จริงๆ นอกจากจะต้องระวังตัวแล้ว ต้อง "ทำใจ" ไว้ด้วย เพราะถ้าเกิดโชคร้ายจะได้ไม่ต้องโทษใครและไม่ต้องตีโพยตีพายว่าไม่มีใครหรือหน่วยงานใดช่วยเหลือ
ที่มา : สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงอาบูจา
: กองคุ้มครองและดูแลผลประโยชน์คนไทยในต่างประเทศ
กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ
เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นกลังจากกลุ่มคนร้ายได้โจมตีสถานีตำรวจและเรือนจำในรัฐ Bauchi ในคืนวันที่ 16 กุมภาพันธ์ และเผาทำลายรถยนต์ของสถานีตำรวจ 2 คัน ขณะนี้ ยังไม่มีกลุ่มใดออกมาแสดงความรับผิดชอบและตำรวจกำลังติดตามจับกุมกลุ่มคนร้ายดังกล่าว
การจับตัวประกันชาวต่างชาติมีแนวโน้มรุนแรงและแผ่ขยายพื้นที่ทั่วประเทศ ซึ่งมีทั้งการจับตัวเพื่อเรียกค่าไถ่ จนถึงการจับตัวประกันและสังหารชาวต่างชาติเพื่อเหตุผลทางการเมืองโดยกลุ่มก่อการร้ายที่มีสมาชิกเป็นกลุ่มมุสลิมหัวรุนแรงในประเทศมาลี ก่อนหน้านี้ มีชาวฝรั่งเศสถูกจับหายไปไร่ร่องรอย ซึ่งเชื่อว่าเป็นการกระทำเพื่อแก้แค้นที่ฝรั่งเศสส่งทหารเข้าไปในประเทศมาลี นอกจากนี้ แพทย์ชาวเกาหลีเหนือ 3 คน ก็ถูกสังหารในที่พักหลังจากที่ทีมเจ้าหน้าที่สาธารณสุขไนจีเรีย 9 คน ถูกยิงสังหารเพียง 1 วัน
เรื่องร้ายแรงแบบนี้ จะแค่ให้ "ระวังตัว" ก็คงไม่พอ เพราะดูจากสภาพการณ์แล้ว ไม่ว่าจะระวังตัวดีแค่ไหน โอกาสที่จะตกเป็นเหยื่อของความรุนแรงนี้ก็มีอยู่สูงมาก โลกสมัยนี้มีเหตุรุนแรงเกิดมากขึ้น ยากที่จะระมัดระวัง และโอกาสที่จะต้องประสบเคราะห์กรรมก็สูงมาก และเมื่อประสบเหตุแล้วการให้ความช่วยเหลือแทบจะเป็นไปไม่ได้เลย ทางที่ดี ควรหลีกเลี่ยงที่จะเอาตัวเองเข้าไปเสี่ยงกับเรื่องแบบนี้ แต่ถ้าจำเป็นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้จริงๆ นอกจากจะต้องระวังตัวแล้ว ต้อง "ทำใจ" ไว้ด้วย เพราะถ้าเกิดโชคร้ายจะได้ไม่ต้องโทษใครและไม่ต้องตีโพยตีพายว่าไม่มีใครหรือหน่วยงานใดช่วยเหลือ
ที่มา : สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงอาบูจา
: กองคุ้มครองและดูแลผลประโยชน์คนไทยในต่างประเทศ
กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ
วันอาทิตย์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
สถานทูตไทยที่เซเนกัลออกประกาศเตือนภัย
ประกาศสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงดาการ์
เรื่อง การแจ้งเตือนคนไทยในสาธารณรัฐเซเนกัล (ฉบับที่ 1/2556)
ตามที่ได้เกิดความไม่สงบจากกองกำลังผู้ก่อการร้ายที่ยึดครองเขตภาคเหนือของสาธารณรัฐมาลี และต่อมา เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2555 คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ (UNSC)ได้รับรองร่างข้อมติที่ 2085(2012) อนุมัติการส่งกองกำลังทหารนำโดยกลุ่มประเทศแอฟริกาที่เรียกว่า African-led International Support Mission in Mali (AFISMA) ไปช่วยกองกำลังทหารมาลีกอบกู้ดินแดนทางภาคเหนือกลับคืนจากกองกำลังกบฎและกองกำลังติดอาวุธ โดยยังมิได้ระบุเวลาเริ่มปฏิบัติการแทรกแซงทางทหารและต่อมากองกำลังผู้ก่อการร้ายได้เข้ายึดเมือง Konna โดยมีจุดหมายที่จะยึดกรุงบามาโกซึ่งเป็นเมืองหลวงของมาลีจนทำให้รัฐบาลฝรั่งเศสต้องส่งกองกำลังทางอากาศและภาคพื้นดินเข้าช่วยเหลือมาลี ตั้งแต่วันที่ 11 มกราคม 2556 นั้น
สถานเอกอ้ครราชทูต ฯ ขอเรียนว่า แม้ว่า เซเนกัลมิได้เป็นเป้าหมายสำคัญของกองกำลังผู้ก่อการร้าย แต่โดยที่เซเนกัลเป็นประเทศที่มีพรมแดนติดต่อกันกับมาลีและมอริตาเนีย เซเนกัลจึงเป็นประเทศหนึ่งในภูมิภาคแอฟริกาตะวันตกที่ต้องเพิ่มความระมัดระวังจากภัยอันตรายที่เกิดจากกองกำลังผู้ก่อการร้าย จึงขอประกาศเตือนคนไทยในเซเนกัลให้เพิ่มความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินทางไปทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของเซเนกัลบริเวณพรมแดนระหว่างเซเนกัลกับมอริตาเนียและเซเนกัลกับมาลีหากไม่จำเป็น ทั้งนี้ ท่านสามารถติดตามประกาศคำเตือนจากเว็ปไซต์สถานเอกอัครราชทูต ฯ http://www.thaiembassy.org/dakar/หรือส่ง e- mail: thaidkr@orange.sn หรือสอบถาม/ติดต่อสถานเอกอัครราชทูต ฯ ได้ตามที่อยู่และหมายเลขโทรศัพท์ดังต่อไปนี้
L’Ambassade Royale de Thailande, 10 Rue Leon G.Damas, Fann Residence, Dakar
หมายเลขโทรศัพท์สถานเอกอัครราชทูต ฯ +221 33 869 3290 โทรสาร +221 33 824 84 58
โทรศัพท์มือถือเจ้าหน้าที่กงสุล +223 777 426 122
จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบและประชาสัมพันธ์ให้คนไทยทราบโดยทั่วกัน
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงดาการ์
4 กุมภาพันธ์ 2556
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงดาการ์
โทร. (221) 33 869 3290
โทรสาร (221) 33 824 8458, 33 825 6360
ประกาศสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงดาการ์
เรื่อง การแจ้งเตือนคนไทยในสาธารณรัฐเซเนกัล (ฉบับที่ 2/2556)
ตามที่ได้มีการปล้นธนาคาร Credit Mutuel du de Kafountine เมือง Kafountine เขต Ziguinchorเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2556 ทำให้มีผู้เสียชีวิต 5 คน เป็นพลเรือน 3 คน ซึ่งเชื่อว่าเป็นการกระทำของกองกำลัง Le Mouvement des forces démocratiques de Casamance (MFDC) นั้น
สถานเอกอัครราชทูต ฯ ขอเรียนว่า การก่อเหตุความรุนแรงในเขตดังกล่าวยังมีอย่างต่อเนื่อง แม้จะมีความพยายามหาทางแก้ไขปัญหาของฝ่ายรัฐบาลเซเนกัลก็ตาม แต่ยังมีการต่อสู้ระหว่างฝ่ายกองกำลังทหารเซเนกัลกับกองกำลัง MFDC ซึ่งในระยะหลังกลุ่มเป้าหมายมิใช่เฉพาะฝ่ายกองกำลังทหารเซเนกัลเท่านั้น แต่รวมถึงพลเรือนด้วยและปรากฏข่าวบ่อยครั้งเกี่ยวกับการปล้นสะดมผู้โดยสารรถประจำทาง การปล้นทรัพย์สินของผู้เดินทางโดยรถยนต์ไปยังเขตดังกล่าวซึ่งเชื่อว่าเป็นการกระทำของกลุ่ม MFDC จึงขอแจ้งเตือนคนไทยในเซเนกัลให้ใช้ความระมัดระวังในการเดินทางท่องเที่ยวไปยังเขตทางใต้ของเซเนกัลโดยทางรถยนต์โดยเฉพาะเขต Ziguinchor และขอให้มีความระมัดระวังในระหว่างท่องเที่ยวในเขตดังกล่าวด้วย ทั้งนี้ ท่านสามารถติดตามประกาศคำเตือนจากเว็ปไซต์สถานเอกอัครราชทูต ฯ http://www.thaiembassy.org/dakar/หรือส่ง e- mail: thaidkr@orange.sn หรือสอบถาม/ติดต่อสถานเอกอัครราชทูต ฯ ได้ตามที่อยู่และหมายเลขโทรศัพท์ดังต่อไปนี้
L’Ambassade Royale de Thailande, 10 Rue Leon G.Damas, Fann Residence, Dakar
หมายเลขโทรศัพท์สถานเอกอัครราชทูต ฯ +221 33 869 3290 โทรสาร +221 33 824 84 58
โทรศัพท์มือถือเจ้าหน้าที่กงสุล +223 777 426 122
จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบและประชาสัมพันธ์ให้คนไทยทราบโดยทั่วกัน
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงดาการ์
4 กุมภาพันธ์ 2556
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงดาการ์
โทร. (221) 33 869 3290
โทรสาร (221) 33 824 8458, 33 825 6360
วันอาทิตย์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
สถานทูตไทย ที่พึ่งคนไทยในต่างประเทศตั้งแต่เกิดจนตาย
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงราบัต ประเทศโมร็อกโก รายงานการดำเนินการเกี่ยวกับคนไทยเสียชีวิตที่ประเทศโมร็อกโก ว่า สถานทูตได้รับมอบอำนาจจากญาติของชายไทยรายหนึ่งที่เสียชีวิตที่ประเทศโมร็อกโกด้วยเหตุธรรมชาติ โดยสถานทูตได้ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของโมร็อกโก ญาติและเพื่อนผู้เสียชีวิต รวมทั้งประสานกับฌาปนสถาน ซึ่งทุกอย่างลุล่วงไปด้วยดี โดยในการฌาปนกิจ ท่านทูต พร้อมทั้งเจ้าหน้าที่สถานทูตทุกคน รวมทั้งเพื่อนร่วมงานของผู้เสียชีวิตได้เดินทางไปร่วมไว้อาลัยด้วย จากนั้น ได้มอบอัฐิส่วนหนึ่งให้เพื่อนร่วมงานของผู้ตายที่จะเดินทางกลับประเทศไทยและนำอัฐิไปประกอบพิธีทางศาสนาต่อไป
ปัจจุบัน มีคนไทยพำนักอาศัยและทำงานอยู่ในต่างประเทศเป็นจำนวนมาก จำนวนคนไทยที่เกิดและเสียชีวิตในต่างประเทศจึงเพิ่มมากขึ้นด้วย สถานทูตและสถานกงสุลไทยทุกแห่งจึงมีหน้าที่ๆ สำคัญอีกประการหนึ่ง คือต้องเป็นสำนักทะเบียนราษฎร์ ทำหน้าที่ออกใบสูติบัตรและมรณบัตรให้กับคนไทยที่เกิดหรือตายในต่างประเทศ ซึ่งในกรณีที่มีคนไทยเสียชีวิตในต่างประเทศนั้น นอกจากจะต้องออกมรณบัตรตามหน้าที่ที่กำหนดไว้โดยกฎหมายแล้ว ยังต้องทำหน้าที่เหมือนเป็นพี่เลี้ยงในเรื่องการจัดการศพให้กับญาติด้วย เพราะส่วนใหญ่พอมีผู้เสียชีวิตในต่างประเทศ ญาติก็มักจะทำอะไรไม่ถูก ไม่ทราบขั้นตอนว่าจะดำเนินการเกี่ยวกับการจัดการศพอย่างไร และไม่เข้าใจว่าการที่มีผู้เสียชีิวิตจะมีผลทางกฎหมายตามมาอย่างไรบ้าง เช่น เรื่องของผลประโยชน์พึงได้ กรณีเป็นแรงงาน เรื่องของมรดก พินัยกรรม (ถ้ามี) เรื่องประกันชีวิต ฯลฯ เรื่องยุ่งยากต่างๆ เหล่านี้ สถานทูตและสถานกงสุลไทยทุกแห่งพร้อมให้คำแนะนำและช่วยเหลืออำนวยความสะดวกให้ด้วยความเต็มใจ
คนไทยไม่ทิ้งกัน กระทั่งวาระสุดท้ายมาถึง กระทรวงการต่างประเทศ และสถานทูต/สถานกงสุลไทยทุกแห่ง จะไม่ปล่อยให้คนไทยต้องจากไปอย่างโดดเดี่ยวไร้ญาติขาดมิตรอย่างแน่นอน
ที่มา : สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงราบัต
: กองคุ้มครองและดูแลผลประโยชน์คนไทยในต่างประเทศ
กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ
ปัจจุบัน มีคนไทยพำนักอาศัยและทำงานอยู่ในต่างประเทศเป็นจำนวนมาก จำนวนคนไทยที่เกิดและเสียชีวิตในต่างประเทศจึงเพิ่มมากขึ้นด้วย สถานทูตและสถานกงสุลไทยทุกแห่งจึงมีหน้าที่ๆ สำคัญอีกประการหนึ่ง คือต้องเป็นสำนักทะเบียนราษฎร์ ทำหน้าที่ออกใบสูติบัตรและมรณบัตรให้กับคนไทยที่เกิดหรือตายในต่างประเทศ ซึ่งในกรณีที่มีคนไทยเสียชีวิตในต่างประเทศนั้น นอกจากจะต้องออกมรณบัตรตามหน้าที่ที่กำหนดไว้โดยกฎหมายแล้ว ยังต้องทำหน้าที่เหมือนเป็นพี่เลี้ยงในเรื่องการจัดการศพให้กับญาติด้วย เพราะส่วนใหญ่พอมีผู้เสียชีวิตในต่างประเทศ ญาติก็มักจะทำอะไรไม่ถูก ไม่ทราบขั้นตอนว่าจะดำเนินการเกี่ยวกับการจัดการศพอย่างไร และไม่เข้าใจว่าการที่มีผู้เสียชีิวิตจะมีผลทางกฎหมายตามมาอย่างไรบ้าง เช่น เรื่องของผลประโยชน์พึงได้ กรณีเป็นแรงงาน เรื่องของมรดก พินัยกรรม (ถ้ามี) เรื่องประกันชีวิต ฯลฯ เรื่องยุ่งยากต่างๆ เหล่านี้ สถานทูตและสถานกงสุลไทยทุกแห่งพร้อมให้คำแนะนำและช่วยเหลืออำนวยความสะดวกให้ด้วยความเต็มใจ
คนไทยไม่ทิ้งกัน กระทั่งวาระสุดท้ายมาถึง กระทรวงการต่างประเทศ และสถานทูต/สถานกงสุลไทยทุกแห่ง จะไม่ปล่อยให้คนไทยต้องจากไปอย่างโดดเดี่ยวไร้ญาติขาดมิตรอย่างแน่นอน
ที่มา : สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงราบัต
: กองคุ้มครองและดูแลผลประโยชน์คนไทยในต่างประเทศ
กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ
วันพฤหัสบดีที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
2 หนุ่มไทยโดนรวบที่เคนยา สวมสร้อยงาช้าง
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงไนโรบี ประเทศเคนยา รายงานการให้ความช่วยเหลือหนุ่มไทย 2 ราย ที่ถูกจับกุมที่สนามบินนานาชาติเคนยา ว่า เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2556 เจ้าหน้าที่สถานทูตได้เดินทางไปยังศาลซึ่งเป็นที่พิจารณาคดี 2 หนุ่มไทยในข้อหามีสร้อยทำด้วยงาช้าง นำหนัก 200 กรัม ราคา ประมาณ 1,800 บาท ไว้ในครอบครองคนละ 1 เส้น โดยไม่มีหนังสือรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า
เจ้าหน้าที่สถานทูตได้สอบถามข้อเท็จจริงจาก 2 หนุ่ม ทราบว่า ทั้งสองคนทำงานอยู่ในประเทศแอฟริกาใต้และซื้อสร้อยดังกล่าวจากคนพื้นเมืองที่นำไปขายให้ถึงที่พักคนงาน 2 หนุ่ม อ้างว่าที่แอฟริกาใต้มีคนสวมใส่สร้อยงาช้างกันมากและไม่ถือเป็นความผิด ทั้ง 2 คนยังได้รับการบอกเล่าจากเพื่อนๆ ด้วยว่าเคยมีคนไทยอื่นๆ สวมใส่สร้อยงาช้างในเวลาเดินทางกลับประเทศไทยได้ไม่มีปัญหาอะไร พวกตนจึงสวมสร้อยดังกล่าวขณะโดยสารเครื่องบินของสายการบินเคนยากลับประเทศไทยซึ่งต้องแวะเปลี่ยนเที่ยวบินที่สนามบินในเคนยา และระหว่างเดินผ่านเครื่องตรวจโลหะเพื่อขึ้นเครื่องก็ได้ถูกเจ้าหน้าที่จับกุมและส่งตัวดำเนินดคีในเวลาต่อมา
ศาลเคนยาแจ้งว่าที่พิจารณาคดีล่าช้าเนื่องจากไม่มีล่าม และขอให้เจ้าหน้าที่สถานทูตช่วยเป็นล่ามให้ด้วย เพื่อจะได้พิจารณาคดีให้แล้วเสร็จ ทางเจ้าหน้าที่สถานทูตจึงต้องรับหน้าที่เป็นล่ามให้ผู้ต้องหาหนุ่มไทยทั้งสองคน ซึ่งนอกจากจะต้องเป็นล่ามให้แล้วยังต้องคอยช่วยชี้แจงแก่ศาลว่าทั้งสองคนไม่ทราบว่าการกระทำดังกล่าวเป็นการผิดกฎหมาย เพราะหากทราบก็คงจะไม่กระทำเช่นนี้อย่างแน่นอน ส่วนในประเด็นกล่าวหาอื่นๆ ผู้ต้องหาไทยทั้ง 2 คน รับสารภาพทุกข้อกล่าวหา ในที่สุดศาลจึงตัดสินลงโทษเฉพาะโทษปรับเป็นเงินคนละ 30,000 ชิลลิงเคนยา
เมื่อสิ้นสุดกระบวนการทางศาลแล้ว สถานทูตก็ต้องประสานงานช่วยเหลือส่งตัวทั้ง 2 หนุ่มกลับประเทศไทยต่อไป ซึ่งกว่าที่ทั้ง 2 คน จะสามารถเดินทางออกจากเคนยาได้ก็เล่นเอาเหงื่อหยด แต่ในที่สุดหนุ่มไทยทั้งคู่ก็ได้กลับบ้านเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
ทางสถานทูต ได้ฝากเตือนมายังผู้ที่จะต้องเดินทางผ่านไปยังประเทศเคนยา และอีกหลายๆ ประเทศในแอฟริกาที่มีกฎหมายเกี่ยวกับการห้ามมีงาช้างหรืออวัยวะสัตว์อื่นในครอบครอง หลักเลี่ยงการประดับ สวมใส่หรือพกพาเครื่องประดับที่ทำจากงาช้างหรืออวัยวะสัตว์อื่นซึ่งอาจมีความผิดตามกฎหมายของประเทศนั้นหรืออย่างน้อยที่สุดควรมีหนังสือแสดงแหล่งกำเนิดสินค้าติดตัวไว้แสดงเมื่อถูกตรวจสอบ นอกจากนี้ ควรหลีกเลี่ยงการนำติดตัวหรือสวมใส่เครื่องประดับที่มีค่าหรือทำจากทองคำที่มีราคาแพง รวมทั้งประดับด้วยทองคำ ซึ่งอาจตกเป็นเป้าหมาย/เหยื่อของเจ้าหน้าที่นอกรีตหรือมิจฉาชีพได้ง่าย
ที่มา : สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงไนโรบี
เจ้าหน้าที่สถานทูตได้สอบถามข้อเท็จจริงจาก 2 หนุ่ม ทราบว่า ทั้งสองคนทำงานอยู่ในประเทศแอฟริกาใต้และซื้อสร้อยดังกล่าวจากคนพื้นเมืองที่นำไปขายให้ถึงที่พักคนงาน 2 หนุ่ม อ้างว่าที่แอฟริกาใต้มีคนสวมใส่สร้อยงาช้างกันมากและไม่ถือเป็นความผิด ทั้ง 2 คนยังได้รับการบอกเล่าจากเพื่อนๆ ด้วยว่าเคยมีคนไทยอื่นๆ สวมใส่สร้อยงาช้างในเวลาเดินทางกลับประเทศไทยได้ไม่มีปัญหาอะไร พวกตนจึงสวมสร้อยดังกล่าวขณะโดยสารเครื่องบินของสายการบินเคนยากลับประเทศไทยซึ่งต้องแวะเปลี่ยนเที่ยวบินที่สนามบินในเคนยา และระหว่างเดินผ่านเครื่องตรวจโลหะเพื่อขึ้นเครื่องก็ได้ถูกเจ้าหน้าที่จับกุมและส่งตัวดำเนินดคีในเวลาต่อมา
ศาลเคนยาแจ้งว่าที่พิจารณาคดีล่าช้าเนื่องจากไม่มีล่าม และขอให้เจ้าหน้าที่สถานทูตช่วยเป็นล่ามให้ด้วย เพื่อจะได้พิจารณาคดีให้แล้วเสร็จ ทางเจ้าหน้าที่สถานทูตจึงต้องรับหน้าที่เป็นล่ามให้ผู้ต้องหาหนุ่มไทยทั้งสองคน ซึ่งนอกจากจะต้องเป็นล่ามให้แล้วยังต้องคอยช่วยชี้แจงแก่ศาลว่าทั้งสองคนไม่ทราบว่าการกระทำดังกล่าวเป็นการผิดกฎหมาย เพราะหากทราบก็คงจะไม่กระทำเช่นนี้อย่างแน่นอน ส่วนในประเด็นกล่าวหาอื่นๆ ผู้ต้องหาไทยทั้ง 2 คน รับสารภาพทุกข้อกล่าวหา ในที่สุดศาลจึงตัดสินลงโทษเฉพาะโทษปรับเป็นเงินคนละ 30,000 ชิลลิงเคนยา
เมื่อสิ้นสุดกระบวนการทางศาลแล้ว สถานทูตก็ต้องประสานงานช่วยเหลือส่งตัวทั้ง 2 หนุ่มกลับประเทศไทยต่อไป ซึ่งกว่าที่ทั้ง 2 คน จะสามารถเดินทางออกจากเคนยาได้ก็เล่นเอาเหงื่อหยด แต่ในที่สุดหนุ่มไทยทั้งคู่ก็ได้กลับบ้านเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
ทางสถานทูต ได้ฝากเตือนมายังผู้ที่จะต้องเดินทางผ่านไปยังประเทศเคนยา และอีกหลายๆ ประเทศในแอฟริกาที่มีกฎหมายเกี่ยวกับการห้ามมีงาช้างหรืออวัยวะสัตว์อื่นในครอบครอง หลักเลี่ยงการประดับ สวมใส่หรือพกพาเครื่องประดับที่ทำจากงาช้างหรืออวัยวะสัตว์อื่นซึ่งอาจมีความผิดตามกฎหมายของประเทศนั้นหรืออย่างน้อยที่สุดควรมีหนังสือแสดงแหล่งกำเนิดสินค้าติดตัวไว้แสดงเมื่อถูกตรวจสอบ นอกจากนี้ ควรหลีกเลี่ยงการนำติดตัวหรือสวมใส่เครื่องประดับที่มีค่าหรือทำจากทองคำที่มีราคาแพง รวมทั้งประดับด้วยทองคำ ซึ่งอาจตกเป็นเป้าหมาย/เหยื่อของเจ้าหน้าที่นอกรีตหรือมิจฉาชีพได้ง่าย
ที่มา : สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงไนโรบี
วันพุธที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
สาวไทยโดนวางยาที่สิงคโปร์ เกือบไม่รอด
สถานเอกอัครราชทูต ณ สิงคโปร์ รายงานการเข้าเยี่ยมหญิงไทยที่โีีรงพยาบาลแห่งหนึ่งว่า เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2556 ได้รับแจ้งทางโทรศัพท์จากหนุ่มชาวออสเตรเลียว่า มีเพื่อนหญิงไทยกกำลังรับการรักษาตัวอยู่ี่โรงพยาบาล มีอาการรุนแรง ขอให้สถานทูตให้ความช่วยเหลือด้วย
ท่านกงสุลไม่รอช้า รีบบึ่งไปยังโรงพยาบาลทันที เมื่อไปถึงพบว่า แพทย์ได้รักษาหญิงไทยดังกล่าวจนมีอาการดีขึ้นแล้ว และคนไข้สามารถออกจากโรงพยาบาลได้ในวันรุ่งขึ้น จากการสอบถาม สาวไทยรายนี้ให้การว่า เดินทางไปยังสิงคโปร์เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2556 เพื่อทำงานค้าประเวณีผิดกฎหมายที่ย่านเกลังตามคำชักชวนของเพื่อน แต่เมื่อเดินทางถึงพบว่าสภาพแวดล้อมไม่เป็นไปตามที่คิดไว้ ค่าจ้างที่ได้รับไม่สูงเท่าที่ควร ต้องทำงานหนัก ที่พักและสถานที่ทำงานอยู่ในสภาพแย่และยังต้องคอยหนีตำรวจอยู่ตลอดเวลา จึงได้แจ้งนายจ้างชาวสิงคโปร์ว่าจะขอกลับประเทศไทย นายจ้างจึงได้นัดพบกับเธอที่บ้านและพูดคุยอยู่ระยะหนึ่งจึงได้นำเบียร์มาให้ดื่ม หลังจากนั้น เธอก็เกิดอาการใจสั่น หายใจไม่ออก กระหายน้ำ และอาเจียนอย่างรุนแรง จึงวิ่งออกมาเพื่อขอความช่วยเหลือ คนขับแท็กซี่ได้พาเธอไปส่งยังคลีนิกใกล้เคียง แพทย์ได้ทำการปฐมพยาบาลเบื้องต้นและนำส่งโรงพยาบาล
แพทย์บอกว่า แม้อาการของสาวไทยรายนี้จะดีขึ้นแล้ว แต่เธอมีโรคเกี่ยวกับต่อมไทรอยด์ที่ต้องรีบรักษาให้เร็วที่สุด ทางตำรวจสิงคโปร์จึงได้สอบปากคำเรียบร้อยแล้ว และสถานทูตจะช่วยเหลือส่งตัวกลับประเทศไทยในโอกาสแรก
สาวไทยรายนี้แจ้งด้วยว่า จะไม่กลับไปทำงานที่สิงคโปร์อีก อย่างไรก็ดี มีเพื่อนคนไทยหลายคนยังคงลักลอบทำงานผิดกฎหมายอยู่ที่สิงคโปร์อีกเป็นจำนวนมากโดยมีนายจ้างชาวสิงคโปร์ผู้มีอิทธิพลชักชวนหญิงไทยไปทำงานอย่างต่อเนื่อง
ที่มา : สถานเอกอัครราชทูต ณ สิงคโปร์
ท่านกงสุลไม่รอช้า รีบบึ่งไปยังโรงพยาบาลทันที เมื่อไปถึงพบว่า แพทย์ได้รักษาหญิงไทยดังกล่าวจนมีอาการดีขึ้นแล้ว และคนไข้สามารถออกจากโรงพยาบาลได้ในวันรุ่งขึ้น จากการสอบถาม สาวไทยรายนี้ให้การว่า เดินทางไปยังสิงคโปร์เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2556 เพื่อทำงานค้าประเวณีผิดกฎหมายที่ย่านเกลังตามคำชักชวนของเพื่อน แต่เมื่อเดินทางถึงพบว่าสภาพแวดล้อมไม่เป็นไปตามที่คิดไว้ ค่าจ้างที่ได้รับไม่สูงเท่าที่ควร ต้องทำงานหนัก ที่พักและสถานที่ทำงานอยู่ในสภาพแย่และยังต้องคอยหนีตำรวจอยู่ตลอดเวลา จึงได้แจ้งนายจ้างชาวสิงคโปร์ว่าจะขอกลับประเทศไทย นายจ้างจึงได้นัดพบกับเธอที่บ้านและพูดคุยอยู่ระยะหนึ่งจึงได้นำเบียร์มาให้ดื่ม หลังจากนั้น เธอก็เกิดอาการใจสั่น หายใจไม่ออก กระหายน้ำ และอาเจียนอย่างรุนแรง จึงวิ่งออกมาเพื่อขอความช่วยเหลือ คนขับแท็กซี่ได้พาเธอไปส่งยังคลีนิกใกล้เคียง แพทย์ได้ทำการปฐมพยาบาลเบื้องต้นและนำส่งโรงพยาบาล
แพทย์บอกว่า แม้อาการของสาวไทยรายนี้จะดีขึ้นแล้ว แต่เธอมีโรคเกี่ยวกับต่อมไทรอยด์ที่ต้องรีบรักษาให้เร็วที่สุด ทางตำรวจสิงคโปร์จึงได้สอบปากคำเรียบร้อยแล้ว และสถานทูตจะช่วยเหลือส่งตัวกลับประเทศไทยในโอกาสแรก
สาวไทยรายนี้แจ้งด้วยว่า จะไม่กลับไปทำงานที่สิงคโปร์อีก อย่างไรก็ดี มีเพื่อนคนไทยหลายคนยังคงลักลอบทำงานผิดกฎหมายอยู่ที่สิงคโปร์อีกเป็นจำนวนมากโดยมีนายจ้างชาวสิงคโปร์ผู้มีอิทธิพลชักชวนหญิงไทยไปทำงานอย่างต่อเนื่อง
ที่มา : สถานเอกอัครราชทูต ณ สิงคโปร์
วันอังคารที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
เหตุการณ์ระเบิดที่ตึก PEMEX กรุงเม็กซิโก
รายงานจากสถานเอกอัครราชทุต ณ กรุงเม็กซิโก แจ้งว่า เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 31 มกราคม 2556 ได้เกิดเหตุระเบิดขึ้นที่อาคารของบริษัทน้ำมัน PEMEX ซึ่งตั้งอยู่กลางเมือง
เหตุระเบิดครั้งนี้ทำให้มีผู้เสียชีวิต 32 ราย และบาดเจ็บ 120 ราย หน่วยกู้ภัยยังคงดำเนินการค้นหาผู้ที่ยังอาจติดอยู่ในซากตึก ในชั้นนี้ รัฐบาลเม็กซิโกยังไม่ยืนยันสาเหตุของการระเบิดดังกล่าว แม้ว่าสำนักข่าวส่วนใหญ่คาดว่าเหตระเบิดเกิดจากความเก่าแก่ของตัวอาคารซึ่งขาดการดูแลด้านระบบไฟฟ้าและการถ่ายเทอากาศ และอาจมีแก๊สรั่วด้วย
สถานเอกอัครราชทูตฯ ได้ตรวจสอบกับคนไทยในกรุงเม็กซิโกแล้ว ไม่ปรากฎว่ามีชาวไทยได้รับความเสียหายจากเหตุการณ์ดังกล่าว
ที่มา : สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเม็กซิโก
ประกาศเตือนการเดินทางไปยังไนจีเรีย
ตามที่มีข่าวการเกิดเหตุการณ์ผู้ก่อการร้ายอาละวาดอย่างหนักในแถบทะเลทรายซาฮารา ในทวีปแอฟริกา นั้น ประเทศต่างๆ ทั่วโลกต่างต้องหันมาให้ความสำคัญและระแวดระวังภัยทางด้านนี้กันมากขึ้น
รัฐบาลของประเทศต่างๆ ที่ตั้งอยู่ในเขตทะเลทรายซาฮาราเองก็ได้เพิ่มมาตรการป้องกันเหตุการณ์ร้ายแรงที่อาจจะเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา
ล่าสุด สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงอาบูจา ประเทศไนจีเรีย รายงานว่า สถานเอกอัครราชทูตของหลายประเทศที่ตั้งอยู่ในประเทศไนจีเรียได้ออกประกาศเตือนภัยแก่พลเมืองของตน พอสรุปได้ ดังนี้
1. สถานทูตสหรัฐฯ เตือนชาวอเมริกันให้ใช้ความระมัดระวังในการเดินทางและการใช้ชีวิตในไนจีเรีย จากสถานการณ์ที่แปรเปลี่ยนอย่างรวดเร็วในมาลีและความเป็นไปได้สูงที่จะมีการทำร้ายชาวต่างชาติเพื่อเป็นการตอบโต้ของกลุ่มก่อการร้าย ขอให้เลี่ยงสถานที่สาธารณะ การชุมนุม โรงแรม การเดินทางโดยรถยนต์สาธารณะรวมทั้งเรือข้ามฟาก และขอให้ติดตามข่าวสาร ระมัดระวังสิ่งรอบข้าง หากพบเห็นสิ่งผิดปกติให้แจ้งเจ้าหน้าที่
2. สถานทูตแคนาดา เตอนชาวแดนาดาให้หลีกเลี่ยงการเดินทางไปยังเกือบทุกรัฐในประเทศไนจีเรีย ยกเว้นกรุงอาบูจา รัฐ Calabar รัฐ Cross River และรัฐ Lagos เนื่องจากสถานการณ์ความปลอดภัยในไนจีเรียเป็นสิ่งที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้ มีความเสี่ยงสูงจากภัยก่อการร้าย อาชญากรรม การต่อสู้ระหว่างกลุ่มชนเผ่าต่างๆ การใช้อาวุธปืนทำร้ายและการจับตัวประกัน
3. สถานทูตอังกฤษ ออกประกาศว่าภัยก่อการร้ายที่รุนแีรงอาจเกิดขึ้นในไนจีเรีย และอาจมีการโจมตีสถานที่ราชการ สถาบันการศึกษา องค์การระหว่างประเทศ สถานที่สาธารณะ ร้านอาหาร โรงแรม ตลาด สถานที่สำคัญทางศาสนา สถานที่ๆ มีชาวต่างชาติรวมตัวกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน 8 รัฐ ได้แก่ Borno, Yobe, Delta, Bayelsa, Rivers, Akwa Ibom, Cross River และ Kano และเตือนให้หลีกเลี่ยงเดินทางไปยังอีก 4 รัฐ หากไม่มีความจำเป็นจริงๆ คือ รัฐ Bauchi, Palteau, Gombe และ Adamawa
4. สถานทูตเยอรมันนีแนะนำให้ชาวเยอรมันติดตามความคืบหน้าคำเตือนภัยการเดินทางไปยังไนจีเรียและสถานการณ์ความปลอดภัย เนื่องจากสถานการณ์การสู้รบในมาลีกับกลุ่มหัวรุนแรง และเตือนให้ตระหนักถึงความเสี่ยงภัยทีึ่สูงขึ้นและให้ใช้ความระมัดระวัง
สำหรับสถานทูตไทยก็ได้แจ้งเตือนคนไทยให้หลีกเลี่ยงเดินทางไปในรัฐและพื้นที่ที่เป็นเป้าหมายของการโจมตีหากไม่มีความจำเป็น โดยเฉพาะสถานที่ๆ มีชาวต่างชาติเดินทางไป
ที่มา : สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงอาบูจา
วันอาทิตย์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
นักโทษไทยในมาเลเซีย เครียดจัด จะฆ่าตัวตาย กงสุลรุดเยี่ยม
ท่านสมพงษ์ กางทอง อัครราชทูตที่ปรึกษา สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย รายงานเข้ามาว่า เมื่อวันที่ 29 มกราคม ที่ผ่าน ได้เดินทางไปยังเรือนจำหญิงในรัฐสลังงอร์เพื่อเยี่ยมนักโทษหญิงในคดีอุกฉกรรจ์ต่างๆ ที่ถูกจำคุกอยู่จำนวน 35 คน
ท่านสมพงษ์ฯ ทราบมาว่า มีนักโทษรายหนึ่งพยายามฆ่าตัวตายจึงได้ขออนุญาตผู้คุมเพื่อเข้าพบกับนักโทษรายดังกล่าวที่ถูกกักบริเวณและควบคุมดูแลเป็นพิเศษซึ่งปกติจะไม่อนุญาตให้ใครเข้าเยี่ยม
นักโทษหญิงไทยรายนี้ บอกแก่ท่านสมพงษ์ฯ ว่า เป็นนักโทษในคดียาเสพติด ถูกศาลชั้นต้นของมาเลเซียตัดสินประหารชีวิต ขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างอุทธรณ์ เกิดความเครียดจัดเนื่องจากถูกตัดสินประหารชีวิตแล้วยังไม่ทราบว่าในที่สุดหลังจากอุทธรณ์คดีแล้วผลจะออกมาเป็นอย่างไร ไม่ทราบว่าจะได้ลดหย่อนโทษหรือไม่ และยังไปรับทราบข่าวลือว่าไม่สามารถโอนตัวนักโทษเพื่อกลับมารับโทษที่ประเทศไทยได้ จึงเกิดความเครียดจนพยายามจะแขวนคอตายแต่ผู้คุมมาพบเห็นจึงช่วยเหลือไว้ได้ทัน
ท่านสมพงษ์ฯ จึงต้องปลอบโยนให้กำลังใจและชี้แจงว่าตราบใดที่การพิจารณาคดียังไม่สิ้นสุดก็ยังคงมีความหวังว่าอาจจะได้รับการลดหย่อนโทษลงมาบ้าง ส่วนกระบวนการโอนตัวนักโทษยังเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลาในการดำเนินการอีกนาน จึงขอให้อดทน และขอให้นักโทษทุกคนช่วยเป็นกำลังใจซึ่งกันและกันด้วย
ปัจจุบัน มีนักโทษไทยในมาเลเซียที่ถูกศาลชั้นต้นตัดสินประหารชีวิตแล้ว รวม 28 คน คดีอยู่ระหว่างพิจารณาในศาลอุทธรณ์ ส่วนใหญ่เป็นคดียาเสพติด ( 19 คน ) ที่เหลือเป็นคดีเกี่ยวกับคดีความมั่นคง อาวุธปืน และปล้นฆ่า มีนักโทษไทยที่คดีสิ้นสุดในชั้นศาลฎีกาตัดสินให้ประหารชีวิต รวม 6 คน ซึ่งได้มีการยื่นขอพระราชทานอภัยโทษต่อสุลต่านรัฐเคดะห์และกลันตันแล้ว อยู่ระหว่างการพิจารณาของรัฐทั้งสอง
ปัญหาหญิงไทยถูกชายชาวแอฟริกันหลอกลวงชักชวนไปขนยาเสพติดจากประเทศกลุ่มลาตินอเมริกายังคงมีอย่างต่อเนื่อง โดยมีหญิงไทยเป็นนายหน้าชักชวน เป็นปัญหาที่ต้องได้รับการแก้ไขและป้องกันโดยรีบด่วน รวมทั้งปัญหาการไปทำงานโดยผิดกฎหมายในประเทศมาเลเซียด้วย นอกจากนี้ ยังพบว่ามีเด็กที่อายุยังไม่บรรลุนิติภาวะตกเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์นำเข้าประเทศมาเลเซียเป็นระยะ ปัญหาเหล่านี้ควรได้รับการแก้ไขทั้งต้นทางและปลายทางอย่างจริงจัง
ที่มา : สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์
ท่านสมพงษ์ฯ ทราบมาว่า มีนักโทษรายหนึ่งพยายามฆ่าตัวตายจึงได้ขออนุญาตผู้คุมเพื่อเข้าพบกับนักโทษรายดังกล่าวที่ถูกกักบริเวณและควบคุมดูแลเป็นพิเศษซึ่งปกติจะไม่อนุญาตให้ใครเข้าเยี่ยม
นักโทษหญิงไทยรายนี้ บอกแก่ท่านสมพงษ์ฯ ว่า เป็นนักโทษในคดียาเสพติด ถูกศาลชั้นต้นของมาเลเซียตัดสินประหารชีวิต ขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างอุทธรณ์ เกิดความเครียดจัดเนื่องจากถูกตัดสินประหารชีวิตแล้วยังไม่ทราบว่าในที่สุดหลังจากอุทธรณ์คดีแล้วผลจะออกมาเป็นอย่างไร ไม่ทราบว่าจะได้ลดหย่อนโทษหรือไม่ และยังไปรับทราบข่าวลือว่าไม่สามารถโอนตัวนักโทษเพื่อกลับมารับโทษที่ประเทศไทยได้ จึงเกิดความเครียดจนพยายามจะแขวนคอตายแต่ผู้คุมมาพบเห็นจึงช่วยเหลือไว้ได้ทัน
ท่านสมพงษ์ฯ จึงต้องปลอบโยนให้กำลังใจและชี้แจงว่าตราบใดที่การพิจารณาคดียังไม่สิ้นสุดก็ยังคงมีความหวังว่าอาจจะได้รับการลดหย่อนโทษลงมาบ้าง ส่วนกระบวนการโอนตัวนักโทษยังเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลาในการดำเนินการอีกนาน จึงขอให้อดทน และขอให้นักโทษทุกคนช่วยเป็นกำลังใจซึ่งกันและกันด้วย
ปัจจุบัน มีนักโทษไทยในมาเลเซียที่ถูกศาลชั้นต้นตัดสินประหารชีวิตแล้ว รวม 28 คน คดีอยู่ระหว่างพิจารณาในศาลอุทธรณ์ ส่วนใหญ่เป็นคดียาเสพติด ( 19 คน ) ที่เหลือเป็นคดีเกี่ยวกับคดีความมั่นคง อาวุธปืน และปล้นฆ่า มีนักโทษไทยที่คดีสิ้นสุดในชั้นศาลฎีกาตัดสินให้ประหารชีวิต รวม 6 คน ซึ่งได้มีการยื่นขอพระราชทานอภัยโทษต่อสุลต่านรัฐเคดะห์และกลันตันแล้ว อยู่ระหว่างการพิจารณาของรัฐทั้งสอง
ปัญหาหญิงไทยถูกชายชาวแอฟริกันหลอกลวงชักชวนไปขนยาเสพติดจากประเทศกลุ่มลาตินอเมริกายังคงมีอย่างต่อเนื่อง โดยมีหญิงไทยเป็นนายหน้าชักชวน เป็นปัญหาที่ต้องได้รับการแก้ไขและป้องกันโดยรีบด่วน รวมทั้งปัญหาการไปทำงานโดยผิดกฎหมายในประเทศมาเลเซียด้วย นอกจากนี้ ยังพบว่ามีเด็กที่อายุยังไม่บรรลุนิติภาวะตกเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์นำเข้าประเทศมาเลเซียเป็นระยะ ปัญหาเหล่านี้ควรได้รับการแก้ไขทั้งต้นทางและปลายทางอย่างจริงจัง
ที่มา : สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)