เตือนนักขุดทองระวังโดนหลอก
นายประสิทธิพร เวทย์ประสิทธิ์ ผู้อำนวยการกองคุ้มครองและดูแลผลประโยชน์คนไทยในต่างประเทศ กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ เปิดเผยว่าได้รับรายงานจาก สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงไนโรบี ซึ่งมีเขตอาณาครอบคลุมอีก 9 ประเทศในภูมิภาคแอฟริกาตะวันออก รวมทั้งสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก ซึ่งที่คุ้นเคยกันในชื่อประเทศคองโก ได้รับการร้องเรียน/ปรึกษาปัญหาจากนักธุรกิจไทยที่เข้ามาทำการค้าขายแร่ทองคำจำนวนสองรายในระยะเวลาใกล้เคียงกัน ความคล้ายคลึงการของนักธุรกิจทั้งสองราย คือ รู้ตัวว่าน่าจะโดนคู่ค้าทางธุรกิจ ซึ่งเป็นคนแอฟริกาหลอกลวงทั้งเงินทั้งสินค้าไปเป็นมูลค่ามหาศาล
นายประสิทธิพรฯ แจ้งรายละเอียดของทั้งสองกรณีว่า รายแรกเป็นการตกลงซื้อทองจากประเทศคองโกผ่านตัวแทนซึ่งเป็นชาวเคนยาซึ่งพบเจอกันในสถานที่สาธารณะแห่งหนึ่ง จากการรู้จักกันมาระยะเวลาหนึ่งทำให้เกิดความไว้วางใจ จึงได้ตกลงจ่ายเงินค่าดำเนินการให้แก่นายหน้าชาวเคนยาคนดังกล่าวไปจำนวนหนึ่ง โดยก่อนวันเดินทางมายังไทยนายหน้าคนดังกล่าวได้นำเอกสารต้นฉบับที่เกี่ยวข้อง อาทิ ใบรับรองการส่งออกแร่ทองคำ ใบจดทะเบียนบริษัท หนังสือเดินทาง มาให้ดู ทำให้เกิดความไว้เนื้อเชื่อใจมากยิ่งขึ้น วันรุ่งขึ้นจึงนัดไปเจอกันที่สนามบินเคนยาเพื่อเดินทางไปประเทศไทยพร้อมกัน เมื่อถึงเวลานัดที่สนามบิน แน่นอนว่า ชายคนดังกล่าวไม่ปรากฏตัวและปิดโทรศัพท์มือถือซึ่งเป็นช่องทางเดียวที่สามารถติดต่อเขาได้
รายที่สองเป็นนักธุรกิจติดต่อกับคู่ค้าที่คองโกโดยตรง ตกลงชำระเงินค่าแร่ทองคำเป็นจำนวนหลายหมื่นเหรียญ โดยที่ยังไม่ได้เห็นสินค้า ต่อมา นักธุรกิจไทยรายนี้ได้รับแจ้งว่า ขณะนี้ทองคำที่สั่งได้ส่งมาจากคองโกถึงสนามบินเคนยาและพร้อมจะส่งต่อไปยังประเทศไทยแล้ว นักธุรกิจคนดังกล่าวจึงเดินทางมาจากประเทศไทยเพื่อมารับของด้วยตนเอง แต่เมื่อเดินทางมาถึงปรากฏว่า เจ้าหน้าที่ศุลกากรที่สนามบินเคนยาไม่ยอมให้นำของขึ้นเครื่องโดยอ้างว่า เอกสารที่มาพร้อมสินค้านั้นเป็นเพียงสำเนา ต้องการดูต้นฉบับเพื่อเปรียบเทียบ ซึ่งแน่นอนว่าทำได้ลำบากเนื่องจากเอกสารต้นฉบับอยู่ที่คู่ค้าที่คองโก ต้องใช้เวลาส่งเอกสารอีกพอสมควร เจ้าหน้าที่ศุลกากรกลุ่มดังกล่าวจึงได้เสนอความช่วยเหลือโดยอ้างว่าสามารถจัดของขึ้นเครื่องบินเที่ยวเดียวกับที่นักธุรกิจไทยจะใช้เดินทางกลับประเทศไทยได้เลย แต่ขอเรียกรับค่าดำเนินการจำนวน 40,000 ดอลลาร์สหรัฐ
ทั้งสองกรณี สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงไนโรบี ได้แนะนำให้ผู้เสียหายไปแจ้งความที่สถานีตำรวจในท้องที่เกิดเหตุเพื่อเป็นหลักฐานและดำเนินการในขั้นตอนการสืบสวนต่อไป จากการเข้าร่วมแจ้งความกับผู้เสียหายรายหนึ่ง สถานเอกอัครราชทูตฯ ได้รับคำเตือนจากเจ้าหน้าที่ตำรวจเคนยาว่า ในช่วงก่อนเทศกาลปีใหม่ มีกรณีฉ้อโกงและหลอกลวงทางธุรกิจเกิดขึ้นจำนวนมาก ส่วนใหญ่เป็นการใช้เอกสารปลอม ฉ้อโกง แร่ทองคำปลอม ซึ่งส่วนใหญ่ไม่สามารถตามจับตัวผู้กระทำความผิดมาลงโทษได้ และส่วนมากความเสียหายต่อทรัพย์สินก็ได้เกิดขึ้นแล้ว บางกรณีผู้เสียหายถึงกับได้เห็นและสัมผัสทองคำมาแล้วแต่ก็ยังถูกฉ้อโกงจนได้ ผู้กระทำความผิดหลายคนไม่ได้มีสัญชาติเคนยาหรือถือหนังสือเดินทางปลอม
ดังนั้น เจ้าหน้าที่ตำรวจจะช่วยกันกวดขันอย่างเต็มที่โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเรียกร้องเงินโดยมิชอบของเจ้าหน้าที่ แต่ด้วยกำลังคนที่ไม่เพียงพอต่ออัตราการเกิดอาชญากรรมในประเทศนี้ จึงขอให้หน่วยราชการไทย ช่วยเตือนไปยังนักธุรกิจไทยที่ยังคงแสวงหาโอกาสในการเข้ามาทำธุรกิจเกี่ยวกับทองคำและอัญมณีในประเทศแถบนี้ให้เพิ่มความระมัดระวังและใช้วิจารณญาณอย่างละเอียดรอบคอบ ที่นี่นักต้มตุ๋นล้วนแล้วแต่มืออาชีพทั้งสิ้น นักธุรกิจที่ไม่มีความระแวดระวังหรือไม่มีประสบการณ์มักจะตกเป็นเหยื่ออยู่เสมอ
นายประสิทธิพรฯ สรุปว่า กรมการกงสุลขอเตือนนักธุรกิจที่เข้าไปเสี่ยงโชคในภูมิภาคแอฟริกาว่าไม่มีอะไรที่ได้มาโดยง่ายและราคาถูก แร่ทองคำหรืออัญมณีที่นี่เองก็ได้รับการบอกเล่าจากคนท้องถิ่นว่า ไม่ได้หาได้ง่ายๆ แล้ว ทำอะไรขอให้มีสติและระวังตัวไว้ก่อนย่อมดีกว่ามาแก้ไขภายหลังที่ความเสียหายได้เกิดขึ้นแล้ว
นายประสิทธิพร เวทย์ประสิทธิ์ ผู้อำนวยการกองคุ้มครองและดูแลผลประโยชน์คนไทยในต่างประเทศ กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ เปิดเผยว่าได้รับรายงานจาก สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงไนโรบี ซึ่งมีเขตอาณาครอบคลุมอีก 9 ประเทศในภูมิภาคแอฟริกาตะวันออก รวมทั้งสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก ซึ่งที่คุ้นเคยกันในชื่อประเทศคองโก ได้รับการร้องเรียน/ปรึกษาปัญหาจากนักธุรกิจไทยที่เข้ามาทำการค้าขายแร่ทองคำจำนวนสองรายในระยะเวลาใกล้เคียงกัน ความคล้ายคลึงการของนักธุรกิจทั้งสองราย คือ รู้ตัวว่าน่าจะโดนคู่ค้าทางธุรกิจ ซึ่งเป็นคนแอฟริกาหลอกลวงทั้งเงินทั้งสินค้าไปเป็นมูลค่ามหาศาล
นายประสิทธิพรฯ แจ้งรายละเอียดของทั้งสองกรณีว่า รายแรกเป็นการตกลงซื้อทองจากประเทศคองโกผ่านตัวแทนซึ่งเป็นชาวเคนยาซึ่งพบเจอกันในสถานที่สาธารณะแห่งหนึ่ง จากการรู้จักกันมาระยะเวลาหนึ่งทำให้เกิดความไว้วางใจ จึงได้ตกลงจ่ายเงินค่าดำเนินการให้แก่นายหน้าชาวเคนยาคนดังกล่าวไปจำนวนหนึ่ง โดยก่อนวันเดินทางมายังไทยนายหน้าคนดังกล่าวได้นำเอกสารต้นฉบับที่เกี่ยวข้อง อาทิ ใบรับรองการส่งออกแร่ทองคำ ใบจดทะเบียนบริษัท หนังสือเดินทาง มาให้ดู ทำให้เกิดความไว้เนื้อเชื่อใจมากยิ่งขึ้น วันรุ่งขึ้นจึงนัดไปเจอกันที่สนามบินเคนยาเพื่อเดินทางไปประเทศไทยพร้อมกัน เมื่อถึงเวลานัดที่สนามบิน แน่นอนว่า ชายคนดังกล่าวไม่ปรากฏตัวและปิดโทรศัพท์มือถือซึ่งเป็นช่องทางเดียวที่สามารถติดต่อเขาได้
รายที่สองเป็นนักธุรกิจติดต่อกับคู่ค้าที่คองโกโดยตรง ตกลงชำระเงินค่าแร่ทองคำเป็นจำนวนหลายหมื่นเหรียญ โดยที่ยังไม่ได้เห็นสินค้า ต่อมา นักธุรกิจไทยรายนี้ได้รับแจ้งว่า ขณะนี้ทองคำที่สั่งได้ส่งมาจากคองโกถึงสนามบินเคนยาและพร้อมจะส่งต่อไปยังประเทศไทยแล้ว นักธุรกิจคนดังกล่าวจึงเดินทางมาจากประเทศไทยเพื่อมารับของด้วยตนเอง แต่เมื่อเดินทางมาถึงปรากฏว่า เจ้าหน้าที่ศุลกากรที่สนามบินเคนยาไม่ยอมให้นำของขึ้นเครื่องโดยอ้างว่า เอกสารที่มาพร้อมสินค้านั้นเป็นเพียงสำเนา ต้องการดูต้นฉบับเพื่อเปรียบเทียบ ซึ่งแน่นอนว่าทำได้ลำบากเนื่องจากเอกสารต้นฉบับอยู่ที่คู่ค้าที่คองโก ต้องใช้เวลาส่งเอกสารอีกพอสมควร เจ้าหน้าที่ศุลกากรกลุ่มดังกล่าวจึงได้เสนอความช่วยเหลือโดยอ้างว่าสามารถจัดของขึ้นเครื่องบินเที่ยวเดียวกับที่นักธุรกิจไทยจะใช้เดินทางกลับประเทศไทยได้เลย แต่ขอเรียกรับค่าดำเนินการจำนวน 40,000 ดอลลาร์สหรัฐ
ทั้งสองกรณี สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงไนโรบี ได้แนะนำให้ผู้เสียหายไปแจ้งความที่สถานีตำรวจในท้องที่เกิดเหตุเพื่อเป็นหลักฐานและดำเนินการในขั้นตอนการสืบสวนต่อไป จากการเข้าร่วมแจ้งความกับผู้เสียหายรายหนึ่ง สถานเอกอัครราชทูตฯ ได้รับคำเตือนจากเจ้าหน้าที่ตำรวจเคนยาว่า ในช่วงก่อนเทศกาลปีใหม่ มีกรณีฉ้อโกงและหลอกลวงทางธุรกิจเกิดขึ้นจำนวนมาก ส่วนใหญ่เป็นการใช้เอกสารปลอม ฉ้อโกง แร่ทองคำปลอม ซึ่งส่วนใหญ่ไม่สามารถตามจับตัวผู้กระทำความผิดมาลงโทษได้ และส่วนมากความเสียหายต่อทรัพย์สินก็ได้เกิดขึ้นแล้ว บางกรณีผู้เสียหายถึงกับได้เห็นและสัมผัสทองคำมาแล้วแต่ก็ยังถูกฉ้อโกงจนได้ ผู้กระทำความผิดหลายคนไม่ได้มีสัญชาติเคนยาหรือถือหนังสือเดินทางปลอม
ดังนั้น เจ้าหน้าที่ตำรวจจะช่วยกันกวดขันอย่างเต็มที่โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเรียกร้องเงินโดยมิชอบของเจ้าหน้าที่ แต่ด้วยกำลังคนที่ไม่เพียงพอต่ออัตราการเกิดอาชญากรรมในประเทศนี้ จึงขอให้หน่วยราชการไทย ช่วยเตือนไปยังนักธุรกิจไทยที่ยังคงแสวงหาโอกาสในการเข้ามาทำธุรกิจเกี่ยวกับทองคำและอัญมณีในประเทศแถบนี้ให้เพิ่มความระมัดระวังและใช้วิจารณญาณอย่างละเอียดรอบคอบ ที่นี่นักต้มตุ๋นล้วนแล้วแต่มืออาชีพทั้งสิ้น นักธุรกิจที่ไม่มีความระแวดระวังหรือไม่มีประสบการณ์มักจะตกเป็นเหยื่ออยู่เสมอ
นายประสิทธิพรฯ สรุปว่า กรมการกงสุลขอเตือนนักธุรกิจที่เข้าไปเสี่ยงโชคในภูมิภาคแอฟริกาว่าไม่มีอะไรที่ได้มาโดยง่ายและราคาถูก แร่ทองคำหรืออัญมณีที่นี่เองก็ได้รับการบอกเล่าจากคนท้องถิ่นว่า ไม่ได้หาได้ง่ายๆ แล้ว ทำอะไรขอให้มีสติและระวังตัวไว้ก่อนย่อมดีกว่ามาแก้ไขภายหลังที่ความเสียหายได้เกิดขึ้นแล้ว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น