สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโคเปนเฮเกนจัดกิจกรรมกงสุลสัญจรที่กรุงเรคยาวิก ประเทศไอซ์แลนด์
นายประสิทธิพร เวชย์ประสิทธิ์ ผู้อำนวยการกองคุ้มครองและดูแลผลประโยชน์คนไทยในต่างประเทศ แถลงว่า ระหว่างวันที่ 18 – 20 กันยายน 2553 สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์กได้จัดกิจกรรมกงสุลสัญจรไปให้บริการแก่คนไทยที่พำนักอยู่ในกรุงเรคยาวิก เมืองหลวงของประเทศไอซ์แลนด์ซึ่งเป็นเขตอาณาของสถานเอกอัครราชทูตแห่งนี้ โดยประมาณว่าปัจจุบันมีคนไทยพำนักอยู่ในประเทศไอรซ์แลนด์จำนวน 1,300 – 1,500 คน โดยส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในกรุงเรคยาวิก ประกอบอาชีพหลากหลาย ทั้งโรงงานปลา โรงงานผลิตขนมปัง โรงพยาบาล สถานอภิบาลคนชรา และธุรกิจร้านอาหาร
สถานเอกอัครราชทูตฯ ได้จัดตั้งศูนย์บริการงานกงสุลที่วัดไทยในกรุงเรคยาวิก ซึ่งอนุเคราะห์อุปกรณ์เครื่องใช้สำนักงานตลอดระยะเวลาของการดำเนินโครงการ ทั้งนี้ สถานเอกอัครราชทูตฯได้จัดให้บริการด้านหนังสือเดินทางและนิติกรณ์(การรับรองเอกสาร) รวมทั้งให้คำปรึกษาประเด็นเกี่ยวกับทะเบียนราษฎร์ของคนไทย ระหว่างเวลา 09.00 – 17.00 น. วันที่ 19 กันยายน 2553 มีผู้ไปใช้บริการทำหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ จำนวน 18 ราย หนังสือเดินทางชั่วคราว จำนวน 3 ราย นิติกรณ์ 1 ราย และจดทะเบียนเกิด 5 ราย
ในโอกาสที่สถานเอกอัครราชทูตฯ ไปจัดกิจกรรมที่วัดไทยทางวัดจัดพิธีบวชชีพราหมณ์ จึงได้เชิญนายชัชชัย ชูชม เลขานุการเอก ปฏิบัติหน้าที่ด้านกงสุล เป็นประธานในพิธีดังกล่าวด้วย
นายประสิทธิพรฯ แถลงด้วยว่า สถานเอกอัครราชทูตฯ ได้รายงานปัญหาของคนไทยในไอซ์แลนด์ดังนี้
1. โดยที่ปัจจุบันหนังสือเดินทางไทยอายุใช้งานเพียง 5 ปี ซึ่งในการขอ residence permit จำเป็นต้องมีหนังสือเดินทางที่มีอายุการใช้งานนานถึง 2 ปี ทำให้คนไทยในไอซ์แลนด์ต้องขอทำหนังสือเดินทางเล่มใหม่เมื่อยังเหลืออายุการใช้งาน 2 ปี
2. คนไทยหลายคนเปลี่ยนนามสกุลตามสกุลสามี และใช้ชื่อใหม่ในเอกสารของไอซ์แลนด์แล้ว แต่ยังมิได้เปลี่ยนชื่อในทะเบียนราษฎร์ของไทย ทำให้เกิดความสับสนและเอกสารไม่ตรงกัน โดยเฉพาะเมื่อต้องซื้อบัตรโดยสารเครื่องบิน ซึ่งมักจะไม่ตรงกับชื่อและนามสกุลในหนังสือเดินทาง
3. ขาดเอกสารสำคัญในการทำหนังสือเดินทางให้ผู้เยาว์ อาทิ ปค. 14 หรือบันทึกสอบสวนสิทธิในการปกครองบุตรฝ่ายเดียว หรือเอกสารยินยอมให้บุตรเดินทางกับบิดาหรือมารดาที่มิได้อยู่ร่วมกัน
ทั้งนี้สถานเอกอัครราชทูตฯได้สอบถามชุมชนไทยถึงผลกระทบที่เกิดจากภูเขาไฟปะทุในไอซ์แลนด์ด้วย ปรากฏว่าไม่มีรายงานว่ามีผลกระทบโดยตรงต่อชุมชนไทย
ในโอกาสดังกล่าวนายชัชชัย ชูชม ได้ไปเยี่ยมชมโรงเรียนการศึกษาผู้ใหญ่ (กศน.) ซึ่งปัจจุบันมีคนไทยให้ความสนใจลงทะเบียนเรียนประมาณ 100 คน ตามคำเชิญของคณะครูอาสาเพื่อสร้างความสัมพันธ์ออันดีกับชุมชนไทยและเน้นความสำคัญของการเรียนภาษาไทยด้วย
นายประสิทธิพรฯ สรุปว่าคนไทยส่วนใหญ่ในกรุงเรคยาวิกพึงพอใจที่สถานเอกอัครราชทูตฯ จัดกิจกรรมกงสุลสัญจรและขอร้องให้ดำเนินการอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง โดยพร้อมที่จะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายส่วนหนึ่ง หากมีปัญหาเรื่องงบประมาณ
นายประสิทธิพร เวชย์ประสิทธิ์ ผู้อำนวยการกองคุ้มครองและดูแลผลประโยชน์คนไทยในต่างประเทศ แถลงว่า ระหว่างวันที่ 18 – 20 กันยายน 2553 สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์กได้จัดกิจกรรมกงสุลสัญจรไปให้บริการแก่คนไทยที่พำนักอยู่ในกรุงเรคยาวิก เมืองหลวงของประเทศไอซ์แลนด์ซึ่งเป็นเขตอาณาของสถานเอกอัครราชทูตแห่งนี้ โดยประมาณว่าปัจจุบันมีคนไทยพำนักอยู่ในประเทศไอรซ์แลนด์จำนวน 1,300 – 1,500 คน โดยส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในกรุงเรคยาวิก ประกอบอาชีพหลากหลาย ทั้งโรงงานปลา โรงงานผลิตขนมปัง โรงพยาบาล สถานอภิบาลคนชรา และธุรกิจร้านอาหาร
สถานเอกอัครราชทูตฯ ได้จัดตั้งศูนย์บริการงานกงสุลที่วัดไทยในกรุงเรคยาวิก ซึ่งอนุเคราะห์อุปกรณ์เครื่องใช้สำนักงานตลอดระยะเวลาของการดำเนินโครงการ ทั้งนี้ สถานเอกอัครราชทูตฯได้จัดให้บริการด้านหนังสือเดินทางและนิติกรณ์(การรับรองเอกสาร) รวมทั้งให้คำปรึกษาประเด็นเกี่ยวกับทะเบียนราษฎร์ของคนไทย ระหว่างเวลา 09.00 – 17.00 น. วันที่ 19 กันยายน 2553 มีผู้ไปใช้บริการทำหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ จำนวน 18 ราย หนังสือเดินทางชั่วคราว จำนวน 3 ราย นิติกรณ์ 1 ราย และจดทะเบียนเกิด 5 ราย
ในโอกาสที่สถานเอกอัครราชทูตฯ ไปจัดกิจกรรมที่วัดไทยทางวัดจัดพิธีบวชชีพราหมณ์ จึงได้เชิญนายชัชชัย ชูชม เลขานุการเอก ปฏิบัติหน้าที่ด้านกงสุล เป็นประธานในพิธีดังกล่าวด้วย
นายประสิทธิพรฯ แถลงด้วยว่า สถานเอกอัครราชทูตฯ ได้รายงานปัญหาของคนไทยในไอซ์แลนด์ดังนี้
1. โดยที่ปัจจุบันหนังสือเดินทางไทยอายุใช้งานเพียง 5 ปี ซึ่งในการขอ residence permit จำเป็นต้องมีหนังสือเดินทางที่มีอายุการใช้งานนานถึง 2 ปี ทำให้คนไทยในไอซ์แลนด์ต้องขอทำหนังสือเดินทางเล่มใหม่เมื่อยังเหลืออายุการใช้งาน 2 ปี
2. คนไทยหลายคนเปลี่ยนนามสกุลตามสกุลสามี และใช้ชื่อใหม่ในเอกสารของไอซ์แลนด์แล้ว แต่ยังมิได้เปลี่ยนชื่อในทะเบียนราษฎร์ของไทย ทำให้เกิดความสับสนและเอกสารไม่ตรงกัน โดยเฉพาะเมื่อต้องซื้อบัตรโดยสารเครื่องบิน ซึ่งมักจะไม่ตรงกับชื่อและนามสกุลในหนังสือเดินทาง
3. ขาดเอกสารสำคัญในการทำหนังสือเดินทางให้ผู้เยาว์ อาทิ ปค. 14 หรือบันทึกสอบสวนสิทธิในการปกครองบุตรฝ่ายเดียว หรือเอกสารยินยอมให้บุตรเดินทางกับบิดาหรือมารดาที่มิได้อยู่ร่วมกัน
ทั้งนี้สถานเอกอัครราชทูตฯได้สอบถามชุมชนไทยถึงผลกระทบที่เกิดจากภูเขาไฟปะทุในไอซ์แลนด์ด้วย ปรากฏว่าไม่มีรายงานว่ามีผลกระทบโดยตรงต่อชุมชนไทย
ในโอกาสดังกล่าวนายชัชชัย ชูชม ได้ไปเยี่ยมชมโรงเรียนการศึกษาผู้ใหญ่ (กศน.) ซึ่งปัจจุบันมีคนไทยให้ความสนใจลงทะเบียนเรียนประมาณ 100 คน ตามคำเชิญของคณะครูอาสาเพื่อสร้างความสัมพันธ์ออันดีกับชุมชนไทยและเน้นความสำคัญของการเรียนภาษาไทยด้วย
นายประสิทธิพรฯ สรุปว่าคนไทยส่วนใหญ่ในกรุงเรคยาวิกพึงพอใจที่สถานเอกอัครราชทูตฯ จัดกิจกรรมกงสุลสัญจรและขอร้องให้ดำเนินการอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง โดยพร้อมที่จะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายส่วนหนึ่ง หากมีปัญหาเรื่องงบประมาณ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น