แนวทางการช่วยเหลือตนเองเมื่อเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติในต่างประเทศ
• ปัจจุบันมีภัยพิบัติธรรมชาติเกิดขึ้นในประเทศต่างๆบ่อยครั้ง อาทิ สึนามิ แผ่นดินไหว หิมะถล่ม น้ำท่วมฉับพลัน ดินถล่ม พายุหมุน เฮอริเคน ภูเขาไฟระเบิด ไฟป่า ส่งผลให้ประชาชนได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตจำนวนมากรวมทั้งทำลายสิ่งก่อสร้างและทรัพย์สิน แม้จะมีความพยายามที่จะดำเนินการเตือนภัยล่วงหน้าแต่ก็มักไม่ทันการณ์
• ปัจจุบันมีภัยพิบัติธรรมชาติเกิดขึ้นในประเทศต่างๆบ่อยครั้ง อาทิ สึนามิ แผ่นดินไหว หิมะถล่ม น้ำท่วมฉับพลัน ดินถล่ม พายุหมุน เฮอริเคน ภูเขาไฟระเบิด ไฟป่า ส่งผลให้ประชาชนได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตจำนวนมากรวมทั้งทำลายสิ่งก่อสร้างและทรัพย์สิน แม้จะมีความพยายามที่จะดำเนินการเตือนภัยล่วงหน้าแต่ก็มักไม่ทันการณ์
• ขณะนี้มีคนไทยพำนักอาศัยอยู่ในประเทศต่างๆอยู่ประมาณเกือบหนึ่งล้านคน นอกจากนั้นยังมีคนไทยเดินทางออกนอกประเทศด้วยจุดประสงค์เพื่อการท่องเที่ยวและประกอบธุรกิจถึงปีละประมาณ 2 ล้านคน โดยคนไทยส่วนใหญ่ไม่เคยประสบหรือรับทราบเกี่ยวกับภัยพิบัติบางอย่างมาก่อนเลย อาทิ หิมะถล่ม พายุหมุน ภูเขาไฟระเบิด ทั้งนี้เนื่องจากเป็นภัยธรรมชาติที่ไม่เคยเกิดขึ้นในประเทศ
• ที่ผ่านมา กระทรวงการต่างประเทศได้ให้การช่วยเหลือคนไทยที่ประสบภัยพิบัติทางธรรมชาติในประเทศต่างๆอย่างเต็มที่โดย
- สำรองเงินทดรองเพื่อช่วยเหลือคนไทยที่ตกทุกข์ได้ยากในต่างประเทศปีละประมาณ 15 ล้านบาท
- สั่งการให้สถานเอกอัครราชทูตและสถานกงสุลใหญ่ทั่วโลกจัดทำแผนอพยพคนไทยในกรณีต่างๆ รวมทั้งกรณีเกิดภัยธรรมชาติ
- สั่งการให้สำรวจจำนวนคนไทยในประเทศต่างๆ เป็นระยะๆ
- สำรองเงินทดรองเพื่อช่วยเหลือคนไทยที่ตกทุกข์ได้ยากในต่างประเทศปีละประมาณ 15 ล้านบาท
- สั่งการให้สถานเอกอัครราชทูตและสถานกงสุลใหญ่ทั่วโลกจัดทำแผนอพยพคนไทยในกรณีต่างๆ รวมทั้งกรณีเกิดภัยธรรมชาติ
- สั่งการให้สำรวจจำนวนคนไทยในประเทศต่างๆ เป็นระยะๆ
- ส่งเสริมให้คนไทยสร้างเครือข่ายมีแกนนำกลุ่มประสานงานอย่างใกล้ชิดกับสถานเอกอัครราชทูตหรือสถานกงสุลใหญ่ของไทยเพื่อจุดประสงค์ในการประชาสัมพันธ์กระจายข่าวสารหรือส่งข่าวสารกลับมายังสถานเอกอัครราชทูตและสถานกงสุลใหญ่
อย่างไรก็ตาม โดยที่ภัยพิบัติธรรมชาติมักเป็นภัยที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ฉับพลันทันทีโดยสามารถแจ้งเตือนกันเพียงระยะสั้น ดังนั้น จึงมีความจำเป็นที่คนไทยในต่างประเทศหรือผู้ที่จะเดินทางไปต่างประเทศเป็นการชั่วคราวควรจะได้รับทราบแนวทางการช่วยเหลือตนเองเพื่อรักษาชีวิตเป็นการเบื้องต้นก่อนที่หน่วยงานไทยในต่างประเทศจะให้การช่วยเหลือได้
กระทรวงการต่างประเทศจึงขอประกาศให้คนไทยที่พำนักอยู่ในต่างประเทศและที่กำลังจะเดินทางไปต่างประเทศให้ทราบถึงแนวทางช่วยเหลือตนเองเบื้องต้นทั้งก่อนและหลังเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติดังนี้
ก่อนเดินทางไปต่างประเทศ
• ควรศึกษาสภาพแวดล้อมภูมิประเทศและความเสี่ยงภัยทางธรรมชาติของประเทศที่ท่านพำนักอยู่หรือที่กำลังจะเดินทางไป โดยเฉพาะเหตุภัยธรรมชาติที่เคยเกิดขึ้นในอดีตว่ามีความรุนแรงหรือบ่อยครั้งเพียงใด
ก่อนเดินทางไปต่างประเทศ
• ควรศึกษาสภาพแวดล้อมภูมิประเทศและความเสี่ยงภัยทางธรรมชาติของประเทศที่ท่านพำนักอยู่หรือที่กำลังจะเดินทางไป โดยเฉพาะเหตุภัยธรรมชาติที่เคยเกิดขึ้นในอดีตว่ามีความรุนแรงหรือบ่อยครั้งเพียงใด
• ศึกษาและให้ความสำคัญกับมาตรการเตือนภัยและปฏิบัติตามอย่างเคคร่งครัดต่อวิธีการป้องกันภัยในแต่ละประเทศที่กำหนด อาทิ ในหลายประเทศมีแผ่นดินไหวหรือพายุจะมีการแจ้งประกาศเตือนภัยด้วยหมายเลขหรือสี การเตือนภัยด้วยเสียงไซเรน รวมถึงติดตามข่าวสารความเคลื่อนไหวในประเทศนั้นๆ โดยเฉพาะสื่อโทรทัศน์ในขณะที่ท่านพำนักหรือเดินทาง และหากเป็นไปได้ควรสอบถามชาวท้องถิ่นที่สามารถให้ข้อมูลเตือนภัยแก่ท่านได้
• คนไทยทั้งที่พำนักในต่างประเทศเป็นการถาวรและเดินทางไปชั่วคราว ควรพกติดตัวหมายเลขโทรศัพท์และที่อยู่ของสถานเอกอัครราชทูตและสถานกงสุลใหญ่ไทย และหมายเลขโทรศัพท์ช่วยเหลือฉุกเฉินของหน่วยงานท้องถิ่นในประเทศที่พำนัก
• เมื่อเดินทางถึงหรือพำนักในประเทศใด ควรลงทะเบียนไว้ที่สถานเอกอัครราชทูต / สถานกงสุลใหญ่ไทยในต่างประเทศเพื่อที่หน่วยงานไทยจะได้สอบถามความเป็นอยู่ หรือประสานงานให้ความช่วยเหลือท่านได้ในยามฉุกเฉิน และสำหรับในประเทศที่ไม่มีสถานเอกอัครราชทูต / สถานกงสุลใหญ่ไทย ควรรายงานตัวกับสถานกงสุลกิตติมศักดิ์ไทย (หากมี) หรือสถานเอกอัครราชทูต / สถานกงสุลใหญ่ไทย ที่ได้รับมอบหมายให้ดูแลประเทศที่ท่านพำนักอาศัย ซึ่งตรวจสอบได้กับกระทรวงการต่างประเทศก่อนออกเดินทาง
• คนไทยทั้งที่พำนักในต่างประเทศเป็นการถาวรและเดินทางไปชั่วคราวควรให้ความสำคัญต่อการศึกษาเรื่องแนวทางการหลบภัยเมื่อเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติ อาทิ เมื่อเกิดแผ่นดินไหวและอยู่ในตึกสูงจะต้องหมอบอยู่ใต้โต๊ะ หรือสิ่งที่สามารถกำบังร่างกายหรือศีรษะได้ หรือเมื่อเกิดปรากฏการณ์สึนามิจะต้องรีบวิ่งขึ้นสู่ที่สูง
• คนไทยที่เดินทางไปต่างประเทศเป็นการชั่วคราวหรือถาวร ควรแจ้งให้ญาติพี่น้องได้ทราบถึงกำหนดการเดินทาง โรงแรมที่พัก ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ในต่างประเทศที่ติดต่อได้ เพื่อให้ญาติสามารถแจ้งให้ทางการไทยดำเนินการตรวจสอบในกรณีเกิดภัยพิบัติขึ้นในประเทศดังกล่าว โดยเฉพาะเมื่อระบบการสื่อสารชำรุด
• คนไทยที่พำนักในต่างประเทศควรรวมตัวกันเป็นเครือข่ายมีแกนนำ ซึ่งเมื่อเกิดอุบัติภัยธรรมชาติจะได้ช่วยเหลือกันเองได้ก่อน และแจ้งให้หน่วยงานไทยและหน่วยงานท้องถิ่นทราบเพื่อให้การช่วยเหลือต่อไป
หลังเกิดภัยพิบัติ
• หากท่านปลอดภัยหรือได้รับบาดเจ็บเล็กน้อยจากเหตุการณ์ภัยพิบัติ รีบแจ้งให้สถานเอกอัครราชทูต / สถานกงสุลใหญ่ไทยที่ใกล้ที่สุดหรือแจ้งหน่วยงานท้องภิ่นให้แจ้งหน่วยงานไทยทราบ เพื่อแจ้งให้ญาติในประเทศไทยทราบต่อไป หรือเพื่อขอรับการช่วยเหลือโดยด่วนที่สุด หรือหากท่านพบคนไทยได้รับบาดเจ็บมากและไม่สามารถให้การช่วยเหลือด้วยตนเองได้หรือเสียชีวิต ควรรีบแจ้งให้หน่วยงานไทยทราบเพื่อให้การช่วยเหลือต่อไป
หลังเกิดภัยพิบัติ
• หากท่านปลอดภัยหรือได้รับบาดเจ็บเล็กน้อยจากเหตุการณ์ภัยพิบัติ รีบแจ้งให้สถานเอกอัครราชทูต / สถานกงสุลใหญ่ไทยที่ใกล้ที่สุดหรือแจ้งหน่วยงานท้องภิ่นให้แจ้งหน่วยงานไทยทราบ เพื่อแจ้งให้ญาติในประเทศไทยทราบต่อไป หรือเพื่อขอรับการช่วยเหลือโดยด่วนที่สุด หรือหากท่านพบคนไทยได้รับบาดเจ็บมากและไม่สามารถให้การช่วยเหลือด้วยตนเองได้หรือเสียชีวิต ควรรีบแจ้งให้หน่วยงานไทยทราบเพื่อให้การช่วยเหลือต่อไป
• ในกรณีของภัยพิบัติระบบการสื่อสารมักจะขัดข้องไม่สามารถติดต่อได้ หรือไม่มีหน่วยงานไทยในประเทศที่เกิดภัยพิบัติ ขอให้ท่านติดต่อขอรับการช่วยเหลือเบื้องต้นจากสถานเอกอัครราชทูต / สถานกงสุลใหญ่ของมิตรประเทศของไทย หรือขอให้หน่วยงานเหล่านี้แจ้งต่อกระทรวงการต่างประเทศ สถานเอกอัครราชทูต / สถานกงสุลใหญ่ไทยต่อไป อาทิ สถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีน สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น หรือประเทศในกลุ่มสมาคมอาเซียนซึ่งอาจมีระบบหรือช่องทางการสื่อสารพิเศษ ล่าสุด กรณีเกิดแผ่นดินไหวที่เฮติเมื่อไม่นานมานี้ กระทรวงการต่างประเทศได้ขอความร่วมมือไปยังมิตรประเทศเพื่อให้ช่วยเหลือคนไทยที่ประสบภัยพิบัติในเบื้องต้นด้วย
กองคุ้มครองและดูแลผลประโยชน์คนไทยในต่างประเทศ
5 มีนาคม 2553
กองคุ้มครองและดูแลผลประโยชน์คนไทยในต่างประเทศ
5 มีนาคม 2553
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น