วันจันทร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงออตตาวาจัดบริการกงสุลสัญจรในเมืองเลมิงตัน

แล้วก็ถึงคิวรับบริการ
หางแถว ปลายคิวก็นั่งรอไปก่อน
กรอกแบบฟอร์ม ใครไม่รู้ก็ถามกันไป คนไทยทั้งนั้น
ที่กรอกแบบฟอร์มเสร็จก็เข้าคิวรอที่โต๊ะ
แรงงานไทยที่มารับบริการกงสุลสัญจร
ไปเยี่ยมแรงงานไทยที่แค้มป์เมืองแชททัม-เค้นท์
อาสาสมัครในพื้นที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้ผู้มารับบริการกงสุลสัญจรที่เมืองเลมิงตัน เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2554ถ่ายภาพเป็นที่ระลึก

สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงออตตาวาจัดบริการกงสุลสัญจรในเมืองเลมิงตัน



เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2554 สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงออตตาวา ประเทศแคนาดา ได้เปิดบริการกงสุลสัญจร ตั้งแต่เวลา 09.00-18.30 น. มีแรงงานไทยในเมืองเลมิงตัน (Leamington) และเมืองใกล้เคียงยื่นขอทำหนังสือเดินทาง 92 ราย ขอ CI 1 ราย ออกสูติบัตร 2 ราย จดทะเบียนสมรส 1 ราย นอกจากนี้ มีคนไทยขอคำปรึกษาเกี่ยวกับงานนิติกรณ์ ข้อมูลการว่าจ้างแรงงาน ปัญหาและข้อข้องใจต่างๆ รวมทั้งเรื่องการนำญาติจาก ปทท.ไปทำงานในแคนาดา 22 ราย

การให้บริการกงสุลครั้งนี้ และในหลายครั้งที่ผ่านมา สถานเอกอัครราชทูตฯ ได้รับการสนับสนุน อำนวยความสะดวก จากอาสาสมัครคนไทยทั้งในท้องถิ่นและที่เดินทางมาจากนครโทรอนโต เช่น ประสานงานกับนายจ้างเรื่องสถานที่ให้บริการ ดูแลเอกสารของคนงาน และจัดลำดับการเข้ารับบริการ นอกจากนี้ ยังได้จัดให้ สถานเอกอัครราชทูตฯ ได้ไปเยี่ยมแรงงานไทยที่ไปชุมนุมที่แคมป์คนงานไทยที่เมืองแชททัม-เค้นท์ (Chatham-kent) ซึ่งห่างจากจุดบริการประมาณ 80 กิโลเมตร เพื่อรับการฝึกอบรมเรื่องสุขภาพ การป้องกันโรคติดต่อ ความปลอดภัยในการทำงาน ความรู้เรื่องสวัสดิการและกฎหมายท้องถิ่น ซึ่งในโอกาสนี้ สถานเอกอัครราชทูตฯ ได้มีโอกาสชี้แจงนโยบายของกระทรวงการต่างประเทศเกี่ยวกับการปกป้องสิทธิประโยชน์ของคนไทยในต่างแดน ให้ความรู้เรื่องงานกงสุล ประชาสัมพันธ์การเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร และได้แนะนำให้คนไทยรวบรวมรายชื่อ ที่อยู่และหมายเลขติดต่อเพื่อสถานเอกอัครราชทูตฯสามารถให้การช่วยเหลือคนไทยที่ประสบปัญหาได้ทันท่วงที

จากการสอบถามนางปิยรัตน์ แวนคูเวอร์แดน (อาสาสมัครที่ช่วยเหลือแรงงานไทยแถบพื้นที่ตะวันตก) ทราบว่ามีแรงงานไทยประมาณ 300-450 คนในเมืองเลมิงตัน (Leamington) และเมืองใกล้เคียง ส่วนใหญ่ทำงานในโรงเพาะพืชผัก และว่าในระยะ 2-3 ปีที่ผ่านมาปัญหาแรงงานภาคเกษตรไทยลดลงได้ในระดับหนึ่ง เนื่องจากมีการเพิ่มระเบียบการว่าจ้างที่รัดกุมและคนงานที่มาใหม่ส่วนใหญ่เคยทำงานในแคนาดามาก่อนแรงงานไทยสุขสบายดี ส่วนปัญหาคนงานก็มีบ้างโดยเฉพาะการแอบพำนักและทำงานอยู่ในแคนาดาโดยผิด ก.ม เพื่อจะได้ขยายเวลาการประกอบอาชีพให้ยาวขึ้น

การจัดกงสุลสัญจรครั้งนี้เป็นประโยชน์ต่อคนไทย/แรงงานไทยที่อยู่ห่างไกลจากกรุงออตตาวาเป็นระยะทางถึง 900 กิโลเมตร ซึ่งสถานเอกอัครราชทูตฯ ใช้การเดินทางทางรถยนต์ประมาณ 10 ชั่วโมง มีผู้รับการบริการกว่า 100 คน ไม่ต้องเดินทางมาที่ สอท. และ สถานเอกอัครราชทูตฯ  เสียค่าใช้จ่ายเพียงประมาณ 1,200 เหรียญสหรัฐอเมริกา (ค่าเบี้ยเลี้ยง ที่พัก น้ำมันรถยนต์)

ที่มา: ภาพและเรื่องจากสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงออตตาวา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น