ระเบียบเกี่ยวกับการนำเงินสด/ตราสารการเงินเข้าประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (ยูเออี)
กระทรวงการต่างประเทศได้รับรายงานจากสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงอาบูดาบีว่า เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2554 ธนาคารกลางยูเออีได้ออกระเบียบชื่อ Regulations re declaration by travelers entering or leaving the UAE carrying cash and monetary/financial bearer instruments สาระสำคัญกำหนดให้นักท่องเที่ยวที่นำเงินสด/ตราสารการเงิน (เช็คเดินทางหรือพันธบัตรที่เปลี่ยนเป็นเงินสดได้) ที่มีมูลค่าเกินกว่า 100,000 ดีแรห์ม (อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดีแรห์ม เท่ากับประมาณ 8.25 บาท) หรือสกุลเงินอื่นใด เข้า-ออก ยูเออี ต้องสำแดงเงินสด/ตราสารการเงินดังกล่าวต่อเจ้าหน้าที่ศุลกากรที่ท่าอากาศยานหรือจุดผ่านแดนของยูเออี เพื่อเป็นมาตรการป้องกันการฟอกเงิน การก่อการร้าย และการฉ้อโกงในรูปแบบต่างๆ โดยผู้ฝ่าฝืนอาจถูกริบทรัพย์และถูกจับกุมดำเนินคดีในข้อหาการฟอกเงิน ทั้งนี้ ระเบียบดังกล่าวมิได้ห้ามการนำเข้า-ออก เงินสดหรือตราสารการเงินในจำนวนที่เกินกว่า 100,000 ดีแรห์ม
4 กุมภาพันธ์ 2554
ที่มา: ข่าวสารนิเทศ วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2554 กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ
กระทรวงการต่างประเทศได้รับรายงานจากสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงอาบูดาบีว่า เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2554 ธนาคารกลางยูเออีได้ออกระเบียบชื่อ Regulations re declaration by travelers entering or leaving the UAE carrying cash and monetary/financial bearer instruments สาระสำคัญกำหนดให้นักท่องเที่ยวที่นำเงินสด/ตราสารการเงิน (เช็คเดินทางหรือพันธบัตรที่เปลี่ยนเป็นเงินสดได้) ที่มีมูลค่าเกินกว่า 100,000 ดีแรห์ม (อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดีแรห์ม เท่ากับประมาณ 8.25 บาท) หรือสกุลเงินอื่นใด เข้า-ออก ยูเออี ต้องสำแดงเงินสด/ตราสารการเงินดังกล่าวต่อเจ้าหน้าที่ศุลกากรที่ท่าอากาศยานหรือจุดผ่านแดนของยูเออี เพื่อเป็นมาตรการป้องกันการฟอกเงิน การก่อการร้าย และการฉ้อโกงในรูปแบบต่างๆ โดยผู้ฝ่าฝืนอาจถูกริบทรัพย์และถูกจับกุมดำเนินคดีในข้อหาการฟอกเงิน ทั้งนี้ ระเบียบดังกล่าวมิได้ห้ามการนำเข้า-ออก เงินสดหรือตราสารการเงินในจำนวนที่เกินกว่า 100,000 ดีแรห์ม
4 กุมภาพันธ์ 2554
ที่มา: ข่าวสารนิเทศ วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2554 กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น