




พิธีลงนามบันทึกความเข้าใจระหว่างกรมการกงสุลและกรมการจัดหางาน
เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2553 เวลา 11.00 น.ได้มีพิธีลงนามในบันทึกความเข้าใจระหว่างกรมการกงสุลกระทรวงการต่างประเทศ และกรมการจัดหางานกระทรวงแรงงานเรื่องการปกป้องคุ้มครองและดูแลแรงงานไทยและการส่งเสริมขยายตลาดแรงงานไทยในต่างประเทศ
พิธีลงนามจัดขึ้นที่ห้องประชุม กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ ถนนแจ้งวัฒนะ โดยนายจักร บุญหลง อธิบดีกรมการกงสุล และนายจีรศักดิ์ สุคนธชาติอธิบดีกรมการจัดหางานเป็นผู้แทนลงนามบันทึกความตกลงดังกล่าว โดยมีข้าราชการระดับสูงของทั้งสองหน่วยงาน และสื่อมวลชนเป็นสักขีพยาน
บันทึกความเข้าใจฉบับดังกล่าวเป็นการแสดงเจตนารมณ์ร่วมระหว่างหน่วยราชการทั้งสองแห่งที่จะร่วมมือกันทำงานแบบบูรณาการใน 4 สาขา ดังนี้ 1. กิจกรรมเตรียมความพร้อมแก่แรงงานไทยที่จะไปทำงานในต่างประเทศ 2. จัดตั้งคณะทำงานร่วมเพื่อให้การคุ้มครองแรงงานไทยเป็นไปอย่างอย่างรวดเร็ว 3. ปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองแรงงานไทยในต่างประเทศ และ 4 ส่งเสริมขยายตลาดแรงงานไทยในต่างประเทศ
บันทึกความเข้าใจดังกล่าวเป็นผลจากการที่หน่วยงานทั้งสองตระหนักถึงความจำเป็นที่จะต้องให้ความคุ้มครองแรงงานไทยในต่างประเทศจำนวน 4.6 แสนคนหรือร้อยละ 46 ของจำนวนคนไทยที่พำนักในต่างประเทศอย่างมีคุณภาพ
เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2553 เวลา 11.00 น.ได้มีพิธีลงนามในบันทึกความเข้าใจระหว่างกรมการกงสุลกระทรวงการต่างประเทศ และกรมการจัดหางานกระทรวงแรงงานเรื่องการปกป้องคุ้มครองและดูแลแรงงานไทยและการส่งเสริมขยายตลาดแรงงานไทยในต่างประเทศ
พิธีลงนามจัดขึ้นที่ห้องประชุม กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ ถนนแจ้งวัฒนะ โดยนายจักร บุญหลง อธิบดีกรมการกงสุล และนายจีรศักดิ์ สุคนธชาติอธิบดีกรมการจัดหางานเป็นผู้แทนลงนามบันทึกความตกลงดังกล่าว โดยมีข้าราชการระดับสูงของทั้งสองหน่วยงาน และสื่อมวลชนเป็นสักขีพยาน
บันทึกความเข้าใจฉบับดังกล่าวเป็นการแสดงเจตนารมณ์ร่วมระหว่างหน่วยราชการทั้งสองแห่งที่จะร่วมมือกันทำงานแบบบูรณาการใน 4 สาขา ดังนี้ 1. กิจกรรมเตรียมความพร้อมแก่แรงงานไทยที่จะไปทำงานในต่างประเทศ 2. จัดตั้งคณะทำงานร่วมเพื่อให้การคุ้มครองแรงงานไทยเป็นไปอย่างอย่างรวดเร็ว 3. ปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองแรงงานไทยในต่างประเทศ และ 4 ส่งเสริมขยายตลาดแรงงานไทยในต่างประเทศ
บันทึกความเข้าใจดังกล่าวเป็นผลจากการที่หน่วยงานทั้งสองตระหนักถึงความจำเป็นที่จะต้องให้ความคุ้มครองแรงงานไทยในต่างประเทศจำนวน 4.6 แสนคนหรือร้อยละ 46 ของจำนวนคนไทยที่พำนักในต่างประเทศอย่างมีคุณภาพ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น