และมีน้ำมีดินอุดมสมบูรณ์แบบนี้
มีไม้ดอกที่ปลูกขายอย่างนี้
ที่บรูไนมีฟาร์มแบบนี้
กำลังหารือ
อาจารย์จากวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีขอนแก่นถ่ายภาพเป็นที่ระลึกกับท่านอุปทูตแวซง ดาเล็ง (คนกลาง) และข้าราชการหน้าสถานทูต
ระหว่างวันที่ 16 – 20 สิงหาคม 2553 คณะอาจารย์จากวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีขอนแก่น 2 ท่าน เดินทางไปดูงานเพื่อเตรียมความพร้อมในการส่งนักศึกษาฝึกงานฟาร์มไม้ดอกและการปลูกพืชไร้ดินที่บริษัท Semaun prim sendirian bhd.sdn. Hydroponics farmingโดยมีนายชัชชัย อมรทัพพ์ ผู้บริหารฟาร์มให้การต้อนรับและมีการหารือแนวทางดำเนินการเพิ่มเติมจากคณะที่มาดูงานชุดแรกเมื่อเดือนมิถุนายน 2553
อาจารย์ทั้งสองท่านได้เปิดเผยว่า วิทยาลัยฯ มีความพร้อมในการส่งนักศึกษาด้านพืชศาสตร์มาฝึกงานที่บรูไน และจากการออกสำรวจตลาดไม้ดอกไม้ประดับ การจัดตกแต่งสวนตามตลาดนัด และร้านค้าแล้ว เห็นว่าชาวบรูไนนิยมไม้ดอกที่ดูแลง่ายราคาไม่แพง การผลิตจึงสามารถใช้ไม้ที่โตเร็ว เลี้ยงง่าย สามารถทำรายได้ กำไรได้เร็ว ซึ่งนักศึกษาของวิทยาลัยฯ จะสามารถเข้ามาฝึกงานได้ตามความต้องการเบื้องต้นของผู้ประกอบการ จำนวน 3 คน
สำหรับเงื่อนไขในการรับนักศึกษาของทางการบรูไนนั้น สำนักงานแรงงานในบรูไน สถานเอกอัครราชทูต ณ บันดาร์เสรีเบกาวัน กำลังอยู่ระหว่างการติดต่อประสานงานอย่างเป็นทางการ โดยในระหว่างนี้วิทยาลัยฯ จะได้เตรียมความพร้อมมากขึ้น โดยการเสริมความรู้ในแขนงต่างๆ อาทิ ภาษาอังกฤษ การออกแบบและจัดทำกระถางดอกไม้ การจัดตกแต่งสวน การประเมินราคาตกแต่ง เป็นต้น
ในระหว่างการเยือน นายอาณาจักร สุทธายน อทป.ฝ่ายแรงงานได้นำคณะอาจารย์เข้าเยี่ยมคารวะนางแวซง ดาเล็ง อุปทูต ที่สถานเอกอัครราชทูตฯ โดยนายธวัช สุมิตรเหมาะ ที่ปรึกษา เข้าร่วมการหารือด้วย คณะอาจารย์ได้เล่าประสบการณ์ความร่วมมือทางเกษตรกรรม ระหว่างวิทยาลัยฯ กับสถาบันการศึกษาในญี่ปุ่นและจีน ซึ่งประสบผลสำเร็จอย่างดียิ่ง
นอกจากนี้ ในการหารือครั้งนี้ ได้มีการเสนอความเห็นและแนวทางการดำเนินการในลักษณะคู่ขนานทั้งการปฎิบัติ และการเจรจาหาทางทำข้อตกลงระหว่างสองประเทศให้สำเร็จ เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษาของไทยมีโอกาสมาฝึกงานในบรูไน ซึ่งหากสามารถทำงานได้เป็นที่พอใจของเจ้าของกิจการ ก็อาจได้รับการพิจารณาว่าจ้างประจำในโอกาสต่อไปได้ ทั้งนี้ สถานเอกอัครราชทูตฯ จะรายงานความคืบหน้าให้กระทรวงการต่างประเทศของไทยทราบเป็นระยะ และพิจารณาร่วมผลักดันโครงการดังกล่าวด้วย โดยคาดว่าประเทศไทยจะมีการดำเนินการตั้งคณะทำงานในเรื่องนี้ต่อไป
สถานทูตบรูไนร่วมมือกับวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี ขอนแก่น เพื่อพัฒนาตลาดแรงงานทักษะไทยในบรูไน
ระหว่างวันที่ 16 – 20 สิงหาคม 2553 คณะอาจารย์จากวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีขอนแก่น 2 ท่าน เดินทางไปดูงานเพื่อเตรียมความพร้อมในการส่งนักศึกษาฝึกงานฟาร์มไม้ดอกและการปลูกพืชไร้ดินที่บริษัท Semaun prim sendirian bhd.sdn. Hydroponics farmingโดยมีนายชัชชัย อมรทัพพ์ ผู้บริหารฟาร์มให้การต้อนรับและมีการหารือแนวทางดำเนินการเพิ่มเติมจากคณะที่มาดูงานชุดแรกเมื่อเดือนมิถุนายน 2553
อาจารย์ทั้งสองท่านได้เปิดเผยว่า วิทยาลัยฯ มีความพร้อมในการส่งนักศึกษาด้านพืชศาสตร์มาฝึกงานที่บรูไน และจากการออกสำรวจตลาดไม้ดอกไม้ประดับ การจัดตกแต่งสวนตามตลาดนัด และร้านค้าแล้ว เห็นว่าชาวบรูไนนิยมไม้ดอกที่ดูแลง่ายราคาไม่แพง การผลิตจึงสามารถใช้ไม้ที่โตเร็ว เลี้ยงง่าย สามารถทำรายได้ กำไรได้เร็ว ซึ่งนักศึกษาของวิทยาลัยฯ จะสามารถเข้ามาฝึกงานได้ตามความต้องการเบื้องต้นของผู้ประกอบการ จำนวน 3 คน
สำหรับเงื่อนไขในการรับนักศึกษาของทางการบรูไนนั้น สำนักงานแรงงานในบรูไน สถานเอกอัครราชทูต ณ บันดาร์เสรีเบกาวัน กำลังอยู่ระหว่างการติดต่อประสานงานอย่างเป็นทางการ โดยในระหว่างนี้วิทยาลัยฯ จะได้เตรียมความพร้อมมากขึ้น โดยการเสริมความรู้ในแขนงต่างๆ อาทิ ภาษาอังกฤษ การออกแบบและจัดทำกระถางดอกไม้ การจัดตกแต่งสวน การประเมินราคาตกแต่ง เป็นต้น
ในระหว่างการเยือน นายอาณาจักร สุทธายน อทป.ฝ่ายแรงงานได้นำคณะอาจารย์เข้าเยี่ยมคารวะนางแวซง ดาเล็ง อุปทูต ที่สถานเอกอัครราชทูตฯ โดยนายธวัช สุมิตรเหมาะ ที่ปรึกษา เข้าร่วมการหารือด้วย คณะอาจารย์ได้เล่าประสบการณ์ความร่วมมือทางเกษตรกรรม ระหว่างวิทยาลัยฯ กับสถาบันการศึกษาในญี่ปุ่นและจีน ซึ่งประสบผลสำเร็จอย่างดียิ่ง
นอกจากนี้ ในการหารือครั้งนี้ ได้มีการเสนอความเห็นและแนวทางการดำเนินการในลักษณะคู่ขนานทั้งการปฎิบัติ และการเจรจาหาทางทำข้อตกลงระหว่างสองประเทศให้สำเร็จ เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษาของไทยมีโอกาสมาฝึกงานในบรูไน ซึ่งหากสามารถทำงานได้เป็นที่พอใจของเจ้าของกิจการ ก็อาจได้รับการพิจารณาว่าจ้างประจำในโอกาสต่อไปได้ ทั้งนี้ สถานเอกอัครราชทูตฯ จะรายงานความคืบหน้าให้กระทรวงการต่างประเทศของไทยทราบเป็นระยะ และพิจารณาร่วมผลักดันโครงการดังกล่าวด้วย โดยคาดว่าประเทศไทยจะมีการดำเนินการตั้งคณะทำงานในเรื่องนี้ต่อไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น