สถานเอกอัครราชทูตไทยที่เคนยาจัดกิจกกรมกงสุลสัญจรไปที่ประเทศสหสาธารณรัฐแทนซาเนีย
ระหว่างวันที่ 26 กันยายน 2553 - 1 ตุลาคม 2553 สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงไนโรบี ประเทศเคนยาได้ส่งคณะผู้แทนซึ่งมีนายสมศักดิ์ เตรียมแจ้งอรุณ อัครราชทูตที่ปรึกษาเป็นหัวหน้าคณะเดินทางไปจัดกิจกรรมกงสุลสัญจรที่ประเทศสหสาธารณรัฐแทนซาเนีย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้บริการงานด้านกงสุลแก่คนไทยที่พำนักอยู่ในแทนซาเนียและแซนซิบาร์ และติดตามสอบถามทุกข์สุขของพี่น้องคนไทย รวมทั้งนำข่าวสารเกี่ยวกับบ้านเมืองไปแจ้งให้ชุมชนไทยได้ทราบและจัดทำทะเบียนรายชื่อคนไทยในประเทศดังกล่าวเพื่อประโยชน์ในการติดต่อให้ความช่วยเหลือ
ในการให้บริการกงสุลครั้งนี้มีผู้ติดต่อขอทำหนังสือเดินทางเล่มใหม่ จำนวน 1 ราย จดทะเบียนเกิดจำนวน 2 ราย และลงทะเบียนรายงานตัว จำนวน 21 ราย จำแนกเป็นที่เมืองดาเอสซาลัม 10 ราย และที่แซนซิบาร์ 11 ราย
สถานที่จัดกิจกรรมกงสุลสัญจรระหว่างวันที่ 26 – 27 กันยายน 2553 ได้รับความอนุเคราะห์ด้านสถานที่จากนายประยูรย์ พงศ์ตระกูล นักธุรกิจไทยซึ่งพำนักอยู่ในเมืองดาเอสซาลัมมานานกว่า 30 ปีแล้ว ปัจจุบันประกอบอาชีพซื้อขายอัญมณีทั้งแบบแร่ดิบและแบบแปรรูป โดยตั้งเป็นรูปบริษัทชื่อ Gramac (T) Ltd. มีลูกจ้างคนไทย 2 คน ช่วยคัดเลือกและเจียระไนอัญมณี นอกจากนั้นยังมีธุรกิจร้านอาหารไทยชื่อ Thai Village และมีโครงการจะเปิดร้านขายเครื่องประดับที่เมืองอะรุชาเร็วๆนี้อีกด้วย
คณะเจ้าหน้าที่ไทยได้เข้าเยี่ยมชมแผนกสปาของโรงแรมคิลิมันจาโร เคมปินสกี้ ในเมืองดาเอสซาลัม และได้พบนางสาวนวรัตน์ อาดัม ผู้จัดการแผนดสปา พร้อมพนักงานสปาไทยอีกจำนวน 4 คร ซึ่งได้รับทราบว่า พนักงานทั้งหมดได้รับการคัดเลือกจากบริษัทอนันต์ธาราสปาประเทศไทย เพื่อส่งไปทำงานงานตามโรงแรมในเครือของโรงแรมเคมปินสกี้ทั่วโลก โดยพนักงานทุกคนได้รับการฝึกฝนทั้งด้านภาษาและการนวดมาเป็นอย่างดี จึงไม่มีปัญหาในการทำงานแต่อย่างใด ส่วนเงินเดือนบริษัทอนุนต์ธาราสปา ประเทศไทย จะนำเข้าบัญชีของแต่ละคน อุปกรณ์ที่ใช้และของตกแต่งในแผนดสปาทั้งหมดนำมาจากประเทศไทย พร้อมทั้งได้นำเจ้าหน้าที่ชมแผนกสปา แต่ละห้องจัดแต่งไม่เหมือนกันเพื่อความหลากหลายและความพอใจของลูกค้าที่มารับบริการจะสามารถเลือกได้ตามใจชอบ ทั้งนี้ผู้จัดการแผนกสปาแจ้งด้วยว่าสปาแห่งนี้ประธานาธิบดีแทนซาเนียและบุคคลสำคัญเคยมารับบริการด้วยแล้ว
ในค่ำวันที่ 27 กันยายน 2553 คณะผู้แทนสถานเอกอัครราชทูตฯ ได้นัดพบปะคนไทยในแทนซาเนียที่ร้าน Thai Village เมืองดาเอสซาลัม โดยนายประยูรเป็นผู้ประสานงานนัดหมายให้คนไทยจำนวน 30 คนมาพบกับคณะผู้แทนสถานเอกอัครราชทูต คนไทยเหล่านี้ประกอบอาชีพเป็นนักธุรกิจ ผู้ประกอบการทำเมืองอัญมณี พ่อค้าซื้อขานอัญมณี เจ้าหน้าที่องค์การระหว่างประเทศ พนักงานสปา พ่อครัว/แม่ครัวร้านอาหารไทยและร้านอาหารญี่ปุ่น ซึ่งส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในโรงแรมชั้นนำในเมืองดาเอสซาลัม ทั้งนี้มีบางคนเดินทางมาเป็นระยะทาง 1,000 กิโลเมตรเพื่อมาร่วมงานพบปะสังสรรค์ครั้งนี้ ทั้งนี้คณะผู้แทนฯ ได้แจ้งให้ชุมชนไทยทรายถึงความห่วงใยของรัฐบาลไทย โดยเฉพาะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศซึ่งให้ความสนใจอย่างมากต่อความเป็นอยู่ของคนไทยในต่างประเทศ และได้สอบถามถึงสภาพความเป็นอยู่ ปัญหาและอุปสรรคในการทำงาน ซึ่งทุกคนแจ้งให้ทราบว่าไม่มีปัญหาเดือดร้อนในการทำงานแต่ประการใด มีความเป็นอยู่สุขสบาย มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินในระดับหนึ่ง
ต่อมาเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2553 คณะผู้แทนฯ ประกอบด้วยนายธวัช ขวัญจิตและนายพงษ์ศักดิ์ นิ่มกำเหนิด เลขานุการโทได้เดินทางไปเยี่ยมคนไทยตามสถานที่ต่างๆในแซนซิบาร์ อาทิ โรงแรมเนปจูนซึ่งมีพนักงานสปาคนไทยจำนวน 2 คน ทำงานมา 3 ปีแล้วโดยคนหนึ่งทำงานเป็นผู้จัดการแผนกสปา โรงแรมดรีมออฟแซนซิบาร์มีพนักงานสปาคนไทยจำนวน 2 คน โรงแรมมาเปนซี บีช คลับ มีพนักวานสปาคนไทยเพียงคนเดียวซึ่งทำงานในตำแหน่งผู้จัดการแผนกสปาพึ่งทำงานมาได้เพียง 2 เดือน ประสบปัญหายังไม่ได้รับการตรวจลงตราประเภททำงานและได้รับเงินเดือนล่าช้า ซึ่งเจ้าหน้าที่ทั้งสองได้ช่วยเจรจากับผู้บริหารของโรงแรมในเรื่องดังกล่าว โรงแรมลา เกมมา เดเล มีพนักงานสปาคนไทยจำนวน 2 คน ซึ่งแจ้งว่าทำงานอย่างมีความสุขและไม่มีปัญหาจากการทำงาน โรงแรมซามานี เตมปินสกี โฮเตล มีพนักงานสปาไทย 4 คน โดยมีนางสาวอรฑิกา ทวีพันธ์เป็นผู้จัดการแผนกสปา ขณะนี้กำลังขยายพื้นที่ให้บริการแผนกสปา เนื่องจากเป็นแผนกที่ทำรายได้เข้าโรงแรมเป็นอันดับสองรองจากภัตาคาร โรงแรม บรีซ บีช คลับแอนด์สปา โรงแรมปาล์ม โฮเตล และโรงแรมบาราซา รีสอร์ท แอนด์สปา มีพนักงานสปาคนไทยจำนวน 5 คน โดยอยู่ที่โรงแรมแห่งแรก 3 คน และที่โรงแรมอีกสองแห่งๆละ 1 คน ซึ่งต่างพอใจสภาพการทำงาน
จากการเดินทางไปเยี่ยมพนักงานสปาไทยตามโรงแรมที่มีชื่อเสียงในประเทศแทนซาเนียครั้งนี้พบว่าค่าตอบแทน และเงินเดือนสำหรับพนักงานสปาที่ได้รับสุทธิในแต่ละแห่งอยู่ระหว่าง 550 – 900 ดอลลาร์สหรัฐ ไม่รวมเงินรางวัลจากผู้ใช้บริการ ซึ่งนับว่ารายได้สูง อย่างไรก็ตามตลาดแรงงานทักษะอาทิ พ่อครัว/แม่ครัวอาหารไทย พนักงานสปา ช่างเจียระไนอัญมณี ในประเทศแทนซาเนียยังมีโอกาสอีกมาก โดยหากมีการบริหารจัดการที่ดีในประเทศไทยน่าจะทำให้ได้แรงงานคุณภาพเข้าไปทำงานในแทนซาเนียอย่างยั่งยืน
ระหว่างวันที่ 26 กันยายน 2553 - 1 ตุลาคม 2553 สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงไนโรบี ประเทศเคนยาได้ส่งคณะผู้แทนซึ่งมีนายสมศักดิ์ เตรียมแจ้งอรุณ อัครราชทูตที่ปรึกษาเป็นหัวหน้าคณะเดินทางไปจัดกิจกรรมกงสุลสัญจรที่ประเทศสหสาธารณรัฐแทนซาเนีย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้บริการงานด้านกงสุลแก่คนไทยที่พำนักอยู่ในแทนซาเนียและแซนซิบาร์ และติดตามสอบถามทุกข์สุขของพี่น้องคนไทย รวมทั้งนำข่าวสารเกี่ยวกับบ้านเมืองไปแจ้งให้ชุมชนไทยได้ทราบและจัดทำทะเบียนรายชื่อคนไทยในประเทศดังกล่าวเพื่อประโยชน์ในการติดต่อให้ความช่วยเหลือ
ในการให้บริการกงสุลครั้งนี้มีผู้ติดต่อขอทำหนังสือเดินทางเล่มใหม่ จำนวน 1 ราย จดทะเบียนเกิดจำนวน 2 ราย และลงทะเบียนรายงานตัว จำนวน 21 ราย จำแนกเป็นที่เมืองดาเอสซาลัม 10 ราย และที่แซนซิบาร์ 11 ราย
สถานที่จัดกิจกรรมกงสุลสัญจรระหว่างวันที่ 26 – 27 กันยายน 2553 ได้รับความอนุเคราะห์ด้านสถานที่จากนายประยูรย์ พงศ์ตระกูล นักธุรกิจไทยซึ่งพำนักอยู่ในเมืองดาเอสซาลัมมานานกว่า 30 ปีแล้ว ปัจจุบันประกอบอาชีพซื้อขายอัญมณีทั้งแบบแร่ดิบและแบบแปรรูป โดยตั้งเป็นรูปบริษัทชื่อ Gramac (T) Ltd. มีลูกจ้างคนไทย 2 คน ช่วยคัดเลือกและเจียระไนอัญมณี นอกจากนั้นยังมีธุรกิจร้านอาหารไทยชื่อ Thai Village และมีโครงการจะเปิดร้านขายเครื่องประดับที่เมืองอะรุชาเร็วๆนี้อีกด้วย
คณะเจ้าหน้าที่ไทยได้เข้าเยี่ยมชมแผนกสปาของโรงแรมคิลิมันจาโร เคมปินสกี้ ในเมืองดาเอสซาลัม และได้พบนางสาวนวรัตน์ อาดัม ผู้จัดการแผนดสปา พร้อมพนักงานสปาไทยอีกจำนวน 4 คร ซึ่งได้รับทราบว่า พนักงานทั้งหมดได้รับการคัดเลือกจากบริษัทอนันต์ธาราสปาประเทศไทย เพื่อส่งไปทำงานงานตามโรงแรมในเครือของโรงแรมเคมปินสกี้ทั่วโลก โดยพนักงานทุกคนได้รับการฝึกฝนทั้งด้านภาษาและการนวดมาเป็นอย่างดี จึงไม่มีปัญหาในการทำงานแต่อย่างใด ส่วนเงินเดือนบริษัทอนุนต์ธาราสปา ประเทศไทย จะนำเข้าบัญชีของแต่ละคน อุปกรณ์ที่ใช้และของตกแต่งในแผนดสปาทั้งหมดนำมาจากประเทศไทย พร้อมทั้งได้นำเจ้าหน้าที่ชมแผนกสปา แต่ละห้องจัดแต่งไม่เหมือนกันเพื่อความหลากหลายและความพอใจของลูกค้าที่มารับบริการจะสามารถเลือกได้ตามใจชอบ ทั้งนี้ผู้จัดการแผนกสปาแจ้งด้วยว่าสปาแห่งนี้ประธานาธิบดีแทนซาเนียและบุคคลสำคัญเคยมารับบริการด้วยแล้ว
ในค่ำวันที่ 27 กันยายน 2553 คณะผู้แทนสถานเอกอัครราชทูตฯ ได้นัดพบปะคนไทยในแทนซาเนียที่ร้าน Thai Village เมืองดาเอสซาลัม โดยนายประยูรเป็นผู้ประสานงานนัดหมายให้คนไทยจำนวน 30 คนมาพบกับคณะผู้แทนสถานเอกอัครราชทูต คนไทยเหล่านี้ประกอบอาชีพเป็นนักธุรกิจ ผู้ประกอบการทำเมืองอัญมณี พ่อค้าซื้อขานอัญมณี เจ้าหน้าที่องค์การระหว่างประเทศ พนักงานสปา พ่อครัว/แม่ครัวร้านอาหารไทยและร้านอาหารญี่ปุ่น ซึ่งส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในโรงแรมชั้นนำในเมืองดาเอสซาลัม ทั้งนี้มีบางคนเดินทางมาเป็นระยะทาง 1,000 กิโลเมตรเพื่อมาร่วมงานพบปะสังสรรค์ครั้งนี้ ทั้งนี้คณะผู้แทนฯ ได้แจ้งให้ชุมชนไทยทรายถึงความห่วงใยของรัฐบาลไทย โดยเฉพาะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศซึ่งให้ความสนใจอย่างมากต่อความเป็นอยู่ของคนไทยในต่างประเทศ และได้สอบถามถึงสภาพความเป็นอยู่ ปัญหาและอุปสรรคในการทำงาน ซึ่งทุกคนแจ้งให้ทราบว่าไม่มีปัญหาเดือดร้อนในการทำงานแต่ประการใด มีความเป็นอยู่สุขสบาย มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินในระดับหนึ่ง
ต่อมาเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2553 คณะผู้แทนฯ ประกอบด้วยนายธวัช ขวัญจิตและนายพงษ์ศักดิ์ นิ่มกำเหนิด เลขานุการโทได้เดินทางไปเยี่ยมคนไทยตามสถานที่ต่างๆในแซนซิบาร์ อาทิ โรงแรมเนปจูนซึ่งมีพนักงานสปาคนไทยจำนวน 2 คน ทำงานมา 3 ปีแล้วโดยคนหนึ่งทำงานเป็นผู้จัดการแผนกสปา โรงแรมดรีมออฟแซนซิบาร์มีพนักงานสปาคนไทยจำนวน 2 คน โรงแรมมาเปนซี บีช คลับ มีพนักวานสปาคนไทยเพียงคนเดียวซึ่งทำงานในตำแหน่งผู้จัดการแผนกสปาพึ่งทำงานมาได้เพียง 2 เดือน ประสบปัญหายังไม่ได้รับการตรวจลงตราประเภททำงานและได้รับเงินเดือนล่าช้า ซึ่งเจ้าหน้าที่ทั้งสองได้ช่วยเจรจากับผู้บริหารของโรงแรมในเรื่องดังกล่าว โรงแรมลา เกมมา เดเล มีพนักงานสปาคนไทยจำนวน 2 คน ซึ่งแจ้งว่าทำงานอย่างมีความสุขและไม่มีปัญหาจากการทำงาน โรงแรมซามานี เตมปินสกี โฮเตล มีพนักงานสปาไทย 4 คน โดยมีนางสาวอรฑิกา ทวีพันธ์เป็นผู้จัดการแผนกสปา ขณะนี้กำลังขยายพื้นที่ให้บริการแผนกสปา เนื่องจากเป็นแผนกที่ทำรายได้เข้าโรงแรมเป็นอันดับสองรองจากภัตาคาร โรงแรม บรีซ บีช คลับแอนด์สปา โรงแรมปาล์ม โฮเตล และโรงแรมบาราซา รีสอร์ท แอนด์สปา มีพนักงานสปาคนไทยจำนวน 5 คน โดยอยู่ที่โรงแรมแห่งแรก 3 คน และที่โรงแรมอีกสองแห่งๆละ 1 คน ซึ่งต่างพอใจสภาพการทำงาน
จากการเดินทางไปเยี่ยมพนักงานสปาไทยตามโรงแรมที่มีชื่อเสียงในประเทศแทนซาเนียครั้งนี้พบว่าค่าตอบแทน และเงินเดือนสำหรับพนักงานสปาที่ได้รับสุทธิในแต่ละแห่งอยู่ระหว่าง 550 – 900 ดอลลาร์สหรัฐ ไม่รวมเงินรางวัลจากผู้ใช้บริการ ซึ่งนับว่ารายได้สูง อย่างไรก็ตามตลาดแรงงานทักษะอาทิ พ่อครัว/แม่ครัวอาหารไทย พนักงานสปา ช่างเจียระไนอัญมณี ในประเทศแทนซาเนียยังมีโอกาสอีกมาก โดยหากมีการบริหารจัดการที่ดีในประเทศไทยน่าจะทำให้ได้แรงงานคุณภาพเข้าไปทำงานในแทนซาเนียอย่างยั่งยืน
ร้านนวดไทย ที่ดาร์อีสซาลามซึ่งเป้นร้านเล็กๆ มีพนักงานคนไทน สามคน ไม่เคยเห็นเจ้าหน้าที่หรือหน่วยงานของราชการเข้ามาดูแล ฝากด้วยนะครับ ไม่ใช่ให้ความดูแลแต่ คนไทยที่ทำงานโรงแรมระดับห้าดาวเท่านั้น
ตอบลบ