ปัญหาแรงงานไทยเก็บผลไม้ป่าของบริษัท Lom Berry (Lomsjo Bar AB) ที่ประเทศสวีเดน
1. ช่วงเดือนสิงหาคม – กันยายน 2553 แรงงานไทย จำนวน 157 คนได้รับการชักชวนให้เดินทางไป เก็บผลไม้ป่าที่ประเทศสวีเดนกับบริษัท Lom Berry (Lomsjo Bar AB) โดยไปทำงานและพักที่เมือง Aesere ภาคเหนือของสวีเดน (ห่างจาก Stockholm 8 ชม.ทางรถยนต์) โดยมีสายของบริษัท ( นายภูมิคชา นาคคำ ) ไปชักชวนว่าภายหลังการทำงาน ทุกคนจะได้รับเงินประกันรายได้คนละ 140,000 บาท โดยทุกคนได้เสียค่าใช้จ่ายในการเดินทางมาคนละ 85,000 บาทเพื่อเป็นค่าเดินทางระหว่างประเทศและภายในสวีเดนและค่าวีซ่า
2. เมื่อแรงงานไทยเดินทางถึงในวันที่ 1 สิงหาคม 2553 แรงงานไทยพบว่า บริษัท ฯ ให้แรงงานไทย เริ่มทำงานในวันที่ 7 สิงหาคม ช้ากว่าแรงงานไทยของบริษัทอื่นที่เริ่มงานตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2553 และแรงงานจะได้รับรายได้ขั้นต่ำเดือนละ 16,372 โครนสวีเดน แต่จะต้องเสียภาษีร้อยละ 25 ของเงินเดือน และค่าใช้จ่ายสำหรับค่าที่พัก ค่าอาหารและค่าเดินทางไปเก็บผลไม้ป่าอีกวันละ 190 โครน รวม 9,793 โครนเหลือรายได้ 6,579 โครนหรือประมาณ 29,605.00 บาท(อัตราแลกเปลี่ยน 1 โครน เท่ากับ 4.5 บาท) และระยะเวลาทำงานเพียง 2 เดือน ( ถึงวันที่ 30 กันยายน 2553) ทำให้พวกตนไม่ได้รับค่าตอบแทนที่ คุ้มกับค่าใช้จ่ายที่พวกตนเสียไป กอปรกับ ในปีนี้ จำนวนผลไม้ป่าในสวีเดนมีจำนวนน้อยแม้จะมีราคาสูง ทำให้แรงงานไทยส่วนใหญ่ไม่สามารถเก็บผลไม้ได้มาก ( บริษัท ฯ ประกันเงินเดือนขั้นต่ำโดยคำนวณจากปริมาณผลไม้ที่เก็บได้ หากเก็บผลไม้ป่าได้น้อยกว่ามูลค่าเงินเดือนขั้นต่ำ จะจ่ายเงินเดือนขั้นต่ำ แต่หากเก็บผลไม้ป่าได้มากกว่าเงินเดือนขั้นต่ำ จะจ่ายให้แรงงานไทยเพิ่มตามจำนวนน้ำหนักของผลไม้ที่เก็บได้ )
3. วันที่ 28 กันยายน 2553 คณะผู้แทนกระทรวงการต่างประเทศ ( รองอธิบดีกรมการกงสุล มธุรพจนาฯ รองอธิบดีกรมการจัดหางาน นายปริญญา ศิริสารการ กรรมการสิทธิมนุษยชน และอทป. สอท. ณ กรุงสต็อกโฮล์ม) เดินทางไปเยี่ยมแรงงานไทยของบริษัทดังกล่าว เพื่อรับฟังปัญหาและได้หารือ กับผู้บริหารของเมือง Aesere และบริษัท ฯ เพื่อช่วยไกล่เกลี่ยปัญหาของแรงงานไทย โดยข้อเรียกร้อง ของแรงงานไทยได้แก่ ขอให้บริษัท ฯ จ่ายค่าจ้างทั้งหมดเพราะตั้งแต่เดินทางถึง บริษัทจ่ายให้เพียง 6,000 โครน และขอให้บริษัทจ่ายเงินประกันตามที่สายคนไทยได้แจ้งแก่คนงานไทยก่อนการเดินทางไป คนละ 140,000 บาท โดยภายหลังคณะผู้แทน ฯ เดินทางกลับได้รับทราบว่า ประธานบริษัท ฯ จะเดินทางมาพบแรงงานไทยเพื่อไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในวันที่ 29 กันยายน 2553
4. วันที่ 29 กันยายน 2553 แรงงานไทยได้รับทราบว่า ผู้แทนบริษัทและนายภูมิคชา ฯ ได้หลบหนี ไม่ยอมชำระค่าจ้าง แรงงานไทยจึงได้ติดต่อสถานเอกอัครราชทูต ฯ เพื่อขอความช่วยเหลือ
5. วันที่ 1 ตุลาคม 2553 นายอรรณพ บุราณเศรษฐ อทป. ประจำสอท. ณ กรุงสต็อกโฮล์ม เดิน ทางไปเมือง Aesere เพื่อช่วยเหลือแรงงานไทยและดำเนินการจัดหาอาหารแก่แรงงานไทย และได้ ประสานกับเทศบาลเมือง Aesere และสหภาพแรงงานท้องถิ่น เพื่อจัดรถยนต์ส่งแรงงานไทยไปสนามบิน ที่เมือง Stockholm โดยถึงขณะนี้ คนงาน 118 คนพร้อมจะเดินทางกลับไทยในวันอาทิตย์ที่ 3 ตุลาคม 2553 โดยสายการบินไทย เที่ยวบิน TG 961 ถึงกรุงเทพฯ ในวันจันทร์ที่ 4 ตุลาคม เวลา 05.50 น. ทั้งนี้ กรมการกงสุลและกรมการจัดหางานจะจัดเจ้าหน้าที่ไปรับที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และสำหรับแรงงานไทยอีก 38 คนยังยืนยันที่จะอยู่ในสวีเดนเพื่อต่อสู้คดีกับบริษัท
6. ขณะนี้ สถานเอกอัครราชทูต ฯ กำลังศึกษาแนวทางการดำเนินการทางกฎหมายกับบริษัทLomberry ต่อไป
7. ข้อมูลเพิ่มเติม : แรงงานไทย 157 คนที่ไปกับบริษัท Lomberry ถือเป็นแรงงานที่เดินทางไปทำงานที่สวีเดน โดยตนเอง ไม่ได้เข้าเป็นสมาชิกกองทุนช่วยเหลือคนหางานในต่างประเทศของกรมการจัดหางาน โดยมีบริษัท Lomberry ฟินแลนด์ เป็นนายจ้างในขณะที่แรงงานไทยอีก 3,012 คนเป็นแรงงานไทยที่มีนายจ้างไทยพาไปทำงานที่สวีเดน
กองคุ้มครองและดูแลผลประโยชน์คนไทยในต่างประเทศ
3 ตุลาคม 2553
1. ช่วงเดือนสิงหาคม – กันยายน 2553 แรงงานไทย จำนวน 157 คนได้รับการชักชวนให้เดินทางไป เก็บผลไม้ป่าที่ประเทศสวีเดนกับบริษัท Lom Berry (Lomsjo Bar AB) โดยไปทำงานและพักที่เมือง Aesere ภาคเหนือของสวีเดน (ห่างจาก Stockholm 8 ชม.ทางรถยนต์) โดยมีสายของบริษัท ( นายภูมิคชา นาคคำ ) ไปชักชวนว่าภายหลังการทำงาน ทุกคนจะได้รับเงินประกันรายได้คนละ 140,000 บาท โดยทุกคนได้เสียค่าใช้จ่ายในการเดินทางมาคนละ 85,000 บาทเพื่อเป็นค่าเดินทางระหว่างประเทศและภายในสวีเดนและค่าวีซ่า
2. เมื่อแรงงานไทยเดินทางถึงในวันที่ 1 สิงหาคม 2553 แรงงานไทยพบว่า บริษัท ฯ ให้แรงงานไทย เริ่มทำงานในวันที่ 7 สิงหาคม ช้ากว่าแรงงานไทยของบริษัทอื่นที่เริ่มงานตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2553 และแรงงานจะได้รับรายได้ขั้นต่ำเดือนละ 16,372 โครนสวีเดน แต่จะต้องเสียภาษีร้อยละ 25 ของเงินเดือน และค่าใช้จ่ายสำหรับค่าที่พัก ค่าอาหารและค่าเดินทางไปเก็บผลไม้ป่าอีกวันละ 190 โครน รวม 9,793 โครนเหลือรายได้ 6,579 โครนหรือประมาณ 29,605.00 บาท(อัตราแลกเปลี่ยน 1 โครน เท่ากับ 4.5 บาท) และระยะเวลาทำงานเพียง 2 เดือน ( ถึงวันที่ 30 กันยายน 2553) ทำให้พวกตนไม่ได้รับค่าตอบแทนที่ คุ้มกับค่าใช้จ่ายที่พวกตนเสียไป กอปรกับ ในปีนี้ จำนวนผลไม้ป่าในสวีเดนมีจำนวนน้อยแม้จะมีราคาสูง ทำให้แรงงานไทยส่วนใหญ่ไม่สามารถเก็บผลไม้ได้มาก ( บริษัท ฯ ประกันเงินเดือนขั้นต่ำโดยคำนวณจากปริมาณผลไม้ที่เก็บได้ หากเก็บผลไม้ป่าได้น้อยกว่ามูลค่าเงินเดือนขั้นต่ำ จะจ่ายเงินเดือนขั้นต่ำ แต่หากเก็บผลไม้ป่าได้มากกว่าเงินเดือนขั้นต่ำ จะจ่ายให้แรงงานไทยเพิ่มตามจำนวนน้ำหนักของผลไม้ที่เก็บได้ )
3. วันที่ 28 กันยายน 2553 คณะผู้แทนกระทรวงการต่างประเทศ ( รองอธิบดีกรมการกงสุล มธุรพจนาฯ รองอธิบดีกรมการจัดหางาน นายปริญญา ศิริสารการ กรรมการสิทธิมนุษยชน และอทป. สอท. ณ กรุงสต็อกโฮล์ม) เดินทางไปเยี่ยมแรงงานไทยของบริษัทดังกล่าว เพื่อรับฟังปัญหาและได้หารือ กับผู้บริหารของเมือง Aesere และบริษัท ฯ เพื่อช่วยไกล่เกลี่ยปัญหาของแรงงานไทย โดยข้อเรียกร้อง ของแรงงานไทยได้แก่ ขอให้บริษัท ฯ จ่ายค่าจ้างทั้งหมดเพราะตั้งแต่เดินทางถึง บริษัทจ่ายให้เพียง 6,000 โครน และขอให้บริษัทจ่ายเงินประกันตามที่สายคนไทยได้แจ้งแก่คนงานไทยก่อนการเดินทางไป คนละ 140,000 บาท โดยภายหลังคณะผู้แทน ฯ เดินทางกลับได้รับทราบว่า ประธานบริษัท ฯ จะเดินทางมาพบแรงงานไทยเพื่อไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในวันที่ 29 กันยายน 2553
4. วันที่ 29 กันยายน 2553 แรงงานไทยได้รับทราบว่า ผู้แทนบริษัทและนายภูมิคชา ฯ ได้หลบหนี ไม่ยอมชำระค่าจ้าง แรงงานไทยจึงได้ติดต่อสถานเอกอัครราชทูต ฯ เพื่อขอความช่วยเหลือ
5. วันที่ 1 ตุลาคม 2553 นายอรรณพ บุราณเศรษฐ อทป. ประจำสอท. ณ กรุงสต็อกโฮล์ม เดิน ทางไปเมือง Aesere เพื่อช่วยเหลือแรงงานไทยและดำเนินการจัดหาอาหารแก่แรงงานไทย และได้ ประสานกับเทศบาลเมือง Aesere และสหภาพแรงงานท้องถิ่น เพื่อจัดรถยนต์ส่งแรงงานไทยไปสนามบิน ที่เมือง Stockholm โดยถึงขณะนี้ คนงาน 118 คนพร้อมจะเดินทางกลับไทยในวันอาทิตย์ที่ 3 ตุลาคม 2553 โดยสายการบินไทย เที่ยวบิน TG 961 ถึงกรุงเทพฯ ในวันจันทร์ที่ 4 ตุลาคม เวลา 05.50 น. ทั้งนี้ กรมการกงสุลและกรมการจัดหางานจะจัดเจ้าหน้าที่ไปรับที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และสำหรับแรงงานไทยอีก 38 คนยังยืนยันที่จะอยู่ในสวีเดนเพื่อต่อสู้คดีกับบริษัท
6. ขณะนี้ สถานเอกอัครราชทูต ฯ กำลังศึกษาแนวทางการดำเนินการทางกฎหมายกับบริษัทLomberry ต่อไป
7. ข้อมูลเพิ่มเติม : แรงงานไทย 157 คนที่ไปกับบริษัท Lomberry ถือเป็นแรงงานที่เดินทางไปทำงานที่สวีเดน โดยตนเอง ไม่ได้เข้าเป็นสมาชิกกองทุนช่วยเหลือคนหางานในต่างประเทศของกรมการจัดหางาน โดยมีบริษัท Lomberry ฟินแลนด์ เป็นนายจ้างในขณะที่แรงงานไทยอีก 3,012 คนเป็นแรงงานไทยที่มีนายจ้างไทยพาไปทำงานที่สวีเดน
กองคุ้มครองและดูแลผลประโยชน์คนไทยในต่างประเทศ
3 ตุลาคม 2553
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น