วันจันทร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ปัญหาการนำพลอยดิบออกจากโมซัมบิก

ประเทศไทยเป็นประเทศที่ถูกจัดให้เป็นหนึ่งในด้านอุตสาหกรรมอัญมณี จากที่เราเคยมีสินแร่อัญมณีอยู่มากมายแต่ก็ถูกขุดจนไม่เหลือแล้วในปัจจุบัน แต่ธุรกิจด้านนี้เป็นธุรกิจที่ให้ผลตอบแทนที่สูงมาก คนไทยจึงดั้นด้นไปยังประเทศต่างๆ ทั่วโลกเพื่อหาอัญมณีหรือที่เรียกกันว่าพลอยดิบเพื่อนำมายังประเทศไทยและเจียรไน เขาตัวเรือน เป็นสินค้าส่งออกที่ทำรายได้เข้าประเทศปีละกว่า 3 แสนล้านบาท ซึ่งถือเป็นรายได้ที่สูงเป็นลำดับที่ 3 ของประเทศ และสร้างงานสร้างอาชีพแก่คนไทยกว่า 1 ล้านคน

ปัจจุบัน แหล่งวัตถุดิบจากแหลางเดิม เช่น เวียดนาม ศรีลังกา มาดากัสการ์ เริ่มร่อยหรอหรือบางแห่งก็หมดเกลี้ยง ไม่มีเหลือ แต่ยังมีอีกประเทศหนึ่งที่เพิ่งเปิดประเทศได้ไม่นาน นั่นคือ ประเทศโมซัมบิก ตั้งอยู่แถบแอฟริกาใต้ เป็นแหล่งพลอบแดงคุณภาพสูงและมีปริมาณมาก จึงเป็นที่ต้องการของตลาดพลอยบ้านเราเป็นอย่างมาก มีผู้ค้าอัญมณีชาวไทยเดินทางไปหาซื้อพลอยดิบจากโมซัมบิกปีละหลายร้่อยคน

ในเรื่องนี้ ทางการโมซัมบิกเห็นว่า การปล่อยให้มีการซื้อขายพลอยดิบกันอย่างไม่มีการควบคุมทำให้รัฐเสียผลประโยชน์ จึงได้จัดให้มีการขอสัมปทาน เคยมีบริษัทจากไทยไปได้รับสัมปทานแต่ก็ไปไม่รอดเนื่องจากเป็นเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อนกับกลุ่มอิทธิพลท้องถิ่นจึงต้องถอนตัวไปในที่สุด ทุกวันนี้ พ่อค้าพลอยจึงต้องใช้วิธีหลีกเลี่ยง โดยเดินทางเข้าไปยังแหล่งพลอยโดยผ่านประเทศที่สาม และซื้อขายกันโดยไม่ถูกกฎหมาย จึงมักถูกจับกุมหรือถูกปรับอยู่บ่อยครั้ง


ในเรื่องนี้ ทางกระทรวงการต่างประเทศเองก็ได้หาทางแก้ไข โดยได้หารือ เจรจากับทางการของโมซัมบิกหลายครั้งแล้ว ในชั้นนี้ สรุปได้ว่า โมซัมบิกไม่มีนโยบายให้ชาวต่างประเทศนำพลอยดิบออกนอกประเทศ ดังนั้น สิ่งที่พ่อค้าไทยกระทำอยู่ คือการรับซื้อพลอยดิบจากชาวบ้านโดยตรงจึงเป็นเรื่องผิดกฎหมาย เพราะรัฐบาลไม่ได้รับประโยชน์ในรูปของภาษี หากต้องการนำพลอยดิิบออกจากโมซัมบิกอย่างถูกกฎหมายจะต้อง
1) จัดตั้งบริษัทในโมซัมบิกและซื้อสัมปทานการสำรวจขุดเจาะ เมื่อขุดพบก็สามารถนำพลอยดิบส่งออกขายต่างประเทศได้
2) ร่วมทุนกับนักธุรกิจท้องถิ่นจัดตั้งบริษัทและดำเนินการเช่นเดียวกับข้อ 1




ฝ่ายโมซัมบิกเองก็อยากให้ไทยไปลงทุนขอสัมปทาน แต่พ่อค้าไทยก็ยังกลัวๆ กล้าๆ ทาง B.O.I . ของไทยก็กำลังหาช่องทางเพื่อส่งเสริมการลงทุนในเรื่องนี้อย่างจริงจังเพื่อให้ได้มาซึ่งพลอยดิบอย่างถูกกฎหมาย ในส่วนของกระทรวงการต่างประเทศก็หาวิธีที่จะให้ความคุ้มครองคนไทยและผลประโยชน์ของคนไทยให้ดีขึ้นโดยกำลังพิจารณาตั้งกงสุลกิตติมศักดิ์ที่เมือง เพ็มบา เพื่อให้การดูแลคนไทยได้ดีขึ้นด้วย

ที่มา : กองคุ้มครองและดูแลผลประโยชน์คนไทยในต่างประเทศ
          กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ

2 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ9 กรกฎาคม 2555 เวลา 21:54

    """" กลับมาแล้วครับ คนไทยก่า 40 คนที่โดน จับใน โมซัมบิค

    ตอบลบ