ปัญหาบัณฑิตที่เข้าร่วมโครงการดูแลเด็กออร์ แพร์ (au pair) ในสหรัฐอเมริกา
สถานกงสุลใหญ่ ณ นครนิวยอร์กรายงานกรณีการให้ความช่วยเหลือหญิงไทยที่เดินทางไปเลี้ยงเด็กในสหรัฐอเมริกาตามโครงการออร์ แพร์ (au pair) เมื่อเร็วๆนี้ว่า หญิงไทยรายดังกล่าวอายุ 22 ปี จบการศึกษาวุฒิปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยมีชื่อในกรุงเทพมหานคร เดินทางไปสหรัฐอเมริกาเมื่อวันที่ 25 กันยายน 2553 ตามโครงการออร์ แพร์ โดยผ่านบริษัทนายหน้าแห่งหนึ่งย่านจตุจักร โดยก่อนที่จะเดินทางไปได้ทำสัญญากับโครงการดังกล่าวว่าจะดูแลเฉพาะเด็กและต้องอายุ 3 เดือนขึ้นไป แต่เมื่อไปถึงสหรัฐอเมริกาแล้วได้เข้าไปอยู่กับครอบครัวแพทย์ชาวอินเดีย และได้รับมอบหมายให้ดูแลเด็ก 2 คน อายุ 3 ขวบ และอายุ 2 เดือนครึ่ง และยังมีแม่ของเจ้าของบ้านที่ต้องดูแลอีกหนึ่งคน
หญิงไทยรายนี้ต้องทำงานจากวันจันทร์ถึงวันเสาร์วันละมากกว่า 10 ชั่วโมง เลิกงานประมาณ 20 .00 น. และมีเวลาให้ทำธุระนอกบ้านได้ไม่เกิน 21.00 น. นอกจากนี้บุคคลในครอบครัวดังกล่าวสื่อสารกันด้วยภาษาอินเดียซึ่งทำให้เธอไม่เข้าใจ และไม่มีโอกาสฝึกฝนภาษาอังกฤษอีกทั้งไม่มีเวลาที่จะไปเรียนหนังสือเพิ่มเติมตามสัญญาที่ระบุให้นายจ้างต้องให้โอกาสได้เรียนหนังสือด้วย
จากสภาพที่ต้องทำงานหนัก ไม่มีเวลาเรียนหนังสือและต้องดูแลผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอีก 1 คนรวมทั้งการสื่อสารภายในบ้านไม่เข้าใจ ทำให้เกิดความเครียด เธอจึงได้เข้าแจ้งความประสงค์ต่อผู้จัดการเขตของโครงการออร์ แพร์ซึ่งรับผิดชอบในเขตนั้นว่า จะไม่ดูแลเด็กของบ้านดังกล่าว ขอให้หาครอบครัวให้เธอใหม่ ประกอบกับในขณะนั้นเธอมีความรู้สึกว่าครอบครัวชาวอินเดียดังกล่าวรู้สึกไม่ดีต่อเธอด้วยเช่นกัน จึงเป็นแรงผลักให้เธอตัดสินใจออกจากบ้านดังกล่าวในวันที่ 12 ตุลาคม 2553 ทั้งที่ทางออร์ แพร์ยังหาครอบครัวใหม่ให้ไม่ได้ ผู้จัดการเขตจึงแจ้งตัดเธอออกจากโครงการและมีผลให้วีซ่าถูกยกเลิกทันที จะต้องเดินทางกลับปประเทศไทยโดยเร็วที่สุด และต้องรับผิดชอบจัดหาตั๋วเครื่องบินเองเพราะออกจากโครงการก่อนครบ 1 ปี
เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2553 เธอได้เดินทางไปที่สถานกงสุลใหญ่ฯ ขอความช่วยเหลือในการเจรจากับสำนักงานออร์ แพร์เพื่อขอกลับเข้าร่วมโครงการอีกครั้งและขอความอนุเคราะห์จัดหาที่พักพิงให้ด้วย
สถานกงสุลใหญ่ฯ ได้รีบดำเนินการหาทางช่วยเหลือหญิงไทยรายนี้ทันทีโดยได้ติดต่อไปที่วัดพุทธไทยถาวร นครนิวยอร์ก เพื่อขอให้เธอได้พักพิงชั่วคราว ซึ่งได้รับความอนุเคราะห์ด้วยดี จากนั้นสถานกงสุลใหญ่ฯ ได้ติดต่อไปยังผู้จัดการเขตของออร์ แพร์ เพื่อเจรจาขอให้พิจารณารับเธอเข้าร่วมโครงการอีกครั้ง แต่ได้รับคำชี้แจงจากผู้จัดการเขตว่าเธอได้สารภาพว่าไม่สามารถเลี้ยงเด็กได้ เพราะเกรงว่าเด็กอาจ “ไม่ปลอดภัย” ดังนั้นโครงการจึงไม่มีความเชื่อมั่นในตัวเธอให้ทำหน้าที่ผู้ช่วยเลี้ยงเด็กของโครงการฯได้อีกต่อไป จึงไม่สามารถรับเธอกลับเข้าร่วมโครงการได้ นอกจากนั้น สำนักงานออร์แพร์ได้แจ้งถอนวีซ่าของเธอไปยังกระทรวงความมั่นคงภายในประเทศเรียบร้อยแล้วด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ตามในกรณีนี้ออร์ แพร์ยินดีรับผิดชอบจัดหาบัตรโดยสารเครื่องบินให้เธอเดินทางกลับประเทศไทย
หญิงไทยรายนี้เดินทางกลับประเทศไทยเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2553
จากการช่วยเหลือผู้ประสบปัญหาจากการเข้าร่วมโครงการดูแลเด็กออร์ แพร์รายนี้สถานกงสุลใหญ่ฯ ได้ทราบว่าผู้เข้าร่วมโครงการดูแลเด็กของออร์ แพร์จะต้องเซ็นสัญญาอีกฉบับหนึ่งเพื่อชดใช้ค่าเสียหายให้กับบริษัทในเมืองไทยเป็นจำนวนเงินสูงถึง 300,000 บาท หากผู้เข้าร่วมโครงการหลบหนีโดยเจตนา
ทั้งนี้สถานกงสุลใหญ่ฯ ให้คำแนะนำด้วยว่า ผู้ที่จะเข้าร่วมโครงการดูแลเด็กออร์แพร์ (au pair) ควรติดต่อกับครอบครัวที่จะไปดูแลเด็กเพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับเงื่อนไขต่างๆให้ละเอียดก่อนเดินทาง โดยควรจะทำไว้เป็นลายลักษณ์อักษรเช่นการติดต่อทางอีเมล์ ฯลฯ เพื่อใช้เป็นประโยชน์ในการเจรจาต่อรอง และควรจะมีข้อมูลสถานที่ตั้งและหมายเลขโทรศัพท์ของสถานเอกอัครราชทูตหรือสถานกงสุลใหญ่ เพื่อจะได้ติดต่อขอคำปรึกษาปัญหาต่างๆก่อนที่จะสายเกินไป โดยหากสำนักงานออร์ แพร์แจ้งยกเลิกวีซ่าแล้วสถานกงสุลใหญ่ฯ จะช่วยได้ยากมาก เพราะผู้เสียหายต้องเดินทางออกนอกประเทศในทันที ทำให้ไม่มีเวลาหรือโอกาสในการต่อสู้ แม้ว่าตนจะเป็นฝ่ายถูกก็ตาม
สถานกงสุลใหญ่ ณ นครนิวยอร์กรายงานกรณีการให้ความช่วยเหลือหญิงไทยที่เดินทางไปเลี้ยงเด็กในสหรัฐอเมริกาตามโครงการออร์ แพร์ (au pair) เมื่อเร็วๆนี้ว่า หญิงไทยรายดังกล่าวอายุ 22 ปี จบการศึกษาวุฒิปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยมีชื่อในกรุงเทพมหานคร เดินทางไปสหรัฐอเมริกาเมื่อวันที่ 25 กันยายน 2553 ตามโครงการออร์ แพร์ โดยผ่านบริษัทนายหน้าแห่งหนึ่งย่านจตุจักร โดยก่อนที่จะเดินทางไปได้ทำสัญญากับโครงการดังกล่าวว่าจะดูแลเฉพาะเด็กและต้องอายุ 3 เดือนขึ้นไป แต่เมื่อไปถึงสหรัฐอเมริกาแล้วได้เข้าไปอยู่กับครอบครัวแพทย์ชาวอินเดีย และได้รับมอบหมายให้ดูแลเด็ก 2 คน อายุ 3 ขวบ และอายุ 2 เดือนครึ่ง และยังมีแม่ของเจ้าของบ้านที่ต้องดูแลอีกหนึ่งคน
หญิงไทยรายนี้ต้องทำงานจากวันจันทร์ถึงวันเสาร์วันละมากกว่า 10 ชั่วโมง เลิกงานประมาณ 20 .00 น. และมีเวลาให้ทำธุระนอกบ้านได้ไม่เกิน 21.00 น. นอกจากนี้บุคคลในครอบครัวดังกล่าวสื่อสารกันด้วยภาษาอินเดียซึ่งทำให้เธอไม่เข้าใจ และไม่มีโอกาสฝึกฝนภาษาอังกฤษอีกทั้งไม่มีเวลาที่จะไปเรียนหนังสือเพิ่มเติมตามสัญญาที่ระบุให้นายจ้างต้องให้โอกาสได้เรียนหนังสือด้วย
จากสภาพที่ต้องทำงานหนัก ไม่มีเวลาเรียนหนังสือและต้องดูแลผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอีก 1 คนรวมทั้งการสื่อสารภายในบ้านไม่เข้าใจ ทำให้เกิดความเครียด เธอจึงได้เข้าแจ้งความประสงค์ต่อผู้จัดการเขตของโครงการออร์ แพร์ซึ่งรับผิดชอบในเขตนั้นว่า จะไม่ดูแลเด็กของบ้านดังกล่าว ขอให้หาครอบครัวให้เธอใหม่ ประกอบกับในขณะนั้นเธอมีความรู้สึกว่าครอบครัวชาวอินเดียดังกล่าวรู้สึกไม่ดีต่อเธอด้วยเช่นกัน จึงเป็นแรงผลักให้เธอตัดสินใจออกจากบ้านดังกล่าวในวันที่ 12 ตุลาคม 2553 ทั้งที่ทางออร์ แพร์ยังหาครอบครัวใหม่ให้ไม่ได้ ผู้จัดการเขตจึงแจ้งตัดเธอออกจากโครงการและมีผลให้วีซ่าถูกยกเลิกทันที จะต้องเดินทางกลับปประเทศไทยโดยเร็วที่สุด และต้องรับผิดชอบจัดหาตั๋วเครื่องบินเองเพราะออกจากโครงการก่อนครบ 1 ปี
เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2553 เธอได้เดินทางไปที่สถานกงสุลใหญ่ฯ ขอความช่วยเหลือในการเจรจากับสำนักงานออร์ แพร์เพื่อขอกลับเข้าร่วมโครงการอีกครั้งและขอความอนุเคราะห์จัดหาที่พักพิงให้ด้วย
สถานกงสุลใหญ่ฯ ได้รีบดำเนินการหาทางช่วยเหลือหญิงไทยรายนี้ทันทีโดยได้ติดต่อไปที่วัดพุทธไทยถาวร นครนิวยอร์ก เพื่อขอให้เธอได้พักพิงชั่วคราว ซึ่งได้รับความอนุเคราะห์ด้วยดี จากนั้นสถานกงสุลใหญ่ฯ ได้ติดต่อไปยังผู้จัดการเขตของออร์ แพร์ เพื่อเจรจาขอให้พิจารณารับเธอเข้าร่วมโครงการอีกครั้ง แต่ได้รับคำชี้แจงจากผู้จัดการเขตว่าเธอได้สารภาพว่าไม่สามารถเลี้ยงเด็กได้ เพราะเกรงว่าเด็กอาจ “ไม่ปลอดภัย” ดังนั้นโครงการจึงไม่มีความเชื่อมั่นในตัวเธอให้ทำหน้าที่ผู้ช่วยเลี้ยงเด็กของโครงการฯได้อีกต่อไป จึงไม่สามารถรับเธอกลับเข้าร่วมโครงการได้ นอกจากนั้น สำนักงานออร์แพร์ได้แจ้งถอนวีซ่าของเธอไปยังกระทรวงความมั่นคงภายในประเทศเรียบร้อยแล้วด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ตามในกรณีนี้ออร์ แพร์ยินดีรับผิดชอบจัดหาบัตรโดยสารเครื่องบินให้เธอเดินทางกลับประเทศไทย
หญิงไทยรายนี้เดินทางกลับประเทศไทยเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2553
จากการช่วยเหลือผู้ประสบปัญหาจากการเข้าร่วมโครงการดูแลเด็กออร์ แพร์รายนี้สถานกงสุลใหญ่ฯ ได้ทราบว่าผู้เข้าร่วมโครงการดูแลเด็กของออร์ แพร์จะต้องเซ็นสัญญาอีกฉบับหนึ่งเพื่อชดใช้ค่าเสียหายให้กับบริษัทในเมืองไทยเป็นจำนวนเงินสูงถึง 300,000 บาท หากผู้เข้าร่วมโครงการหลบหนีโดยเจตนา
ทั้งนี้สถานกงสุลใหญ่ฯ ให้คำแนะนำด้วยว่า ผู้ที่จะเข้าร่วมโครงการดูแลเด็กออร์แพร์ (au pair) ควรติดต่อกับครอบครัวที่จะไปดูแลเด็กเพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับเงื่อนไขต่างๆให้ละเอียดก่อนเดินทาง โดยควรจะทำไว้เป็นลายลักษณ์อักษรเช่นการติดต่อทางอีเมล์ ฯลฯ เพื่อใช้เป็นประโยชน์ในการเจรจาต่อรอง และควรจะมีข้อมูลสถานที่ตั้งและหมายเลขโทรศัพท์ของสถานเอกอัครราชทูตหรือสถานกงสุลใหญ่ เพื่อจะได้ติดต่อขอคำปรึกษาปัญหาต่างๆก่อนที่จะสายเกินไป โดยหากสำนักงานออร์ แพร์แจ้งยกเลิกวีซ่าแล้วสถานกงสุลใหญ่ฯ จะช่วยได้ยากมาก เพราะผู้เสียหายต้องเดินทางออกนอกประเทศในทันที ทำให้ไม่มีเวลาหรือโอกาสในการต่อสู้ แม้ว่าตนจะเป็นฝ่ายถูกก็ตาม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น