ไทยช่วยไทยในมาเลเซีย
ในปีงบประมาณ 2553 ที่ผ่านมาสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ได้วางยุทธศาสตร์ใหม่ในการช่วยเหลือคุ้มครองและรักษาผลประโยชน์คนไทยในมาเลเซียโดยเน้นการสร้างเครือข่ายความสัมพันธ์ระหว่างสถานทูตกับชุมชนไทยในรัฐต่างๆ โดยให้ความสำคัญกับการจัดตั้งเครือข่ายอาสาสมัครคนไทยในมาเลเซีย และความสัมพันธ์ระหว่างสถานทูตกับหน่วยงานราชการมาเลเซียทั้งส่วนกลางและส่วนท้องถิ่น โดยช่วงปลายปีงบประมาณ 2553 สถานทูตได้จัดโครงการนำคณะเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองระดับสูงและเครือข่ายอาสาสมัครชาวไทยในมาเลเซียเดินทางมาประเทศไทย
ระหว่างวันที่ 26-28 กันยายนที่ผ่านมา สถานทูตไทยประจำกรุงกัวลาลัมเปอร์ ได้นำคณะเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองมาเลเซียระดับสูง กับเครือข่ายอาสาสมัครชาวไทยที่อยู่ในมาเลเซีย เดินทางมาเมืองไทย เพื่อหารือเแนวทางความร่วมมือในการช่วยคนไทยที่ไปตกทุกข์ได้ยากรวมทั้งตกเป็นเหยื่อขบวนการค้ามนุษย์ในมาเลเซีย
เจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองมาเลเซียที่สถานทูตของเราเชิญตัวมาได้นั้น เป็นระดับอาวุโสทีเดียว คือเป็นผู้บัญชาการศูนย์กักกันของสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง เวลาเจอคนต่างด้าวที่มีปัญหาในการเข้าเมืองของเขา ก็ต้องเอาตัวมาเก็บไว้ที่ศูนย์นี้ก่อน ท่านผู้การสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองมาเลเซียท่านนี้เป็นเพื่อนที่ดีของสถานทูตไทย ได้ร่วมมือกับทางเรามาตลอดในด้านการพิสูจน์สัญชาติว่าเป็นคนไทยแน่หรือเปล่า รวมทั้งในด้านการส่งตัวผู้ตกทุกข์สัญชาติไทยให้ได้กลับบ้านเราด้วย และเครือข่ายอาสาสมัครคนไทยที่โน่นก็ได้มีบทบาทสูงในการช่วยสถานทูตทำงานช่วยคนไทยในเรื่องนี้เหมือนกัน
การมาเยือนเมืองไทยครั้งนี้เป็นโครงการต่อเนื่องจากโครงการจัดตั้งเครือข่ายอาสาสมัครคนไทยในมาเลเซียของสถานทูตเมื่อเดือนมีนาคมต้นปีนี้ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยให้ งานของสถานทูตด้านการช่วยเหลือคนไทยตก ทุกข์ได้ยากและเหยื่อค้ามนุษย์ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว และส่งเสริมความร่วมมือระหว่างเจ้าหน้าที่มาเลเซียและไทยให้แน่นแฟ้นขึ้น
พอคณะมาถึงวันแรกก็ได้ไปลงนามถวายพระพรในหลวงที่รพ.ศิริราชในวันอาทิตย์ที่ 26 นั้นเลย รุ่งขึ้นวันจันทร์ที่ 27 ก็ประชุมกับหน่วยงานไทยที่เกี่ยวข้องที่กรมการกงสุล ถนนแจ้งวัฒนะ มีท่านรองอธิบดีกรมการกงสุลคือท่านรองสุภาณี เลิศฤทธิ์ เป็นประธานฝ่ายไทย มีหน่วยงานไทยมาร่วมคือกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงแรงงาน สำนักงาน ตม. ของไทย กรมการกงสุลเอง และองค์กรภาคประชาสังคมหรือเอ็นจีโอไทย คือมูลนิธิพิทักษ์สตรี คุยกันเรื่องการคุ้มครองคนไทยในต่างแดน ความร่วมมือระหว่างกระทรวงบัวแก้วกับหน่วยงานอื่น ๆ เพื่อประชาสัมพันธ์เชิงรุก ป้องกันคนไทยเสียแต่ต้นทางไม่ให้ตก เป็นเหยื่อแก๊งค้ามนุษย์ ส่วนที่เป็นเหยื่อไปแล้วก็ต้องมาดูกันว่าจะมีทางบำบัดช่วยเหลือได้ยังไง มีการพูดกันถึงการร่วมมือกันปราบปรามนายหน้าส่งแรงงานเถื่อนและแก๊งค้ามนุษย์ข้ามชาติด้วย
ตามสถิติ มาเลเซียมีคนไทยที่ตกเป็นเหยื่อค้ามนุษย์ ทั้งหญิง ชายและเด็กไม่น้อยเลย ปีนี้สถานทูตได้ช่วยเหลือไปแล้ว 73 คน แต่ตัวเลขนี้ไม่ได้สะท้อนจำนวนคนไทยตกทุกข์ได้ยากทั้งหมดที่ได้รับการช่วยให้กลับบ้าน เพราะมีอีกบางส่วนที่ได้รับการช่วยเหลือส่งกลับผ่านทางเอ็นจีโอ ผ่านเครือข่ายคนไทยในมาเลเซีย ผ่านทางการมาเลเซีย และบางส่วนก็กลับไปเองโดยทางชายแดน ตั้งแต่ปี 2551 เป็นต้นมาพบว่าปัญหาส่วนใหญ่ไปเกิดทางรัฐยะโฮร์ ซาราวัก และซาบาห์ ซึ่งอยู่ไกลจากกรุงกัวลาลัมเปอร์ สถานทูตจะไปช่วยเองก็ลำบาก จึงต้องอาศัยความร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับตำรวจและ เจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองมาเลเซีย องค์กรเอกชน เช่นบ้านพักฉุกเฉิน และเครือข่ายอาสาสมัครคนไทยในมาเลเซีย เป็นกลไกสำคัญในการประสานช่วยคนไทยตกทุกข์และเหยื่อค้ามนุษย์จนกระทั่งส่งกลับเมืองไทยได้อย่างปลอดภัย
ที่มา: คนไทยใต้ฟ้ากว้าง นสพ.เดลินิวส์ 3 ตุลาคม 2553
ในปีงบประมาณ 2553 ที่ผ่านมาสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ได้วางยุทธศาสตร์ใหม่ในการช่วยเหลือคุ้มครองและรักษาผลประโยชน์คนไทยในมาเลเซียโดยเน้นการสร้างเครือข่ายความสัมพันธ์ระหว่างสถานทูตกับชุมชนไทยในรัฐต่างๆ โดยให้ความสำคัญกับการจัดตั้งเครือข่ายอาสาสมัครคนไทยในมาเลเซีย และความสัมพันธ์ระหว่างสถานทูตกับหน่วยงานราชการมาเลเซียทั้งส่วนกลางและส่วนท้องถิ่น โดยช่วงปลายปีงบประมาณ 2553 สถานทูตได้จัดโครงการนำคณะเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองระดับสูงและเครือข่ายอาสาสมัครชาวไทยในมาเลเซียเดินทางมาประเทศไทย
ระหว่างวันที่ 26-28 กันยายนที่ผ่านมา สถานทูตไทยประจำกรุงกัวลาลัมเปอร์ ได้นำคณะเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองมาเลเซียระดับสูง กับเครือข่ายอาสาสมัครชาวไทยที่อยู่ในมาเลเซีย เดินทางมาเมืองไทย เพื่อหารือเแนวทางความร่วมมือในการช่วยคนไทยที่ไปตกทุกข์ได้ยากรวมทั้งตกเป็นเหยื่อขบวนการค้ามนุษย์ในมาเลเซีย
เจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองมาเลเซียที่สถานทูตของเราเชิญตัวมาได้นั้น เป็นระดับอาวุโสทีเดียว คือเป็นผู้บัญชาการศูนย์กักกันของสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง เวลาเจอคนต่างด้าวที่มีปัญหาในการเข้าเมืองของเขา ก็ต้องเอาตัวมาเก็บไว้ที่ศูนย์นี้ก่อน ท่านผู้การสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองมาเลเซียท่านนี้เป็นเพื่อนที่ดีของสถานทูตไทย ได้ร่วมมือกับทางเรามาตลอดในด้านการพิสูจน์สัญชาติว่าเป็นคนไทยแน่หรือเปล่า รวมทั้งในด้านการส่งตัวผู้ตกทุกข์สัญชาติไทยให้ได้กลับบ้านเราด้วย และเครือข่ายอาสาสมัครคนไทยที่โน่นก็ได้มีบทบาทสูงในการช่วยสถานทูตทำงานช่วยคนไทยในเรื่องนี้เหมือนกัน
การมาเยือนเมืองไทยครั้งนี้เป็นโครงการต่อเนื่องจากโครงการจัดตั้งเครือข่ายอาสาสมัครคนไทยในมาเลเซียของสถานทูตเมื่อเดือนมีนาคมต้นปีนี้ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยให้ งานของสถานทูตด้านการช่วยเหลือคนไทยตก ทุกข์ได้ยากและเหยื่อค้ามนุษย์ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว และส่งเสริมความร่วมมือระหว่างเจ้าหน้าที่มาเลเซียและไทยให้แน่นแฟ้นขึ้น
พอคณะมาถึงวันแรกก็ได้ไปลงนามถวายพระพรในหลวงที่รพ.ศิริราชในวันอาทิตย์ที่ 26 นั้นเลย รุ่งขึ้นวันจันทร์ที่ 27 ก็ประชุมกับหน่วยงานไทยที่เกี่ยวข้องที่กรมการกงสุล ถนนแจ้งวัฒนะ มีท่านรองอธิบดีกรมการกงสุลคือท่านรองสุภาณี เลิศฤทธิ์ เป็นประธานฝ่ายไทย มีหน่วยงานไทยมาร่วมคือกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงแรงงาน สำนักงาน ตม. ของไทย กรมการกงสุลเอง และองค์กรภาคประชาสังคมหรือเอ็นจีโอไทย คือมูลนิธิพิทักษ์สตรี คุยกันเรื่องการคุ้มครองคนไทยในต่างแดน ความร่วมมือระหว่างกระทรวงบัวแก้วกับหน่วยงานอื่น ๆ เพื่อประชาสัมพันธ์เชิงรุก ป้องกันคนไทยเสียแต่ต้นทางไม่ให้ตก เป็นเหยื่อแก๊งค้ามนุษย์ ส่วนที่เป็นเหยื่อไปแล้วก็ต้องมาดูกันว่าจะมีทางบำบัดช่วยเหลือได้ยังไง มีการพูดกันถึงการร่วมมือกันปราบปรามนายหน้าส่งแรงงานเถื่อนและแก๊งค้ามนุษย์ข้ามชาติด้วย
ตามสถิติ มาเลเซียมีคนไทยที่ตกเป็นเหยื่อค้ามนุษย์ ทั้งหญิง ชายและเด็กไม่น้อยเลย ปีนี้สถานทูตได้ช่วยเหลือไปแล้ว 73 คน แต่ตัวเลขนี้ไม่ได้สะท้อนจำนวนคนไทยตกทุกข์ได้ยากทั้งหมดที่ได้รับการช่วยให้กลับบ้าน เพราะมีอีกบางส่วนที่ได้รับการช่วยเหลือส่งกลับผ่านทางเอ็นจีโอ ผ่านเครือข่ายคนไทยในมาเลเซีย ผ่านทางการมาเลเซีย และบางส่วนก็กลับไปเองโดยทางชายแดน ตั้งแต่ปี 2551 เป็นต้นมาพบว่าปัญหาส่วนใหญ่ไปเกิดทางรัฐยะโฮร์ ซาราวัก และซาบาห์ ซึ่งอยู่ไกลจากกรุงกัวลาลัมเปอร์ สถานทูตจะไปช่วยเองก็ลำบาก จึงต้องอาศัยความร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับตำรวจและ เจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองมาเลเซีย องค์กรเอกชน เช่นบ้านพักฉุกเฉิน และเครือข่ายอาสาสมัครคนไทยในมาเลเซีย เป็นกลไกสำคัญในการประสานช่วยคนไทยตกทุกข์และเหยื่อค้ามนุษย์จนกระทั่งส่งกลับเมืองไทยได้อย่างปลอดภัย
ที่มา: คนไทยใต้ฟ้ากว้าง นสพ.เดลินิวส์ 3 ตุลาคม 2553
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น