คณะของอะมีรู้ลฮัจย์รับประทานอาหารกลางวันที่บ้านพักของท่านกงสุลใหญ่ฯ
ศ. ดร. อิมรอน มาลูลีม อะมีรู้ลฮัจย์ลงนามในสมุดเยี่ยม
บรรยากาศในห้องรับรองที่บ้านพักของท่านกงสุลใหญ่ฯ
ท่านกงสุลใหญ่ ชาลี สกลวารี (คนกลาง) กำลังสนทนากับ ศ. ดร. อิมรอน มะลูลีม อะมีรุ้ลฮัจย์ (คนขวาของภาพ) และท่านมะหะดี วิมานะ อดีตเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงเตหะราน (คนซ้ายมือของภาพ)
กงสุลใหญ่ ณ เมืองเจดดาห์ ให้การต้อนรับอะมีรุ้ลฮัจย์ และคณะ
เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2553 เวลา 09.30น. นายชาลี สกลวารี กงสุลใหญ่ ณ เมืองเจดดาห์ พร้อมข้าราชการสถานกงสุลใหญ่ฯ ได้ให้การต้อนรับ ศาสตราจารย์ ดร. อิมรอน มะลูลีม อะมีรุ้ลฮัจย์ และนายมะหะดี วิมานะ อดีตเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงเตหะราน พร้อมคณะรวม 10 คน ที่ห้องรับรอง สนามบินฮัจย์เมืองเจดดาห์ ต่อจากนั้น ได้นำอะมีรุ้ลฮัจย์เดินทางไปยังบ้านพักกงสุลใหญ่ พร้อมกับจัดเลี้ยงอาหารกลางวันแก่คณะ
ในโอกาสนี้ กงสุลใหญ่ได้สนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับอะมีรุ้ลฮัจย์ในประเด็นเกี่ยวกับการบริหารจัดการและอำนวยความสะดวกพี่น้องชาวไทยมุสลิมที่เดินทางมาประกอบพิธีฮัจย์ที่เมืองมักกะห์ รวมทั้งบทบาทหน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ คณะกรรมการส่งเสริมกิจการฮัจย์แห่งประเทศไทย กรมการศาสนา และกระทรวงการต่างประเทศ เป็นต้น จากการหารือพบว่า การบริหารจัดการในเรื่องนี้ ยังมีปัญหาและอุปสรรคที่ทุกฝ่ายควรร่วมมือกันหาทางปรับปรุงแก้ไขเพื่อให้พี่น้องชาวไทยมุสลิมได้รับความสะดวกในการเดินทางมาประกอบพิธีฮัจย์มากขึ้น ซึ่งในปีนี้มีผู้แสวงบุญชาวไทยเดินทางไปประกอบพิธีฮัจย์ประมาณ 12,500 คน
............................................
เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2553 เวลา 09.30น. นายชาลี สกลวารี กงสุลใหญ่ ณ เมืองเจดดาห์ พร้อมข้าราชการสถานกงสุลใหญ่ฯ ได้ให้การต้อนรับ ศาสตราจารย์ ดร. อิมรอน มะลูลีม อะมีรุ้ลฮัจย์ และนายมะหะดี วิมานะ อดีตเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงเตหะราน พร้อมคณะรวม 10 คน ที่ห้องรับรอง สนามบินฮัจย์เมืองเจดดาห์ ต่อจากนั้น ได้นำอะมีรุ้ลฮัจย์เดินทางไปยังบ้านพักกงสุลใหญ่ พร้อมกับจัดเลี้ยงอาหารกลางวันแก่คณะ
ในโอกาสนี้ กงสุลใหญ่ได้สนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับอะมีรุ้ลฮัจย์ในประเด็นเกี่ยวกับการบริหารจัดการและอำนวยความสะดวกพี่น้องชาวไทยมุสลิมที่เดินทางมาประกอบพิธีฮัจย์ที่เมืองมักกะห์ รวมทั้งบทบาทหน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ คณะกรรมการส่งเสริมกิจการฮัจย์แห่งประเทศไทย กรมการศาสนา และกระทรวงการต่างประเทศ เป็นต้น จากการหารือพบว่า การบริหารจัดการในเรื่องนี้ ยังมีปัญหาและอุปสรรคที่ทุกฝ่ายควรร่วมมือกันหาทางปรับปรุงแก้ไขเพื่อให้พี่น้องชาวไทยมุสลิมได้รับความสะดวกในการเดินทางมาประกอบพิธีฮัจย์มากขึ้น ซึ่งในปีนี้มีผู้แสวงบุญชาวไทยเดินทางไปประกอบพิธีฮัจย์ประมาณ 12,500 คน
............................................
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น