วันพฤหัสบดีที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ผลการบรรยายสรุปคณะทูตเกี่ยวกับสถานการณ์ล่าสุดที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ จ. ฟุคุชิมะ โดยกระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2554


ผลการบรรยายสรุปคณะทูตเกี่ยวกับสถานการณ์ล่าสุดที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ จ. ฟุคุชิมะ โดยกระทรวงการต่างประเทศ ญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2554

  1. ผู้เชี่ยวชาญจาก ก. สาธารณสุข เวียนผลการตรวจรังสีในอาหารที่มีรายงานเมื่อวันที่ 9-15 ส.ค. 54 รวมจำนวน 1,482 รายการ พบรังสีเกินกำหนดในเนื้อวัวจาก จ. อิวาเทะ 2 ตย. จ. โทจิกิ 1 ตย. จ. มิยางิ 1 ตย., ปลาอะยุ จากแม่น้ำมาโนะ เมืองมินามิโซมะ จ. ฟุคุชิมะ 1 ตย., เห็ดนาเมโกะที่ปลูกกลางแจ้ง จากเมืองโซมะ จ. ฟุคุชิมะ 1 ตย., เห็ดจิจิทาเกะ จากเมืองฟุรุโดโนะ จ. ฟุคุชิมะ 1 ตย.,
  2. ผู้เชี่ยวชาญจาก ก. ศึกษา วัฒนธรรม กีฬา วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี (MEXT) แจ้งว่าจากการตรวจรังสีรอบโรงไฟฟ้าฯ ล่าสุด ไม่พบความเปลี่ยนแปลงที่มีนัยสำคัญ ทั้งนี้ จากการวัดรังสีทางอากาศในระยะ 20 กม. จากโรงไฟฟ้าฯ พบ Cs ในปริมาณที่ต่ำมาก และตรวจไม่พบรังสีในน้ำทะเลใกล้โรงไฟฟ้า แต่พบ Cs ในดินใต้ทะเลนอกชายฝั่งจากโรงไฟฟ้าฯ ที่ตรวจทุกจุด
  3. ผู้เชี่ยวชาญจาก คกก. ความปลอดภัยนิวเคลียร์ญี่ปุ่น (NSC) แจ้งว่าไม่พบความเปลี่ยนแปลงที่มีนัยสำคัญจากการตรวจรังสีใน สวล. แต่พบ Cs ระดับต่ำกว่ามาตรฐานที่กำหนดใน ตย. ฝุ่นจากรัศมี 20 กม. และไกลออกไปจากโรงไฟฟ้าฯ รวมทั้งในน้ำทะเลใกล้โรงไฟฟ้าฯ ดินใต้แม่น้ำ และทะเลสาบเช่นกัน ส่วนน้ำประปาในทุก จ. ต่ำกว่ามาตรฐานที่ห้ามมาก
  4. ผู้เชี่ยวชาญจาก สนง. ความปลอดภัยทางนิวเคลียร์และอุตสาหกรรม (NISA) แจ้งความคืบหน้าเกี่ยวกับโรงไฟฟ้า ฯ ดังนี้
-    เตาหมายเลข 1 ณ เวลา 5.00 น. วันที่ 17 ส.ค. 54 ปริมาณน้ำที่ฉีดเข้าสู่เตาปฏิกรณ์อยู่ที่ 3.8 ลบ.ม./ชม.
-    เตาหมายเลข 2 ณ เวลา 5.00 น. วันที่ 17 ส.ค. 54 ปริมาณน้ำที่ฉีดเข้าสู่เตาปฏิกรณ์อยู่ที่ 3.7 ลบ.ม./ชม.
-    เตาหมายเลข 3 ณ เวลา 5.00 น. วันที่ 17 ส.ค. 54 ปริมาณน้ำที่ฉีดเข้าสู่เตาปฏิกรณ์อยู่ที่ 9 ลบ.ม./ชม.
-    มีการติดตั้งระบบหล่อเย็นด้วยน้ำบำบัดการปนเปื้อนรังสีแล้วในเตาหมายเลข 1-4 ซึ่งการหล่อเย็นเป็นไปได้ด้วยดี อุณหภูมิโดยเฉลี่ย 30-34 องศาเซลเซียส ทั้งนี้ มีการเปลี่ยนท่อ จึงหยุดระบบชั่วคราว แต่คาดว่าไม่มีผลทำให้อุณหภูมิสูงขึ้น
-    การถ่ายเทน้ำขังเป็นไปได้ด้วยดี และบำบัดน้ำขังปนเปื้อนรังสีอย่างต่อเนื่องก่อนนำไปใช้สำหรับการหล่อเย็นต่อ ไป ทั้งนี้ ระบบ Sarry ซึ่งทำหน้าที่ดูดซับ Cs นั้นยังคงอยู่ในระหว่างการทดสอบ ซึ่งหากไม่มีปัญหาใดๆ ก็จะใช้งานจริงต่อไป
-    แผนการยกเลิกพื้นที่อพยพ มี 2 ประเภท คือ
  1. พื้นที่นอกรัศมี 20 กม. จากโรงไฟฟ้าฯ (Emergency Evacuation Preparation Area) – พื้นที่บริเวณนี้ไม่ได้มีคำสั่งให้ประชาชนอพยพ และสถานการณ์ก็แตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น โดยบางแห่งประชาชนไม่ได้อพยพ บางแห่งทางการท้องถิ่นก็เตือนให้ประชาชนอพยพ และบางแห่งประชาชนก็กลับมาหลังอพยพไปแล้ว ทั้งนี้ เพื่อให้ประชาชนสามารถกลับมาใช้ชีวิตตามปกติได้ จึงให้ทางการท้องถิ่นเป็นผู้ทำแผนฟื้นฟู เช่น เตรียมเปิด ร.ร. และสถานพยาบาลอีกครั้ง รวมทั้งลดการปนเปื้อนรังสี แล้วจึงให้ รบ. กลางพิจารณาการยกเลิกเขตอพยพต่อไปในวันที่ 20 ส.ค. 54
      
  2. พื้นที่ภายในรัศมี 20 กม. จากโรงไฟฟ้าฯ และนอกรัศมี 20 กม. ที่มีปริมาณรังสีสูง (Deliberate Evacuation Area) จะมีการตรวจวัดรังสีเพื่อพิจารณาว่าจะยกเลิกพื้นที่อพยพหรือไม่ ซึ่งคาดว่าน่าจะเป็นช่วงปีใหม่ที่จะถึงนี้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น