วันจันทร์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2554

300แรงงานไทยในอียิปต์ปลอดภัย ไม่มีใครต้องการเดินทางกลับ

นายสมเกียรติ ฉายะศรีวงค์ ปลัดกระทรวงแรงงาน



300แรงงานไทยในอียิปต์ปลอดภัย ไม่มีใครต้องการเดินทางกลับ

นายสมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน เปิดเผยวันที่ 31 มกราคม ว่าจากสถานการณ์ความรุนแรงในประเทศอียิปต์ ได้รับรายงานว่า มีแรงงานไทยที่ทำงานอยู่ประมาณ 300 คน ในภาคบริการและธุรกิจร้านอาหาร ทุกคนยังปลอดภัย ไม่ได้รับผลกระทบจากการชุมนุมประท้วงมากนัก ยังไม่มีแรงงานคนใดร้องขอเดินทางกลับประเทศ โดยสถานทูตไทยในอียิปต์ได้ให้การดูแลและออกคำเตือนห้ามคนงานไทยเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการประท้วงโดยเด็ดขาด มีเพียงคนไทยที่ติดค้างในสนามบินเท่านั้นที่ต้องการการดูแล

ที่มา: นสพ. มติชน วันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2554

คำแจ้งเตือนเกี่ยวกับการเดินทางไปสาธารณรัฐอาหรับอียิปต์


คำแจ้งเตือนเกี่ยวกับการเดินทางไปสาธารณรัฐอาหรับอียิปต์

ตามที่กระทรวงการต่างประเทศได้มีประกาศแจ้งเตือนให้ผู้ประสงค์เดินทางไปอียิปต์ ชะลอการเดินทาง และในกรณีที่มีความจำเป็นต้องเดินทางไป ก็ขอให้ใช้ความระมัดระวังเป็นอย่างยิ่งนั้น

โดยที่ ขณะนี้สถานการณ์ความไม่สงบทางการเมืองในอียิปต์ยังคงดำเนินต่อไปในกรุงไคโร และเมืองอื่นๆ พร้อมทั้งมีความเสี่ยงที่จะทวีความรุนแรงขึ้น ดังนั้น กระทรวงการต่างประเทศ จึงขอแจ้งเตือนให้ประชาชนชาวไทย ระงับการเดินทางไปอียิปต์ไว้ก่อนจนกว่าสถานการณ์จะกลับสู่ภาวะปกติ

ทั้งนี้ ขอให้ผู้ประสงค์เดินทางไปอียิปต์ หรือประสงค์ขอทราบข่าวสารเกี่ยวกับญาติที่อาศัยอยู่ในอียิปต์ ติดตามข่าวสารอย่างใกล้ชิด โดยสอบถามข้อมูลข่าวสารได้ที่ กรมการกงสุล โทรศัพท์ 02-757-4046 ถึง 9 โทรสาร 02-575-1052 สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงไคโร โทรศัพท์ (202) 3760 3553 ถึง 4 และ (202) 3336 7005 โทรสาร (202) 3760 5076 และ (202) 3760 0137

จึงประกาศมาเพื่อทราบโดยทั่วกัน


ที่มา: ข่าวสารนิเทศ วันที่ 31 มกราคม 2554 กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ

สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงไคโร เร่งให้ความช่วยเหลือคนไทยในอียิปต์


สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงไคโร เร่งให้ความช่วยเหลือคนไทยในอียิปต์

ตามที่ได้เกิดการชุมนุมประท้วงในกรุงไคโร และเมืองสำคัญอื่นๆ ในอียิปต์ ตั้งแต่วันที่ 25 มกราคม 2554 เป็นต้นมา ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศได้ประกาศคำเตือนให้ผู้ที่ประสงค์จะเดินทางไปอียิปต์ในระยะนี้ เลื่อนการเดินทางออกไปก่อน หากมีความจำเป็นต้องเดินทางไป ต้องพึงใช้ความระมัดระวังอย่างยิ่ง นั้น

วันนี้ (31 มกราคม 2554) นายธานี ทองภักดี อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ให้สัมภาษณ์แก่สื่อมวลชนเกี่ยวกับการดำเนินการให้ความช่วยเหลือแก่คนไทยในอียิปต์ ดังนี้

1. ในส่วนของนักเรียนและนักศึกษา รวมถึงคนไทยที่พำนักหรือทำงานในอียิปต์ ซึ่งมีจำนวนประมาณ 2,600 คน นั้น สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงไคโร ได้ติดต่อประสานงานผ่านสมาคมและชมรมต่าง ๆ เพื่อสอบถามเกี่ยวกับสภาพความเป็นอยู่แล้ว โดยในเบื้องต้นทราบว่าทุกคนปลอดภัยและยังมีขวัญกำลังใจที่ดีอยู่ อย่างไรก็ดี สถานเอกอัครราชทูตฯ ได้แนะนำให้อยู่ในบ้านพักและหลีกเลี่ยงพื้นที่การชุมนุมประท้วง ทั้งนี้ โดยที่ทางการอียิปต์ได้ประกาศเคอร์ฟิวตั้งแต่ 16.00-08.00 น. จึงขอให้ปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดเพื่อความปลอดภัย

2. สำหรับกรณีคนไทยที่ติดค้างในท่าอากาศยานกรุงไคโรประมาณ 87 คน เนื่องจากหลายเที่ยวบินได้ถูกยกเลิกไป นั้น นายธานีฯ ได้กล่าวว่า ขณะนี้ มีคนไทยจำนวน 53 คนที่รอเดินทางกลับประเทศไทย และอีก 17 คนกำลังรอเดินทางต่อไปยังยุโรป ส่วนคนไทยที่เหลืออีก 17 คนเป็นแรงงานไทยรอเที่ยวบินเพื่อไปลิเบีย โดยในส่วนของสถานเอกอัครราชทูตฯ ได้เข้าไปให้ความช่วยเหลือในการจัดหาอาหารและเครื่องดื่มให้คนไทยดังกล่าวแล้ว รวมถึงได้ขอให้อยู่ในท่าอากาศยานต่อไป เนื่องจากเป็นพื้นที่หวงห้ามและมีความปลอดภัย

3. ขณะนี้ กระทรวงการต่างประเทศกำลังประสานกับบริษัทการบินไทย จำกัด เพื่อส่งเที่ยวบินพิเศษไปรับคนไทยที่ประสงค์จะเดินทางกลับในโอกาสแรก

4. สำหรับญาติของคนไทยที่ติดค้างในท่าอากาศยานกรุงไคโร นั้น นายธานีฯ ได้กล่าวว่า สามารถติดต่อเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่กองคุ้มครองและดูแลผลประโยชน์คนไทยในต่างประเทศ กรมการกงสุล หมายเลขโทรศัพท์ 02-547-1049

31 มกราคม 2554


ที่มา: ข่าวสารนิเทศ วันที่ 31 มกราคม 2554 กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ

การให้ความช่วยเหลือคนไทยในอียิปต์




การให้ความช่วยเหลือคนไทยในอียิปต์



ตามที่ได้เกิดการชุมนุมประท้วงในกรุงไคโร และเมืองสำคัญอื่นๆ ในอียิปต์ ตั้งแต่วันที่ 25 มกราคม 2554 เป็นต้นมา นั้น เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2554 นายธานี ทองภักดี อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ให้สัมภาษณ์แก่สื่อมวลชนเพิ่มเติม เกี่ยวกับความคืบหน้าการดำเนินการให้ความช่วยเหลือแก่คนไทยในอียิปต์เพื่อเดินทางกลับประเทศไทย ดังนี้

1. จากการประสานกับบริษัท การบินไทย จำกัด และสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงไคโร นั้น กระทรวงการต่างประเทศจะดำเนินการเช่าเหมาเครื่องบินของจอร์แดน เพื่อพาคนไทยที่ติดค้างในกรุงไคโรเดินทางไปกรุงอัมมาน ประเทศจอร์แดน โดยจะออกจากกรุงไคโร เวลาประมาณ 15,00 น. (เวลาท้องถิ่น) ของวันที่ 31 มกราคม 2554 และพักค้างแรมที่ท่าอากาศยานกรุงอัมมานหนึ่งคืน และในขณะเดียวกัน เครื่องบินเช่าเหมาลำของบริษัท การบินไทย จำกัด จะเดินทางจากกรุงเทพฯ ไปรับคนไทยดังกล่าวที่กรุงอัมมาน โดยจะออกจากกรุงเทพฯ เวลาประมาณ 08.00 น. ของวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2554 และถึงกรุงอัมมานประมาณ 13.00 น. (เวลาท้องถิ่น) หลังจากนั้น จะเดินทางออกจากกรุงอัมมานเวลาประมาณ 14.00 น. (เวลาท้องถิ่น) กลับถึงกรุงเทพฯ เวลาประมาณ 02.45 น. ของวันรุ่งขึ้น ทั้งนี้ กระทรวงการต่างประเทศอยู่ระหว่างการเร่งประสานงานเรื่องการขออนุญาตบินผ่านน่านฟ้าประเทศต่าง ๆ และอียิปต์

2. ในส่วนของคนไทยที่เหลือในอียิปต์นั้น ในเบื้องต้น ทุกคนมีความปลอดภัย และสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงไคโร กำลังประสานให้การช่วยเหลือและดูแลอย่างต่อเนื่อง สำหรับคนไทยที่ติดค้างในท่าอากาศยานกรุงไคโร นั้น สถานเอกอัครราชทูตฯ ได้ส่งเจ้าหน้าที่ไปให้ความช่วยเหลือดูแล 24 ชั่วโมง รวมทั้งจัดส่งน้ำและอาหารไปให้


ที่มา:ข่าวสารนิเทศ วันที่ 31 มกราคม 2554 กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ

วันอาทิตย์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2554

สอท. ณ กรุงจาการ์ตา เร่งให้ความช่วยเหลือ 14 ลูกเรือไทยรอดล่มกลางทะเล


สอท. ณ กรุงจาการ์ตา เร่งให้ความช่วยเหลือ 14 ลูกเรือไทยรอดล่มกลางทะเล

จากกรณีที่มีรายงานข่าวว่า เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2554 มีเรือบรรทุกสัญชาติสิงคโปร์ หมายเลข AB9 ซึ่งมีกัปตันและลูกเรือคนไทยรวม 14 คน เกิดอุบัติเหตุล่มกลางทะเลในบริเวณชายฝั่งของเกาะ Pulau Bintan ห่างจากกรุงจาการ์ตา อินโดนีเซีย ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือประมาณ 900 กิดลเมตร และทางใต้ของสิงคโปร์

สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงจาการ์ตาได้ดำเนินการประสานงานกับทหารเรืออินโดนีเซียและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของอินโดนีเซียในทันที และรับทราบว่า กัปตันและลูกเรือคนไทยทั้งหมด 14 คน ปลอดภัยดี ภายหลังจากที่ได้รับการช่วยเหลือจากทหารเรืออินโดนีเซีย ทั้งนี้ นายธนาธิป อุปัติศฤงค์ เอกอัครราชทูต ณ กรุงจาการ์ตา และเจ้าหน้าที่การทูตไทยได้ยืนยันว่า จะเร่งให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกให้แก่กัปตันและลูกเรือคนไทยทั้ง 14 คน และจะรายงานพัฒนาการให้ทราบต่อไป
28 มกราคม 2554

ที่มา: ข่าวสารนิเทศ วันที่ 28 มกราคม 2554 กำรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ

คำเตือนเกี่ยวกับการเดินทางไปสาธารณรัฐอาหรับอียิปต์


คำเตือนเกี่ยวกับการเดินทางไปสาธารณรัฐอาหรับอียิปต์

ตามที่ได้มีการชุมนุมประท้วง ในกรุงไคโรและเมืองสำคัญอื่น ๆ ในสาธารณรัฐอาหรับอียิปต์นับตั้งแต่วันที่ 25 มกราคม 2554 เป็นต้นมา จนนำไปสู่เหตุการณ์ปะทะและใช้ความรุนแรงระหว่างกลุ่มผู้ชุมนุมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ และเป็นผลให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนหนึ่ง นั้น

โดยที่ในขณะนี้ การชุมนุมประท้วงยังดำเนินต่อไป และยังมีความเสี่ยงที่จะเกิดเหตุการณ์ความรุนแรง กระทรวงการต่างประเทศจึงขอแจ้งเตือนผู้ประสงค์เดินทางไปอียิปต์ในระยะนี้ให้เลื่อนการเดินทางออกไปก่อน จนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลายและกลับสู่ภาวะปกติ ทั้งนี้ ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องการเดินทาง พึงใช้ความระมัดระวังอย่างยิ่ง พร้อมทั้งหลีกเลี่ยงสถานที่ซึ่งมีความเสี่ยง โดยเฉพาะพื้นที่และสถานที่ซึ่งมีการชุมนุม

จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบโดยทั่วกัน
29 มกราคม 2554

ที่มา: ข่าวสารนิเทศ วันที่ 29 มกราคม 2554 กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ

วันอาทิตย์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2554

ความคืบหน้าของการพิจารณาคดีคนไทย 5 คน


ความคืบหน้าของการพิจารณาคดีคนไทย 5 คน

เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2554เวลา 20.30 น. นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนเกี่ยวกับความคืบหน้าของการพิจารณาคดีคนไทย 5 คนของศาลกัมพูชาว่า ศาลกัมพูชาได้มีคำพิพากษาคนไทย 5 คนแล้ว กล่าวคือ พิพากษาลงโทษให้จำคุก 9 เดือน โดยรอลงอาญา และปรับเงินจำนวน 1 ล้านเรียลต่อคน (ประมาณ 7,500 บาท) โดยคนไทยเหล่านี้ได้เดินทางกลับไปที่สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงพนมเปญแล้ว ซึ่งคาดว่าน่าจะมีความชัดเจนมากขึ้นในพรุ่งนี้ (22 มกราคม 2554) ทั้งนี้ กระทรวงการต่างประเทศจะจัดเตรียมเอกสารให้กับคนไทยทั้ง 5 คนเพื่อให้สามารถเดินทางกลับประเทศไทยได้โดยเร็วที่สุด แต่กระบวนการเตรียมเอกสารต้องชัดเจนและไม่ให้มีความผิดพลาดได้ ทั้ง 5 คนจึงคงยังไม่สามารถเดินทางกลับได้ภายในวันนี้ (21 มกราคม 2554) เพราะเอกสารการเดินทางยังไม่พร้อม รวมถึงการดำเนินการด้านตรวจคนเข้าเมืองของฝ่ายกัมพูชาด้วย แต่อาจเป็นภายใน 1-2 วัน

สำหรับคนไทยอีก 2 คน กระทรวงฯ จะดำเนินการตามแนวทางที่วางไว้แต่เดิม ทั้งในเรื่องการขอประกันตัวและขอให้เร่งกระบวนการพิจารณาให้เร็วที่สุด แม้ว่าอาจมีความแตกต่างกันในเรื่องของข้อกล่าวหา แต่ยืนยันว่ากระทรวงฯ จะให้ความช่วยเหลือเต็มที่เช่นเดียวกัน


ต่อข้อซักถามของสื่อมวลชนเกี่ยวกับกำหนดเวลาในการพิจารณาคดี เลขานุการรัฐมนตรีว่าการฯ กล่าวว่า เดิมศาลกัมพูชากำหนดพิจารณาคดีในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2554 อย่างไรก็ดี กระทรวงฯ จะหาช่องทางเพื่อให้กระบวนการพิจารณาคดีกระชับมากขึ้น

เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงฯ ยืนยันว่า คำพิพากษาของศาลกัมพูชาผูกพันเฉพาะคู่ความ ไม่ผูกพันรัฐ และไม่กระทบกับเรื่องเขตแดน เพราะในเรื่องของเขตแดนมีกระบวนการคณะกรรมาธิการจัดทำหลักเขตแดนทางบกร่วมไทย-กัมพูชา (JBC) ดำเนินการอยู่แล้ว

21 มกราคม 2554

ที่มา: ข่าวสารนิเทศ วันที่ 21 มกราคม 2554 กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ

ศาลกัมพูชาเรียกตัวคนไทย 5 คนให้ไปขึ้นศาล


ศาลกัมพูชาเรียกตัวคนไทย 5 คนให้ไปขึ้นศาล


เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2554 เวลา 10.00 น. นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนเพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับกรณีศาลกัมพูชาเรียกตัวคนไทย 5 คน ยกเว้นนายวีระ สมความคิด และนางสาวราตรี พิพัฒนาไพบูรณ์ ให้ไปขึ้นศาลในวันที่ 21 มกราคม 2554 สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1. เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2554 คนไทย 5 คน (นายพนิช วิกิตเศรษฐ์ เรือตรีแซมดิน เลิศบุศย์ นายกิชพลธรณ์ ชุสนะเสวี นายตายแน่ มุ่งมาจน และนางนฤมล จิตรวะรัตนา) ยกเว้นนายวีระฯ และนางสาวราตรีฯ ได้ยื่น คำร้องต่อศาลกัมพูชาขอให้พิจารณาทบทวนเลื่อนวันนัดการพิจารณาคดีจากวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2554 ให้เร็วขึ้น ซึ่งการยื่นคำร้องต่อศาลครั้งนี้เป็นการใช้ดุลยพินิจของผู้ต้องหาแต่ละคน ในการนี้ ศาลกัมพูชาได้พิจารณาคำร้องของทั้ง 5 คนแล้ว และกำหนดให้เลื่อนการพิจารณาคดีเป็นวันที่ 21 มกราคม 2554 เวลา 14.00 น. อย่างไรก็ดี ในชั้นนี้ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการฯ ไม่สามารถตอบได้ว่าจะมีการพิพากษาคดีเลยหรือไม่ และไม่อยากคาดเดาใด ๆ ล่วงหน้า จนกว่าจะมีผลการพิจารณาคดี

2. ต่อข้อซักถามของผู้สื่อข่าวที่ว่า กระทรวงการต่างประเทศจะดำเนินการอย่างไรต่อไป หากศาลกัมพูชามีคำพิพากษาคดีและปรากฏว่า คนไทย 5 คนได้รับการปล่อยตัว ยกเว้นนายวีระฯ ซึ่งยังถูกขังอยู่ที่เรือนจำ และนางสาวราตรีฯ ซึ่งพำนักอยู่ที่ทำเนียบเอกอัครราชทูต ณ กรุงพนมเปญ นั้น เลขานุการรัฐมนตรีว่าการฯ กล่าวย้ำว่า ไม่อยากจะคาดเดาใด ๆ ล่วงหน้า และควรรอดูผลการพิพากษาคดีก่อน แต่ไม่ว่าผลจะออกมาในลักษณะใด รัฐบาลไทยมีเป้าหมายสูงสุด คือ การนำตัวคนไทยทั้งหมดกลับมาประเทศไทยโดยเร็วที่สุด ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องในการให้ความช่วยเหลือแก่คนไทยทั้ง 7 คนโดยเท่าเทียมกัน อย่างไรก็ดี สำหรับกรณีคนไทยอีก 2 คนนั้น กระทรวงฯ ก็พร้อมให้ความช่วยเหลืออย่างเต็มที่ ทั้งด้านกฎหมาย การดูแลสวัสดิภาพ และการเข้าเยี่ยม

3. กรณีกลุ่มที่ปรึกษาด้านกฎหมายชาวไทยของเครือข่ายคนไทยหัวใจรักชาติออกมาให้ข่าวว่า ทนายความชาวกัมพูชาไม่ให้ความร่วมมือและไม่ยอมพบกับกลุ่มฯ นั้น เลขานุการรัฐมนตรีว่าการฯ กล่าวว่า เป็นเรื่องที่ทนายความชาวกัมพูชาจะพิจารณา ซึ่งรัฐบาลไทยหรือสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงพนมเปญ ไม่สามารถบังคับทนายความชาวกัมพูชาได้ เพราะเป็นเรื่องระหว่างทนายความกับลูกความ แต่ก็ยืนยันที่จะให้ความร่วมมือและช่วยประสานงานให้อย่างเต็มที่ ทั้งนี้ หากลูกความต้องการเปลี่ยนตัวทนายความก็เป็นสิทธิที่สามารถกระทำได้

21 มกราคม 2554


ที่มา: ข่าวสารนิเทศ วันที่ 21 มกราคม 2554 กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ

คำเตือนการเดินทาง สถานการณ์การเมืองในสาธารณรัฐตูนิเซีย


คำเตือนการเดินทาง สถานการณ์การเมืองในสาธารณรัฐตูนิเซีย

ตามที่ได้เกิดเหตุการณ์ประท้วงรุนแรงในกรุงตูนิสและเมืองอื่น ๆ ในประเทศตูนิเซียตั้งแต่ช่วงเดือนธันวาคม ๒๕๕๔ เป็นต้นมา จนกระทั่งเมื่อวันที่ ๑๔ มกราคม ๒๕๕๔ ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองโดยประธานาธิบดี Zine al-Abidine Ben Ali และครอบครัว เดินทางออกนอกประเทศ ซึ่งนาย Faouad Mebazza ประธานสภาผู้แทนราษฎรตูนิเซีย ได้สาบานตนเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีรักษาการ และนาย Mohamed Ghannouchi นายกรัฐมนตรี ได้จัดตั้งรัฐบาลเอกภาพแห่งชาติ โดยจะมีการเลือกตั้งประธานาธิบดีและการเลือกตั้งทั่วไปในอนาคตต่อไป

โดยที่สถานการณ์ภายในตูนิเซียยังไม่กลับคืนสู่สภาวะปรกติและยังมีการประท้วงในเมืองต่าง ๆ อยู่เป็นระยะ กระทรวงการต่างประเทศจึงขอแจ้งเตือนมายังประชาชนที่ประสงค์จะเดินทางไปตูนิเซียในระยะนี้ให้เลื่อนการเดินทางออกไปก่อน และหากมีความจำเป็นที่จะต้องเดินทางไปตูนิเซีย พึงใช้ความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงพื้นที่เสี่ยงหรือบริเวณที่สถานการณ์ยังไม่ปรกติ

21 มกราคม 2554

ที่มา: ข่าวสารนิเทศ วันที่ 21 มกราคม 2553 กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ

วันพฤหัสบดีที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2554

ความคืบหน้ากรณีคนไทย 7 คน

นายธานี ทองภักดี
อธิบดีกรมสารนิเทศ
โฆษกกระทรวงการต่างประเทศ


ความคืบหน้ากรณีคนไทย 7 คน


เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2554 นายธานี ทองภักดี อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนเกี่ยวกับความคืบหน้าของการให้ความช่วยเหลือคนไทย 7 คนที่ถูกจับกุม สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้

1. เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2554 นางสาวมธุรพจนา อิทธะรงค์ รองอธิบดีกรมการกงสุล ได้เดินทางไปยังกรุงพนมเปญพร้อมกับคณะแพทย์ เพื่อไปดูแลคนไทยที่ได้รับการประกันตัวอีก 4 คนแล้ว โดยแจ้งว่า โดยรวมคนไทยทั้งหมดมีสุขภาพแข็งแรงดี ยกเว้นคนหนึ่งที่เป็นหวัดเล็กน้อย

2. ตั้งแต่ต้นคนไทยทั้ง 7 คนไม่ได้แสดงความต้องการที่จะเปลี่ยนตัวทนายความ แต่มีบางคนที่ต้องการให้กลุ่มที่ปรึกษาด้านกฎหมายชาวไทยของนายการุณ ใสงาม เข้าเป็นทนายความร่วม ซึ่งล่าสุดได้รับทราบว่าสภาทนายความกัมพูชาแล้วว่า ไม่อนุญาตให้เข้าเป็นทนายความร่วม

3. กลุ่มที่ปรึกษาด้านกฎหมายของนายการุณ ใสงาม ได้เข้าพบคนไทย 6 คนที่พำนักอยู่ที่ทำเนียบเอกอัครราชทูต ณ กรุงพนมเปญแล้ว และน่าจะได้เข้าเยี่ยมนายวีระ สมความคิด ที่เรือนจำในช่วงบ่ายของวันนี้ (19 มกราคม 2554)

4. ทนายความชาวกัมพูชาอยู่ระหว่างการหารือกับนายวีระฯ ว่าจะยื่นคำร้องขอประกันตัวต่อศาลสูงสุดหรือไม่ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของนายวีระฯ โดยกระทรวงการต่างประเทศพร้อมที่จะให้การสนับสนุนการดำเนินการใด ๆ ของนายวีระฯ อย่างเต็มที่ ส่วนในเรื่องล่ามหรือการเปลี่ยนตัวทนายความกัมพูชา ก็เป็นเรื่องที่นายวีระฯ และคนไทยอีก 6คน จะตัดสินใจ ซึ่งกระทรวงฯ ยินดีอำนวยความสะดวกอย่างเต็มที่หากได้รับการร้องขอ

5. กระทรวงการต่างประเทศยังไม่ได้รับแจ้งว่า ศาลกัมพูชาจะมีการพิพากษาคดีคนไทย 7 คนเมื่อไร โดยโฆษกกระทรวงการต่างประเทศแสดงความหวังว่าน่าจะเป็นไปในโอกาสแรก

6. โฆษกกระทรวงการต่างประเทศตอบข้อซักถามของสื่อมวลชนเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนนักโทษว่า ไม่เคยมีการประสานในเรื่องนี้ในลักษณะของการแลกเปลี่ยนกัน และขอเรียนว่า การปล่อยตัวคนกัมพูชาที่เข้าเมืองผิดกฎหมายและถูกขังอยู่ที่ประเทศไทยที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาขณะนี้เป็นกระบวนการตามปกติที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองดำเนินการอยู่แล้ว ส่วนกรณีการโอนตัวนักโทษกัมพูชา 1 รายกลับไปที่ประเทศกัมพูชาเมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมาก็เป็นไปตามสนธิสัญญาโอนตัวนักโทษระหว่างไทยกับกัมพูชา ซึ่งฝ่ายกัมพูชาได้ประสานขอให้ฝ่ายไทยโอนตัวนักโทษกัมพูชา 4 รายกลับไปกัมพูชามาระยะหนึ่งแล้ว กล่าวคือ ได้มีการหารือเรื่องนี้ระหว่างนายกรัฐมนตรีของทั้งสองประเทศเมื่อประมาณ 2 ปีที่แล้ว แต่โดยที่การโอนตัวนักโทษต้องเป็นไปตามกระบวนการและเงื่อนไขต่าง ๆ ตามกฎหมายไทย เช่น นักโทษต้องใช้โทษในประเทศไทยระยะหนึ่ง และการพิจารณาคดีต้องถึงที่สุดแล้ว ดังนั้น เมื่อเป็นไปตามเงื่อนไขต่าง ๆ แล้ว จึงได้มีการโอนตัวนักโทษกัมพูชา 1 รายกลับไปตามกระบวนการขั้นตอนปกติ

ที่มา: ข่าวสารนิเทศ วันที่ 19 มกราคม 2554 กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ

ติดอาวุธก่อนออกรบศึกรัก 'ต่างแดน'


ติดอาวุธก่อนออกรบศึกรัก 'ต่างแดน'

ชีวิตแต่งงานประสบความสำเร็จ เปรียบดั่งถูกลอตเตอรี่รางวัลที่ 1 ส่วนสาวคนใดฝ่าค่านิยมแต่งงานอยู่กินกับสามีชาวต่างชาติ ดูดีทั้งหน้าที่การงานและฐานะการเงินด้วยแล้ว เหมือนถูกลอตเตอรี่สองเด้งทีเดียว ในเมื่อความฝันและความจริงเดินสวนทางกัน ดังนั้น กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ จัดเสวนาให้ความรู้ “แต่งงานกับคนต่างชาติ ดีจริงเหรอ?” และความรู้เบื้องต้น สิทธิขั้นพื้นฐาน โดยเชิญวิทยากรผู้เชี่ยวชาญ และสองสาวกรณีศึกษา “ชีวิตพลิกดั่งเจ้าหญิง” และ “เจ็บจริงไม่อิงนิยาย” มาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ เมื่อเร็ว ๆ นี้ ณ ห้องประชุม 305 ชั้น 3 กรมการกงสุล ถนนแจ้งวัฒนะ

นายประสิทธิพร เวทย์ประสิทธิ์ ผอ.กองคุ้มครองและดูแลผลประโยชน์คนไทยในต่างประเทศ กรมการกงสุล กล่าวว่า กรมการกงสุลมีหน้าที่ช่วยเหลือคนตกทุกข์ได้ยากในต่างประเทศ และประสบปัญหาครอบครัว จากสถิติหญิงไทยไปอยู่ต่างประเทศไม่น้อยกว่า 2 แสนคน ใน 10 ประเทศนิยมสมรส พบปัญหาภาษาสื่อสารทั้งสิ้น เริ่มที่ ประเทศเยอรมนี และ ออสเตรีย พบปัญหาด้านวัฒนธรรม ลูกติด ไม่มีพื้นฐานความรัก, ประเทศฝรั่งเศส ทะเลาะแล้วสามีทอดทิ้ง, สหรัฐอเมริกา อายุมากเกิดช่องว่างระหว่างวัย, ประเทศออสเตรเลีย และ อังกฤษ คาดหวังให้ช่วยกันทำมาหากิน จึงควรมีวิชาชีพติดตัว อาทิ นวดแผนไทย สปา หรือ เสริมสวย, ประเทศสวีเดน หย่า 2 ปีแรกค่อนข้างมาก ถูกเพิกถอนสิทธิ หลอกให้เซ็นเอกสาร, ประเทศไต้หวัน ทำงานผิดกฎหมาย, ประเทศฟินแลนด์ ไม่รู้ภาษาฟิน และ ประเทศเดนมาร์ก ระดับการศึกษาต่างกันมาก

ด้านชีวิตของผู้หญิงที่แต่ง งานกับชาวต่างชาติ นางลัดดา กิ๊บสัน ช่างผมชาวหนองคาย สมรสกับสามีชาวอังกฤษ เผยว่า พบกับสามีทางระบบอินเทอร์เน็ตจัดหาคู่ ซึ่งทำงานซอฟต์แวร์ เอ็นจิเนียร์ มีอายุห่างกัน 10 ปี คบหา 2 ปีครึ่ง สามีขอแต่งงานสุดโรแมนติกบนเครื่องบินระหว่างเดินทางไปสิงคโปร์ หลังสมรสสามีชวนอยู่เมืองไทย แต่ตนอยากไปหาความตื่นเต้นยังต่างแดน ชีวิตคู่จึงเริ่มต้นที่เมืองแวนคูเวอร์ ประเทศแคนาดา คนที่นั่นน่ารักแต่ มีปัญหาด้านภาษา ไม่เข้าใจลึกซึ้งโดนถาม “ฮาว อาร์ ยู ดู อิง” ก็ไม่เข้าใจ คิดว่าชั้นสบายดี ไม่ได้ทำอะไร หรือซื้อสินค้าได้ส่วนลด “เทค ออฟ” ก็งงไม่เข้าใจ รู้จักแต่คำว่า “ดิสเคานท์” จึงสมัครเรียนภาษา อบรมการทำผมเพิ่มเติม โดยเฉพาะการทำผมสีบลอนด์ ทำงานประมาณ 2 ปี กลับมาอยู่เมืองไทย เปิดร้านทำผม ส่วนสามี ทำขนมหารายได้เสริม ชีวิตคู่ค่อนข้างมีความสุข

ขณะที่ นางกนกรัตน์ นิ่ม สมุทธ บูธ นักเขียนอิสระ อดีตผู้สื่อข่าว เผยมรสุมชีวิตว่า แต่งงานกับคนต่างชาติดีหรือไม่อยู่ที่พื้นฐานแต่ละคน ตนผ่านการสมรสกับคนไทยมาก่อน ในงานแต่งงานมีรัฐมนตรีเป็นประธาน และได้ลอดซุ้มกระบี่ตามความฝัน แต่ไม่มีความสุข สุดท้ายแยกทางกันและมาพบสามีชาวอังกฤษ มีบ้านมูลค่า 20 ล้านปอนด์ มีเรือยอชท์ ภายหลังมีปัญหาลูกติดสามีจ้างหย่า 1 ล้านปอนด์ แต่ตนต้องการหย่าแบบยินยอม โดยไม่ต้องการอะไรเลย แต่สามีไม่ยอมไปแจ้งด่านตรวจคนเข้าเมืองเพิกถอนสัญชาติตน ขณะนี้ ไม่สามารถดำเนินการหย่าได้เพราะเข้าประเทศอังกฤษไม่ได้ ซ้ำยังเคยถูกคุมขัง 1 คืน

“การคบกับคนต่างชาติ ต้องสืบให้รู้ประวัติชื่ออะไร อยู่ประเทศใด อยู่ส่วนไหนของโลก ส่วนใหญ่ไม่สืบ แค่ “ไอ เลิฟ ยู” ไม่พอ ขณะที่คิดว่าตัวเองแน่ มีการศึกษา ภาษา ฐานะ แต่ยังเจอปัญหาเรื่อง “กฎหมาย” ซึ่งต้องศึกษาให้ดี จดทะเบียนที่ไหนไม่สำคัญเท่า “บังคับใช้ภายใต้กฎหมายของใคร” ต้องศึกษากระบวนการหย่าให้ละเอียดเตือนผู้หญิงให้ทำตัวเป็น “สัมภาระ” ไม่ใช่ “ภาระ” ที่จะทิ้งเมื่อใดก็ได้” นางกนกรัตน์กล่าว.

ที่มา: บทความจากหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 1 ธันวาคม 2553 http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=359&contentID=107197

การคุ้มครองดูแลหญิงไทยในต่างประเทศ


การคุ้มครองดูแลหญิงไทยในต่างประเทศ

รัฐบาลปัจจุบันได้ให้ความสำคัญในการรักษา คุ้มครองและดูแลคนไทยตลอดจนสิทธิและผลประโยชน์ของคนไทยในต่างประเทศ โดยได้ระบุไว้ในนโยบายด้านการต่างประเทศ โดยจะ “ส่งเสริม รักษา และคุ้มครองสิทธิและผลประโยชน์ของประเทศ รวมทั้งของภาคเอกชนไทย แรงงานไทยและคนไทยในต่างประเทศ”

ในการดำเนินการตามนโยบายดังกล่าว กระทรวงการต่างประเทศมีหน้าที่รับผิดชอบการให้ความช่วยเหลือดูแลคุ้มครองคนไทยซึ่งรวมถึงหญิงไทยที่ประสบปัญหาความเดือดร้อนในต่างประเทศ โดยกองคุ้มครองและดูแลผลประโยชน์คนไทยในต่างประเทศ กรมการกงสุล เป็นผู้ดำเนินการช่วยเหลือ โดยประสานกับสถานเอกอัครราชทูตและสถานกงสุลใหญ่ทั่วโลก เมื่อได้รับเรื่องร้องขอความช่วยเหลือโดยตรงจากหญิงไทยในต่างประเทศ หรือญาติที่อยู่ในประเทศไทยแจ้งให้ทราบว่าถูกบังคับให้ค้าบริการทางเพศ ถูกทำร้าย ถูกจับกุม ฯลฯ กองคุ้มครองฯ จะรีบประสานกับสถานเอกอัครราชทูต หรือสถานกงสุลใหญ่ในประเทศที่หญิงไทยประสบปัญหาโดยเร็ว ในกรณีเร่งด่วนจะติดต่อทางโทรศัพท์ในทันที เพื่อขอให้ประสานกับหน่วยงานท้องถิ่นให้ความช่วยเหลือแล้วส่งตัวกลับประเทศไทย โดยสถานเอกอัครราชทูตหรือสถานกงสุลใหญ่จะทดรองจ่ายค่าใช้จ่ายทั้งหมด และเมื่อเดินทางกลับถึงประเทศไทยแล้ว กรมประชาสงเคราะห์จะช่วยเหลือส่งตัวกลับภูมิลำเนาหรือรับตัวไปฟื้นฟู หรือให้การสงเคราะห์ต่อไป

เมื่อสถานเอกอัครราชทูตหรือสถานกงสุลใหญ่ช่วยเหลือส่งตัวหญิงไทยที่ประสบปัญหากลับประเทศไทยแล้ว กรมการกงสุลจะส่งข้อมูลเกี่ยวกับผู้ที่หลอกลวงหรือขบวนการหลอกลวงตามที่ได้รับแจ้งจากสถานเอกอัครราชทูตหรือสถานกงสุลใหญ่ให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติดำเนินการสืบสวนสอบสวน ขยายผลเพื่อนำตัวผู้หลอกลวงมาดำเนินการตามกฎหมายและเป็นการปราบปรามขบวนการหลอกลวงและป้องกันไม่ให้ไปหลอกลวงหญิงไทยคนอื่น ๆ อีก

โดยที่หญิงไทยที่ไปประสบปัญหาในต่างประเทศส่วนใหญ่มักจะถูกหลอกลวงหรือไม่ทราบข้อมูลที่ถูกต้อง การป้องกันจึงกระทำได้โดยการให้หญิงไทยได้รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับการหลอกลวง ปัญหาที่ประสบ ชีวิตความเป็นอยู่และความยากลำบากในต่างประเทศ ซึ่งหากหญิงไทยได้รับทราบข้อมูลเหล่านี้อย่างเพียงพอแล้ว อาจตัดสินใจไม่เดินทางไปต่างประเทศหรือในกรณีต้องเดินทางและประสบปัญหาก็จะสามารถหาช่องทางขอรับความช่วยเหลือได้ กระทรวงการต่างประเทศโดยกรมการกงสุลจึงได้จัดทำโครงการประชาสัมพันธ์รณรงค์เพื่อให้หญิงไทยทราบถึงวิธีการและขบวนการหลอกลวงหญิงไทยไปขายบริการทางเพศ โดยจัดทำจัดทำแผ่นพับแจกจ่าย เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้หญิงไทยถูกหลอกลวงไปต่างประเทศ หน่วยงานอื่น ๆ เช่น กรมการจัดหางาน กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานสตรีแห่งชาติ ก็ได้จัดทำเอกสารต่าง ๆ เช่น หนังสือคู่มือสำหรับหญิงไทยก่อนตัดสินใจเดินทางไปต่างประเทศ เพื่อประชาสัมพันธ์ให้ความรู้แก่หญิงไทยที่จะเดินทางไปต่างประเทศ

นอกจากการประชาสัมพันธ์ให้ความรู้แก่หญิงไทยดังกล่าวข้างต้น หน่วยงานของรัฐหลายหน่วยงานมีโครงการที่ให้ความรู้กับหญิงไทย เช่น กรมประชาสงเคราะห์มีโครงการให้ความรู้แก่เยาวสตรีเพื่อป้องกันการถูกหลอกลวง โดยส่งเจ้าหน้าที่ไปให้ความรู้แก่กลุ่มเสี่ยงตามโรงเรียน และโรงงานเพื่อให้มีความรู้เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวเพื่อจะได้ไม่ตกเป็นเหยื่อของการหลอกลวง กรมการศึกษานอกโรงเรียนได้จัดทำหลักสูตรที่ประกอบด้วยวิชาที่ให้ความรู้เกี่ยวกับการไปทำงานต่างประเทศซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับวิธีและขบวนการหลอกลวงตลอดจนปัญหาที่จะต้องประสบในต่างประเทศซึ่งจะทำให้นักศึกษาได้รับความรู้และระมัดระวังไม่ตกเป็นเหยื่อและหากจะเดินทางไปต่างประเทศก็จะไตร่ตรองให้รอบคอบเสียก่อน นอกจากนั้น สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานสตรีแห่งชาติได้จัดทำโครงการประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานในการป้องกันและช่วยเหลือหญิงไทยมิให้ไปประสบปัญหาในต่างประเทศ เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าใจถึงปัญหาที่เกิดขึ้นกับหญิงไทยและเร่งดำเนินการแก้ไขปัญหาร่วมกันในด้านการป้องกันการปราบปรามและการช่วยเหลือ ซึ่งโครงการนี้จะจัดตามภูมิภาคต่าง ๆ ทุกภูมิภาค

ในระดับชาติ คณะอนุกรรมการประสานการแก้ไขปัญหาการค้าเด็กและหญิงข้ามชาติ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานเยาวชนแห่งชาติได้จัดทำนโยบายและแผนระดับชาติเรื่องการป้องกัน ปราบปรามและแก้ไขปัญหาการค้าเด็กและหญิง ซึ่งกำหนดนโยบายและแผนงานในการป้องกันปราบปรามและแก้ไขปัญหาการค้าเด็กและหญิงทั้งในประเทศและข้ามชาติ โดยแบ่งเป็นแผนระยะสั้นและระยะยาว ในทุกระดับตั้งแต่ระดับท้องถิ่น ระดับจังหวัด จนถึงระดับประเทศ

นอกจากนั้น คณะอนุกรรมการประสานการแก้ไขปัญหาการค้าเด็กและหญิงข้ามชาติ ยังได้จัดทำบันทึกข้อตกลง 2 ฉบับ เกี่ยวกับแนวทางปฏิบัติร่วมกันในการดำเนินการกรณีการค้าหญิงและเด็กที่ตกเป็นเหยื่อของการค้ามนุษย์

ฉบับแรกเป็นข้อตกลงระหว่างหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง และ

ฉบับที่สองระหว่างหน่วยงานของรัฐและองค์กรเอกชน

ข้อตกลงดังกล่าวกำหนดให้มีการประสานงานกันระหว่างเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องและเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐและองค์กรพัฒนาเอกชนเพื่อให้มีการประสานในการช่วยเหลือหญิงไทยที่ตกเป็นเหยื่อตั้งแต่การช่วยเหลือส่งตัวกลับประเทศไทย การปราบปราม การป้องกัน การช่วยเหลือฟื้นฟู การฝึกอาชีพ เพื่อให้หญิงไทยที่ประสบปัญหาสามารถกลับคืนสู่สังคมได้

กองคุ้มครองและดูแลผลประโยชน์คนไทยในต่างประเทศ

การคุ้มครองแรงงานไทยในต่างประเทศ : ศึกษาด้านกฎหมายและบทบาทของทูตในประเทศต่าง ๆ


การคุ้มครองแรงงานไทยในต่างประเทศ : ศึกษาด้านกฎหมายและบทบาทของทูตในประเทศต่าง ๆ

(สมบูรณ์ เสงี่ยมบุตร, จิรัตน์ เขียวชอุ่ม และรัชนี คงภักดี. (2552). การคุ้มครองแรงงานไทยในต่างประเทศ : ศึกษาด้านกฎหมายและบทบาทของทูตในประเทศต่าง ๆ : รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.).)

วัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อศึกษาสถานการณ์และสภาพปัญหาของแรงงานไทยในต่างประเทศ มาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และบทบาทของทูตในประเทศต่าง ๆ ในการคุ้มครองแรงงานไทยในต่างประเทศ

จากการศึกษาพบว่า แรงงานไทยจำนวนมากยังคงนิยมไปทำงานในต่างประเทศ แต่รูปแบบของการเดินทางไปทำงานต่างประเทศเริ่มเปลี่ยนแปลงไป กล่าวคือ
1. การไปทำงานต่างประเทศผ่านบริษัทจัดหางานมีแนวโน้มลดลง แต่จะเป็นการไปทำงานต่างประเทศด้วยตนเองมากขึ้น เนื่องจากแรงงานไทยที่ไปทำงานต่างประเทศมีการศึกษาสูงขึ้น ทำให้สามารถติดต่อกับนายจ้างด้วยตนเองได้มากขึ้น และ

2. การไปทำงานต่างประเทศของแรงงานทั่วไปมีแนวโน้มที่ลดลง เพราะแรงงานในประเทศที่มีค่าแรงต่ำกว่าประเทศไทยแย่งส่วนแบ่งตลาดไป ในขณะเดียวกันก็มีแรงงานที่ใช้วิชาชีพไปทำงานต่างประเทศมากขึ้น

สภาพปัญหาของแรงงานไทย ยังคงเป็นปัญหาการถูกหลอกลวงและเอารัดเอาเปรียบจากบริษัทจัดหางานและนายจ้างชาวต่างชาติ ซึ่งถึงแม้ว่าประเทศไทยจะมีการตราพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 ขึ้นมาบังคับใช้ แต่กฎหมายดังกล่าวก็ไม่สามารถแก้ไขปัญหาของแรงงานไทยในต่างประเทศให้หมดสิ้นไปได้ ในขณะเดียวกันถึงแม้ในประเทศปลายทางจะมีกฎหมายคุ้มครองแรงงานที่ให้มีการคุ้มครองแรงงานไทยในระดับที่ดี เท่าเทียมกับแรงงานท้องถิ่น แต่ก็ยังมีการเอารัดเอาเปรียบแรงงานไทยจากนายจ้างอยู่ ในด้านบทบาทของทูต สถานเอกอัครราชทูต สถานกงสุลใหญ่ และสำนักงานแรงงานไทยในต่างประเทศ มีบทบาทอย่างมากในการให้การคุ้มครองแรงงานไทยในต่างประเทศ แต่ยังต้องมีสิ่งที่ควรปรับปรุงเพื่อให้การคุ้มครองแรงงานไทยในต่างประเทศเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ข้อเสนอแนะจากการวิจัยคือ
1. การเปิดเสรีให้แรงงานวิชาชีพไปทำงานต่างประเทศ โดยการอนุญาตให้มีการโฆษณารับสมัครแรงงานวิชาชีพไปทำงานต่างประเทศ

2. ควรมีการตั้งคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนสำหรับดูแลเรื่องกฎระเบียบแรงงาน

3. ให้สถานเอกอัครราชทูต สถานกงสุลใหญ่ และสำนักงานแรงงานไทยในต่างประเทศ เพิ่มการหาตลาดสำหรับแรงงานไทย

4. ควรดำเนินการอบรมงานกงสุลให้แก่เจ้าหน้าที่แรงงานที่ประจำในต่างประเทศ และมอบหมายงานกงสุลที่เกี่ยวเนื่องกับแรงงานให้เจ้าหน้าที่แรงงานปฏิบัติ

5. สถานทูตและสำนักงานแรงงานไทยควรมีการจัดหาล่ามไว้บริการแรงงานไทยอย่างเพียงพอ และ

6. ส่งแพทย์ไปตรวจรักษาแรงงานไทยในต่างประเทศ รวมทั้งเพิ่มโครงการสอนภาษาอังกฤษหรือภาษาท้องถิ่นให้แก่แรงงานไทยด้วย

ที่มา: เว็บไซต์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ http://library.cmu.ac.th/rsc/?newsdetail.php&id=127

อุปทูต ณ บันดาร์เสรีเบกาวัน เข้าพบ ผอ.กรมราชทัณฑ์ของบรูไนและเยี่ยมชมกิจการของทัณฑสถานบรูไน

คุณธวัช สุมิตรเหมาะ
อุปทูต ณ บันดาร์เสรีเบกาวัน


อุปทูต ณ บันดาร์เสรีเบกาวัน เข้าพบ ผอ.กรมราชทัณฑ์ของบรูไนและเยี่ยมชมกิจการของทัณฑสถานบรูไน



เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2554 ระหว่างเวลา 09.30 - 11.00 น. นายธวัช สุมิตรเหมาะ อุปทูต ณ บันดาร์เสรีเบกาวัน พร้อมด้วย นายอับดุลวารีส บิลังโหลด จนท. /ผู้ช่วยด้านการเมืองและเศรษฐกิจ และ น.ส. ศรีลักษณ์ พาร์สันส์ จนท. ล่าม สถานเอกอัครราชทูตได้เข้าเยี่ยมคารวะ Haji Jusni bin Haji Abd Latiff ผู้อำนวยการกรมราชทัณฑ์ บรูไน ณ ทัณฑสถานเจรูดอง (Jerudong) โดยมี เจ้าหน้าที่อาวุโส และฝ่ายบริหารของทัณฑสถาน ร่วมให้การต้อนรับ

อุปทูต แจ้งทัณฑสถานว่า ขณะนี้มีนักโทษไทยชาย จำนวน 5 คนที่ถูกกุมขังอยู่ในทัณฑสถานแห่งนี้ (โทษประหารชีวิต 1 คน จำคุกตลอดชีวิต 1 คน โทษระยะสั้น 2 คน และรอขึ้นศาล 1 คน) เดิมมีนักโทษหญิงอยู่บ้างแต่ได้พ้นโทษไปแล้ว ที่ผ่านมา สถานเอกอัครราชทูตได้มาเยี่ยมนักโทษเดือนละครั้ง โดยได้รับความอนุเคราะห์อย่างดีจาก เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง และได้ทราบว่านักโทษทุกรายได้รับการดูแลอย่างดีและมีความสุขตามอัตภาพ จึงขอขอบคุณทัณฑสถานมา ณ ที่นี้ และหากมีสิ่งใดที่ทางทัณฑสถานต้องการให้ สถานเอกอัครราชทูตสื่อไปยังนักโทษหรือเผยแพร่ข้อพึงระวังแก่คนไทยที่พำนักในบรูไนก็ขอให้แจ้งมาได้ตลอดเวลา ทั้งนี้ สถานเอกอัครราชทูตได้รายงานข้อกฎหมายของบรูไน/ข้อเตือนใจของการใช้ชีวิตในบรูไนไปยัง กระทรวงการต่างประเทศของไทยมาโดยตลอดอยู่แล้ว เพื่อให้ความรู้แก่พี่น้องประชาชนไทยก่อนเดินทางมายังบรูไน อันเป็นการช่วยให้ความรู้เพื่อการป้องกันปัญหาที่ต้นทาง ตามแนวนโยบายของ ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศที่ได้ให้ความสำคัญแก่งานการคุ้มครองดูแลคนไทยในต่างประเทศเป็นอย่างยิ่ง และได้ติดตามการดำเนินการด้านนี้ ของ สถานเอกอัครราชทูต/ สถานกงสุลใหญ่ อย่างใกล้ชิดโดยตลอด

ผู้อำนวยการJusni ได้กล่าวสรุปภารกิจของทัณฑสถาน รายละเอียดของนักโทษไทย และกิจวัตรประจำวันต่างๆ โดยที่ผ่านมานักโทษไทยมีความประพฤติดี ไม่มีสิ่งใดที่ทำให้ทัณฑสถานต้องหนักใจ อาจจะมีปัญหาบ้างในการสื่อข้อความ ซึ่งนักโทษมักจะพูดภาษาอังกฤษ/มลายูไม่ได้ ก็อาจจะเขียนเป็นภาษาไทยลงในกระดาษ ซึ่งทัณฑสถานก็จะติดต่อ สอท.เพื่อขอให้ช่วยแปลข้อความเป็นครั้งๆ ไป โดยปกติทัณฑสถานก็จะจัดกิจกรรมผ่อนคลายให้แก่นักโทษทุกสัปดาห์ อยู่แล้ว อาทิ การนำออกกำลังกายนอกห้องขัง การจัดให้คำปรึกษา การจัดแพทย์มาตรวจสุขภาพ ฯลฯ นอกจากนี้ ทัณฑสถานยังอนุญาตให้ญาติมิตรของนักโทษสามารถเข้าเยี่ยมนักโทษที่ทัณฑสถานได้ทุก 6 สัปดาห์

ภายหลังการหารือ อุปทูตได้มอบกระเช้าผลไม้ (มะม่วงเขียวเสวย) ซึ่งสั่งซื้อจากร้านค้าของคนไทยในบันดาร์เสรีเบกาวันให้แก่ ผู้อำนวยการJusni หลังจากนั้น ผู้อำนวยการJusni ได้นำคณะเข้าเยี่ยมชมห้องจัดแสดงนิทรรศการของทัณฑสถาน ที่น่าสนใจ ได้แก่ ห้องขังเดี่ยว (จำลอง) เครื่องมืออุปกรณ์ในการลงโทษด้วยการโบย แท่นประหารชีวิตด้วยการแขวนคอ และตัวอย่างสินค้าหัตถกรรมจากผู้ต้องขัง

ก่อนเดินทางกลับ อุปทูตฯ ได้รับเกียรติให้ลงนามในสมุดเยี่ยมของทัณฑสถาน และถ่ายภาพหมู่ร่วมกัน

บรูไนเป็นประเทศอิสลามที่เคร่งครัด มีบทลงโทษทางกฎหมายที่รุนแรงตรงไปตรงมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการโบยและแขวนคอ (ยังมีบทลงโทษประหารชีวิตด้วยการแขวนคออยู่ แต่ไม่มีการลงโทษจริงตั้งแต่ ปี พ.ศ.2539) ดังจะพบได้ว่าโทษโบยซึ่งมีตั้งแต่ 1 -24 ครั้งแล้วแต่ความหนักเบาของการกระทำผิด ก็น่าจะมีส่วนให้ผู้ที่คิดจะกระทำผิดเกิดความยับยั้งชั่งใจไม่น้อย โดยเฉพาะโทษข่มขืน จะต้องได้รับโทษเบื้องต้นโดยถูกโบยถึง 24 ครั้ง คราวเดียวจนครบ (การลงหวายแต่ละครั้งจะมีช่วงเว้นประมาณ 15 วินาที) และเมื่อพิจารณาจากภาพถ่ายของบาดแผลที่เกิดจากการโบย 24 ครั้ง ที่ จนท.ทัณฑสถานนำมาแสดงประกอบ (แผลที่เกิดหลังโบยใหม่ๆ และแผลเมื่อเวลาผ่านไป 1 เดือน) จึงได้ข้อสรุปเบื้องต้นว่า เพราะเหตุใดสังคมบรูไนจึงสงบสุข และมีอัตราอาชญากรรม/อาชญากรรมรุนแรงในระดับที่ต่ำมาก

ที่มา: ข่าวสารนิเทศ วันที่ 20 มกราคม 2554 สถานเอกอัครราชทูต ณ บันดาร์เสรีเบกาวัน ประเทศบรูไนดาลุสซาลัม

วันพุธที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2554

โอมานออกระเบียบร้านนวดและสปาใหม่


โอมานออกระเบียบร้านนวดและสปาใหม่

สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงมัสกัส รัฐสุลต่านโอมาน รายงานว่า รัฐบาลโอมานได้ออกระเบียบใหม่สำหรับผู้ประกอบการศูนย์สุขภาพ ศูนย์ออกกำลังกาย รวมทั้งร้านสปาและนวด ซึ่งมีข้อกำหนดให้ผู้ประกอบการธุรกิจเหล่านี้ต้องปฏิบัติคือ
1. ต้องแยกการให้บริการสำหรับลูกค้าชายและหญิง กล่าวคือทั้งผู้ให้บริการและลูกค้าต้องเป็นเพศเดียวกัน หากฝ่าฝืนมีโทษปรับและถูกดำเนินคดี

2. พนักงานบริการของร้านจะต้องสวมเครื่องแบบและได้รับประกาศนียบัตรจากสถาบันที่ได้รับการรับรอง

3. ห้ามลงโฆษณาว่าเป็นศูนย์รักษาทางกายภาพ เพราะศูนย์ดังกล่าวจะต้องมีการจดทะเบียนกับกระทรวงสาธารณสุขโอมาน

4. ห้ามจำหน่ายผลิตภัณฑ์ประเภทอาหารเสริมและโปรตีน รวมทั้งสารสเตอรอยด์

5. ภายในร้านที่ให้บริการจะต้องมีการทำความสะอาดและฆ่าเชื่อโรคทุกวัน

นอกจากระเบียบใหม่ที่เข้มงวดขึ้นดังกล่าวแล้ว ขณะนี้ทางการโอมานได้เริ่มเข้มงวดในการอนุมัติวีซ่าทำงานให้แก่สตรีประเภทสอง ซึ่งที่ผ่านมาเข้ามาทำงานในร้านสปาและนวดซึ่งให้บริการสุภาพบุรุษ ดังนั้นจึงมีสตรีประเภทสองจำนวนมากที่เดินทางเข้าประเทศโดยวีซ่าท่องเที่ยวเพื่อลักลอบทำงาน และมีหลายรายที่พำนักอยู่เกินกำหนดที่ได้รับอนุญาตด้วย ซึ่งทั้งสองกรณีเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายแรงงานและกฎหมายเข้าเมืองของโอมาน

ปัจจุบันมีมีคนไทยในโอมานประมาณ 1,250 คน เป็นแรงงานประมาณ 1,000 คน และเป็นคนไทยพำนักอาศัยจำนวน 250 คน

วันอังคารที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2554

ศาลกัมพูชาอนุญาตให้ประกันตัวคนไทยอีก 4 คน


ศาลกัมพูชาอนุญาตให้ประกันตัวคนไทยอีก 4 คน


เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2554 นายธานี ทองภักดี อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนกรณีศาลอุทธรณ์กัมพูชาพิจารณาการอุทธรณ์ขอประกันตัวคนไทยอีก 5 คน ว่า เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2554 เวลา 08.15 น. ศาลอุทธรณ์กัมพูชาอนุญาตให้ประกันตัวคนไทยอีก 4 คน (เรือตรีแซมดิน เลิศบุศย์ นายกิชพลธรณ์ ชุสนะเสวี นายตายแน่ มุ่งมาจน และนางสาวราตรี พิพัฒนาไพบูรณ์) ยกเว้นนายวีระ สมความคิด ซึ่งไม่ได้รับอนุญาตให้ประกันตัว โดยศาลไม่ได้แจ้งเหตุผลของการไม่ให้ประกันตัวดังกล่าว แต่จากการประเมินคาดว่า เพราะรูปคดีและคำให้การของแต่ละคนแตกต่างกันไป อย่างไรก็ดี กระทรวงการต่างประเทศจะเดินหน้าให้ความช่วยเหลือคนไทยทั้ง 7 คนต่อไปอย่างเต็มที่และทนายความชาวกัมพูชาอยู่ระหว่างการหารือกับศาลว่าจะสามารถยื่นคำร้องขอประกันตัวอีกครั้งต่อศาลสูงสุดของกัมพูชาต่อไปได้หรือไม่ ถ้าดำเนินการได้ก็จะรีบดำเนินการทันที

สำหรับเงื่อนไขการประกันตัวที่ศาลกำหนดก็เช่นเดียวกันกับกรณีของคนไทย ๒ คนที่ได้รับอนุญาตให้ประกันตัวแล้วก่อนหน้านี้ กล่าวคือ (1) ต้องวางเงินประกัน คนละ 1 ล้านเรียล (ประมาณ 7,500 บาท) (2) ห้ามเดินทางออกนอกราชอาณาจักรกัมพูชา และ (3) ให้จำเลยเดินทางมาที่ศาลทุกครั้งที่ถูกเรียกตัว ทั้งนี้ คนไทยรวม 6 คนที่ได้รับการประกันตัวแล้ว จะพำนักอยู่ที่ทำเนียบเอกอัครราชทูต ณ กรุงพนมเปญในชั้นนี้

ส่วนเรื่องของการเปลี่ยนตัวทนายความนั้น เท่าที่ทราบจากการสอบถามคนไทยทั้ง 7 คน ยังไม่มีใครแสดงความต้องการเปลี่ยนตัวทนายความ แต่มีบางคนที่แสดงความต้องการให้คณะที่ปรึกษาด้านกฎหมายของกลุ่มเครือข่ายหัวใจรักชาติ นำโดยนายการุณ ใสงาม เข้ามาเสริมเป็นทนายร่วมในการให้คำปรึกษาในศาลแก่คนไทย ซึ่งก็เป็นเรื่องที่คณะของนายการุณฯ จะต้องยื่นเรื่องขออนุญาตต่อสภาทนายความของกัมพูชาต่อไป

สำหรับความคืบหน้าในการพิจารณาคดี ในชั้นนี้ ยังไม่ทราบว่า ศาลจะนัดพิจารณาไต่สวนคดีอีกเมื่อไร แต่หวังว่าจะมีความชัดเจนมากขึ้นภายในสัปดาห์นี้

18 มกราคม 2554
ที่มา: ข่าวสารนิเทศ วันที่ 18 มกราคม 2554 กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ

การให้ความช่วยเหลือของไทยต่อเหตุการณ์อุทกภัยครั้งใหญ่ในรัฐควีนส์แลนด์


การให้ความช่วยเหลือของไทยต่อเหตุการณ์อุทกภัยครั้งใหญ่ในรัฐควีนส์แลนด์


ตามที่ได้เกิดเหตุการณ์อุทกภัยครั้งใหญ่ในรัฐควีนส์แลนด์ ประเทศออสเตรเลีย โดยได้ลุกลามไปยังนครบริสเบนและบริเวณใกล้เคียง ซึ่งเป็นบริเวณที่มีคนไทยพักอาศัยอยู่จำนวนมาก นั้น

เกี่ยวกับเรื่องนี้ สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงแคนเบอร์รา ได้ติดต่อประสานงานกับสถานกงสุลกิตติมศักดิ์ ณ นครบริสเบน ชมรมคนไทยแห่งรัฐควีนส์แลนด์ และวัดไทยในรัฐควีนส์แลนด์อย่างใกล้ชิด เพื่อสอบถามสภาพความเป็นอยู่ของคนไทยในบริเวณดังกล่าว โดยเบื้องต้นทราบว่า ยังไม่มีคนไทยได้รับอันตรายหรือเสียชีวิตจากอุทกภัยครั้งนี้ และมีบางส่วนขอพักอาศัยอยู่ที่วัดไทยในนครบริสเบนเป็นการชั่วคราว

นอกจากนี้ สถานเอกอัครราชทูตฯ ได้ออกประกาศแจ้งข้อมูลการติดต่อที่สำคัญและสิ่งที่พึงกระทำเพื่อรองรับสถานการณ์ โดยได้เผยแพร่ประกาศดังกล่าวไปยังเครือข่ายต่างๆ รวมถึงขอความร่วมมือรายการวิทยุภาคภาษาไทยและหน่วยงานท้องถิ่นในการประชาสัมพันธ์ข้อมูลที่สำคัญ อาทิ หมายเลขโทรศัพท์ของสถานเอกอัครราชทูตฯ ไปยังศูนย์ให้ความช่วยเหลือ ซึ่งตั้งอยู่ในหลายพื้นที่ของรัฐควีนส์แลนด์ อีกทางหนึ่งด้วย

19 มกราคม 2554


ที่มา: ข่าวสารนิเทศ วันที่ 19 มกราคม 2554 กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ

วันจันทร์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2554

สถานทูตไทยในเม็กซิโกเตือนนักท่องเที่ยวไทย


สถานทูตไทยในเม็กซิโกเตือนนักท่องเที่ยวไทย

สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเม็กซิโกได้แจ้งข้อควรปฏิบัติและพึงระวังสำหรับนักท่องเที่ยวไทยดังนี้
1. ควรใช้บริการรถแท็กซี่โรงแรมหรือรถแท็กซี่โทรเรียก

2. หลีกเลี่ยงการเดินทางในที่เปลี่ยวยามวิกาลในเมืองใหญ่ หากจำเป็นให้เดินทางเป็นกลุ่มคณะ

3. โดยที่กรุงเม็กซิโกเป็นเมืองใหญ่และมีอัตราการเกิดอาชญากรรมค่อนข้างสูง จึงควรใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษหากเกิดอะไรให้ติดต่อสถานเอกอัครราชทูตไทยได้ทันที

4. ในกรณีที่จะเดินทางไปเมืองชายแดนต่างๆ ต้องนำหนังสือเดินทางและสำเนาหนังสือเดินทางติดตัวไปด้วยเสมอ

5. ควรพึงระวังในเรื่องสุขภาพ ในเรื่องปริมาณอ็อกซิเจนที่มีระดับต่ำ เนื่องจากกรุงเม็กซิโกและหลายๆเมืองในประเทศอยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลมาก และพึงระวังปัญหาโรคท้องร่วงจากการรับประทานอาหารที่ปรุงสุกนานแล้ว รวมทั้งผลไม้และไอศครีมที่ขายตามท้องถนน

สารแสดงความเสียใจต่อเหตุการณ์น้ำท่วมและดินถล่มที่บราซิล


สารแสดงความเสียใจต่อเหตุการณ์น้ำท่วมและดินถล่มที่บราซิล


ตามที่ได้มีฝนตกอย่างต่อเนื่องในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาในภูมิภาคแถบภูเขาของรัฐริโอ เดอจาเนโร ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมและแผ่นดินถล่มครั้งใหญ่ จนเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บเป็นจำนวนมาก นั้น

ในการนี้ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้มีสารแสดงความเสียใจต่อความสูญเสียดังกล่าวไปยังนาง Dilma Rousseff ประธานาธิบดีสหพันธ์สาธารณรัฐบราซิล ดังนี้

Begin.

Excellency,

It is with profound sadness that I have learnt of the recent massive scale of mudslide and flood that have caused a terrible loss of lives and tremendous damage to properties in the mountainous region of State of Rio de Janeiro of Brazil.

On behalf of the Government and people of Thailand, I wish to extend my sincere sympathy and condolences to Your Excellency and, through you, to the bereaved families of those who were affected by this disaster. I firmly believe that, under your able guidedance and the solidarity of the people of Brazil, the country will overcome and recovery from this period of difficulties very soon.

Accept, Excellency, the assurances of my highest consideration

Abhisit Vejjajiva
Prime Minister of the Kingdom of Thailand

Her Excellency
Mrs. Dilma Vana Rousseff,
President of the Federative Republic of Brazil,
BRASILIA.


End.

17 มกราคม 2554

ที่มา : ข่าวสารนิเทศ วันที่ 17 มกราคม 2554 กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ

สารแสดงความเสียใจต่อเหตุการณ์อุทกภัยในรัฐควีนส์แลนด์ของออสเตรเลีย


สารแสดงความเสียใจต่อเหตุการณ์อุทกภัยในรัฐควีนส์แลนด์ของออสเตรเลีย

ตามที่ได้เกิดพายุฝนตกหนักในรัฐควีนส์แลนด์ของประเทศออสเตรเลียอย่างต่อเนื่อง จนทำให้เกิดเหตุอุทกภัย ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่รุนแรงที่สุดนับตั้งแต่ พ.ศ. 2516 ส่งผลให้ประชาชนเป็นจำนวนมากต้องอพยพออกจากบ้านพักชั่วคราว รวมถึงมีผู้เสียชีวิตด้วย นั้น

ในการนี้ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี และนายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้มีสารแสดงความเสียใจต่อความสูญเสียดังกล่าวไปยังนายกรัฐมนตรีออสเตรเลียและมุขมนตรีรัฐควีนส์แลนด์ ตามลำดับ ดังนี้

1. สารแสดงความเสียใจของนายกรัฐมนตรีถึงนายกรัฐมนตรีออสเตรเลีย

BEGIN

Excellency,


I am deeply saddened upon learning of the flood disaster in the state of Queensland that has caused tragic loss of lives and extensive damage throughout the state including the city of Brisbane.

I wish to convey our heartfelt condolences to you and, through you, to the bereaved families of the victims of this natural disaster and to the people of Australia. The Royal Thai Government stands ready to provide any assistance we can to Australia as close friends do. Our thoughts and prayers remain with you and the Australian people during this difficult time.

Accept, Excellency, the renewed assurances of my highest consideration.


Abhisit Vejjajiva
Prime Minister of the Kingdom of Thailand


END.


2. สารแสดงความเสียใจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศถึงมุขมนตรีรัฐควีนส์แลนด์

BEGIN

Excellency,


I have learnt with deepest sorrow of the flood disaster that has led to tragic loss of lives and widespread destruction in the state of Queensland including your electorate, Griffith.

I would like to take this opportunity to extend to you and, through you, to the people of Queensland our heartfelt condolences and sympathy for this unfortunate calamity. The Royal Thai Government stands ready to provide support and any possible assistance to the people of Queensland.

Accept, Excellency, the assurances of my highest consideration.


Kasit Piromya
Minister of Foreign Affairs of the Kingdom of Thailand


END.

17 มกราคม 2554


ที่มา: ข่าวสารนิเทศ วันที่ 17 มกราคม 2554 กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ

โฆษกกระทรวงการต่างประเทศชี้แจงกรณีศาลกัมพูชาไม่อนุญาตให้ประกันตัวคนไทยอีก 5 คน

นายธานี ทองภักดี
อธิบดีกรมสารนิเทศ
โฆษกกระทรวงการต่างประเทศ




โฆษกกระทรวงการต่างประเทศชี้แจงกรณีศาลกัมพูชาไม่อนุญาตให้ประกันตัวคนไทยอีก 5 คน



เมื่อวันที่ 14 มกราคม 2554 นายธานี ทองภักดี อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนว่า สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงพนมเปญ รายงานว่า ศาลกัมพูชาไม่อนุญาตให้มีการประกันตัวคนไทยอีก 5 คน โดยในชั้นนี้ยังไม่ทราบเหตุผล แต่จากการประเมินคาดว่า คนไทยทั้ง 2 คนที่ได้รับการประกันตัวก่อนหน้านี้เป็นเพราะเหตุผลด้านสุขภาพและด้านมนุษยธรรม อย่างไรก็ดี ทนายความชาวกัมพูชาจะยื่นอุทธรณ์โดยทันที ซึ่งหวังว่าจะทราบผลภายในสัปดาห์หน้า

สำหรับความคืบหน้าด้านอื่น ๆ นั้น โฆษกกระทรวงการต่างประเทศกล่าวว่า เมื่อวันที่ 13มกราคม 2554 กลุ่มที่ปรึกษาด้านกฎหมายของกลุ่มเครือข่ายคนไทยหัวใจรักชาติ นำโดยนายการุณ ใสงาม ได้เข้าพบกับนางนฤมล จิตรวะรัตนา ที่ทำเนียบเอกอัครราชทูต ณ กรุงพนมเปญ และใช้เวลาพูดคุยประมาณ 1 ชั่วโมง นอกจากนี้ ทางการกัมพูชายังเห็นชอบในหลักการให้นายการุณ ใสงาม และคณะเข้าเยี่ยมคนไทยอีก ๕ คนแล้ว ขณะนี้อยู่ระหว่างการประสานเรื่องวันและเวลา ทั้งนี้ จนถึงขณะนี้ ศาลยังไม่ได้นัดเวลาว่าจะไต่สวนคดีเพิ่มเติมหรือพิจารณาคดีเมื่อใด

ในชั้นนี้ ทนายความชาวกัมพูชาและคณะของนายการุณฯ ยังไม่ได้มีโอกาสได้พูดคุยกัน เนื่องจากทนายความชาวกัมพูชายังไม่สะดวก ส่วนเรื่องที่คณะของนายการุณฯ จะเข้ามาเป็นทนายร่วมในการให้คำปรึกษาในศาลแก่คนไทยนั้น เป็นเรื่องที่คณะของนายการุณฯ จะต้องยื่นเรื่องต่อสภาทนายความของกัมพูชา ทั้งนี้ หากฝ่ายกัมพูชาให้ความเห็นชอบก็น่าจะดำเนินการต่อไปได้

14 มกราคม 2554





ที่มา : ข่าวสารนิเทศวันที่ 14 มกราคม 2554 กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ

กระทรวงการต่างประเทศแจ้งความคืบหน้ากรณีคนไทย 7 คน


กระทรวงการต่างประเทศแจ้งความคืบหน้ากรณีคนไทย 7 คน


เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2554 นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ชี้แจงและรายงานความคืบหน้าเกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือคนไทย 7 คน สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้

1. ต่อข้อกล่าวหาที่ว่า กลุ่มนักกฎหมายคนไทยที่เดินทางไปกรุงพนมเปญไม่ได้เข้าเยี่ยมคนไทย 7 คน และไม่ได้รับการประสานให้พบกับทนายความชาวกัมพูชา เพราะสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงพนมเปญ ไม่ให้ความร่วมมือ นั้น ขอเรียนว่า เอกอัครราชทูต ณ กรุงพนมเปญได้พบกลุ่มนักกฎหมายคนไทยตั้งแต่วันแรกที่เดินทางไปถึงและยินดีให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่ อย่างไรก็ดี จากการประสานงานกับฝ่ายกัมพูชาเพื่อขออนุญาตให้กลุ่มนักกฎหมายคนไทยได้เข้าเยี่ยม ฝ่ายกัมพูชาชี้แจงว่า คงไม่สามารถอนุญาตให้กลุ่มนักกฎหมายคนไทยเข้าเยี่ยมได้ เนื่องจากตามปกติแล้ว ในระหว่างที่คดียังอยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของศาล ทางการกัมพูชาจะอนุญาตให้เฉพาะเจ้าหน้าที่กงสุลและทนายความของจำเลยเข้าพบจำเลยได้เท่านั้น แต่ที่ผ่านมาให้อนุญาตให้นำญาติเข้าเยี่ยมเป็นกรณีพิเศษเนื่องจากคำนึงถึงความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกัน ส่วนทนายความชาวกัมพูชานั้นยังไม่สะดวกที่จะพบกับกลุ่มนักกฎหมายคนไทยในขณะนี้


2. เกี่ยวกับความคืบหน้าในการพิจารณาคดี เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2554 นายวีระ สมความคิด และนางสาวราตรี พิพัฒนาไพบูรณ์ ได้เดินทางไปที่ศาล เพื่อไต่สวนเพิ่มเติมตามข้อกล่าวหา “พยายามประมวลข่าวสารซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อการป้องกันประเทศ” แต่นายวีระฯ ใช้สิทธิขอไม่ให้การต่อศาลและจะให้การต่อหน้าล่ามที่ฝ่ายไทยจัดหาให้เท่านั้น ซึ่งสถานเอกอัครราชทูตฯ พร้อมให้การสนับสนุนในการจัดหาล่ามให้ และอยู่ระหว่างการประสานกับฝ่ายกัมพูชาว่าจะอนุญาตให้ใช้ล่ามจากฝ่ายไทยในศาลของกัมพูชาได้หรือไม่

3. สำหรับคนไทยอีก 5 คน ขณะนี้อยู่ระหว่างรอผลการพิจารณาว่าจะให้ประกันตัวหรือมีการพิจารณาคดีเมื่อใด ซึ่งหวังว่าจะทราบภายในสัปดาห์นี้ และหากดำเนินการได้ ก็จะดำเนินการไปก่อน ส่วนกรณีของนายวีระฯ กับนางสาวราตรีฯ คงต้องใช้เวลาในการพิจารณามากขึ้น ทั้งนี้ หลังจากเสร็จสิ้นกระบวนการยุติธรรมและทราบผลการพิพากษาแล้ว รัฐบาลไทยจะต้องพูดคุยกับรัฐบาลกัมพูชาเพื่อให้การช่วยเหลือคนไทย 7 คน ให้กลับมาโดยเร็วที่สุด

4. ต่อข้อซักถามที่ว่ามีความพยายามที่จะแลกตัวผู้ต้องหาหรือไม่นั้น กระบวนการส่งตัวผู้ต้องหามีการปฏิบัติอยู่แล้ว กล่าวคือ เมื่อครบวาระก็ส่งตัวกลับไป แต่คงไม่สามารถเอามาผูกโยงกับกรณีนี้ได้ และยังไม่ได้คำนึงถึงเรื่องนี้ เพราะต้องพิจารณาถึงข้อกฎหมายของไทยว่ามีความสอดคล้องกับการดำเนินการครั้งนี้อย่างไร รวมไปถึงกฎหมายของกัมพูชาที่เกี่ยวข้องกับการแลกตัวผู้ต้องหาด้วย


14 มกราคม 2554


ที่มา: ข่าวสารนิเทศ วันที่ 14 มกราคม 2554 กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ

แรงงานต่างชาติในสิงคโปร์ต้องขอ exit visa เมื่อยกเลิกสัญญาการจ้างงานในสิงคโปร์


แรงงานต่างชาติในสิงคโปร์ต้องขอ exit visa เมื่อยกเลิกสัญญาการจ้างงานในสิงคโปร์

สถานเอกอัครราชทูต ณ สิงคโปร์รายงานว่า กฎหมายของสิงคโปร์กำหนดให้แรงงานต่างชาติที่ประสงค์จะยกเลิกการจ้างงานในสิงคโปร์และจะเดินทางออกนอกสิงคโปร์ไม่ว่าจะเป็นทางบกหรือทางอากาศจำเป็นต้องขอ exit visa หากแรงงานต่างชาติละเลยหรือหลงลืมและเดินทางออกนอกสิงคโปร์โดยไม่แจ้งติดต่อขอ exit visa กับทางการสิงคโปร์จะถือว่าละเมิดกฎหมายการเข้าออกเมืองของสิงคโปร์

กระทรวงแรงงานสิงคโปร์ (Ministry of Manpower: MoM)ซึ่งหน่วยงานปฏิบัติตามกฎหมายดังกล่าว จะทำหน้าที่ยดเลิกบัตรอนุญาตทำงานแรงงานต่างชาติในสิงคโปร์ และแจ้งกฎระเบียบแนวทางปฏิบัติให้นายจ้างสิงคโปร์ปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด รวมทั้งแจ้งให้สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองสิงคโปร์ทราบข้อมูลการยกเลิกการว่าจ้างแรงงานต่างชาติ เพื่อให้สำนักงานดังกล่าแรงงานต่างชาติในสิงคโปร์ต้องขอ exit visa เมื่อยกเลิกสัญญาการจ้างงานในสิงคโปร์วบันทึกประวัติการเดินทางเข้าออกของแรงงานต่างชาติไว้เป็นหลักฐานในแต่ละครั้งทั้งนี้ตามกฎหมายนายจ้างสิงคโปร์เป็นผู้มีหน้าที่ดำเนินการขอมีบัตรอนุญาตทำงานและยกเลิกสัญญาจ้างงานของแรงงานต่างชาติ

ขั้นตอนในการขอ exit visa โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายหรือค่าธรรมเนียมมี 2 วิธีดังนี้
1. ติดต่อด้วยตนเอง
- แรงงานต่างชาติสามารถติดต่อหน่วยงานกระทรวงแรงงาน (MoM) เพื่อขอ exit visa ด้วยตนเอง โดยนำเอกสารไปยื่นประกอบได้แก่ 1) หนังสือเดินทาง 2) บัตรอนุญาตทำงาน และ 3) จดหมายจากบริษัท/นายจ้างสิงคโปร์ ขอยกเลิกการว่าจ้างงานในสิงคโปร์ หลังจากนั้นกระทรวงแรงงาน(MoM) จะประทับตรายกเลิกวีซ่าอนุญาตการทำงานลงในหนังสือเดินทางของแรงงานต่างชาติทันที อย่างไรก็ตาม กระทรวงแรงงาน (MoM)อนุญาตให้แรงงานต่างชาตินั้นสามารถพำนักต่อในสิงคโปร์ในฐานะนักท่องเที่ยวได้ไม่เกิน 30 วัน (ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองสิงคโปร์) ทั้งนี้แรงงานต่างชาติต้องคืนบัตรอนุญาตทำงานและเอกสารต่างๆ ที่ทางการสิงคโปร์ออกให้สำหรับเป็นการอนุญาตให้ทำงานอย่างถูกกฎหมายในสิงคโปร์ให้แก่กระทรวงแรงงาน (MoM)

- ขั้นตอนนี้ใช้ระยะเวลา 1 วัน

2. นายจ้างสิงคโปร์ติดต่อทางระบบออนไลน์
- กระทรวงแรงงานเปิดให้บริการนายจ้างแจ้งยกเลิกสัญญาการจ้างงานผ่านทางอินเตอร์เนตได้ โดยหลังจากนายจ้างสิงคโปร์แจ้งยกเลิกสัญญาผ่านระบบแล้ว นายจ้างต้องพาแรงงานต่างชาติพร้อมนำเอกสาร 1) บัตรอนุญาตทำงาน และ 2) จดหมายจากบริษัท/นายจ้างสิงคโปร์ขอยกเลิกสัญญาการว่าจ้างงานในสิงคโปร์ไปติดต่อกระทรวงแรงงานภายใน 7 วัน เพื่อให้กระทรวงแรงงานเปลี่ยนประเภทการพำนักในสิงคโปร์ในหนังสือเดินทางของแรงงานต่างชาติเช่นเดียวกับข้อ 1 กล่าวคือแรงงานต่างชาติจะกลายเป็นนักท่องเที่ยวและสามารถพำนักอยู่ในสิงคโปร์ได้ไม่เกิน 30 วัน (ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองสิงคโปร์)

- ขั้นตอนนี้ใช้ระยะเวลาขึ้นอยู่กับการดำเนินงานของนายจ้าง

ผู้สนใจสามารถเข้าไปสืบค้นหาอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์กระทรวงแรงงานสิงคโปร์ (MoM) ที่ http://www.mom.gov.sg/

วันอาทิตย์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2554

เอกอัครราชทูตไทยเยี่ยมนักโทษที่เรือนจำโพนต้อง สปป.ลาว

นายวิทวัส ศรีวิหค เอกอัครราชทูต ณ เวียงจันทน์


เอกอัครราชทูตไทยเยี่ยมนักโทษที่เรือนจำโพนต้อง สปป.ลาว

เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2554 นายวิทวัส ศรีวิหค เอกอัครราชทูต ณ เวียงจันทน์ และคณะเจ้าหน้าที่สถานเอกอัครราชทูตได้เข้าเยี่ยมนักโทษชาวไทยที่เรือนจำโพนต้อง นครหลวงเวียงจันทน์ โดยนำสิ่งของ เครื่องใช้ อาหารสำเร็จรูป ยารักษาโรค และผ้าห่มไปมอบให้นักโทษด้วย เนื่องจากขณะนี้ที่ประเทศลาวมีอากาศหนาวเย็น

ปัจจุบันมีนักโทษชาวไทยจำนวน 28 คน (นักโทษหญิง 6 คน นักโทษชาย 22 คน) โดยส่วนใหญ่ต้องคดียาเสพติด รองลงมาได้แก่คดีการเมือง ฉ้อโกงและประทุษร้าย

ในโอกาสดังกล่าว เอกอัครราชทูตวิทวัสฯ ได้ให้โอวาทแก่นักโทษให้ประพฤติตัวตามกฎระเบียบของเรือนจำ ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์เพื่อความสงบในจิตใจ และให้กำลังใจนักโทษในการเตรียมตัวตั้งต้นชีวิตใหม่ภายหลังจากพ้นโทษแล้ว

เอกอัครราชทูตวิทวัสฯ ได้รับแจ้งจากผู้บัญชาการเรือนจำโพนต้องว่า ทางเรือนจำกำลังก่อสร้างห้องอ่านหนังสือแต่ยังขาดแคลนอุปกรณ์และหนังสือ ซึ่งเอกอัครราชทูตวิมวัสได้รับปากที่จะหาทางช่วยเหลือเรือนจำตามความเหมาะสมต่อไป

เรือนจำโพนต้องเป็นสถานที่กักขังนักโทษต่างชาติโดยเฉพาะ โดยนักโทษไทยมีจำนวนมากที่สุด รองลงมาได้แก่นักโทษจากเวียดนาม จีน พม่า ยุโรปและแอฟริกาบางประเทศ

วันศุกร์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2554

สถานทูตไทยที่ฟิลิปปินส์ออกประกาศเตือนภัยฝนตกหนักและน้ำท่วม


สถานทูตไทยที่ฟิลิปปินส์ออกประกาศเตือนภัยฝนตกหนักและน้ำท่วม

ข้อแนะนำในการระมัดระวังตัวจากภัยธรรมชาติ


โดยที่ในขณะนี้ พื้นที่บางส่วนของประเทศฟิลิปปินส์โดยเฉพาะในเขตพื้นที่ Southern Luzon, the Visayas และMindanao กำลังประสบภัยธรรมชาติจากฝนตกหนักและน้ำท่วม ซึ่งศูนย์บริหารจัดการและการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัดแห่งชาติฟิลิปปินส์ (National Disaster Risk Reduction and Management Coumcil: NDRRM) ได้ประมวลสรุปสถานการณ์ดังนี้
1. ผู้เสียชีวิตประมาณ 40 ราย และความเสียหายในภาคการเกษตรประมาณ 900 ล้านเปโซ


2. ประชาชนที่ได้รับผลกระทบในขณะนี้ 1, 294, 039 คน หรือ 248, 223 ครอบครัว


3. ประชาชนจำนวน 22,505 คน หรือ 4,839 ครอบครัว ได้ย้ายหนีภัยไปพำนักชั่วคราวที่ศูนย์อพยพฉุกเฉิน 83 แห่งในเขตต่างๆ


เพื่อความปลอดภัยของชุมชนไทยและการหลีกเลี่ยงภัยอันตรายจากภาวะฝนตกติดต่อกันและน้ำท่วม สถานเอกอัครราชทูตจึงขอให้ข้อสนเทศและแจ้งเตือนกี่ยวกับการระมัดระวังตนเองจากภัยธรรมชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องการเดินทางและการคมนาคมทั้งทางบก เรือและอากาศ การเก็บรักษาเอกสารต่างๆ อาทิ หนังสือเดินทาง สูติบัตร บัตรประชาชน ไม่ให้ชำรุดเสียหาย ตลอดจนการเฝ้าระวังภัยต่างๆที่อาจเกิดขึ้นได้หลังน้ำท่วม อาทิ ดิน/โคลนถล่ม น้ำท่วมฉับพลันและโรคภัยไข้เจ็บ อาทิโรคไข้เลือดออกและโรคฉี่หนูเป็นต้น

สถานเอกอัครราชทูตฯ ขอความร่วมมือชุมชนชาวไทยและครอบครัวในฟิลิปปินส์ กรุณาติดตามข่าวสารการพยากรณ์อากาศและข้อแนะนำ จากทางการฟิลิปปินส์อย่างใกล้ชิดและในกรณีที่ตนเอง เพื่อนฝูงและญาติพี่น้องประสบเหตุภัย ขอความกรุณาแจ้งสถานเอกอัครราชทูตฯ ด่วนที่สุดโดยผ่านข้อมูลทั้งทางโทรศัพท์ ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (email) ส่งข้อความผ่านโทรศัพท์มือถือ (text) หรือโทรสาร (fax)

จึงเรียนมาเพื่อประชาสัมพันธ์โดยทั่วกัน

สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงมะนิลา
13 มกราคม 2554

วันพฤหัสบดีที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2554

ประธานคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา (ฝ่ายไทย) ได้เข้าเยี่ยมนายวาร์ กิม ฮง รัฐมนตรีอาวุโสรับผิดชอบกิจการชายแดน ประธานคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมกัมพูช

นายอัษฎา ชัยนาม (ซ้ายมือ) ทักทายกับนายวาร์ กิม ฮง ที่สำนักคณะรัฐมนตรีกัมพูชา กรุงพนมเปญเมื่อ 11 มกราคม 2554


ประธานคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา (ฝ่ายไทย) ได้เข้าเยี่ยมนายวาร์ กิม ฮง รัฐมนตรีอาวุโสรับผิดชอบกิจการชายแดน ประธานคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมกัมพูชา-ไทย (ฝ่ายกัมพูชา)

เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2554 เวลา 10.30 น. นายอัษฎา ชัยนาม ประธานคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา (ฝ่ายไทย) ได้เข้าเยี่ยมนายวาร์ กิม ฮง รัฐมนตรีอาวุโสรับผิดชอบกิจการชายแดน ประธานคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมกัมพูชา-ไทย (ฝ่ายกัมพูชา) ณ สำนักคณะรัฐมนตรีกัมพูชา กรุงพนมเปญ เพื่อทำความรู้จักในโอกาสที่เข้ารับตำแหน่งหน้าที่

ในระหว่างการพบปะครั้งนี้ ประธานคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องร่วมกันว่า งานการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนควรดำเนินการต่อไปเพื่อประโยชน์ของทั้งสองฝ่าย และเห็นพ้องว่า ในกรณีที่มีปัญหาที่เกี่ยวเนื่องกับเขตแดน ให้ประธานคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมของทั้งสองประเทศได้มีการติดต่อกันโดยตรงตามมติการประชุมคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วม ครั้งที่สอง และให้มีการติดต่อระหว่างกันได้โดยตรง

ที่มา: เว็บไซต์ กระทรวงการต่างประเทศ http://www.mfa.go.th/

เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศระบุคนไทย ๒ คน ได้รับการประกันตัวแล้ว

นายชวนนท์ อินทรโกมารสุต เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ


เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศระบุคนไทย ๒ คน ได้รับการประกันตัวแล้ว


เมื่อวันที่ 13 มกราคม 2554 นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนว่า วันนี้ (13 ม.ค.) เวลาประมาณ 10.30 น. ได้ทราบว่า ศาลกัมพูชาอนุญาตให้ประกันตัวคนไทย 2 คน คือ นายพนิช วิกิตเศรษฐ์ และนางนฤมล จิตรวะรัตนา โดยมีเงื่อนไขในการประกันตัว ดังนี้ (1) ต้องวางเงินประกัน คนละ 1 ล้านเรียล (ประมาณ 7,500 บาท) ซึ่งสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงพนมเปญ ได้ทดรองจ่ายไปให้ก่อน (2) ห้ามเดินทางออกนอกพรมแดนแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา (ซึ่งสถานเอกอัครราชทูตฯ ได้ไปรับตัวบุคคลทั้งสองมาพำนักอยู่ที่ทำเนียบเอกอัครราชทูต ณ กรุงพนมเปญแล้ว) และ (3) ให้ทั้งสองคนเดินทางมาที่ศาลทุกครั้งที่ถูกเรียกตัว

ส่วนคนไทยอีก 5 คนที่เหลือ ซึ่งได้มีการยื่นประกันตัวไปแล้วนั้น ต้องรอดูต่อไปว่า ศาลจะอนุญาตให้ประกันตัวหรือไม่ เนื่องจากเป็นการพิจารณาเป็นรายบุคคล จึงอยู่ที่ดุลยพินิจของศาลและขึ้นอยู่กับคำให้การของแต่ละคน

ที่มา : ข่าวสารนิเทศ วันที่ 13 มกราคม 2554 กรมสารนิเมศ กระทรวงการต่างประเทศ

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศให้สัมภาษณ์กรณีคนไทย 7 คน

นายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ



รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศให้สัมภาษณ์กรณีคนไทย 7 คน

เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2554 นายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ให้สัมภาษณ์ผ่านรายการของนางฟองสนาน จามรจันทร์ ทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย (FM 92.5) และรายการ “เจาะลึก ครม.” ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (ช่อง NBT) เกี่ยวกับกรณีคนไทย 7 คน ถูกเจ้าหน้าที่กัมพูชาจับกุม โดยสรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้

1. กระทรวงการต่างประเทศได้ให้ความช่วยเหลือ 7 คนไทยเต็มที่ โดยสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงพนมเปญ ได้จัดหาทนายความให้กับคณะที่ถูกจับกุม ประสานกับเรือนจำเรื่องการจัดหาอาหาร เครื่องใช้ส่วนตัว ยารักษาโรค และการดำเนินการขออนุญาตให้ญาติเข้าเยี่ยม ซึ่งเป็นงานด้านกงสุลที่เจ้าหน้าที่ต้องดำเนินการอย่างเต็มที่ตลอดเวลา โดยไม่ได้หยุดพัก และจะดำเนินการต่อไป นอกจากนี้ ได้จัดเวรให้ข้าราชการของสถานเอกอัครราชทูตฯ เข้าไปดูแล และประสานกับทนายความอย่างใกล้ชิด จึงขอปฏิเสธโดยสิ้นเชิงต่อข้อกล่าวหาของกลุ่มคนไทยหัวใจรักชาติที่ว่า สถานเอกอัครราชทูตฯ ไม่ให้การดูแลและกีดกัน ซึ่งเป็นข้อกล่าวหาที่ไม่ได้สะท้อนความจริง

2. บริเวณที่คนไทย 7 คนถูกจับกุมมีถนนที่คู่ขนานกันคือ ถนนศรีเพ็ญ และถนนเค 5 ซึ่งประเทศไทยและกัมพูชาแบ่งพื้นที่กันดูแล โดยเป็นที่เข้าใจกันของชาวบ้านในพื้นที่ที่ว่าบริเวณใดประเทศใดเป็นผู้ดูแล และมีการไปมาหาสู่ของชาวบ้านมากว่า 30 ปีแล้ว ขณะเดียวกัน หากขีดเส้นตรงระหว่างหลักเขตแดนที่ 46 และ 47 และมีการทำรังวัดก็จะเห็นว่า คนไทยทั้ง ๗ คนได้ล้ำแนวเส้นตรงระหว่างหลักเขตแดนที่ 46 และ 47 และเมื่อเทียบดูเทียบกับแผนที่ชุด L7018 ซึ่งเป็นแผนที่ที่ฝ่ายไทยใช้เป็นแผนที่ปฏิบัติการ ก็ค่อนข้างจะตรงกับแนวเส้นตรงที่ลากระหว่างหลักเขตแดนทั้งสอง

3. โดยปกติการเข้าพื้นที่บริเวณชายแดนในลักษณะเช่นนี้ ควรมีการแจ้งฝ่ายความมั่นคงในพื้นที่ก่อน อย่างไรก็ดี คณะของนายพนิชฯ ไม่ได้แจ้งให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงล่วงหน้า ทำให้เมื่อเกิดการจับกุมขึ้น กว่าที่เจ้าหน้าที่ฝ่ายไทยจะทราบเรื่อง เรื่องก็ไปถึงกรุงพนมเปญแล้ว และพ้นจากเขตอำนาจของเจ้าหน้าที่ระดับพื้นที่ของกัมพูชา

4. ต่อข้อถามที่ว่า การที่เจ้าหน้าที่กัมพูชาจับกุมคนไทยในบริเวณที่เขตแดนยังไม่ชัดเจน ถือเป็นการกระทำผิดอนุสัญญาเจนีวาหรือไม่นั้น รัฐมนตรีว่าการฯ กล่าวว่า การอ้างถึงอนุสัญญาเจนีวาเป็นการอ้างลอย ๆ และไม่มีหลักกฎหมายมารองรับ อนุสัญญาเจนีวาเองก็มีหลายฉบับ แต่สำหรับเขตแดนไทย-กัมพูชานี้ และต้องยึดบันทึกความเข้าใจระหว่างไทยกับกัมพูชา (MOU) ปี 2543 อนุสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ปี ค.ศ.1904 และสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศสปี ค.ศ.1907 ซึ่งเป็นเอกสารระหว่างไทยกับกัมพูชา ที่ใช้เป็นกรอบในการเจรจา และมีคณะกรรมาธิการจัดทำหลักเขตแดนทางบกร่วมไทย-กัมพูชา (JBC) ทำงานอยู่ภายใต้กรอบเหล่านี้

5. รัฐมนตรีว่าการฯ ขอความร่วมมือทุกฝ่ายอย่าได้ดึงเอาเรื่องของกัมพูชามาเป็นเรื่องของการเมืองภายในประเทศ เพราะจะทำให้บทบาทของประเทศไทยในอาเซียนไม่โดดเด่น และไม่ว่าอย่างไรก็ดี ทั้งสองประเทศควรร่วมมือกันในด้านต่าง ๆ ต่อไป เพื่อประโยชน์ของทั้งสองประเทศ การจะใช้กำลังทหารรบกัน ตามที่มีบางกลุ่มเรียกร้องนั้น ไม่เป็นประโยชน์ต่อฝ่ายใดเลย

6. การพิจารณาคดีของศาลกัมพูชาในครั้งนี้ เป็นคดีที่มีการฟ้องร้องคนไทย 7 คน ไม่ได้เป็นการฟ้องประเทศไทย จึงต้องแยกประเด็นกันระหว่างเรื่องของการพิจารณาคดีกับการเจรจาเขตแดน ซึ่งการเจรจายังคงดำเนินอยู่และยังไม่แล้วเสร็จ ดังจะเห็นได้ว่า มีกรอบกลไก JBC ซึ่งยังเดินหน้าอยู่ นอกจากนี้ กระทรวงการต่างประเทศได้มีหนังสือแจ้งกระทรวงการต่างประเทศกัมพูชายืนยันว่า จุดที่กัมพูชาแจ้งว่าจับคนไทยไม่มีผลกระทบต่องานของ JBC ในขณะเดียวกัน เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2554 นายอัษฎา ชัยนาม อดีตเอกอัครราชทูต ซึ่งทำหน้าที่เป็นประธาน JBC ฝ่ายไทยได้เดินทางไปยังกรุงพนมเปญ เพื่อเข้าเยี่ยมประธาน JBC ฝ่ายกัมพูชาคู่ขนานไปกับการให้ความช่วยเหลือคนไทย 7 คน

7. เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2554 คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้กระทรวงการต่างประเทศเป็นศูนย์กลางในการประสานงานและให้ข้อมูลในกรณีคนไทย 7 คน เพราะการที่มีหลายฝ่ายออกมาให้ข้อมูลในเรื่องดังกล่าว ทำให้เกิดการตีความแตกต่างกันไปและไม่อยากให้มีการรายงานข่าวที่อาจก่อให้เกิดความเข้าใจผิดกันระหว่างสองประเทศ เพราะสิ่งสำคัญ คือ ต้องคำนึงถึงความปลอดภัยและการดูแลทุกข์สุขของคนไทยทั้ง 7 คน เพื่อให้มีบรรยากาศในการดำเนินการที่ดี เป็นไปอย่างราบรื่น และให้คดีถึงที่สุดโดยเร็ว เพราะเป้าหมายสูงสุด คือ การนำคนไทยกลับมา ทั้งนี้ ขอยืนยันว่า กระทรวงการต่างประเทศหรือรัฐบาลไม่มีเหตุผลที่จะต้องปิดบังข้อมูลและไม่ได้มีเป้าหมายทางการเมืองใด ๆ นอกจากนี้ การออกมาชี้แจงในกรณีที่มีการให้ข้อมูลที่ไม่ถูกต้องและไม่สะท้อนข้อเท็จจริงก็ไม่ได้มุ่งที่จะมาหักล้างกัน ส่วนเรื่องของความมั่นคงตลอดแนวชายแดนก็ให้เป็นหน้าที่ของกระทรวงกลาโหมและกระทรวงมหาดไทยที่จะต้องดูแลความสงบเรียบร้อย และให้ข้อมูลแก่ประชาชนให้ระมัดระวังหากจะเดินทางเข้าไปพื้นที่

ที่มา : ข่าวสารนิเทศ วันที่ 13 มกราคม 2554 กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ

เอกอัครราชทูต ณ กรุงพนมเปญ ให้สัมภาษณ์สื่อเกี่ยวกับความคืบหน้ากรณีคนไทย ๗ คน

นายประศาสน์ ประสาศน์วินิจฉัย เอกอัครราชทูต ณ กรุงพนมเปญ


เอกอัครราชทูต ณ กรุงพนมเปญ ให้สัมภาษณ์สื่อเกี่ยวกับความคืบหน้ากรณีคนไทย ๗ คน


เมื่อวันที่12 มกราคม 2554 นายประศาสน์ ประศาสน์วินิจฉัย เอกอัครราชทูต ณ กรุงพนมเปญ ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนที่สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงพนมเปญ เกี่ยวกับความคืบหน้าในการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการกงสุลแก่คนไทย ๗ คนที่ถูกจับกุม ทั้งด้านการอำนวยความสะดวกแก่ญาติที่เดินทางมาเยี่ยม ซึ่งได้ประสานให้ญาติได้เข้าเยี่ยมทั้ง 7 คนแล้ว จำนวน 5 ครั้ง การประสานขอความอนุเคราะห์ทางการฝ่ายกัมพูชาในการปรับปรุงสภาพห้องขัง และการจัดส่งอาหารเป็นกรณีพิเศษ วันละ 2 ครั้ง การจัดยารักษาโรค เครื่องนุ่งห่ม และสิ่งของจำเป็นให้แก่คนไทย 7 คน นอกจากนี้ ยังให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับการประสานงานด้านกฎหมายเพื่อช่วยเหลือคนไทย เช่น การจัดหาทนายความ การติดตามความคืบหน้าของคดีอย่างใกล้ชิด การออกหนังสือรับรองประกอบการยื่นขอประกันตัว และการติดตามผลกรณีอัยการเพิ่มข้อกล่าวหาแก่คนไทย 2 คน ดังรายละเอียดปรากฏตามเอกสารแนบ

เอกอัครราชทูตฯ กล่าวอีกว่า สถานเอกอัครราชทูตฯ ไม่สามารถเข้าไปเกี่ยวข้องกับรูปคดีได้ภารกิจส่วนใหญ่เป็นการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและการติดตามความคืบหน้าต่าง ๆ ของการพิจารณาคดีเท่านั้น พร้อมย้ำด้วยว่า นับตั้งแต่เกิดเหตุการณ์จับกุมคนไทย 7 คน จนถึงขณะนี้ เหตุการณ์ดังกล่าวมิได้กระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับกัมพูชาในภาพรวม การติดต่อระหว่างประเทศทั้งสอง รวมทั้งการติดต่อระหว่างสถานเอกอัครราชทูตกับทางการกัมพูชายังคงเป็นไปตามปกติ

ที่มา: ข่าวสารนิเทศ วันที่ 13 มกราคม 2554 กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ

กระทรวงการต่างประเทศชี้แจงกรณีการให้ความช่วยเหลือคนไทย 7 คน และเขตแดนไทย-กัมพูชา

นายชวนนท์ อินทรโกมาลสุต เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ



กระทรวงการต่างประเทศชี้แจงกรณีการให้ความช่วยเหลือคนไทย 7 คน และเขตแดนไทย-กัมพูชา


เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2554 นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนต่อกรณีการให้ความช่วยเหลือคนไทย 7 คน และเขตแดนไทย-กัมพูชา สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้

1. ที่ตั้งของ Site 2 ของสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) เป็นคนละพื้นที่กันกับบ้านหนองจาน กล่าวคือ เมื่อปี 2554 เวียดนามพยายามเข้าตีบ้านหนองจาน ทำให้สำนักงานข้าหลวงใหญ่ฯ ต้องเคลื่อนย้ายผู้อพยพจากบ้านหนองจานไปยัง site 2 ซึ่งห่างไป 30 กิโลเมตร โดยขอใช้พื้นที่ของประเทศไทย

2. พิกัดที่มีการกล่าวอ้างว่าคนไทย ๗ คนถูกจับในพื้นที่ประเทศไทยนั้น เป็นพิกัดที่ไม่ตรงกับข้อมูลที่ได้รับเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2553 จากการที่เจ้าหน้าที่เดินทางไปดูจุดสุดท้ายที่ทั้ง 7 คนถูกจับกุม ซึ่งเมื่อกระทรวงฯ รับทราบข้อเท็จจริงแล้ว จึงได้แจ้งฝ่ายกัมพูชาทราบ และย้ำว่าคนไทยทั้ง 7 คน ไม่ได้มีเจตนารุกล้ำเขตแดน เป็นเพียงการพลัดหลงเข้าไป ซึ่งน่าจะสามารถพูดคุยกันได้

3. สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงพนมเปญ ได้เข้ามาให้ความช่วยเหลือคนไทยทั้ง 7 คนอย่างเต็มที่ และประสานให้ญาติได้เข้าเยี่ยมแล้ว อย่างไรก็ดี การจะเข้าพบคนไทยทั้ง 7 คนของกลุ่มเครือข่ายประชาชนหัวใจรักชาติ ต้องประสานกับทนายความชาวกัมพูชา ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบและได้รับมอบอำนาจเต็มในการพิจารณาความเหมาะสม และ สอท.ฯ ไม่ได้มีอำนาจตัดสินในเรื่องนี้ ในส่วนของความคืบหน้าในการพิจารณาคดีนั้น ในชั้นนี้ ยังไม่มีข้อมูลเพิ่มเติม และการจะยื่นประกันตัวหรือไม่นั้น อาจรอดูสถานการณ์อีก 1-2 วันก่อน เพราะหากยื่นประกันตัวจะต้องใช้เวลาประมาณ 5วันในการพิจารณา

ที่มา: ข่าวสารนิเทศวันที่ 13 มกราคม 2554 กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศหารือกับฝ่ายกัมพูชากรณีคนไทย 7 คนถูกควบคุมตัว

นายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเข้าเยี่ยมคนไทย 7 คน ที่เรือนจำเพรซอร์ กรุงพนมเปญ
การประชุมระหว่างคณะผู้แทนฝ่ายไทยและกัมพูชาในวันเดียวกันเพื่อเจรจาเกี่ยวกับการจับกุมคนไทย 7 คนถูกฝ่ายกัมพูชาควบคุมตัว
นายฮอร์ นำฮง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและความร่วมมือระหว่างประเทศกัมพูชาต้อนรับนายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ 30 ธันวาคม 2553





รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศหารือกับฝ่ายกัมพูชากรณีคนไทยถูกควบคุมตัว



เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2553 นายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้เข้าพบและหารือกับ นายฮอร์ นัมฮง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและความร่วมมือระหว่างประเทศกัมพูชา กรณีคนไทย ๗ คนถูกฝ่ายกัมพูชาควบคุมตัว และได้ไปเยี่ยมคนไทยทั้ง ๗ ดังกล่าวที่เรือนจำเพรซอว์ ในการนี้ นายธานี ทองภักดี อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชน ดังนี้

1. รัฐมนตรีทั้งสองฝ่ายได้หารือเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น โดยรัฐมนตรีว่าการฯ ได้ย้ำว่า คณะดังกล่าวได้เดินทางไปตรวจสอบข้อมูลในพื้นที่ตามข้อร้องเรียนที่ได้รับจากชาวบ้าน โดยนายพนิช วิกิตเศรษฐ์ ได้เดินทางไปในฐานะ ส.ส. และกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาบันทึกการประชุม JBC ทั้งนี้ คณะบุคคลทั้ง 7 ดังกล่าว ไม่มีเจตนารุกล้ำกัมพูชาหรือมีเจตนาใด ๆ ที่จะดำเนินการในสิ่งที่ผิดกฎหมายของกัมพูชา แต่ได้พลัดหลงเข้าไปเนื่องจากไม่ทราบว่าเขตแดนอยู่ที่ใด

2. รัฐมนตรีว่าการฯ ได้ย้ำถึงแนวทางที่ทั้งสองฝ่ายได้เห็นพ้องกันว่า หากมีประชาชนล้ำเขตแดนโดยไม่มีเจตนา ก็ขอให้มีการประสานปล่อยตัวในระดับพื้นที่ในโอกาสแรก แต่โดยที่เรื่องนี้ได้เข้าสู่กระบวนการยุติธรรมของกัมพูชา ซึ่งฝ่ายไทยก็ให้ความเคารพต่อกระบวนการยุติธรรมดังกล่าว และหวังว่าจะมีการพิจารณาคดีโดยเร็ว โดยคำนึงถึงความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองประเทศ

3. ในระหว่างการเยือน รัฐมนตรีว่าการฯ ได้มีโอกาสไปเยี่ยมคนไทย 7 คนที่เรือนจำเพรซอว์ โดยทั้ง 7 คนมีขวัญและกำลังใจดี และได้รับการปฏิบัติที่ดีจากฝ่ายเรือนจำ โดยกระทรวงการต่างประเทศและสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงพนมเปญได้ประสานและให้ความช่วยเหลืออย่างเต็มที่ โดยการจัดหาทนายความเพื่อสู้คดีให้แล้ว รวมถึงได้จัดหาล่าม เครื่องใช้ส่วนตัวประจำวัน ยา เสื้อผ้า และอาหาร ไปให้คนไทยดังกล่าวด้วย พร้อมทั้ง กำลังประสานกับฝ่ายกัมพูชาในการนำญาติของคนไทยดังกล่าวมาเยี่ยมในโอกาสแรกต่อไป


ที่มา : ข่าวสารนิเทศ กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ วันที่ 30 ธันวาคม 2553

เอกอัครราชทูต ณ กรุงอาบูดาบี ให้การต้อนรับเสนาธิการทหารเรือ และเยี่ยมชมเรือหลวงสิมิลันที่ท่าเรือเมืองดูไบ

พล.ร.ต.ไชยยศ สุนทรนาค ผบ. หมู่เรือปรามปรามโจรสลัด (มปจ) และคณะ รวม 7 คน เข้าเยี่ยมคารวะนายสมชัย จรณะสมบูรณ์ เอกอัครราชทูต ณ กรุงอาบูดาบี ที่ทำเนียบเอกอัครราชทูต กรุงอาบูดาบี สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เมื่อ 11 ธันวาคม 2553
เอกอัครราชทูตสมชัยฯ และภริยาเลี้ยงอาหารกลางวันเป็นเกียรติแก่ ผบ. มปจ.และแลกเปลี่ยนของที่ระลึกภายหลังการเลี้ยงอาหารกลางวัน
เสนาธิการทหารเรือบนเรือหลวงสิมิลัน
นายทหารประจำเรือหลวงสิมิลันตั้งแถวแสดงความเคารพเสนาธิการทหารเรือ
นายสมชัย จรณะสมบูรณ์ เอกอัครราชทูต ณ กรุงอาบูดาบี ให้การต้อนรับพล.ร.อ. เถกิงศักดิ์ วังแก้ว เสนาธิการทหารเรือเมื่อ 13 ธันวาคม 2553 ในโอกาสเดินทมางตรวจเยี่ยมเรือหลวงสิมิลันซึ่งเข้าเทียบท่าเรือจาเบล อาลี รัฐดูไบภายหลังปฏิบัติภารกิจปราบปรามโจรสลัดบริเวณอ่าวเอเดน



เอกอัครราชทูต ณ กรุงอาบูดาบี ให้การต้อนรับเสนาธิการทหารเรือ และเยี่ยมชมเรือหลวงสิมิลันที่ท่าเรือเมืองดูไบ


นายสมชัย จรณะสมบูรณ์ ออท. ณ กรุงอาบูดาบี ได้ให้การต้อนรับพล. ร.อ. เถกิงศักดิ์ วังแก้ว เสนาธิการทหารเรือ เมื่อวันที่ 13 ธ.ค. 2553 ในโอกาสเดินทางตรวจเยี่ยมเรือหลวงสิมิลัน ซึ่งได้เข้าเทียบท่าเรือ Jebel Ali เมืองดูไบ ภายหลังปฏิบัติภารกิจปราบปรามโจรสลัดบริเวณอ่าวเอเดน

โอกาสนี้ ออท. ณ กรุงอาบูดาบี พร้อมด้วยข้าราชการ สอท. ได้เยี่ยมชมเรือหลวงสิมิลันด้วย ในการเยี่ยมชมเรือรบหลวงสิมิลัน ออท. และเสนาธิการทหารเรือ ได้รับการต้อนรับอย่างเป็นทางการจาก พล.ร.ต. ไชยยศ สุนทรนาค ผบ.หมู่เรือ พร้อมด้วยลูกเรือ ได้มีการตรวจแถวทหาร กล่าวรายงานบนดาดฟ้าเรือ ตรวจเยี่ยมกำลังพล และรับฟังการบรรยายสรุปภารกิจและผลการดำเนินงานที่ผ่านมา

รัฐบาลไทยได้อนุมัติให้เรือรบหลวงสิมิลันและเรือรบหลวงปัตตานีมาปฏิบัติภารกิจร่วมกับกองกำลังผสมทางเรือ 26 ชาติ ที่ปฏิบัติงานป้องกันและปราบปรามการกระทำอันเป็นโจรสลักในบริเวณอ่าวเอเดนและชายฝั่งประเทศโซมาเลีย ซึ่งในระหว่างการปฏิบัติการ 2 เดือนเศษ เรือรบหลวงของไทยได้ร่วมกับกองเรือประเทศต่างๆลาดตระเวนทางน้ำและคุ้มครองขบวนเรือพาณิชย์ของไทยและชาติอื่นๆ ให้สามารถล่องเข้าสู่อ่าวเอเดนโดยสะดวก

อนึ่ง ก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 11 ธ.ค. 2553 พล.ร.ต. ไชยยศ สุนทรนาค ผบ. หมู่เรือปราบปรามโจรสลัด (มปจ.) และคณะ รวม 7 คน ได้เข้าเยี่ยมคารวะ ออท. ณ กรุงอาบูดาบี ที่ทำเนียบฯ โดยได้รายงานภารกิจของ มปจ. และได้เชิญ ออท. เยี่ยมชมเรือรบหลวงสิมิลัน พร้อมกับเสนาธิการทหารเรือในวันที่ 13 ธ.ค. 2553 ในการนี้ ออท. ได้เป็นเจ้าภาพเลี้ยงอาหารกลางวันเพื่อเป็นเกียรติแก่คณะด้วย

สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงซันติอาโก เลี้ยงอาหารกลางวันแก่เด็กกำพร้าชิลี

แจกขนมต่อ หลังอาหาร
ที่นี่มีเด็กอายุระหว่าง 17 - 7 ขวบ จำนวน 22 คน
อร่อย
ถ่ายภาพกับหนังสือ อุปกรณ์การเรียน เครื่องอุปโภคบริโภคต่างๆที่นำมามอบให้บ้านลาส เครเชซ
ท่านทูตวิภาวรรณ นิพัทกุศล กำลังตักอาหารแจกเด็กๆ




สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงซันติอาโก เลี้ยงอาหารกลางวันแก่เด็กกำพร้าชิลี

เมื่อวันเสาร์ที่ 8 มกราคม 2554 ซึ่งตรงกับวันเด็กแห่งชาติที่ประเทศไทย ข้าราชการและเจ้าหน้าที่สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงซันติอาโก พร้อมด้วยสมาชิกครอบครัว ได้นำอาหารไทยไปจัดเลี้ยงป็นอาหารกลางวันแก่เด็กชาวชิลีที่บ้าน Las Creches ในกรุงซันติอาโก

บ้าน Las Creches เป็นองค์กรคาธอลิกที่เลี้ยงดูเด็กผู้หญิงชาวชิลีที่กำพร้าหรือถูกทอดทิ้ง โดยปัจจุบัน มีเด็กอายุระหว่าง 7 - 17 ปี อาศัยอยู่จำนวนรวม 22 คนนอก

เหนือจากการจัดเลี้ยงอาหารกลางวันแล้ว สถานเอกอัครราชทูตฯ ยังได้นำของขวัญได้แก่หนังสือ อุปกรณ์การเรียน และเครื่องอุปโภคบริโภคต่างๆ ไปมอบให้แก่บ้าน Las Creches เพื่อให้เด็กชิลีดังกล่าวได้ใช้ประโยชน์ต่อไปด้วย