เมื่อกงสุลต้อง “สัญจร” ดินแดนแห่งพันธะสัญญา
เมื่อได้รับคำสั่งให้มาประจำการที่อิสราเอล (ปลายปี ๒๕๕๐) ท่านทูตในขณะนั้น เห็นว่ามีความอาวุโสได้ขั้น (เขี้ยวได้ที่) เลยมอบหมายให้ทำงานกงสุล พอได้ยินอย่างนั้น ก็เริ่ม เสียศูนย์แล้วสิว่าเราจะทำได้ไหม เพราะถึงแม้ว่าจะเคยผ่านงานกงสุลเมื่อคราวที่ประจำการที่ประเทศเล็กๆ แห่งหนึ่งในยุโรป ที่เขาว่ากันว่า แม่น้ำดานูบช่วงที่สวยที่สุดก็คือช่วงที่ไหลผ่าน เมืองหลวงของประเทศนี้ก็เป็นคือช่วงทีเวลากว่า ๑๐ ปีมาแล้ว และงานกงสุลที่ประเทศนั้นก็เป็นงานเสริม วันหนึ่งๆ เซ็นวีซาไม่เกิน ๒๐ เล่ม งานนิติกรณ์ปีหนึ่งแทบจะไม่มีเลย ไม่เกิน ๕ ฉบับ งานหนังสือเดินทางปีหนึ่งนับเท่าไหร่ก็ไม่เกิน ๕ เล่ม เรื่องจดทะเบียนครอบครัวไม่ต้องพูดถึง ไม่ได้ทำเลย เพราะมีคนไทยอยู่น้อยมาก
ดังนั้น เพื่อเตรียมตัวให้พร้อม ก่อนจะเดินทาง ก็เลยแว่บไปพบท่านผู้อำนวยการกองคุ้มครองฯ ซึ่งเพิ่งกลับจากประจำการในตำแหน่งกงสุลในประเทศอิสราเอลมาหมาดๆ เพื่อเรียนวิทยายุทธจากท่าน ฟังท่านบรรยายว่าที่โน่น (ก็ที่อิสราเอลนั่นแหละ) มีคนไทยอยู่ประมาณ ๒๘,๐๐๐ คน (ต่อคนยิวประมาณ ๗ ล้านคน) ซึ่งในจำนวนนี้เป็นคนงานเสียประมาณ ๒๗,๐๐๐ คน ต่างจากที่ที่เคยประจำการก่อนหน้านี้ ที่มีคนไทยประมาณ ๒๐ คน ต่อประชากรของประเทศนั้นที่มีจำนวนไล่เลี่ยกับประชากรยิว เพราะฉะนั้นงานสัญชาตินิติกรณ์จึงมีไม่น้อย งานหนังสือเดินทางไม่ต้องพูดถึง เพียบ! ถึงขนาดที่ว่า ทุกปีประมาณตั้งแต่เดือนกรกฎาคมหรือสิงหาคม จนกระทั่งถึงเดือนมกราคม หรือกุมภาพันธ์ของปีถัดไป ต้องยกขบวนออกไปให้บริการทำหนังสือเดินทางนอกสถานที่กันเลยทีเดียว ไม่ใช่ออกไปในวันทำงานนะ ต้องไปวันหยุด ฟังมาถึงตอนนี้ ดิฉันก็ถึงกับรำพึง (อยู่ในใจ) กับตัวเองว่า ผู้หญิงตัว (ไม่ค่อยจะ) เล็ก (นัก) อย่างเรานี่จะไหวมั้ยน้อ
แต่ไหนๆ เมื่อคำสั่งตกมาถึงแล้ว จะถอดใจก็ใช่ที่ เสียชื่อหญิงไทย ประเภท มือก็ไกว ดาบก็แกว่ง (อ่านดูแล้ว ชักจะงง คนละเรื่องเดียวกันหรือเปล่านี่) ชีวิตยังไม่สิ้น ก็ต้องดิ้นกันไป โชคดีที่ว่า ท่าน ผอ. ได้ออกไปให้บริการคนงานไทยทั่วอิสราเอลก่อนที่จะกลับเมืองไทยแล้ว ก็เลยมีเวลาเตรียมตัวเตรียมใจได้นานหน่อย
เมื่อได้รับคำสั่งให้มาประจำการที่อิสราเอล (ปลายปี ๒๕๕๐) ท่านทูตในขณะนั้น เห็นว่ามีความอาวุโสได้ขั้น (เขี้ยวได้ที่) เลยมอบหมายให้ทำงานกงสุล พอได้ยินอย่างนั้น ก็เริ่ม เสียศูนย์แล้วสิว่าเราจะทำได้ไหม เพราะถึงแม้ว่าจะเคยผ่านงานกงสุลเมื่อคราวที่ประจำการที่ประเทศเล็กๆ แห่งหนึ่งในยุโรป ที่เขาว่ากันว่า แม่น้ำดานูบช่วงที่สวยที่สุดก็คือช่วงที่ไหลผ่าน เมืองหลวงของประเทศนี้ก็เป็นคือช่วงทีเวลากว่า ๑๐ ปีมาแล้ว และงานกงสุลที่ประเทศนั้นก็เป็นงานเสริม วันหนึ่งๆ เซ็นวีซาไม่เกิน ๒๐ เล่ม งานนิติกรณ์ปีหนึ่งแทบจะไม่มีเลย ไม่เกิน ๕ ฉบับ งานหนังสือเดินทางปีหนึ่งนับเท่าไหร่ก็ไม่เกิน ๕ เล่ม เรื่องจดทะเบียนครอบครัวไม่ต้องพูดถึง ไม่ได้ทำเลย เพราะมีคนไทยอยู่น้อยมาก
ดังนั้น เพื่อเตรียมตัวให้พร้อม ก่อนจะเดินทาง ก็เลยแว่บไปพบท่านผู้อำนวยการกองคุ้มครองฯ ซึ่งเพิ่งกลับจากประจำการในตำแหน่งกงสุลในประเทศอิสราเอลมาหมาดๆ เพื่อเรียนวิทยายุทธจากท่าน ฟังท่านบรรยายว่าที่โน่น (ก็ที่อิสราเอลนั่นแหละ) มีคนไทยอยู่ประมาณ ๒๘,๐๐๐ คน (ต่อคนยิวประมาณ ๗ ล้านคน) ซึ่งในจำนวนนี้เป็นคนงานเสียประมาณ ๒๗,๐๐๐ คน ต่างจากที่ที่เคยประจำการก่อนหน้านี้ ที่มีคนไทยประมาณ ๒๐ คน ต่อประชากรของประเทศนั้นที่มีจำนวนไล่เลี่ยกับประชากรยิว เพราะฉะนั้นงานสัญชาตินิติกรณ์จึงมีไม่น้อย งานหนังสือเดินทางไม่ต้องพูดถึง เพียบ! ถึงขนาดที่ว่า ทุกปีประมาณตั้งแต่เดือนกรกฎาคมหรือสิงหาคม จนกระทั่งถึงเดือนมกราคม หรือกุมภาพันธ์ของปีถัดไป ต้องยกขบวนออกไปให้บริการทำหนังสือเดินทางนอกสถานที่กันเลยทีเดียว ไม่ใช่ออกไปในวันทำงานนะ ต้องไปวันหยุด ฟังมาถึงตอนนี้ ดิฉันก็ถึงกับรำพึง (อยู่ในใจ) กับตัวเองว่า ผู้หญิงตัว (ไม่ค่อยจะ) เล็ก (นัก) อย่างเรานี่จะไหวมั้ยน้อ
แต่ไหนๆ เมื่อคำสั่งตกมาถึงแล้ว จะถอดใจก็ใช่ที่ เสียชื่อหญิงไทย ประเภท มือก็ไกว ดาบก็แกว่ง (อ่านดูแล้ว ชักจะงง คนละเรื่องเดียวกันหรือเปล่านี่) ชีวิตยังไม่สิ้น ก็ต้องดิ้นกันไป โชคดีที่ว่า ท่าน ผอ. ได้ออกไปให้บริการคนงานไทยทั่วอิสราเอลก่อนที่จะกลับเมืองไทยแล้ว ก็เลยมีเวลาเตรียมตัวเตรียมใจได้นานหน่อย
อ่านมาถึงตรงนี้แล้ว คงมีหลายต่อหลายท่านบ่นว่า แล้วเมื่อไหร่จะได้เวลาสัญจรเสียทีเล่า ใจเย็นๆ ค่ะ ใกล้ถึงเวลาแล้ว
เร่งรัดตัดบทมาที่เดือนกรกฎาคมเลยดีกว่า พอถึงเดือนนี้ ดิฉันก็ต้องเขียน (ที่จริงพิมพ์) จดหมายถึงบริษัทจัดหางานอิสราเอล และผู้ใหญ่บ้าน (Heads of Moshavs) บางท่าน บอกให้รู้ตัวว่า ได้เวลาแล้วนะที่สถานเอกอัครราชทูตฯ (สอท.) จะส่งคณะออกไปให้บริการรับคำร้องหรือต่อหนังสือเดินทางให้แก่คนงานไทย แล้วก็ต้องไม่ลืมที่จะขอร้อง (แกมบังคับ) ให้เขากรุณารวบรวมคนงานไทยที่หนังสือเดินทางนับจากเดือนมกราคมปีถัดไป มีอายุ ไม่ถึงหนึ่งปีครึ่ง และแจ้งให้ สอท. ทราบ หากมีจำนวนมากพอ (ประมาณ ๓๐ คนขึ้นไป) สอท. จะส่งหน่วยหนังสือเดินทางเคลื่อนที่ (เร็ว!) ไปให้บริการถึงที่ ขอแค่จัดหาสถานที่ที่ใหญ่พอจะรองรับเจ้าหน้าที่ ๔-๕ คนนั่งทำงาน แน่ละ! ต้องรวมอุปกรณ์ด้วย หลังจากส่งจดหมายออก ไปแล้ว ก็นั่งดูปฏิทิน นับวันให้ครบ ๗ วัน คาดว่าเขารวบรวมจำนวนเสร็จแล้ว จึงให้คุณอดุลย์ฯ ผู้ช่วยงานกงสุล โทรศัพท์ไปนัดแนะเวลาและสถานที่
ในการนัดแนะเวลาและสถานที่ เราตั้งกฎขึ้นมาเองว่า ถ้าที่ไหนมีคนจะขอ หนังสือเดินทางประมาณ ๓๐-๔๐ คน เราจะออกไปให้บริการวันศุกร์ ประมาณ ๕๐ คนขึ้นไป ไปวันอาทิตย์ ถ้าเป็นโมชาฟใหญ่ๆ หรืออยู่ติดกันหลายโมชาฟ มีคนมากกว่า ๑๐๐ คนขึ้นไป เราก็จะออกไปตั้งแต่ช่วงบ่ายของวันศุกร์-เสาร์ อันที่จริงมีเพียงเขตเดียวเท่านั้นที่เราออกไปให้บริการวันศุกร์-เสาร์ (ถ้าอยากทราบว่าเขตไหน ก็ต้องทนอ่านต่อไป) ที่ต้องกำหนดตัวเลขคร่าวๆ อย่างนี้ เนื่องจากว่า ในเวลา ๑ ชั่วโมง เราสามารถรับคำร้องได้ประมาณ ๘-๑๐ คนเท่านั้น ท่านที่เคยไปรับบริการหรือเคยไปดูงานที่กองหนังสือเดินทาง อาจจะสงสัยว่า ทำไมเราทำงานเชื่องช้า ความสามารถมีจำกัดหรือเปล่า? ไม่ใช่แน่นอน ที่เป็นอย่างนี้ก็เพราะผู้รับบริการบางท่าน (ที่จริงหลายท่าน) พิมพ์ลายนิ้วมือยากมากกก............ขอให้ใช้นิ้วถูจมูก บางท่านถูจนจมูกแดงเป็น Rudolf the red-nosed reindeer แล้ว ก็ยังพิมพ์ลายนิ้วมือไม่ติด ไม่รู้ว่าไปลงของอะไรมา จนกระทั่งเจ้าหน้าที่เห็นอาการกระวนกระวาย ขบเขี้ยวเคี้ยวฟันของลูกค้าที่รออยู่ เลยจำต้อง ตัดใจยกเว้นพิมพ์ลายนิ้วมือให้ด้วยความเกรงใจ บางท่านก็ต้องนั่งคัดชื่อตัวเองจนกว่าจะงาม เป็นที่พอใจของคุณอดุลย์ หรือหนูอ้น ผู้ช่วยงานกงสุลอีกคนหนึ่งพอรู้หลักการคร่าวๆ แล้ว คราวนี้ก็ได้เวลา “สัญจร” กันแล้ว
ในช่วง ๒ ปีที่มาประจำการที่นี่ พื้นที่แรกที่ดิฉันเลือกไป “สัญจร” คือเขต Arava ทางภาคใต้ของประเทศอิสราเอล ที่มีโมชาฟใหญ่น้อยอยู่ ๖ โมชาฟ และมีคนไทยทำงานเกษตรเกือบ ๓,๐๐๐ คน ใช้เวลาเดินทางไป-กลับประมาณ ๕ – ๖ ชั่วโมง ขึ้นกับอารมณ์ของคนขับรถ? ไม่ช่ายย...... ขึ้นกับเวลาและปริมาณรถบนเส้นทางค่ะ โดยปกติถ้าไป Arava เราจะเลือกเดินทางไปวันศุกร์ หลังเลิกงานแล้ว คือที่อิสราเอลนี่ วันศุกร์เขาทำงานแค่ครึ่งวันค่ะ ในขณะที่หน่วยงานราชการของอิสราเอลหรือบริษัทใหญ่ๆ เช่น บริษัทไอที จะไม่ทำงานกันวันนี้ เขาจะทำงานวันอาทิตย์-วันพฤหัสบดีค่ะ ที่ Arava นี่ วันศุกร์เราก็เลือกให้บริการที่โมชาฟขนาดเล็กหน่อย (ถึงกระนั้น ยังมีคนงานไม่น้อยกว่า ๓๐๐ คน)
แต่ถึงจะเป็นโมชาฟขนาดเล็ก แต่กว่าเรา จะทำงานเสร็จก็เป็นเวลา ๓-๔ ทุ่ม (ไปถึงที่นั่นระหว่างเวลา ๑๕.๓๐ – ๑๖.๐๐ น.) หลังจากนั้น นกขมิ้นเหลืองอ่อนอาจจะค้างคืนที่โมชาฟนั้นหรือโมชาฟที่จะไปให้บริการวันรุ่งขึ้น แล้วแต่ว่า โมชาฟไหนจะมีห้องพักว่าง แน่ละ! ต้องสำรองล่วงหน้า แต่คนสำรองก็ไม่ใช่เราหรอกนะ บริษัทจัดหางานจัดให้ (ก็เขาสามารถประหยัดเงินในการพาคนไทยมาขอหนังสือเดินทางที่ สอท. ได้ ตั้งเยอะนี่นา)
ในโมชาฟ/คิบบุตซ์ ของอิสราเอลนั้น เกษตรกรบางคนมีพื้นที่มาก และพอมี เวลาว่าง (เพราะมีพี่ไทยเราทำแทนให้) และมีทุนทรัพย์มากพอก็จะสร้างที่พัก (รูปลักษณ์ก็คล้ายๆ กับรีสอร์ตในต่างจังหวัดบ้านเรานั่นแหละ) สำหรับคนยิวออกไปพักผ่อนกันในช่วง วันหยุด หรือเทศกาล ที่พักที่นี่มีหลายรูปแบบ ทั้งหลังเดี่ยว บ้านแฝด หรือแบบห้องแถวติดกัน บางแห่งหะรูหะรามาก มีอ่างอาบน้ำจากุซชี่อยู่กลางห้อง หรูน้อยลงมาหน่อย ก็มีอ่างอาบน้ำจากุซชีอยู่ข้างนอก (เป็นของส่วนกลาง สำหรับผู้มาเช่าพักจะใช้กัน จะต่างคนต่างใช้ หรือจะใช้พร้อมกัน ก็แล้วแต่ความชมชอบและความสนิทสนมเป็นการส่วนตัว) ธรรมดาที่สุดก็คือมีฝักบัวอาบน้ำ อ้อ! ที่พักที่นี่ (อิสราเอล) บางแห่งมีอาหารเช้าให้ คนทำอาหารก็ไม่ใช่อื่นไกล เจ้าของห้องพักนั่นแหละ (คนยิวเสียอย่าง เรื่องจะควักเงินออกจากกระเป๋าตัวเองน่ะ บอกได้คำเดียวว่า ยาก!) เจ้าของที่พักบางคนเขาอยากเอาใจเราก็ทำอาหารไทย (มาม่าผัด) เสริมให้ ดิฉันต้องเตือนพรรคพวกว่า อย่ารับประทานหมด เดี๋ยวพี่ยิวท่านจะเข้าใจผิดว่าเป็นอาหารจานเด็ด เดือดร้อนผองเราชาวไทยที่จะไปพักต่อไป บางแห่งก็ให้คนไทยที่มาทำงานในไร่สวนนั่นแหละ มาทำอาหารให้เรากัน (ถ้าเป็น คนไทย เราอาจเรียก เอ๊ย! ขอร้องให้ทำข้าวต้มเครื่องหรือข้าวต้มกุ๊ยเพิ่มให้ แต่ไม่มียำกุ้งแห้ง ค่ะ) บางแห่งไม่มีอาหารเช้า แต่เจ้าของที่พักากรุณาสั่งอาหารเช้า (ยิว) อย่างหรู มาให้เรา รับประทานกัน
ถ้าต้องออกไปให้บริการวันอาทิตย์ ก็ต้องออกจากกรุงเทลอาวีฟ (บ้านพักของดิฉัน) ประมาณ ๖.๓๐ – ๘.๐๐ น. ขึ้นอยู่ว่าจะไปไกลแค่ไหน และคนที่มารับบริการมีมากเท่าไร
กิจวัตรประจำที่ไปถึงสถานที่ (สำนักงานของโมชาฟ/คิบบุตซ์ หรือสำนักงานของบริษัทจัดหางาน) ที่จะตั้งหน่วยบริการกงสุลสัญจร คือขอความช่วยเหลือจากคนไทยที่จะมารับบริการให้ยกอุปกรณ์รับคำร้องหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ และอุปกรณ์เสริมต่างๆ ทีนี้ ถ้า เราไป แล้วไม่พบใครล่ะ ทำไงกัน เราก็ต้องช่วยกันยกเองสิคะ ใช้พลังจาก ๒ หนุ่ม คือคุณอดุลย์กับคุณเมทนี (คนนี้รับบทหนัก ไหนจะต้องขับเจ้าม้าแก่ให้เรานั่ง (หลับเป็นระยะ ขึ้นอยู่กับความใกล้ความไกล) ถ่ายเอกสาร แล้วยังต้องคอยดูแลอาหารการกินของคณะอีกด้วย) แล้วก็พลังจาก ๒ สาว (น้อย-มาก) พอทำงานใกล้เสร็จ ก็ต้องรีบขอแรงคนไทยที่มาขอหนังสือเดินทางคนหลังๆ ให้อยู่ก่อน เพื่อช่วยเราเก็บสัมภาระและยกขึ้นรถ
ทุกที่ที่เราออก “สัญจร” เจ้าของสถานที่ (ผู้ใหญ่บ้าน หรือไม่ก็บริษัทจัดหางาน) จะเตรียมชา กาแฟ น้ำหวาน ขนม ไว้เลี้ยงเราด้วย บริษัทจัดหางานบางแห่ง ห่วงว่าเราจะออกไปรับประทานอาหารกลางวันข้างนอก แล้วจะเสียเวลาทำงาน ก็จัดเตรียมอาหารกลางวันให้เราด้วย แต่ส่วนใหญ่แล้ว ผู้ที่มีหน้าที่เตรียมอาหารกลางวันไปจากเทลอาวีฟคือหนูอ้น แต่ถ้าหนูอ้นอับจนปัญญา ไม่รู้ว่าจะทำอะไร ก็จะขอให้คุณเมทนีทำให้แทน และคุณเมทนี พอถึงเวลาใกล้เที่ยง จะมีหน้าที่สำคัญคือเตรียมอุ่นอาหารให้ (ถ้าสำนักงานนั้นมีไมโครเวฟ แต่ถ้าไม่มี ก็รับประทานอาหารเย็นๆ กันอย่างนั้นแหละค่ะ)
มาถึงตรงนี้ คงมีหลายท่านที่สงสัยว่า ทำไมเราไม่ออกสัญจรกันในวันเสาร์ และหยุดวันอาทิตย์ เพื่อพักผ่อนกัน ที่จริงเราก็อยากทำอย่างนั้นเหมือนกันค่ะ แต่ติดขัดที่อิสราเอลนี่ วันเสาร์คือวันหยุดทางศาสนา (Shabbad) เขาไม่ทำงานกัน อันที่จริง คนยิวเขาเริ่ม Shabbad กันตั้งแต่หลังพระอาทิตย์ตกของวันศุกร์แล้ว เรื่อยมาจนถึงพระอาทิตย์ตกของวันเสาร์ เขาถึงเริ่มงานกันใหม่ คนยิวที่เคร่งๆ นี่ ในช่วง Shabbad เขาจะไม่จุดไฟหุงหาข้าวปลากันเลย (แม้กระทั่งลิฟต์บางตัวตามโรงแรม ก็ต้องรักษากฎข้อนี้ด้วยนะ หยุดและเปิด (เพื่อรับแขก) ทุกชั้น หรือถ้าใครโชคดีหน่อย อาจเจอลิฟต์หยุดทุก ๒ ชั้น เพราะฉะนั้น ถ้าใครมีโอกาสไปอิสราเอล และไปเจอ วันเสาร์ล่ะก็ เวลาจะขึ้นลิฟต์ลงลิฟต์ กรุณาสังเกตป้ายด้วยว่า เป็นลิฟต์ Shabbad หรือเปล่า เดี๋ยวจะตกอกตกใจเปล่า) เอ! ถ้าอย่างนั้น คนยิวก็ต้องรับประทานอาหารเย็นชืดกันนะสิ ถูกต้องค่ะ สำหรับคนที่เคร่ง แต่สำหรับคนรุ่นใหม่ ทุกปัญหามีทางออก จุดไฟไม่ได้หรือ ไม่เป็นไร ออกไปรับประทานอาหารนอกบ้าน อย่างน้อยร้านอาหารจีน ญี่ปุ่น ไทย ก็ต้องเปิดบริการ ถึงแม้ว่าเจ้าของร้านจะเป็นคนยิวก็เถอะ แต่พ่อครัวไม่ใช่คนยิวเสียอย่าง เพราะฉะนั้น ก็ไม่ได้ทำผิดคำสอนของพระเจ้า
นอกจากนี้ ที่เราไม่ออกไปวันเสาร์ (ยกเว้นแถบ Arava ที่คนที่นี่คุ้นกับคนไทยมาก และเข้าอกเข้าใจ สอท.) เพราะว่าตัวนายจ้างเองไม่ (สู้จะเต็มใจที่จะ) พาคนงานมารับบริการ อีกเหตุผลหนึ่งก็คือคนไทยส่วนใหญ่จะหยุดทำงานเย็นวันศุกร์กัน วันรุ่งขึ้นไม่ต้องตื่นแต่เช้าไปทำงาน เลยต้องสังสรรค์กันหน่อย บางครั้งสังสรรค์กันเพลินจนถึงวันเสาร์ ถึงเวลามาขอทำหนังสือเดินทาง ก็พกพาสวนละมุดสุกทั้งสวนติดตัวมาด้วย สื่อสารกันไม่ค่อยรู้เรื่อง แบบคลื่นรับคลื่นส่งไม่ตรงกัน บางคนจำชื่อ-สกุล (ที่เปลี่ยนมาใหม่ของ) ตัวเองไม่ได้ ตอนที่ให้เขียน (เซ็น) ชื่อ ก็เขียนชื่อ-สกุลเดิม พอถามเข้า ยังยืนยันเสียงแข็งว่าเป็นชื่อจริงสกุลจริงของตัวเอง (ที่ยังใช้อยู่)
“อ้าว! แล้วหนังสือเดินทางกับบัตรประชาชนนี่ของใครกัน” เอ้า ดูสิ ทำงง
“(ชื่อ) ..........(สกุล) ............... ของใครกัน”
“ของผมน่ะสิ”
“เอาใบเปลี่ยนชื่อมาด้วยหรือเปล่า?”
“ต้องใช้ด้วยหรือ?”
“ต้องใช้สิ เจ้าหน้าที่ที่เมืองไทยจะได้รู้ว่าเป็นคนเดียวกัน”
“ผมเคยให้กองหนังสือเดินทางดูแล้ว”
“อ้าว! เปลี่ยนชื่อสกุลตั้งแต่เมื่อไหร่”
“ก่อนมาอิสราเอล”
นี่เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจริง แต่จะปล่อยให้เกิดขึ้นบ่อยๆ ก็คงไม่เข้าที ปีต่อมา พวกเราเลยเห็นพ้องกันว่า งดออกวันเสาร์ดีกว่า
พูดเรื่องคนอื่นมาตั้งนาน รู้สึกไม่เข้าที ถึงแม้ว่าเรื่องของชาวบ้าน จะเป็นงาน ของเราก็เถอะ แต่พอจะ “สัญจร” ต่อ เหลียวดูเลขที่หน้า ถึงหน้า ๔ แล้วหรือ เขากำหนดให้ ๒ – ๔ หน้า ถ้าอย่างนั้น ขอเวลารวบรวมลมปราณ (และสติอารมณ์) ก่อนค่ะ แล้วจะพาท่านไป “สัญจร” กันต่อ
พูดเรื่องคนอื่นมาตั้งนาน รู้สึกไม่เข้าที ถึงแม้ว่าเรื่องของชาวบ้าน จะเป็นงาน ของเราก็เถอะ แต่พอจะ “สัญจร” ต่อ เหลียวดูเลขที่หน้า ถึงหน้า ๔ แล้วหรือ เขากำหนดให้ ๒ – ๔ หน้า ถ้าอย่างนั้น ขอเวลารวบรวมลมปราณ (และสติอารมณ์) ก่อนค่ะ แล้วจะพาท่านไป “สัญจร” กันต่อ
Shalom
ที่มา : เว็บไซต์กรมเอเชียใต้ ตะวันออกกลางและแอฟริกาhttp://sameaf.mfa.go.th/th/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น