นายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศให้สัมภาษณ์กรณีคนไทย 7 คน
เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2554 นายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ให้สัมภาษณ์ผ่านรายการของนางฟองสนาน จามรจันทร์ ทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย (FM 92.5) และรายการ “เจาะลึก ครม.” ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (ช่อง NBT) เกี่ยวกับกรณีคนไทย 7 คน ถูกเจ้าหน้าที่กัมพูชาจับกุม โดยสรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1. กระทรวงการต่างประเทศได้ให้ความช่วยเหลือ 7 คนไทยเต็มที่ โดยสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงพนมเปญ ได้จัดหาทนายความให้กับคณะที่ถูกจับกุม ประสานกับเรือนจำเรื่องการจัดหาอาหาร เครื่องใช้ส่วนตัว ยารักษาโรค และการดำเนินการขออนุญาตให้ญาติเข้าเยี่ยม ซึ่งเป็นงานด้านกงสุลที่เจ้าหน้าที่ต้องดำเนินการอย่างเต็มที่ตลอดเวลา โดยไม่ได้หยุดพัก และจะดำเนินการต่อไป นอกจากนี้ ได้จัดเวรให้ข้าราชการของสถานเอกอัครราชทูตฯ เข้าไปดูแล และประสานกับทนายความอย่างใกล้ชิด จึงขอปฏิเสธโดยสิ้นเชิงต่อข้อกล่าวหาของกลุ่มคนไทยหัวใจรักชาติที่ว่า สถานเอกอัครราชทูตฯ ไม่ให้การดูแลและกีดกัน ซึ่งเป็นข้อกล่าวหาที่ไม่ได้สะท้อนความจริง
2. บริเวณที่คนไทย 7 คนถูกจับกุมมีถนนที่คู่ขนานกันคือ ถนนศรีเพ็ญ และถนนเค 5 ซึ่งประเทศไทยและกัมพูชาแบ่งพื้นที่กันดูแล โดยเป็นที่เข้าใจกันของชาวบ้านในพื้นที่ที่ว่าบริเวณใดประเทศใดเป็นผู้ดูแล และมีการไปมาหาสู่ของชาวบ้านมากว่า 30 ปีแล้ว ขณะเดียวกัน หากขีดเส้นตรงระหว่างหลักเขตแดนที่ 46 และ 47 และมีการทำรังวัดก็จะเห็นว่า คนไทยทั้ง ๗ คนได้ล้ำแนวเส้นตรงระหว่างหลักเขตแดนที่ 46 และ 47 และเมื่อเทียบดูเทียบกับแผนที่ชุด L7018 ซึ่งเป็นแผนที่ที่ฝ่ายไทยใช้เป็นแผนที่ปฏิบัติการ ก็ค่อนข้างจะตรงกับแนวเส้นตรงที่ลากระหว่างหลักเขตแดนทั้งสอง
3. โดยปกติการเข้าพื้นที่บริเวณชายแดนในลักษณะเช่นนี้ ควรมีการแจ้งฝ่ายความมั่นคงในพื้นที่ก่อน อย่างไรก็ดี คณะของนายพนิชฯ ไม่ได้แจ้งให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงล่วงหน้า ทำให้เมื่อเกิดการจับกุมขึ้น กว่าที่เจ้าหน้าที่ฝ่ายไทยจะทราบเรื่อง เรื่องก็ไปถึงกรุงพนมเปญแล้ว และพ้นจากเขตอำนาจของเจ้าหน้าที่ระดับพื้นที่ของกัมพูชา
4. ต่อข้อถามที่ว่า การที่เจ้าหน้าที่กัมพูชาจับกุมคนไทยในบริเวณที่เขตแดนยังไม่ชัดเจน ถือเป็นการกระทำผิดอนุสัญญาเจนีวาหรือไม่นั้น รัฐมนตรีว่าการฯ กล่าวว่า การอ้างถึงอนุสัญญาเจนีวาเป็นการอ้างลอย ๆ และไม่มีหลักกฎหมายมารองรับ อนุสัญญาเจนีวาเองก็มีหลายฉบับ แต่สำหรับเขตแดนไทย-กัมพูชานี้ และต้องยึดบันทึกความเข้าใจระหว่างไทยกับกัมพูชา (MOU) ปี 2543 อนุสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ปี ค.ศ.1904 และสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศสปี ค.ศ.1907 ซึ่งเป็นเอกสารระหว่างไทยกับกัมพูชา ที่ใช้เป็นกรอบในการเจรจา และมีคณะกรรมาธิการจัดทำหลักเขตแดนทางบกร่วมไทย-กัมพูชา (JBC) ทำงานอยู่ภายใต้กรอบเหล่านี้
5. รัฐมนตรีว่าการฯ ขอความร่วมมือทุกฝ่ายอย่าได้ดึงเอาเรื่องของกัมพูชามาเป็นเรื่องของการเมืองภายในประเทศ เพราะจะทำให้บทบาทของประเทศไทยในอาเซียนไม่โดดเด่น และไม่ว่าอย่างไรก็ดี ทั้งสองประเทศควรร่วมมือกันในด้านต่าง ๆ ต่อไป เพื่อประโยชน์ของทั้งสองประเทศ การจะใช้กำลังทหารรบกัน ตามที่มีบางกลุ่มเรียกร้องนั้น ไม่เป็นประโยชน์ต่อฝ่ายใดเลย
6. การพิจารณาคดีของศาลกัมพูชาในครั้งนี้ เป็นคดีที่มีการฟ้องร้องคนไทย 7 คน ไม่ได้เป็นการฟ้องประเทศไทย จึงต้องแยกประเด็นกันระหว่างเรื่องของการพิจารณาคดีกับการเจรจาเขตแดน ซึ่งการเจรจายังคงดำเนินอยู่และยังไม่แล้วเสร็จ ดังจะเห็นได้ว่า มีกรอบกลไก JBC ซึ่งยังเดินหน้าอยู่ นอกจากนี้ กระทรวงการต่างประเทศได้มีหนังสือแจ้งกระทรวงการต่างประเทศกัมพูชายืนยันว่า จุดที่กัมพูชาแจ้งว่าจับคนไทยไม่มีผลกระทบต่องานของ JBC ในขณะเดียวกัน เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2554 นายอัษฎา ชัยนาม อดีตเอกอัครราชทูต ซึ่งทำหน้าที่เป็นประธาน JBC ฝ่ายไทยได้เดินทางไปยังกรุงพนมเปญ เพื่อเข้าเยี่ยมประธาน JBC ฝ่ายกัมพูชาคู่ขนานไปกับการให้ความช่วยเหลือคนไทย 7 คน
7. เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2554 คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้กระทรวงการต่างประเทศเป็นศูนย์กลางในการประสานงานและให้ข้อมูลในกรณีคนไทย 7 คน เพราะการที่มีหลายฝ่ายออกมาให้ข้อมูลในเรื่องดังกล่าว ทำให้เกิดการตีความแตกต่างกันไปและไม่อยากให้มีการรายงานข่าวที่อาจก่อให้เกิดความเข้าใจผิดกันระหว่างสองประเทศ เพราะสิ่งสำคัญ คือ ต้องคำนึงถึงความปลอดภัยและการดูแลทุกข์สุขของคนไทยทั้ง 7 คน เพื่อให้มีบรรยากาศในการดำเนินการที่ดี เป็นไปอย่างราบรื่น และให้คดีถึงที่สุดโดยเร็ว เพราะเป้าหมายสูงสุด คือ การนำคนไทยกลับมา ทั้งนี้ ขอยืนยันว่า กระทรวงการต่างประเทศหรือรัฐบาลไม่มีเหตุผลที่จะต้องปิดบังข้อมูลและไม่ได้มีเป้าหมายทางการเมืองใด ๆ นอกจากนี้ การออกมาชี้แจงในกรณีที่มีการให้ข้อมูลที่ไม่ถูกต้องและไม่สะท้อนข้อเท็จจริงก็ไม่ได้มุ่งที่จะมาหักล้างกัน ส่วนเรื่องของความมั่นคงตลอดแนวชายแดนก็ให้เป็นหน้าที่ของกระทรวงกลาโหมและกระทรวงมหาดไทยที่จะต้องดูแลความสงบเรียบร้อย และให้ข้อมูลแก่ประชาชนให้ระมัดระวังหากจะเดินทางเข้าไปพื้นที่
เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2554 นายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ให้สัมภาษณ์ผ่านรายการของนางฟองสนาน จามรจันทร์ ทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย (FM 92.5) และรายการ “เจาะลึก ครม.” ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (ช่อง NBT) เกี่ยวกับกรณีคนไทย 7 คน ถูกเจ้าหน้าที่กัมพูชาจับกุม โดยสรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1. กระทรวงการต่างประเทศได้ให้ความช่วยเหลือ 7 คนไทยเต็มที่ โดยสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงพนมเปญ ได้จัดหาทนายความให้กับคณะที่ถูกจับกุม ประสานกับเรือนจำเรื่องการจัดหาอาหาร เครื่องใช้ส่วนตัว ยารักษาโรค และการดำเนินการขออนุญาตให้ญาติเข้าเยี่ยม ซึ่งเป็นงานด้านกงสุลที่เจ้าหน้าที่ต้องดำเนินการอย่างเต็มที่ตลอดเวลา โดยไม่ได้หยุดพัก และจะดำเนินการต่อไป นอกจากนี้ ได้จัดเวรให้ข้าราชการของสถานเอกอัครราชทูตฯ เข้าไปดูแล และประสานกับทนายความอย่างใกล้ชิด จึงขอปฏิเสธโดยสิ้นเชิงต่อข้อกล่าวหาของกลุ่มคนไทยหัวใจรักชาติที่ว่า สถานเอกอัครราชทูตฯ ไม่ให้การดูแลและกีดกัน ซึ่งเป็นข้อกล่าวหาที่ไม่ได้สะท้อนความจริง
2. บริเวณที่คนไทย 7 คนถูกจับกุมมีถนนที่คู่ขนานกันคือ ถนนศรีเพ็ญ และถนนเค 5 ซึ่งประเทศไทยและกัมพูชาแบ่งพื้นที่กันดูแล โดยเป็นที่เข้าใจกันของชาวบ้านในพื้นที่ที่ว่าบริเวณใดประเทศใดเป็นผู้ดูแล และมีการไปมาหาสู่ของชาวบ้านมากว่า 30 ปีแล้ว ขณะเดียวกัน หากขีดเส้นตรงระหว่างหลักเขตแดนที่ 46 และ 47 และมีการทำรังวัดก็จะเห็นว่า คนไทยทั้ง ๗ คนได้ล้ำแนวเส้นตรงระหว่างหลักเขตแดนที่ 46 และ 47 และเมื่อเทียบดูเทียบกับแผนที่ชุด L7018 ซึ่งเป็นแผนที่ที่ฝ่ายไทยใช้เป็นแผนที่ปฏิบัติการ ก็ค่อนข้างจะตรงกับแนวเส้นตรงที่ลากระหว่างหลักเขตแดนทั้งสอง
3. โดยปกติการเข้าพื้นที่บริเวณชายแดนในลักษณะเช่นนี้ ควรมีการแจ้งฝ่ายความมั่นคงในพื้นที่ก่อน อย่างไรก็ดี คณะของนายพนิชฯ ไม่ได้แจ้งให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงล่วงหน้า ทำให้เมื่อเกิดการจับกุมขึ้น กว่าที่เจ้าหน้าที่ฝ่ายไทยจะทราบเรื่อง เรื่องก็ไปถึงกรุงพนมเปญแล้ว และพ้นจากเขตอำนาจของเจ้าหน้าที่ระดับพื้นที่ของกัมพูชา
4. ต่อข้อถามที่ว่า การที่เจ้าหน้าที่กัมพูชาจับกุมคนไทยในบริเวณที่เขตแดนยังไม่ชัดเจน ถือเป็นการกระทำผิดอนุสัญญาเจนีวาหรือไม่นั้น รัฐมนตรีว่าการฯ กล่าวว่า การอ้างถึงอนุสัญญาเจนีวาเป็นการอ้างลอย ๆ และไม่มีหลักกฎหมายมารองรับ อนุสัญญาเจนีวาเองก็มีหลายฉบับ แต่สำหรับเขตแดนไทย-กัมพูชานี้ และต้องยึดบันทึกความเข้าใจระหว่างไทยกับกัมพูชา (MOU) ปี 2543 อนุสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ปี ค.ศ.1904 และสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศสปี ค.ศ.1907 ซึ่งเป็นเอกสารระหว่างไทยกับกัมพูชา ที่ใช้เป็นกรอบในการเจรจา และมีคณะกรรมาธิการจัดทำหลักเขตแดนทางบกร่วมไทย-กัมพูชา (JBC) ทำงานอยู่ภายใต้กรอบเหล่านี้
5. รัฐมนตรีว่าการฯ ขอความร่วมมือทุกฝ่ายอย่าได้ดึงเอาเรื่องของกัมพูชามาเป็นเรื่องของการเมืองภายในประเทศ เพราะจะทำให้บทบาทของประเทศไทยในอาเซียนไม่โดดเด่น และไม่ว่าอย่างไรก็ดี ทั้งสองประเทศควรร่วมมือกันในด้านต่าง ๆ ต่อไป เพื่อประโยชน์ของทั้งสองประเทศ การจะใช้กำลังทหารรบกัน ตามที่มีบางกลุ่มเรียกร้องนั้น ไม่เป็นประโยชน์ต่อฝ่ายใดเลย
6. การพิจารณาคดีของศาลกัมพูชาในครั้งนี้ เป็นคดีที่มีการฟ้องร้องคนไทย 7 คน ไม่ได้เป็นการฟ้องประเทศไทย จึงต้องแยกประเด็นกันระหว่างเรื่องของการพิจารณาคดีกับการเจรจาเขตแดน ซึ่งการเจรจายังคงดำเนินอยู่และยังไม่แล้วเสร็จ ดังจะเห็นได้ว่า มีกรอบกลไก JBC ซึ่งยังเดินหน้าอยู่ นอกจากนี้ กระทรวงการต่างประเทศได้มีหนังสือแจ้งกระทรวงการต่างประเทศกัมพูชายืนยันว่า จุดที่กัมพูชาแจ้งว่าจับคนไทยไม่มีผลกระทบต่องานของ JBC ในขณะเดียวกัน เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2554 นายอัษฎา ชัยนาม อดีตเอกอัครราชทูต ซึ่งทำหน้าที่เป็นประธาน JBC ฝ่ายไทยได้เดินทางไปยังกรุงพนมเปญ เพื่อเข้าเยี่ยมประธาน JBC ฝ่ายกัมพูชาคู่ขนานไปกับการให้ความช่วยเหลือคนไทย 7 คน
7. เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2554 คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้กระทรวงการต่างประเทศเป็นศูนย์กลางในการประสานงานและให้ข้อมูลในกรณีคนไทย 7 คน เพราะการที่มีหลายฝ่ายออกมาให้ข้อมูลในเรื่องดังกล่าว ทำให้เกิดการตีความแตกต่างกันไปและไม่อยากให้มีการรายงานข่าวที่อาจก่อให้เกิดความเข้าใจผิดกันระหว่างสองประเทศ เพราะสิ่งสำคัญ คือ ต้องคำนึงถึงความปลอดภัยและการดูแลทุกข์สุขของคนไทยทั้ง 7 คน เพื่อให้มีบรรยากาศในการดำเนินการที่ดี เป็นไปอย่างราบรื่น และให้คดีถึงที่สุดโดยเร็ว เพราะเป้าหมายสูงสุด คือ การนำคนไทยกลับมา ทั้งนี้ ขอยืนยันว่า กระทรวงการต่างประเทศหรือรัฐบาลไม่มีเหตุผลที่จะต้องปิดบังข้อมูลและไม่ได้มีเป้าหมายทางการเมืองใด ๆ นอกจากนี้ การออกมาชี้แจงในกรณีที่มีการให้ข้อมูลที่ไม่ถูกต้องและไม่สะท้อนข้อเท็จจริงก็ไม่ได้มุ่งที่จะมาหักล้างกัน ส่วนเรื่องของความมั่นคงตลอดแนวชายแดนก็ให้เป็นหน้าที่ของกระทรวงกลาโหมและกระทรวงมหาดไทยที่จะต้องดูแลความสงบเรียบร้อย และให้ข้อมูลแก่ประชาชนให้ระมัดระวังหากจะเดินทางเข้าไปพื้นที่
ที่มา : ข่าวสารนิเทศ วันที่ 13 มกราคม 2554 กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น