วันพุธที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2554

สำนักงานการค้าและเศรษฐกิจไทยเข้าเยี่ยมผู้ต้องขังชาวไทยในไต้หวัน

ท่านผู้อำนวยการใหญ่กำลังให้โอวาทแก่ผู้ต้องขังที่เรือนจำชายไทเป
ท่านผู้อำนวยการใหญ่ สำนักงานการค้าฯ และคณะเข้าเยี่ยมผู้ต้องขังชาย
ท่านผู้อำนวยการใหญ่ สำนักงานการค้าฯ ในโอกาสเข้าเยี่ยมคารวะหารือกับนายเจ๋อฟง จาน ผู้บัญชาการเรือนจำชายไทเป 28 ธันวาคม 2553
ท่านผู้อำนวยการใหญ่ สำนักงานการค้าฯ กำลังให้โอวาทแก่ผู้ต้องขังหญิงไทยที่เรือนจำหญิงหลงถันโยมีคุณโสรัจ สุขถาวร เลขานุการเอก(ซ้ายมือ) และคุณกิตติวุฒิ ภิญโญวิทย์ เลขานุการโท (ขวามือ) ร่วมรับฟัง
รองผู้บัญชาการเรือนจำกล่าวทักทายผู้ต้องขังหญิง
ท่านผู้อำนวยการใหญ่ สำนักงานการค้าและเศรษฐกิจไทยเข้าเยี่ยมคารวะนางเหม่ยลิ่ง เฉิน รองผู้บัญชาการเรือนจำหญิงหลงถัน 21 ธันวาคม 2553
นายวิบูลย์ คูสกุล
ผู้อำนวยการใหญ่ (เทียบเท่าเอกอัครราชทูต)
สำนักงานการค้าและเศรษฐกิจไทย
สำนักงานการค้าและเศรษฐกิจไทยเข้าเยี่ยมผู้ต้องขังชาวไทยในไต้หวัน


สำนักงานการค้าและเศรษฐกิจไทย ไทเป รายงานผลการเยี่ยมผู้ถูกกักกันและผู้ต้องขังชาวไทยในเรือนจำหญิงหลงถันและเรือนจำชายไทเปในไต้หวันดังนี้

1. การเยี่ยมเรือนจำหญิงหลงถัน
เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2553 นายวิบูลย์ คูสกุล ผู้อำนวยการใหญ่สำนักงานการค้าฯ พร้อมด้วยนายโสรัจ สุขถาวร เลขานุการเอก นายกิตติวุฒิ ภิญโญวิทย์ เลขานุการโทและเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นได้เข้าเยี่ยมคารวะและหารือนางเหม่ยลิ่ง เฉิน รองผู้บัญชาการเรือนจำหญิงหลงถัน และเข้าเยี่ยมผู้ต้องขังหญิงชาวไทยโดยสำนักงานได้เตรียมอาหารไทยไปเลี้ยงรวมทั้งนำของใช้ในชีวิตประจำวันและวารสารหนังสือพิมพ์ และหนังสือธรรมะไปมอบให้ผู้ต้องขังด้วย

ในโอกาสดังกล่าวรองผู้บัญชาการเรือนจำหญิงหลงถันแจ้งต่อผู้อำนวยการสำนักงานการค้าฯ ว่าทางการไต้หวันได้ให้การดูแลผู้ต้องขังเป็นอย่างดี อนุญาตให้โทรศัพท์กลับประเทศไทยได้เป็นระยะๆ โดยอาศัยบัตรโทรศัพทืที่สำนักงานการค้าฯ ได้มอบให้ผู้ต้องขังและขอบคุณสำนักงานการค้าฯ ที่ให้การดูแลผู้ต้องขังเป็นอย่างดี

ปัจจุบันมีผู้ต้องขังหญิงชาวไทยรวมทั้งสิ้น 10 คน จำแนกเป็นผู้ต้องขังจากข้อหายาเสพติด 9 ราย ฆ่าคนตาย 1 ราย ทุกคนมีสุขภาพร่างกายสมบูรณ์แข็งแรง มีความเป็นอยู่ที่ดีตามสมควรแก่อัตภาพ และต่างดีใจที่ผู้อำนวยการใหญ่ สำนักงานการค้าฯ มาเยี่ยม นำอาหารและสิ่งของเครื่องใช้ประจำวันไปมอบให้

2. การเยี่ยมเรือนจำชายไทเป
เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2553 นายวิบูล คูสกุล ผู้อำนวยการใหญ่สำนักงานการค้าฯ นายดุสิต วงศ์นาวา ผู้อำนวยการสำนักงานแรงงานไทเป พร้อมด้วยนายโสรัจ สุขถาวร เลขานุการเอก นายกิตติวุฒฺ ภิญโญวิทย์ เลขานุการโท และเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นได้เชข้าเยี่ยมผู้ต้องขังชายไทยในเรือนจำชายไทเป และเข้าเยี่ยมคารวะหารือกับนายเจ๋อฟง จาน ผู้บัญชาการเรือนจำไทเป

ปัจจุบันมีผู้ต้องขังชายชาวไทยรวมทั้งสิ้น 58 คน จำแนกเป็นผู้ต้องขังจากข้อหายาเสพติด 12 ราย ฆ่าคนตาย 26 ราย พยายามฆ่า 2 ราย มีอาวุธปืน 3 ราย ละเมิดทางเพศ ข่มขืน พรากผู้เยาว์ ลวนลาม 8 ราย ทำร้ายร่างกายถึงแก่ชีวิต 2 ราย ทำร้ายร่างกาย 3 ราย เมาแล้วขับ 1 ราย และลักทรัพย์ 1 ราย ทุกคนมีสุขภาพร่างกายสมบูรณ์แข็งแรง สำนักงานการค้าได้นำอาหารกลางวัน เครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน หนังสือ/วารสารไทย และอุปกรณ์กีฬามอบให้ผู้ต้องขังในโอกาสนี้ด้วย โดยนายวิบูลย์ฯ ได้อวยพรและให้โอวาทเพื่อเป็นกำลังใจแก่นักโทษดังนี้
1. ขอให้ทุกคนตระหนักว่าไม่มีใครต้องการถูกคุมขัง แต่เมื่อเกิดขึ้นแล้วก็เป็นข้อเท็จจริงที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ จึงควรมองว่าเราจะปฏิบัติตนอย่างไรให้ดีที่สุดภายใต้สถานการณ์ที่เป็นอยู่

2. ให้อยู่อย่างมีความหวังโดยให้คิดถึงครอบครัวในประเทศไทย ว่าวันหนึ่งจะได้ออกไปพบกันอีก จะได้เป็นกำลังใจให้ปฏิบัติตนให้ดีที่สุด ซึ่งจะมีส่วนช่วยให้ได้รับพิจารณาให้พ้นโทษเร็วขึ้นด้วย

3. ให้ตั้งเป้าหมายให้กัยบตนเองว่า เมื่อครบกำหนดต้องขังแล้วจะไปประกอบอาชีพอะไร แต่ละคนมีความสามารถ/ พรสวรรค์แตกต่างกันไป ต้องค้นหาตัวเองให้เจอ เพื่อเคตรียมความพร้อมสำหรับการออกไปประกอบอาชีพ หรือมีกิจการของตัวเองในอนาคต การมีความหวังและเป้าหมายในชีวิตจะช่วยให้เวลาผ่านไปอย่างรวดเร็ว หากทำสำเร็จตามเป้าหมายก็นับว่าสามารถเปลี่ยนวิกฤตให้เป็นโอกาสกลับร้ายให้ดีได้

4. ต้องมีความแน่วแน่เมื่อออกไปแล้วจะไม่กระทำผิดซ้ำอีก

5. นอกจากนี้ผู้อำนวยการใหญ่ สำนักงานการค้าฯ ยังได้กล่าวถึงโทษของการดื่มสุรา ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของนักโทษชาย ทำให้ขาดสติ จนนำไปสู่การกระทำผิดกฎหมายและต้องได้รับโทษในที่สุด หากผู้ต้องขังสามารถเลิกเหล้าได้เด็ดขาดในระหว่างการรับโทษ ก็สามารถนับว่าเป็นการกลับร้ายให้ดีได้เช่นกัน ถือเป็นรางวัลชีวิตหลังพ้นโทษ

ภายหลังการเยี่ยมผู้ต้องขังชาย ผู้อำนวยการใหญ่ สำนักงานการค้าฯ ได้เข้าเยี่ยมคารวะนายเจ๋อฟง จาน ผู้บัญชาการเรือนจำชายไทเป ซึ่งนายจานแจ้งว่า เรือนจำแห่งนี้เป็นเสมือนครอบครัวใหญ่มีสมาชิกคือผู้คุมและผู้ต้องขังทุกทุกคน ดังนั้น ทุกคนต้องมีส่วนช่วยกันโดยเฉพาะผู้ต้องขังไทยซึ่งมีจำนวนไม่น้อย โดยเรือนจำได้จัดให้ฝึกวิชาชีพเฉพาะด้าน ซึ่งนอกจากจะเป็นการพัฒนาตนเองแล้ว ยังช่วยให้สามารถปรับตัวได้เร็วยิ่งขึ้น

สำนักงานการค้าและเศรษฐกิจไทย ไทเป มีกำหนดออกไปเยี่ยมผู้ถูกกักกันและผู้ต้องขังชาวไทยในสถานกักกันและเรือนจำต่างๆในไต้หวันอยู่เป็นประจำ โดยครั้งหลังสุดไปเยี่ยมเมื่อวันที่ 27 – 29 ตุลาคม และ 10 – 23 พฤศจิกายน 2553

ที่มา: รายงานสำนักงานการค้าและเศรษฐกิจไทย ไทเป
ปรับแก้: 17 ธันวาคม 2554

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น