นายชวนนท์ อินทรโกมาลสุต เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
กระทรวงการต่างประเทศชี้แจงกรณีการให้ความช่วยเหลือคนไทย 7 คน และเขตแดนไทย-กัมพูชา
เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2554 นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนต่อกรณีการให้ความช่วยเหลือคนไทย 7 คน และเขตแดนไทย-กัมพูชา สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1. ที่ตั้งของ Site 2 ของสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) เป็นคนละพื้นที่กันกับบ้านหนองจาน กล่าวคือ เมื่อปี 2554 เวียดนามพยายามเข้าตีบ้านหนองจาน ทำให้สำนักงานข้าหลวงใหญ่ฯ ต้องเคลื่อนย้ายผู้อพยพจากบ้านหนองจานไปยัง site 2 ซึ่งห่างไป 30 กิโลเมตร โดยขอใช้พื้นที่ของประเทศไทย
2. พิกัดที่มีการกล่าวอ้างว่าคนไทย ๗ คนถูกจับในพื้นที่ประเทศไทยนั้น เป็นพิกัดที่ไม่ตรงกับข้อมูลที่ได้รับเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2553 จากการที่เจ้าหน้าที่เดินทางไปดูจุดสุดท้ายที่ทั้ง 7 คนถูกจับกุม ซึ่งเมื่อกระทรวงฯ รับทราบข้อเท็จจริงแล้ว จึงได้แจ้งฝ่ายกัมพูชาทราบ และย้ำว่าคนไทยทั้ง 7 คน ไม่ได้มีเจตนารุกล้ำเขตแดน เป็นเพียงการพลัดหลงเข้าไป ซึ่งน่าจะสามารถพูดคุยกันได้
3. สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงพนมเปญ ได้เข้ามาให้ความช่วยเหลือคนไทยทั้ง 7 คนอย่างเต็มที่ และประสานให้ญาติได้เข้าเยี่ยมแล้ว อย่างไรก็ดี การจะเข้าพบคนไทยทั้ง 7 คนของกลุ่มเครือข่ายประชาชนหัวใจรักชาติ ต้องประสานกับทนายความชาวกัมพูชา ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบและได้รับมอบอำนาจเต็มในการพิจารณาความเหมาะสม และ สอท.ฯ ไม่ได้มีอำนาจตัดสินในเรื่องนี้ ในส่วนของความคืบหน้าในการพิจารณาคดีนั้น ในชั้นนี้ ยังไม่มีข้อมูลเพิ่มเติม และการจะยื่นประกันตัวหรือไม่นั้น อาจรอดูสถานการณ์อีก 1-2 วันก่อน เพราะหากยื่นประกันตัวจะต้องใช้เวลาประมาณ 5วันในการพิจารณา
ที่มา: ข่าวสารนิเทศวันที่ 13 มกราคม 2554 กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2554 นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนต่อกรณีการให้ความช่วยเหลือคนไทย 7 คน และเขตแดนไทย-กัมพูชา สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1. ที่ตั้งของ Site 2 ของสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) เป็นคนละพื้นที่กันกับบ้านหนองจาน กล่าวคือ เมื่อปี 2554 เวียดนามพยายามเข้าตีบ้านหนองจาน ทำให้สำนักงานข้าหลวงใหญ่ฯ ต้องเคลื่อนย้ายผู้อพยพจากบ้านหนองจานไปยัง site 2 ซึ่งห่างไป 30 กิโลเมตร โดยขอใช้พื้นที่ของประเทศไทย
2. พิกัดที่มีการกล่าวอ้างว่าคนไทย ๗ คนถูกจับในพื้นที่ประเทศไทยนั้น เป็นพิกัดที่ไม่ตรงกับข้อมูลที่ได้รับเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2553 จากการที่เจ้าหน้าที่เดินทางไปดูจุดสุดท้ายที่ทั้ง 7 คนถูกจับกุม ซึ่งเมื่อกระทรวงฯ รับทราบข้อเท็จจริงแล้ว จึงได้แจ้งฝ่ายกัมพูชาทราบ และย้ำว่าคนไทยทั้ง 7 คน ไม่ได้มีเจตนารุกล้ำเขตแดน เป็นเพียงการพลัดหลงเข้าไป ซึ่งน่าจะสามารถพูดคุยกันได้
3. สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงพนมเปญ ได้เข้ามาให้ความช่วยเหลือคนไทยทั้ง 7 คนอย่างเต็มที่ และประสานให้ญาติได้เข้าเยี่ยมแล้ว อย่างไรก็ดี การจะเข้าพบคนไทยทั้ง 7 คนของกลุ่มเครือข่ายประชาชนหัวใจรักชาติ ต้องประสานกับทนายความชาวกัมพูชา ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบและได้รับมอบอำนาจเต็มในการพิจารณาความเหมาะสม และ สอท.ฯ ไม่ได้มีอำนาจตัดสินในเรื่องนี้ ในส่วนของความคืบหน้าในการพิจารณาคดีนั้น ในชั้นนี้ ยังไม่มีข้อมูลเพิ่มเติม และการจะยื่นประกันตัวหรือไม่นั้น อาจรอดูสถานการณ์อีก 1-2 วันก่อน เพราะหากยื่นประกันตัวจะต้องใช้เวลาประมาณ 5วันในการพิจารณา
ที่มา: ข่าวสารนิเทศวันที่ 13 มกราคม 2554 กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น