นายธานี ทองภักดี
อธิบดีกรมสารนิเทศ
โฆษกกระทรวงการต่างประเทศ
ความคืบหน้ากรณีคนไทย 7 คน
เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2554 นายธานี ทองภักดี อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนเกี่ยวกับความคืบหน้าของการให้ความช่วยเหลือคนไทย 7 คนที่ถูกจับกุม สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1. เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2554 นางสาวมธุรพจนา อิทธะรงค์ รองอธิบดีกรมการกงสุล ได้เดินทางไปยังกรุงพนมเปญพร้อมกับคณะแพทย์ เพื่อไปดูแลคนไทยที่ได้รับการประกันตัวอีก 4 คนแล้ว โดยแจ้งว่า โดยรวมคนไทยทั้งหมดมีสุขภาพแข็งแรงดี ยกเว้นคนหนึ่งที่เป็นหวัดเล็กน้อย
2. ตั้งแต่ต้นคนไทยทั้ง 7 คนไม่ได้แสดงความต้องการที่จะเปลี่ยนตัวทนายความ แต่มีบางคนที่ต้องการให้กลุ่มที่ปรึกษาด้านกฎหมายชาวไทยของนายการุณ ใสงาม เข้าเป็นทนายความร่วม ซึ่งล่าสุดได้รับทราบว่าสภาทนายความกัมพูชาแล้วว่า ไม่อนุญาตให้เข้าเป็นทนายความร่วม
3. กลุ่มที่ปรึกษาด้านกฎหมายของนายการุณ ใสงาม ได้เข้าพบคนไทย 6 คนที่พำนักอยู่ที่ทำเนียบเอกอัครราชทูต ณ กรุงพนมเปญแล้ว และน่าจะได้เข้าเยี่ยมนายวีระ สมความคิด ที่เรือนจำในช่วงบ่ายของวันนี้ (19 มกราคม 2554)
4. ทนายความชาวกัมพูชาอยู่ระหว่างการหารือกับนายวีระฯ ว่าจะยื่นคำร้องขอประกันตัวต่อศาลสูงสุดหรือไม่ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของนายวีระฯ โดยกระทรวงการต่างประเทศพร้อมที่จะให้การสนับสนุนการดำเนินการใด ๆ ของนายวีระฯ อย่างเต็มที่ ส่วนในเรื่องล่ามหรือการเปลี่ยนตัวทนายความกัมพูชา ก็เป็นเรื่องที่นายวีระฯ และคนไทยอีก 6คน จะตัดสินใจ ซึ่งกระทรวงฯ ยินดีอำนวยความสะดวกอย่างเต็มที่หากได้รับการร้องขอ
5. กระทรวงการต่างประเทศยังไม่ได้รับแจ้งว่า ศาลกัมพูชาจะมีการพิพากษาคดีคนไทย 7 คนเมื่อไร โดยโฆษกกระทรวงการต่างประเทศแสดงความหวังว่าน่าจะเป็นไปในโอกาสแรก
6. โฆษกกระทรวงการต่างประเทศตอบข้อซักถามของสื่อมวลชนเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนนักโทษว่า ไม่เคยมีการประสานในเรื่องนี้ในลักษณะของการแลกเปลี่ยนกัน และขอเรียนว่า การปล่อยตัวคนกัมพูชาที่เข้าเมืองผิดกฎหมายและถูกขังอยู่ที่ประเทศไทยที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาขณะนี้เป็นกระบวนการตามปกติที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองดำเนินการอยู่แล้ว ส่วนกรณีการโอนตัวนักโทษกัมพูชา 1 รายกลับไปที่ประเทศกัมพูชาเมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมาก็เป็นไปตามสนธิสัญญาโอนตัวนักโทษระหว่างไทยกับกัมพูชา ซึ่งฝ่ายกัมพูชาได้ประสานขอให้ฝ่ายไทยโอนตัวนักโทษกัมพูชา 4 รายกลับไปกัมพูชามาระยะหนึ่งแล้ว กล่าวคือ ได้มีการหารือเรื่องนี้ระหว่างนายกรัฐมนตรีของทั้งสองประเทศเมื่อประมาณ 2 ปีที่แล้ว แต่โดยที่การโอนตัวนักโทษต้องเป็นไปตามกระบวนการและเงื่อนไขต่าง ๆ ตามกฎหมายไทย เช่น นักโทษต้องใช้โทษในประเทศไทยระยะหนึ่ง และการพิจารณาคดีต้องถึงที่สุดแล้ว ดังนั้น เมื่อเป็นไปตามเงื่อนไขต่าง ๆ แล้ว จึงได้มีการโอนตัวนักโทษกัมพูชา 1 รายกลับไปตามกระบวนการขั้นตอนปกติ
ที่มา: ข่าวสารนิเทศ วันที่ 19 มกราคม 2554 กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2554 นายธานี ทองภักดี อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนเกี่ยวกับความคืบหน้าของการให้ความช่วยเหลือคนไทย 7 คนที่ถูกจับกุม สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1. เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2554 นางสาวมธุรพจนา อิทธะรงค์ รองอธิบดีกรมการกงสุล ได้เดินทางไปยังกรุงพนมเปญพร้อมกับคณะแพทย์ เพื่อไปดูแลคนไทยที่ได้รับการประกันตัวอีก 4 คนแล้ว โดยแจ้งว่า โดยรวมคนไทยทั้งหมดมีสุขภาพแข็งแรงดี ยกเว้นคนหนึ่งที่เป็นหวัดเล็กน้อย
2. ตั้งแต่ต้นคนไทยทั้ง 7 คนไม่ได้แสดงความต้องการที่จะเปลี่ยนตัวทนายความ แต่มีบางคนที่ต้องการให้กลุ่มที่ปรึกษาด้านกฎหมายชาวไทยของนายการุณ ใสงาม เข้าเป็นทนายความร่วม ซึ่งล่าสุดได้รับทราบว่าสภาทนายความกัมพูชาแล้วว่า ไม่อนุญาตให้เข้าเป็นทนายความร่วม
3. กลุ่มที่ปรึกษาด้านกฎหมายของนายการุณ ใสงาม ได้เข้าพบคนไทย 6 คนที่พำนักอยู่ที่ทำเนียบเอกอัครราชทูต ณ กรุงพนมเปญแล้ว และน่าจะได้เข้าเยี่ยมนายวีระ สมความคิด ที่เรือนจำในช่วงบ่ายของวันนี้ (19 มกราคม 2554)
4. ทนายความชาวกัมพูชาอยู่ระหว่างการหารือกับนายวีระฯ ว่าจะยื่นคำร้องขอประกันตัวต่อศาลสูงสุดหรือไม่ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของนายวีระฯ โดยกระทรวงการต่างประเทศพร้อมที่จะให้การสนับสนุนการดำเนินการใด ๆ ของนายวีระฯ อย่างเต็มที่ ส่วนในเรื่องล่ามหรือการเปลี่ยนตัวทนายความกัมพูชา ก็เป็นเรื่องที่นายวีระฯ และคนไทยอีก 6คน จะตัดสินใจ ซึ่งกระทรวงฯ ยินดีอำนวยความสะดวกอย่างเต็มที่หากได้รับการร้องขอ
5. กระทรวงการต่างประเทศยังไม่ได้รับแจ้งว่า ศาลกัมพูชาจะมีการพิพากษาคดีคนไทย 7 คนเมื่อไร โดยโฆษกกระทรวงการต่างประเทศแสดงความหวังว่าน่าจะเป็นไปในโอกาสแรก
6. โฆษกกระทรวงการต่างประเทศตอบข้อซักถามของสื่อมวลชนเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนนักโทษว่า ไม่เคยมีการประสานในเรื่องนี้ในลักษณะของการแลกเปลี่ยนกัน และขอเรียนว่า การปล่อยตัวคนกัมพูชาที่เข้าเมืองผิดกฎหมายและถูกขังอยู่ที่ประเทศไทยที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาขณะนี้เป็นกระบวนการตามปกติที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองดำเนินการอยู่แล้ว ส่วนกรณีการโอนตัวนักโทษกัมพูชา 1 รายกลับไปที่ประเทศกัมพูชาเมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมาก็เป็นไปตามสนธิสัญญาโอนตัวนักโทษระหว่างไทยกับกัมพูชา ซึ่งฝ่ายกัมพูชาได้ประสานขอให้ฝ่ายไทยโอนตัวนักโทษกัมพูชา 4 รายกลับไปกัมพูชามาระยะหนึ่งแล้ว กล่าวคือ ได้มีการหารือเรื่องนี้ระหว่างนายกรัฐมนตรีของทั้งสองประเทศเมื่อประมาณ 2 ปีที่แล้ว แต่โดยที่การโอนตัวนักโทษต้องเป็นไปตามกระบวนการและเงื่อนไขต่าง ๆ ตามกฎหมายไทย เช่น นักโทษต้องใช้โทษในประเทศไทยระยะหนึ่ง และการพิจารณาคดีต้องถึงที่สุดแล้ว ดังนั้น เมื่อเป็นไปตามเงื่อนไขต่าง ๆ แล้ว จึงได้มีการโอนตัวนักโทษกัมพูชา 1 รายกลับไปตามกระบวนการขั้นตอนปกติ
ที่มา: ข่าวสารนิเทศ วันที่ 19 มกราคม 2554 กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น