ติดอาวุธก่อนออกรบศึกรัก 'ต่างแดน'
ชีวิตแต่งงานประสบความสำเร็จ เปรียบดั่งถูกลอตเตอรี่รางวัลที่ 1 ส่วนสาวคนใดฝ่าค่านิยมแต่งงานอยู่กินกับสามีชาวต่างชาติ ดูดีทั้งหน้าที่การงานและฐานะการเงินด้วยแล้ว เหมือนถูกลอตเตอรี่สองเด้งทีเดียว ในเมื่อความฝันและความจริงเดินสวนทางกัน ดังนั้น กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ จัดเสวนาให้ความรู้ “แต่งงานกับคนต่างชาติ ดีจริงเหรอ?” และความรู้เบื้องต้น สิทธิขั้นพื้นฐาน โดยเชิญวิทยากรผู้เชี่ยวชาญ และสองสาวกรณีศึกษา “ชีวิตพลิกดั่งเจ้าหญิง” และ “เจ็บจริงไม่อิงนิยาย” มาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ เมื่อเร็ว ๆ นี้ ณ ห้องประชุม 305 ชั้น 3 กรมการกงสุล ถนนแจ้งวัฒนะ
นายประสิทธิพร เวทย์ประสิทธิ์ ผอ.กองคุ้มครองและดูแลผลประโยชน์คนไทยในต่างประเทศ กรมการกงสุล กล่าวว่า กรมการกงสุลมีหน้าที่ช่วยเหลือคนตกทุกข์ได้ยากในต่างประเทศ และประสบปัญหาครอบครัว จากสถิติหญิงไทยไปอยู่ต่างประเทศไม่น้อยกว่า 2 แสนคน ใน 10 ประเทศนิยมสมรส พบปัญหาภาษาสื่อสารทั้งสิ้น เริ่มที่ ประเทศเยอรมนี และ ออสเตรีย พบปัญหาด้านวัฒนธรรม ลูกติด ไม่มีพื้นฐานความรัก, ประเทศฝรั่งเศส ทะเลาะแล้วสามีทอดทิ้ง, สหรัฐอเมริกา อายุมากเกิดช่องว่างระหว่างวัย, ประเทศออสเตรเลีย และ อังกฤษ คาดหวังให้ช่วยกันทำมาหากิน จึงควรมีวิชาชีพติดตัว อาทิ นวดแผนไทย สปา หรือ เสริมสวย, ประเทศสวีเดน หย่า 2 ปีแรกค่อนข้างมาก ถูกเพิกถอนสิทธิ หลอกให้เซ็นเอกสาร, ประเทศไต้หวัน ทำงานผิดกฎหมาย, ประเทศฟินแลนด์ ไม่รู้ภาษาฟิน และ ประเทศเดนมาร์ก ระดับการศึกษาต่างกันมาก
ด้านชีวิตของผู้หญิงที่แต่ง งานกับชาวต่างชาติ นางลัดดา กิ๊บสัน ช่างผมชาวหนองคาย สมรสกับสามีชาวอังกฤษ เผยว่า พบกับสามีทางระบบอินเทอร์เน็ตจัดหาคู่ ซึ่งทำงานซอฟต์แวร์ เอ็นจิเนียร์ มีอายุห่างกัน 10 ปี คบหา 2 ปีครึ่ง สามีขอแต่งงานสุดโรแมนติกบนเครื่องบินระหว่างเดินทางไปสิงคโปร์ หลังสมรสสามีชวนอยู่เมืองไทย แต่ตนอยากไปหาความตื่นเต้นยังต่างแดน ชีวิตคู่จึงเริ่มต้นที่เมืองแวนคูเวอร์ ประเทศแคนาดา คนที่นั่นน่ารักแต่ มีปัญหาด้านภาษา ไม่เข้าใจลึกซึ้งโดนถาม “ฮาว อาร์ ยู ดู อิง” ก็ไม่เข้าใจ คิดว่าชั้นสบายดี ไม่ได้ทำอะไร หรือซื้อสินค้าได้ส่วนลด “เทค ออฟ” ก็งงไม่เข้าใจ รู้จักแต่คำว่า “ดิสเคานท์” จึงสมัครเรียนภาษา อบรมการทำผมเพิ่มเติม โดยเฉพาะการทำผมสีบลอนด์ ทำงานประมาณ 2 ปี กลับมาอยู่เมืองไทย เปิดร้านทำผม ส่วนสามี ทำขนมหารายได้เสริม ชีวิตคู่ค่อนข้างมีความสุข
ขณะที่ นางกนกรัตน์ นิ่ม สมุทธ บูธ นักเขียนอิสระ อดีตผู้สื่อข่าว เผยมรสุมชีวิตว่า แต่งงานกับคนต่างชาติดีหรือไม่อยู่ที่พื้นฐานแต่ละคน ตนผ่านการสมรสกับคนไทยมาก่อน ในงานแต่งงานมีรัฐมนตรีเป็นประธาน และได้ลอดซุ้มกระบี่ตามความฝัน แต่ไม่มีความสุข สุดท้ายแยกทางกันและมาพบสามีชาวอังกฤษ มีบ้านมูลค่า 20 ล้านปอนด์ มีเรือยอชท์ ภายหลังมีปัญหาลูกติดสามีจ้างหย่า 1 ล้านปอนด์ แต่ตนต้องการหย่าแบบยินยอม โดยไม่ต้องการอะไรเลย แต่สามีไม่ยอมไปแจ้งด่านตรวจคนเข้าเมืองเพิกถอนสัญชาติตน ขณะนี้ ไม่สามารถดำเนินการหย่าได้เพราะเข้าประเทศอังกฤษไม่ได้ ซ้ำยังเคยถูกคุมขัง 1 คืน
“การคบกับคนต่างชาติ ต้องสืบให้รู้ประวัติชื่ออะไร อยู่ประเทศใด อยู่ส่วนไหนของโลก ส่วนใหญ่ไม่สืบ แค่ “ไอ เลิฟ ยู” ไม่พอ ขณะที่คิดว่าตัวเองแน่ มีการศึกษา ภาษา ฐานะ แต่ยังเจอปัญหาเรื่อง “กฎหมาย” ซึ่งต้องศึกษาให้ดี จดทะเบียนที่ไหนไม่สำคัญเท่า “บังคับใช้ภายใต้กฎหมายของใคร” ต้องศึกษากระบวนการหย่าให้ละเอียดเตือนผู้หญิงให้ทำตัวเป็น “สัมภาระ” ไม่ใช่ “ภาระ” ที่จะทิ้งเมื่อใดก็ได้” นางกนกรัตน์กล่าว.
ที่มา: บทความจากหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 1 ธันวาคม 2553 http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=359&contentID=107197
ชีวิตแต่งงานประสบความสำเร็จ เปรียบดั่งถูกลอตเตอรี่รางวัลที่ 1 ส่วนสาวคนใดฝ่าค่านิยมแต่งงานอยู่กินกับสามีชาวต่างชาติ ดูดีทั้งหน้าที่การงานและฐานะการเงินด้วยแล้ว เหมือนถูกลอตเตอรี่สองเด้งทีเดียว ในเมื่อความฝันและความจริงเดินสวนทางกัน ดังนั้น กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ จัดเสวนาให้ความรู้ “แต่งงานกับคนต่างชาติ ดีจริงเหรอ?” และความรู้เบื้องต้น สิทธิขั้นพื้นฐาน โดยเชิญวิทยากรผู้เชี่ยวชาญ และสองสาวกรณีศึกษา “ชีวิตพลิกดั่งเจ้าหญิง” และ “เจ็บจริงไม่อิงนิยาย” มาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ เมื่อเร็ว ๆ นี้ ณ ห้องประชุม 305 ชั้น 3 กรมการกงสุล ถนนแจ้งวัฒนะ
นายประสิทธิพร เวทย์ประสิทธิ์ ผอ.กองคุ้มครองและดูแลผลประโยชน์คนไทยในต่างประเทศ กรมการกงสุล กล่าวว่า กรมการกงสุลมีหน้าที่ช่วยเหลือคนตกทุกข์ได้ยากในต่างประเทศ และประสบปัญหาครอบครัว จากสถิติหญิงไทยไปอยู่ต่างประเทศไม่น้อยกว่า 2 แสนคน ใน 10 ประเทศนิยมสมรส พบปัญหาภาษาสื่อสารทั้งสิ้น เริ่มที่ ประเทศเยอรมนี และ ออสเตรีย พบปัญหาด้านวัฒนธรรม ลูกติด ไม่มีพื้นฐานความรัก, ประเทศฝรั่งเศส ทะเลาะแล้วสามีทอดทิ้ง, สหรัฐอเมริกา อายุมากเกิดช่องว่างระหว่างวัย, ประเทศออสเตรเลีย และ อังกฤษ คาดหวังให้ช่วยกันทำมาหากิน จึงควรมีวิชาชีพติดตัว อาทิ นวดแผนไทย สปา หรือ เสริมสวย, ประเทศสวีเดน หย่า 2 ปีแรกค่อนข้างมาก ถูกเพิกถอนสิทธิ หลอกให้เซ็นเอกสาร, ประเทศไต้หวัน ทำงานผิดกฎหมาย, ประเทศฟินแลนด์ ไม่รู้ภาษาฟิน และ ประเทศเดนมาร์ก ระดับการศึกษาต่างกันมาก
ด้านชีวิตของผู้หญิงที่แต่ง งานกับชาวต่างชาติ นางลัดดา กิ๊บสัน ช่างผมชาวหนองคาย สมรสกับสามีชาวอังกฤษ เผยว่า พบกับสามีทางระบบอินเทอร์เน็ตจัดหาคู่ ซึ่งทำงานซอฟต์แวร์ เอ็นจิเนียร์ มีอายุห่างกัน 10 ปี คบหา 2 ปีครึ่ง สามีขอแต่งงานสุดโรแมนติกบนเครื่องบินระหว่างเดินทางไปสิงคโปร์ หลังสมรสสามีชวนอยู่เมืองไทย แต่ตนอยากไปหาความตื่นเต้นยังต่างแดน ชีวิตคู่จึงเริ่มต้นที่เมืองแวนคูเวอร์ ประเทศแคนาดา คนที่นั่นน่ารักแต่ มีปัญหาด้านภาษา ไม่เข้าใจลึกซึ้งโดนถาม “ฮาว อาร์ ยู ดู อิง” ก็ไม่เข้าใจ คิดว่าชั้นสบายดี ไม่ได้ทำอะไร หรือซื้อสินค้าได้ส่วนลด “เทค ออฟ” ก็งงไม่เข้าใจ รู้จักแต่คำว่า “ดิสเคานท์” จึงสมัครเรียนภาษา อบรมการทำผมเพิ่มเติม โดยเฉพาะการทำผมสีบลอนด์ ทำงานประมาณ 2 ปี กลับมาอยู่เมืองไทย เปิดร้านทำผม ส่วนสามี ทำขนมหารายได้เสริม ชีวิตคู่ค่อนข้างมีความสุข
ขณะที่ นางกนกรัตน์ นิ่ม สมุทธ บูธ นักเขียนอิสระ อดีตผู้สื่อข่าว เผยมรสุมชีวิตว่า แต่งงานกับคนต่างชาติดีหรือไม่อยู่ที่พื้นฐานแต่ละคน ตนผ่านการสมรสกับคนไทยมาก่อน ในงานแต่งงานมีรัฐมนตรีเป็นประธาน และได้ลอดซุ้มกระบี่ตามความฝัน แต่ไม่มีความสุข สุดท้ายแยกทางกันและมาพบสามีชาวอังกฤษ มีบ้านมูลค่า 20 ล้านปอนด์ มีเรือยอชท์ ภายหลังมีปัญหาลูกติดสามีจ้างหย่า 1 ล้านปอนด์ แต่ตนต้องการหย่าแบบยินยอม โดยไม่ต้องการอะไรเลย แต่สามีไม่ยอมไปแจ้งด่านตรวจคนเข้าเมืองเพิกถอนสัญชาติตน ขณะนี้ ไม่สามารถดำเนินการหย่าได้เพราะเข้าประเทศอังกฤษไม่ได้ ซ้ำยังเคยถูกคุมขัง 1 คืน
“การคบกับคนต่างชาติ ต้องสืบให้รู้ประวัติชื่ออะไร อยู่ประเทศใด อยู่ส่วนไหนของโลก ส่วนใหญ่ไม่สืบ แค่ “ไอ เลิฟ ยู” ไม่พอ ขณะที่คิดว่าตัวเองแน่ มีการศึกษา ภาษา ฐานะ แต่ยังเจอปัญหาเรื่อง “กฎหมาย” ซึ่งต้องศึกษาให้ดี จดทะเบียนที่ไหนไม่สำคัญเท่า “บังคับใช้ภายใต้กฎหมายของใคร” ต้องศึกษากระบวนการหย่าให้ละเอียดเตือนผู้หญิงให้ทำตัวเป็น “สัมภาระ” ไม่ใช่ “ภาระ” ที่จะทิ้งเมื่อใดก็ได้” นางกนกรัตน์กล่าว.
ที่มา: บทความจากหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 1 ธันวาคม 2553 http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=359&contentID=107197
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น