นายพิษณุ สุวรรณชฎ กงสุลใหญ่ ณ นครกวางโจว
กฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติดของจีนที่คนไทยควรรู้
(เรียบเรียงจากคำบรรยายของทนายความ Shi Datuo Attorney. LLM. สถานกงสุลใหญ่ ณ นครกวางโจว สาธารณรัฐประชาชนจีน เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2553 เวลา 15.30 น.)
1. ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดของจีนมี 4 สถานคือ
1. เสพ
2. ขนส่ง
3. ผลิต
4. จำหน่าย
ไม่ว่าจะมีจำนวนมากน้อยเพียงใดก็มีโทษหนักถึงจำคุกนานนับ 10 ปี หรือจำคุกตลอดชีวิต รวมทั้งประหารชีวิต (ด้วยการยิงเป้าหรือฉีดสารพิษเข้าร่างกาย) ซึ่งผู้พิพากษาในศาลยุติธรรมจะเป็นผู้ตัดสิน
2. ศาลจีนที่พิจารณาคดีอาญาร้ายแรงและผู้ต้องหาเป็นชาวต่างชาติ ประกอบด้วย 2 ศาล
2.1 ศาลประชาชนชั้นกลาง หากไม่พอใจผลการตัดสินของศาลผู้ต้องโทษอาจอุทธรณ์ร้องขอให้ศาลประชาชนสูงสุดพิจารณาคดีใหม่ภายใน 10 วัน แต่ในกรณีโทษประหารชีวิตทางการจีนจะส่งเรื่องให้ศาลประชาชนสูงสุดพิจารณาโดยอัตโนมัตภายใน 2 เดือน
2.2 ศาลประชาชนชั้นสูงสุด คำวินิจฉัยของศาลประชาชนสูงสุดเป็นที่สุด
3. การตัดสินประหารชีวิตมี 2 แบบ
3.1 ลงโทษประหารชีวิตทันที หลังตัดสิน
3.2 ผ่อนเวลา 2 ปี เพื่อรอการประหาร ในระหว่างที่จำคุกอยู่นี้ หากนักโทษประพฤติตัวดีหรือมีเหตุสมควรลดโทษก็อาจได้รับพิจารณาลดโทษเป็นจำคุกตลอดชีวิตแทน
4.การลดโทษอาจทำได้ 3 แบบ
4.1 ลดระยะเวลาการจำคุกให้สั้นลง
4.2 การพักการลงโทษ (การคุมประพฤติ)
4.3 การดำเนินการนอกคุก
4.1 การลดระยะเวลาจำคุกให้สั้นลงมี 2 แบบ
4.1.1 ตามกฎหมายซึ่งศาลจะเป็นผู้กำหนดลดโทษให้ เมื่อ
ก. นักโทษแจ้งเบาะแสที่เป็นประโยชน์กับทางการจีนว่าจะมียาเสพติดเข้าจีน หรือ
ข. แจ้งเบาะแสการทำความผิดที่เกิดขึ้นในเรือนจำ (ปิดชื่อผู้แจ้งเป็นความลับเพื่อความปลอดภัย) หรือ
ค. นักโทษทำงานคิดสร้างสรรค์คิดคิดประดิษฐ์นวตกรรมใหม่ๆ และ
ง. เคยช่วยงานกู้ชีพผู้อื่นเมื่อเกิดภัยพิบัติ
4.1.2 การลดโทษเป็นกรณีมั่วๆ ไป
ก. เมื่อตำรวจราชทัณฑ์หรือศาลเห็นว่านักโทษประพฤติตัวดีระหว่างอยู่ในเรือนจำ (จึงควรมีความสัมพีนธ์ที่ดีกับเจ้าหน้าที่จีน) หรือ
ข. นักโทษทำหน้าที่ของตนเป็นอย่างดีในเรือนจำ และช่วยปรับปรุงให้ผลงานมีประสิทธิภาพดี ซึ่งกรณีนี้นักโทษควรเป็นผู้ร้องขอด้เวยตนเอง (โดยไม่ต้องรอทางการ) อาจเขียนคำร้องเป็นภาษาไทยและมีล่ามหรือเจ้าหน้าที่ช่วยแปลเป็นภาษาจีนให้
การขอลดระยะเวลาการลงโทษควรขอไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของโทษที่ได้รับ และหากจำคุกตลอดชีวิตจะลดโทษมากที่สุดไม่เกิน 10 ปี
ในกรณีที่ผู้ทำผิดโดยไม่มีเจตนานำเข้ายาเสพติด เมื่อรู้ตัวจึงรีบนำไปมอบให้ตำรวจจะได้รับการบรรเทาโทษ ลดโทษ หรือรอลงอาญา
2. การพักการลงโทษหรือการคุมประพฤติ
อาจมีได้ในกรณีที่นักโทษมีความสำนึกผิดและกลับตัวได้ โดยมีเงื่อนไขว่าต้องได้รับโทษจำคุกเกินกว่ากึ่งหนึ่งของโทษที่ได้รับ หากได้รับโทษจำคุกตลอดชีวิต ต้องรับโทษมาแล้ว 10 ปี จึงจะขอรับการพักโทษได้
3. การดำเนินการนอกคุกมี 3 กรณี คือ
ก. นักโทษป่วยอาการหนัก ต้องได้รับการรักษาในโรงพยาบาล
ข. นักโทษหญิงตั้งควรรภ์ หรืออยู่ในระหว่างใ ห้ นอมลูก
ค. นักโทษไม่สามารถดูแลช่วยเหลือตนเองได้ และไม่สามารถทำร้ายผู้อื่นได้ด้วย จึงให้อยู่นอกคุก
การนับเวลาต้องโทษ
โทษจำคุกทั่วไปให้นับรวมเวลาที่ถูกกักขังในเรือนจำก่อนหน้าคำพิพากษา แต่ในกรณีประหารชีวิตให้เริ่มนับตั้งแต่วันพิพากษา
การแจ้งญาติกรณีประหารชีวิตนักโทษ
โทษประหารชีวิตทางจีนจะต้องระมัดระวังมากโดยทั่วไปจะแจ้งให้กระทรวงการต่างประเทศจีนแจ้งแก่กระทรวงการต่างประเทศของนักโทษชาตินั้นๆ ทราบก่อน ในกรณีของไทย สถานกงสุลใหญ่ที่นครกวางโจวจะได้รับแจ้งและช่วยติดตามหาญาติที่เมืองไทยให้รับทราบก่อนหากตามหาได้
ค่าใช้จ่ายในการปลงศพหรือนำศพกลับประเทศ
กระบวนการประหารชีวิตนั้น ทางการจีนจะไม่คิดค่าใช้จ่าย แต่หากต้องการให้เผาศพหรือส่งศพคืน ต้องมีค่าใช้จ่าย ซึ่งกรณีดังกล่าวญาติต้องติดต่อผ่านสถานกงสุลใหญ่ฯ (เผาศพแล้วนำอัฐิกลับไทยใช้เงินราว 7,00 – 20,000 หยวน และหากนำศพกลับประเทศไทยค่าใช้จ่ายประมาณ 50,000 – 100,000 หยวน ราคาค่าใช้จ่ายในการดำเนินการอาจแตกต่างตามพื้นที่ เพราะบางแห่งอาจอยู่ในที่ราบสูง การขนส่งต้องทำหลายทอดหลายต่อ และอาจต้องใช้เวลาดำเนินการ 3 – 5 วัน)
ที่ปรึกษากฎหมาย
ปัจจุบันสถานกงสุลใหญ่ฯ ได้จ้างที่ปรึกษากฎหมายสำหรับนักโทษหรือญาติของนักโทษสามารถปรึกษาได้ แต่ที่ปรึกษากฎหมายของสถานกงสุลใหญ่ฯ ไม่ใช่ทนายความว่าความให้ หากนักโทษหรือญาติมีความประสงค์จะต่อสู้คดีสามารถจ้างทหายความดำเนินการได้เอง
การติดต่อขอเข้าเยี่ยมนักโทษ
ญาติที่ต้องการเดินทางไปเยี่ยมนักโทษในประเทศจีนสามารถติดต่อคุณศิริพร ช้างเอก กองคุ้มครองและดูแลผลประโยชน์คนไทยในต่างประเทศ กรมการกงสุล ถนนแจ้งวัฒนะ โทร. 02 – 981 – 7230 โทรสาร 02 – 575 – 1019 ; 02 – 575 – 1052 เพื่อประสานงานกับสถานกงสุลใหญ่ฯ ให้ล่วงหน้าก่อนการเดินทาง
ทั้งนี้ ของฝากทุกชนิด เช่น หนังสือ รูปภาพ เงิน หรือสร้อยพระ ต้องมอบผ่านสถานกงสุลใหญ่ฯ เพื่อส่งมอบให้ทางเรือนจำก่อนเสมอ อย่านำสิ่งของไปแบบมอบให้นักโทษตามลำพังจะเป็นการผิดระเบียบและอาจถูกเรือนจำยึดของฝากไปได้
ที่มา: พระดุษฎี เมธงกุโร วัดทุ่งไผ่ จังหวัดชุมพร
(เรียบเรียงจากคำบรรยายของทนายความ Shi Datuo Attorney. LLM. สถานกงสุลใหญ่ ณ นครกวางโจว สาธารณรัฐประชาชนจีน เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2553 เวลา 15.30 น.)
1. ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดของจีนมี 4 สถานคือ
1. เสพ
2. ขนส่ง
3. ผลิต
4. จำหน่าย
ไม่ว่าจะมีจำนวนมากน้อยเพียงใดก็มีโทษหนักถึงจำคุกนานนับ 10 ปี หรือจำคุกตลอดชีวิต รวมทั้งประหารชีวิต (ด้วยการยิงเป้าหรือฉีดสารพิษเข้าร่างกาย) ซึ่งผู้พิพากษาในศาลยุติธรรมจะเป็นผู้ตัดสิน
2. ศาลจีนที่พิจารณาคดีอาญาร้ายแรงและผู้ต้องหาเป็นชาวต่างชาติ ประกอบด้วย 2 ศาล
2.1 ศาลประชาชนชั้นกลาง หากไม่พอใจผลการตัดสินของศาลผู้ต้องโทษอาจอุทธรณ์ร้องขอให้ศาลประชาชนสูงสุดพิจารณาคดีใหม่ภายใน 10 วัน แต่ในกรณีโทษประหารชีวิตทางการจีนจะส่งเรื่องให้ศาลประชาชนสูงสุดพิจารณาโดยอัตโนมัตภายใน 2 เดือน
2.2 ศาลประชาชนชั้นสูงสุด คำวินิจฉัยของศาลประชาชนสูงสุดเป็นที่สุด
3. การตัดสินประหารชีวิตมี 2 แบบ
3.1 ลงโทษประหารชีวิตทันที หลังตัดสิน
3.2 ผ่อนเวลา 2 ปี เพื่อรอการประหาร ในระหว่างที่จำคุกอยู่นี้ หากนักโทษประพฤติตัวดีหรือมีเหตุสมควรลดโทษก็อาจได้รับพิจารณาลดโทษเป็นจำคุกตลอดชีวิตแทน
4.การลดโทษอาจทำได้ 3 แบบ
4.1 ลดระยะเวลาการจำคุกให้สั้นลง
4.2 การพักการลงโทษ (การคุมประพฤติ)
4.3 การดำเนินการนอกคุก
4.1 การลดระยะเวลาจำคุกให้สั้นลงมี 2 แบบ
4.1.1 ตามกฎหมายซึ่งศาลจะเป็นผู้กำหนดลดโทษให้ เมื่อ
ก. นักโทษแจ้งเบาะแสที่เป็นประโยชน์กับทางการจีนว่าจะมียาเสพติดเข้าจีน หรือ
ข. แจ้งเบาะแสการทำความผิดที่เกิดขึ้นในเรือนจำ (ปิดชื่อผู้แจ้งเป็นความลับเพื่อความปลอดภัย) หรือ
ค. นักโทษทำงานคิดสร้างสรรค์คิดคิดประดิษฐ์นวตกรรมใหม่ๆ และ
ง. เคยช่วยงานกู้ชีพผู้อื่นเมื่อเกิดภัยพิบัติ
4.1.2 การลดโทษเป็นกรณีมั่วๆ ไป
ก. เมื่อตำรวจราชทัณฑ์หรือศาลเห็นว่านักโทษประพฤติตัวดีระหว่างอยู่ในเรือนจำ (จึงควรมีความสัมพีนธ์ที่ดีกับเจ้าหน้าที่จีน) หรือ
ข. นักโทษทำหน้าที่ของตนเป็นอย่างดีในเรือนจำ และช่วยปรับปรุงให้ผลงานมีประสิทธิภาพดี ซึ่งกรณีนี้นักโทษควรเป็นผู้ร้องขอด้เวยตนเอง (โดยไม่ต้องรอทางการ) อาจเขียนคำร้องเป็นภาษาไทยและมีล่ามหรือเจ้าหน้าที่ช่วยแปลเป็นภาษาจีนให้
การขอลดระยะเวลาการลงโทษควรขอไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของโทษที่ได้รับ และหากจำคุกตลอดชีวิตจะลดโทษมากที่สุดไม่เกิน 10 ปี
ในกรณีที่ผู้ทำผิดโดยไม่มีเจตนานำเข้ายาเสพติด เมื่อรู้ตัวจึงรีบนำไปมอบให้ตำรวจจะได้รับการบรรเทาโทษ ลดโทษ หรือรอลงอาญา
2. การพักการลงโทษหรือการคุมประพฤติ
อาจมีได้ในกรณีที่นักโทษมีความสำนึกผิดและกลับตัวได้ โดยมีเงื่อนไขว่าต้องได้รับโทษจำคุกเกินกว่ากึ่งหนึ่งของโทษที่ได้รับ หากได้รับโทษจำคุกตลอดชีวิต ต้องรับโทษมาแล้ว 10 ปี จึงจะขอรับการพักโทษได้
3. การดำเนินการนอกคุกมี 3 กรณี คือ
ก. นักโทษป่วยอาการหนัก ต้องได้รับการรักษาในโรงพยาบาล
ข. นักโทษหญิงตั้งควรรภ์ หรืออยู่ในระหว่างใ ห้ นอมลูก
ค. นักโทษไม่สามารถดูแลช่วยเหลือตนเองได้ และไม่สามารถทำร้ายผู้อื่นได้ด้วย จึงให้อยู่นอกคุก
การนับเวลาต้องโทษ
โทษจำคุกทั่วไปให้นับรวมเวลาที่ถูกกักขังในเรือนจำก่อนหน้าคำพิพากษา แต่ในกรณีประหารชีวิตให้เริ่มนับตั้งแต่วันพิพากษา
การแจ้งญาติกรณีประหารชีวิตนักโทษ
โทษประหารชีวิตทางจีนจะต้องระมัดระวังมากโดยทั่วไปจะแจ้งให้กระทรวงการต่างประเทศจีนแจ้งแก่กระทรวงการต่างประเทศของนักโทษชาตินั้นๆ ทราบก่อน ในกรณีของไทย สถานกงสุลใหญ่ที่นครกวางโจวจะได้รับแจ้งและช่วยติดตามหาญาติที่เมืองไทยให้รับทราบก่อนหากตามหาได้
ค่าใช้จ่ายในการปลงศพหรือนำศพกลับประเทศ
กระบวนการประหารชีวิตนั้น ทางการจีนจะไม่คิดค่าใช้จ่าย แต่หากต้องการให้เผาศพหรือส่งศพคืน ต้องมีค่าใช้จ่าย ซึ่งกรณีดังกล่าวญาติต้องติดต่อผ่านสถานกงสุลใหญ่ฯ (เผาศพแล้วนำอัฐิกลับไทยใช้เงินราว 7,00 – 20,000 หยวน และหากนำศพกลับประเทศไทยค่าใช้จ่ายประมาณ 50,000 – 100,000 หยวน ราคาค่าใช้จ่ายในการดำเนินการอาจแตกต่างตามพื้นที่ เพราะบางแห่งอาจอยู่ในที่ราบสูง การขนส่งต้องทำหลายทอดหลายต่อ และอาจต้องใช้เวลาดำเนินการ 3 – 5 วัน)
ที่ปรึกษากฎหมาย
ปัจจุบันสถานกงสุลใหญ่ฯ ได้จ้างที่ปรึกษากฎหมายสำหรับนักโทษหรือญาติของนักโทษสามารถปรึกษาได้ แต่ที่ปรึกษากฎหมายของสถานกงสุลใหญ่ฯ ไม่ใช่ทนายความว่าความให้ หากนักโทษหรือญาติมีความประสงค์จะต่อสู้คดีสามารถจ้างทหายความดำเนินการได้เอง
การติดต่อขอเข้าเยี่ยมนักโทษ
ญาติที่ต้องการเดินทางไปเยี่ยมนักโทษในประเทศจีนสามารถติดต่อคุณศิริพร ช้างเอก กองคุ้มครองและดูแลผลประโยชน์คนไทยในต่างประเทศ กรมการกงสุล ถนนแจ้งวัฒนะ โทร. 02 – 981 – 7230 โทรสาร 02 – 575 – 1019 ; 02 – 575 – 1052 เพื่อประสานงานกับสถานกงสุลใหญ่ฯ ให้ล่วงหน้าก่อนการเดินทาง
ทั้งนี้ ของฝากทุกชนิด เช่น หนังสือ รูปภาพ เงิน หรือสร้อยพระ ต้องมอบผ่านสถานกงสุลใหญ่ฯ เพื่อส่งมอบให้ทางเรือนจำก่อนเสมอ อย่านำสิ่งของไปแบบมอบให้นักโทษตามลำพังจะเป็นการผิดระเบียบและอาจถูกเรือนจำยึดของฝากไปได้
ที่มา: พระดุษฎี เมธงกุโร วัดทุ่งไผ่ จังหวัดชุมพร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น