หญิงไทยถูกจับกุมข้อหายาเสพติดในต่างประเทศ
ปัจจุบันมีคนไทยถูกจับกุมด้วยข้อหายาเสพติดในต่างประเทศจำนวน 382 คน โดยส่วนใหญ่เป็นผู้หญิงและจากการสอบสวนพบว่าคนไทยกลุ่มนี้ถูกจับกุมในข้อหาลักลอบนำเข้ายาเสพติด โดยรับจ้างขนส่งยาเสพติดของขบวนการค้ายาเสพติดข้ามชาติไปยังประเทศต่างๆ
การหาหญิงรับจ้างขนยาเสพติด
ผู้รับจ้างขนยาเสพติดส่วนใหญ่ได้รับการชักชวนจากคนรู้จักในประเทศไทยซึ่งมักมีส่วนเกี่ยวข้องกับชายชาวแอฟริกันหรือขบวนการค้ายาเสพติดข้ามชาติ ปัจจุบันขบวนการค้ายาเสพติดของชาวแอฟริกันเข้ามาพำนักอยู่ในประเทศไทยโดยประกอบธุรกิจบังหน้า อาทิ ซื้อขายเสื้อผ้า ซื้อขายอัญมณี คนกลุ่มนี้เมื่อเข้ามาอยู่ในเมืองไทยแล้วจะพยายามตีสนิทกับหญิงไทยจนถึงขั้นได้เสียเป็นสามีภรรยากัน และจะใช้ภรรยาในการติดต่อหาผู้รับจ้างขนยาเสพติดโดยมุ่งหาหญิงไทยที่พร้อมจะทำหน้าที่เป็นผู้ขนส่งลำเลียงยาเสพติดให้ ซึ่งมักเป็นกลุ่มคนอายุระหว่าง 25-40 ปี มีการศึกษาน้อย ประสบปัญหาทางด้านการเงินต้องดูแลครอบครัว หรือมีปัญหาด้านสุขภาพ (ป่วยเป็นโรคติดต่อร้ายแรง อาทิ โรคเอดส์ วัณโรค) ภูมิลำเนาอยู่ในภาคกลางหรือตะวันออกเฉียงเหนือ และหากไม่สามารถหาหญิงรับจ้างขนยาเสพติดได้ก็จะใช้ภรรยานั้นเองให้ทำงานขนส่งยาเสพติด โดยปรากฏว่าคนขนยาเสพติดกลุ่มหลังนี้บางคนเป็นหญิงตั้งครรภ์
ขบวนการค้ายาเสพติดข้ามชาติจะออกค่าใช้จ่ายสำหรับผู้ขนส่งยาเสพติดในการเดินทางเช่น ค่าบัตรโดยสารเครื่องบิน ค่าวีซ่า และเงินติดกระเป๋าสำหรับใช้จ่ายระหว่างการเดินทาง ซึ่งเป้าหมายแรกในการเดินทางคือแหล่งผลิตยาเสพติดในภูมิภาคเอเชียใต้ อาทิ แอฟกานิสถาน ปากีสถาน หรือภูมิภาคลาตินอเมริกา อาทิ บราซิล อาร์เจนตินา เปรู หรืออาจเป็นประเทศที่ต้องไปรับยาเสพติด ซึ่งเมื่อผู้ทำหน้าที่ขนยาเสพติดเดินทางไปถึงประเทศปลายทางแล้ว ขบวนการดังกล่าวจะจัดที่พักให้เพื่อรอเวลาให้ผู้ค้ายาเสพติดนำยาเสพติดมาส่งให้ และผู้ขนส่งจะนำยาเสพติดดังกล่าวไปส่งยังประเทศปลายทาง ทั้งนี้หากทำสำเร็จจะได้รับค่าจ้างในการลักลอบขนส่งยาเสพติดประมาณ 2,000 – 5, 000 ดอลลาร์สหรัฐ
พื้นที่เป้าหมายที่ผู้ขนส่งถูกจับกุม
ขณะนี้มีคนไทยถูกจับกุมด้วยข้อหายาเสพติดทั่วโลก 22 ประเทศดังนี้
1. ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย สิงคโปร์ กัมพูชา พม่า
2. ภูมิภาคเอเชียตะวันออก ประเทศสาะรณรัฐประชาชนจัน ฮ่องกง เกาหลีใต้ ไต้หวัน
3. ภูมิภาคประเทศอินเดีย ปากีสถาน บังกลาเทศ
4. ภูมิภาคออสเตรเลียและแปซิฟิก ประเทศออสเตรเลีย
5. ภูมิภาคตะวันออกกลาง ประเทศอิสราเอล สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ บาห์เรน
6. ภูมิภาคแอฟริกา ประเทศแอฟริกาใต้
7. ภูมิภาคยุโรป ประเทศสเปน เยอรมนี
8. ภูมิภาคลาตินอเมริกา ประเทศบราซิล อาร์เจนตินา เปรู
วิธีการลักลอบขนส่งยาเสพติด
สำหรับวิธีการลักลอบขนส่งยาเสพติด จะใช้วิธีการซุกซ่อนยาเสพติดในรูปแบบต่างๆเพื่อนำไปส่งยังประเทศปลายทางดังนี้
1. ซุกซ่อนในร่างกาย
- โดยการห่อหุ้มยาเสพติดไว้ด้วยพลาสติกแล้วกลืนลงท้องเหมือนการกลืนยาแคปซูล แล้วดื่มน้ำตาม รอประมาณ 4-5 นาทีจึงกลืนห่อพลาสติดที่เหลืออยู่แล้วทำไปเช่นนี้จนครบน้ำหนักที่จะขน
ปัจจุบันมีคนไทยถูกจับกุมด้วยข้อหายาเสพติดในต่างประเทศจำนวน 382 คน โดยส่วนใหญ่เป็นผู้หญิงและจากการสอบสวนพบว่าคนไทยกลุ่มนี้ถูกจับกุมในข้อหาลักลอบนำเข้ายาเสพติด โดยรับจ้างขนส่งยาเสพติดของขบวนการค้ายาเสพติดข้ามชาติไปยังประเทศต่างๆ
การหาหญิงรับจ้างขนยาเสพติด
ผู้รับจ้างขนยาเสพติดส่วนใหญ่ได้รับการชักชวนจากคนรู้จักในประเทศไทยซึ่งมักมีส่วนเกี่ยวข้องกับชายชาวแอฟริกันหรือขบวนการค้ายาเสพติดข้ามชาติ ปัจจุบันขบวนการค้ายาเสพติดของชาวแอฟริกันเข้ามาพำนักอยู่ในประเทศไทยโดยประกอบธุรกิจบังหน้า อาทิ ซื้อขายเสื้อผ้า ซื้อขายอัญมณี คนกลุ่มนี้เมื่อเข้ามาอยู่ในเมืองไทยแล้วจะพยายามตีสนิทกับหญิงไทยจนถึงขั้นได้เสียเป็นสามีภรรยากัน และจะใช้ภรรยาในการติดต่อหาผู้รับจ้างขนยาเสพติดโดยมุ่งหาหญิงไทยที่พร้อมจะทำหน้าที่เป็นผู้ขนส่งลำเลียงยาเสพติดให้ ซึ่งมักเป็นกลุ่มคนอายุระหว่าง 25-40 ปี มีการศึกษาน้อย ประสบปัญหาทางด้านการเงินต้องดูแลครอบครัว หรือมีปัญหาด้านสุขภาพ (ป่วยเป็นโรคติดต่อร้ายแรง อาทิ โรคเอดส์ วัณโรค) ภูมิลำเนาอยู่ในภาคกลางหรือตะวันออกเฉียงเหนือ และหากไม่สามารถหาหญิงรับจ้างขนยาเสพติดได้ก็จะใช้ภรรยานั้นเองให้ทำงานขนส่งยาเสพติด โดยปรากฏว่าคนขนยาเสพติดกลุ่มหลังนี้บางคนเป็นหญิงตั้งครรภ์
ขบวนการค้ายาเสพติดข้ามชาติจะออกค่าใช้จ่ายสำหรับผู้ขนส่งยาเสพติดในการเดินทางเช่น ค่าบัตรโดยสารเครื่องบิน ค่าวีซ่า และเงินติดกระเป๋าสำหรับใช้จ่ายระหว่างการเดินทาง ซึ่งเป้าหมายแรกในการเดินทางคือแหล่งผลิตยาเสพติดในภูมิภาคเอเชียใต้ อาทิ แอฟกานิสถาน ปากีสถาน หรือภูมิภาคลาตินอเมริกา อาทิ บราซิล อาร์เจนตินา เปรู หรืออาจเป็นประเทศที่ต้องไปรับยาเสพติด ซึ่งเมื่อผู้ทำหน้าที่ขนยาเสพติดเดินทางไปถึงประเทศปลายทางแล้ว ขบวนการดังกล่าวจะจัดที่พักให้เพื่อรอเวลาให้ผู้ค้ายาเสพติดนำยาเสพติดมาส่งให้ และผู้ขนส่งจะนำยาเสพติดดังกล่าวไปส่งยังประเทศปลายทาง ทั้งนี้หากทำสำเร็จจะได้รับค่าจ้างในการลักลอบขนส่งยาเสพติดประมาณ 2,000 – 5, 000 ดอลลาร์สหรัฐ
พื้นที่เป้าหมายที่ผู้ขนส่งถูกจับกุม
ขณะนี้มีคนไทยถูกจับกุมด้วยข้อหายาเสพติดทั่วโลก 22 ประเทศดังนี้
1. ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย สิงคโปร์ กัมพูชา พม่า
2. ภูมิภาคเอเชียตะวันออก ประเทศสาะรณรัฐประชาชนจัน ฮ่องกง เกาหลีใต้ ไต้หวัน
3. ภูมิภาคประเทศอินเดีย ปากีสถาน บังกลาเทศ
4. ภูมิภาคออสเตรเลียและแปซิฟิก ประเทศออสเตรเลีย
5. ภูมิภาคตะวันออกกลาง ประเทศอิสราเอล สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ บาห์เรน
6. ภูมิภาคแอฟริกา ประเทศแอฟริกาใต้
7. ภูมิภาคยุโรป ประเทศสเปน เยอรมนี
8. ภูมิภาคลาตินอเมริกา ประเทศบราซิล อาร์เจนตินา เปรู
วิธีการลักลอบขนส่งยาเสพติด
สำหรับวิธีการลักลอบขนส่งยาเสพติด จะใช้วิธีการซุกซ่อนยาเสพติดในรูปแบบต่างๆเพื่อนำไปส่งยังประเทศปลายทางดังนี้
1. ซุกซ่อนในร่างกาย
- โดยการห่อหุ้มยาเสพติดไว้ด้วยพลาสติกแล้วกลืนลงท้องเหมือนการกลืนยาแคปซูล แล้วดื่มน้ำตาม รอประมาณ 4-5 นาทีจึงกลืนห่อพลาสติดที่เหลืออยู่แล้วทำไปเช่นนี้จนครบน้ำหนักที่จะขน
- โดยการสอดใส่ไว้ในช่องคลอด ทวารหนัก หรือผ้าอนามัย
2. ซุกซ่อนในกระเป๋าเดินทาง ซึ่งวิธีการนี้จะเป็นวิธีการที่นิยม เนื่องจากสามารถขนยาเสพติดได้จำนวนมาก โดยขบวนการดังกล่าวจะนำกระเป๋าเดินทางใบใหม่มาให้ผู้ขนส่งซึ่งกระเป๋าใบใหม่จะถูกผ่าเป็นช่องเพื่อยัดยาเสพติดไว้ในช่องว่าง ซึ่งเป็นการยากที่จะสังเกตเห็น
3. ซุกซ่อนตามเสื้อผ้า เสื้อชั้นใน รองเท้า กระป๋องแป้ง ขวดโลชั่น
4. ซุกซ่อนในปกหน้าและหลังของหนังสือ
5. ซุกซ่อนในพัสดุภัณฑ์ที่จัดส่งทางไปรษณีย์
ประเภทยาเสพติดที่ถูกจับได้
ส่วนยาเสพติดที่ตรวจจับได้มี 3 ประเภทดังนี้
1. เฮโรอีน ประเทศปลายทางที่เป็นตลาดหลักในการส่งมอบเฮโลอีนคือสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งมีความต้องการสูง
2. โคเคน ตลาดหลักของโคเคนอยู่ในยุโรปและเอเชีย
3. ยาบ้า ตลาดหลักจะเป็นประเทศที่มีแรงงานไทยเข้าไปทำงาน เช่น อิสราเอล ไต้หวัน เกาหลีใต้ และประเทศเพื่อนบ้าน
เส้นทางที่ใช้ในการเดินทาง
1. เส้นทางขนส่งเฮโรอีน ผู้ลักลอบขนส่งเฮโรอีนจะเดินทางจากประเทศต้นทางซึ่งอาจเป็นไทยหรือประเทศเพื่อนบ้านและไปแวะที่ประเทศที่สอง หรือเดินทางตรงไปประเทศที่ต้องรับยาเสพติดหลังจากนั้นจะนำยาเสพติดเดินทางเข้าประเทศจีน (ตลาดหลัก) ซึ่งมีเส้นทางการเดินทางเข้าจีนทั้งทางอากาศ ทางบก (ทางรถยนต์และรถไฟ) และทางน้ำ
2. เส้นทางขนส่งโคเคน ประเทศบราซิลเป็นศูนย์กลางของเส้นทางการค้ายาเสพติดระหว่างประเทศ และสนามบินกัวเลาโยส (Guaraulhos) นครเซาเปาโลเป็นจุดเชื่อมต่อของการลักลอบขนยาเสพติดทางอากาศ เนื่องจากมีเที่ยวบินเชื่อมต่อจุดต่างๆในลาตินอเมริกาจำนวนมาก เส้นทางหลักที่ใช้ลักลอบขนยาเสพติดได้แก่ นครเซาเปาโลไปยังกรุงลอนดอนกรุงบรัสเซลส์ กรุงมาดริดและนครบาเซโลนา กรุงลิสบอน กรุงปารีส นครซูริค (สวิตเซอร์แลนด์) กรุงดาการ์ (เซเนกัล) กรุงโรม นครอิสตันบุล(ตุรกี) กรุงลากอส (ไนจีเรีย) ดูไบ (สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์) กรุงลาอุนด้า(อังโกลา) กรุงเทพ และนครโจฮันเนสเบิร์ก (แอฟริกาใต้)
3. เส้นทางขนส่งยาบ้า การขนส่งยาบ้าส่วนใหญ่เป็นการขนส่งในรูปของพัสดุภัณฑ์ทางไปรษณีย์ไปยังประเทศที่มีแรงงานไทยทำงานอยู่ เพื่อไปจำหน่ายให้แก่แรงงานไทย และเป็นการขนส่งระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน
บทลงโทษ
1. สาธารณรัฐประชาชนจีน: กฎหมายกำหนดโทษหนักสำหรับการนำเข้ายาเสพติดโดยมีโทษจำคุก 12-15 ปี ถึงขั้นจำคุกตลอดชีวิตและประหารชีวิต
2. สิงคโปร์ : กฎหมายสิงคโปร์กำหนดโทษประหารชีวิตสำหรับผู้ค้ายาเสพติดเฮโรอีนเกิน 15 กรัม หรือยาเมทแอมเฟตามีนเกินกว่า 25 กรัม
3. บราซิลและอาร์เจนตินา : กฎหมายกำหนดโทษจำคุก 4-8 ปี สำหรับการลักลอบนำเข้ายาเสพติด
4. พม่า: โทษสำหรับการมียาเสพติดไว้ในครอบครองเพื่อการเสพจำคุก 15-17 ปี หรือการมีไว้เพื่อจำหน่ายโทษจำคุกคลอดชีวิตหรือประหารชีวิต
วิเคราะห์กรณีคนไทยถูกจับกุมข้อหายาเสพติด
1. ผู้ชักชวนส่วนใหญ่เป็นชายชาวแอฟริกัน หรือผู้ที่รู้จักในประเทศไทยซึ่งมีส่วนเกี่ยวพันกับชายชาวแอฟริกัน หรือขบวนการค้ายาเสพติดข้ามชาติ
1. ผู้ชักชวนส่วนใหญ่เป็นชายชาวแอฟริกัน หรือผู้ที่รู้จักในประเทศไทยซึ่งมีส่วนเกี่ยวพันกับชายชาวแอฟริกัน หรือขบวนการค้ายาเสพติดข้ามชาติ
2. ผู้ถูกจับส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง
3. ผู้ถูกจับมีความสัมพันธ์ฉันสามีภรรยากับชายชาวแอฟริกันหรือคนในขบวนการค้ายาเสพติด
4. ผู้ถูกจับมีการศึกษาน้อย มีปัญหาด้านการเงิน เป็นผู้ที่ต้องรับภาระดูแลครอบครัว หรือมีปัญหาด้านสุขภาพ (ป่วยเป็นโรคติดต่อร้ายแรง เช่น โรคเอดส์ วัณโรค)
5. ผู้ถูกจับได้รับข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง หรือไม่ครบถ้วน เช่น บทลงโทษผู้ต้องคดียาเสพติดซึ่งมีโทษหนักทั่วโลก
6. ผู้ถูกจับพอใจเงื่อนไขการเดินทางไปต่างประเทศโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายและได้รับค่าตอบแทนสูงหากทำงานสำเร็จ
7. ผู้ถูกจับกระทำผิดลักษณะลักลอบขนยาเสพติด หรือมียาเสพติดไว้ในครอบครองเพื่อเสพ เพื่อจำหน่าย
เตือนภัย
การลักลอบนำยาเสพติดเข้าประเทศต่างๆ เป็นการยากที่จะรอดพ้นการจับกุมของเจ้าหน้าที่ตำรวจซึ่งมีเครือข่ายข้อมูลเชื่อมโยงระหว่างประเทศ รวมทั้งมีวิธีการตรวจและค้นหายาเสพติดที่ทันสมัย และหากถูกจับกุมผู้รับจ้างขนยาเสพติดจะไม่ได้รับค่าจ้าง
โทษการนำเข้ายาเสพติดในประเทศต่างๆมีโทษจำคุกตั้งแต่ 10-30 ปี จำคุกตลอดชีวิต หรือประหารชีวิต และยากที่จะขออภัยโทษ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น