ซับซ้อนซ่อนเงื่อนกับปัญหาโจรสลัดโซมาเลีย
ช่วงนี้ผมเองก็เพิ่งจะมองเห็นภาพการปฏิบัติการของโจรสลัดโซมาเลีย และปัญหาที่เกี่ยวข้องตามมาชัดเจนมากยิ่งขึ้น แม้กระนั้น ผมก็บอกได้ว่า ยังไม่รู้ว่าปัญหามีสาเหตุที่แท้จริงมาจากอะไร และไม่สามารถที่จะหาทางออกของปัญหาแบบครบวงจรได้
เรือสัญชาติไทยที่โดนจับเรียกค่าไถ่ล่าสุดจำนวน 3 ลำ แน่นอนว่า ไม่ใช่เรือสัญชาติไทยกลุ่มแรกที่โดนจับ น่าแปลกที่แม้ว่าจะมีลำแรกที่โดนจับไปแล้วเป็นตัวอย่าง แต่เหตุการณ์เช่นนี้ยังเกิดขึ้นซ้ำ หากดูจากข้อเท็จจริงที่ปรากฎให้เห็นแล้ว ทุกท่านอาจจะทราบว่า แถบโซมาเลียนี้เต็มไปด้วยปัญหา และความเสี่ยงที่จะถูกโจรสลัดจับ ผมว่า ความเสี่ยงสูงกว่า 80% เนื่องจาก ประชากรส่วนใหญ่ในประเทศก็ยึดถือการปล้นเรือประมงต่างชาติเป็นงานหลัก จับเรือครั้งหนึ่งเรียกค่าไถ่ได้มหาศาล รัฐบาลก็ทำอะไรไม่ได้ ถ้าไม่ประกอบอาชีพโจรสลัดก็ไม่รู้จะทำอะไรให้มีรายได้ดีกว่านี้
น่านน้ำโซมาเลียจนไปถึงเซเชลส์แถบนี้อุดมสมบูรณ์จริง ๆ ทรัพยากรธรรมชาติมีอยู่เยอะ ปลาทูน่ามีจำนวนมหาศาล จับกันเท่าไหร่ก็ไม่หมด นี่ย่อมดึงดูดผู้ประกอบอาชีพอุตสาหกรรมประมงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ หลายคนคิดว่า “คุ้มค่าเสี่ยง” แต่หลังจากเหตุการณ์ร้าย ๆ ที่เกิดขึ้น เจ้าของเรือประมงควรตระหนักว่า เรือประมงที่ไปด้วยตนเอง ไม่มีกองกำลังคุ้มกันนั้น เหมือนแล่นเข้าไปหาหายนะ ต้องคอยลุ้นทุกครั้งว่า จะรอดกลับมาหรือเปล่า อย่างนี้ดูท่าจะ “ไม่คุ้มค่าเสี่ยง” แล้วครับ
เมื่อมีเรือถูกโจรสลัดโซมาเลียจับ ก็ปรากฎมีกลุ่มคนหลากหลายฝ่ายเข้ามาเสนอข้อเสนอสำหรับเจ้าของเรือประมงที่ต้องการจ่ายค่าไถ่ เพื่อให้เรือและลูกเรือเป็นอิสระ ต่างฝ่ายต่างก็มุ่งหวังผลประโยชน์จากเรื่องนี้ทั้งสิ้น มีผู้ตั้งข้อคิดเห็นว่า เรื่องปัญหาโจรสลัดนี้เป็นเรื่องของผลประโยชน์ และเงินทองอย่างแท้จริง และมีผู้ร่วมผลประโยชน์ในเรื่องนี้จำนวนมาก ไม่ใช่แต่พวกโจรสลัดในโซมาเลีย ยังมีกลุ่มนายหน้า ผู้สั่งการ บริษัทไถ่เรือ บริษัทประกันภัย ผู้ทำหน้าที่เจรจา เอ็นจีโอ และอีกมากมาย ผลประโยชน์จากการจับเรือประมงของโจรสลัดโซมาเลียนั้นมากมายเพียงใด มีผู้ตั้งข้อสังเกตว่า ให้ลองพิจารณาดูจากธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในเคนยาซึ่งเฟื่องฟูอย่างมากในช่วงสองสามปีมานี้ มีการตั้งข้อสังเกตว่า หากพิจารณาจากคนเคนยาส่วนใหญ่ซึ่งยากจนมาก จะสามารถใช้จ่ายเงินมากมายในการซื้ออสังหาริมทรัพย์ได้อย่างไร เมื่อค้นหาคำตอบแล้วกลับพบว่า คนที่มาหาซื้อ สร้าง หรือ เช่า จำนวนมากเป็นชาวโซมาเลีย ปัญหานี้จะแก้ได้อย่างไร เมื่อไม่ใช่เฉพาะกลุ่มโจรสลัดในโซมาเลียที่ได้รับผลประโยชน์ นี่เป็นสิ่งที่นานาชาติควรจับตามอง เพราะมีผู้เกี่ยวข้องอยู่ทั่วโลก ทั้งในรูปของรัฐบาล ภาคเอกชน บุคคลที่มีชื่อเสียง เอ็นจีโอ ผู้ทรงอิทธิพล ส่วนตัวผมเห็นว่า การหาทางออกของปัญหาที่ชัดเจนอาจต้องใช้เวลานาน และคนที่เกี่ยวข้องก็ยังคงสามารถหาผลประโยชน์จากธุรกิจนี้ โดยแลกมาจากเงินจากผู้ประกอบการเรือประมง
เพราะฉะนั้น ผมใคร่จะขอเตือนผู้ประกอบการที่ยังต้องการเดินเรือมาแบ่งปันทรัพยากรแถบนี้ว่า ให้คิดให้ดี คิดให้ซับซ้อนได้จะดีมาก แล้วท่านจะได้ไม่เสียเลือดเนื้อ และเม็ดเงินให้กับโจรสลัด และผู้ร่วมวงจร ทางออกของปัญหานี้อีกทางที่น่าพิจารณาคือ เหมือนอย่างที่รัฐบาลของบางประเทศให้ประกาศห้ามไว้อย่างชัดเจนแล้ว การห้ามไม่ให้เรือสัญชาติของตนเองทุกชนิดเข้าใกล้น่านน้ำโซมาเลียโดยเด็ดขาด
เขียนโดย : นายภาณุพันธ์ โชติรังสียากุล
สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงไนโรบี ประเทศเคนยา
ช่วงนี้ผมเองก็เพิ่งจะมองเห็นภาพการปฏิบัติการของโจรสลัดโซมาเลีย และปัญหาที่เกี่ยวข้องตามมาชัดเจนมากยิ่งขึ้น แม้กระนั้น ผมก็บอกได้ว่า ยังไม่รู้ว่าปัญหามีสาเหตุที่แท้จริงมาจากอะไร และไม่สามารถที่จะหาทางออกของปัญหาแบบครบวงจรได้
เรือสัญชาติไทยที่โดนจับเรียกค่าไถ่ล่าสุดจำนวน 3 ลำ แน่นอนว่า ไม่ใช่เรือสัญชาติไทยกลุ่มแรกที่โดนจับ น่าแปลกที่แม้ว่าจะมีลำแรกที่โดนจับไปแล้วเป็นตัวอย่าง แต่เหตุการณ์เช่นนี้ยังเกิดขึ้นซ้ำ หากดูจากข้อเท็จจริงที่ปรากฎให้เห็นแล้ว ทุกท่านอาจจะทราบว่า แถบโซมาเลียนี้เต็มไปด้วยปัญหา และความเสี่ยงที่จะถูกโจรสลัดจับ ผมว่า ความเสี่ยงสูงกว่า 80% เนื่องจาก ประชากรส่วนใหญ่ในประเทศก็ยึดถือการปล้นเรือประมงต่างชาติเป็นงานหลัก จับเรือครั้งหนึ่งเรียกค่าไถ่ได้มหาศาล รัฐบาลก็ทำอะไรไม่ได้ ถ้าไม่ประกอบอาชีพโจรสลัดก็ไม่รู้จะทำอะไรให้มีรายได้ดีกว่านี้
น่านน้ำโซมาเลียจนไปถึงเซเชลส์แถบนี้อุดมสมบูรณ์จริง ๆ ทรัพยากรธรรมชาติมีอยู่เยอะ ปลาทูน่ามีจำนวนมหาศาล จับกันเท่าไหร่ก็ไม่หมด นี่ย่อมดึงดูดผู้ประกอบอาชีพอุตสาหกรรมประมงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ หลายคนคิดว่า “คุ้มค่าเสี่ยง” แต่หลังจากเหตุการณ์ร้าย ๆ ที่เกิดขึ้น เจ้าของเรือประมงควรตระหนักว่า เรือประมงที่ไปด้วยตนเอง ไม่มีกองกำลังคุ้มกันนั้น เหมือนแล่นเข้าไปหาหายนะ ต้องคอยลุ้นทุกครั้งว่า จะรอดกลับมาหรือเปล่า อย่างนี้ดูท่าจะ “ไม่คุ้มค่าเสี่ยง” แล้วครับ
เมื่อมีเรือถูกโจรสลัดโซมาเลียจับ ก็ปรากฎมีกลุ่มคนหลากหลายฝ่ายเข้ามาเสนอข้อเสนอสำหรับเจ้าของเรือประมงที่ต้องการจ่ายค่าไถ่ เพื่อให้เรือและลูกเรือเป็นอิสระ ต่างฝ่ายต่างก็มุ่งหวังผลประโยชน์จากเรื่องนี้ทั้งสิ้น มีผู้ตั้งข้อคิดเห็นว่า เรื่องปัญหาโจรสลัดนี้เป็นเรื่องของผลประโยชน์ และเงินทองอย่างแท้จริง และมีผู้ร่วมผลประโยชน์ในเรื่องนี้จำนวนมาก ไม่ใช่แต่พวกโจรสลัดในโซมาเลีย ยังมีกลุ่มนายหน้า ผู้สั่งการ บริษัทไถ่เรือ บริษัทประกันภัย ผู้ทำหน้าที่เจรจา เอ็นจีโอ และอีกมากมาย ผลประโยชน์จากการจับเรือประมงของโจรสลัดโซมาเลียนั้นมากมายเพียงใด มีผู้ตั้งข้อสังเกตว่า ให้ลองพิจารณาดูจากธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในเคนยาซึ่งเฟื่องฟูอย่างมากในช่วงสองสามปีมานี้ มีการตั้งข้อสังเกตว่า หากพิจารณาจากคนเคนยาส่วนใหญ่ซึ่งยากจนมาก จะสามารถใช้จ่ายเงินมากมายในการซื้ออสังหาริมทรัพย์ได้อย่างไร เมื่อค้นหาคำตอบแล้วกลับพบว่า คนที่มาหาซื้อ สร้าง หรือ เช่า จำนวนมากเป็นชาวโซมาเลีย ปัญหานี้จะแก้ได้อย่างไร เมื่อไม่ใช่เฉพาะกลุ่มโจรสลัดในโซมาเลียที่ได้รับผลประโยชน์ นี่เป็นสิ่งที่นานาชาติควรจับตามอง เพราะมีผู้เกี่ยวข้องอยู่ทั่วโลก ทั้งในรูปของรัฐบาล ภาคเอกชน บุคคลที่มีชื่อเสียง เอ็นจีโอ ผู้ทรงอิทธิพล ส่วนตัวผมเห็นว่า การหาทางออกของปัญหาที่ชัดเจนอาจต้องใช้เวลานาน และคนที่เกี่ยวข้องก็ยังคงสามารถหาผลประโยชน์จากธุรกิจนี้ โดยแลกมาจากเงินจากผู้ประกอบการเรือประมง
เพราะฉะนั้น ผมใคร่จะขอเตือนผู้ประกอบการที่ยังต้องการเดินเรือมาแบ่งปันทรัพยากรแถบนี้ว่า ให้คิดให้ดี คิดให้ซับซ้อนได้จะดีมาก แล้วท่านจะได้ไม่เสียเลือดเนื้อ และเม็ดเงินให้กับโจรสลัด และผู้ร่วมวงจร ทางออกของปัญหานี้อีกทางที่น่าพิจารณาคือ เหมือนอย่างที่รัฐบาลของบางประเทศให้ประกาศห้ามไว้อย่างชัดเจนแล้ว การห้ามไม่ให้เรือสัญชาติของตนเองทุกชนิดเข้าใกล้น่านน้ำโซมาเลียโดยเด็ดขาด
เขียนโดย : นายภาณุพันธ์ โชติรังสียากุล
สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงไนโรบี ประเทศเคนยา
ที่มา: http://www.thaiafrica.net/th/article/africa/detail.php?ELEMENT_ID=467
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น