การดำเนินการให้ความช่วยเหลือคนงานไทยในประเทศญี่ปุ่น
◉ ในกรณีที่มีการร้องเรียนว่านายจ้างมิได้ปฏิบัติตามกฎหมายมาตรฐานแรงงานทำให้ลูกจ้างเสียสิทธิประโยชน์ตามที่ลูกจ้างร้องทุกข์ ในเบื้องต้นสำนักงานแรงงานในประเทศญี่ปุ่นจะตรวจสอบข้อเท็จจริงจากนายจ้างตามที่ลูกจ้างได้ชี้แจงไว้ โดยพิจารณาจากหลักฐานประกอบคำร้องทุกข์หรือพยานบุคคลและพยายามเจรจาประนีประนอมให้มากที่สุด เพื่อให้นายจ้างชดเชยเงินส่วนที่ลูกจ้างเสียสิทธิประโยชน์เพื่อให้เรื่องจบลงโดยเร็ว หากนายจ้างให้ความร่วมมือก็จะขอร้องให้ชดเชยเงินส่วนที่ลูกจ้างเสียสิทธิประโยชน์ให้แก่ลูกจ้าง เมื่อลูกจ้างได้รับเงินดังกล่าวแล้ว ถือว่าได้ดำเนินการเรื่องเสร็จสิ้น แต่หากนายจ้างปฏิเสธไม่ให้ความร่วมมือทั้งที่มีหลักฐานชี้ชัดว่านายจ้างละเมิดสิทธิของลูกจ้าง และไม่สามารถไกล่เกลี่ยตกลงกันได้ ก็จะรวบรวมหลักฐานที่มีอยู่และพาลูกจ้างไปยื่นคำร้องทุกข์ต่อสำนักงานมาตรฐานแรงงานญี่ปุ่นในเขตที่ที่ทำงานตั้งอยู่ เพื่อให้ดำเนินการตรวจสอบต่อไป โดยมีการประสานงานติดตามเรื่องกับสำนักงานมาตรฐานแรงงานญี่ปุ่น และแจ้งความคืบหน้าให้คนงานทราบเป็นระยะๆจนกว่าเรื่องจะสิ้นสุด แต่ในกรณีข้อมูลที่ลูกจ้างร้องทุกข์ไม่มีมูลความจริง สำนักงานแรงงานฯ จะขอร้องให้นายจ้างส่งเอกสารเพื่อยืนยันข้อเท็จจริง และชี้แจงให้ลูกจ้างทราบต่อไป
สำหรับสิทธิประโยชน์ที่คนงานไทยพึงได้รับในกรณีต่างๆ จำแนก ได้ดังนี้
1. กรณีเจ็บป่วย ประสบอันตรายหรือเสียชีวิตจากการทำงานไม่ว่าลูกจ้างจะมีวีซ่าทำงาน อยู่อย่างถูกต้องตามกฎหมาย หรือไม่มีวีซ่าก็ตาม นายจ้างมีหน้าที่ต้องจัดทำประกันอุบัติเหตุจากการทำงานให้แก่ลูกจ้าง ซึ่งลูกจ้างจะได้รับการคุ้มครองตามระบบประกันอุบัติเหตุจากการทำงาน ดังนี้
1.1 เงินชดเชยค่ารักษาพยาบาล จะจ่ายเงินชดเชยค่ารักษาพยาบาล ให้แก่ลูกจ้างที่เจ็บป่วยหรือได้รับอุบัติเหตุจากการทำงานจนกว่า จะหมดความจำเป็นที่ต้องได้รับการรักษา ค่าชดเชย ได้แก่ ค่ารักษา พยาบาล ค่ายา ค่าผ่าตัด ค่าอุปกรณ์ในการรักษา ค่าเครื่องมือแพทย์ ตลอดจนค่าใช้จ่ายในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย เป็นต้น
1.2 เงินชดเชยในระหว่างหยุดงานเพื่อพักรักษาตัว ลูกจ้างมีสิทธิได้รับ เงินชดเชยในอัตราร้อยละ 60 ของอัตราค่าจ้างพื้นฐานเฉลี่ยรายวันนับตั้งแต่ วันที่ 4 ที่ต้องหยุดงานเนื่องจากเจ็บป่วยและหากหยุดงานเพื่อรักษาตัวไปจนครบปีครึ่งแล้ว แต่อาการยังไม่ดีขึ้น จะจ่ายเงินทดแทนให้เป็นเงินรายปี ในอัตราเท่ากับค่าจ้างพื้นฐานเฉลี่ยรายวันระหว่าง 245 ถึง 313 วัน ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของอาการ
1.3 เงินชดเชยกรณีสูญเสียอวัยวะหรือทุพพลภาพ หากได้รับอุบัติเหตุจากการทำงานและการรักษาสิ้นสุดลงแล้ว แต่ลูกจ้างต้องสูญเสียอวัยวะหรือทุพพลภาพ จะมีการตีระดับของการสูญเสียหรือทุพพลภาพว่าอยู่ในระดับใด (ระดับ 1 ถึง 14) ในระดับ 1 ถึง 7 จะได้รับเงินชดเชยเป็นเงินรายปี ในอัตราเท่ากับรายได้เฉลี่ยรายวัน ระหว่าง 131 ถึง 313 วัน และในระดับ 8 ถึง 14 จะได้รับเงินชดเชยเป็นเงินก้อนครั้งเดียวเท่ากับรายได้เฉลี่ยรายวันระหว่าง 56 ถึง 503 วัน
1.4 เงินชดเชยให้แก่ทายาทกรณีลูกจ้างเสียชีวิตเนื่องจากได้รับอุบัติเหตุจากการทำงาน ทายาทของผู้เสียชีวิตต้องมีคุณสมบัติเข้าข่ายตามเงื่อนไขที่กำหนดในกฎหมายประกันอุบัติเหตุจากการทำงานเรียงลำดับทายาท ดังนี้
1.4.1 คู่สมรสที่อยู่กินฉันสามีภรรยา (แม้ว่าจะไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน)
1.4.2 บิดามารดา
1.4.3 บุตรหลาน ที่มีอายุน้อยกว่า 18 ปีบริบูรณ์
1.4.4 ปู่ ย่า ตา ยาย ที่มีอายุมากกว่า 60 ปี
1.4.5 พี่น้องที่มีอายุน้อยกว่า 18 ปี หรือมากกว่า 60 ปี กรณีบุตรที่อยู่ในครรภ์ภรรยา ในขณะที่สามีถึงแก่ความตาย เมื่อคลอดแล้วก็จะเป็นผู้มีสิทธิได้รับค่าทดแทนด้วย
1.5 เงินค่าใช้จ่ายในการจัดการศพหากลูกจ้างถึงแก่ชีวิต ทายาทหรือผู้จัดการศพมีสิทธิจะได้เงินค่าจัดการศพ จำนวน 315,000 เยนพร้อมกับรายได้เฉลี่ยรายวันอีกจำนวน 30 วัน หรือได้รับเงินรายได้เฉลี่ยรายวัน จำนวน 60 วัน แล้วแต่จำนวนใดจะมากกว่า
หมายเหตุ กรณีที่ลูกจ้างประสบอุบัติเหตุ หรือได้รับบาดเจ็บระหว่างเดินทางไปกลับระหว่างที่พักและที่ทำงานก็จะได้รับผลประโยชน์จากการคุ้มครองเช่นเดียวกับ การได้รับอุบัติเหตุจากการทำงาน
2. กรณีเจ็บป่วย ประสบอันตรายหรือเสียชีวิตนอกเวลาทำงานผู้ที่เข้าร่วมระบบประกันสุขภาพของญี่ปุ่นจะได้รับการคุ้มครองเจ็บป่วย หรือประสบอันตรายนอกเวลาทำงาน ซึ่งระบบนี้เปิดให้เฉพาะผู้ที่อยู่ ในประเทศญี่ปุ่นอย่างถูกต้องเท่านั้น มีคนไทยที่ไม่มีวีซ่าเพียงส่วนน้อย เท่านั้นที่ได้รับอนุญาตให้เข้าร่วมทำประกันสุขภาพของรัฐได้ ผู้เข้าร่วม ระบบประกันสุขภาพนี้จะได้รับสิทธิประโยชน์ ดังนี้
2.1 ค่ารักษาพยาบาลเงินชดเชยเมื่อบาดเจ็บ หรือเจ็บป่วยโดยมิได้มีสาเหตุจากการทำงานและเข้ารับการรักษาจากสถานพยาบาลลูกจ้างรับผิดชอบจ่ายค่ารักษาพยาบาลเพียงร้อยละ 30 ส่วนที่เหลือ(อีกร้อยละ 70) สถานพยาบาลจะรับจากรัฐบาล นอกจากนี้ ยังได้รับการช่วยเหลือค่ายา และหากจำเป็นต้องรับการรักษาที่บ้าน หรือเข้าโรงพยาบาล ค่าเตียง ค่าอาหาร หรือค่าอื่นๆ ตามที่กำหนดก็จ่ายในอัตราเพียงร้อยละ 30 เช่นกัน
2.2 เงินอุดหนุนระหว่างหยุดพักรักษาตัว หากเจ็บป่วยหนักจนไม่สามารถไปทำงานได้และไม่ได้รับค่าจ้าง ประกันจะจ่ายเงินอุดหนุนให้ในอัตราร้อยละ 60 ของค่าจ้างนับตั้งแต่วันที่สี่ที่หยุดงานเป็นระยะเวลาปีครึ่ง
2.3 เงินอุดหนุนระหว่างลาเพื่อไปคลอดบุตร กรณีที่ลาเพื่อไปคลอดบุตรมิได้ทำงาน ขาดรายได้ ประกันก็จะจ่ายเงินอุดหนุนขณะลาคลอดให้ในอัตราร้อยละ 60 ของค่าจ้าง จำนวน 42 วันก่อนคลอด(กรณีลูกแฝด จ่ายร้อยละ 60 ของค่าจ้าง 98 วัน) และอีกร้อยละ60 ของค่าจ้าง จำนวน 56 วันหลังคลอด
2.4 เงินอุดหนุนค่าใช้จ่ายในการคลอดบุตร จะได้รับเงินอุดหนุนค่าคลอดบุตร 300,000 เยน ต่อบุตร 1 คน
2.5 เงินอุดหนุนค่าจัดการศพในกรณีที่ลูกจ้างเสียชีวิต ทายาทหรือ ผู้ที่รับผิดชอบจัดงานศพจะได้รับเงินอุดหนุนเท่ากับเงินเดือนเฉลี่ยของผู้ตาย จำนวน 1 เดือน (ไม่น้อยกว่า 100,000 เยน)
3. กรณีนายจ้างค้างจ่ายค่าจ้างเงินทำงานล่วงเวลา ไม่จ่ายเงินชดเชยกรณีเลิกจ้างกระทันหัน สามารถยื่นคำร้องโดยระบุรายละเอียดบันทึกปากคำ พร้อมแนบเอกสาร ดังนี้
3.1 หลักฐานประจำตัว ได้แก่ หนังสือเดินทางไทย บัตรประจำตัวประชาชนไทย หรือบัตรประจำตัวคนต่างด้าว (Gaikokujin Torokushomeisho) (ที่หมดอายุแล้วก็ใช้ได้)
3.2 หลักฐานการจ้างงาน เช่น สัญญาการจ้างงาน ใบรับเงินเดือน หรือใบลง เวลาทำงาน
3.3 ชื่อ/ที่อยู่/หมายเลขโทรศัพท์บริษัทและชื่อนายจ้าง
ที่มา: เว็บไซต์สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโตเกียว http://www.thaiembassy.jp/rte3/index.php?option=com_content&view=article&id=660:2009-10-30-01-13-09&catid=28:2009-10-30-00-58-49&Itemid=52
◉ ในกรณีที่มีการร้องเรียนว่านายจ้างมิได้ปฏิบัติตามกฎหมายมาตรฐานแรงงานทำให้ลูกจ้างเสียสิทธิประโยชน์ตามที่ลูกจ้างร้องทุกข์ ในเบื้องต้นสำนักงานแรงงานในประเทศญี่ปุ่นจะตรวจสอบข้อเท็จจริงจากนายจ้างตามที่ลูกจ้างได้ชี้แจงไว้ โดยพิจารณาจากหลักฐานประกอบคำร้องทุกข์หรือพยานบุคคลและพยายามเจรจาประนีประนอมให้มากที่สุด เพื่อให้นายจ้างชดเชยเงินส่วนที่ลูกจ้างเสียสิทธิประโยชน์เพื่อให้เรื่องจบลงโดยเร็ว หากนายจ้างให้ความร่วมมือก็จะขอร้องให้ชดเชยเงินส่วนที่ลูกจ้างเสียสิทธิประโยชน์ให้แก่ลูกจ้าง เมื่อลูกจ้างได้รับเงินดังกล่าวแล้ว ถือว่าได้ดำเนินการเรื่องเสร็จสิ้น แต่หากนายจ้างปฏิเสธไม่ให้ความร่วมมือทั้งที่มีหลักฐานชี้ชัดว่านายจ้างละเมิดสิทธิของลูกจ้าง และไม่สามารถไกล่เกลี่ยตกลงกันได้ ก็จะรวบรวมหลักฐานที่มีอยู่และพาลูกจ้างไปยื่นคำร้องทุกข์ต่อสำนักงานมาตรฐานแรงงานญี่ปุ่นในเขตที่ที่ทำงานตั้งอยู่ เพื่อให้ดำเนินการตรวจสอบต่อไป โดยมีการประสานงานติดตามเรื่องกับสำนักงานมาตรฐานแรงงานญี่ปุ่น และแจ้งความคืบหน้าให้คนงานทราบเป็นระยะๆจนกว่าเรื่องจะสิ้นสุด แต่ในกรณีข้อมูลที่ลูกจ้างร้องทุกข์ไม่มีมูลความจริง สำนักงานแรงงานฯ จะขอร้องให้นายจ้างส่งเอกสารเพื่อยืนยันข้อเท็จจริง และชี้แจงให้ลูกจ้างทราบต่อไป
สำหรับสิทธิประโยชน์ที่คนงานไทยพึงได้รับในกรณีต่างๆ จำแนก ได้ดังนี้
1. กรณีเจ็บป่วย ประสบอันตรายหรือเสียชีวิตจากการทำงานไม่ว่าลูกจ้างจะมีวีซ่าทำงาน อยู่อย่างถูกต้องตามกฎหมาย หรือไม่มีวีซ่าก็ตาม นายจ้างมีหน้าที่ต้องจัดทำประกันอุบัติเหตุจากการทำงานให้แก่ลูกจ้าง ซึ่งลูกจ้างจะได้รับการคุ้มครองตามระบบประกันอุบัติเหตุจากการทำงาน ดังนี้
1.1 เงินชดเชยค่ารักษาพยาบาล จะจ่ายเงินชดเชยค่ารักษาพยาบาล ให้แก่ลูกจ้างที่เจ็บป่วยหรือได้รับอุบัติเหตุจากการทำงานจนกว่า จะหมดความจำเป็นที่ต้องได้รับการรักษา ค่าชดเชย ได้แก่ ค่ารักษา พยาบาล ค่ายา ค่าผ่าตัด ค่าอุปกรณ์ในการรักษา ค่าเครื่องมือแพทย์ ตลอดจนค่าใช้จ่ายในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย เป็นต้น
1.2 เงินชดเชยในระหว่างหยุดงานเพื่อพักรักษาตัว ลูกจ้างมีสิทธิได้รับ เงินชดเชยในอัตราร้อยละ 60 ของอัตราค่าจ้างพื้นฐานเฉลี่ยรายวันนับตั้งแต่ วันที่ 4 ที่ต้องหยุดงานเนื่องจากเจ็บป่วยและหากหยุดงานเพื่อรักษาตัวไปจนครบปีครึ่งแล้ว แต่อาการยังไม่ดีขึ้น จะจ่ายเงินทดแทนให้เป็นเงินรายปี ในอัตราเท่ากับค่าจ้างพื้นฐานเฉลี่ยรายวันระหว่าง 245 ถึง 313 วัน ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของอาการ
1.3 เงินชดเชยกรณีสูญเสียอวัยวะหรือทุพพลภาพ หากได้รับอุบัติเหตุจากการทำงานและการรักษาสิ้นสุดลงแล้ว แต่ลูกจ้างต้องสูญเสียอวัยวะหรือทุพพลภาพ จะมีการตีระดับของการสูญเสียหรือทุพพลภาพว่าอยู่ในระดับใด (ระดับ 1 ถึง 14) ในระดับ 1 ถึง 7 จะได้รับเงินชดเชยเป็นเงินรายปี ในอัตราเท่ากับรายได้เฉลี่ยรายวัน ระหว่าง 131 ถึง 313 วัน และในระดับ 8 ถึง 14 จะได้รับเงินชดเชยเป็นเงินก้อนครั้งเดียวเท่ากับรายได้เฉลี่ยรายวันระหว่าง 56 ถึง 503 วัน
1.4 เงินชดเชยให้แก่ทายาทกรณีลูกจ้างเสียชีวิตเนื่องจากได้รับอุบัติเหตุจากการทำงาน ทายาทของผู้เสียชีวิตต้องมีคุณสมบัติเข้าข่ายตามเงื่อนไขที่กำหนดในกฎหมายประกันอุบัติเหตุจากการทำงานเรียงลำดับทายาท ดังนี้
1.4.1 คู่สมรสที่อยู่กินฉันสามีภรรยา (แม้ว่าจะไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน)
1.4.2 บิดามารดา
1.4.3 บุตรหลาน ที่มีอายุน้อยกว่า 18 ปีบริบูรณ์
1.4.4 ปู่ ย่า ตา ยาย ที่มีอายุมากกว่า 60 ปี
1.4.5 พี่น้องที่มีอายุน้อยกว่า 18 ปี หรือมากกว่า 60 ปี กรณีบุตรที่อยู่ในครรภ์ภรรยา ในขณะที่สามีถึงแก่ความตาย เมื่อคลอดแล้วก็จะเป็นผู้มีสิทธิได้รับค่าทดแทนด้วย
1.5 เงินค่าใช้จ่ายในการจัดการศพหากลูกจ้างถึงแก่ชีวิต ทายาทหรือผู้จัดการศพมีสิทธิจะได้เงินค่าจัดการศพ จำนวน 315,000 เยนพร้อมกับรายได้เฉลี่ยรายวันอีกจำนวน 30 วัน หรือได้รับเงินรายได้เฉลี่ยรายวัน จำนวน 60 วัน แล้วแต่จำนวนใดจะมากกว่า
หมายเหตุ กรณีที่ลูกจ้างประสบอุบัติเหตุ หรือได้รับบาดเจ็บระหว่างเดินทางไปกลับระหว่างที่พักและที่ทำงานก็จะได้รับผลประโยชน์จากการคุ้มครองเช่นเดียวกับ การได้รับอุบัติเหตุจากการทำงาน
2. กรณีเจ็บป่วย ประสบอันตรายหรือเสียชีวิตนอกเวลาทำงานผู้ที่เข้าร่วมระบบประกันสุขภาพของญี่ปุ่นจะได้รับการคุ้มครองเจ็บป่วย หรือประสบอันตรายนอกเวลาทำงาน ซึ่งระบบนี้เปิดให้เฉพาะผู้ที่อยู่ ในประเทศญี่ปุ่นอย่างถูกต้องเท่านั้น มีคนไทยที่ไม่มีวีซ่าเพียงส่วนน้อย เท่านั้นที่ได้รับอนุญาตให้เข้าร่วมทำประกันสุขภาพของรัฐได้ ผู้เข้าร่วม ระบบประกันสุขภาพนี้จะได้รับสิทธิประโยชน์ ดังนี้
2.1 ค่ารักษาพยาบาลเงินชดเชยเมื่อบาดเจ็บ หรือเจ็บป่วยโดยมิได้มีสาเหตุจากการทำงานและเข้ารับการรักษาจากสถานพยาบาลลูกจ้างรับผิดชอบจ่ายค่ารักษาพยาบาลเพียงร้อยละ 30 ส่วนที่เหลือ(อีกร้อยละ 70) สถานพยาบาลจะรับจากรัฐบาล นอกจากนี้ ยังได้รับการช่วยเหลือค่ายา และหากจำเป็นต้องรับการรักษาที่บ้าน หรือเข้าโรงพยาบาล ค่าเตียง ค่าอาหาร หรือค่าอื่นๆ ตามที่กำหนดก็จ่ายในอัตราเพียงร้อยละ 30 เช่นกัน
2.2 เงินอุดหนุนระหว่างหยุดพักรักษาตัว หากเจ็บป่วยหนักจนไม่สามารถไปทำงานได้และไม่ได้รับค่าจ้าง ประกันจะจ่ายเงินอุดหนุนให้ในอัตราร้อยละ 60 ของค่าจ้างนับตั้งแต่วันที่สี่ที่หยุดงานเป็นระยะเวลาปีครึ่ง
2.3 เงินอุดหนุนระหว่างลาเพื่อไปคลอดบุตร กรณีที่ลาเพื่อไปคลอดบุตรมิได้ทำงาน ขาดรายได้ ประกันก็จะจ่ายเงินอุดหนุนขณะลาคลอดให้ในอัตราร้อยละ 60 ของค่าจ้าง จำนวน 42 วันก่อนคลอด(กรณีลูกแฝด จ่ายร้อยละ 60 ของค่าจ้าง 98 วัน) และอีกร้อยละ60 ของค่าจ้าง จำนวน 56 วันหลังคลอด
2.4 เงินอุดหนุนค่าใช้จ่ายในการคลอดบุตร จะได้รับเงินอุดหนุนค่าคลอดบุตร 300,000 เยน ต่อบุตร 1 คน
2.5 เงินอุดหนุนค่าจัดการศพในกรณีที่ลูกจ้างเสียชีวิต ทายาทหรือ ผู้ที่รับผิดชอบจัดงานศพจะได้รับเงินอุดหนุนเท่ากับเงินเดือนเฉลี่ยของผู้ตาย จำนวน 1 เดือน (ไม่น้อยกว่า 100,000 เยน)
3. กรณีนายจ้างค้างจ่ายค่าจ้างเงินทำงานล่วงเวลา ไม่จ่ายเงินชดเชยกรณีเลิกจ้างกระทันหัน สามารถยื่นคำร้องโดยระบุรายละเอียดบันทึกปากคำ พร้อมแนบเอกสาร ดังนี้
3.1 หลักฐานประจำตัว ได้แก่ หนังสือเดินทางไทย บัตรประจำตัวประชาชนไทย หรือบัตรประจำตัวคนต่างด้าว (Gaikokujin Torokushomeisho) (ที่หมดอายุแล้วก็ใช้ได้)
3.2 หลักฐานการจ้างงาน เช่น สัญญาการจ้างงาน ใบรับเงินเดือน หรือใบลง เวลาทำงาน
3.3 ชื่อ/ที่อยู่/หมายเลขโทรศัพท์บริษัทและชื่อนายจ้าง
ที่มา: เว็บไซต์สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโตเกียว http://www.thaiembassy.jp/rte3/index.php?option=com_content&view=article&id=660:2009-10-30-01-13-09&catid=28:2009-10-30-00-58-49&Itemid=52
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น