วันอังคารที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2553

สำนักงานการค้าและเศรษฐกิจไทยออกเยี่ยมผู้ถูกกักกันชาวไทยในไต้หวัน

นายวิบูลย์ คูสกุล
ผู้อำนวยการใหญ่สำนักงานการค้าและเศรษฐกิจไทย ไทเป
(เทียบเท่าเอกอัครราชทูต)


สำนักงานการค้าและเศรษฐกิจไทยออกเยี่ยมผู้ถูกกักกันชาวไทยในไต้หวัน


นายวิบูล คูสกุล ผู้อำนวยการใหญ่สำนักงานการค้าและเศรษฐกิจไทย ไทเป แถลงว่าในช่วง 27 – 29 ตุลาคม และ 10 – 23 พฤศจิกายน 2553 สำนักงานการค้าและเศรษฐกิจไทย ไทเป ได้มอบหมายให้นายโสรัจ สุขถาวร หัวหน้าฝ่ายคุ้มครองและดูแลคนไทยพร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นไปเยี่ยมผู้ถูกกักกันและผู้ต้องขังชาวไทยในสถานกักกันต่างๆ รวมทั้งสถานกักกันย่อยเถาหยวนและเรือนจำย่อยไถจง ดังนี้
1. วันที่ 27 ตุลาคม 2553 เวลา 10.00 – 11.00 น. เยี่ยมสถานกักกันซินจู๋ มีผู้ถูกกักกันชาวไทย 8 คน ชาย 4 คน หญิง 4 คน

2. วันที่ 29 ตุลาคม 2553 เวลา 10.00 – 11.00 นน. เยี่ยมสถานกักกันอี๋หลานมีผู้ถูกกักกันชาวไทย 15 คน ชาย 8 คน หญิง 7 คน

3. วันที่ 10 พฤศจิกายน 2553 เวลา 10.00 – 11.30 นน. เยี่ยมสถานกักกันไทเปมีผู้ถูกกักกันไทย 40 คน ชาย 30 คน หญิง 10 คน

4. วันที่ 12 พฤศจิกายน 2553 เวลา 10.00 – 11.00 นนน. เยี่ยมสถานกักกันย่อยเถาหยวน(ชาย)มีผู้ถูกกักกันชายไทย 3 คน

5. วันที่ 12 พฤศจิกายน 2553 เวลา 11.00 – 12.00 นนน. เยี่ยมสถานกักกันเถาหยวนมีผู้ถูกกักกันไทย 25 คน ชาย 21 คน หญิง 4 คน

6. วันที่ 23 พฤศจิกายน 2553 เวลา 10.00 – 11.00 นนน. เยี่ยมสถานกักกันหนานโถวมีผู้ถูกกักกันไทย 10 คน ชาย 6 คน หญิง 4 คน

7. วันที่ 23 พฤศจิกายน 2553 เวลา 11.30 – 12.00 นนน. เยี่ยมสถานกักกันย่อยไถจงมีผู้ถูกกักกันชายไทย 5 คน

นายวิบูลย์ฯ ชี้แจงว่า ปัจจุบันทางการไต้หวันกำลังกวาดล้างแรงงานหลบหนีนายจ้างจึงทำให้มีแรงงานถูกกักกันในสถานกักกันเพิ่มขึ้นจำนวนมาก โดยเป็นผู้ถูกกักกันชาวไทยจำนวน 106 คน ส่วนใหญ่ถูกจับกุมในข้อหาหลบหนีนายจ้างปลอมแปลงเอกสาร หรือสมรสอำพราง

กรณีแรงงานหลบหนีนายจ้างสำนักงานการค้าฯ จะติดตามเร่งรัดเรื่องการเนรเทศ รวมทั้งจะติดตามสิทธิประโยชน์ที่ตกค้างจากนายจ้างเดิมตามคำร้อง

ส่วนการปลอมแปลงเอกสาร (การสมรสอำพราง) เป็นความผิดอาญาตามกฎหมายไต้หวัน ซึ่งมีระยะเวลาของกระบวนการพิจารณาคดีตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงการเนรเทศกลับประเทศไทยประมาณ 8 เดือนถึง 1 ปี

สำหรับผู้ต้องขังที่ต้องคดียาเสพติดจะถูกดำเนินคดีตามกระบวนการยุติธรรมของไต้หวัน

นายวิบูลย์ฯ สรุปในตอนท้ายว่า ในการเข้าเยี่ยมผู้ถูกกักกันและผู้ต้องขังตามเรือนจำต่างๆ เจ้าหน้าที่สำนักงานการค้าฯ ได้นำของใช้จำเป็นสำหรับชีวิตประจำวันไปมอบให้ด้วย และทุกแห่งที่ไปเยี่ยมเจ้าหน้าที่ได้กำชับให้ผู้ถูกกักกันและผู้ต้องขังทุกคนประพฤติตัวอยู่ในระเบียบวินัยของสถานกักกันและเรือนจำ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น