กรุงตริโปลี นครหลวงของลิเบีย ประชากร 1.68 ล้านคน
ข้อแนะนำเกี่ยวกับการไปทำงานในลิเบีย
ปัจจุบันมีแรงงานไทยทำงานอยู่ในลิเบียประมาณ 2 หมื่นคน โดยร้อยละ 30 อยู่ในกรุงตริโปลี เมืองหลวงของลิเบีย และที่เหลือกระจายอยู่ตามไซต์งานในเมืองต่างๆ ทั่วประเทศ แรงงานส่วนใหญ่ทำงานด้านก่อสร้างให้กับโครงการของรัฐบาลและเอกชนของลิเบีย เช่น โครงการก่อสร้างสนามบิน โครงการแม่น้ำเทียม โครงการก่อสร้างที่พักอาศัย อาคารพาณิชย์ โรงแรม โรงพยาบาล สนามกีฬา ถนน และระบบสาธารณูโภค ฯลฯ
แรงงานไทยในภาพรวมมีความพึงพอใจกับค่าตอบแทนและสภาพความเป็นอยู่ในลิเบีย รวมทั้งอาหารการกิน และที่พักที่นายจ้างจัดหาให้ แต่ทั้งนี้ผู้ที่จะเดินทางไปทำงานในลิเบียควรจะทำความเข้าใจและระมัดระวัง ปัญหาบางประการ ดังนี้
1. การจ่ายเงินเดือนล่าช้า เป็นปัญหาที่พบได้ทั่วไปในลิเบีย เนื่องจากโครงการส่วนใหญ่ในลิเบียเป็นโครงการของรัฐที่จะมีการอนุมัติจ่าย เงินให้แก่บริษัทเอกชนที่รับเมางานเป็นงวดๆ เมื่อมีการส่งมอบงาน ซึ่งหากส่งงานไม่ทันกำหนดหรือล่าช้า บริษัทก็จะไม่ได้รับเงินจากรัฐ ซึ่งจะกระทบมาถึงแรงงานไทยเพราะบางบริษัทอาจติดค้างเงินเดือน 1-3 เดือน ผู้ที่จะเดินทางมาทำงานในลิเบียจึงอาจต้องสำรองเงินเผื่อกรณีดังกล่าวไว้ จำนวนหนึ่ง โดยเฉพาะผู้ที่มีหนี้สินต้องชำระตามกำหนดเวลา
2. เสียค่าบริการหางานแพง อัตราค่าจ้างในลิเบีย ระดับแรงงานไร้ฝีมือ-วิศวกร เริ่มตั้งแต่ 350 – 3,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ (ประมาณ 11,000 – 94,000 บาท) โดยส่วนใหญ่แรงงานไร้ฝีมือไทยได้รับค่าจ้างตั้งแต่ 350 – 600 ดอลลาร์สหรัฐฯ (ประมาณ 11,000 – 18,800 บาท) ผู้ที่ต้องการเดินทางมาทำงานที่ลิเบียจึงควรตรวจสอบข้อมูลเพื่อตัดสินใจก่อน การเดินทางว่าค่าแรงที่จะได้รับคุ้มค่ากับค่าบริการจัดหางานที่สูง (สัญญาจ้าง 1 ปี เสียค่าหัวตั้งแต่ 100,000 – 150,000 บาท) รวมทั้งควรจะถือสำเนาสัญญาจ้างติดตัวเพื่อตรวจสอบในกรณีจำเป็น
3. ดำเนินการเพื่อส่งคนงานกลับล่าช้า การจะเดินทางออกจากลิเบียของแรงงานไทยทั้งที่ลาออกเอง กลับไปพักร้อน ครบสัญญาจ้าง หรือที่ถูกนายจ้างส่งตัวกลับ จะต้องทำวีซ่าออก (Exit Visa) ซึ่งขั้นตอนต่างๆ ในการทำวีซ่าเข้าออกลิเบีย จะต้องใช้เวลานาน คือ ตั้งแต่ 3 สัปดาห์ – 2 เดือน (ทำให้แรงงานบางส่วนที่ไม่ทราบเรื่องระยะเวลาดำเนินการนี้คิดว่าถูกทอดทิ้ง หรือ ถูกลอยแพ กลับประเทศไม่ได้) และการขอวีซ่าออก (Exit Visa) ก็มีค่าใช้จ่ายอีกด้วย จึงควรวางแผนและดำเนินขั้นตอนล่วงหน้า
4. ทำงานไม่ตรงกับตำแหน่ง มีบริษัทจัดหางานหลายรายได้จัดส่งแรงงานไม่ตรงกับตำแหน่งที่นายจ้างต้องการ กรณีที่นายจ้างไม่ส่งกลับจะถูกเปลี่ยนให้ทำงานในตำแหน่งใหม่ ซึ่งค่าจ้างที่ได้รับจะน้อยลง ไม่ตรงกับจำนวนเงินที่ระบุในสัญญาจ้าง
5. ทำสัญญาซ้ำซ้อน เดิมแรงงานไทยได้ทำสัญญากับนายจ้างซึ่งผ่านการรับรองจากกรมแรงงานแล้ว แต่บางกรณีที่เมื่อเดินทางถึงลิเบีย นายจ้างให้ทำสัญญาฉบับใหม่ ระบุตำแหน่งงานและเงินเดือนไม่ตรงกับสัญญาฉบับเดิมที่ทำในไทย และได้รับค่าจ้างต่ำกว่า ในกรณีนี้แรงงานไทยไม่ควรยอมรับ ดังนั้น ผู้ที่จะเดินทางมาทำงานในลิเบียจึงควรขอ และนำสำเนาสัญญาจ้างงานจากบริษัทจัดหางานติดตัวมาเพื่อเป็นหลักฐานเพื่อใช้ ยืนยันและตรวจสอบความถูกต้องด้วย
6. สกุลเงินที่ไม่ตรงตามที่ระบุในสัญญา โดยทั่วไปในสัญญามักระบุค่าจ้างเป็นเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐหรือยูโร แต่บางครั้งเมื่อมาทำงานแล้วก็ได้รับค่าจ้างเป็นเงินสกุลท้องถิ่น (ลิเบียดีนาร์) ทำให้จำนวนเงินที่ได้รับน้อยลงกว่าเดิมหรือไม่แน่นอน (ขึ้นอยู่กับอัตราแลกเปลี่ยน) และเมื่อจะแลกเป็นเงินไทยก็ต้องแลกเปลี่ยน 2 ต่อ คือจากเงินลิเบียดีนาร์เป็นเงินสกุลหลัก (ดอลลาร์สหรัฐหรือยูโร) แล้วจึงแลกจากเงินสกุลหลักเป็นเงินไทย ทำให้ขาดทุน 2 ต่อ นอกจากนี้การโอนเงินกลับประเทศไทยมีข้อจำกัดส่งได้เฉพาะผ่าน Western union/ Money gram โดยส่งได้ครั้งละไม่เกิน 1,000 ลิเบียดินาร์ และต้องไม่เกิน 5,000 ลิเบียดีนาร์/ปี เสียค่าธรรมเนียมตั้งแต่ 25-28 ดอลลาร์สหรัฐ สำหรับคนไทยที่ทำงานกับบริษัทต่างชาติไม่ค่อยมีปัญหา เพราะบริษัทนายจ้างจะโอนเงินจากต่างประเทศโดยตรงเข้าบัญชีของคนงานในไทย แต่บริษัทลิเบียมักมีปัญหาเรื่องการโอนเงินให้คนงานซึ่งส่งผลให้บางครั้งอาจ ได้รับเงินเดือนล่าช้าเป็นเดือน
7. เรื่องอาหาร/ ที่พัก ส่วนใหญ่บริษัทที่มีแรงงานไทยจำนวนมาก (200 คนขึ้นไป) นายจ้างจะจัดคนครัวไทยให้ แต่หากมีจำนวนน้อยนายจ้างจะจัดที่พักและอาหารรวมกับแรงงานสัญชาติอื่นที่มา จากภูมิภาคเดียวกัน เช่น อินโดนีเซีย เวียดนามและฟิลิปปินส์ ทำให้รสชาติอาหารไม่ถูกปากกับแรงงานไทย
8. การสื่อสาร การติดต่อกับหน่วยงานต่างๆ ในลิเบียทั้งของรัฐและเอกชนจะใช้ภาษาอาหรับ รวมทั้งชื่อสถานที่ หน่วยงาน ห้างร้าน ถนน ฯลฯ ก็เป็นภาษาอาหรับ หากทำงานกับบริษัทที่นายจ้างเป็นชาวต่างชาติก็สามารถใช้ภาษาอังกฤษได้ แต่แรงงานซึ่งแรงงานไทยส่วนใหญ่มักไม่สันทัดทั้งภาษาอังกฤษและภาษาอาหรับ ฉะนั้นก่อนเดินทางมาทำงานที่ลิเบียแรงงานไทยควรศึกษาภาษาอาหรับและภาษา อังกฤษเบื้องต้นที่จำเป็นในชีวิตประจำวัน สำหรับบริษัทจัดหางานที่จัดส่งแรงงานไปลิเบียควรมีตำแหน่งล่ามที่รู้ภาษาอังกฤษ หรืออาหรับด้วยจะเป็นประโยชน์ในการประสานงานติดต่อดูแลอย่างยิ่ง
9. วัฒนธรรม ลิเบียเข้มงวดด้านขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมมาก คนงานที่จะมาทำงานควรศึกษาขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมอย่างดี และเข้าใจในกฎระเบียบ ข้อห้ามต่างๆ เช่น การเล่นพนัน การดื่มสุรา/ ของมึนเมา หรือ การต้มเหล้าในห้องพักและจำหน่าย เพราะหากถูกจับได้จะถูกส่งกลับ หรือถูกจำคุก
10. การชุมนุม การประท้วงทุกกรณีในลิเบียเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย แรงงานไทยบางส่วนที่ไม่พอใจนายจ้างแล้วประท้วงหยุดงาน เป็นเหตุให้ถูกส่งตัวกลับและไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ต่างๆ ตามกฎหมาย
ข้อมูลจาก สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงตริโปลี
เรียบเรียงโดย กรมเอเชียใต้ ตะวันออกกลางและแอฟริกา
ที่มา http://sameaf.mfa.go.th/th/news/detail.php?ID=876&SECTION=NEWS
ปัจจุบันมีแรงงานไทยทำงานอยู่ในลิเบียประมาณ 2 หมื่นคน โดยร้อยละ 30 อยู่ในกรุงตริโปลี เมืองหลวงของลิเบีย และที่เหลือกระจายอยู่ตามไซต์งานในเมืองต่างๆ ทั่วประเทศ แรงงานส่วนใหญ่ทำงานด้านก่อสร้างให้กับโครงการของรัฐบาลและเอกชนของลิเบีย เช่น โครงการก่อสร้างสนามบิน โครงการแม่น้ำเทียม โครงการก่อสร้างที่พักอาศัย อาคารพาณิชย์ โรงแรม โรงพยาบาล สนามกีฬา ถนน และระบบสาธารณูโภค ฯลฯ
แรงงานไทยในภาพรวมมีความพึงพอใจกับค่าตอบแทนและสภาพความเป็นอยู่ในลิเบีย รวมทั้งอาหารการกิน และที่พักที่นายจ้างจัดหาให้ แต่ทั้งนี้ผู้ที่จะเดินทางไปทำงานในลิเบียควรจะทำความเข้าใจและระมัดระวัง ปัญหาบางประการ ดังนี้
1. การจ่ายเงินเดือนล่าช้า เป็นปัญหาที่พบได้ทั่วไปในลิเบีย เนื่องจากโครงการส่วนใหญ่ในลิเบียเป็นโครงการของรัฐที่จะมีการอนุมัติจ่าย เงินให้แก่บริษัทเอกชนที่รับเมางานเป็นงวดๆ เมื่อมีการส่งมอบงาน ซึ่งหากส่งงานไม่ทันกำหนดหรือล่าช้า บริษัทก็จะไม่ได้รับเงินจากรัฐ ซึ่งจะกระทบมาถึงแรงงานไทยเพราะบางบริษัทอาจติดค้างเงินเดือน 1-3 เดือน ผู้ที่จะเดินทางมาทำงานในลิเบียจึงอาจต้องสำรองเงินเผื่อกรณีดังกล่าวไว้ จำนวนหนึ่ง โดยเฉพาะผู้ที่มีหนี้สินต้องชำระตามกำหนดเวลา
2. เสียค่าบริการหางานแพง อัตราค่าจ้างในลิเบีย ระดับแรงงานไร้ฝีมือ-วิศวกร เริ่มตั้งแต่ 350 – 3,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ (ประมาณ 11,000 – 94,000 บาท) โดยส่วนใหญ่แรงงานไร้ฝีมือไทยได้รับค่าจ้างตั้งแต่ 350 – 600 ดอลลาร์สหรัฐฯ (ประมาณ 11,000 – 18,800 บาท) ผู้ที่ต้องการเดินทางมาทำงานที่ลิเบียจึงควรตรวจสอบข้อมูลเพื่อตัดสินใจก่อน การเดินทางว่าค่าแรงที่จะได้รับคุ้มค่ากับค่าบริการจัดหางานที่สูง (สัญญาจ้าง 1 ปี เสียค่าหัวตั้งแต่ 100,000 – 150,000 บาท) รวมทั้งควรจะถือสำเนาสัญญาจ้างติดตัวเพื่อตรวจสอบในกรณีจำเป็น
3. ดำเนินการเพื่อส่งคนงานกลับล่าช้า การจะเดินทางออกจากลิเบียของแรงงานไทยทั้งที่ลาออกเอง กลับไปพักร้อน ครบสัญญาจ้าง หรือที่ถูกนายจ้างส่งตัวกลับ จะต้องทำวีซ่าออก (Exit Visa) ซึ่งขั้นตอนต่างๆ ในการทำวีซ่าเข้าออกลิเบีย จะต้องใช้เวลานาน คือ ตั้งแต่ 3 สัปดาห์ – 2 เดือน (ทำให้แรงงานบางส่วนที่ไม่ทราบเรื่องระยะเวลาดำเนินการนี้คิดว่าถูกทอดทิ้ง หรือ ถูกลอยแพ กลับประเทศไม่ได้) และการขอวีซ่าออก (Exit Visa) ก็มีค่าใช้จ่ายอีกด้วย จึงควรวางแผนและดำเนินขั้นตอนล่วงหน้า
4. ทำงานไม่ตรงกับตำแหน่ง มีบริษัทจัดหางานหลายรายได้จัดส่งแรงงานไม่ตรงกับตำแหน่งที่นายจ้างต้องการ กรณีที่นายจ้างไม่ส่งกลับจะถูกเปลี่ยนให้ทำงานในตำแหน่งใหม่ ซึ่งค่าจ้างที่ได้รับจะน้อยลง ไม่ตรงกับจำนวนเงินที่ระบุในสัญญาจ้าง
5. ทำสัญญาซ้ำซ้อน เดิมแรงงานไทยได้ทำสัญญากับนายจ้างซึ่งผ่านการรับรองจากกรมแรงงานแล้ว แต่บางกรณีที่เมื่อเดินทางถึงลิเบีย นายจ้างให้ทำสัญญาฉบับใหม่ ระบุตำแหน่งงานและเงินเดือนไม่ตรงกับสัญญาฉบับเดิมที่ทำในไทย และได้รับค่าจ้างต่ำกว่า ในกรณีนี้แรงงานไทยไม่ควรยอมรับ ดังนั้น ผู้ที่จะเดินทางมาทำงานในลิเบียจึงควรขอ และนำสำเนาสัญญาจ้างงานจากบริษัทจัดหางานติดตัวมาเพื่อเป็นหลักฐานเพื่อใช้ ยืนยันและตรวจสอบความถูกต้องด้วย
6. สกุลเงินที่ไม่ตรงตามที่ระบุในสัญญา โดยทั่วไปในสัญญามักระบุค่าจ้างเป็นเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐหรือยูโร แต่บางครั้งเมื่อมาทำงานแล้วก็ได้รับค่าจ้างเป็นเงินสกุลท้องถิ่น (ลิเบียดีนาร์) ทำให้จำนวนเงินที่ได้รับน้อยลงกว่าเดิมหรือไม่แน่นอน (ขึ้นอยู่กับอัตราแลกเปลี่ยน) และเมื่อจะแลกเป็นเงินไทยก็ต้องแลกเปลี่ยน 2 ต่อ คือจากเงินลิเบียดีนาร์เป็นเงินสกุลหลัก (ดอลลาร์สหรัฐหรือยูโร) แล้วจึงแลกจากเงินสกุลหลักเป็นเงินไทย ทำให้ขาดทุน 2 ต่อ นอกจากนี้การโอนเงินกลับประเทศไทยมีข้อจำกัดส่งได้เฉพาะผ่าน Western union/ Money gram โดยส่งได้ครั้งละไม่เกิน 1,000 ลิเบียดินาร์ และต้องไม่เกิน 5,000 ลิเบียดีนาร์/ปี เสียค่าธรรมเนียมตั้งแต่ 25-28 ดอลลาร์สหรัฐ สำหรับคนไทยที่ทำงานกับบริษัทต่างชาติไม่ค่อยมีปัญหา เพราะบริษัทนายจ้างจะโอนเงินจากต่างประเทศโดยตรงเข้าบัญชีของคนงานในไทย แต่บริษัทลิเบียมักมีปัญหาเรื่องการโอนเงินให้คนงานซึ่งส่งผลให้บางครั้งอาจ ได้รับเงินเดือนล่าช้าเป็นเดือน
7. เรื่องอาหาร/ ที่พัก ส่วนใหญ่บริษัทที่มีแรงงานไทยจำนวนมาก (200 คนขึ้นไป) นายจ้างจะจัดคนครัวไทยให้ แต่หากมีจำนวนน้อยนายจ้างจะจัดที่พักและอาหารรวมกับแรงงานสัญชาติอื่นที่มา จากภูมิภาคเดียวกัน เช่น อินโดนีเซีย เวียดนามและฟิลิปปินส์ ทำให้รสชาติอาหารไม่ถูกปากกับแรงงานไทย
8. การสื่อสาร การติดต่อกับหน่วยงานต่างๆ ในลิเบียทั้งของรัฐและเอกชนจะใช้ภาษาอาหรับ รวมทั้งชื่อสถานที่ หน่วยงาน ห้างร้าน ถนน ฯลฯ ก็เป็นภาษาอาหรับ หากทำงานกับบริษัทที่นายจ้างเป็นชาวต่างชาติก็สามารถใช้ภาษาอังกฤษได้ แต่แรงงานซึ่งแรงงานไทยส่วนใหญ่มักไม่สันทัดทั้งภาษาอังกฤษและภาษาอาหรับ ฉะนั้นก่อนเดินทางมาทำงานที่ลิเบียแรงงานไทยควรศึกษาภาษาอาหรับและภาษา อังกฤษเบื้องต้นที่จำเป็นในชีวิตประจำวัน สำหรับบริษัทจัดหางานที่จัดส่งแรงงานไปลิเบียควรมีตำแหน่งล่ามที่รู้ภาษาอังกฤษ หรืออาหรับด้วยจะเป็นประโยชน์ในการประสานงานติดต่อดูแลอย่างยิ่ง
9. วัฒนธรรม ลิเบียเข้มงวดด้านขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมมาก คนงานที่จะมาทำงานควรศึกษาขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมอย่างดี และเข้าใจในกฎระเบียบ ข้อห้ามต่างๆ เช่น การเล่นพนัน การดื่มสุรา/ ของมึนเมา หรือ การต้มเหล้าในห้องพักและจำหน่าย เพราะหากถูกจับได้จะถูกส่งกลับ หรือถูกจำคุก
10. การชุมนุม การประท้วงทุกกรณีในลิเบียเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย แรงงานไทยบางส่วนที่ไม่พอใจนายจ้างแล้วประท้วงหยุดงาน เป็นเหตุให้ถูกส่งตัวกลับและไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ต่างๆ ตามกฎหมาย
ข้อมูลจาก สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงตริโปลี
เรียบเรียงโดย กรมเอเชียใต้ ตะวันออกกลางและแอฟริกา
ที่มา http://sameaf.mfa.go.th/th/news/detail.php?ID=876&SECTION=NEWS
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น