วันอังคารที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

นักศึกษาไทยในเกาหลี


นักศึกษาไทยในเกาหลี

ปัจจุบันมีนักศึกษาไทยในเกาหลีจำนวนประมาณ 150-200 คน โดยส่วนใหญ่ศึกษาระดับปริญญาตรีและโทในสาขาหลากหลายอาทิ เศรษฐศาสตร์ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ในจำนวนสาขาการศึกษาที่นิยมสูงสุดคือ สาขาภาษาเกาหลีและเกาหลีศึกษา มหาวิทยาลัยที่มีนักษึกษาไทยศึกษาอยู่เป็นจำนวนมากคือ 1) Yonsei University 2) Korea National University 3) Seoul National University 4) Ewha Woman University และ 5) Korea Institute of Technology and Science (KIST) เป็นต้น

นอกจากนี้ยังมีนักศึกษาไทยที่เดินทางไปเรียนหลักสูตรภาษาเกาหลีระยะสั้นๆ เป็นเวลา 3-4 เดือน อีกประมาณ 200-300 คนต่อปี ที่ผ่านมา ด้วยความสัมพันธ์อันดีทั้งในภาครัฐและระดับประชาชน นักศึกษาไทยสามารถปรับตัวเข้ากับสภาพสังคมเกาหลีและประสบความสำเร็จในการศึกษาต่อเป็นอย่างดี โดยไม่ประสบปัญหาในการใช้ชีวิตและการเรียน

ชุมชนไทยในเกาหลี


ชุมชนไทยในเกาหลี


ชุมชนชาวไทยที่พำนักอย่างถาวรในประเทศเกาหลียังมีขนาดเล็ก (ไม่รวมแรงงานไทย) และพำนักอยู่กระจายทั่วประเทศ ส่วนใหญ่เป็นสตรีไทยแต่งงานกับชาวเกาหลี สถิติของสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองเกาหลีมีคนไทยในกลุ่มนี้ประมาณ 3,000 คน โดยส่วนใหญ่ติดต่อผ่านนายหน้าจัดหาคู่ ซึ่งเป็นวิธีการที่ถูกกฎหมายและได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐในระดับหนึ่ง หญิงไทยที่แต่งงานกับชาวเกาหลีเหล่านี้ส่วนใหญ่ขาดความเข้าใจเกี่ยวกับประเพณีและวัฒนธรรมเกาหลี รวมทั้งยังไม่สามารถฟัง พูกด อ่าน เขียนภาษาเกาหลีได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ก็พร้อมที่จะเสี่ยงด้วยหวังว่าจะมีชีวิตที่ดีขึ้นกว่าเดิม รวมทั้งได้รับข้อมูลเฉพาะด้านบวกจากสื่อต่างๆ ทั้งภาพยนตร์ นักร้อง นักแสดง เป็นต้น และอีกส่วนหนึ่งใช้การแต่งงานเป็นช่องทางเพื่อเข้าไปทำงานในเกาหลี เมื่อแต่งงานแล้วมีจำนวนมากที่ประสบปัญหาในการใช้ชีวิตคู่ เนื่องจากทั้งสองฝ่ายไม่สามารถปรับตัวเข้าหากันได้จากข้อจำกัดด้านภาษา วัฒนธรรม รวมทั้งความผิดหวังจากเป้าหมายที่ตั้งไว้ เนื่องจากส่วนใหญ่ชายเกาหลีที่แต่งงานโดยผ่านวิธีการจับคู่กับต่างชาติ เป็นผู้ที่ไม่สามารถหาคู่ซึ่งเป็นชาวเกาหลีด้วยกัน มีการศึกษาต่ำ (มีจำนวนมากที่หญิงไทยจบการศึกษาสูงกว่า) มีอาชีพระดับปานกลาง มีฐานะปานกลางถึงต่ำ (มาตรฐานเกาหลี) สูงอายุ บางส่วนผ่านการหย่าร้างมาแล้ว

ชุมชนไทยเหล่านี้ยังไม่สามารถรวมตัวกันเป็นกลุ่มได้อย่างเข้มแข็ง เนื่องจากข้อจำกัดด้านครอบครัวและส่วนใหญ่มิได้มีชีวิตที่สุขสบาย บางคนต้องทำงานหนักเพื่อช่วยหารายได้ให้แก่ครอบครัว บางคนสามีไม่ดูแลเอาใจใส่ด้วยดี แต่อย่างไรก็ดียังมีบางคนที่ไม่ประสบปัญหาและมีความตั้งใจที่จะสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชนไทยในเกาหลีจึงรวมตัวเป็นกลุ่ม และจัดกิจกรรมต่างๆทั้งเพื่อช่วยเหลือชาวไทยด้วยกัน รวมทั้งส่งเสริมศิลปะวัฒนธรรมไทยให้เป็นที่รู้จักแพร่หลายยิ่งขึ้น แต่การรวมกลุ่มดังกล่าวยังไม่เข้มแข็งนัก เนื่องจากกิจกรรมที่ดำเนินการมีจำกัดและส่วนใหญ่มีกิจกรรมจำกัดอยู่ในเรื่องการส่งเสริมศิลปะวัฒนธรรมไทย

หญิงไทยที่สมรสกับชาวเกาหลีเหล่านี้ ส่วนหนึ่งได้ยื่นขอสละสัญชาติไทยโดยให้เหตุผลว่ามีความจำเป็นต้องได้สัญชาติเกาหลี เพื่อสามารถใช้ชีวิตเช่นเดียวกับชาวเกาหลีทั่วไป โดยเฉพาะเพื่อการเลี้ยงดูบุตรอย่างสมบูรณ์ เนื่องจากหากไม่มีสัญชาติเกาหลีบางกิจกรรมไม่สามารถดำเนินการได้ ต้องให้สามีเป็นผู้ดำเนินการแต่เพียงผู้เดียว จึงทำให้สามีของหญิงไทยเหล่านี้ต้องการให้สละสัญชาติไทยเพื่อแบ่งเบาภาระต่างๆ (ปี 2551 ยื่นคำร้องขอสละสัญชาติ 70 ราย และตั้งแต่ปี 2547-2550 ยื่นขอสละสัญชาติประมาณปีละ 50 คน) ซึ่งสถานเอกอัครราชทูตฯ ได้ให้ข้อคิดเห็นเรื่องการสละสัญชาติแก่หญิงกลุ่มนี้ทุกราย โดยให้คำนึงถึงข้อดีและข้อเสียในการสละสัญชาติ แต่ส่วนใหญ่ยืนยันที่จะสละสัญชาติโดยยืนยันว่า หากไม่สละสัญชาติก็ไม่สามารถดูแลบุตรได้อย่างเต็มที่ ส่วนในอนาคตจะเป็นอย่างไรค่อยตัดสินใจอีกครั้ง

การขยายตัวของชุมชนไทยในเกาหลียังไม่เร็วนัก ปัจจุบันนอกจากแรงงานไทยที่พำนักอยู่อย่างถูกกฎหมายจำนวนประมาณ 40,000 คนแล้วยังมีกลุ่มแรงงานไทยที่พำนักอยู่อย่างผิดกฎหมายอีกจำนวนประมาณ 13,000 คน กลุ่มชาวไทยที่พำนักอยู่อย่างผิดกฎหมายนี้กล่าวได้ว่าเป็นชุมชนไทยอีกกลุ่มหนึ่ง แม้ว่าจะไม่ได้พำนักอยู่อย่างถาวรก็ตาม แต่หากยังไม่ถูกทางการเกาหลีส่งตัวออกนอกประเทศก็ยังคงพำนักอยู่ในเกาหลีไปเรื่อยๆ และระหว่างที่อยู่ในเกาหลีก็คบหาระหว่างชาวไทยด้วยกัน บางรายเมื่อมีบุตรก็ส่งกลับไปให้ญาติเลี้ยงดูในประเทศไทย ชาวไทยกลุ่มดังกล่าวมีแนวโน้มที่จะขยายตัวเพิ่มมากขึ้นเนื่องจากพร้อมเสี่ยงที่จะหางานทำในเกาหลีซึ่งมีรายได้สูงกว่าในประเทศไทย

นอกจากนี้ จากแนวโน้มที่แรงงานไทยจะเข้าไปทำงานในเกาหลีเพิ่มมากขึ้นก็จะส่งผลให้กลุ่มที่พำนักอยู่อย่างผิดกฎหมายเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน เนื่องจากแรงงานไทยเมื่อทำงานแล้วและไม่พอใจก็พร้อมที่จะหลบหนีและมีสถานะเป็นแรงงานผิดกฎหมาย ในขณะที่กลุ่มที่หลบหนีเข้ามาทำงานก็มีอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าจะมีการตรวจอย่างเข้มงวดก็ตาม อย่างไรก็ดี การทำงานโดยผิดกฎหมายดังกล่าว ฝ่ายเกาหลีก็มีส่วนเกี่ยวพันเช่นกัน โดยนายจ้างได้ประโยชน์จากแรงงานที่ไม่ต้องรับผิดชอบเต็มที่ ในขณะที่ภาครัฐเกาหลีก็นิ่งเฉยเนื่องจากยังคงมีความต้องการแรงงานต่างชาติเข้ามาทำงานโดยเฉพาะงานประเภทที่แรงงานเกาหลีไม่ยอมทำ

วันจันทร์ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

การติดตามสถานการณ์แผ่นดินไหวในญี่ปุ่น (30 พฤษภาคม 2554)



การติดตามสถานการณ์แผ่นดินไหวในญี่ปุ่น (30 พฤษภาคม 2554)สถานะ ณ เวลา 23.00 น. วันจันทร์ที่ 30 พฤษภาคม 2554

1. สถานการณ์ในญี่ปุ่น

1.1 สถิติ ผู้เสียชีวิตล่าสุดรวม 15,270 ราย สูญหาย 8,499 ราย (จากรายงานของสำนักงานตำรวจแห่งชาติญี่ปุ่น ณ วันที่ 30 พ.ค. 2554)

1.2 การเกิดอาฟเตอร์ช็อค (Aftershock)

- องค์กรอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น ได้รายงาน Aftershock ของวันที่ 30 พ.ค. 2554 (ตามเวลาประเทศไทย) ดังนี้

เวลา 20.51 น. เกิดแผ่นดินไหวจุดศูนย์กลางที่ จ.อิบารากิ วัดแรงสั่นสะเทือนได้ 3.3 ริกเตอร์

เวลา 20.40 น. เกิดแผ่นดินไหวจุดศูนย์กลางที่ จ.อาโอโมริ วัดแรงสั่นสะเทือนได้ 3.3 ริกเตอร์

เวลา 19.24 น. เกิดแผ่นดินไหวจุดศูนย์กลางที่ จ.ฟุคุชิมะ วัดแรงสั่นสะเทือนได้ 4.1 ริกเตอร์

เวลา 16.12 น. เกิดแผ่นดินไหวจุดศูนย์กลางที่ จ.นีกาตะ วัดแรงสั่นสะเทือนได้ 2.5 ริกเตอร์

เวลา 15.17 น. เกิดแผ่นดินไหวจุดศูนย์กลางที่ จ.อิบารากิ วัดแรงสั่นสะเทือนได้ 3.4 ริกเตอร์

เวลา 14.49 น. เกิดแผ่นดินไหวจุดศูนย์กลางที่ จ.อิบารากิ วัดแรงสั่นสะเทือนได้ 3.2 ริกเตอร์

เวลา 13.42 น. เกิดแผ่นดินไหวจุดศูนย์กลางที่ จ.มิยากิ วัดแรงสั่นสะเทือนได้ 3.8 ริกเตอร์

เวลา 13.35 น. เกิดแผ่นดินไหวจุดศูนย์กลางที่ จ.มิยากิ วัดแรงสั่นสะเทือนได้ 3.5 ริกเตอร์

เวลา 13.06 น. เกิดแผ่นดินไหวจุดศูนย์กลางที่ จ.ฟุคุชิมะ วัดแรงสั่นสะเทือนได้ 3.1 ริกเตอร์

เวลา 12.52 น. เกิดแผ่นดินไหวจุดศูนย์กลางที่ จ.ฟุคุชิมะ วัดแรงสั่นสะเทือนได้ 2.6 ริกเตอร์

เวลา 12.28 น. เกิดแผ่นดินไหวจุดศูนย์กลางที่ จ.ฟุคุชิมะ วัดแรงสั่นสะเทือนได้ 3.7 ริกเตอร์

เวลา 12.28 น. เกิดแผ่นดินไหวจุดศูนย์กลางที่ จ.ชิบะ วัดแรงสั่นสะเทือนได้ 3.0 ริกเตอร์

เวลา 12.21 น. เกิดแผ่นดินไหวจุดศูนย์กลางที่ จ.ฟุคุชิมะ วัดแรงสั่นสะเทือนได้ 2.9 ริกเตอร์

เวลา 12.21 น. เกิดแผ่นดินไหวจุดศูนย์กลางที่ จ.ฟุคุชิมะ วัดแรงสั่นสะเทือนได้ 3.7 ริกเตอร์

เวลา 12.13 น. เกิดแผ่นดินไหวจุดศูนย์กลางที่ จ.ชิซุโอกะ วัดแรงสั่นสะเทือนได้ 2.1 ริกเตอร์

เวลา 11.40 น. เกิดแผ่นดินไหวจุดศูนย์กลางที่ จ.ฟุคุชิมะ วัดแรงสั่นสะเทือนได้ 3.1 ริกเตอร์

เวลา 10.47 น. เกิดแผ่นดินไหวจุดศูนย์กลางที่ จ.ฟุคุชิมะ วัดแรงสั่นสะเทือนได้ 2.7 ริกเตอร์

เวลา 10.14 น. เกิดแผ่นดินไหวจุดศูนย์กลางที่ จ.ชิบะ วัดแรงสั่นสะเทือนได้ 3.2 ริกเตอร์

เวลา 09.35 น. เกิดแผ่นดินไหวจุดศูนย์กลางที่ จ.อิบารากิ วัดแรงสั่นสะเทือนได้ 3.3 ริกเตอร์

เวลา 08.12 น. เกิดแผ่นดินไหวจุดศูนย์กลางที่ จ.มิยากิ วัดแรงสั่นสะเทือนได้ 3.8 ริกเตอร์

เวลา 06.57 น. เกิดแผ่นดินไหวจุดศูนย์กลางที่ จ.มิยากิ วัดแรงสั่นสะเทือนได้ 3.3 ริกเตอร์

เวลา 04.55 น. เกิดแผ่นดินไหวจุดศูนย์กลางที่ จ.ฟุคุชิมะ วัดแรงสั่นสะเทือนได้ 3.5 ริกเตอร์

เวลา 03.50 น. เกิดแผ่นดินไหวจุดศูนย์กลางที่ จ.ฟุคุชิมะ วัดแรงสั่นสะเทือนได้ 3.4 ริกเตอร์

เวลา 01.32 น. เกิดแผ่นดินไหวจุดศูนย์กลางที่ จ.อิวาเทะ วัดแรงสั่นสะเทือนได้ 4.1 ริกเตอร์

เวลา 00.01 น. เกิดแผ่นดินไหวจุดศูนย์กลางที่ จ.มิยากิ วัดแรงสั่นสะเทือนได้ 2.8 ริกเตอร์

ทั้งนี้ ยังไม่มีรายงานสึนามิและความเสียหายจากการเกิดอาฟเตอร์ช็อคข้างต้น

1.3 รายงานสถานการณ์โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุคุชิมะที่ 1 (ฟุคุชิมะ ไดอิฉิ)

1.3.1 วันนี้ (30 พ.ค. 2554) กระทรวงวิทยาศาสตร์ญี่ปุ่นรายงานว่าพบปริมาณกัมมันตรังสีเกินระดับมาตรฐานความปลอดภัยในบริเวณเมืองนามิเอะ และเมืองอีทาเทะ จ.ฟุคุชิมะ ซึ่งเป็นบริเวณที่อยู่ห่างจากโรงไฟฟ้าเกินระยะ 20 กม. และรัฐบาลญี่ปุ่นได้เคยประกาศขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวอพยพเพิ่มเติม อย่างไรก็ดี ที่ผ่านมายังคงมีประชาชนบางส่วนไม่ได้อพยพออกจากพื้นที่ ทั้งนี้ รัฐบาลญี่ปุ่นได้ขอให้ประชาชนอพยพออกจากบริเวณดังกล่าวภายในสิ้นเดือนพฤษภาคม 2554

1.3.2 บริษัทการไฟฟ้าโตเกียว (TEPCO) จำเป็นต้องหยุดการดำเนินการในซ่อมแซมโรงไฟฟ้า อาทิ การฉีดสารเคมีเพื่อป้องกันการฟุ้งกระจายของกัมมันตภาพรังสีในอากาศ และการเคลื่อนย้ายซากปรักหักพังเนื่องจากปริมาณฝนที่ตกหนักและพายุฤดูร้อนนับตั้งแต่วันที่ 29 พ.ค. 2554 โดยได้พยายามเฝ้าระวังไม่ให้น้ำที่มีสารกัมมันตรังสีปนเปื้อนที่ตกค้างอยู่ในอาคารเตาปฏิกรณ์หลายออกสู่ภายนอก รวมทั้งได้จัดวางกระสอบทรายเพื่อป้องกันไม่ให้น้ำฝนเข้าไปในอาคารเตาปฏิกรณ์ซึ่งอาจจะส่งผลให้เกิดความเสียหายกับระบบหล่อเย็น

1.3.3 ที่ผ่านมา TEPCO ยังคงพบว่าปริมาณกัมมันตรังสีในเตาปฏิกรณ์ต่าง ๆ ยังคงอยู่ในระดับสูงและได้พยายามดำเนินการซ่อมแซมและติดตั้งระบบหล่อเย็น นอกจากนี้ ยังคงประสบปัญหาน้ำที่มีสารกัมมันตรังสีปนเปื้อนในระดับสูงขังภายในอาคารเตาฏิกรณ์ ล่าสุด คณะกรรมาธิการความปลอดภัยนิวเคลียร์ (NSC) ได้แสดงความห่วงกังวลต่อพนักงงานของ TEPCO ซึ่งพบว่าอย่างน้อย 2 ราย ได้รับปริมาณกัมมันตรังสีเกินกำหนดและได้ประชุมหารือถึงแนวทางการบริหารจัดการในการพัฒนาสภาพแวดล้อมการทำงานในบริเวณโรงไฟฟ้าเพื่อพยายามป้องกันไม่ให้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของพนักงาน

1.4 การอพยพคนและปฏิกิริยาจากต่างชาติ

1.4.1 ณ วันที่ 25 เม.ย. 2554 ได้มี สอท. ประเทศต่าง ๆ ในกรุงโตเกียว รวมทั้งสิ้น 2 ประเทศ ประกาศปิดทำการชั่วคราว และ สอท. ของอีก 2 ประเทศ ย้ายที่ทำการไปยังภาคตะวันตกของญี่ปุ่น อาทิ นครโอซากา เมืองโกเบ
1.4.2  รัฐบาลประเทศต่าง ๆจำนวน 21 ประเทศออกคำแนะนำการเดินทาง (Travel Advisory) ไปญี่ปุ่น รวมไปถึงมาตรการในการอพยพพลเมืองของแต่ละประเทศ

2. การดำเนินการของไทย

2.1 การติดตามระดับกัมมันตรังสี

สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ (ปส.) รายงานว่า ระดับกัมมันตรังสีที่ตำแหน่งระยะห่าง 30 กม. จากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุคุชิมะ วันที่ 9 พ.ค 2554 เวลา 15.00 น. อยู่ที่ระดับ 19.3 ไมโครซีเวิร์ท/ชม. เท่ากับปริมาณที่วัดได้เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2554 เวลา 14.00 น. ทั้งนี้ ระดับกัมมันตรังสีตามเมืองต่าง ๆ ในญี่ปุ่นยังคงอยู่ในระดับปกติและไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ (ระดับกัมมันตรังสีที่ จ.อิวาเตะ อยู่ที่ 0.024 ไมโครซีเวิร์ท/ชม. จ.อิบารากิ อยู่ที่ 0.103 ไมโครซีเวิร์ท/ชม. ที่โตเกียวอยู่ที่ 0.066 ไมโครซีเวิร์ท/ชม.) (ยังไม่มีรายงานเพิ่มเติมจาก ปส.)

การใช้บริการสายการบิน

บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ได้รายงานอัตราผู้ใช้บริการสายการบินเมื่อวันที่ 22 พ.ค. 2554 ดังนี้

กรุงเทพฯ – นาริตะ

เที่ยวบิน TG676 เวลา 07.35 – 15.45 น. อัตราผู้ใช้บริการสายการบิน 80.45% (เพิ่มขึ้นจาก 78.21% ในวันก่อน)

เที่ยวบิน TG642 เวลา 23.50 – 08.10 น. อัตราผู้ใช้บริการสายการบิน 53.47% (ลดลงจาก 88.95% ในวันก่อน)

นาริตะ – กรุงเทพฯ

เที่ยวบิน TG671 เวลา 12.00 – 16.30 น. อัตราผู้ใช้บริการสายการบิน 88.95% (เพิ่มขึ้นจาก 60.80% ในวันก่อน)

เที่ยวบิน TG677 เวลา 16.55 – 21.25 น. อัตราผู้ใช้บริการสายการบิน 26.92% (ลดลงจาก 38.46% ในวันก่อน)

(ยังไม่มีรายงานเพิ่มเติม)

2.2 การดูแลคนไทยในญี่ปุ่น

2.1.1 ตามที่ได้เกิดแผ่นดินไหวและ Aftershock ในบริเวณต่าง ๆ ในญี่ปุ่น ตั้งแต่วันที่ 11 เม.ย. 2554 สอท. ณ กรุงโตเกียว ได้ประสานสอบถามความเป็นอยู่ของคนไทยในพื้นที่และทราบว่าคนไทยยังปลอดภัยดี แม้บางรายจะรู้สึกตกใจในสถานการณ์ที่เกิดขึ้น และรู้สึกกังวลใจเรื่องความเป็นอยู่และความปลอดภัย แต่ในชั้นนี้ยังไม่ได้รับรายงานคนไทยเสียชีวิตหรือได้รับบาดเจ็บจากวิบัติภัยดังกล่าว

2.1.2 ข่าวสารนิเทศกระทรวงการต่างประเทศ เรื่อง “คำแนะนำในการเดินทางไปประเทศญี่ปุ่นฉบับล่าสุด” ซึ่งได้ประกาศเมื่อวันที่ 25 เม.ย. 2554 มีเนื้อหาดังนี้ “ตามที่กระทรวงการต่างประเทศได้ประกาศเตือนขอให้คนไทยติดตามข่าวสารและปฏิบัติตามคำแนะนำของกระทรวงฯ และสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโตเกียว เกี่ยวกับการเดินทางไปญี่ปุ่นนั้น ขอเรียนว่า ในชั้นนี้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของญี่ปุ่นยังมีแผ่นดินไหวจากอาฟเตอร์ช็อค (Aftershock) อยู่เป็นระยะ ประกอบกับปัญหาโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ยังไม่สามารถแก้ไขได้ กระทรวงฯ จึงขอแนะนำให้หลีกเลี่ยงการเดินทางเข้าพื้นที่ดังกล่าว ส่วนผู้ที่มีความจำเป็นต้องเดินทางเข้าพื้นที่ดังกล่าว ขอให้ใช้ความระมัดระวังอย่างเต็มที่และติดตามข้อมูลข่าวสารอย่างใกล้ชิด”

2.1.3 สอท. ได้ลงคำแนะนำในการเดินทาง ทาง twitter@rtetokyo ดังนี้

(1) โดยที่ขณะนี้ทางด้านภาคตะวันออกเฉียงเหนือของญี่ปุ่นยังมีแผ่นดินไหวจาก aftershock อยู่เป็นระยะ ประกอบกับปัญหาโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ จึงขอแนะนำให้หลีกเลี่ยงการเดินทางเข้าพื้นที่ดังกล่าว ส่วนผู้ที่มีความจำเป็นต้องเดินทางเข้าพื้นที่ดังกล่าว ขอให้ใช้ความระมัดระวังอย่างเต็มที่และติดตามข้อมูลข่าวสารอย่างใกล้ชิด

(2) ขอให้ผู้ที่เดินทางไปญี่ปุ่นแจ้งข้อมูลการเดินทาง ที่อยู่ และหมายเลขโทรศัพท์ที่สามารถติดต่อได้ในญี่ปุ่นให้ สอท. ทราบ ทางหมายเลขโทรศัพท์ +813-3222-4101 ต่อ 200 และ 275 (เวลาราชการ) หรือ +8190-8849-7785, +8190-3408-7786, +8190-1215-9369, -8190-1216-3168, +8190-1216-1871 และทางโทรสาร +813-3222-4122 หรือ E-mail: rtetokyo@hotmail.com (24 ช.ม.)

(3) สำหรับนักเรียน / นักศึกษา ที่ศึกษาในญี่ปุ่น หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการเปิดเรียนและเรื่องอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง สามารถสอบถามได้ที่ สนง.ผู้ดูแลนักเรียนในญี่ปุ่น หมายเลขโทรศัพท์ +813-5424-0652 หรือ โทรสาร + 813-5424-0658 หรือ E-mail: csctokyo@sepia.ocn.ne.jp

2.3 การให้ความช่วยเหลือของไทยต่อญี่ปุ่น

2.3.1 ยอดเงินบริจาคผ่านบัญชี “เงินบริจาคช่วยเหลือผู้ประสบภัยญี่ปุ่น” ณ วันที่ 9 พฤษภาคม 2554 ณ เวลา 15.00 น. จำนวน 57,743,899.83 ล้านบาท (ทั้งนี้ กระทรวงฯ ได้โอนเงินงวดแรกจำนวน 125 ล้านบาท ให้ สอท. ณ กรุงโตเกียว เมื่อวันที่ 1 เม.ย. 2554 เพื่อให้ สอท. ณ กรุงโตเกียวนำไปมอบให้แก่สภากาชาดญี่ปุ่นต่อไปแล้ว)

2.3.2 รัฐบาลไทยได้จัดส่งคณะกุมารแพทย์จำนวน 2 คณะ คณะละ 2 คน เดินทางไปปฏิบัติงานร่วมกับทีมแพทย์ของญี่ปุ่นที่โรงพยาบาลประจำมหาวิทยาลัยการแพทย์ฟุคุชิมะเพื่อดูแลผู้อพยพโดยเฉพาะเด็กในบริเวณที่พักชั่วคราวในเมืองฟุคุชิมะ ตามคำร้องขอของรัฐบาลญี่ปุ่น โดยคณะที่ 1 มีกำหนดปฏิบัติงานระหว่างวันที่ 9 - 20 พ.ค. 2554 และคณะที่ 2 จะปฏิบัติงานระหว่างวันที่ 23 พ.ค. – 3 มิ.ย. 2554

2.4 สถิติคนไทย

2.4.1 จำนวนคนไทยในญี่ปุ่น 40,957 คน (ข้อมูล สนง. ตรวจคนเข้าเมืองญี่ปุ่น) โดยเป็นคนไทยที่พำนักในพื้นที่เสี่ยงต่อกัมมันตรังสี 11 จังหวัด (ฮอกไกโด อะโอโมริ อิวาเตะ มิยาหงิ ฟุคุชิมะ อิบารากิ โทชิหงิ ชิบะ โตเกียว กุมมะ คาโงชิมา) 19,547 คน และคนไทยในพื้นที่เสี่ยงสูงต่อกัมมันตรังสี 3 จังหวัด (อิวาเตะ มิยาหงิ ฟุคุชิมะ) จำนวน 488 คน

2.4.2 จำนวนนักเรียนไทยในญี่ปุ่นมีประมาณ 2,429 คน (ข้อมูล สนง. ผู้ดูแลนักเรียนไทย) และจำนวนแรงงานไทยในญี่ปุ่นมีประมาณ 19,541 คน (เป็นแรงงานถูกกฎหมาย 13,541 คน แรงงานผิดกฎหมายประมาณ 6,000 คน)

2.4.3 ในชั้นนี้ยังไม่มีรายงานคนไทยได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวและสึนามิที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 11 มี.ค. 2554

3. ความช่วยเหลือจากต่างประเทศ
กระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่นสรุปยอดประเทศที่เสนอให้ความช่วยเหลือ มีจำนวน 157 ประเทศ และองค์กรระหว่างประเทศ 42 แห่ง ซึ่งมีทั้งในรูปแบบเงินบริจาค สิ่งของบริจาค และผู้เชี่ยวชาญ

เทศกาลอาหารไทยที่โรงแรม Westin Beijing Financial Street


เทศกาลอาหารไทยที่โรงแรม Westin Beijing Financial Street


เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2554 เวลา 19.15 น. เอกอัครราชทูตเปี่ยมศักดิ์ มิลินทจินดา และภริยา ได้ให้เกียรติเป็นประธานเปิดงานเทศกาลอาหารไทย (Thai Food Festival) ซึ่งโรงแรม Westin Beijing Financial Street ได้จัดร่วมกับสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง เพื่อร่วมกันประชาสัมพันธ์อาหาร เครื่องดื่ม ขนมหวาน ผลไม้ และวัฒนธรรมไทย

เทศกาลไทยดังกล่าวจัดขึ้น ณ บริเวณห้องอาหาร Senses ชั้น 1 ของโรงแรม ระหว่างวันที่ 9-17 พฤษภาคม 2554 โดยได้เชิญแม่ครัวและพ่อครัวไทยจากโรงแรม Sheraton Grande Sukhumvit มารังสรรค์ความอร่อยแบบไทยแท้ให้กับแขกของโรงแรมได้สัมผัส โดยภายในพิธีเปิด นอกจากเอกอัครราชทูตจะกล่าวสุนทรพจน์อวยพรให้การจัดงานประสบความสำเร็จแล้ว ยังได้จัดให้มีการแสดงทางวัฒนธรรมของไทยเป็นพิเศษด้วย

งานดังกล่าวประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี และได้รับการตอบรับจากแขกของโรงแรม ทั้งชาวจีนและชาวต่างประเทศเป็นอย่างมาก และจะขยายไปจัดที่โรงแรม Westin Tianjin จนถึงปลายเดือนพฤษภาคมด้วย
 
ที่มา : เว็บไซต์สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง http://www.thaiembbeij.org/thaiembbeij/th/news-activity/activity/index.php?ELEMENT_ID=7592

พิธีเบิกเนตรพระพุทธรูป ณ วัดหลิงกวง กรุงปักกิ่ง


พิธีเบิกเนตรพระพุทธรูป ณ วัดหลิงกวง กรุงปักกิ่ง


เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2554 วัดหลิงกวงในกรุงปักกิ่ง ซึ่งเป็นหนึ่งในวัดพุทธที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในจีน ได้จัดพิธีเบิกเนตรพระพุทธรูปทั้งวัด เนื่องในโอกาสที่เจดีย์ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุพระเขี้ยวแก้วได้รับการบูรณะเป็นที่แล้วเสร็จ

การจัดงานในวันนั้นเริ่มต้นด้วยการพบหารือระหว่างพระอาจารย์ฉวน อิ้น เจ้าอาวาสวัดหลิงกวงและนายกพุทธสมาคมแห่งชาติจีนและนายเจี่ยง เจียนหย่ง รองผู้ว่าการศาสนาแห่งชาติจีนกับพระพุทธาจารย์นายกสมาคมพุทธศาสนาแห่งเกาหลีใต้ พระอาจารย์จากวัดพุทธในญี่ปุ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกิจการศาสนาแห่งพม่า เอกอัครราชทูตไทย เอกอัครราชทูตพม่า เอกอัครราชทูตเนปาล เอกอัครราชทูตเวียดนาม และผู้แทนจากสถานเอกอัครราชทูตศรีลังกาและอินเดียประจำจีน โดยผู้แทนฝ่ายจีนได้กล่าวชื่นชมความสัมพันธ์อันดีระหว่างจีนกับประเทศต่างๆ ซึ่งมีความร่วมมือด้านพุทธศาสนาเป็นแกนสำคัญของการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นระหว่างประชาชน

พระเจดีย์ที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุพระเขี้ยวแก้วที่วัดหลิงกวงแห่งนี้ เคยได้รับการจัดพิธีทางศาสนาเพื่อเปิดใช้เจดีย์ครั้งแรกในช่วงทศวรรษที่ 1960 และการจัดพิธีในครั้งนี้ ถือเป็นครั้งที่ 2 ได้รับความสนใจจากพุทธศาสนิกชนชาวจีน และชาวพุทธต่างชาติที่อยู่ในจีนอย่างมาก อาทิ ชาวพม่า ชาวเวียดนาม และชาวไทย โดยในส่วนของประเทศไทยนั้น เอกอัครราชทูตเปี่ยมศักดิ์ มิลินจินดา ได้เข้าร่วมในพิธีด้วย

ภายหลังการพบหารืออย่างเป็นทางการแล้ว พระสงฆ์จีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น และพม่า และแขกผู้มีเกียรติก็ได้ไปยังบริเวณปะรำพิธีบริเวณหน้าเจดีย์ที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุพระเขี้ยวแก้ว เพื่อเข้าสู่พิธีเบิกเนตร

ผู้แทนฝ่ายจีนและผู้แทนจากประเทศต่างๆ ได้กล่าวสุนทรพจน์เกี่ยวกับความเป็นมาและความสำคัญของพิธี รวมถึงอวยพรให้พิธีประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี หลังจากนั้น จึงได้เริ่มพิธีทางสงฆ์ในการเบิกเนตรพระพุทธรูปในพระอุโบสถ รวม 11 แห่งภายในบริเวณวัดหลิงกวง และการเปิดพระเจดีย์

ในโอกาสนี้ พระอาจารย์ฉวน อิ้น เจ้าอาวาส วัดหลิงกวงได้มอบเจดีย์ทองจำลองให้กับเอกอัครราชทูต เปี่ยมศักดิ์ มิลินทจินดา เป็นที่ระลึกด้วย เจดีย์ดังกล่าวได้จำลองเจดีย์ที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุพระเขี้ยวแก้วในขนาดย่อส่วน ภายนอกปิดทองคำแท้ 99.9% ถือเป็นสัญลักษณ์ที่สำคัญของวัด และเป็นเครื่องหมายของความร่วมมืออันดีระหว่างไทยและจีนในทางพุทธศาสนาด้วย เนื่องจากประเทศไทยได้เคยอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุพระเขี้ยวแก้วจากวัดหลิงกวงไปประดิษฐานที่ประเทศไทย เพื่อให้ชาวไทยได้สักการบูชาเพื่อความเป็นสิริมงคล นอกจากนี้ ที่วัดหลิงกวงแห่งนี้ ยังเป็นสถานที่ประดิษฐานพระพุทธชินราช ซึ่งสมเด็จพระสังฆราชของไทยได้ประทานไว้ให้ และพระพุทธรูปพุทธลักษณะพระศาสดาที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีได้เสด็จฯ มาพระราชทานเมื่อวันที่ 12 เมษายน ที่ผ่านมาด้วย

ที่มา: เว็บไซต์สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง http://www.thaiembbeij.org/thaiembbeij/th/news-activity/activity/index.php?ELEMENT_ID=7570

งาน Global Child Day ที่เซี่ยงไฮ้

นักเรียนไทยเดินพาเหรดนานาชาติเข้างาน

ส้มตำไม่เผ็ดจ้า

ซุ้มไทยมีผู้มาเยี่ยมแน่นตลอดงาน

สาวน้อยญี่ปุ่นลองกระโดหนังยาง

วงศาลาไทย

ผู้ชมที่ดื่มด่ำกับเสียงเพลงของวงศาลาไทย


งาน Global Child Day ที่เซี่ยงไฮ้


สถานกงสุลใหญ่ ฯ เข้าร่วมแสดงวัฒนธรรมในงาน Global Child Day ที่ Yew Chung International School of Shanghai เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2554 ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ทางโรงเรียนได้เชิญผู้แทนประเทศต่าง ๆ จัดซุ้มนิทรรศการและนำเสนอกิจกรรมเกี่ยวกับประเทศของตนภายใต้ Theme “The Way Things Used to Be” โดยในงานนี้ไทย สิงคโปร์ และมาเลเซีย ได้ร่วมกันจัดกิจกรรมภายใต้ Southeast Asia Booth โดยนำเสนอแนวคิด “วิถีชีวิตในหมู่บ้าน” ประกอบด้วยกิจกรรมใน 3 มุม ประกอบด้วย

1) “สนามเด็กเล่น” นำเสนอการละเล่นของเด็กในอดีต อาทิ เซปักตะกร้อ กระโดดยาง หมากเก็บ เตะลูกยาง 2) “ครัว” แสดงการใช้เครื่องเทศมาเป็นส่วนประกอบในการปรุงอาหารของชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และการนำข้าวมาปรุงอาหารในแบบต่าง ๆ อาทิ Nasi Lamak ของมาเลเซีย ข้าวเหนียวมะม่วง ข้าวเหนียวสังขยาฟักทองของไทย รวมทั้งได้สาธิตการทำส้มตำซึ่งเป็นวิธีการปรุงอาหารแบบท้องถิ่น 3) “ เวที” นำเสนอการแสดงทางวัฒนธรรม วงดนตรีศาลาไทยของสมาคมนักเรียนไทยในนครเซี่ยงไฮ้ได้เข้าร่วมแสดงดนตรีไทย

ผู้เข้าร่วมงานนี้ส่วนใหญ่เป็นชุมชนชาวต่างชาติที่ทำงานในนครเซี่ยงไฮ้และใกล้เคียง เป็นกลุ่มที่นิยมเดินทางไปเที่ยวพักผ่อนในประเทศไทยและนิยมรับประทานอาหารไทย เด็ก ๆ ให้ความสนใจมาลองเล่นการละเล่นพื้นบ้าน ในขณะที่ผู้ปกครองพากันมาทดลองชิมข้าวเหนียวมะม่วงและส้มตำของซุ้มไทยอย่างเนืองแน่น

ที่มา: ภาพและเรื่องจากเว็บไซต์สถานกงสุลใหญ่ ณ นครเซี่ยงไฮ้ http://www.thaishanghai.com/th/activity/detail.php?news=392

วันอาทิตย์ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

กงสุลใหญ่ ณ นครเซี่ยงไฮ้ ร่วมงานประเพณีสงกรานต์ประจำปี 2554 ของสมาคมนักเรียนไทยในเซี่ยงไฮ้

มาร่วมงานแล้วแวะมาลงทะเบียนใช้สิทธิเลือกตั้งนอกราชอาณาจักรที่นี่ได้ด้วย

แขกวีไอพีมาร่วมงานและให้กำลังใจนักเรียน

ท่านกงสุลใหญ่ตัดริบบิ้นเปิดงาน

น้องๆนักเรียนรดน้ำกอยพรผู้ใหญ่

พิธีกรสัมภาษณ์ผู้เข้าประกวดเทพีสงกรานต์

ศิลปะการฟ้อนรำของไทย

ท่านกงสุลใหญ่และผอ.สำนักงานเศรษฐกิจและการลงทุนมอบรางวัลแก่เทพีสงกรานต์และรองฯ

กงสุลใหญ่ ณ นครเซี่ยงไฮ้ ร่วมงานประเพณีสงกรานต์ประจำปี 2554 ของสมาคมนักเรียนไทยในเซี่ยงไฮ้


แม้ว่าเทศกาลสงกรานต์ที่เมืองไทยจะผ่านพ้นไปแล้ว แต่ที่เซี่ยงไฮ้ยังมี “ควันหลง” ของสงกรานต์อยู่ น้อง ๆ สมาคมนักเรียนไทยได้ฤกษ์รวมตัวกันจัดงานประเพณีสงกรานต์ประจำปี 2554 ขึ้นเมื่อวันอาทิตย์ที่ 22 พฤษภาคม ที่ผ่านมา ท่ามกลางอากาศเย็น ๆ ฝนปรอย ๆ

ในงานนี้นักเรียนไทยจากมหาวิทยาลัยต่าง ๆ จัดทีมแข่งขันกีฬาเชื่อมความสามัคคี ทั้งแชร์บอล ชักเย่อ ฟุตบอล จัดพิธีสรงน้ำพระ รดน้ำขอพรผู้ใหญ่ จัดการแสดงนาฎศิลป์ และที่ขาดไม่ได้คือการประกวดเทพีสงกรานต์ ซึ่งปีนี้สาวน้อยชาวลาวได้รับตำแหน่งไปด้วยลีลาการฟ้อนตั่งหวายที่ประทับใจกรรมการและปอปปูลาร์โหวต รับตำแหน่งต่อจากสาวน้อยชาวพม่า ซึ่งอำลาตำแหน่งไปด้วยการร้องเพลง 3 ภาษาด้วยลีลาไม่แพ้มืออาชีพ

สถานกงสุลใหญ่ฯ ขอถือโอกาสนี้ขอบคุณน้อง ๆ โดยเฉพาะประธานสมาคมนักเรียนและทีมงาน ที่ได้ลงแรงจัดงานนี้กันขึ้นมา เพื่อกระชับความสามัคคีระหว่างกัน

ติดตามรายละเอียดผลการแข่งขันกีฬาและภาพประทับใจในงานเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์สมาคมนักเรียนไทย http://www.nihaostsa.com/

ที่มา: ภาพและเรื่องจากเว็บไซต์สถานกงสุลใหญ่ ณ นครเซี่ยงไฮ้ http://www.thaishanghai.com/th/activity/detail.php?news=400

ปัญหาแรงงานไทยในเกาหลี


ปัญหาแรงงานไทยในเกาหลี


ภาพรวม

1 แรงงานไทยที่พำนักอยู่ในเกาหลีทั้งที่ถูกกฎหมายและผิดกฎหมายส่วนใหญ่พำนักอยู่กระจัดกระจายโดยทำงานอยู่ในโรงงานขนาดเล็กหรือธุรกิจประเภทเอสเอ็มอี มิได้ทำงานอยู่ในบริษัทขนาดใหญ่เช่นเดียวกับผู้ใช้แรงงานในตะวันออกกลางหรือได้หวัน และในที่ทำงานไม่มีล่ามหรือโฟร์แมนที่คอยช่วยในเรื่องการติดต่อประสานงานกับนายจ้าง ทำให้แรงงานเหล่านี้เกิดความเครียดจากการทำงานได้ และอาจหันไปคลายเครียดโดยการดื่มสุราหรือเสพของมึนเมาต่างๆ

2 แรงงานไทยเหล่านี้ส่วนใหญ่ไม่สามารถพูด อ่าน เขียน ภาษาเกาหลี เมื่อเกิดปัญหาทั้งเรื่องการทำงานการดำรงชีวิต การเจ็บป่วย แรงงานส่วนนี้ไม่สามารถสื่อสารกับนายจ้างได้อย่างสมบูรณ์ส่งผลให้บางครั้งปัญหาที่เกิดขึ้นไม่ได้รับการแก้ไขทันท่วงที

3 แรงงานไทยส่วนใหญ่ใช้ชีวิตแยกจากสังคมเกาหลี เนื่องจากข้อจำกัดด้านภาษารวมทั้งขาดความรู้ความเข้าใจด้านวัฒนธรรมและประเพณีท้องถิ่น ประกอบกับหน้าที่การงานที่อยู่ในระดับต่ำของสังคม(ทำงานประเภทสามดี) รวมทั้งบางกลุ่มมีความกังวลจากการถูกจับเนื่องจากพำนักอยู่อย่างผิดกฎหมาย ตลอดจนชาวเกาหลีเองก็ยังไม่ได้เปิดรับชาวต่างชาติอย่างเต็มที่เช่นกัน

4 แรงงานไทยที่เข้าไปทำงานในเกาหลีส่วนใหญ่เป็นผู้ผ่านงานจากประเทศอื่นมาแล้ว ทั้งไต้หวัน สิงคโปร์ และตะวันออกกลาง ทำให้มีอายุค่อนข้างมากเมื่อแปรียบเทียบกับแรงงานจากประเทศอื่นอาทิ เวียดนาม ศรีลังกา และมองโกเลีย ซึ่งอายุโดยเฉลี่ยต่ำกง่าแรงงานไทยจึงกระตือรือล้นที่จะปรับตัวเข้ากับสังคมเกาหลีมากกว่า

5 ปัญหา

5.1 แม้ว่าการจัดส่งแรงงานไปเกาหลีส่วนใหญ่จะเป็นการจัดส่งระหว่างรัฐต่อรัฐผ่านระบบอีพีเอส ซึ่งเสียค่าใช้จ่ายต่ำและตองผ่นกฎหมายและระเบียบต่างๆ แต่ก็ยังมีขบวนการจัดส่งแรงงานไทยเข้าไปทำงานในเกาหลีโดยเสียค่านายหน้าประมาณ 90,000-120,000 บาทซึ่งหากสามารถผ่านกระบวนการตรวจคนเข้าเมืองและเข้าประเทศเกาหลีนานเกินกว่าสามเดือน ก็จะมีสถานะเป็นผู้พำนักอยู่ในเกาหลีอย่างผิดกฎหมาย (ส่วนใหญ่มิได้ถูกหลอกลวงแต่ยินยอมจ่ายเงินจำนวนดังกล่าวให้นายหน้า)และเมื่อเกิดปัญหาจะแจ้งว่าถูกหลอกลวง

5.2 จากการที่ระบบการจัดส่งแรงงานแบบ EPS มีค่าใช้จ่ายต่ำทำให้การย้าย / เปลื่ยนงาน ตลอดจนการหลบหนีนายจ้างเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง (ทั้งจากตัวแรงงานไทยเองและจากภาวะความกดดันที่ได้รับจากนายจ้าง) เนื่องจากแรงงานไทยเหล่านี้มีภาระหนี้สินจำนวนมากที่ต้องทำงานเพื่อเก็บเงินสำหรับใช้หนี้ที่ก่อไว้ก่อนที่จะเดินทาง ส่งผลให้แนวโน้มของแรงงานที่พำนักอย่างผิดกฎหมายเพิ่มมากขึ้น (ผู้ที่ผ่านการจัดส่งแรงงานระบบ EPS เมื่อย้ายงานจะต้องหางานใหม่ให้ได้ภายในสองเดือน หากเดกินกว่านั้นจะมีสถานะเป็นแรงงานผิดกฎหมาย

5.3 ข้อจำกัดด้านภาษา (เกาหลีและอังกฤษ) เป็นปัญหาสำคัญอีกประเด็นหนึ่งเนื่องจากแรงงานส่วนใหญ่ไม่สามาถสื่อสารได้ทั้งภาษาเกาหลีและภาษาอังกฤษ บางกรณีความไม่เข้าใจด้านภาษาทำให้เกิดความเข้าใจผิดกับนายจ้าง บางรายถึงขั้นทะเลาะวิวาทกับนายจ้าง ขณะที่บางรายถูกนายจ้างบอกเลิกจ้าง นอกจากนี้การไม่รู้ภาษาทำให้เสียเปรียบทั้งนายจ้างและแรงงานประเทศอื่นๆ เนื่องจากไม่สามารถร้องเรียนกับหน่วยงานเกาหลีได้โดยตรง ขณะที่แรงงานชาติอื่นๆ อาทิ ฟิลิปปินส์ ศรีลังกา และรวมทั้งเวียดนามสามารถร้องเรียนกับหน่วยงานเกาหลีได้(โดยใช้ภาษาเกาหลีหรือภาษาอังกฤษ) ที่ผ่านมาแรงงานไทยติดต่อขอความช่วยเหลือจากสถานเอกอัครราชทูตหรือสำนักงานแรงงานไทยประจำกรุงโซลให้ช่วยเป็นล่ามในการดำเนินการต่างๆเป็นประจำ ซึ่งหน่วยงานของรัฐดังกล่าวสามารถช่วยเหลือได้ระดับหนึ่ง

5.4 แรงงานไทยที่พำนักอยู่ในเกาหลีอย่างผิดกฎหมาย เมื่อเจ็บป่วยจะไม่ได้รับเงินช่วยเหลือเนื่องจากไม่มีเงินชำระค่าใช้จ่ายจากประกันสังคมร้อยละ ๗๐ ของค่าใช้จ่าย ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาติดตามมาเวลาเข้ารับการรักษาพยาบาล เนื่องจากไม่มีนอกจากนี้เงินชำระค่าใช้จ่ายต่างๆของแรงงานทั้งที่ถูกและผิดกฎหมายหากได้รับบาดเจ็บที่มิได้เกิดขึ้นจากการทำงานอาทิ อุบัติเหตุการจราจร การทะเลาะวิวาท หากพิสูจน์แล้วชัดเจนว่าตนเองเป็นผู้กระทำผิดก็จะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายต่างๆที่เกิดขึ้นเอง ซึ่งที่ผ่านมา การทะเลาะวิวาทระหว่างแรงงานไทยด้วยกันและกับแรงงานต่างชาติมีอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งอุบัติเหตุจากการจราจรต่างๆ ทั้งนี้สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการดื่มสุรา

5.5 นอกจากนี้ยังมีประเด็นหญิงไทยสมรสกับชาวเกาหลีบังหน้า เพื่อหาช่องทางเข้าไปทำงานในประเทศเกาหลีโดยเฉพาะงานนวด ซึ่งมีจำนวนมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยการแต่งงานดังกล่าวกระทำเพื่อหาทางเข้าประเทศเกาหลีอย่างถูกกฎหมาย(บางรายเสียค่านายหน้าประมาณ 100,000 บาท) แต่ตามกฎหมายเกาหลีไม่อนุญาตให้ชาวต่างชาติประกอบอาชีพนวดจึงเป็นการทำงานโดยผิดกฎหมาย ประกอบกับบางรายเมื่อเดินทางถึงเกาหลีแล้วไม่สามารถทำงานได้โดยสะดวกหรือมีรายได้น้อยกว่าที่คาดไว้ หรือนายจ้างบิดพริ้วไม่ปฏิบัติตามสัญญา หญิฃไทยเหล่านี้จะหลบหนีและหากไม่สามารถหางานอื่นทำได้ก็จะขอความช่วยเหลือสถานเอกอัครราชทูตให้ส่งตัวกลับประเทศไทยโดยแจ้งว่าถูกหลอกลวงมาและเกือบทุกรายไม่มีหนังวสือเดินทาง(ถูกนายจ้างยึดไว้) ไม่มีค่าใช้จ่ายในการเดินทางและที่พัก ส่งผลให้ภาครัฐต้องรับภาระเพิ่มมากขึ้น

งาน Thailand Grand Fair 2011 ที่บรูไน





งาน Thailand Grand Fair 2011 ที่บรูไน

สถานเอกอัครราชทูต ณ บันดาเสรีเบกาวัน ประเทศบรูไน รายงานว่า เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2554 เวลา 11.30 น. Pehin Orang Kaya Pekerma Laila Diraja Dato Paduka Haji Hazair Haji Abdullah รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เยาวชน และการกีฬาบรูไนฯ ได้เป็นแขกเกียรติยศในพิธีเปิดงาน Thailand Grand Fair 2011 ซึ่งสถานเอกอัครราชทูต ณ บันดาร์เสรีเบกาวัน ได้จัดขึ้น ณ Press Conference Hall, International Convention Centre (ICC) ซึ่งเป็นศูนย์การประชุมที่ใหญ่ที่สุดในบรูไนฯ โดยมีคณะทูตานุทูต ข้าราชการระดับสูง นักธุรกิจชั้นนำ สื่อมวลชนท้องถิ่น ตลอดจนประชาชนผู้สนใจเข้าร่วมงานเป็นจำนวนมาก

วัตถุประสงค์ของการจัดงาน Thailand Grand Fair เพื่อเป็นการเผยแพร่เอกลักษณ์วัฒนธรรมไทย และส่งเสริมสินค้าไทยและการท่องเที่ยวให้เป็นที่นิยมในบรูไนฯ มากยิ่งขึ้น เพื่อสร้างความเข้าใจอันดีในระดับประชาชนตามนโยบายการทูตเชิงวัฒนธรรม ทั้งนี้ สถานเอกอัครราชทูตฯ ได้จัดงานดังกล่าวขึ้นเป็นงานประจำปี โดยได้ดำเนินการเป็นปีที่ 4 ติดต่อกัน โดยได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานแรงงานในบรูไนสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ และสำนักงานการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์

โดยภายในงานประกอบด้วย เวทีสาธิตงานหัตถกรรมไทย อาทิ การแกะสลักผักผลไม้ การเพ้นท์ร่มกระดาษ การประดิษฐ์กระทง การประดิษฐ์ตุง (ธงสัญลักษณ์ของภาคเหนือในการฉลองงานมงคลต่างๆ) ซึ่งเปิดโอกาสให้ผู้เข้าชมงานที่สนใจได้ลองประดิษฐ์ด้วย ซุ้มประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวไทย ซุ้มจัดแสดงและจำหน่ายสินค้าไทย โดยมีผู้ประกอบการไทยกว่า 30 รายจากทั่วทุกภาคเข้าร่วมงาน รวมถึงการจัดซุ้มสาธิตเทคนิคการนวดแผนไทยเพื่อให้ความรู้แก่ผู้ที่สนใจ และซุ้มส่งเสริมการขยายตลาดแรงงานไทยในบรูไน โดยในปี 2553 มีผู้สนใจเข้าชมงานประมาณ 58,000 คน

สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงมาดริด จัดกิจกรรมวันวิสาขบูชา ที่ทำเนียบเอกอัครราชทูต





สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงมาดริด จัดกิจกรรมวันวิสาขบูชา ที่ทำเนียบเอกอัครราชทูต


เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2554 สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงมาดริด ได้จัดกิจกรรมวันวิสาขบูชา ที่ทำเนียบเอกอัครราชทูต โดยได้รับความกรุณาจากสมเด็จพระวันรัต รักษาเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหารและคณะ ซึ่งเดินทางมาสเปนโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประกอบพิธีเจริญพระพุทธมนต์ แสดงพระธรรมเทศนา และประกอบพิธีเวียนเทียนให้กับชุมชนคนไทยในสเปนโดยเฉพาะ กิจกรรมในครั้งนี้เป็นการจัดกิจกรรมทางพุทธศาสนาครั้งแรกในสเปน ซึ่งคนไทยที่อาศัยอยู่ในกรุงมาดริดและครอบครัวให้ความสนใจร่วมพิธีกว่า 100 คน และในโอกาสนี้ ผู้ร่วมงานทุกคนได้ร่วมกันถวายเพลแก่พระภิกษุสงฆ์ด้วย

นอกจากนี้ สมเด็จพระวันรัต ได้กรุณาอัญเชิญพระพุทธรูป ภ.ป.ร. มายังกรุงมาดริดเพื่อให้ชาวไทยได้สักการะเพื่อความเป็นสิริมงคล และมอบให้ประดิษฐานไว้ที่สถานเอกอัครราชทูตฯ และในวันที่ 12 พฤษภาคม 2554 สมเด็จพระวันรัตยังได้เป็นประธานในการทำบุญสถานเอกอัครราชทูตฯ โดยมีข้าราชการสถานเอกอัครราชทูตและเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นเข้าร่วม

ทั้งนี้ สมเด็จพระวันรัตได้แสดงอนุโมทนายินดีกับดำริของสถานเอกอัครราชทูตในการริเริ่มจัดกิจกรรมเนื่องในวันสำคัญทางพุทธศาสนาด้วย

กงสุลใหญ่ ณ เมืองเจดดาห์ ให้การต้อนรับ ฯพณฯ วันมูหะมัดนอร์ มะทา ในโอกาสเดินทางเยือนซาอุดีอาระเบีย

ฯพณฯ วันมูหะมัดนอร์ฯ ลงนามในสมุดเยี่ยม ในโอกาสที่ กงสุลใหญ่ชาลีฯ จัดเลี้ยงอาหารค่ำ

กงสุลใหญ่ชาลี สกลวารี และภริยา ถ่ายภาพกับ ฯพณฯ วันมูหะมัดนอร์ฯ และคณะเป็นที่ระลึก


กงสุลใหญ่ ณ เมืองเจดดาห์ ให้การต้อนรับ ฯพณฯ วันมูหะมัดนอร์ มะทา ในโอกาสเดินทางเยือนซาอุดีอาระเบีย


นายชาลี สกลวารี กงสุลใหญ่ ณ เมืองเจดดาห์ พร้อมด้วยข้าราชการสถานกงสุลใหญ่ ได้ให้การต้อนรับ ฯพณฯ วันมูหะมัดนอร์ มะทา อดีตประธานรัฐสภา และรองนายกรัฐมนตรี พร้อมคณะรวม 4 คน ในโอกาสที่เดินทางเยือนซาอุดีอาระเบียในฐานะแขกรับเชิญของรัฐบาลซาอุดีฯ เพื่อเข้าร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีมอบรางวัล Prince Naif Prizes ให้แก่ผู้ชนะเลิศการแข่งขันกิจกรรมด้านอิสลามศึกษา ระหว่างวันที่ 22 - 28 พฤษภาคม 2554 ที่เมืองมาดีนะห์ และปฏิบัติศาสนกิจที่เมืองเมกกะห์ โดยแขกที่ได้รับเชิญจากทางการซาอุดีฯเป็นบุคคลที่มีบทบาทและทำคุณประโยชน์ให้แก่ชุมชนมุสลิมจากหลายประเทศเข้าร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีมอบรางวัลในครั้งนี้ ทั้งนี้ กงสุลใหญ่และภริยาได้จัดเลี้ยงอาหารค่ำแก่ ฯพณฯ วันมูหะมัดนอร์ฯ และคณะด้วย

ที่มา: ภาพและเรื่องจากสถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองเจดดาห์

วันศุกร์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

พายุทอร์นาโดในสหรัฐฯ


พายุทอร์นาโดในสหรัฐฯ


ตามที่ได้เกิดพายุทอร์นาโดในพื้นที่มลรัฐมิสซูรี โดยเฉพาะเมือง Joplin ตั้งแต่ช่วงบ่ายของวันที่ ๒๒ พฤษภาคม ศกนี้ ซึ่งสร้างความเสียหายและมีจำนวนผู้เสียชีวิตล่าสุดประมาณ 125 คน และผู้สูญหายจำนวนประมาณ 232 คน โดยในเมืองดังกล่าวมีคนไทยประมาณ 25-30 คน โดยเป็นนักศึกษาไทยในมหาวิทยาลัย Missouri Southern State University ประมาณ 15-20 คน และเป็นคนไทยที่พำนักในเมืองดังกล่าวประมาณ 10 คน นั้น

เกี่ยวกับเรื่องนี้ นายธานี ทองภักดี อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนในเรื่องนี้เพิ่มเติมว่า สถานกงสุลใหญ่ ณ นครชิคาโกได้ทราบข้อมูลเพิ่มเติมว่า มีนักเรียนไทย ในโครงการ Work and Travel จำนวน 9 คน ทำงานในเมือง Joplin ซึ่งภายหลังการติดต่อกับกลุ่มนักเรียนไทยดังกล่าว ทราบว่าทุกคนปลอดภัย โดยได้รับการดูแลเป็นอย่างดี อย่างไรก็ตาม ได้รับทราบว่ามีคนไทยเพียง 1 คนที่ห้องพักได้รับความเสียหาย นอกจากนี้ สถานกงสุลใหญ่ฯ ได้ประสานกับชุมชนไทยในเมือง Kansas City ซึ่งอยู่ห่างจากเมือง Joplin ประมาณ 2 ชั่วโมง นำอาหารและสิ่งของเครื่องใช้ที่จำเป็นไปให้การช่วยเหลือด้วยแล้ว

สถานการณ์ภูเขาไฟระเบิดในไอซ์แลนด์


สถานการณ์ภูเขาไฟระเบิดในไอซ์แลนด์


ตามที่ได้เกิดเหตุการณ์ภูเขาไฟ Grimsvotn ในไอซ์แลนด์ปะทุ เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2554 และก่อให้เกิดเถ้าธุลีปกคลุมไปทั่วประเทศต่าง ๆ ในยุโรป นั้น

เกี่ยวกับเรื่องนี้ นายธานี ทองภักดี อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ได้ให้ สัมภาษณ์สื่อมวลชนในเรื่องนี้เพิ่มเติมว่า นับตั้งแต่เกิดการปะทุของภูเขาไฟ จึงทำให้เถ้าธุลีของภูเขาไฟดังกล่าวได้ขยายเข้าไปในตอนกลางของยุโรป ทำให้ประเทศเยอรมนีต้องปิดสนามบินเมืองต่างๆ ตั้งแต่วันพุธที่ 25 พฤษภาคม 2554 และสนามบิน Heathrow ก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน โดยมีการยกเลิกเที่ยวบินที่จะเดินทางไปอังกฤษแล้วประมาณ 500 เที่ยวบิน ทั้งนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องของยุโรปรายงานว่า เถ้าธุลีดังกล่าวปกคลุมถึงประเทศโปแลนด์ สก๊อตแลนด์ ไอร์แลนด์เหนือ และอาจไปถึงกรุงเบอร์ลิน และประเทศเดนมาร์ก รวมถึงประเทศสแกนดิเนเวียด้วย ซึ่งหากเป็นเช่นนั้น ก็อาจมีการยกเลิกเที่ยวบินเพิ่มเติม

อย่างไรก็ตาม ล่าสุด ทางการไอซ์แลนด์แจ้งว่าสถานการณ์การปะทุของภูเขาไฟได้สงบลงแล้วเมื่อวันพุธที่ผ่านมา จึงอาจทำให้สนามบินหลายแห่งเริ่มเปิดดำเนินการได้

นอกจากนี้ ในขณะนี้ ยังไม่มีรายงานว่าคนไทยได้รับความเสียหายหรือผลกระทบร้ายแรงแต่ประการใด ทั้งนี้ ขอให้ผู้ที่ต้องการเดินทางไป/ผ่านภูมิภาคยุโรป ติดตามข้อมูลเป็นระยะและตรวจสอบข้อมูลการบินกับสายการบินนั้นๆ อย่างใกล้ชิด

คอนเสิร์ตไทยประยุกต์ที่ลอสแอนเจลิส



คอนเสิร์ตไทยประยุกต์ที่ลอสแอนเจลิส

เมื่อวันอาทิตย์ที่ 6 มิถุนายน 2554 สถานกงสุลใหญ่ ณ นครลอสแอนเจลิส ร่วมกับ Thai Town Rotary Club ได้จัดคอนเสิรต์ไทยประยุกต์ขึ้นในใจกลางไทยทาวน์ เป็นครั้งแรก โดยนำวงดนตรีกระเพรา ซึ่งเป็นวงไทยเดิม ประกอบด้วย ระนาด ขิ๋ม กลองยาวขลุ่ยมาบรรเลงเพลงร่วมกับวงดนตรีสมัยใหม่ นำเสนอบทเพลงสมัยใหม่ที่มีกลิ่นอายของลาตินและแจ๊ส ผสมผสานกลิ่นอายความเป็นไทยโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างสีสัน ความสนุกสนานรื่นเริง ในบริเวณไทยทาวน์ซึ่งจะช่วยดึงดูดนักท่องเที่ยวอเมริกันและต่างชาติให้มาเยี่ยมเยียนไทยทาวน์ และเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมไทยให้แพร่หลายยิ่งขึ้น ซึ่งได้รับความสนใจและตอบรับอย่างดียิ่ง มีผู้มาเข้าร่วมชมคอนเสริต์จำนวนมาก

ที่มา : ภาพและเรื่องโดยสถานกงสุลใหญ่ ณ นครลิสแอนเจลิส

วันอังคารที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

เอกอัครราชทูต ณ กรุงอาบูดาบีและ Sheikha Lubna Bint Khalid Al Qasimi รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการค้าต่างประเทศ ร่วมเปิดงาน Destination Thailand 2011

 


 เอกอัครราชทูต ณ กรุงอาบูดาบีและ Sheikha Lubna Bint Khalid Al Qasimi รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการค้าต่างประเทศ ร่วมเปิดงาน Destination Thailand 2011


เมื่อวันที่ 5 พ.ค. 2554 นายสมชัย จรณะสมบูรณ์ เอกอัครราชทูต ณ กรุงอาบูดาบี ได้กราบทูลเชิญ Sheikha Lubna Bint Khalid Al Qasimi รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการค้าต่างประเทศยูเออีร่วมเป็นประธานเปิดงาน Destination Thailand 2011 ที่ Dubai Mall

เอกอัครราชทูต ได้กล่าวสุนทรพจน์เปิดงานว่า งานดังกล่าวซึ่งจัดขึ้นโดยความร่วมมือของสำนักงานต่าง ๆ ของไทยที่เมืองดูไบ เพื่อประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับประเทศไทย ส่งเสริมการท่องเที่ยว การรักษาพยาบาล และสปาไทยให้เป็นที่แพร่หลายมากขึ้นในยูเออี และหวังว่าจะมีนักท่องเที่ยวจากยูเออีเดินทางไปประเทศไทยมากขึ้น

ที่มา: ภาพและเรื่องโดยสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงอาบูดาบี

วันจันทร์ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

คำแนะนำเตือนภัยสำหรับผู้ที่เดินทางไปโมร็อกโก


คำแนะนำเตือนภัยสำหรับผู้ที่เดินทางไปโมร็อกโก

ตามที่ได้เกิดเหตุระเบิดที่เมืองมาร์ราเกซ อาชอาณาจักรโมร็อกโกเมื่อวันที่ 28 เมษายน 2554 ซึ่งมีผู้เสียชีวิต 14 คน โดยส่วนใหญ่เป็นนักท่องเที่ยวต่างชาติ และไม่มีคนไทยได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต นั้น

กระทรวงการต่างประเทศได้รับรายงานจากสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงราบัต แจ้งว่าทางการโมร็อกโกได้จับกุมผู้ต้องสงสัยแล้ว 3 คนและได้เพิ่มความเข้มงวดด้านความปลอดภัยในเมืองสำคัญต่างๆ เช่น กรุงราบัติ เมืองคาซาบลังกาและเมืองมาร์ราเกซ

อย่างไรก็ตาม โดยที่มีความเป็นไปได้ที่จะเกิดเหตุวินาศกรรมขึ้นอีกในโมร็อกโก กระทรวงการต่างประเทศจึงขอแจ้งเตือนให้คนไทยทุกคนที่จะเดินทางไปโมร็อกโกใช้ความระมัดระวังอย่างสูงในการเดินทางไปยังสถานที่ต่างๆในโมร็อกโก โดยเฉพาะสถานที่สาธารณะที่มีกลุ่มคนจำนวนมาก

จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบโดยทั่วกัน

กระทรวงการต่างประเทศ

แผ่นดินไหวในตุรกี ไม่มีคนไทยได้รับบาดเจ็บ


แผ่นดินไหวในตุรกี ไม่มีคนไทยได้รับบาดเจ็บ



สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงอังการา ประเทศตุรกี รายงานว่า เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2554 เวลา 23.15 น.เกิดเหตุแผ่นดินไหวที่เมืองซิมาฟ ห่างจากเมืองคุตาห์ยา ทางภาคตะวันตกของตุรกีประมาณ 80 กิโลเมตร ความสั่นสะเทือนวัดได้ 5.9 ริกเตอร์ และมีอาฟเตอร์ช็อกติดตามมาอีกจำนวน 50 ครั้ง ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตจำนวน 3 ราย บาดเจ็บ 100 ราย บ้านเรือนราษฎรรวมทั้งระบบไฟฟ้าและโทรศัพท์ได้รับความเสียหาย ทั้งนี้ทางการตุรกีได้แจ้งเตือนประชาชนให้ระวังภัยจากอาฟเตอร์ช็อกที่อาจติดตามมา

สถานเอกอัครราชทูตได้ตรวจสอบเครือข่ายคนไทยแล้วทราบว่าในเมืองซิมาฟไม่มีคนไทยพำนักอาศัยอยู่ ที่เมืองคูตาห์ยาซึ่งใกล้บริเวณเกิดเหตุมีคนไทยพำนักอยู่เพียง 4 คน นอกจากนั้นมีที่เมืองอีสมีร 3 คน เมืองเบอร์ซา 1 คน และที่นครอิสตันบุล 152 คน ซึ่งเป็นพื้นที่ได้รับแรงสั่นสะเทือนเช่นกัน แต่คนไทยทุกคนปลอดภัยดี

ตุรกีเป็นประเทศที่มีเหตุแผ่นดินไหวอยู่เสมอ สถานเอกอัครราชทูตฯ จึงแจ้งเตือนให้คนไทยที่พำนักอยู่ในประเทศเตรียมพร้อมเพื่อความไม่ประมาท

กงสุลใหญ่ ณ เมืองเจดดาห์ เป็นเจ้าภาพจัดเลี้ยงอาหารค่ำเพื่อเป็นเกียรติแก่กงสุลใหญ่ญี่ปุ่น และกงสุลใหญ่เกาหลี

กงสุลใหญ่ชาลีฯ (คนแรกขวามือ)ให้การต้อนรับกงสุลใหญ่ญี่ปุ่น เกาหลี อินโดนีเซีย และบรูไน 
คุณพิมทิพย์พาฯ (คนแรกซ้ายมือ) ภริยากงสุลใหญ่ ชาลีฯ ถ่ายภาพร่วมกับภริยากงสุลใหญ่อินโดนีเซีย และ ภริยากงสุลใหญ่ญี่ปุ่น
กงสุลใหญ่ชาลีฯ และภริยา ถ่ายภาพกับแขกที่มาร่วมงานเลี้ยงไว้เป็นที่ระลึก



กงสุลใหญ่ ณ เมืองเจดดาห์ เป็นเจ้าภาพจัดเลี้ยงอาหารค่ำเพื่อเป็นเกียรติแก่กงสุลใหญ่ญี่ปุ่น และกงสุลใหญ่เกาหลี


เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2554 ระหว่างเวลา 19.00 – 21.00 น. นายชาลี สกลวารี กงสุลใหญ่ ณ เมืองเจดดาห์ พร้อมภริยา ได้เป็นเจ้าภาพจัดเลี้ยงอาหารค่ำเพื่อเป็นเกียรติแก่กงสุลใหญ่ญี่ปุ่น และกงสุลใหญ่เกาหลี ในโอกาสที่ทั้งสองเดินทางเข้ารับตำแหน่งกงสุลใหญ่ประจำเมืองเจดดาห์ โดยมีกงสุลใหญ่อินโดนีเซีย และกงสุลใหญ่บรูไนประจำเมืองเจดดาห์เข้าร่วมงานด้วย

ที่มา: ภาพและเรื่องโดยสถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองเจดดาห์

คนไทยไม่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่เมืองลอร์กา ราชอาณาจักรสเปน


คนไทยไม่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่เมืองลอร์กา ราชอาณาจักรสเปน



ตามที่ได้เกิดเหตุแผ่นดินไหวที่เมืองลอร์กา (Lorca) จังหวัดมูร์เซีย (Murcia) ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของราชอาณาจักรสเปน เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2554 ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 8 คน บาดเจ็บ 167 คน โดยเป็นผู้ได้รับบาดเจ็บสาหัส 3 คน และบ้านเรือนเสียหายกว่า 20,000 หลัง นั้น

กระทรวงการต่างประเทศได้รับรายงานจากสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงมาดริด ว่า ปัจจุบันมีคนไทยอาศัยอยู่ในสเปนประมาณ 1,000 คน ซึ่งสถานเอกอัครราชทูตฯ ได้ตรวจสอบฐานข้อมูลคนไทยในสเปนแล้วพบว่า ไม่มีคนไทยอาศัยอยู่ในเมืองลอร์กาแต่อย่างใด โดยผู้เสียชีวิตทั้งหมดเป็นชาวสเปน

การติดตามสถานการณ์แผ่นดินไหวในญี่ปุ่น(20 พฤษภาคม 2554)


การติดตามสถานการณ์แผ่นดินไหวในญี่ปุ่น(20 พฤษภาคม 2554)


สถานะ ณ เวลา 23.00 น. วันพฤหัสบดีที่ 20 พฤษภาคม 2554

1. สถานการณ์ในญี่ปุ่น

1.1 สถิติ ผู้เสียชีวิตล่าสุดรวม 15,148 ราย สูญหาย 8,881 ราย (จากรายงานของสำนักงานตำรวจแห่งชาติญี่ปุ่น ณ วันที่ 20 พ.ค. 2554)

1.2 การเกิดอาฟเตอร์ช็อค (Aftershock)

- องค์กรอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น ได้รายงาน Aftershock ของวันที่ 20 พ.ค. 2554 ดังนี้

เวลา 15.53 น. ตามเวลาประเทศไทย ได้เกิดแผ่นดินไหวจุดศูนย์กลางที่ จ.อิบารากิ วัดแรงสั่นสะเทือนได้ 4.6 ริกเตอร์


เวลา 14.28 น. ตามเวลาประเทศไทย ได้เกิดแผ่นดินไหวจุดศูนย์กลางที่ จ.ฟุคุชิมะ วัดแรงสั่นสะเทือนได้ 5.2 ริกเตอร์


เวลา 07.46 น. ตามเวลาประเทศไทย ได้เกิดแผ่นดินไหวจุดศูนย์กลางที่ จ.อิบารากิ วัดแรงสั่นสะเทือนได้ 5.8 ริกเตอร์

ทั้งนี้ ยังไม่มีรายงานสึนามิและความเสียหายจากการเกิดอาฟเตอร์ช็อคข้างต้น

- มีรายงานว่า ผู้รอดชีวิตจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวเมื่อวันที่ 11 มี.ค. 2554 จำนวนอย่างน้อย 524 คน ได้เสียชีวิตเนื่องจากภาวะหัวใจล้มเหลว นิวมอเนีย ความเหนื่อยล้า ความเครียด รวมทั้งภูมิคุ้มกันต่ำลงและความดันโลหิตสูง เนื่องจากพำนักอยู่ในศูนย์อพยพเป็นเวลานาน ทั้งนี้ ร้อยละ 90 ของผู้เสียชีวิตเป็นผู้สูงอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป และมีการพบผู้เสียชีวิตที่เป็นเด็กอายุ 2 ขวบ เนื่องจากอาการขาดน้ำ และโรคติดต่อ

1.3 รายงานสถานการณ์โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุคุชิมะที่ 1 (ฟุคุชิมะ ไดอิฉิ)

- สถานการณ์ในเตาปฏิกรณ์ต่าง ๆ

เตาปฏิกรณ์หมายเลข 1 บริษัทการไฟฟ้าโตเกียว (TEPCO) สามารถตรวจวัดระดับปริมาณน้ำที่มีสารกัมมันตรังสีปนเปื้อนในระดับสูงที่ไหลรั่วลงไปที่ชั้นใต้ดินของอาคารเตาปฏิกรณ์หมายเลข 1 จากรอยรั่วที่เกิดจากการหลอมละลายของแท่งเชื้อเพลิงใช้แล้ว พบว่ามีความสูงอยู่ที่ประมาณ 4.2 เมตร ทั้งนี้ TEPCO มีแผนจะกำจัดน้ำที่มีกัมมันตรังสีในปริมาณสูงดังกล่าวและนำไปใช้ในระบบหล่อเย็นภายในตัวอาคารต่อไปเตาปฏิกรณ์หมายเลข 2 TEPCO ได้ส่งพนักงานเข้าไปในอาคารเตาปฏิกรณ์หมายเลข 2 ครั้งแรกหลังจากเหตุแผ่นดินไหวเมื่อวันที่ 18 เม.ย. 2554 และมีแผนจะฉีดก๊าซไนโตรเจนเข้าไปในเตาปฏิกรณ์ดังกล่าว เพื่อป้องกันการระเบิดไนโตรเจน ปริมาณกัมมันตภาพรังสีในเตาปฏิกรณ์หมายเลข 2 อยู่ที่ปริมาณ 10,000 - 50,000 ไมโครซีเวิร์ท/ชม. ซึ่งต่ำกว่าปริมาณในเตาหมายเลข 1 อย่างไรก็ดี พบว่ามีปัญหาไอน้ำจำนวนมากภายในอาคารสืบเนื่องจากความร้อนของแท่งเชื้อเพลิงใช้แล้วจึงได้วางแผนจะติดตั้งระบบหล่อเย็นเพื่อลดปริมาณไอน้ำดังกล่าวภายในสองสัปดาห์เตาปฏิกรณ์หมายเลข 3 เมื่อวันที่ 19 พ.ค. 2554 TEPCO ได้ส่งพนักงานเข้าไปในอาคารเตาปฏิกรณ์หมายเลข 3 เป็นครั้งแรกหลังจากเกิดเหตุระเบิดไนโตรเจนพบว่ามีปริมาณกัมมันตภาพรังสีสูงมากถึง 160,000 – 170,000 ไมโครซีเวิร์ท/ชม. ใกล้ประตู containment vessel ทางบริษัทจึงวางแผนจะฉีดก๊าซไนโตรเจนจากมุมอื่นและติดตั้งแผ่นตะกั่วเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของกัมมันตภาพรังสีทั้งนี้ พบปริมาณซีเซียม134 ในน้ำบริเวณเตาปฏิกรณ์หมายเลข 3 สูงกว่าระดับมาตรฐาน 1,800 เท่า เพิ่มสูงขึ้นจากระดับ 550 เท่า ที่วัดได้เมื่อวันที่ 18 เม.ย. 2554 ทั้งนี้ มีการตรวจพบซีเซียม134 สูงกว่าระดับมาตรฐาน 1.8 เท่า ที่ระยะ 330 เมตร ทางทิศใต้ของประตูบำบัดน้ำเสียของอาคารเตาปฏิกรณ์หมายเลข 1-4

- วันที่ 19 พ.ค. 2554 องค์การสาธารณสุขประจำ จ.โอซากา แถลงผลการสุ่มตรวจปริมาณกัมมันตรังสี ระหว่างวันที่ 1 เม.ย.- 2 พ.ค. 2554 ว่า พบปริมาณสารซีเซียม134 และสารซีเซียม137 ใน จ.โอซากา สูงกว่าปริมาณที่พบปกติ 100 เท่า และสันนิษฐานว่ากัมมันตรังสีดังกล่าวลอยมาจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุคุชิมะ อย่างไรก็ดี ปริมาณดังกล่าวยังน้อยกว่า 1/10,000 ของปริมาณซีเซียมที่จะได้รับตามธรรมชาติตลอดทั้งปีและไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ

- วันที่ 19 พ.ค. 2554 กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นได้ประกาศแผนจัดตั้งคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญเพื่อศึกษาเหตุการณ์แผ่นดินไหวเมื่อวันที่ 11 มี.ค. 2554 และแนวทางในการปรับปรุงระบบเตือนภัยสึนามิรวมทั้งแผนในการอพยพประชาชน โดยจะจัดการประชุมคณะกรรมการครั้งแรกในวันที่ 8 มิ.ย. 2554

- วันที่ 17 พ.ค. 2554 ซึ่งครบ 1 เดือน หลังจากที่มี roadmap ฉบับแรกออกมา รัฐบาลญี่ปุ่นและบริษัท

การไฟฟ้าโตเกียว (TEPCO) ได้ประกาศ roadmap ฉบับทบทวน ดังนี้ รัฐบาลญี่ปุ่น มี roadmap ที่แบ่งออกเป็นสองส่วน ได้แก่ 1) การแก้ปัญหาโรงไฟฟ้าไดอิฉิ ซึ่งเป็นการดำเนินการของ TEPCO โดยรัฐบาลจะมีหน้าที่คอยสนับสนุน เช่น ตรวจสอบความคืบหน้า ดูแลความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่ที่เข้าไปปฏิบัติงาน และความร่วมมือจากต่างประเทศ และ 2) การดูแลผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์นิวเคลียร์ อาทิ การจัดหาที่พักชั่วคราวแบบเบ็ดเสร็จ การหางานให้แก่ผู้อพยพ การให้ความช่วยเหลืออุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบ และการจ่ายเงินชดเชย ทั้งนี้ รัฐบาลมีแผนจะกำจัดซากปรักหักพังบริเวณที่พักอาศัยที่ได้รับผลกระทบจากสึนามิภายในสิ้นเดือน ส.ค. 2554 โดยจะสร้างที่พักชั่วคราวสำหรับประชาชนที่ได้รับผลกระทบและปิดศูนย์อพยพภายในกลางเดือน ส.ค. 2554 สำหรับ TEPCO ยังคงมีเป้าหมายเหมือนเดิม โดยให้การดำเนินการควบคุมสถานการณ์สำเร็จภายใน 6-9 เดือน โดยมีรายละเอียดเพิ่มเติมจากแผนเดิมคือ นำเรื่อง aftershock และประเด็นเรื่องน้ำขังที่มีสารกัมมันตรังสีปนเปื้อนในอาคารเตาปฏิกรณ์เข้าพิจารณาด้วย

1.4 การอพยพคนและปฏิกิริยาจากต่างชาติ

1.4.1 ณ วันที่ 25 เม.ย. 2554 ได้มี สอท. ประเทศต่าง ๆ ในกรุงโตเกียว รวมทั้งสิ้น 2 ประเทศ ประกาศปิดทำการชั่วคราว และ สอท. ของอีก 2 ประเทศ ย้ายที่ทำการไปยังภาคตะวันตกของญี่ปุ่น อาทิ นครโอซากา เมืองโกเบ

1.4.2 รัฐบาลประเทศต่าง ๆจำนวน 21 ประเทศออก คำแนะนำการเดินทาง (Travel Advisory) ไปญี่ปุ่น รวมไปถึงมาตรการในการอพยพพลเมืองของแต่ละประเทศ

2. การดำเนินการของไทย

2.1 การติดตามระดับกัมมันตรังสี

สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ (ปส.) รายงานว่า ระดับกัมมันตรังสีที่ตำแหน่งระยะห่าง 30 กม. จากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุคุชิมะ วันที่ 9 พ.ค 2554 เวลา 15.00 น. อยู่ที่ระดับ 19.3 ไมโครซีเวิร์ท/ชม. เท่ากับปริมาณที่วัดได้เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2554 เวลา 14.00 น. ทั้งนี้ ระดับกัมมันตรังสีตามเมืองต่าง ๆ ในญี่ปุ่นยังคงอยู่ในระดับปกติและไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ (ระดับกัมมันตรังสีที่ จ.อิวาเตะ อยู่ที่ 0.024 ไมโครซีเวิร์ท/ชม. จ.อิบารากิ อยู่ที่ 0.103 ไมโครซีเวิร์ท/ชม. ที่โตเกียวอยู่ที่ 0.066 ไมโครซีเวิร์ท/ชม.) (ยังไม่มีรายงานเพิ่มเติมจาก ปส.)

การใช้บริการสายการบิน

บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ได้รายงานอัตราผู้ใช้บริการสายการบินเมื่อวันที่ 19 พ.ค. 2554 ดังนี้

กรุงเทพฯ – นาริตะ

เที่ยวบิน TG676 เวลา 07.35 – 15.45 น. อัตราผู้ใช้บริการสายการบิน 58.65% (ลดลงจาก 70.40% ในวันก่อน)

เที่ยวบิน TG642 เวลา 23.50 – 08.10 น. อัตราผู้ใช้บริการสายการบิน 73.01% (ลดลงจาก 86.13% ในวันก่อน)

นาริตะ – กรุงเทพฯ

เที่ยวบิน TG643 เวลา 12.00 – 16.30 น. อัตราผู้ใช้บริการสายการบิน 59.47% (เพิ่มขึ้นจาก 45.90% ในวันก่อน)

เที่ยวบิน TG677 เวลา 16.55 – 21.25 น. อัตราผู้ใช้บริการสายการบิน 44.55% (ลดลงจาก 44.92% ในวันก่อน)

2.2 การดูแลคนไทยในญี่ปุ่น

2.1.1 ตามที่ได้เกิดแผ่นดินไหวและ Aftershock ในบริเวณต่าง ๆ ในญี่ปุ่น ตั้งแต่วันที่ 11 เม.ย. 2554 สอท. ณ กรุงโตเกียว ได้ประสานสอบถามความเป็นอยู่ของคนไทยในพื้นที่และทราบว่าคนไทยยังปลอดภัยดี แม้บางรายจะรู้สึกตกใจในสถานการณ์ที่เกิดขึ้น และรู้สึกกังวลใจเรื่องความเป็นอยู่และความปลอดภัย แต่ในชั้นนี้ยังไม่ได้รับรายงานคนไทยเสียชีวิตหรือได้รับบาดเจ็บจากวิบัติภัยดังกล่าว

2.1.2 ข่าวสารนิเทศกระทรวงการต่างประเทศ เรื่อง “คำแนะนำในการเดินทางไปประเทศญี่ปุ่นฉบับล่าสุด” ซึ่งได้ประกาศเมื่อวันที่ 25 เม.ย. 2554 มีเนื้อหาดังนี้ “ตามที่กระทรวงการต่างประเทศได้ประกาศเตือนขอให้คนไทยติดตามข่าวสารและปฏิบัติตามคำแนะนำของกระทรวงฯ และสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโตเกียว เกี่ยวกับการเดินทางไปญี่ปุ่นนั้น ขอเรียนว่า ในชั้นนี้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของญี่ปุ่นยังมีแผ่นดินไหวจากอาฟเตอร์ช็อค (Aftershock) อยู่เป็นระยะ ประกอบกับปัญหาโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ยังไม่สามารถแก้ไขได้ กระทรวงฯ จึงขอแนะนำให้หลีกเลี่ยงการเดินทางเข้าพื้นที่ดังกล่าว ส่วนผู้ที่มีความจำเป็นต้องเดินทางเข้าพื้นที่ดังกล่าว ขอให้ใช้ความระมัดระวังอย่างเต็มที่และติดตามข้อมูลข่าวสารอย่างใกล้ชิด”

2.1.3 สอท. ได้ลงคำแนะนำในการเดินทาง ทาง twitter@rtetokyo ดังนี้

(1) โดยที่ขณะนี้ทางด้านภาคตะวันออกเฉียงเหนือของญี่ปุ่นยังมีแผ่นดินไหวจาก aftershock อยู่เป็นระยะ ประกอบกับปัญหาโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ จึงขอแนะนำให้หลีกเลี่ยงการเดินทางเข้าพื้นที่ดังกล่าว ส่วนผู้ที่มีความจำเป็นต้องเดินทางเข้าพื้นที่ดังกล่าว ขอให้ใช้ความระมัดระวังอย่างเต็มที่และติดตามข้อมูลข่าวสารอย่างใกล้ชิด

(2) ขอให้ผู้ที่เดินทางไปญี่ปุ่นแจ้งข้อมูลการเดินทาง ที่อยู่ และหมายเลขโทรศัพท์ที่สามารถติดต่อได้ในญี่ปุ่นให้ สอท. ทราบ ทางหมายเลขโทรศัพท์ +813-3222-4101 ต่อ 200 และ 275 (เวลาราชการ) หรือ +8190-8849-7785, +8190-3408-7786, +8190-1215-9369, -8190-1216-3168, +8190-1216-1871 และทางโทรสาร +813-3222-4122 หรือ E-mail: rtetokyo@hotmail.com (24 ช.ม.)

(3) สำหรับนักเรียน / นักศึกษา ที่ศึกษาในญี่ปุ่น หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการเปิดเรียนและเรื่องอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง สามารถสอบถามได้ที่ สนง.ผู้ดูแลนักเรียนในญี่ปุ่น หมายเลขโทรศัพท์ +813-5424-0652 หรือ โทรสาร + 813-5424-0658 หรือ E-mail: csctokyo@sepia.ocn.ne.jp

2.3 การให้ความช่วยเหลือของไทยต่อญี่ปุ่น

2.3.1 ยอดเงินบริจาคผ่านบัญชี “เงินบริจาคช่วยเหลือผู้ประสบภัยญี่ปุ่น” ณ วันที่ 9 พฤษภาคม 2554 ณ เวลา 15.00 น. จำนวน 57,743,899.83 ล้านบาท (ทั้งนี้ กระทรวงฯ ได้โอนเงินงวดแรกจำนวน 125 ล้านบาท ให้ สอท. ณ กรุงโตเกียว เมื่อวันที่ 1 เม.ย. 2554 เพื่อให้ สอท. ณ กรุงโตเกียวนำไปมอบให้แก่สภากาชาดญี่ปุ่นต่อไปแล้ว)

2.3.2 รัฐบาลไทยได้จัดส่งคณะกุมารแพทย์จำนวน 2 คณะ คณะละ 2 คน เดินทางไปปฏิบัติงานร่วมกับทีมแพทย์ของญี่ปุ่นที่โรงพยาบาลประจำมหาวิทยาลัยการแพทย์ฟุคุชิมะเพื่อดูแลผู้อพยพโดยเฉพาะเด็กในบริเวณที่พักชั่วคราวในเมืองฟุคุชิมะ ตามคำร้องขอของรัฐบาลญี่ปุ่น โดยคณะที่ 1 มีกำหนดปฏิบัติงานระหว่างวันที่ 9 - 20 พ.ค. 2554 และคณะที่ 2 จะปฏิบัติงานระหว่างวันที่ 23 พ.ค. – 3 มิ.ย. 2554

2.4 สถิติคนไทย

2.4.1 จำนวนคนไทยในญี่ปุ่น 40,957 คน (ข้อมูล สนง. ตรวจคนเข้าเมืองญี่ปุ่น) โดยเป็นคนไทยที่พำนักในพื้นที่เสี่ยงต่อกัมมันตรังสี 11 จังหวัด (ฮอกไกโด อะโอโมริ อิวาเตะ มิยาหงิ ฟุคุชิมะ อิบารากิ โทชิหงิ ชิบะ โตเกียว กุมมะ คาโงชิมา) 19,547 คน และคนไทยในพื้นที่เสี่ยงสูงต่อกัมมันตรังสี 3 จังหวัด (อิวาเตะ มิยาหงิ ฟุคุชิมะ) จำนวน 488 คน

2.4.2 จำนวนนักเรียนไทยในญี่ปุ่นมีประมาณ 2,429 คน (ข้อมูล สนง. ผู้ดูแลนักเรียนไทย) และจำนวนแรงงานไทยในญี่ปุ่นมีประมาณ 19,541 คน (เป็นแรงงานถูกกฎหมาย 13,541 คน แรงงานผิดกฎหมายประมาณ 6,000 คน)

2.4.3 ในชั้นนี้ยังไม่มีรายงานคนไทยได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวและสึนามิที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 11 มี.ค. 2554

3. ความช่วยเหลือจากต่างประเทศ

กระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่นสรุปยอดประเทศที่เสนอให้ความช่วยเหลือ มีจำนวน 157 ประเทศ และองค์กรระหว่างประเทศ 42 แห่ง ซึ่งมีทั้งในรูปแบบเงินบริจาค สิ่งของบริจาค และผู้เชี่ยวชาญ

วันอาทิตย์ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

กงสุลใหญ่ ณ เมืองเจดดาห์ ให้การต้อนรับคณะนักธุรกิจไทยด้านอัญมณี

กงสุลใหญ่ชาลี สกลวารีต้อนรับผู้แทนบริษัทไทยสามรายที่เข้าร่วมงานแสดงสินค้า

นักธุรกิจหารือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับลู่ทางการทำตลาดอัญมณีในซาอุดีอาระเบีย

ก่อนอำลาท่านกงสุลใหญ่ชาลีถ่ายภาพเป็นที่ระลึกร่วมกับนักธุรกิจไทยและคุณอัครวุฒิ ตั้งศิริกุศลวงศ์

ท่านกงสุลใหญ่ชาลี สกลวารีและภริยาเยี่ยมบูธแสดงสินค้าอัญมณีของไทย

นักธุรกิจไทยที่มาร่วมการออกงานแสดงสินค้าอัญมณีไทยถ่ายภาพเป็นที่ระลึกร่วมกับท่านกงสุลใหญ่ชาลีฯ และภริยา

กงสุลใหญ่ ณ เมืองเจดดาห์ ให้การต้อนรับคณะนักธุรกิจไทยด้านอัญมณี


เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2554 เวลา 13.00 น. นายอัครวุฒิ ตั้งศิริกุศลวงศ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เวก้า อินเตอร์เทรด แอนด์ เอ็กซิบิชั่น จำกัด ซึ่งทำธุรกิจจัดหาผู้แสดงนิทรรศการไทยในตะวันออกกลาง ได้นำคณะนักธุรกิจไทยด้านอัญมณี จำนวน 3 บริษัท ที่เข้าร่วมงานแสดงสินค้าอัญมณีที่จัดขึ้นที่กรุงริยาด และเมืองเจดดาห์ เข้าพบนายชาลี สกลวารี กงสุลใหญ่ ณ เมืองเจดดาห์ โดยทั้งสองฝ่ายได้หารือและแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นในประเด็นต่างๆ โดยเฉพาะธุรกิจด้านอัญมณีในตลาดซาอุดีฯ ซึ่งกงสุลใหญ่แจ้งว่าอัญมณีของไทยเป็นที่นิยมของชาวซาอุดีฯ มาก และชาวซาอุดีฯ เองมีศักยภาพในการซื้อสูง แต่ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับซาอุดีฯ ได้ส่งผลกระทบต่อการนำเข้าอัญมณีไทยสู่ตลาดซาอุดีฯ เนื่องจากนักธุรกิจอัญมณีชาวซาอุดีฯ ไม่สามารถเดินทางไปประเทศไทยได้ตามข้อห้ามของซาอุดีฯ นายอัครวุฒิฯ ได้แจ้งว่าบริษัทฯ ของตนจะทำโครงการจัดงานแสดงสินค้าแบบ Made in Thailand พร้อมกระบวนการผลิตโดยการนำช่างไทยมาสาธิตการทำเครื่องประดับอัญมณีในประเทศซาอุดีฯ คู่ขนานกับงานแสดงสินค้าอัญมณีซึ่งผู้จัดของซาอุดีฯ ได้จัดขึ้นทุกปีอยู่แล้ว ซึ่งคาดว่าจะเริ่มดำเนินการได้ในไม่ช้านี้หากไม่ติดขัดเรื่องวีซ่า

งานแสดงสินค้าอัญมณีที่เมืองเจดดาห์ในครั้งนี้ จัดขึ้นระหว่างวันที่ 17 – 20 พฤษภาคม 2554 มีบริษัทจากไทยเข้าร่วมงานจำนวน 5 บริษัท โดยกงสุลใหญ่ได้เข้าร่วมในพิธีเปิดงานฯ เพื่อเป็นกำลังใจแก่ผู้ส่งออกของไทย และต่อมาเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม กงสุลใหญ่และภริยาได้เป็นเจ้าภาพเลี้ยงอาหารกลางวันแก่คณะนักธุรกิจกลุ่มนี้ที่บ้านพักกงสุลใหญ่ด้วย

ที่มา: เรื่องและภาพโดยสถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองเจดดาห์