วันจันทร์ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

การติดตามสถานการณ์แผ่นดินไหวในญี่ปุ่น (30 พฤษภาคม 2554)



การติดตามสถานการณ์แผ่นดินไหวในญี่ปุ่น (30 พฤษภาคม 2554)สถานะ ณ เวลา 23.00 น. วันจันทร์ที่ 30 พฤษภาคม 2554

1. สถานการณ์ในญี่ปุ่น

1.1 สถิติ ผู้เสียชีวิตล่าสุดรวม 15,270 ราย สูญหาย 8,499 ราย (จากรายงานของสำนักงานตำรวจแห่งชาติญี่ปุ่น ณ วันที่ 30 พ.ค. 2554)

1.2 การเกิดอาฟเตอร์ช็อค (Aftershock)

- องค์กรอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น ได้รายงาน Aftershock ของวันที่ 30 พ.ค. 2554 (ตามเวลาประเทศไทย) ดังนี้

เวลา 20.51 น. เกิดแผ่นดินไหวจุดศูนย์กลางที่ จ.อิบารากิ วัดแรงสั่นสะเทือนได้ 3.3 ริกเตอร์

เวลา 20.40 น. เกิดแผ่นดินไหวจุดศูนย์กลางที่ จ.อาโอโมริ วัดแรงสั่นสะเทือนได้ 3.3 ริกเตอร์

เวลา 19.24 น. เกิดแผ่นดินไหวจุดศูนย์กลางที่ จ.ฟุคุชิมะ วัดแรงสั่นสะเทือนได้ 4.1 ริกเตอร์

เวลา 16.12 น. เกิดแผ่นดินไหวจุดศูนย์กลางที่ จ.นีกาตะ วัดแรงสั่นสะเทือนได้ 2.5 ริกเตอร์

เวลา 15.17 น. เกิดแผ่นดินไหวจุดศูนย์กลางที่ จ.อิบารากิ วัดแรงสั่นสะเทือนได้ 3.4 ริกเตอร์

เวลา 14.49 น. เกิดแผ่นดินไหวจุดศูนย์กลางที่ จ.อิบารากิ วัดแรงสั่นสะเทือนได้ 3.2 ริกเตอร์

เวลา 13.42 น. เกิดแผ่นดินไหวจุดศูนย์กลางที่ จ.มิยากิ วัดแรงสั่นสะเทือนได้ 3.8 ริกเตอร์

เวลา 13.35 น. เกิดแผ่นดินไหวจุดศูนย์กลางที่ จ.มิยากิ วัดแรงสั่นสะเทือนได้ 3.5 ริกเตอร์

เวลา 13.06 น. เกิดแผ่นดินไหวจุดศูนย์กลางที่ จ.ฟุคุชิมะ วัดแรงสั่นสะเทือนได้ 3.1 ริกเตอร์

เวลา 12.52 น. เกิดแผ่นดินไหวจุดศูนย์กลางที่ จ.ฟุคุชิมะ วัดแรงสั่นสะเทือนได้ 2.6 ริกเตอร์

เวลา 12.28 น. เกิดแผ่นดินไหวจุดศูนย์กลางที่ จ.ฟุคุชิมะ วัดแรงสั่นสะเทือนได้ 3.7 ริกเตอร์

เวลา 12.28 น. เกิดแผ่นดินไหวจุดศูนย์กลางที่ จ.ชิบะ วัดแรงสั่นสะเทือนได้ 3.0 ริกเตอร์

เวลา 12.21 น. เกิดแผ่นดินไหวจุดศูนย์กลางที่ จ.ฟุคุชิมะ วัดแรงสั่นสะเทือนได้ 2.9 ริกเตอร์

เวลา 12.21 น. เกิดแผ่นดินไหวจุดศูนย์กลางที่ จ.ฟุคุชิมะ วัดแรงสั่นสะเทือนได้ 3.7 ริกเตอร์

เวลา 12.13 น. เกิดแผ่นดินไหวจุดศูนย์กลางที่ จ.ชิซุโอกะ วัดแรงสั่นสะเทือนได้ 2.1 ริกเตอร์

เวลา 11.40 น. เกิดแผ่นดินไหวจุดศูนย์กลางที่ จ.ฟุคุชิมะ วัดแรงสั่นสะเทือนได้ 3.1 ริกเตอร์

เวลา 10.47 น. เกิดแผ่นดินไหวจุดศูนย์กลางที่ จ.ฟุคุชิมะ วัดแรงสั่นสะเทือนได้ 2.7 ริกเตอร์

เวลา 10.14 น. เกิดแผ่นดินไหวจุดศูนย์กลางที่ จ.ชิบะ วัดแรงสั่นสะเทือนได้ 3.2 ริกเตอร์

เวลา 09.35 น. เกิดแผ่นดินไหวจุดศูนย์กลางที่ จ.อิบารากิ วัดแรงสั่นสะเทือนได้ 3.3 ริกเตอร์

เวลา 08.12 น. เกิดแผ่นดินไหวจุดศูนย์กลางที่ จ.มิยากิ วัดแรงสั่นสะเทือนได้ 3.8 ริกเตอร์

เวลา 06.57 น. เกิดแผ่นดินไหวจุดศูนย์กลางที่ จ.มิยากิ วัดแรงสั่นสะเทือนได้ 3.3 ริกเตอร์

เวลา 04.55 น. เกิดแผ่นดินไหวจุดศูนย์กลางที่ จ.ฟุคุชิมะ วัดแรงสั่นสะเทือนได้ 3.5 ริกเตอร์

เวลา 03.50 น. เกิดแผ่นดินไหวจุดศูนย์กลางที่ จ.ฟุคุชิมะ วัดแรงสั่นสะเทือนได้ 3.4 ริกเตอร์

เวลา 01.32 น. เกิดแผ่นดินไหวจุดศูนย์กลางที่ จ.อิวาเทะ วัดแรงสั่นสะเทือนได้ 4.1 ริกเตอร์

เวลา 00.01 น. เกิดแผ่นดินไหวจุดศูนย์กลางที่ จ.มิยากิ วัดแรงสั่นสะเทือนได้ 2.8 ริกเตอร์

ทั้งนี้ ยังไม่มีรายงานสึนามิและความเสียหายจากการเกิดอาฟเตอร์ช็อคข้างต้น

1.3 รายงานสถานการณ์โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุคุชิมะที่ 1 (ฟุคุชิมะ ไดอิฉิ)

1.3.1 วันนี้ (30 พ.ค. 2554) กระทรวงวิทยาศาสตร์ญี่ปุ่นรายงานว่าพบปริมาณกัมมันตรังสีเกินระดับมาตรฐานความปลอดภัยในบริเวณเมืองนามิเอะ และเมืองอีทาเทะ จ.ฟุคุชิมะ ซึ่งเป็นบริเวณที่อยู่ห่างจากโรงไฟฟ้าเกินระยะ 20 กม. และรัฐบาลญี่ปุ่นได้เคยประกาศขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวอพยพเพิ่มเติม อย่างไรก็ดี ที่ผ่านมายังคงมีประชาชนบางส่วนไม่ได้อพยพออกจากพื้นที่ ทั้งนี้ รัฐบาลญี่ปุ่นได้ขอให้ประชาชนอพยพออกจากบริเวณดังกล่าวภายในสิ้นเดือนพฤษภาคม 2554

1.3.2 บริษัทการไฟฟ้าโตเกียว (TEPCO) จำเป็นต้องหยุดการดำเนินการในซ่อมแซมโรงไฟฟ้า อาทิ การฉีดสารเคมีเพื่อป้องกันการฟุ้งกระจายของกัมมันตภาพรังสีในอากาศ และการเคลื่อนย้ายซากปรักหักพังเนื่องจากปริมาณฝนที่ตกหนักและพายุฤดูร้อนนับตั้งแต่วันที่ 29 พ.ค. 2554 โดยได้พยายามเฝ้าระวังไม่ให้น้ำที่มีสารกัมมันตรังสีปนเปื้อนที่ตกค้างอยู่ในอาคารเตาปฏิกรณ์หลายออกสู่ภายนอก รวมทั้งได้จัดวางกระสอบทรายเพื่อป้องกันไม่ให้น้ำฝนเข้าไปในอาคารเตาปฏิกรณ์ซึ่งอาจจะส่งผลให้เกิดความเสียหายกับระบบหล่อเย็น

1.3.3 ที่ผ่านมา TEPCO ยังคงพบว่าปริมาณกัมมันตรังสีในเตาปฏิกรณ์ต่าง ๆ ยังคงอยู่ในระดับสูงและได้พยายามดำเนินการซ่อมแซมและติดตั้งระบบหล่อเย็น นอกจากนี้ ยังคงประสบปัญหาน้ำที่มีสารกัมมันตรังสีปนเปื้อนในระดับสูงขังภายในอาคารเตาฏิกรณ์ ล่าสุด คณะกรรมาธิการความปลอดภัยนิวเคลียร์ (NSC) ได้แสดงความห่วงกังวลต่อพนักงงานของ TEPCO ซึ่งพบว่าอย่างน้อย 2 ราย ได้รับปริมาณกัมมันตรังสีเกินกำหนดและได้ประชุมหารือถึงแนวทางการบริหารจัดการในการพัฒนาสภาพแวดล้อมการทำงานในบริเวณโรงไฟฟ้าเพื่อพยายามป้องกันไม่ให้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของพนักงาน

1.4 การอพยพคนและปฏิกิริยาจากต่างชาติ

1.4.1 ณ วันที่ 25 เม.ย. 2554 ได้มี สอท. ประเทศต่าง ๆ ในกรุงโตเกียว รวมทั้งสิ้น 2 ประเทศ ประกาศปิดทำการชั่วคราว และ สอท. ของอีก 2 ประเทศ ย้ายที่ทำการไปยังภาคตะวันตกของญี่ปุ่น อาทิ นครโอซากา เมืองโกเบ
1.4.2  รัฐบาลประเทศต่าง ๆจำนวน 21 ประเทศออกคำแนะนำการเดินทาง (Travel Advisory) ไปญี่ปุ่น รวมไปถึงมาตรการในการอพยพพลเมืองของแต่ละประเทศ

2. การดำเนินการของไทย

2.1 การติดตามระดับกัมมันตรังสี

สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ (ปส.) รายงานว่า ระดับกัมมันตรังสีที่ตำแหน่งระยะห่าง 30 กม. จากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุคุชิมะ วันที่ 9 พ.ค 2554 เวลา 15.00 น. อยู่ที่ระดับ 19.3 ไมโครซีเวิร์ท/ชม. เท่ากับปริมาณที่วัดได้เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2554 เวลา 14.00 น. ทั้งนี้ ระดับกัมมันตรังสีตามเมืองต่าง ๆ ในญี่ปุ่นยังคงอยู่ในระดับปกติและไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ (ระดับกัมมันตรังสีที่ จ.อิวาเตะ อยู่ที่ 0.024 ไมโครซีเวิร์ท/ชม. จ.อิบารากิ อยู่ที่ 0.103 ไมโครซีเวิร์ท/ชม. ที่โตเกียวอยู่ที่ 0.066 ไมโครซีเวิร์ท/ชม.) (ยังไม่มีรายงานเพิ่มเติมจาก ปส.)

การใช้บริการสายการบิน

บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ได้รายงานอัตราผู้ใช้บริการสายการบินเมื่อวันที่ 22 พ.ค. 2554 ดังนี้

กรุงเทพฯ – นาริตะ

เที่ยวบิน TG676 เวลา 07.35 – 15.45 น. อัตราผู้ใช้บริการสายการบิน 80.45% (เพิ่มขึ้นจาก 78.21% ในวันก่อน)

เที่ยวบิน TG642 เวลา 23.50 – 08.10 น. อัตราผู้ใช้บริการสายการบิน 53.47% (ลดลงจาก 88.95% ในวันก่อน)

นาริตะ – กรุงเทพฯ

เที่ยวบิน TG671 เวลา 12.00 – 16.30 น. อัตราผู้ใช้บริการสายการบิน 88.95% (เพิ่มขึ้นจาก 60.80% ในวันก่อน)

เที่ยวบิน TG677 เวลา 16.55 – 21.25 น. อัตราผู้ใช้บริการสายการบิน 26.92% (ลดลงจาก 38.46% ในวันก่อน)

(ยังไม่มีรายงานเพิ่มเติม)

2.2 การดูแลคนไทยในญี่ปุ่น

2.1.1 ตามที่ได้เกิดแผ่นดินไหวและ Aftershock ในบริเวณต่าง ๆ ในญี่ปุ่น ตั้งแต่วันที่ 11 เม.ย. 2554 สอท. ณ กรุงโตเกียว ได้ประสานสอบถามความเป็นอยู่ของคนไทยในพื้นที่และทราบว่าคนไทยยังปลอดภัยดี แม้บางรายจะรู้สึกตกใจในสถานการณ์ที่เกิดขึ้น และรู้สึกกังวลใจเรื่องความเป็นอยู่และความปลอดภัย แต่ในชั้นนี้ยังไม่ได้รับรายงานคนไทยเสียชีวิตหรือได้รับบาดเจ็บจากวิบัติภัยดังกล่าว

2.1.2 ข่าวสารนิเทศกระทรวงการต่างประเทศ เรื่อง “คำแนะนำในการเดินทางไปประเทศญี่ปุ่นฉบับล่าสุด” ซึ่งได้ประกาศเมื่อวันที่ 25 เม.ย. 2554 มีเนื้อหาดังนี้ “ตามที่กระทรวงการต่างประเทศได้ประกาศเตือนขอให้คนไทยติดตามข่าวสารและปฏิบัติตามคำแนะนำของกระทรวงฯ และสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโตเกียว เกี่ยวกับการเดินทางไปญี่ปุ่นนั้น ขอเรียนว่า ในชั้นนี้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของญี่ปุ่นยังมีแผ่นดินไหวจากอาฟเตอร์ช็อค (Aftershock) อยู่เป็นระยะ ประกอบกับปัญหาโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ยังไม่สามารถแก้ไขได้ กระทรวงฯ จึงขอแนะนำให้หลีกเลี่ยงการเดินทางเข้าพื้นที่ดังกล่าว ส่วนผู้ที่มีความจำเป็นต้องเดินทางเข้าพื้นที่ดังกล่าว ขอให้ใช้ความระมัดระวังอย่างเต็มที่และติดตามข้อมูลข่าวสารอย่างใกล้ชิด”

2.1.3 สอท. ได้ลงคำแนะนำในการเดินทาง ทาง twitter@rtetokyo ดังนี้

(1) โดยที่ขณะนี้ทางด้านภาคตะวันออกเฉียงเหนือของญี่ปุ่นยังมีแผ่นดินไหวจาก aftershock อยู่เป็นระยะ ประกอบกับปัญหาโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ จึงขอแนะนำให้หลีกเลี่ยงการเดินทางเข้าพื้นที่ดังกล่าว ส่วนผู้ที่มีความจำเป็นต้องเดินทางเข้าพื้นที่ดังกล่าว ขอให้ใช้ความระมัดระวังอย่างเต็มที่และติดตามข้อมูลข่าวสารอย่างใกล้ชิด

(2) ขอให้ผู้ที่เดินทางไปญี่ปุ่นแจ้งข้อมูลการเดินทาง ที่อยู่ และหมายเลขโทรศัพท์ที่สามารถติดต่อได้ในญี่ปุ่นให้ สอท. ทราบ ทางหมายเลขโทรศัพท์ +813-3222-4101 ต่อ 200 และ 275 (เวลาราชการ) หรือ +8190-8849-7785, +8190-3408-7786, +8190-1215-9369, -8190-1216-3168, +8190-1216-1871 และทางโทรสาร +813-3222-4122 หรือ E-mail: rtetokyo@hotmail.com (24 ช.ม.)

(3) สำหรับนักเรียน / นักศึกษา ที่ศึกษาในญี่ปุ่น หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการเปิดเรียนและเรื่องอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง สามารถสอบถามได้ที่ สนง.ผู้ดูแลนักเรียนในญี่ปุ่น หมายเลขโทรศัพท์ +813-5424-0652 หรือ โทรสาร + 813-5424-0658 หรือ E-mail: csctokyo@sepia.ocn.ne.jp

2.3 การให้ความช่วยเหลือของไทยต่อญี่ปุ่น

2.3.1 ยอดเงินบริจาคผ่านบัญชี “เงินบริจาคช่วยเหลือผู้ประสบภัยญี่ปุ่น” ณ วันที่ 9 พฤษภาคม 2554 ณ เวลา 15.00 น. จำนวน 57,743,899.83 ล้านบาท (ทั้งนี้ กระทรวงฯ ได้โอนเงินงวดแรกจำนวน 125 ล้านบาท ให้ สอท. ณ กรุงโตเกียว เมื่อวันที่ 1 เม.ย. 2554 เพื่อให้ สอท. ณ กรุงโตเกียวนำไปมอบให้แก่สภากาชาดญี่ปุ่นต่อไปแล้ว)

2.3.2 รัฐบาลไทยได้จัดส่งคณะกุมารแพทย์จำนวน 2 คณะ คณะละ 2 คน เดินทางไปปฏิบัติงานร่วมกับทีมแพทย์ของญี่ปุ่นที่โรงพยาบาลประจำมหาวิทยาลัยการแพทย์ฟุคุชิมะเพื่อดูแลผู้อพยพโดยเฉพาะเด็กในบริเวณที่พักชั่วคราวในเมืองฟุคุชิมะ ตามคำร้องขอของรัฐบาลญี่ปุ่น โดยคณะที่ 1 มีกำหนดปฏิบัติงานระหว่างวันที่ 9 - 20 พ.ค. 2554 และคณะที่ 2 จะปฏิบัติงานระหว่างวันที่ 23 พ.ค. – 3 มิ.ย. 2554

2.4 สถิติคนไทย

2.4.1 จำนวนคนไทยในญี่ปุ่น 40,957 คน (ข้อมูล สนง. ตรวจคนเข้าเมืองญี่ปุ่น) โดยเป็นคนไทยที่พำนักในพื้นที่เสี่ยงต่อกัมมันตรังสี 11 จังหวัด (ฮอกไกโด อะโอโมริ อิวาเตะ มิยาหงิ ฟุคุชิมะ อิบารากิ โทชิหงิ ชิบะ โตเกียว กุมมะ คาโงชิมา) 19,547 คน และคนไทยในพื้นที่เสี่ยงสูงต่อกัมมันตรังสี 3 จังหวัด (อิวาเตะ มิยาหงิ ฟุคุชิมะ) จำนวน 488 คน

2.4.2 จำนวนนักเรียนไทยในญี่ปุ่นมีประมาณ 2,429 คน (ข้อมูล สนง. ผู้ดูแลนักเรียนไทย) และจำนวนแรงงานไทยในญี่ปุ่นมีประมาณ 19,541 คน (เป็นแรงงานถูกกฎหมาย 13,541 คน แรงงานผิดกฎหมายประมาณ 6,000 คน)

2.4.3 ในชั้นนี้ยังไม่มีรายงานคนไทยได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวและสึนามิที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 11 มี.ค. 2554

3. ความช่วยเหลือจากต่างประเทศ
กระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่นสรุปยอดประเทศที่เสนอให้ความช่วยเหลือ มีจำนวน 157 ประเทศ และองค์กรระหว่างประเทศ 42 แห่ง ซึ่งมีทั้งในรูปแบบเงินบริจาค สิ่งของบริจาค และผู้เชี่ยวชาญ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น