วันอาทิตย์ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ปัญหาแรงงานไทยในเกาหลี


ปัญหาแรงงานไทยในเกาหลี


ภาพรวม

1 แรงงานไทยที่พำนักอยู่ในเกาหลีทั้งที่ถูกกฎหมายและผิดกฎหมายส่วนใหญ่พำนักอยู่กระจัดกระจายโดยทำงานอยู่ในโรงงานขนาดเล็กหรือธุรกิจประเภทเอสเอ็มอี มิได้ทำงานอยู่ในบริษัทขนาดใหญ่เช่นเดียวกับผู้ใช้แรงงานในตะวันออกกลางหรือได้หวัน และในที่ทำงานไม่มีล่ามหรือโฟร์แมนที่คอยช่วยในเรื่องการติดต่อประสานงานกับนายจ้าง ทำให้แรงงานเหล่านี้เกิดความเครียดจากการทำงานได้ และอาจหันไปคลายเครียดโดยการดื่มสุราหรือเสพของมึนเมาต่างๆ

2 แรงงานไทยเหล่านี้ส่วนใหญ่ไม่สามารถพูด อ่าน เขียน ภาษาเกาหลี เมื่อเกิดปัญหาทั้งเรื่องการทำงานการดำรงชีวิต การเจ็บป่วย แรงงานส่วนนี้ไม่สามารถสื่อสารกับนายจ้างได้อย่างสมบูรณ์ส่งผลให้บางครั้งปัญหาที่เกิดขึ้นไม่ได้รับการแก้ไขทันท่วงที

3 แรงงานไทยส่วนใหญ่ใช้ชีวิตแยกจากสังคมเกาหลี เนื่องจากข้อจำกัดด้านภาษารวมทั้งขาดความรู้ความเข้าใจด้านวัฒนธรรมและประเพณีท้องถิ่น ประกอบกับหน้าที่การงานที่อยู่ในระดับต่ำของสังคม(ทำงานประเภทสามดี) รวมทั้งบางกลุ่มมีความกังวลจากการถูกจับเนื่องจากพำนักอยู่อย่างผิดกฎหมาย ตลอดจนชาวเกาหลีเองก็ยังไม่ได้เปิดรับชาวต่างชาติอย่างเต็มที่เช่นกัน

4 แรงงานไทยที่เข้าไปทำงานในเกาหลีส่วนใหญ่เป็นผู้ผ่านงานจากประเทศอื่นมาแล้ว ทั้งไต้หวัน สิงคโปร์ และตะวันออกกลาง ทำให้มีอายุค่อนข้างมากเมื่อแปรียบเทียบกับแรงงานจากประเทศอื่นอาทิ เวียดนาม ศรีลังกา และมองโกเลีย ซึ่งอายุโดยเฉลี่ยต่ำกง่าแรงงานไทยจึงกระตือรือล้นที่จะปรับตัวเข้ากับสังคมเกาหลีมากกว่า

5 ปัญหา

5.1 แม้ว่าการจัดส่งแรงงานไปเกาหลีส่วนใหญ่จะเป็นการจัดส่งระหว่างรัฐต่อรัฐผ่านระบบอีพีเอส ซึ่งเสียค่าใช้จ่ายต่ำและตองผ่นกฎหมายและระเบียบต่างๆ แต่ก็ยังมีขบวนการจัดส่งแรงงานไทยเข้าไปทำงานในเกาหลีโดยเสียค่านายหน้าประมาณ 90,000-120,000 บาทซึ่งหากสามารถผ่านกระบวนการตรวจคนเข้าเมืองและเข้าประเทศเกาหลีนานเกินกว่าสามเดือน ก็จะมีสถานะเป็นผู้พำนักอยู่ในเกาหลีอย่างผิดกฎหมาย (ส่วนใหญ่มิได้ถูกหลอกลวงแต่ยินยอมจ่ายเงินจำนวนดังกล่าวให้นายหน้า)และเมื่อเกิดปัญหาจะแจ้งว่าถูกหลอกลวง

5.2 จากการที่ระบบการจัดส่งแรงงานแบบ EPS มีค่าใช้จ่ายต่ำทำให้การย้าย / เปลื่ยนงาน ตลอดจนการหลบหนีนายจ้างเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง (ทั้งจากตัวแรงงานไทยเองและจากภาวะความกดดันที่ได้รับจากนายจ้าง) เนื่องจากแรงงานไทยเหล่านี้มีภาระหนี้สินจำนวนมากที่ต้องทำงานเพื่อเก็บเงินสำหรับใช้หนี้ที่ก่อไว้ก่อนที่จะเดินทาง ส่งผลให้แนวโน้มของแรงงานที่พำนักอย่างผิดกฎหมายเพิ่มมากขึ้น (ผู้ที่ผ่านการจัดส่งแรงงานระบบ EPS เมื่อย้ายงานจะต้องหางานใหม่ให้ได้ภายในสองเดือน หากเดกินกว่านั้นจะมีสถานะเป็นแรงงานผิดกฎหมาย

5.3 ข้อจำกัดด้านภาษา (เกาหลีและอังกฤษ) เป็นปัญหาสำคัญอีกประเด็นหนึ่งเนื่องจากแรงงานส่วนใหญ่ไม่สามาถสื่อสารได้ทั้งภาษาเกาหลีและภาษาอังกฤษ บางกรณีความไม่เข้าใจด้านภาษาทำให้เกิดความเข้าใจผิดกับนายจ้าง บางรายถึงขั้นทะเลาะวิวาทกับนายจ้าง ขณะที่บางรายถูกนายจ้างบอกเลิกจ้าง นอกจากนี้การไม่รู้ภาษาทำให้เสียเปรียบทั้งนายจ้างและแรงงานประเทศอื่นๆ เนื่องจากไม่สามารถร้องเรียนกับหน่วยงานเกาหลีได้โดยตรง ขณะที่แรงงานชาติอื่นๆ อาทิ ฟิลิปปินส์ ศรีลังกา และรวมทั้งเวียดนามสามารถร้องเรียนกับหน่วยงานเกาหลีได้(โดยใช้ภาษาเกาหลีหรือภาษาอังกฤษ) ที่ผ่านมาแรงงานไทยติดต่อขอความช่วยเหลือจากสถานเอกอัครราชทูตหรือสำนักงานแรงงานไทยประจำกรุงโซลให้ช่วยเป็นล่ามในการดำเนินการต่างๆเป็นประจำ ซึ่งหน่วยงานของรัฐดังกล่าวสามารถช่วยเหลือได้ระดับหนึ่ง

5.4 แรงงานไทยที่พำนักอยู่ในเกาหลีอย่างผิดกฎหมาย เมื่อเจ็บป่วยจะไม่ได้รับเงินช่วยเหลือเนื่องจากไม่มีเงินชำระค่าใช้จ่ายจากประกันสังคมร้อยละ ๗๐ ของค่าใช้จ่าย ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาติดตามมาเวลาเข้ารับการรักษาพยาบาล เนื่องจากไม่มีนอกจากนี้เงินชำระค่าใช้จ่ายต่างๆของแรงงานทั้งที่ถูกและผิดกฎหมายหากได้รับบาดเจ็บที่มิได้เกิดขึ้นจากการทำงานอาทิ อุบัติเหตุการจราจร การทะเลาะวิวาท หากพิสูจน์แล้วชัดเจนว่าตนเองเป็นผู้กระทำผิดก็จะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายต่างๆที่เกิดขึ้นเอง ซึ่งที่ผ่านมา การทะเลาะวิวาทระหว่างแรงงานไทยด้วยกันและกับแรงงานต่างชาติมีอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งอุบัติเหตุจากการจราจรต่างๆ ทั้งนี้สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการดื่มสุรา

5.5 นอกจากนี้ยังมีประเด็นหญิงไทยสมรสกับชาวเกาหลีบังหน้า เพื่อหาช่องทางเข้าไปทำงานในประเทศเกาหลีโดยเฉพาะงานนวด ซึ่งมีจำนวนมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยการแต่งงานดังกล่าวกระทำเพื่อหาทางเข้าประเทศเกาหลีอย่างถูกกฎหมาย(บางรายเสียค่านายหน้าประมาณ 100,000 บาท) แต่ตามกฎหมายเกาหลีไม่อนุญาตให้ชาวต่างชาติประกอบอาชีพนวดจึงเป็นการทำงานโดยผิดกฎหมาย ประกอบกับบางรายเมื่อเดินทางถึงเกาหลีแล้วไม่สามารถทำงานได้โดยสะดวกหรือมีรายได้น้อยกว่าที่คาดไว้ หรือนายจ้างบิดพริ้วไม่ปฏิบัติตามสัญญา หญิฃไทยเหล่านี้จะหลบหนีและหากไม่สามารถหางานอื่นทำได้ก็จะขอความช่วยเหลือสถานเอกอัครราชทูตให้ส่งตัวกลับประเทศไทยโดยแจ้งว่าถูกหลอกลวงมาและเกือบทุกรายไม่มีหนังวสือเดินทาง(ถูกนายจ้างยึดไว้) ไม่มีค่าใช้จ่ายในการเดินทางและที่พัก ส่งผลให้ภาครัฐต้องรับภาระเพิ่มมากขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น