วันพุธที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2554
การศึกษาในระดับอุดมศึกษาของกาตาร์
การศึกษาในระดับอุดมศึกษาของกาตาร์
1. ภาพร่วมการบริหารจัดการด้านการศึกษา
ระบบการศึกษากาตาร์อยู่ภายใต้การดูแลของกระทรวงศึกษาธิการ (Ministry of Education) และสภาการศึกษาชั้นสูง (Supreme Education Council -SEC) กาตาร์ โดยกระทรวงศึกษาธิการจะรับผิดชอบในส่วนของภาพรวมการศึกษาเป็นหลัก ขณะที่ SEC จะรับผิดชอบในด้านนโยบาย การปฏิรูป และการพัฒนาระบบการศึกษา โดยในส่วนของระดับอุดมศึกษานั้น SEC จะรับผิดชอบในการพัฒนาความรู้ความสามารถของนักศึกษา ตลอดจนการจัดหาืทุนการศึกษาและแนะแนวอาชีพภายหลังสำเร็จการศึกษา
2. ภาพรวมระบบการอุดมศึกษา
2.1. กาตาร์เริ่มมีระบบการศึกษาในระดับอุดมศึกษาเมื่อปี 2516 โดยได้มีการจัดตั้งวิทยาลัยการศึกษาแห่งชาติกาตาร์ (Qatar National College of Education) ขึ้น ต่อมาในปี 2520 กาตาร์ได้จัดตั้งมหาวิทยาลัยกาตาร์ (Qatar University) ขึ้น ซึ่งปัจจุบันได้เป็นมหาวิทยาลัยรัฐแห่งเดียวของกาตาร์
2.2. มหาวิทยาลัยกาตาร์ เปิดสอนในระดับปริญญาตรีและปริญญาโท โดยในระดับปริญญาตรีนั้น ได้เปิดสอนในหลักสูตรภาษาอังกฤษและภาษาอารบิก โดยเปิดสอนในสาขาศิลปศาสตร์ (อักษรศาสตร์ ประวัติศาสตร์ รัฐศาสตร์ นิเทศศาสตร์ สังคมศาสตร์) วิทยาศาสตร์ บริหารธุรกิจ ครุศาสตร์ นิติศาสตร์ เภสัชศาสตร์ แพทยศาสตร์ ศาสนาศาสตร์ (อิสลาม) วิศวกรรมศาสตร์ และวิทยาศาสตร์การกิฬา โดยมีหลัึกมีหลักสูตรการเรียนในระดับปริญญาตรี จำนวน 4 ปี
2.3. นอกเหนือจากมหาวิทยาลัยกาตาร์แล้ว กาตาร์ยังเป็นที่ตั้งของสถาบันการศึกษาจากต่างประเทศอื่นๆได้แก่ College of North Atlantic Qatar จากแคนาดา ซึ่งเปิดสอนในสาขาบริหารธุรกิจ วิศวกรรมศาสตร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ และ Stenden University จากเนเธอร์แลนด์ ซึ่งเปิดสอนในสาขาบริหารธุรกิจ และท่องเที่ยว และการโรงแรม นอกจากนี้ กาตาร์ยังมีวิทยาลัยการบิน (Qatar Aeronautical College) เพื่อรับรองธุรกิจการบินที่เจริญเติบโตอย่างรวดเร็วในกาตาร์อีกด้วย
2.4. ในปี 2548 มูลนิธิกาตาร์ (Qatar Foundation) ที่มี H.H. Sheikha Mouzah Bint Nasser Al Misnad ชายาเจ้าผู้ครองรัฐกาตาร์เป็นประธาน ได้จัดตั้งเมืองการศึกษา (Education City) ขึ้น โดยได้รวบรวมสถาบันการศึกษาชั้นนำของโลกมาไว้ในบริเวณเดียวกัน ซึ่งสถาบันแต่ละแห่งได้เปิดสอนในสาขาที่แตกต่างกันออกไป ประกอบด้วย Weill Cornell Medical College (แพทยศาสตร์) Texas A&M University (วิศวกรรมศาสตร์) Virginia Commonwealth University (สถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ) Carnegie Melon University (วิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์และบริหารธุรกิจ) Georgetown University School of Foreign Service (ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ) Northwestern (สื่อสารมวลชน) HEC Paris (บริหารจัดการ) และ Qatar Faculty of Islamic Studies (อิสลามศึกษา) อย่างไรก็ดี ผู้สำเร็จการศึกษาจะได้รับประกาศนียบัตร มิใช่ปริญญาบัตรแต่อย่างใด
3. การประเมินจุดแข็งและจุดอ่อนของระบบการศึกษาในระดับอุดมศึกษาของกาตาร์
3.1. จุดแข็ง
3.1.1.กาตาร์เป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยชั้นนำจากต่างประเทศ โดยเฉพาะในบริเวณ Education City ดังนั้น มาตรฐานการศึกษาของกาตาร์จึงอยู่ในระดับสูง
3.1.2. เนื่องจากกาตาร์มีงบประมาณจำนวนมาก ดังนั้น อุปกรณ์และวิทยาการต่างๆ ที่ใช้ประกอบการเรียนการสอน รวมถึงบุคลากร จึงมีประสิทธิภาพและมีความทันสมัยเป็๋นอย่างมาก
3.1.3. ปัจจุบันกาตาร์ให้ความสำคัญกับการพัฒนาระบบการศึกษาเป็นอย่างมาก ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เป็นไปตามนโยบายการพัฒนาประเทศของกาตาร์ (Qatar National Vision 2030) ดังจะเห็นได้จากการที่ชายาของเจ้าผู้ครองรัฐกาตาร์มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาการศึกษากาตาร์ด้วยตนเอง ดังนั้น จึงเป็นโอกาสที่ดีในการมีความร่วมมือด้านการศึกษากับกาตาร์ในขณะนี้
3.2. จุดอ่อน
3.2.1. กาตาร์อาจจะให้ความสนใจในการพัฒนา/มีความร่วมมือด้่านการศึกษากับสถาบันการศึกษาชั้นนำในกลุ่มประเทศตะวัีนตกมากกว่าความร่วมมือกับสถาบันจากกลุ่มประเทศในเอเชีย
3.2.2. ความแตกต่างทางภาษาและวัฒนธรรมที่บรรจุในหลักสูตรการศึกษาของกาตาร์ อาจเป็นข้อพิจารณาหนึ่ง ก่อนที่จะมีการจัดตั้งความร่วมมือทางการศึกษากับกาตาร์
เรียบเรียงจาก รายงานสถานเอกอัครราชทูตไืทย ณ กรุงโดฮา
มีนาคม 2554
ที่มา: เว็บไซต์กรมเอเชียใต้ ตะวันออกกลางและแอฟริกา http://sameaf.mfa.go.th/th/business-center/detail.php?ID=1822
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น