วันพุธที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2554
เมื่อญาติหรือเพื่อนฝูงชาวไทยเสียชีวิตในเกาหลี
เมื่อญาติหรือเพื่อนฝูงชาวไทยเสียชีวิตในเกาหลี
เมื่อญาติมิตร เพื่อนฝูงชาวไทยเสียชีวิตที่เกาหลีต้องรีบดําเนินการต่าง ๆ เนื่องจากการเก็บรักษาศพมีค่าใช้จ่ายสูง หากไม่สามารถดําเนินการใด ๆ ค่าใช้จ่ายจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และจะเป็นภาระต่อผู้ที่ต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายต่าง ๆ กระบวนการที่ต้องดำเนินการได้แก่
1. แจ้งนายจ้างเพื่อดําเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ เช่น แจ้งตํารวจเพื่อสอบสวนและตรวจสอบที่เกิดเหตุ นําศพไปชันสูตรที่โรงพยาบาล เก็บศพไว้เพื่อรอการดําเนินการต่อไป หากการเสียชีวิตไม่ได้เกิดจากการทำงานและอยู่นอกโรงงาน (เช่นอบุบัติเหตุต่าง ๆ ทะเลาะวิวาท) ต้องแจ้งเจ้าหน้าที่ตํารวจในทันที
2. แจ้งญาติพี่น้องผู้เสียชีวิตที่อยู่ที่เกาหลีหรือประเทศไทยให้ทราบในทันที เพื่อสามารถดําเนินการในเรื่องต่าง ๆ ได้ด้วยความรวดเร็ว เช่น การมอบอํานาจการดําเนินการเกี่ยวกับศพ ผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย เป็นต้น หากไม่รู้จักญาติพี่น้องผู้เสียชีวิตรีบแจ้งสถานเอกอัครราชทูตฯ
3. ผู้ที่จะดําเนินการใด ๆ เกี่ยวกับศพต้องได้รับการมอบอํานาจจากผู้มีสิทธิในตัวผู้เสียชีวิตก่อน เช่นหากแต่งงานแล้วผู้มีสิทธิมอบอํานาจ ได้แก่ สามีหรือภริยา หากยังไม่แต่งงานผู้มีสิทธิมอบอํานาจได้แก่พ่อหรือแม่ ผู้ได้รับมอบอํานาจต้องแจ้งเรื่องการเสียชีวิตและการมอบอํานาจให้สถานเอกอัครราชทูตฯ ทราบ ทั้งนี้ หากไม่ได้มอบอํานาจให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดดําเนินการ ควรมอบอํานาจให้สถานเอกอัครราชทูตฯเป็นผู้ดําเนินการ
4. ส่วนใหญ่ศพผู้เสียชีวิตจะทําการฌาปนกิจที่เกาหลี เนื่องจากค่าใช้จ่ายต่างกว่าการส่งศพกลับประเทศไทยมาก โดยสามารถฌาปนกิจได้ที่ฌาปนกิจสถานซึ่งตั้งอยู่ในเขตต่าง ๆ ทั่วประเทศ โดยต้องจองวันและเวลาที่จะดําเนินการล่วงหน้า
5. เมื่อฌาปนกิจศพเสร็จเรียบร้อยแล้ว ต้องแจ้งสถานเอกอัครราชทูตฯ เพื่อออกมรณบัตรของผู้ตายไว้เป็นหลักฐาน เอกสารประกอบในการยื่นเรื่อง ได้แก่
5.1 ใบชันสูตรศพจากโรงพยาบาล
5.2 ใบฌาปนกิจศพจากฌาปนกิจสถาน
5.3 หนังสือแจ้งการเสียชีวิตจากตํารวจ (หากเสียชีวิตด้วยโรคภัยไข้เจ็บที่โรงพยาบาลไม่มีหนังสือแจ้งการเสียชีวิตจากตํารวจ)
5.4 ใบมอบอํานาจจากผู้มีสิทธิมอบอํานาจให้ดําเนินการต่าง ๆ
5.5 บัตรประชาชน/หนังสือเดินทาง (หรือสําเนาที่เห็นรูปถ่ายชัดเจน) ของผู้แจ้ง
หากไม่แจ้งสถานเอกอัครราชทูตฯ การเสียชีวิตของบุคคลนั้น ๆ จะไม่สมบูรณ์ โดยยังคงมีชื่อของบุคคลนั้น ๆ ในสถานะที่ยังมีชีวิตอยู่ในฐานข้อมูลของทางการต่าง ๆ เช่น ทะเบียนบ้าน บัตรประชาชน
6. ในกรณีที่ต้องการนําศพกลับประเทศไทย ก่อนที่จะส่งศพกลับต้องแจ้งสถานเอกอัครราชทูตฯ เพื่อขอรับมรณบัตรของผู้ตาย โดยต้องใช้หลักฐานเอกสารต่าง ๆ เช่นเดียวกับข้อ 5
ที่มา: หนังสือ "อยู่สบายๆในเกาหลี" จัดพิมพ์โดยสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโซล http://www.thaiembassy.or.kr/th/k_l.pdf
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น