วันพฤหัสบดีที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2554

สถานกงสุลใหญ่ ณ นครลอสแอนเจลิสเชิญเชอร์รีฟ ลี บาคา เยือนไทย


สถานกงสุลใหญ่ ณ นครลอสแอนเจลิสเชิญเชอร์รีฟ ลี บาคา เยือนไทย


เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2554 กงสุลใหญ่ดำรง ใคร่ครวญและภริยา ได้จัดงานเลี้ยงรับรองที่ทำเนียบกงสุลใหญ่ฯ เพื่อเป็นเกียรติแก่ เชอร์รีฟ ลี บาคา ก่อนที่เชอร์รีฟฯ จะเดินทางเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ โดยมีสมาชิกของ The Thai-American Sheriff's Advisory Council และผู้แทน ชุมชนไทยเข้าร่วมด้วย

เชอร์รีฟ ลี บาคา มีกำหนดจะเดินทางเยือนประเทศไทย ระหว่างวันที่ 3-6 เมษายน 2554 ตามคำเชิญของสถานกงสุลใหญ่ ณ นครลอสแอนเจลิส โดยมีกำหนดพบปะกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทย เพื่อหารือเกี่ยวกับความร่วมมือในด้านต่าง ๆ อาทิ การสร้างความเชื่อมั่นในสถาบันตำรวจ นิติเวช การบริหารจัดการการชุมนุม และการค้ามนุษย์ เป็นต้น

ที่มา: ภาพและเรื่องโดยสถานกงสุลใหญ่ ณ นครลอสแอนเจลิส

การติดตามสถานการณ์แผ่นดินไหวในญี่ปุ่น (31 มีนาคม 2554)


การติดตามสถานการณ์แผ่นดินไหวในญี่ปุ่น (31 มีนาคม 2554)


สถานะ ณ เวลา 20.00 น. วันพฤหัสบดีที่ 31 มีนาคม 2554



1. สถานการณ์ในญี่ปุ่น

1.1 สถิติ ผู้เสียชีวิตล่าสุดรวม 11,438 คน สูญหาย 16,541 คน (จากรายงานของสำนักงานตำรวจแห่งชาติญี่ปุ่น

ณ วันที่ 31 มี.ค. 2554 เวลา 14.00 น. เวลาประเทศไทย)

1.2 รายงานสถานการณ์โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุคุชิมะที่ 1

1.2.1 IAEA ได้ตรวจพบสารกัมมันตรังสีได้ตรวจพบสารกัมมันตรังสีบนดินในบริเวณ 40 กม. ห่างจากโรงไฟฟ้าไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือว่ามีระดับสูงกว่ามาตรฐานในการอพยพ 2 เท่า IAEA จึงเรียกร้องให้รัฐบาลญี่ปุ่นติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด ซึ่งจากบริเวณดังกล่าวห่างไปรัศมี 1 กม. มีประชาชนที่ยังไม่ได้อพยพอาศัยอยู่มากกว่า

114 คน ซึ่งทางการญี่ปุ่นจะประชาสัมพันธ์ให้แก่ประชาชนเหล่านั้นต่อไป

1.2.2 ผลการเฝ้าระวังระดับสารกัมมันตรังสีในน้ำทะเลตรวจพบว่า น้ำทะเลบริเวณใกล้กับโรงไฟฟ้ามีค่าไอโอดีน131 ปนเปื้อนอยู่สูงถึง 4,385 เท่า ของค่ามาตรฐาน ซึ่งเป็นค่าสูงสุดตั้งแต่เคยตรวจพบมา อย่างไรก็ดี สนง. ความปลอดภัยนิวเคลียร์และอุตสาหกรรม (NISA) ของญี่ปุ่นได้อธิบายว่า ในปัจจุบันได้ห้ามมิให้ทำการประมงในบริเวณรัศมี 20 กม. จากโรงไฟฟ้า นอกจากนี้ สารปนเปื้อนดังกล่าวจะเจือจางโดยน้ำทะเลไปตามลำดับทำให้ปริมาณสารตกค้างในสัตว์ทะเลที่จะเข้าสู่ร่างกายมนุษย์มีความเจือจางลงอย่างมาก อย่างไรก็ดี NISA จะติดตามสถานการณ์และตรวจสอบการแพร่กระจายของสารในน้ำทะเลอย่างใกล้ชิดต่อไป

1.2.3 ปัจจุบันยังมีเพียงที่หมู่บ้าน Itate แห่งเดียวที่ให้ประชาชนทั่วไปหลีกเลี่ยงการบริโภคน้ำประปา ในขณะที่คำเตือนให้ทารกหลีกเลี่ยงการบริโภคขณะนี้เหลือเพียง 3 เมือง ใน จ.ฟุคุชิมะ ได้แก่ Minamisouma, Iwaki และ Date เท่านั้น ส่วนค่ารังสีในโรงกรองน้ำหลัก 3 แห่ง ในโตเกียวทั้งในวันที่ 28 และ 29 มี.ค. 2554 อยู่ที่ระดับไม่สามารถตรวจวัดได้ (ระดับที่ตรวจวัดได้ของโรงกรองน้ำดังกล่าวคือสูงกว่า 20 Bq/L.ขึ้นไป)

1.3 การอพยพคนและปฏิกิริยาจากต่างชาติ

1.3.1 ณ วันที่ 31 มี.ค. 2554 จำนวน สอท. ของประเทศต่าง ๆ ในกรุงโตเกียว ที่ยังปิดทำการ/ย้ายที่ทำการชั่วคราวได้ลดลงเหลือ 16 แห่ง จากที่เคยสูงสุดประมาณ 30 แห่ง

1.3.2 รัฐบาลประเทศต่าง ๆจำนวน 21 ประเทศออกคำแนะนำการเดินทาง (Travel Advisory) ไปญี่ปุ่นรวมไปถึงมาตรการในการอพยพพลเมืองของประเทศเหล่านั้น

2. การดำเนินการของไทย

2.1 การประชุมประสานงานศูนย์ฉุกเฉินเพื่อติดตามสถานการณ์และให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยในญี่ปุ่น ประจำวันที่ 29 มี.ค. 2554

2.1.1 สถานการณ์ด้านนิวเคลียร์และสารกัมมันตรังสี

ผู้แทน ปส. แจ้งดังนี้

- ปัจจุบันระดับการแพร่กระจายของสารกัมมันตรังสีทางอากาศในญี่ปุ่นอยู่ในระดับทรงตัว เนื่องจากผลการตรวจวัดระดับกัมมันตภาพรังสีไม่มีการเพิ่มขึ้นหรือลดลงอย่างมีนัยสำคัญ แต่ประเด็นที่ยังคงน่าห่วงกังวลอยู่คือการปนเปื้อนของสารกัมมันตรังสีลงสู่พื้นดิน (fall-out) ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่อาหาร

- ปัจจุบันญี่ปุ่นได้ขยายเกณฑ์ระดับสารไอโอดีนปนเปื้อนในน้ำและอาหารจากเดิม 10 Bq/l. เป็น 100 Bq./l ซึ่งเป็นเกณฑ์ที่สูงกว่าระดับที่กำหนดโดยองค์การอนามัยโลก ทั้งนี้ เพื่อให้ประชาชนญี่ปุ่นสามารถดำเนินชีวิตได้ตามปกติ

- ความห่วงกังวลเกี่ยวกับการสะสมของสารกัมมันตรังสีในอาหารทะเลนั้น ในปัจจุบันทางการญี่ปุ่นได้ห้ามทำการประมงในบริเวณรัศมี 30 กม. ทั้งนี้ ปริมาณการสะสมจะขึ้นอยู่กับพฤติกรรมของสัตว์ทะเล ซึ่งควรมีการตรวจสอบก่อนการบริโภค


2.1.2 การเฝ้าระวังผลกระทบต่อไทย

ผู้แทน สธ. แจ้งดังนี้

- ได้จัดทำคู่มือการปฏิบัติตัวสำหรับผู้ที่เดินทางไปและกลับจากญี่ปุ่น โดยได้ประสานการบินไทยเพื่อให้แจกผู้โดยสารที่เดินทางไป-กลับ ญี่ปุ่น นอกจากนี้ ได้วางแผนจะส่งทีมแพทย์ไปให้การดูแลคนไทยในญี่ปุ่นเพิ่มเติม ในชั้นนี้ได้เตรียมไว้ 6 ทีม ซึ่งจะสามารถทยอยจัดส่งไปได้จนถึง พ.ค. 2554 โดยทีมแพทย์คณะที่ 3 จะเดินทางไปญี่ปุ่นในวันที่ 4 เม.ย. 2554 อย่างไรก็ดี จะพิจารณาความจำเป็นและเหมาะสมต่อไป

- ปัจจุบัน สธ. ดำเนินการสุ่มตรวจอาหารทะเล และตรวจทุกรายการสำหรับผัก ผลไม้ และธัญพืชในเกาะฮอนชู สำหรับนมไม่ได้มีการนำเข้า ทั้งนี้ กำลังจะมีมาตรการตรวจสอบไอโอดีน 131 ในอาหารเพิ่มเติม และจะนำเรื่องเสนอที่ประชุมคณะกรรมการอาหารและยาในวันที่ 7 เม.ย. 2554 เพื่อกำหนดมาตรการเพื่อควบคุมการนำเข้าให้เข้มงวดยิ่งขึ้น โดยผู้นำเข้าผลิตภัณฑ์อาหารต่าง ๆ จากญี่ปุ่นจะต้องระบุแหล่งที่ผลิต และแนบผล lab ของการตรวจสอบผลิตภัณฑ์อาหารที่นำเข้าจากหน่วยงานที่เชื่อถือได้ ซึ่งแนวปฏิบัติดังกล่าวจะเป็นไปในแนวเดียวกับอีกหลาย ๆ ประเทศผู้แทนบริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) แจ้ง ดังนี้

- อัตราการใช้บริการสายการบินเที่ยว กรุงเทพฯ – นาริตะ อยู่ที่ประมาณร้อยละ 65 – 73 เที่ยวนาริตะ – กรุงเทพฯ อยู่ที่ประมาณร้อยละ 30 ซึ่งลดลงมากจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งโดยปกติจะเป็นช่วง High Season และจะมีผู้โดยสารจองที่นั่งไปญี่ปุ่นเกินจำนวนที่นั่ง (overbooked)

2.2 การให้ความช่วยเหลือของไทยต่อญี่ปุ่น

ยอดเงินบริจาคผ่านบัญชี “เงินบริจาคช่วยเหลือผู้ประสบภัยญี่ปุ่น” ณ วันที่ 31 มีนคม 2554 ณ เวลา 14.00 น. อยู่ที่ประมาณ 128,926,298.55 บาท

2.3 สถิติคนไทย

2.3.1 จำนวนคนไทยในญี่ปุ่น 40,957 คน (ข้อมูลของ สนง. ตรวจคนเข้าเมืองญี่ปุ่น) โดยเป็นคนไทยที่พำนักในพื้นที่เสี่ยงต่อกัมมันตรังสี 11 จังหวัด (ฮอกไกโด อะโอโมริ อิวาเตะ มิยาหงิ ฟุคุชิมะ อิบารากิ โทชิหงิ ชิบะ โตเกียว กุมมะ คาโงชิมา) 19,547 คน และคนไทยในพื้นที่เสี่ยงสูงต่อกัมมันตรังสี 3 จังหวัด (อิวาเตะ มิยาหงิ ฟุคุชิมะ) จำนวน 488 คน

2.3.2 จำนวนนักเรียนไทยในญี่ปุ่น 2,429 คน (ข้อมูล สนง. ผู้ดูแลนักเรียนไทย) ล่าสุดติดต่อได้ 568 คน

2.3.3 จำนวนแรงงานไทยในญี่ปุ่น ประมาณ 19,541 คน (เป็นแรงงานถูกกฎหมาย 13,541 คน แรงงานผิดกฎหมายประมาณ 6,000 คน) ล่าสุดติดต่อแรงงานถูกกฎหมายได้ 6,841 คน

2.3.4 จำนวนคนไทยที่เดินทางกลับ ปทท. ระหว่างวันที่ 12 – 30 มี.ค. 2554 อยู่ที่ 12,474 คน (ข้อมูลศูนย์เทคโนโลยีตรวจคนเข้าเมือง)

3. ความช่วยเหลือจากต่างประเทศ

รัฐบาลญี่ปุ่นสรุปยอดประเทศที่เสนอให้ความช่วยเหลือมีจำนวน 134 ประเทศ และองค์กรระหว่างประเทศ 39 แห่ง ซึ่งมีทั้งในรูปแบบเงินบริจาค ของบริจาค และผู้เชี่ยวชาญ

คณะนักเรียนไทยจากกรุงอาบูดาบี สหรัฐอาหรับอิมิเรตส์ เข้าเยี่ยมคารวะกงสุลใหญ่ ณ เมืองเจดดาห์


ท่านกงสุลใหญ่ชาลี สกลวารีต้อนรับนักเรียนนักศึกษาไทยจากสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ จำนวน 10 คนที่บ้านพักกงสุลใหญ่ เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2554 เวลา 19.00 น.
นายชาญกฤต รัตนวิทย์ เจ้าหน้าที่สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงอาบูดาบี รายงานการเดินทางต่อกงสุลใหญ่ชาลีฯ

นักเรียน นักศึกษาไทยแต่ละคนแนะนำตัว

นักเรียน นักศึกษาไทยที่ร่วมเดินทางไปประกอบพิธีอุมเราะห์ที่เมืองมักกะห์ ประเทศซาอุดีอาระเบียครั้งที่สอง ซึ่งจัดโดยสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงอาบูดาบีเป็นนักเรียนนักศึกษาที่ได้รับทุนของรัฐบาลสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์เดินทางไปศึกษาต่อในระดับมัธยมต้น มัธยมปลาย และมหาวิทยาลัย

กงสุลใหญ่ชาลีฯ และภริยาเป็นเจ้าภาพเลี้ยงอาหารค่ำแก่คณะนักเรียน นักศึกษาไทยจากสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์

คณะนักเรียน นักศึกษาถ่ายภาพเป็นที่ระลึกร่วมกับท่านกงสุลใหญ่ชาลีฯและข้าราชการสถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองเจดดาห์ 

คณะนักเรียนไทยจากกรุงอาบูดาบี สหรัฐอาหรับอิมิเรตส์ เข้าเยี่ยมคารวะกงสุลใหญ่ ณ เมืองเจดดาห์


เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2554 เวลา 19.00 น. นายชากฤต รัตนวิทย์ เจ้าหน้าที่สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงอาบูดาบี สหรัฐอาหรับอิมิเรตส์ ได้นำคณะนักเรียน นักศึกษาไทย จำนวน 10 คน เข้าเยี่ยมคารวะนายชาลี สกลวารี กงสุลใหญ่ ณ เมืองเจดดาห์ ที่บ้านพักกงสุลใหญ่ฯ ในโอกาสที่เดินทางไปประกอบพิธีอุมเราะห์ที่เมืองมักกะห์ และเยี่ยมเยียนเมืองมาดีนะห์ ที่ประเทศซาอุดีอาระเบีย โดยนักเรียนกลุ่มดังกล่าวเป็นนักเรียนที่ได้รับทุนการศึกษาจากรัฐบาลสหรัฐอาหรับอิมิเรตส์ให้เข้าศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นจนถึงมัธยมศึกษาตอนปลายในโรงเรียน และมหาวิทยาลัยของรัฐที่กรุงอาบูดาบี

การนำคณะนักเรียน นักศึกษาจากกรุงอาบูดาบีเดินทางไปประกอบพิธีอุมเราะห์ที่ประเทศซาอุดีอาระเบีย เป็นโครงการภายใต้การดำเนินงานของสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงอาบูดาบี โดยได้รับงบประมาณสนับสนุนจากกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งครั้งนี้เป็นครั้งที่ 2 ที่สถานเอกอัครราชทูตฯ ได้ดำเนินโครงการนี้มา

ในโอกาสดังกล่าว กงสุลใหญ่ และภริยาได้เป็นเจ้าภาพเลี้ยงอาหารค่ำแก่คณะนักเรียน นักศึกษาก่อนเดินทางกลับ โดยมีข้าราชการสถานกงสุลใหญ่ฯ ร่วมให้การต้อนรับคณะฯ ด้วย

ที่มา: ภาพและเรื่องโดยสถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองเจดดาห์

วันพุธที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2554

การติดตามสถานการณ์แผ่นดินไหวในญี่ปุ่น(30 มีนาคม 2554)


การติดตามสถานการณ์แผ่นดินไหวในญี่ปุ่น(30 มีนาคม 2554)


สถานะ ณ เวลา 20.00 น. วันพุธที่ 30 มีนาคม 2554


1. สถานการณ์ในญี่ปุ่น

1.1 สถิติ ผู้เสียชีวิตล่าสุดรวม 11,362 คน สูญหาย 16,290 คน (จากรายงานของสำนักงานตำรวจแห่งชาติญี่ปุ่น ณ วันที่ 29 มี.ค. 2554 เวลา 19.00 น. เวลาประเทศไทย)

1.2 รายงานสถานการณ์โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุคุชิมะที่ 1

1.2.1 บริษัทการไฟฟ้าโตเกียวได้แถลงว่า บริษัทจะพยายามปฏิบัติการเพื่อรักษาระดับอุณหภูมิของเตาปฏิกรณ์อย่างเต็มความสามารถและจะพยายามกอบกู้ระบบหล่อเย็นให้ได้โดยเร็วที่สุด อย่างไรก็ดี ปัจจุบันพบว่าน้ำที่ขังในบริเวณอุโมงค์ซ่อมบำรุงมีการปนเปื้อนของสารกัมมันตรังสีระดับสูงมากจึงทำให้พนักงานไม่สามารถเข้าไปปฏิบัติการได้อย่างเต็มที่

1.2.2 ผลการเฝ้าระวังทางรังสีตรวจพบสารไอโอดีน 131 ในทะเลบริเวณรอบโรงไฟฟ้าระดับสูงเป็น 3,355 เท่าของค่ามาตรฐานซึ่งเป็นค่าที่สูงสุดตั้งแต่เคยตรวจพบมา ซึ่งนายยูกิโอะ เอดาโนะ เลขาธิการคณะรัฐมนตรี ได้แถลงในช่วงบ่ายวันที่ 30 มี.ค. 2554 ว่า เป็นที่คาดการณ์ว่า การปนเปื้อนดังกล่าวจะเกิดจากสารกัมมันตรังสีที่รั่วไหลออกมาจากน้ำของโรงไฟฟ้าซึ่งกำลังอยู่ในระหว่างการตรวจสอบอยู่ ทั้งนี้ การปนเปื้อนของสารกัมมันตรังสีดังกล่าวยังไม่ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อสัตว์ทะเล

1.2.3 จากการเฝ้าระวังการแพร่กระจายของสารกัมมันตรังสีในอากาศตรวจพบว่า ค่ากัมมันตรังสีใน จ.ฟุคุชิมะ จ. อิบารากิ และ จ. อื่น ๆ มีค่าลดลงอย่างต่อเนื่อง

1.2.4 รัฐบาลสหรัฐฯ ได้ส่งทีมให้ความช่วยเหลือแก่ญี่ปุ่น 4 ทีม เพื่อพิจารณาเรื่อง (1) มาตรการในการป้องกันการแพร่กระจายของสารกัมมันตรังสีในอากาศและในทะเล (2) การพิจารณาหามาตรการในการใช้เครื่องจักรกลในการปฏิบัติงานเพื่อหลีกเลี่ยงมิให้พนักงานต้องได้รับอันตรายจากสารกัมมันตรังสี (3) มาตรการในการจัดการกับแท่งเชื้อเพลิง (4) การให้ความช่วยเหลือประชาชนที่อยู่อาศัยบริเวณรอบโรงไฟฟ้า

1.3 การอพยพคนและปฏิกิริยาจากต่างชาติ

1.3.1 ณ วันที่ 30 มี.ค. 2554 ได้มี สอท. ของประเทศต่าง ๆ ในกรุงโตเกียว รวมทั้งสิ้น 8 ประเทศ ประกาศปิดทำการชั่วคราว และสอท. ของอีก 10 ประเทศ ย้ายที่ทำการไปยังภาคตะวันตกของญี่ปุ่น อาทิ นครโอซากา เมืองโกเบ

1.3.2 รัฐบาลประเทศต่าง ๆจำนวน 21 ประเทศได้ออกคำแนะนำการเดินทาง (Travel Advisory) ไปญี่ปุ่น รวมไปถึงมาตรการในการอพยพพลเมืองของประเทศเหล่านั้น

2. การดำเนินการของไทย

2.1 สถานการณ์ด้านนิวเคลียร์และสารกัมมันตรังสี

สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ (ปส.) รายงานว่า ระดับกัมมันตรังสี ที่ตำแหน่งระยะห่าง 30 กม. จากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุคุชิมะ เวลา 18.30 น. อยู่ที่ระดับ 32.2 ไมโครซีเวิร์ท/ชม. ลดลงจากระดับ 43 ไมโครซีเวิร์ท/ชม. เมื่อเวลา 08.00 น. ทั้งนี้ ระดับกัมมันตรังสีตามเมืองต่าง ๆ ในญี่ปุ่นยังคงอยู่ในระดับปกติและไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ (ระดับกัมมันตรังสีที่ จ.อิวาเตะ อยู่ที่ 0.027 ไมโครซีเวิร์ท/ชม. จ.อิบารากิ อยู่ที่ 0.215 ไมโครซีเวิร์ท/ชม. ที่โตเกียวอยู่ที่ 0.108 ไมโครซีเวิร์ท/ชม.)

2.2 การให้ความช่วยเหลือของไทยต่อญี่ปุ่น

2.2.1 ยอดเงินบริจาคผ่านบัญชี “เงินบริจาคช่วยเหลือผู้ประสบภัยญี่ปุ่น” ณ วันที่ 30 มีนาคม 2554 ณ เวลา 09.00 น. อยู่ที่ประมาณ 121,274,034.81 บาท

2.2.2 วันที่ 29 มี.ค. 2554 กต. ได้ประสานงานจัดส่งอาหารแห้งจำนวน 286 กล่อง (จำนวน 2 ตัน) โดยเที่ยวบินของบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)

2.3 สถิติคนไทย

2.3.1 จำนวนคนไทยในญี่ปุ่น 40,957 คน (ข้อมูลของ สนง. ตรวจคนเข้าเมืองญี่ปุ่น) โดยเป็นคนไทยที่พำนักในพื้นที่เสี่ยงต่อกัมมันตรังสี 11 จังหวัด (ฮอกไกโด อะโอโมริ อิวาเตะ มิยาหงิ ฟุคุชิมะ อิบารากิ โทชิหงิ ชิบะ โตเกียว กุมมะ

คาโงชิมา) 19,547 คน และคนไทยในพื้นที่เสี่ยงสูงต่อกัมมันตรังสี 3 จังหวัด (อิวาเตะ มิยาหงิ ฟุคุชิมะ) จำนวน 488 คน

2.3.2 จำนวนนักเรียนไทยในญี่ปุ่น 2,429 คน (ข้อมูล สนง. ผู้ดูแลนักเรียนไทย) ล่าสุดติดต่อได้ 568 คน

2.3.3 จำนวนแรงงานไทยในญี่ปุ่น ประมาณ 19,541 คน (เป็นแรงงานถูกกฎหมาย 13,541 คน แรงงานผิดกฎหมายประมาณ 6,000 คน) ล่าสุดติดต่อแรงงานถูกกฎหมายได้ 6,841 คน

2.3.4 จำนวนคนไทยที่เดินทางกลับ ปทท. ระหว่างวันที่ 12 – 29 มี.ค. 2554 อยู่ที่ 12,162 คน (ข้อมูลศูนย์เทคโนโลยีตรวจคนเข้าเมือง)

3. ความช่วยเหลือจากต่างประเทศ

รัฐบาลญี่ปุ่นสรุปยอดประเทศที่เสนอให้ความช่วยเหลือมีจำนวน 134 ประเทศ และองค์กรระหว่างประเทศ 39 แห่ง ซึ่งมีทั้งในรูปแบบเงินบริจาค ของบริจาค และผู้เชี่ยวชาญ

แผ่นดินไหวในชิลี คนไทยปลอดภัย


แผ่นดินไหวในชิลี คนไทยปลอดภัย

สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงซันติอาโก ประเทศชิลี รายงานว่า ระหว่างวันที่ 28-29 มีนาคม 2554 มีเหตุการณ์แผ่นดินไหวเกิดขึ้นในชิลีหลายครั้ง โดยมีแผ่นดินไหวที่วัดความสั่นสะเทือนได้มากกว่า 4 ริกเตอร์ จำนวน 5 ครั้ง แต่ไม่มีรายงานความเสียหายหรือผู้ได้รับบาดเจ็บเสียชีวิต

วันที่ 28 มีนาคม เวลา 03.11 น. เกิดแผ่นดินไหว ความสั่นสะเทือนวัดได้ 5.4 ริกเตอร์ จุดศูนย์กลางอยู่ใต้พื้นดิน 47.3 กิโลเมตร ห่างจากเมืองกูลิโก ภูมิภาคเมาเลไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือประมาณ 34 กิโลเมตร

วันที่ 28 มีนาคม เวลา 16.58 น. เกิดแผ่นดินไหวความสั่นสะเทือนวัดได้ 4.4 ริกเตอร์ จุดศูนย์กลางอยู่ใต้พื้นดินลึก 32.7 กิโลเมตร ห่างจากเมืองนาวิดัด ในภูมิภาคโอฮิกกินส์ ไปทางทิศตะวันตกเฉียงให้ประมาณ 25 กิโลเมตร

วันที่ 28 มีนาคม เวลา 20.59 น. เกิดแผ่นดินไหว ความสั่นสะเทือนวัดได้ 5.1 ริกเตอร์ จุดศูนย์กลางอยู่ใต้พื้นดินลึก 8.9 กิโลเมตร ห่างจากเมืองวันอันโตนิโอ ในภูมิภาคบัลปาไรโซ ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ 38 กิโลเมตร

วันที่ 29 มีนาคม เวลา 02.09 น. เกิดแผ่นดินไหวความสั่นสะเทือนวัดได้ 4.7 ริกเตอร์ จุดศูนย์กลางอยู่ใต้พื้นดินลึก 55 กิโลเมตร ห่างจากเมืองกูลิโก ในภูมิภาคเมาเลไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ 31 กิโลเมตร

วันที่ 29 มีนาคม เวลา 08.49 น. เกิดแผ่นดินไหวความสั่นสะเทือนวัดได้ 4.8 ริกเตอร์ จุดศูนย์กลางอยู่ระดับพื้นดิน ห่างจากเมืองอีกิเกะ เมืองหลวงของภูมิภาคตาราปากาไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ 40 กิโลเมตร

เหตุแผ่นดินไหวทั้ง 5 ครั้งดังกล่าวความสั่นสะเทือนรู้สึกได้ถึงกรุงซันติอาโก เมืองหลวงของชิลี ทั้งนี้ สถานเอกอัครราชทูตฯ ได้ตรวจสอบกับเครือข่ายคนไทยในชิลีแล้วไม่ปรากฏมีรายงานคนไทยได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตจากแผ่นดินไหวดังกล่าว

แผ่นดินไหวในฟิลิปปินส์ คนไทยปลอดภัย


แผ่นดินไหวในฟิลิปปินส์ คนไทยปลอดภัย

สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงมะนิลา รายงานว่า เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2554 เวลา 18.37 น. เกิดเหตุแผ่นดินไหวโดยสถาบันศึกษาแผ่นดินไหวและภูเขาไฟระเบิดแห่งชาติฟิลิปปินส์ (PHILVOCS) แถลงว่าความสั่นสะเทือนวัดได้ 5.7 ริกเตอร์ โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่เกาะมินดาโร ทางตอนใต้ของเกาะลูซอน บริเวณทะเลจีนใต้ และสามารถรับรู้แรงสั่นสะเทือนได้ถึงกรุงมะนิลาทั้งนี้ไม่มีรายงานข่าวความเสียหายจากแผ่นดินไหว

ภายหลังการเกิดแผ่นดินไหว ไม่มีรายงานข่าวเรื่องการเกิดคลื่นสึนามิในฟิลิปปินส์ อย่างไรก็ตามสถานเอกอัครราชทูตฯ ได้ออกแจ้งความแนะนำชุมชนไทยให้ติดตามข่าวสารและประกาศมาตรการต่างๆ จากสำนักงาน PHILVOCS และหน่วยงานทางการฟิลิปปินส์อย่างใกล้ชิดและสม่ำเสมอโดยเฉพาะการประกาศเตือนภัยยกระดับความรุนแรง และการอพยพหนีภัย

กิจกรรมกงสุลสัญจรที่เมืองอัลโคบาร์ ซาอุดีอาระเบีย


กิจกรรมกงสุลสัญจรที่เมืองอัลโคบาร์ ซาอุดีอาระเบีย



สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงริยาด รายงานว่า ระหว่างวันที่ 25-27 ได้ส่งชุดเจ้าหน้าที่กงสุลจำนวน 3 คนประกอบด้วยนายประสาท ศรแดง เลขานุการโท/กงสุล นายวีรพงษ์ สีเนห์ เสมียน และนายจีรศักดิ์ นาคทองเดินทางไปจัดกิจกรรมกงสุลสัญจรที่เมือง อัล โคบาร์ ทางตะวันออกของซาอุดีอาระเบีย ห่างจากกรุงริยาดประมาณ 400 กิโลเมตร

มีผู้มารับบริการ จำนวน 30 คน ดังนี้ โดยทำหนังสือเดินทางเล่มใหม่ จำนวน 15 ราย ทำนิติกรณ์รับรองเอกสาร 2 ราย ขอรับคำปรึกษาด้านการตรวจลงตราแก่หญิงไทยที่สมรสกับชาวปากีสถาน 1 ราย และขอลงทะเบียนให้สิทธิเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร 12 ราย

ในโอกาสดังกล่าวเจ้าหน้าที่ได้ประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการลือกตั้งนอกราชอาณาจักรให้ผู้ที่คนไทยที่มาร่วมกิจกรรมทราบและแจ้งให้ทราบว่าเมื่อมีการเลือกตั้งครั้งใหม่สถานเอกอัครราชทูตจะเดินทางไปจัดการเลือกตั้งที่เมืองอัล โคบาร์ดังเช่นที่ผ่านมาด้วย

นอกจากนั้นเจ้าหน้าที่ยังได้ประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับแผนอพยพคนไทยให้ชุมชนไทยดังกล่าวทราบด้วย รวมทั้งได้สอบถามคนไทยที่เดินทางมาจากเมืองกาดีฟ-ห่างจากอัล โคบาร์ 100 กิโลเมตร-ได้รับการชี้แจงว่า การชุมนุมอยู่ในพื้นที่จำกัดจึงไม่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของคนไทยจำนวน 10 คนที่อาศัยอยู่ในเมืองนั้น และปัจจุบันการชุมนุมได้ยุติลงแล้ว ทั้งนี้เจ้าหน้าที่ได้ขอความร่วมมือคนไทยในการติดตามสถานการณ์การชุมนุมในท้องถิ่นที่ตนอาศัยอย่างใกล้ชิด และหากมีเหตุการณ์ฉุกเฉินขอให้แจ้งสถานเอกอัครราชทูตทราบทันทีเพื่อเตรียมการให้ความช่วยเหลืออย่างทันท่วงที

เมืองอัล โคบาร์มีคนไทยอาศัยอยู่ประมาณ 100 คน ประกอบอาชีพช่างรถยนต์ ช่างไฟฟ้า ธุรกิจร้านอาหารไทย และส่วนใหญ่ทำงานมานานกว่า 20 ปี คนไทยในเมืองอัล โคบาร์และเมืองใกล้เคียง อาทิ ดัมมั่ม ดาห์ราน เป็นชุมชนที่เข้มแข็งและให้ความร่วมมือกับสถานเอกอัครราชทูตด้วยดีมาตลอด

วันอังคารที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2554

การติดตามสถานการณ์แผ่นดินไหวในญี่ปุ่น (29 มีนาคม 2554)


การติดตามสถานการณ์แผ่นดินไหวในญี่ปุ่น (29 มีนาคม 2554)


สถานะ ณ เวลา 20.00 น. วันอังคารที่ 29 มีนาคม 2554



1. สถานการณ์ในญี่ปุ่น

1.1 สถิติ ผู้เสียชีวิตล่าสุดรวม 11,168 คน สูญหาย 16,407 คน (จากรายงานของสำนักงานตำรวจแห่งชาติญี่ปุ่น ณ วันที่ 29 มี.ค. 2554 เวลา 19.00 น. เวลาประเทศไทย)

1.2 รายงานสถานการณ์โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุคุชิมะที่ 1

สถาบันความปลอดภัยทางนิวเคลียร์เกาหลีใต้ (Korea Institute of Nuclear Safety: KINS) รายงานเมื่อวันที่ 28 มี.ค. 2554 ว่า ได้ตรวจพบการปนเปื้อนของสาร Xenon-133 ในอากาศจากการตรวจที่ จ.Gangwon ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ ในระดับ 0.878 Bq/kg ซึ่งน้อยมากเมื่อเปรียบเทียบกับระดับที่ชาวเกาหลีใต้ได้รับในชีวิตประจำวันและไม่อยู่ในระดับที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย สาเหตุการแพร่กระจายน่าจะมาจากอิทธิพลของลมตะวันตก

1.3 การอพยพคนและปฏิกิริยาจากต่างชาติ

1.3.1 ณ วันที่ 29 มี.ค. 2554 ได้มี สอท. ของประเทศต่าง ๆ ในกรุงโตเกียว รวมทั้งสิ้น 8 ประเทศ ประกาศปิดทำการชั่วคราว และสอท. ของอีก 10 ประเทศ ย้ายที่ทำการไปยังภาคตะวันตกของญี่ปุ่น อาทิ นครโอซากา เมืองโกเบ

1.3.2 ประเทศต่าง ๆ จำนวน 21 ประเทศ ออกคำแนะนำการเดินทาง (Travel Advisory) ไปญี่ปุ่นรวมไปถึงมาตรการในการอพยพพลเมืองของประเทศเหล่านั้น

2. การดำเนินการของไทย

2.1 การประชุมประสานงานศูนย์ฉุกเฉินเพื่อติดตามสถานการณ์และให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยในญี่ปุ่น ประจำวันที่ 29 มี.ค. 2554

2.1.1 สถานการณ์ด้านนิวเคลียร์และสารกัมมันตรังสี

2.1.1.1 ผู้แทน ปส. แจ้งดังนี้

- สถานการณ์เตาปฏิกรณ์ทั้งหมดได้ลดความรุนแรงลงแล้ว ทั้งในแง่อุณหภูมิและความดัน และไม่มีรายงานการตรวจพบสารกัมมันตรังสีรั่วไหลเพิ่มเติม โดยค่าที่ตรวจพบได้ลดระดับลงเรื่อย ๆ ในส่วนของ fall-out นั้น รัฐบาลญี่ปุ่นได้ตรวจสอบในรัศมี 30 กม. ทั้งพื้นดินและพื้นน้ำ ที่ผ่านมาได้ตรวจพบสารตกค้างบนพื้นดินสูง และมีความน่ากังวลเรื่องการปนเปื้อนในน้ำจืด ดิน และน้ำทะเล อย่างไรก็ดี ทางการญี่ปุ่นได้อพยพพลเมืองออกหมดแล้ว

- ต่อข้อสอบถามของรอง อธ. สารนิเทศ (เจษฎาฯ) เรื่องการปิดบังและความคลาดเคลื่อนของข้อมูลต่าง ๆ ผู้แทน ปส. ชี้แจงว่า ได้ยึดข้อมูลของ IAEA เป็นหลัก เพราะข้อมูลของสำนักข่าวต่าง ๆ มีความคลาดเคลื่อนอยู่บ้าง อย่างไรก็ดี ปส. ได้จัดเจ้าหน้าที่ตรวจสอบประจำและได้รับข้อมูลอย่างต่อเนื่องจากเกาหลีใต้ที่ ปส. มีความร่วมมืออยู่ด้วยอีกทางหนึ่ง

2.1.2 การเฝ้าระวังผลกระทบต่อไทย

2.1.2.1 ผู้แทน สธ. แจ้งดังนี้

- ได้ปรับรูปแบบการให้บริการที่ท่าอากาศยานโดยใช้การสอบถามทางเอกสารแทนบุคคลแล้ว เนื่องจากความกังวลและจำนวนผู้โดยสารลดลง ในส่วนของการตรวจสอบอาหาร ได้สุ่มตรวจตัวอย่างจากสินค้าบริโภคทุกชนิด โดยที่ผ่านมาได้สุ่มตรวจแล้ว 94 รายการ และผลการตรวจ 74 รายการที่มีประกาศออกมาแล้ว ยังไม่พบความผิดปรกติแต่อย่างใด ส่วนข่าวเกี่ยวกับการทำลายมันสำปะหลังเนื่องจากตรวจพบสารไอโอดีนนั้น เนื่องจากตัวเลขที่ตรวจพบนั้นไม่ถึง 100 Bq/kg จึงยังปลอดภัยอยู่ แต่ได้ทำลายตัวอย่างดังกล่าวเพื่อเป็นการป้องกันเท่านั้น เนื่องจาก ปชช. มีความหวาดกลัวเรื่องนี้มาก

- คณะจิตแพทย์ 5 คน พร้อมนักวิทยาศาสตร์นิวเคลียร์ได้เดินทางกลับถึง ปทท. และได้รายงานเบื้องต้นว่า คนไทยที่ญี่ปุ่นมีความกังวลต่อประเด็นสถานการณ์ด้านนิวเคลียร์และสารกัมมันตรังสีมาก จึงมีแผนจะประสานงานกับ กต. เกี่ยวกับการส่งคณะจิตแพทย์ จำนวน 6 คน (จิตแพทย์ 2 คน พยาบาล 2 คนและ นักจิตวิทยา 2 คน) และนักวิทยาศาสตร์นิวเคลียร์ 1 คนไปญี่ปุ่นในโอกาสแรกต่อไป

2.1.2.2 ผู้แทน บ. การบินไทยฯ แจ้งดังนี้

- อัตราการโดยสารของเที่ยวบิน TG ในวันที่ 28 มี.ค. 2554 มีดังนี้

(1) เส้นทางกรุงเทพฯ – นาริตะ 2 เที่ยวบิน คือ

- TG676 (07.35 – 15.45) อยู่ที่ร้อยละ 47.44

- TG642 (23.50 – 08.10+1วัน) อยู่ที่ร้อยละ 71.98

(2) เส้นทางนาริตะ – กรุงเทพฯ 2 เที่ยวบิน คือ

- TG643 (12.00 – 16.30) อยู่ที่ร้อยละ 64.78

- TG677 (16.55 – 21.25) ร้อยละ 32.37 (น้อยที่สุด)

- สายการบิน Continental Delta SAS และ United ได้เริ่มอนุญาตให้ลูกเรือพักค้างแรมที่นาริตะได้แล้ว ส่วนสายการบินอื่น ๆ ได้เริ่มทำการบินเข้าท่าอากาศนาริตะบ้างแล้ว แต่ยังคงไม่อนุญาตให้ลูกเรือพักค้างแรม อาทิ สายการบิน Lufthansa ให้พักที่เมืองอินชอน Singapore Airlines พักที่นครโอซากา Swiss Air พักที่ฮ่องกง เป็นต้น

2.2 การให้ความช่วยเหลือของไทยต่อญี่ปุ่น

2.2.1 ยอดเงินบริจาคผ่านบัญชี “เงินบริจาคช่วยเหลือผู้ประสบภัยญี่ปุ่น” ณ วันที่ 29 มีนาคม 2554 ณ เวลา 14.00 น. อยู่ที่ประมาณ 120,072,823.42 บาท

2.2.2 วันที่ 29 มี.ค. 2554 กต. ได้ประสานงานจัดส่งไฟฉาย จำนวน 79 โหล และบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป จำนวน 360 กล่อง ด้วยเที่ยวบิน TG642 ของบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)

2.3 สถิติคนไทย

2.3.1 จำนวนคนไทยในญี่ปุ่น 40,957 คน (ข้อมูลของ สนง. ตรวจคนเข้าเมืองญี่ปุ่น) โดยเป็นคนไทยที่พำนักในพื้นที่เสี่ยงต่อกัมมันตรังสี 11 จังหวัด (ฮอกไกโด อะโอโมริ อิวาเตะ มิยาหงิ ฟุคุชิมะ อิบารากิ โทชิหงิ ชิบะ โตเกียว กุมมะ คาโงชิมา) 19,547 คน และคนไทยในพื้นที่เสี่ยงสูงต่อกัมมันตรังสี 3 จังหวัด (อิวาเตะ มิยาหงิ ฟุคุชิมะ) จำนวน 488 คน

2.3.2 จำนวนนักเรียนไทยในญี่ปุ่น 2,429 คน (ข้อมูล สนง. ผู้ดูแลนักเรียนไทย) ล่าสุดติดต่อได้ 568 คน

2.3.3 จำนวนแรงงานไทยในญี่ปุ่น ประมาณ 19,541 คน (เป็นแรงงานถูกกฎหมาย 13,541 คน แรงงานผิดกฎหมายประมาณ 6,000 คน) ล่าสุดติดต่อแรงงานถูกกฎหมายได้ 6,841 คน

2.3.4 จำนวนคนไทยที่เดินทางกลับ ปทท. ระหว่างวันที่ 12 – 28 มี.ค. 2554 อยู่ที่ 11,831 คน (ข้อมูลศูนย์เทคโนโลยีตรวจคนเข้าเมือง)

3. ความช่วยเหลือจากต่างประเทศ

รัฐบาลญี่ปุ่นสรุปยอดประเทศที่เสนอให้ความช่วยเหลือมีจำนวน 133 ประเทศ และองค์กรระหว่างประเทศ 39 แห่ง ซึ่งมีทั้งในรูปแบบเงินบริจาค ของบริจาค และผู้เชี่ยวชาญ

เอกอัครราชทูต ณ กรุงพริทอเรีย เลี้ยงอาหารค่ำเพื่อเป็นเกียรติแก่คณะกรรมการเลือกตั้ง

ท่านทูตธฤต จรุงวัฒน์เป็นเจ้าภาพเลี้ยงอาหารค่ำรับรองนายประพันธ์ นัยโกวิท กรรมการการเลือกตั้งและคณะที่ทำเนียบเอกอัครราชทูต

นายประพันธ์ฯ และคณะเดินทางไปเยือนแอฟริกาใต้ภายหลังเข้าร่วมการประชุมวิชาการ GEO Conference ครั้งที่ 5 ที่กรุงกาบาโรน สาธารณรัฐบอตสวานา ระหว่าง 4-11 มีนาคม 2554

ท่านทูตธฤตฯ ถ่ายภาพร่วมนายประพันธ์ฯ และคณะ

เอกอัครราชทูต ณ กรุงพริทอเรีย เลี้ยงอาหารค่ำเพื่อเป็นเกียรติแก่คณะกรรมการเลือกตั้ง



นายธฤต จรุงวัฒน์ เอกอัครราชทูต ณ กรุงพริทอเรีย สาธารณรัฐแอฟริกาใต้ และภริยา ได้เป็นเจ้าภาพเลี้ยงอาหารค่ำที่ทำเนียบเอกอัครราชทูต แก่นายประพันธ์ นัยโกวิท กรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) และคณะ ซึ่งเยือนแอฟริกาใต้ภายหลังจากเดินทางไปร่วมการประชุมวิชาการนานาชาติ GEO Conference ครั้งที่ 5 เรื่องการเลือกตั้งที่น่าเชื่อถือเพื่อประชาธิปไตย (Credible Election for Democracy) ที่กรุงกาโบโรน สาธารณรัฐบอตสวานา ระหว่างวันที่ 4-11 มีนาคม 2554

โดยในระหว่างการประชุมดังกล่าว หัวหน้าคณะผู้แทนไทยได้กล่าวปาฐกถาเรื่อง "อุปสรรคที่องค์กรจัดการเลือกตั้งต้องเผชิญในสภาพแวดล้อมที่มีแรงกดดันทางการเมือง" (Challenge Facing EMBS in the Context of Political Pressure) ซึ่งสะท้อนประสบการณ์ของคณะกรรมการการเลือกตั้งของไทยในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งได้รับความสนใจจากผู้เข้าร่วมประชุมเป็นอย่างดียิ่่ง

สถานกงสุลใหญ่ ณ นครโฮจิมินห์ มอบเงินบริจาคแก่นักเรียนชาวเวียดนามที่ด้อยโอกาส





สถานกงสุลใหญ่ ณ นครโฮจิมินห์ มอบเงินบริจาคแก่นักเรียนชาวเวียดนามที่ด้อยโอกาส



เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2554 สถานกงสุลใหญ่ฯ ได้ร่วมกับสหพันธ์องค์กรมิตรภาพนครโฮจิมินห์ (Ho Chi Minh City Union of Friendship Organisation) และสมาคมมิตรภาพเวียดนาม-ไทย จัดกิจกรรมมอบทุนการศึกษาแก่นักเรียนที่ด้อยโอกาสซึ่งศึกษาอยู่ในเขตหย่าแบ่ (Nha Be) นครโฮจิมินห์ จำนวน 40 คน เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 46,500,000 ด่อง (ประมาณ 70,000 บาท)

เงินจำนวนดังกล่าวได้จากการเปิดรับบริจาคจากผู้เข้าร่วมงานการจัดงานวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2553 ทั้งนี้ สถานกงสุลใหญ่ฯ ได้จัดกิจกรรมเพื่อสังคมในลักษณะดังกล่าวเป็นประจำทุกปี ด้วยความตั้งใจจริงที่จะช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสชาวเวียดนามให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและสามารถเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศเวียดนามต่อไป รวมทั้งเป็นการส่งเสริมความเข้าใจอันดีและมิตรภาพระหว่างประชาชนทั้งสองประเทศให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น

วันจันทร์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2554

การติดตามสถานการณ์แผ่นดินไหวในญี่ปุ่น (28 มีนาคม 2554)


การติดตามสถานการณ์แผ่นดินไหวในญี่ปุ่น (28 มีนาคม 2554)


สถานะ ณ เวลา 20.00 น. วันจันทร์ที่ 28 มีนาคม 2554



1. สถานการณ์ในญี่ปุ่น

1.1 สถิติ ผู้เสียชีวิตล่าสุดรวม 10,901 คน สูญหาย 17,621 คน (จากรายงานของสำนักงานตำรวจแห่งชาติญี่ปุ่น ณ วันที่ 28 มี.ค. 2554 เวลา 20.00 น. เวลาประเทศไทย)

1.2 อาฟเตอร์ช็อค

ในช่วงเช้าของวันที่ 28 มี.ค. 2554 พบว่าเกิดอาฟเตอร์ช็อคที่บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือของญี่ปุ่น วัดขนาดได้ 6.5 ริกเตอร์ โดยทางการญี่ปุ่นได้ประกาศเตือนภัยการเกิดสึนามิภายหลังจากอาฟเตอร์ช็อคดังกล่าวด้วย แต่ได้ประกาศยกเลิกคำเตือนในเวลาต่อมา

1.3 รายงานสถานการณ์โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุคุชิมะที่ 1

1.3.1 วันที่ 28 มี.ค. 2554 บริษัทการไฟฟ้าโตเกียวตรวจพบว่า น้ำที่ขังอยู่บริเวณอุโมงค์ในเตาปฏิกรณ์หมายเลข 2 มีสารกัมมันตรังสีปนเปื้อนในระดับ 1 ล้านไมโครซีเวิร์ท/ ชม. ในขณะที่น้ำขังในบริวเวณเตาหมายเลข 1 ตรวจพบได้ที่ระดับ 400 ไมโครซีเวิร์ท/ ชม. ขณะนี้บริษัทฯ กำลังตรวจหาสาเหตุของการรั่วไหลอยู่

1.3.2 วันที่ 28 มี.ค. 2554 พนักงานบริษัทการไฟฟ้าโตเกียวจำนวน 3 คน ที่สัมผัสโดนน้ำที่ปนเปื้อนสารกัมมันตรังสีและได้รับบาดเจ็บระหว่างการปฏิบัติงานที่เตาที่ 2 ได้ออกจากโรงพยาบาลแล้ว โดยในขณะนี้ยังไม่พบอาการผิดปกติทางร่างกายแต่อย่างใด

1.3.3 วันที่ 28 มี.ค. 2554 ตรวจวัดระดับกัมมันตภาพรังสีสูงสุดได้ที่ จ.ฟุคุชิมะ ที่ระดับ 45 ไมโครซีเวิร์ท/ ชม. จ.อิวาเตะ 0.028 ไมโครซีเวิร์ท/ ชม. จ.อิบารากิ 0.234 ไมโครซีเวิร์ท/ ชม. โตเกียว 0.112 ไมโครซีเวิร์ท/ ชม. ซึ่งโดยภาพรวมระดับกัมมันตภาพรังสีอยู่ในระดับคงตัวหรือลดลง และยังไม่มีผลต่อร่างกายแต่อย่างใด

1.4 การอพยพคนและปฏิกิริยาจากต่างชาติ

1.4.1 ณ วันที่ 28 มี.ค. 2554 ได้มี สอท. ของประเทศต่าง ๆ ในกรุงโตเกียว รวมทั้งสิ้น 18 ประเทศ ประกาศปิดทำการชั่วคราว และสอท. ของอีก 11 ประเทศ ย้ายที่ทำการไปยังภาคตะวันตกของญี่ปุ่น อาทิ นครโอซากา เมืองโกเบ เมืองฮิโรชิมา และเมืองฟุคุโอกะ

1.4.2 รัฐบาลประเทศต่าง ๆ จำนวน 21 ประเทศได้ออกคำแนะนำการเดินทาง (Travel Advisory) ไปญี่ปุ่น โดยรวมไปถึงมาตรการในการอพยพพลเมืองของประเทศเหล่านั้น

1.4.3 หลายประเทศ อาทิ รัสเซีย ฮ่องกง สหรัฐฯ สิงคโปร์ ไต้หวัน ออสเตรเลีย สหภาพยุโรป ได้ประกาศมาตรการตรวจสอบ/ห้ามนำเข้าสินค้าบริโภคประเภทต่าง ๆ จากญี่ปุ่น อาทิ ออสเตรเลียประกาศกักสินค้าประเภทนม ผลิตภัณฑ์จากนม ผักผลไม้สด สาหร่ายทะเล อาหารทะเลทั้งสดและแช่แข็ง ที่มีแหล่งผลิตในจังหวัดฟุคุชิมะ อิบารากิ โทจิกิ และกุนมะ สิงคโปร์ประกาศว่า จากการสุ่มตรวจ 161 ตัวอย่าง ได้ตรวจพบการปนเปื้อนรังสีใน 4 ตัวอย่างสินค้าอาหารนำเข้าจากญี่ปุ่น

2. การดำเนินการของไทย

2.1 การเฝ้าระวังเรื่องกัมมันตภาพรังสีและสารกัมมันตรังสีปนเปื้อนในอาหารนำเข้าจากญี่ปุ่น

- การตรวจวัดกัมมันตรังสีในไทยยังอยู่ในระดับปกติ นอกจากนี้ ปส. ยังจัดการตรวจวัดระดับการปนเปื้อนของสารกัมมันตรังสีที่ต่อมไทรอยส์ในตัวคน ที่ท่าอากาศสุวรรณภูมิ ซึ่งยังไม่พบการปนเปื้อน

- ระหว่างวันที่ 16 – 27 มี.ค. 2554 มีการสุ่มเก็บตัวอย่างอาหารนำเข้าจากญี่ปุ่น รวม 94 ตัวอย่าง ขณะนี้มีการตรวจวัดระดับสารกัมมันตรังสีแล้ว 74 ตัวอย่าง พบว่าตัวอย่างทั้งหมดมีค่าปกติ ทั้งนี้ อาหารส่วนใหญ่ที่มีการสุ่มตรวจเป็นประเภทปลาสด

- ตั้งแต่วันที่ 28 มี.ค. 2554 เป็นต้นไปจะปรับเปลี่ยนมาตรการเฝ้าระวังผู้โดยสารขาเข้าเป็นการแจกแบบสอบถามให้ผู้เดินทางกรอกข้อมูลแทน ทั้งนี้ หากผู้เดินทางต้องการขอรับคำปรึกษาด้านสุขภาพสามารถขอรับได้ที่ด่านของ สธ.

2.2 การให้คำปรึกษาด้านสุขภาพจิตแก่คนไทยในญี่ปุ่น

- การดำเนินงานของทีมจิตแพทย์ เมื่อวันที่ 26 มี.ค. 2554 เดินทางไปตรวจสุขภาพคนไทยที่ จ. ชิซึโอกะ พบว่ามี 17 รายที่อยู่ในสภาวะเครียดสูง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นแม่บ้านและหญิงให้บริการที่มีความเครียดสูงอยู่แล้ว ทั้งนี้ คณะจิตแพทย์ประเมินว่า ควรจัดให้มีการตรวจและให้คำปรึกษาด้านสุขภาพจิตต่อเนื่องต่อไป ซึ่งประธาน สนับสนุน เนื่องจากการให้การรักษาและคำปรึกษาด้านจิตใจควรเป็นหมอที่สามารถสื่อสารภาษาเดียวกันและเข้าใจขนบธรรมเนียมวัฒนธรรม

- จากผลการประเมินของทีมจิตแพทย์ที่อยู่ที่ญี่ปุ่นขณะนี้ สธ. จะจัดทีมจิตแพทย์ชุดใหม่ (ประกอบด้วยสมาชิก 5 คน) เดินทางไปแทนทีมชุดเดิมที่จะเดินทางกลับไทยในวันที่ 28 มี.ค. 2554 โดยจะเดินทางไปญี่ปุ่นในวันที่ 30 มี.ค. 2554 ทั้งนี้ งบประมาณที่ใช้ในการจัดทีมจิตแพทย์ไปญี่ปุ่นคือประมาณ 3 แสนบาทต่อ 1 ทีม (รวมค่ายาประมาณ 5 หมื่นบาทด้วย) และใน 1 เดือนจะส่งทีมจิตแพทย์ไปรวม 3 ทีม โดยจะแจ้งยืนยันค่าใช้จ่ายอีกครั้ง ในส่วนของค่ายาอาจพิจารณาใช้งบประมาณจากช่องทางปกติ แต่สำหรับค่าเดินทาง เบี้ยเลี้ยง และค่าที่พักสามารถเบิกได้จากงบประมาณกลางในการให้ความช่วยเหลือญี่ปุ่นฯ

- ทีมจิตแพทย์ชุดที่จะเดินทางไปญี่ปุ่นในวันที่ 30 มี.ค. 2554 จะเป็นผู้ประเมินและแจ้งรายละเอียดจำนวนกลุ่มเสี่ยงที่ต้องการรับยาโพแทสเซียมไอโอไดด์เพื่อ สธ. จะดำเนินการจัดส่งให้ต่อไป

2.3 การให้ความช่วยเหลือของไทยต่อญี่ปุ่น

- ยอดเงินบริจาคผ่านบัญชี “เงินบริจาคช่วยเหลือผู้ประสบภัยญี่ปุ่น” ณ วันที่ 28 มีนาคม 2554 ณ เวลา 18.00 น. อยู่ที่ 118,072,823.42 บาท

2.4 สถิติคนไทย

- จำนวนคนไทยในญี่ปุ่น 40,957 คน (ข้อมูลของ สนง. ตรวจคนเข้าเมืองญี่ปุ่น) โดยเป็นคนไทยที่พำนักในพื้นที่เสี่ยงต่อกัมมันตรังสี 11 จังหวัด (ฮอกไกโด อะโอโมริ อิวาเตะ มิยาหงิ ฟุคุชิมะ อิบารากิ โทชิหงิ ชิบะ โตเกียว กุมมะ คาโงชิมา) 19,547 คน และคนไทยในพื้นที่เสี่ยงสูงต่อกัมมันตรังสี 3 จังหวัด (อิวาเตะ มิยาหงิ ฟุคุชิมะ) จำนวน 488 คน

- จำนวนนักเรียนไทยในญี่ปุ่น 2,429 คน (ข้อมูล สนง. ผู้ดูแลนักเรียนไทย) ล่าสุดติดต่อได้ 568 คน

- จำนวนแรงงานไทยในญี่ปุ่น ประมาณ 19,541 คน (เป็นแรงงานถูกกฎหมาย 13,541 คน แรงงานผิดกฎหมายประมาณ 6,000 คน) ล่าสุดติดต่อแรงงานถูกกฎหมายได้ 6,841 คน

- จำนวนคนไทยที่เดินทางกลับ ปทท. ระหว่างวันที่ 12 – 27 มี.ค. 2554 อยู่ที่ 11,466 คน (ข้อมูลศูนย์เทคโนโลยีตรวจคนเข้าเมือง)

3. ความช่วยเหลือจากต่างประเทศ

รัฐบาลญี่ปุ่นสรุปยอดประเทศที่เสนอให้ความช่วยเหลือมีจำนวน 133 ประเทศ และองค์กรระหว่างประเทศ 39 แห่ง ซึ่งมีทั้งในรูปแบบเงินบริจาค ของบริจาค และผู้เชี่ยวชาญ

กรณีเหตุการณ์แผ่นดินไหว/สึนามิและวิกฤตการณ์โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ที่ญี่ปุ่น (28 มีนาคม 2554)


กรณีเหตุการณ์แผ่นดินไหว/สึนามิและวิกฤตการณ์โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ที่ญี่ปุ่น (28 มีนาคม 2554)



1. การให้ความช่วยเหลือคนไทยและรัฐบาลญี่ปุ่น

1.1 ยังไม่มีรายงานคนไทยได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต

1.2 คนไทยที่เดินทางกลับไทยระหว่างวันที่ 12-27 มีนาคม 2554 มีจำนวน 11,466 คน

1.3  คนไทยซึ่งอยู่ในพื้นที่ประสบภัย 3 จังหวัด ได้แก่ อิวาเตะ มิยากิ และฟุกุชิม่า มีจำนวน 488 คน สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโตเกียว สามารถติดต่อได้แล้ว 247 คน เหลือ 241 คน อยู่ระหว่างการติดตามต่อไป

1.4 สถานเอกอัครราชทูตฯ และกระทรวงการต่างประเทศได้รับคำร้องขอให้ติดตามคนไทยในญี่ปุ่น 3,710 คน ซึ่งสามารถติดต่อได้แล้ว 3,543 คน เหลือ 167 คน อยู่ระหว่างการติดตามต่อไป

1.5 วันนี้ กระทรวงการต่างประเทศจะจัดส่งสิ่งของที่ได้รับบริจาคจำนวน 13 ตัน โดยแบ่งเป็นน้ำดื่มจำนวน 21,420 ขวด ของบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) และบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ของบริษัท สหพัฒนพิบูล จำกัด (มหาชน) จำนวน 9,000 ซอง ทางสายการบินไทยไปญี่ปุ่น

1.6 ยอดเงินบริจาคให้แก่ผู้ประสบภัยในญี่ปุ่นในบัญชีกระทรวงการต่างประเทศ 118,572,823 บาท (ณ วันที่ 28มีนาคม 2554)

2. ปัญหาโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์

2.1 ตามที่มีเหตุการณ์แผ่นดินไหว 6.5 ริกเตอร์ บริเวณภาคตะวันออกของญี่ปุ่นในช่วงเช้าของวันนี้ ยังไม่มีรายงานความเสียหายหรือผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ดังกล่าว

2.2 สถานการณ์ด้านกัมมันตภาพรังสีในภาพรวมยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงที่มีนัยสำคัญ โดยระดับกัมมันตภาพรอบนอกรัศมีพื้นที่โรงไฟฟ้าฯ ยังไม่เกินค่าเฉลี่ยมาตรฐานที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ

2.3 เตาปฏิกรณ์เตาที่ 3 ยังคงมีความดันสูง แต่สถานการณ์ของเตาปฏิกรณ์อยู่ในความควบคุมในภาพรวม

2.4 ทางการญี่ปุ่นยังคงประกาศคำเตือนให้ประชาชนหลีกเลี่ยงการให้ทารกบริโภคน้ำประปาในบางส่วนของ จ.จิบะ อิบารากิ และฟุคุชิมะ แต่ยกเลิกประกาศคำเตือนในกรุงโตเกียว ทั้งนี้ พื้นที่ที่มีค่าปนเปื้อนในน้ำประปาเกินมาตรฐานสำหรับการบริโภคของผู้ใหญ่มีเพียงพื้นที่เดียวคือในหมู่บ้านอิตาเตะ (Itate) จ. ฟุคุชิมะ

2.5ระหว่างวันที่ 16-27 มี.ค. 2554 กระทรวงสาธารณสุขได้สุ่มตรวจอาหารที่นำเข้าจากญี่ปุ่น โดยเน้นไปที่อาหารทะเล พืชและผลไม้ ยังไม่พบการปนเปื้อนแต่อย่างใด

2.6 ยังคงมีบริการตรวจวัดระดับสารไอโอดีนในต่อมไทรอยด์สำหรับผู้โดยสารขาเข้าจากประเทศญี่ปุ่น ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

2.7 ขณะนี้ ยังไม่พบคนไทยได้รับผลกระทบจากสารกัมมันตภาพรังสี

ที่มา: ข่าวสารนิเทศวันที่ 28 มีนาคม 2554 กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ

สถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองเจดดาห์ จัดให้บริการกงสุลสัญจรที่นครเม๊กกะ ซาอุดีอาระเบีย

บริการกงสุลสัญจรจะยกอุปกรณ์จากสถานกงสุลใหญ่ฯ มาด้วย ได้รับบริการเช่นเดียวกับที่เดินทางไปที่สำนักงาน แต่ถูกกว่าสำหรับผู้รับบริการ 

ตลอดสองวันมีผู้เข้ามาขอรับบริการจำนวนมาก ทั้งด้านการทำหนังสือเดินทางเล่มใหม่ มอบอำนาจ ขอสูติบัตร รับรองเอกสาร และขอคำปรึกษาเกี่ยวกับด้านกงสุล

บรรยากาศเป็นกันเองในระหว่างการให้บริการที่สำนักงานกงสุล (ฝ่ายกิจการฮัจย์)  ชุมชนชาวไทยที่นครเม็กกะมีประมาณแปดพันคนส่วนใหญ่เป็นคนไทยมุสลิมจากจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็น


สถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองเจดดาห์ จัดให้บริการกงสุลสัญจรที่นครเม๊กกะ ซาอุดีอาระเบีย


เมื่อวันที่ 24 และ 25 มีนาคม 2554 ระหว่างเวลา 08.00 – 22.00 น. สถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองเจดดาห์ ได้จัดบริการกงสุลสัญจรครั้งที่ 1 ประจำปี 2554 ที่สำนักงานกงสุล (ฝ่ายกิจการฮัจย์) ณ นครเม็กกะ (อยู่ห่างจากเมืองเจดดาห์ ประมาณ 90 กิโลเมตร) ซึ่งมีชุมชนชาวไทยมุสลิมที่ส่วนใหญ่มาจากจังหวัดชายแดนภาคใต้ พำนักอาศัยอยู่ที่เมืองนี้ประมาณ 8,000 คน โดยกลุ่มคนไทยดังกล่าว มีบางส่วนไม่สามารถที่จะเดินทางไปขอรับบริการที่สถานกงสุลใหญ่ฯ ที่เมืองเจดดาห์ได้ เนื่องจากไม่มีใบอนุญาตถิ่นที่อยู่ที่ถูกต้อง สถานกงสุลใหญ่ฯ จึงได้จัดหน่วยกงสุลสัญจรเดินทางไปให้บริการถึงพื้นที่เพื่อเป็นการช่วยเหลือ และบรรเทาความเดือดร้อนของพี่น้องชาวไทยกลุ่มดังกล่าว

ตลอดระยะเวลา 2 วัน มีชาวไทยมาขอรับบริการเป็นจำนวนมาก ทั้งยื่นขอหนังสือเดินทางเล่มใหม่ ขอสูติบัตร มอบอำนาจ รับรองเอกสาร และขอคำปรึกษาในเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวกับด้านกงสุล

 สถานกงสุลใหญ่ฯ จะจัดให้บริการกงสุลสัญจรในลักษณะนี้อย่างสม่ำเสมอ เพื่อสนองตอบความต้องการของประชาชนในพื้นที่


ที่มา: ภาพและเรื่องจากสถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองเจดดาห์

กงสุลใหญ่ ณ เมืองมุมไบพบผู้ว่าการรัฐมหาราษฏระ


กงสุลใหญ่ ณ เมืองมุมไบพบผู้ว่าการรัฐมหาราษฏระ



เมื่อเร็วๆ นี้ นายทอมวิชย์ ชาญสรรค์ กงสุลใหญ่ ณ เมืองมุมไบได้พบกับนาย K. Sankaranarayanan ผู้ว่าการรัฐมหาราษฏระ ในโอกาสงานเฉลิมฉลองวันครบรอบการประกาศใช้รัฐธรรมนูญครั้งแรกในอินเดีย (Republic Day) ซึ่งปีนี้เป็นการเฉลิมฉลองครบรอบปีที่ 61 ณ จวนผู้ว่าการรัฐมหาราษฏระ

ในโอกาสนี้ ทั้งสองฝ่ายได้หารือเกี่ยวกับความสัมพันธ์โดยรวมระหว่างไทยกับอินเดีย โดยเฉพาะรัฐมหาราษฏระที่มีเมืองมุมไบเป็นเมืองหลวงซึ่งนอกจากเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในอินเดียแล้วยังเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ การค้าการลงทุน การเงินการธนาคาร และการคมนาคม อีกด้วย โดยทั้งนี้ ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องที่จะกระชับความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับรัฐมหาราษฏระให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น

ที่มา: เว็บไซต์สถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองมุมไบ http://www.mfa.go.th/web/2951.php?eid=39049

คำแนะนำเบื้องต้นสำหรับคนไทยที่จะเดินทางไปท่องเที่ยวกรีซ


คำแนะนำเบื้องต้นสำหรับคนไทยที่จะเดินทางไปท่องเที่ยวกรีซ



คำแนะนำนักท่องเที่ยวสำหรับเดินทางไปกรีซ

ทั่วไป
กรีซตั้งอยู่ทางตอนใต้ของยุโรป มีประชากรไม่มากนักประมาณ 11 ล้านคน และพึ่งพารายได้จากการท่องเที่ยวคิดเป็นสัดส่วนมากกว่าร้อยละ 15 ของ GDP โดยแต่ละปีมีจำนวนนักท่องเที่ยวมากกว่าประชากรทั้งประเทศ กรีซจึงพยายามพัฒนาสาธารณูปโภค และระบบการท่องเที่ยวให้เท่าเทียมกับประเทศในยุโรปตะวันตก

การเข้าเมือง
คนไทยที่เดินทางไปกรีซต้องมีหนังสือเดินทางที่มีอายุเกิน 6 เดือน และต้องขอรับการตรวจลงตรา หรือวีซ่าล่วงหน้า รวมทั้งผู้ที่ถือหนังสือเดินทางทูตและราชการด้วยจากสถานเอกอัครราชทูตกรีซประจำประเทศไทย โดยที่กรีซเป็นประเทศภาคีความตกลง Schengen ผู้ที่มี Schengen Visa จึงสามารถเดินทางเข้ากรีซเพื่อท่องเที่ยวหรือติดต่อธุรกิจได้ แต่ไม่ใช่เพื่อทำงาน เจ้าหน้าที่ตำรวจกรีซสามารถขอตรวจสอบเอกสารประจำตัวระหว่างการท่องเที่ยวได้ ดังนั้น นักท่องเที่ยวควรมีหนังสือเดินทางติดตัวตลอดเวลา

ความปลอดภัยและความมั่นคง
กรีซเป็นประเทศที่มีการชุมนุมประท้วงอยู่เนืองๆ เฉลี่ยประมาณ 2 ครั้งต่อสัปดาห์ ซึ่งส่วนใหญ่ดำเนินไปด้วยความสงบ และไม่ยืดเยื้อ อย่างไรก็ดี อาจเกิดเหตุการณ์รุนแรงระหว่างการชุมนุมประท้วง โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากการปะทะกันระหว่างเจ้าหน้าที่ตำรวจกับกลุ่มก่อความไม่สงบ (anarchist) นักท่องเที่ยวจึงควรหลีกเลี่ยงสถานที่ที่กำลังเกิดการชุมนุมประท้วง นอกจากนี้ นักท่องเที่ยวควรระมัดระวังเกี่ยวกับการใช้และความปลอดภัยบนท้องถนน เนื่องจากสภาพถนนที่ไม่สู้ดีนัก และพฤติกรรมการขับขี่ยานพาหนะของคนท้องถิ่น

อาชญากรรม
ไม่ค่อยปรากฏข่าวอาชญากรรมรุนแรงในกรีซ แต่การโจรกรรมตามท้องถนน รวมทั้งการทุบกระจกรถยนต์ในที่สาธารณะเพื่อขโมยสิ่งของเกิดขึ้นเป็นประจำ โดยเฉพาะแหล่งจับจ่ายสินค้าและสถานที่ท่องเที่ยวของกรุงเอเธนส์ เช่น บริเวณ Syntagma Square เป็นต้น นักท่องเที่ยวจึงควรระมัดระวังทรัพย์สินและสิ่งของมีค่าต่างๆ โดยวิธีการที่กลุ่มมิจฉาชีพนิยมใช้ เช่น เข้ามาพูดคุยเพื่อเบนความสนใจให้สามารถฉกกระเป๋าและของมีค่าต่างๆ ได้สะดวก เป็นต้น

เมื่อประสบเหตุการณ์ทรัพย์สิน รวมทั้งหนังสือเดินทางถูกโจรกรรม ขอให้แจ้งความที่สถานีตำรวจและติดต่อสถานเอกอัครราชทูตในโอกาสแรก การดำเนินคดีทางกฎหมายเป็นเรื่องของทางการ กรีซ แต่สถานเอกอัครราชทูตสามารถให้ความช่วยเหลือเบื้องต้นที่จำเป็น เช่น ออกหนังสือเดินทางเล่มใหม่ ช่วยเหลือเพื่อให้ได้รับการรักษาพยาบาลกรณีบาดเจ็บ ติดต่อญาติและหน่วยงานท้องถิ่น เป็นต้น

ท่านสามารถติดต่อสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเอเธนส์ (25 Marathonodromou Street, Paleo Psychico 15452) ได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ (30) 210 – 6710155 ในวันและเวลาราชการ

สาธารณสุข
ขณะนี้ ไม่มีข่าวโรคระบาดหรือติดต่อร้ายแรงที่อาจกระทบนักท่องเที่ยว

ระบบการแพทย์และรักษาพยาบาลของกรีซอยู่ในระดับที่พอใช้ และราคาค่อนข้างแพงเช่นเดียวกับประเทศในยุโรป การให้บริการทางการแพทย์ของรัฐค่อนข้างล่าช้า คนท้องถิ่นที่พอมีฐานะจึงนิยมใช้โรงพยาบาล หรือคลินิกเอกชน เพื่อแลกกับการบริการและความสะดวกรวดเร็ว

นักท่องเที่ยวไทยจะต้องทำประกันอุบัติเหตุ/สุขภาพกับบริษัทประกันที่ให้สิทธิ คุ้มครองถึงกรีซ และครอบคลุมค่าใช้จ่ายด้านการแพทย์อื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้น และต้องนำหลักฐานการประกัน ดังกล่าวยื่นต่อสถานเอกอัครราชทูตกรีซประจำประเทศไทยเพื่อประกอบการขอวีซ่า

ภัยพิบัติธรรมชาติ
ขณะนี้ ไม่มีเหตุการณ์ภัยพิบัติธรรมชาติที่กระทบการท่องเที่ยว

ข้อควรปฏิบัติ
ปฏิบัติตามกฎระเบียบ และกฎหมายท้องถิ่นอย่างเคร่งครัด หากละเมิดไม่ว่าจะโดยเจตนาหรือไม่ อาจถูกขับออกนอกประเทศ จับกุมและจำคุกได้ เช่น การพกพาสิ่งเสพติด และการค้าประเวณี เป็นต้น นอกจากนี้ ปฏิบัติตามกฎระเบียบต่างๆ ของสหภาพยุโรป โดยเฉพาะการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาของผู้ผลิตสินค้าในยุโรป เช่น การถือหรือนำสินค้าปลอมเลียนแบบยี่ห้อแบรนด์เนมต่างๆ เข้ายุโรป เป็นต้น

ควรถ่ายสำเนาหนังสือเดินทางพร้อมหน้าที่มีการประทับตราวีซ่า และบัตรประจำตัวประชาชนติดตัว เพื่อใช้ในกรณีเอกสารสูญหาย


ที่มา: เว็บไซต์สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเอเธนส์ http://www.mfa.go.th/web/2008.php?id=34271&depid=189

ความรู้และแนวปฏิบัติ สำหรับแรงงานไทยที่จะมาทำงานในสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี



ความรู้และแนวปฏิบัติ สำหรับแรงงานไทยที่จะมาทำงานในสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี


1. คุณสมบัติของแรงงานไทยที่สามารถเข้ามาทำงานในสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี
2. สาขาอาชีพเฉพาะที่คนไทยสามารถเดินทางเข้ามาทำงานในสหพันธ์ฯ ได้โดยตรง
3. ขั้นตอนต่าง ๆ สำหรับนายจ้างในการนำแรงงานไทยเข้ามาทำงานในสหพันธ์ฯ
- กรณีที่นายจ้างต้องการให้กรมการจัดหางานจัดหาแรงงานไทยให้
- กรณีที่นายจ้างได้คัดเลือกแรงงานไทยแล้วเรียบร้อย


1. คุณสมบัติของแรงงานไทยที่สามารถเข้ามาทำงานในสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี
สำหรับคนต่างชาติที่จะเข้ามาทำงานในสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี สหพันธ์ฯ จะให้สิทธิพิเศษกับบุคคลสัญชาติในสหภาพยุโรปเป็นอันดับแรก ได้แก่ เบลเยี่ยม เดนมาร์ก ฟินแลนด์ ฝรั่งเศส กรีซ ไอร์แลนด์ อิตาลี ลักเซมเบอร์ก มอลต้า เนเธอร์แลนด์ ออสเตรีย โปรตุเกส สวีเดน สเปน สหรัฐราชอาณาจักร และไซปรัส บุคคลสัญชาติดังกล่าวไม่จำเป็นต้องขอใบอนุญาตในการทำงานในสหพันธ์ฯ และสามารถเข้าสู่ตลาดแรงงานเยอรมนีได้โดยไม่มีข้อจำกัดใด ๆ

แต่อย่างไรก็ตาม สิทธิพิเศษดังกล่าวยังสงวนไว้ให้กับประเทศในสหภาพยุโรปรุ่นก่อนเท่านั้น ประเทศสมาชิกใหม่ในสหภาพยุโรป ซึ่งกำลังอยู่ในช่วงเชื่อมต่อและปรับเปลี่ยนระบบต่าง ๆ ในประเทศให้เข้ากับสภาพยุโรป ยังต้องเผชิญกับข้อจำกัดบางประการในการเข้ามาทำงานในสหพันธ์ฯ ประเทศสหภาพยุโรปในกลุ่มนี้ ได้แก่ บัลแกเรีย เอสโตเนีย ลัตเวีย ลิธัวเนีย โปแลนด์ โรมาเนีย สโลวาเกีย สโลวาเนีย เช็ค และฮังการี บุคคลสัญชาติดังกล่าวจะสามารถทำงานในสหพันธ์ฯ ได้ในกรณีที่ดำเนินเรื่องขอใบอนุญาตจากสำนักงาน จัดหางานในส่วนที่ดูแลกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป

เป็นที่คาดการณ์ว่าเมื่อไรก็ตามที่พ้นช่วงการปรับเปลี่ยนเข้าสู่ระบบสหภาพยุโรปแล้ว ประเทศที่เคยมีข้อจำกัดในการเข้าสู่ตลาดแรงงานเยอรมันก็จะได้รับสิทธิพิเศษเหมือนประเทศสหภาพยุโรปรุ่นเก่าและเข้าสู่ตลาดแรงงานเยอรมนีได้โดยเสรี

สำหรับบุคคลที่มาจากประเทศไทยหรือประเทศที่ไม่ได้เป็นสมาชิกสหภาพยุโรป ( European Union) หรือกลุ่มเศรษฐกิจยุโรป (European Economic Area-EEA) หรือบุคคลสัญชาติสวิสเซอร์แลนด์จะต้องเผชิญกับข้อจำกัดต่าง ๆ คือ บุคคลดังกล่าวจะต้องได้รับการอนุญาตให้พำนักอยู่ในสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีเสียก่อน และการพำนักอยู่ในสหพันธ์ฯ นั้นจะต้องเป็นลักษณะที่อนุญาตให้ทำงานเลี้ยงชีพในสหพันธ์ฯ ได้ด้วย

บุคคลสัญชาติออสเตรีย อิสราเอล ญี่ปุ่น แคนาดา เกาหลีใต้ นิวซีแลนด์และสหรัฐอเมริกาสามารถยื่นขอสิทธิการพำนักในสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีเพื่อทำงานได้ภายหลังจากที่เดินทางเข้ามาในสหพันธ์ฯ แล้ว โดยการยื่นเรื่องกับสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองของเยอรมัน ส่วนบุคคลที่มีสัญชาติอื่นจะต้องยื่นเรื่องขอวีซ่าที่เหมาะสมก่อนที่จะเดินทางเข้ามาในสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี

สรุป แรงงานไทยที่สามารถจะทำงานในสหพันธ์ฯ จะต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้

1. มีถิ่นพำนักอยู่ในสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี

2. การพำนักอยู่ในสหพันธ์ฯ จะต้องเป็นลักษณะที่อนุญาตให้ทำงานเลี้ยงชีพในสหพันธ์ฯ ได้ด้วย

3. นักศึกษาที่จบการศึกษาจากสถาบันการศึกษาในสหพันธ์ฯ จะได้รับวีซ่าให้หางานทำในสหพันธ์ฯ 1-2 ปี หลังจากจบการศึกษา

2. สาขาอาชีพเฉพาะที่คนไทยสามารถเดินทางเข้ามาทำงานในสหพันธ์ฯ ได้โดยตรง

2.1. พ่อครัว แม่ครัว
หลักเกณฑ์ในการนำพ่อครัว แม่ครัวเข้ามาทำงานในร้านอาหารไทยในสหพันธ์ฯ ตามระเบียบ พ่อครัว แม่ครัว ต้องมีหลักฐานแสดงการสำเร็จการเรียนหรืออบรมการเป็นพ่อครัว แม่ครัว โดยเฉพาะในร้านอาหารที่ได้รับการรับรองอย่างน้อย 2 ปี สำหรับในบางประเทศที่มีระบบการเรียนหรืออบรมด้านอาชีพแตกต่างออกไป สามารถใช้หลักฐานที่แสดงการทำงานในฐานะพ่อครัว แม่ครัวในร้านอาหารต่างชาติ โดยเฉพาะในประเทศนั้น ๆ เป็นเวลาอย่างน้อย 6 ปี

- ในประเทศไทย พ่อครัว แม่ครัวจะต้องผ่านการสอบคุณสมบัติจากสถาบันใดสถาบันหนึ่งดังต่อไปนี้

1. สถาบันการศึกษาครัวไทย – สวิส (Thai – Swiss Culinary Education Center)
ที่อยู่ 21/848 หมู่ 2 ซอย 4 บางนา-ตราด บางนา กรุงเทพฯ 10260

2. วิทยาลัยดุสิตธานี (Dusit Thani College)
ที่อยู่ 902 หมู่ 6 ต. ศรีนครินทร์ อ. ประเวศ กรุงเทพฯ 10260

3. มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต (Rajabhat Institute Suan Dusit)
ที่อยู่ 295 ถ. ราชสีมา เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300

2.2. พนักงานนวด

- พนักงานนวดจะต้องสำเร็จการศึกษาด้านการนวดแผนไทย ตามกำหนดที่นายจ้างต้องการหรือกำหนดไว้ ซึ่งรวมถึงประสบการณ์ และความสามารถในการใช้ภาษาเยอรมัน หรืออังกฤษด้วย

- นายจ้างจะต้องยื่นเรื่องในการขอพนักงานนวดจากประเทศไทยให้เข้ามาทำงานในสหพันธ์ฯ ที่สำนักงานจัดหางานสหพันธ์ฯ ในเขตพื้นที่ที่ร้านตั้งอยู่เสียก่อน ขั้นตอนและรายละเอียดต่าง ๆ จะขึ้นอยู่กับสำนักงานจัดหางานในแต่ละเขตต่าง ๆ ซึ่งแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่


3. ขั้นตอนต่าง ๆ สำหรับนายจ้างในการนำแรงงานไทยเข้ามาทำงานในสหพันธ์ฯ (พ่อครัว แม่ครัว หรือพนักงานนวด)
3.1. กรณีนายจ้างต้องการให้กรมการจัดหางานในประเทศไทยจัดหาคนงานไทยให้ มีขั้นตอนดังต่อไปนี้

1. นายจ้างต้องเตรียมเอกสารดังต่อไปนี้

1). หนังสือมอบอำนาจ (Power of Atteorney) ให้กรมการจัดหางานหาคนงานและยื่นเรื่องขอวีซ่าให้คนงานดังกล่าว

2). หนังสือแจ้งความต้องการที่จะจ้างแรงงานไทย (Demand Letter) โดยระบุสาขาอาชีพที่ต้องการ ลักษณะงาน จำนวนลูกจ้าง คุณสมบัติต่าง ๆ

3). สำเนาใบทะเบียนการค้าหรือจัดตั้งบริษัท

4). สัญญาการจ้างงานเป็นภาษาอังกฤษ

5). หลักฐานต่าง ๆ เพื่อประกอบการยื่นขอวีซ่าให้แรงงานไทย อาทิ No Objection Certificate

2. นายจ้างยื่นเอกสารตามข้อ 1 ให้สำนักงานแรงงานประจำสถานเอกอัครราชทูต หรือสถานกงสุลในต่างประเทศ เพื่อส่งเรื่องต่อให้กับกรมการจัดหางานในประเทศไทย

3.2. กรณีนายจ้างได้คัดเลือกแรงงานไทยที่จะนำเข้ามาทำงานในสหพันธ์ฯ แล้ว มีขั้นตอนดังต่อไปนี้

1. นายจ้างจะต้องแปลสัญญาจ้างภาษาเยอรมัน หรืออังกฤษ เป็นภาษาไทยโดยล่ามที่ได้รับใบอนุญาตอย่างถูกต้อง

2. นายจ้างและลูกจ้างจะต้องลงนามในสัญญาจ้างทั้งฉบับภาษาเยอรมันหรืออังกฤษและภาษาไทยหลังจากแปลแล้ว

3. นายจ้างส่งใบสัญญาจ้างฉบับจริง ทั้งภาษาเยอรมันหรืออังกฤษ และภาษาไทย พร้อมทั้งสำเนาการจัดตั้งร้านอาหารหรือการจดทะเบียนการค้ามาให้ฝ่ายแรงงาน สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเบอร์ลินตรวจสอบ

ที่อยู่ฝ่ายแรงงาน ประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเบอร์ลิน ดังนี้

Office of Labour Affairs
Royal Thai Embassy
Lepsiusstr. 64-66
12163 Berlin
โทร. + 49 30 79481231 – 2
โทรสาร. + 49 30 79481518


4. เมื่อฝ่ายแรงงานฯ ตรวจสอบเอกสารเรียบร้อยแล้ว ฝ่ายแรงงานฯ จะประทับตรารับรองให้ในสัญญาจ้าง และส่งต่อให้นายจ้าง เพื่อให้นายจ้างส่งกลับไปให้ลูกจ้างในประเทศไทย เพื่อถือติดตัวในการเดินทางมายังสหพันธ์ฯ

นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่กระทรวงแรงงาน ณ ท่าอากาศยานในประเทศไทยจะตรวจสอบเอกสารต่าง ๆ ในการทำงานของลูกจ้าง หากไม่มีการรับรองจากฝ่ายแรงงานหรือสถานเอกอัครราชทูตหรือ สถานกงสุลในต่างประเทศ ลูกจ้างอาจไม่สามารถเดินทางออกจากประเทศไทยได้

การตรวจสอบและรับรองเอกสารของฝ่ายแรงงาน ฯ จะไม่เสียค่าธรรมเนียมในการประทับตราหนังสือรับรองใด ๆ ทั้งสิ้น

ทั้งนี้ นายจ้างและลูกจ้างจะต้องเป็นผู้ดำเนินการและจัดเตรียมเอกสารต่าง ๆ ในการยื่นขอวีซ่าเข้ามาทำงานในสหพันธ์ฯ เอง ฝ่ายแรงงานฯ จะไม่มีส่วนเกี่ยวข้องในการยื่นเรื่องขอหรือการอนุญาตให้หรือไม่ให้วีซ่าของสถานเอกอัครราชทูตเยอรมันในประเทศไทยแต่อย่างใด

ทั้งนี้ เพื่อให้การตรวจสอบและรับรองสัญญาจ้างงานเป็นไปด้วยความรวดเร็ว และเรียบร้อย นายจ้างสามารถส่งตัวอย่างสัญญาจ้างที่เตรียมไว้และแปลเป็นภาษาไทยเรียบร้อยแล้วให้ฝ่ายแรงงานฯตรวจสอบในชั้นแรกก่อนได้ทางโทรสารที่หมายเลข + 49 30 79481518 หรือติดต่อสอบถามทางโทรศัพท์ได้ก่อนที่หมายเลข + 49 30 79481231-2


ที่มา: เว็บไซต์สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเบอร์ลิน http://www.thaiembassy.de/th/component/content/article/40-announcements/233-alias

การไปทำงานนวดแผนไทยในสโลวัก


การไปทำงานนวดแผนไทยในสโลวัก


ปัจจุบัน มีแนวโน้มที่หญิงไทยสนใจจะมาทำงานเป็นพนักงานนวดแผนโบราณในโรงแรม และสปาในประเทศสโลวัก ซึ่งเป็นหนึ่งในประเทศยุโรปตะวันออกเพิ่มมากขึ้น สาเหตุสำคัญเนื่องจากเหตุผลทางเศรษฐกิจ หลายคนได้รับการชักชวนจากบรรดาหญิงไทยที่ปัจจุบันทำงานเป็นพนักงานนวดในสโลวักอยู่แล้ว บางส่วนทราบข่าวจากโรงเรียนสอนนวดแผนไทย อาทิ วัดโพธิ์ และโรงเรียนสอนนวดตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการทั่วไป โดยเมื่อกลุ่มหญิงไทยเหล่านี้เข้าไปเรียนในสถาบันดังกล่าว จะมีนายหน้าเข้าไปชักชวนให้เดินทางมาทำงานในสโลวัก โดยเสนอเงินเดือนเป็นสิ่งล่อใจ และมีบางส่วนที่ทราบข่าวจากการประกาศลงโฆษณา โดยมีตัวแทนของบริษัทผู้ประกอบการในสโลวักที่ทำงานอื่นในประเทศไทยเป็นผู้ดำเนินเรื่องในการเดินทางให้

ในการเดินทางไปทำงานในสโลวักเพื่อเป็นพนักงานนวดนี้ แตกต่างจากการไปทำงานต่างประเทศของแรงงานไทยในประเทศอื่นๆ เช่น ไต้หวัน หรือ เกาหลีใต้ ที่ดำเนินการผ่านบริษัทจัดหางาน ที่คนงานอาจต้องจ่ายค่าบริการให้แก่บริษัทจัดหางานเหล่านั้นก่อนเดินทาง แต่ในกรณีของสโลวัก จะดำเนิน การในลักษณะการทำสัญญาจ้างงานโดยตรงระหว่างแรงงานไทยกับนายจ้างหรือบริษัผู้ประกอบการ ไม่ผ่านบริษัทจัดหางาน โดยนายจ้างหรือผู้ประกอบการในสโลวักจะเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายบัตรโดยสารเครื่องบิน ค่าวีซ่า ค่าดำเนินการเอกสาร ฯลฯ และนายจ้างหรือผู้ประกอบการจะให้แรงงานไทยเหล่านี้ลงชื่อในสัญญาจ้างงาน ซึ่งส่วนใหญ่จะมีข้อความที่เป็นมาตรฐาน ไม่ขัดกับกฎหมายแรงงานสโลวัก อาทิ กำหนดชั่วโมงการทำงาน ไม่เกิน 40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ นายจ้างเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไป-กลับ นายจ้างรับผิดชอบเรื่องที่พัก อาหาร การเดินทาง บัตรโดยสารเครื่องบินไป-กลับเมืองไทยเมื่อทำงานครบ 1 ปี และแรงงานไทยเหล่านี้จะยอมลงนามในสัญญาฯ โดยไม่ต่อรองหรือเรียกร้องสิทธิประโยชน์ใดๆ ทั้งสิ้น แม้ว่าบางสัญญาฯ จะมีข้อความบางส่วนที่ไม่มีการแจกแจงรายละเอียด และมีนัยเป็นการเอาเปรียบแรงงาน โดยมีความหวังว่าจะได้มาทำงานต่างประเทศ ได้รับค่าตอบแทนสูง ตามที่ระบุในสัญญาจ้างงาน ซึ่งมีการระบุอัตราการจ้างงานแตกต่างกันไประหว่าง 500-700 ยูโรต่อเดือน ทั้งนี้ สัญญาจ้างงานส่วนใหญ่จะทำเป็นภาษาสโลวักโดยมีคำแปลภาษาอังกฤษกำกับ

แรงงานไทยหลายรายโชคดีที่นายจ้างยินยอมปฏิบัติตามสัญญาจ้างงาน แต่ก็มีหลายรายที่ถูกเอาเปรียบแรงงาน เท่าที่สถานเอกอัครราชทูตฯ ได้รับการร้องเรียน คือ นายจ้างใช้ให้ทำงานตั้งแต่วันแรกที่เดินทางถึงที่พัก ต้องทำงานเกินกว่าสัปดาห์ละ 40 ชั่วโมง ไม่มีวันหยุด เงินเดือนได้รับไม่ตรงตามที่ระบุในสัญญา โดยนายจ้างอ้างว่าหักเป็นค่าใช้จ่ายที่นายจ้างได้จ่ายให้ล่วงหน้าเป็นค่าบัตรโดยสารเครื่องบิน ค่าวีซ่า ค่าดำเนินเรื่องและค่าเอกสาร ค่าประกันสังคม ประกันสุขภาพ โดยนายจ้างไม่แจกแจงรายละเอียดการทำงาน การทำงานล่วงเวลา แต่เหมาจ่ายเป็นรายเดือน สำหรับเงินเดือนที่ได้รับ หญิงไทยเหล่านี้ต้องเจียดเป็นค่าอาหาร เนื่องจากไม่สามารถรับประทานอาหารที่นายจ้างจัดหาได้ และ อาหารที่ซื้อเป็นอาหารและเครื่องปรุงไทยที่มีราคาสูงมากตามอัตราค่าครองชีพ อาทิ ข้าวสาร 18 กิโลกรัม ราคา 40 ยูโร หรือประมาณ 1,720 บาท น้าปลาขวดละ 2 ยูโร จึงทำให้หญิงไทยเหล่านี้แทบไม่เหลือเงินเก็บเพื่อส่งกลับให้ครอบครัวในประเทศไทยเลย และไม่กล้าที่จะบอกครอบครัวทางเมืองไทยถึงความยาก ลำบากในการดำรงชีวิตในต่างแดน ทั้งสภาพอากาศที่หนาวเย็น อุปสรรคในด้านภาษา ปัญหากับนายจ้าง และเพื่อนร่วมงาน บางคนหาทางออกโดยการเสพสุราและของมึนเมา

นอกจากนี้ โดยที่สถานที่ทำงานของพนักงานนวดเหล่านี้มักเป็นโรงแรมหรือสปาที่ตั้งอยู่ในเขตที่มีน้าพุร้อนหรือโคลนร้อน ซึ่งเป็นสถานที่พักผ่อนที่มีชื่อเสียงของคนในยุโรป ดังนั้น พนักงานนวดที่ต้องแยกย้ายกันไปท างานในสาขาต่างๆ ของกลุ่มธุรกิจสปาเหล่านี้ หลายคนต้องอยู่คนเดียวในสถานที่ห่างไกลจากเมือง หาซื้อของลำบาก งานหนัก ไม่มีเพื่อนคุยผ่อนคลาย ทำให้เกิดความเครียดและกดดันสูง นอกจากนี้ การที่ต้องทำงานหนัก เนื่องจากมีพนักงานนวดน้อย ทำให้พนักงานบางคนเกิดการอักเสบที่กล้ามเนื้อมือและแขน ซึ่งบางครั้งนายจ้างก็ดูแล แต่คนที่โชคไม่ดีก็ต้องทนทำงานต่อไป และโดยที่ผู้มาใช้บริการส่วนใหญ่เป็นชาวตะวันตกที่มีรูปร่างใหญ่ และต้องการให้ลงน้าหนักนวดแรง ท าให้พนักงานนวดต้องใช้แรงมากขึ้น เนื่องจากลูกค้าเหล่านี้มักเรียกร้องให้ทำตามที่ตนต้องการ และนายจ้างก็จะออกกฎอย่างเคร่งครัดให้พนักงานต้องทำตามความประสงค์ของลูกค้า

ดังนั้น เพื่อเป็นการเตรียมตัวให้พร้อมก่อนมาทำงาน สถานเอกอัครราชทูตฯ ขอแนะนำให้แรงงานไทยทุกคนศึกษาข้อมูลด้านล่าง ดังนี้

ข้อควรรู้สำหรับแรงงานไทยที่ประสงค์จะมาทำงานนวดแผนไทยในสโลวัก

1. ในการเดินทางออกมาทำงานที่สโลวัก เจ้าหน้าที่กระทรวงแรงงานที่ประจำที่สนามบินสุวรรณภูมิจะตรวจสอบเอกสารของแรงงานไทยว่า มีสัญญาจ้างงานที่สถานเอกอัครราชทูตฯ ได้ประทับตรารับรองแล้วหรือยัง หากยัง เจ้าหน้าที่จะไม่อนุญาตให้แรงงานไทยเดินทางออกนอกประเทศ ดังนั้น แรงงานไทยจะต้องดำเนินการเรื่องเอกสารให้สมบูรณ์ก่อน จึงจะสามารถเดินทางมาทำงานที่สโลวักได้อย่างถูกต้อง

2. แรงงานไทยต้องตรวจสอบรายละเอียดในสัญญาจ้างงานให้ถี่ถ้วน (ดูแนวทางการรับรองสัญญาจ้างงานใน website ของสถานเอกอัครราชทูตฯ : http://www.thaiembassy.at/ ) โดยเฉพาะในประเด็นการทำงานและสิทธิประโยชน์ของตนเอง ได้แก่ เงินเดือน ชั่วโมงการทำงานต่อสัปดาห์ ค่าตอบ แทนการทำงานล่วงเวลา วันหยุดประจำสัปดาห์ เวลาหยุดพักระหว่างวัน ที่พัก อาหาร การจ่ายเงินประกันสังคม ประกันสุขภาพ วันหยุดประจำปี การยุติสัญญาจ้างงาน เงินชดเชยกรณีลูกจ้างละเมิดสัญญาจ้างงาน ฯลฯ ไม่ควรหลงเชื่อบุคคลที่มาชักชวนให้มาทำงานที่มักอ้างว่า ให้ลงนามในสัญญาฯ ไปก่อน เนื่องจากเมื่อเกิดการเอาเปรียบแรงงานและมีการฟ้องร้องขึ้น นายจ้างจะยึดเอาสัญญาจ้างงานที่แรงงานไทยได้ลงลายมือชื่อเป็นลายลักษณ์อักษรเป็นหลักฐานประกอบในการต่อสู้คดี

3. ในการลงนามในสัญญาจ้างงาน นอกเหนือจากการลงลายมือชื่อในตอนท้ายของสัญญาฯ แรงงานไทยควรลงลายมือชื่อกำกับด้านล่างของสัญญาทุกหน้า เนื่องจากปัจจุบัน มีการตรวจพบว่า นายจ้างบางรายได้แก้ไขตัวเลขในสัญญาฯ บางข้อ อาทิ ระยะเวลาจ้างงานจาก 1 ปี เป็น 2 ปี

4. ในการลงนามในสัญญาจ้างงาน ขอให้แรงงานไทยเป็นผู้ลงนามเอง หากมีการตรวจพบว่า แรงงานไทยได้ให้ผู้อื่นปลอมลายมือชื่อลงนามในสัญญาจ้างงานให้ สถานเอกอัครราชทูตฯ จะถือว่า บุคคลผู้นั้นได้ยื่นเอกสารเท็จต่อเจ้าพนักงาน สถานเอกอัครราชทูตฯ จะไม่รับรองเอกสารการจ้างงานฯ ดังกล่าว และจะบันทึกรายชื่อทั้งบุคคลที่ปลอมแปลงลายมือชื่อ และบุคคลที่ยินยอมให้ผู้อื่นปลอมแปลงลายมือชื่อของตนแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป

5. เตรียมความพร้อมในด้านภาษาพื้นฐาน (ภาษาอังกฤษ หรือ ภาษาท้องถิ่น) สุขภาพกาย และสุขภาพจิต เนื่องจากการมาทำงานในต่างแดน ต้องเผชิญความกดดันในการปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมใหม่ การดำรงชีวิต อาหาร และอุปสรรคในด้านภาษา

6. ควรสมัครเป็นสมาชิกกองทุนเพื่อช่วยเหลือคนหางานไปทำงานในต่างประเทศที่กระทรวงแรงงาน เพื่อสิทธิประโยชน์และความคุ้มครองจากเงินกองทุนฯ ตามบทบัญญัติระเบียบกระทรวง แรงงานว่าด้วยการบริหารกองทุนเพื่อช่วยเหลือคนหางานไปท างานในต่างประเทศ พ.ศ. 2549

7. กรณีเข้าทำงานแล้ว หากนายจ้างเรียกร้องให้ลงนามในสัญญาจ้างงานใหม่ แรงงานไทยจะต้องตรวจสอบรายละเอียดในสัญญาจ้างงานให้รอบคอบ และพึงระลึกเสมอว่า สัญญาฯ ที่นายจ้างให้ลงนามใหม่ส่วนใหญ่จะมีข้อความที่แตกต่างจากสัญญาฯ ฉบับเดิม และมีการเอาเปรียบแรงงาน ดังนั้น จึงไม่ควรที่จะลงนามใดๆ ในสัญญาฯ อื่นๆ อีก โดยต้องยืนยันกับนายจ้างว่า สัญญาฯ ฉบับเดิมยังคงมีผลใช้บังคับอยู่

8. เมื่อเข้ามาทำงานในสโลวักแล้ว พึงระลึกไว้เสมอว่า หากวีซ่าการทำงานขาดหรือหมดอายุ หมายถึงว่า สิทธิในการพำนักในสโลวักได้สิ้นสุดลงเช่นกัน การที่แรงงานไทยจะเปลี่ยนงานจากบริษัทหนึ่งไปยังอีกบริษัทหนึ่ง โดยไม่แจ้งนายจ้างเก่า นายจ้างเก่ามีสิทธิที่จะยกเลิกวีซ่าเดิม ซึ่งหมายความว่า แรงงานไทยพำนักอยู่ในสโลวักอย่างผิดกฎหมาย และเจ้าหน้าที่ตำรวจมีสิทธิจับกุมในฐานะผู้พำนักอยู่ในประเทศอย่างผิดกฎหมาย (ปัจจุบัน นายจ้างหลายรายได้ใช้วิธีลัด โดยไม่ต้องการเสียค่าใช้จ่ายสำหรับบัตรโดยสารเครื่องบิน และค่าดำเนินเอกสาร จึงเสนอเงินเดือนให้ในอัตราที่สูงกว่านายจ้างเก่า ซึ่งแรงงานไทยบางคนเลือกไปทำงานกับนายจ้างใหม่ด้วยแรงจูงใจดังกล่าว โดยไม่ปฏิบัติตามกฎหมายท้องถิ่นที่กำหนดให้แจ้งนายจ้างเก่าทราบล่วงหน้าก่อน 2 เดือน หรือตามระยะเวลาที่ระบุในสัญญาฯ ซึ่งทำให้เกิดการฟ้องร้องดำเนินคดี และนายจ้างเก่าแจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจให้จับกุมแรงงานไทยดังกล่าว)

9. กรณีแรงงานไทยกระทำการใดๆ โดยพลการ โดยเฉพาะในข้อ 8 ข้างต้น ซึ่งเป็นการขัดกับสัญญาจ้างงานฯ และมาเรียกร้องให้สถานเอกอัครราชทูตฯ ให้ความช่วยเหลือภายหลังนั้น สถานเอกอัครราชทูตฯ ไม่อยู่ในฐานะที่จะดำเนินการใดๆ ได้ ดังนั้น จึงควรหารือเจ้าหน้าที่สถานทูตฯ ในเบื้องต้นก่อน เพื่อป้องกันปัญหาการฟ้องร้องจากนายจ้างที่จะเกิดตามมา


สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเวียนนา
กุมภาพันธ์ 2554

ที่มา: เว็บไซต์สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเวียนนา การมาทำงานนวดแผนไทยในสโลวัก http://www.thaiembassy.at/images/stories/embassy/pdf/2011%20Thai%20Massage%20Slovak.pdf 

เอกอัครราชทูต ณ กรุงเวียนนา ร่วมงานแถลงข่าวเทศกาลอาหารไทย “Vorhang auf fur thailandische Gerichte!“




เอกอัครราชทูต ณ กรุงเวียนนา ร่วมงานแถลงข่าวเทศกาลอาหารไทย “Vorhang auf fur thailandische Gerichte!“



เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2554 เอกอัครราชทูต ณ กรุงเวียนนา นางนงนุช เพ็ชรรัตน์ ได้ไปร่วมงานแถลงข่าวเทศกาลอาหารไทย “Vorhang auf fur thailandische Gerichte!“ (Curtain up for the Thai food) ที่โรงแรม Goldener Stern เมือง Gmund รัฐ Lower Austria

การแถลงข่าวมีขึ้นในโอกาสที่โรงแรมดังกล่าวจัดเทศกาลอาหารไทย โดยมีผู้สื่อข่าวท้องถิ่นรวมทั้งสถานีโทรทัศน์แห่งชาติ ORF รัฐ Upper Austria ไปทำข่าวด้วย ในช่วงการแถลงข่าวโดย เอกอัครราชทูตฯ ได้กล่าวแนะนำอาหารไทย ทั้งนี้ สถานีโทรทัศน์แห่งชาติ ORF รัฐ Lower Austria ได้ออกอากาศการแถลงข่าว ดังกล่าวเมื่อวันที่ 22 มีนาคม 54 เวลา 19.30 น. ในรายการ Niederösterreich Heute (Lower Austria Today) ช่วง Tasteful Culinary

เทศกาลอาหารไทยนี้มีขึ้นระหว่างวันที่ 15-31 มีนาคม 54 โดยมีอาหารไทยบริการ อาทิ ซุปหน่อไม้ ผัดไทย ข้าวเหนียวมะม่วง

โรงแรม Goldener Stern (Golden Star) มีความร่วมมือกับโรงแรมแมนดาริน- โอเรียนเต็ล กรุงเทพฯ ด้วยการประสานงานของ ดร. Johanes Peterlik ออท. ออสเตรีย ประจำ ปทท. โดยนาย Siefgfried Klein เชฟของโรงแรม Goldener Stern ได้เดินทางไป ปทท. เพื่อทำอาหารออสเตรียในเทศกาลอาหารออสเตรียนที่โรงแรมแมนดารินโอเรียนเต็ล ในช่วงสองสัปดาห์แรกของเดือนมีนาคม ศกนี้ และเมื่อเดินทางกลับมายังออสเตรียก็ได้มีการจัดเทศกาลอาหารไทยที่โรงแรมแห่งนี้ พร้อมด้วยพ่อครัวคนไทย

การติดตามสถานการณ์แผ่นดินไหวในญี่ปุ่น (27 มีนาคม 2554)


การติดตามสถานการณ์แผ่นดินไหวในญี่ปุ่น (27 มีนาคม 2554)สถานะ ณ เวลา 20.00 น. วันเสาร์ที่ 27 มีนาคม 2554


1. สถานการณ์ในญี่ปุ่น

1.1 สถิติ ผู้เสียชีวิตล่าสุดรวม 10,668 คน สูญหาย 16,574คน (จากรายงานของสำนักงานตำรวจแห่งชาติญี่ปุ่น ณ วันที่ 27 มี.ค. 2554 เวลา 16.00 น. เวลาประเทศไทย)

1.2 ระบบสาธารณูปโภค

กระทรวงสาธารณสุขและแรงงานของญี่ปุ่นรายงานเมื่อวันที่ 27 มี.ค. 2554 ว่าประชาชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออกของญี่ปุ่นประมาณ 4.9 แสนครัวเรือนยังคงประสบปัญหาไม่มีน้ำประปาใช้อย่างต่อเนื่อง โดยเป็นประชาชนใน จ.มิยากิ จำนวน 3.3 แสนครัวเรือน จ.ฟุคุชิมะ จำนวน 5 หมื่นครัวเรือน จ.อิวาเตะ จำนวน 5 หมื่นครัวเรือน จ.อิบารากิ จำนวน 5 หมื่นครัวเรือน จ.ชิบะจำนวน 1 หมื่นครัวเรือน ทำให้ทางการญี่ปุ่นจำเป็นต้องใช้รถบรรทุกน้ำดื่มแจกจ่ายแก่ประชาชน 347 คัน

1.3 รายงานสถานการณ์โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุคุชิมะที่ 1

1.3.1 วันที่ 27 มี.ค. 2554 ผลการตรวจวัดระดับกัมมันตภาพรังสีในจังหวัดฟุคุชิมะและจังหวัดใกล้เคียง พบว่าแม้จะยังมีค่าสูงกว่าค่าปกติแต่ก็มีแนวโน้มลดลงตามลำดับ

1.3.2 ผลการตรวจวัดระดับสารกัมมันตรังสีปนเปื้อนในน้ำทะเลบริเวณใกล้กับปากท่อระบายน้ำของโรงไฟฟ้าเมื่อวันที่ 26 มี.ค. 2554 พบว่ามีไอโอดีน-131 ปนเปื้อนอยู่มากกว่าค่ามาตรฐานปกติถึง 1850.5 เท่า ซีเซียม-134 196.7 เท่า ซึ่งบริษัทการไฟฟ้าโตเกียวกำลังตรวจสอบหาสาเหตุและเส้นทางการรั่วไหลของสารกัมมันตรังสีดังกล่าวอยู่

1.3.3 บริษัทการไฟฟ้าโตเกียวตรวจพบว่า น้ำที่ขังอยู่บริเวณเตาปฏิกรณ์หมายเลข 2 มีสารกัมมันตรังสีปนเปื้อนอยู่สูงกว่าน้ำในเตาถึง 10 ล้านเท่า ซึ่งสาเหตุเป็นที่คาดการณ์ว่าเนื่องมาจากความเสียหายที่เกิดขึ้นบริเวณ suppression pool ทำให้เกิดการรั่วไหลดังกล่าว

1.3.4 บริษัทการไฟฟ้าโตเกียวได้ฉีดน้ำเพื่อควบคุมอุณหภูมิของเตาปฏิกรณ์ที่มีปัญหาอย่างต่อเนื่อง แต่ได้เปลี่ยนจากน้ำทะเลมาเป็นน้ำจืดแทน เนื่องจากเกรงว่าตะกอนเกลือจะไปขัดขวางระบบการไหลเวียนของเตา ทั้งนี้ เตาที่ 1, 2 และ 3 ได้เปลี่ยนมาเป็นการฉีดน้ำจืดเรียบร้อยแล้วตั้งแต่วันที่ 26 มี.ค. 2554 และมีแผนที่จะเปลี่ยนเป็นการฉีดน้ำจืดบริเวณส่วนที่เก็บเชื้อเพลิงใช้แล้วของเตา 2, 3 และ 4 ในวันนี้ (27 มี.ค. 2554)

1.3 การอพยพคนและปฏิกิริยาจากต่างชาติ

1.3.1 ณ วันที่ 26 มี.ค. 2554 ได้มี สอท. ของประเทศต่าง ๆ ในกรุงโตเกียว รวมทั้งสิ้น 18 ประเทศ ประกาศปิดทำการชั่วคราว และสอท. ของอีก 11 ประเทศ ย้ายที่ทำการไปยังภาคตะวันตกของญี่ปุ่น อาทิ นครโอซากา เมืองโกเบ เมืองฮิโรชิมา และเมืองฟุคุโอกะ

1.3.2 ประเทศต่าง ๆ จำนวน 20 ประเทศออกคำแนะนำการเดินทาง (Travel Advisory) ไปญี่ปุ่น รวมไปถึงมาตรการในการอพยพพลเมืองของประเทศเหล่านั้น

1.3.3 หลายประเทศ อาทิ รัสเซีย ฮ่องกง สหรัฐฯ สิงคโปร์ ไต้หวัน ออสเตรเลีย สหภาพยุโรป ได้ประกาศมาตรการตรวจสอบ/ห้ามนำเข้าสินค้าบริโภคประเภทต่าง ๆ จากญี่ปุ่น อาทิ ออสเตรเลียประกาศกักสินค้าประเภทนม ผลิตภัณฑ์จากนม ผักผลไม้สด สาหร่ายทะเล อาหารทะเลทั้งสดและแช่แข็ง ที่มีแหล่งผลิตในจังหวัดฟุคุชิมะ อิบารากิ โทจิกิ และกุนมะ สิงคโปร์ประกาศว่า จากการสุ่มตรวจ 161 ตัวอย่าง ได้ตรวจพบการปนเปื้อนรังสีใน 4 ตัวอย่างสินค้าอาหารนำเข้าจากญี่ปุ่น


2. การดำเนินการของไทย

2.1 การปรับยุทธศาสตร์การบินเส้นทางสุวรรณภูมิ – นาริตะ ของบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เมื่อวันที่ 25 มี.ค. 2554 บ. การบินไทยฯ ได้จัดการประชุมภายในเพื่อทบทวนยุทธศาสตร์การบินเส้นทางสุวรรณภูมิ – นาริตะ สรุปผลได้ดังนี้

- ยกเลิกเที่ยวบิน TG640/BKK-NRT ระหว่าง 27 มี.ค. – 25 เม.ย. 2554 และเที่ยวบิน TG641/NRT – BKK ระหว่าง 28 มี.ค. – 26 เม.ย. 2554

- เที่ยวบิน TG642/BKK-NRT วันจันทร์ อังคาร พฤหัสบดี เสาร์ อาทิตย์ ระหว่าง 27 มี.ค. – 25 เม.ย. 2554 และ TG643/NRT-BKK วันจันทร์ อังคาร พุธ ศุกร์ อาทิตย์ ระหว่าง 28 มี.ค. – 26 เม.ย. 2554 เปลี่ยนแบบเครื่องบินจาก 747 เป็น 777 – 200

- เที่ยวบิน TG642/BKK-NRT วันพุธ วันศุกร์ ระหว่าง 30 มี.ค. – 22 เม.ย. 2554 และ TG671 วันพฤหัสบดี วันเสาร์ ระหว่าง 31 มี.ค. – 23 เม.ย. 2554 เปลี่ยนแบบเครื่องบินจาก 747 เป็น 777 – 200 และปรับเปลี่ยนเส้นทาง
บิน TG671/NRT – BKK เป็น NRT – HKT – BKK เวลาบิน NRT: 12.00 BKK: 16.30

ทั้งนี้ สาเหตุที่ได้ตัดสินใจยกเลิกเที่ยวบินและปรับขนาดเที่ยวบินสุวรรณภูมิ – นาริตะ และนาริตะ – สุวรรณภูมิ ดังกล่าว เนื่องจากจำนวนผู้ใช้บริการสายการบินมีน้อย (ณ วันที่ 25 มี.ค. 2554 จำนวนผู้ใช้บริการเที่ยวบินสุวรรณภูมิ – นาริตะ อยู่ที่ร้อยละ 34.14 จำนวนผู้ใช้บริการเที่ยวบินนาริตะ – สุวรรณภูมิ อยู่ที่ร้อยละ 52.71)

2.2 การให้ความช่วยเหลือของไทยต่อญี่ปุ่น

- ยอดเงินบริจาคผ่านบัญชี “เงินบริจาคช่วยเหลือผู้ประสบภัยญี่ปุ่น” ณ วันที่ 25 มีนาคม 2554 อยู่ที่ 109,094,096.42 บาท

2.3 สถิติคนไทย

- จำนวนคนไทยในญี่ปุ่น 40,957 คน (ข้อมูลของ สนง. ตรวจคนเข้าเมืองญี่ปุ่น) โดยเป็นคนไทยที่พำนักในพื้นที่เสี่ยงต่อกัมมันตรังสี 11 จังหวัด (ฮอกไกโด อะโอโมริ อิวาเตะ มิยาหงิ ฟุคุชิมะ อิบารากิ โทชิหงิ ชิบะ โตเกียว กุมมะ คาโงชิมา) 19,547 คน และคนไทยในพื้นที่เสี่ยงสูงต่อกัมมันตรังสี 3 จังหวัด (อิวาเตะ มิยาหงิ ฟุคุชิมะ) จำนวน 488 คน

- จำนวนนักเรียนไทยในญี่ปุ่น 2,429 คน (ข้อมูล สนง. ผู้ดูแลนักเรียนไทย) ล่าสุดติดต่อได้ 567 คน

- จำนวนแรงงานไทยในญี่ปุ่น ประมาณ 19,541 คน (เป็นแรงงานถูกกฎหมาย 13,541 คน แรงงานผิดกฎหมายประมาณ 6,000 คน) ล่าสุดติดต่อแรงงานถูกกฎหมายได้ 6,841 คน

- จำนวนคนไทยที่เดินทางกลับ ปทท. ระหว่างวันที่ 12 – 25 มี.ค. 2554 อยู่ที่ 10,632 คน (ข้อมูลศูนย์เทคโนโลยีตรวจคนเข้าเมือง) เพิ่มขึ้นจากวันที่ 24 มี.ค. 2554 จำนวน 701 คน


3. ความช่วยเหลือจากต่างประเทศ

รัฐบาลญี่ปุ่นสรุปยอดประเทศที่เสนอให้ความช่วยเหลือมีจำนวน 133 ประเทศ และองค์กรระหว่างประเทศ 39 แห่ง ซึ่งมีทั้งในรูปแบบเงินบริจาค ของบริจาค และผู้เชี่ยวชาญ

นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศมอบสิ่งของพระราชทานแก่ผู้ประสบภัยชาวญี่ปุ่น


นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศมอบสิ่งของพระราชทานแก่ผู้ประสบภัยชาวญี่ปุ่น
เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2554 นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และนายสิงห์ทอง ลาภพิเศษพันธุ์ อัครราชทูต สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโตเกียวนำสิ่งของพระราชทานจากพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา มูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภา) ยามยาก สภากาชาดไทยไปมอบให้ผู้ประสบภัยจากแผ่นดินไหวและทซึนามิที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศญี่ปุ่น โดยมีนายทะเคะชิ ฮะมะโนะ ผู้อำนวยการเขตชินะงะวะ กรุงโตเกียว เป็นผู้รับมอบ ทั้งนี้ เขตชินะงะวะจะนำสิ่งของพระราชทานฯ ไปแจกจ่ายให้กับผู้ประสบภัยที่อยู่ในเขตมิยะโกะ จ. อิวะเตะ เนื่องจากเขตชินะงะวะและเขตมิยะโกะมีข้อตกกลงและความร่วมมือด้านการบรรเทาสาธารณะภัยร่วมกัน

ที่มา: เว็บไซต์ สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโตเกียว http://www.thaiembassy.jp/rte3/index.php?option=com_content&view=article&id=1076&catid=41&Itemid=93

วันอาทิตย์ที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2554

การบรรยายสรุปโดยกต.ญี่ปุ่น เรื่องสถานการณ์โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ จ. ฟุคุชิมะ (วันที่ 25 มีนาคม 2554)


การบรรยายสรุปโดยกต.ญี่ปุ่น เรื่องสถานการณ์โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ จ. ฟุคุชิมะ (วันที่ 25 มีนาคม 2554)
Written by Administrator

25 March 2011


เมื่อวันที่ 25 มี.ค. 2554 กระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่นได้จัดการบรรยายสรุปสถานการณ์ล่าสุดของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ จ. ฟุคุชิมะ เพิ่มเติม สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้

•กระทรวงสาธารณสุขญี่ปุ่นมีประกาศเมื่อวันที่ 23 มี.ค. 54 เตือนให้ประชาชนในหมู่บ้าน Tokai-mura และในเมือง Hitachiota ใน จ. อิบาราคิ หลีกเลี่ยงการให้ทารกดื่มน้ำประปา และว่าล่าสุดในวันที่ 25 มี.ค. 54 ได้เพิ่มคำเตือนลักษณะเดียวกันในอีก 3 เมืองใน จ. อิบาราคิด้วยเช่นกัน

•ผลการตรวจล่าสุดของการปนเปื้อนสารกัมมันตรังสีในน้ำประปาที่โรงกรองน้ำ Kanamachi ในกรุงโตเกียวในวันที่ 25 มี.ค. 54 สามารถวัดค่าได้ 51 Bq/ลิตร ซึ่งถือว่าปลอดภัยสำหรับทารก อย่างไรก็ตามยังแนะนำให้หลีกเลี่ยงการให้ทารกบริโภคน้ำประปาในเขตที่มีคำเตือนไปอีก 1-2 วัน

•ยังไม่มีประกาศคำเตือนเพิ่มเติมเกี่ยวกับการจำหน่ายและบริโภคอาหารจากที่ได้ประกาศไปแล้วก่อนหน้านี้ นอกจากนี้ยังชี้แจ้งว่าการชำระล้างผักก่อนตรวจค่ารังสีนั้นเป็นมาตรฐานปฏิบัติสากล โดยตาม CODEX แล้วเกณฑ์ความปลอดภัยของรังสีในอาหารสำหรับการบริโภคของมนุษย์อยู่ที่ 1,000 Bq/kg

•สารกัมมันตรังสีจะไม่มีการสะสมในปลา เนื่องจากปลาจะมีการถ่ายเทของเหลวกับน้ำทะเลโดยรอบอยู่ตลอดเวลา เมื่อวันที่ 24 มี.ค. 54 ทางการ จ. จิบะได้ตรวจรังสีในปล 4 ชนิด โดยมีเพียงตัวอย่างเดียวที่ตรวจพบ Cs-137 จำนวน 3 Bq/kg ซึ่งถือว่าต่ำมากเมื่อเทียบกับมาตรฐานที่ 500 Bq/kg ดังนั้นจึงสามารถรับประทานได้อย่างปลอดภัย

•หลังจากที่มีฝนตกต่อเนื่องทำให้ค่ารังสีบริเวณกรุงโตเกียวเพิ่มสูงขึ้นจากเดิมที่คงตัวประมาณ 0.05 ไมโครซีเวิร์ต/ชม. เป็นเกิน 0.1 ไมโครซีเวิร์ต/ชม. ซึ่งยังเป็นระดับที่ต่ำและปลอดภัย และมีแนวโน้มลดลง

•บริเวณรอบๆ โรงไฟฟ้า Dai-Ichi ปรากฏว่ารังสีมีแนวโน้มลดลงเช่นกัน ส่วนการสำรวจการปนเปื้อนในทะเลบริเวณนอกฝั่ง จ. ฟุคุชิมะ ผลล่าสุดที่ได้มาในวันที่ 25 มี.ค. 54 นี้ก็แสดงว่าค่าการปนเปื้อนต่ำลงกว่าเดิมเช่นกัน

•ค่ารังสีที่สะสมบนพื้นดิน (fallout ) ที่ในช่วงที่ผ่านมาในโตเกียวอยู่ที่ 36,000 MBq/ตร.กม. แต่เมื่อเทียบกับระดับปลอดภัยที่ใช้ในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ซึ่งอยู่ที่ 4 Bq/ตร.ซม. หรือ 40,000 MBq/ตร.กม. แล้วจะเห็นว่าอยู่ในระดับที่ปลอดภัย และสามารถออกไปนอกบ้านได้ตามปกติ

•ขณะนี้ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงรัศมีการอพยพและการหลบภัยในอาคารบริเวณรอบโรงไฟฟ้า อย่างไรก็ตาม เนื่องจากประชาชนที่อาศัยอยู่ในบริเวณ 20-30 กม. โดยรอบที่มีคำแนะนำให้หลบภัยในอาคาร อาจไม่ได้รับความสะดวกในการดำรงชีวิตประจำวัน จึงมีคำแนะนำให้เดินทางออกนอกพื้นที่โดยสมัครใจ ซึ่งก็มีจำนวนมากที่ต้องการย้ายออกไป หรือได้ย้ายออกไปแล้ว

•สถานการณ์คนงานที่เกิดอุบัติเหตุได้รับรังสีเมื่อวันที่ 24 มี.ค. 54 โดยคนงานดังกล่าวกำลังปฏิบัติภารกิจวางสายไฟที่เตาหมายเลข 3 บริเวณชั้น 1 และชั้น B1 โดยปริมาณรังสีที่ได้รับอยู่ที่ 170 มิลลิซีเวิร์ต ในจำนวนนี้ 2 คนเหยียบบริเวณที่มีน้ำขังและโดยที่น้ำมีปริมาณรังสีสูงประมาณ 400 มิลลิซีเวิร์ต จึงเกิดอาการบาดเจ็บที่เท้า ซึ่งได้มีการย้ายจากโรงพยาบาลท้องถิ่นไปยังโรงพยาบาลเฉพาะทางที่ จ. จิบะทั้ง 3 คน

•เวลา 15.30 น. วันที่ 25 มี.ค. 54 ได้มีการเปลี่ยนจากการฉีดน้ำทะเลเป็นน้ำธรรมดาเข้าสู่ pressure vessel ของเตาหมายเลข 1 หลังจากที่ใช้น้ำทะเลมาเป็นเวลาเกือบ 1 สัปดาห์ ซึ่งอุณหภูมิที่ขึ้นสูงเมื่อวันก่อนได้ลดลงมามากแล้ว ส่วนความดันที่ขึ้นสูงก็ลดลงมาเช่นกัน สถานการณ์จึงค่อนข้างมีเสถียรภาพมากขึ้น

•ที่เตาหมายเลข 2 ได้มีการฉีดน้ำเข้าถังเก็บเชื้อเพลิงใช้แล้วเมื่อเช้าวันที่ 25 มี.ค. 54 ส่วนเตาหมายเลข 3 ช่วงวันที่ 23-24 มี.ค. 54 ได้ฉีดน้ำเข้าสู่ถังเก็บเชื้อเพลิงใช้แล้วโดยใช้เครื่องสูบน้ำ แต่วันที่ 25 มี.ค. 54 หน่วยดับเพลิงกรุงโตเกียวหันมาใช้วิธีพ่นน้ำจากด้านบนแทน และสลับเอาเครื่องสูบน้ำไปใช้กับเตาหมายเลข 4 แทน ทั้งนี้เนื่องจากไฟฟ้าที่มีจำกัดทำให้สามารถใช้เครื่องสูบน้ำได้กับเตาเพียงตัวเดียว ในขณะเดียวกัน เตาหมายเลข 4 มีปัญหาการฉีดน้ำเข้าถังเก็บเชื้อเพลิงใช้แล้ว จึงจะใช้วิธีพ่นน้ำจากด้านบนด้วย

•ระดับรังสีเมื่อเวลา 18.00 น. วันที่ 24 มี.ค. 54 ณ ประตูหลักอยู่ที่ 204.6 ไมโครซีเวิร์ต/ชม. ในขณะที่เวลา 8.30 น. วันนี้อยู่ที่ 196.3 ไมโครซีเวิร์น/ชม. ซึ่งแสดงให้เห็นว่าระดับค่อยๆ ลดลงทีละน้อย

•ขณะนี้ กระทรวงยุติธรรมญี่ปุ่นได้จัดทำข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในเว็บไซต์เป็นภาษาอังกฤษด้วยแล้ว ดังนี้ http://www.moj.go.jp/ENGLISH/index.html

•สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมเป็นภาษาไทยได้จากเว็บไซต์ของ Tokyo University of Foreign Studies ดังนี้ http://www.tufs.ac.jp/blog/ts/g/cemmer/2011/03/post_172.html


สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโตเกียว
25 มีนาคม 2554

กงสุลสัญจรที่เมืองกูชิง รัฐซาราวัค ประเทศมาเลเซีย

สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์

กงสุลสัญจรที่เมืองกูชิง รัฐซาราวัค ประเทศมาเลเซีย



สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย รายงานว่า ระหว่างวันที่ 22-23 มกราคม 2554 นายธนะดวงรัตน์ เอกอัครราชทูตไทยประจำมาเลเซียและคณะประกอลด้วยนายสมพงษ์ กางทอง อัครราชทูต ที่ปรึกษา นายสิงหเดช ชูอำนาจ อัครราชทูตที่ปรึกษาฝ่ายแรงงานพร้อมด้วยลูกจ้างท้องถิ่นฝ่ายกงสุล 2 คน ได้เดินทางไปให้บริการกงสุลสัญจรแก่แรงงานไทยที่เมืองกูชิง รัฐซาราวัค ซึ่งตั้งอยู่ที่เกาะบอร์เนียวห่างจากกรุงกัวลาลัมเปอร์โดยใช้เวลาบินประมาณ 1.40 ชั่วโมง

วันที่ 22 มกราคม 2554 เวลา 13.00 น. ได้พบปะอาสาสมัครของสถานเอกอัครราชทูต ฯ ในเมืองกูชิง (นางอำไพ จง, นางขวัญหล้า จุง และนางดอนน่า หว่อง) พร้อมคนไทยที่ประกอบอาชีพในเมืองดังกล่าว จากนั้นได้ไปเยี่ยมสถานที่จัดงานโอท็อปของชาวไทยจากจังหวัดภาคใต้ประมาณ 20 คน ซึ่งไปเปิดงานแสดงสินค้าที่ศูนย์การค้า Spring โดยความร่วมมือระหว่างทางการรัฐซาราวัค ซึ่งสินค้าไทยที่นำไปแสดงประเภทเครื่องประดับและสินค้าหัตถกรรมได้รับความสนใจ บางรายขายสินค้าหมดและสั่งเข้าไปไม่ทันตามกำหนด ซึ่งเอกอัครราชทูตได้แนะนำให้นักธุรกิจไทยที่ประสงค์จะไปแสดงสินค้าไทยที่มาเลเซใยติดต่อประสานกับสำนักงานฝ่ายพาณิชย์ประจำสถานเอกอัครราชทูตเพื่อให้คำแนะนำช่วยเหลือในโอกาสต่อไป

ต่อมาเวลา 17.30-22.00 น. เอกัครราชทูตได้เป็นเจ้าภาพเลี้ยงอาหารแก่เจ้าหน้าที่ระดับสูงของทางการซาราวัค โดยมีดาโต๊ะโรเบิร์ต เหลียง บาลากาลิบัน ผู้อำนวยการสำนักตรวจคนเข้าเมืองรัฐซาราวัค พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ระดับสูงของสำนักตรวจคนเข้าเมืองมาเลเซีย ซึ่งดูแลสถานะชาวต่างชาติ เจ้าหน้าที่สำนักงานรัฐ และเจ้าหน้าที่ตำรวจInterpol ทั้งนี้ได้มีการหารือปัญหาของแรงงานไทยในรัฐซาราวัคซึ่งมีจำนวนมากกว่า 200 คน โดยเฉพาะแรงงานก่อสร้างซึ่งอยู่ในเขตเมืองกูชิงและเมืองศรี อามัน ซึ่งทางการตรวจคนเข้าเมืองของรัฐซาราวัครับปากจะดูแลคนไทยอย่างดี

วันที่ 23 มกราคม 2554 เวลา 09.00 น. ได้ตั้งศูนย์รับคำร้องทำหนังสือเดินทางสำหรับแรงงานไทยบริเวณอาคารที่ทำการก่อสร้างของบริษัท Global Upline Sdn. Bnd. ซึ่งมีแรงงานที่หนังสือเดินใกล้หมดอายุยื่นคำร้องขอทำหนังสือเดินทางจำนวน 15 ราย นอกจากนั้นมีแรงงานไทยขอหารือปัญหาในการขอวีซ่า การจดทะเบียนสมรส และการรับรองใบขับขี่อีก จำนวน 8 คน

ในโอกาสดังกล่าวนายสมพงษ์ กางทอง อัครราชทูตที่ปรึกษาได้สอบถามความเป็นอยู่ของแรงงานไทยทั้งหมดแล้วทารบว่ามาจากทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (อุดร ขอนแก่น หนองคาย สกลนคร) ปัจจุบันมีแรงงานก่อสร้างส่วนต่อขยายของสนามบินเมืองกุชิงประมาณ 80 คน โดยส่วนใหญ่อยู่มานานกว่า 4 ปีแล้ว บางส่วนเดินทางกลับไปทำหนังสือเดินทางที่ประเทศไทยแล้ว เนื่องจากแรงงานเหลือน้อยจำประกอบอาหารทานเอง มีรายได้เดือนละประมาณ 15,000- 20,000 บาท นอกจากนั้นยังได้พบกับนายเชวง ผ่องพุทธคุณ วิศวกรคุมงานก่อสร้างร้อยสายไฟฟ้า โครงการเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำที่เมืองศรี อามันซึ่งมีแรงงานฝีมือประมาณ 50 คน จึงได้มอบแบบฟร์มลงทะเบียนใช้สิทธิเลือกตั้งนอกราชอาณาจักรเพื่อนำไปแจกจ่ายให้คนงานด้วย

คณะกงสุลสัญจรได้ให้การช่วยเหลือหญิงไทยตกทุกข์ได้ยาก ซึ่งถูกชักชวนโดยนายหน้าเถื่อนไปทำงานนวดที่ร้าน Arixona Reflexology เมืองกูชิง ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2553 เดินทางเข้ามาเลเซียโดยยกเว้นวีซ่า 30 วัน โดยนายจ้างรับจะทำใบอนุญาตทำงานให้ แต่อยู่มากว่า 4 เดือนแล้วก็ยังไม่ทำให้ แต่นายจ้างหักรายได้จากที่ทำงานได้ร้อยละ 50 ไปเป็นจำนวน 2,400 ริงกิตแล้ว สัญญาจ้างก็ไม่มีการลงนาม จึงคิดว่าถูกหลอกมาทำงาน ประกอบกับมีบุตรสาวฝาแฝดอยู่ที่เมืองไทยอายุ 12 ปี กำลังเรียนหนังสือก็เป็นห่วงจึงขอความช่วยเหลือเจ้าหน้าที่เจรจากับนายจ้างขอกลับประเทศไทย ซึ่งนายสมพงฯ อัครราชทูตที่ปรึกษาและนายสิงหเดชฯ อัครราชทูตที่ปรึกษาฝ่ายแรงงานได้เจรจากับนายจ้างจนนายจ้างตกลงยินดีจะคืนหนังสือเดินทางให้แต่ต่อมากลับเปลี่ยนใจจะเรียกเงินจากแรงงานไทยอีก 3,000 ริงกิตเป็นค่ามัดจำการทำงานที่ได้จ่ายไป เจ้าหน้าที่ไทยจึงประสานให้เจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองมาเลเซียเข้าเจรจาช่วยเหลือแลบะดำเนินการกับนายจ้างตามกฎหมายของรัฐซาราวัคต่อไป ซึ่งที่สุดแรงงานไทยรายนี้ได้รับการช่วยเหลือจากทางการมาเลเซียและอาสาสมัครเครือข่ายสถานเอกอัครราชทูตในเมืองกุชิงส่งตัวกลับประเทศไทย

การจัดโครงการกงสุลสัญจรครั้งนี้เป็นการอำนวยความสะดวกแก่คนไทยที่พำนักอาศัยอยู่เกาะห่างไกลจากเมืองหลวง สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายหากต้องเดินทางไปรับบริการที่เมืองหลวง นอกจากนั้นยังเป็นการเยี่ยมเยียนคนไทยในที่ห่างไกล สร้างความรู้สึกที่ดีต่อหน่วยงานราชการไทยในต่างประเทศ รวมทั้งได้รับรู้ข้อเท็จจริงปัญหาที่คนไทยบางกลุ่มต้องอยู่อย่างลำบาก หลบซ่อนเพื่อหารายได้เลี้ยงชีวิตตนเองและครอบครัวอย่างน่าเห็นใจยิ่ง

ปัญหาคนไทยด้วยกันหลอกคนไทยไปทำงานในมาเลเซียโดยเฉพาะทำงานเป็นพนักงานนวดไทยยังมีอยู่ทั่วประเทศมาเลเซีย ซึ่งปัจจุบันสถานเอกอัครราชทูตฯอาศัยเครือข่ายอาสาสมัครของสถานเอกอัครราชทูตให้ความช่วยเหลือหญิงไทยที่ทำงานไม่ถูกต้องและถูกเอาเปรียบแรงงานจากนายจ้าง อันนับเป็นภารกิจที่ยากลำบากโดยเฉพาะในรัฐที่อยู่ห่างไกลเช่นซาราวัค ซึ่งการจัดกิจกรรมกงสุลสัญจรจึงเป็นภารกิจที่จำเป็นและต้องดำเนินการต่อไปอย่างต่อเนื่อง