วันอังคารที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ปัญหาการว่างงานในซาอุดีอาระเบีย


ปัญหาการว่างงานในซาอุดีอาระเบีย


เป็นที่ยอมรับว่า สาเหตุของการก่อการประท้วงขับไล่รัฐบาลในประเทศอาหรับทั้งหลายได้แก่ การขาดธรรมภิบาลในภาครัฐ รวมทั้งการตอบสนองความต้องการพื้นฐานแก่ประชาชนไม่ดีพอ เช่น การจ้างงาน การศึกษา และสาธารณสุข ประเทศอาหรับที่สามารถบริหารจัดการเรื่องดังกล่าวได้ดี แรงขับเคลื่อนในการประท้วง โดยเฉพาะจากกลุ่มคนรุ่นใหม่ ก็มีน้อยกว่าประเทศที่จัดการกับปัญหาดังกล่าวได้ไม่ดีพอ อีกทั้งผู้นำประเทศก็เป็นผู้ที่ครองอำนาจมาเป็นเวลานาน เช่น อียิปต์ ตูนิเซีย และลิเบีย

ในซาอุดีอาระเบีย แม้ว่าจะมีปัญหาความเหลื่อมล้ำในด้านการกระจายรายได้ แต่ก็ไม่มากเมื่อเทียบกับประเทศอาหรับอื่นๆ ที่เกิดปัญหาความไม่สงบในประเทศ และซาอุดีอาระเบียมีความร่ำรวยจากการส่งออกน้ำมันที่สามารถนำรายได้มาจัดสรร สวัสดิการให้ประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยไม่กระทบงบประมาณของรัฐบาล และมีทรัพย์สินต่างประเทศ (Foreign Assets) อยู่มากมาย ในช่วงสิ้นปี 2010 ซาอุดีอาระเบียมีทรัพย์สินต่างประเทศถึง 440.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และคาดว่าในช่วงสิ้นปี 2011 มูลค่าทรัพย์สินดังกล่าวจะเพิ่มเป็น 471 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เนื่องจากราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งในเดือนนี้ ราคาน้ำมันดิบได้เพิ่มสูงกว่า 100 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล อันเนื่องมาจากเหตุกาณ์ความไม่สงบในอียิปต์และลิเ้บีย

แม้ว่าสถานการคลังของซาอุดีอาระเบียจะดีมากแต่ก็มีปัญหาเศรษฐกิจที่รัฐบาลซา อุดีอาระเบียให้ความสำคัญและพยายามแก้ไขเพื่อป้องกันไม่ให้เป็นชนวนไปสู่การ ประท้วงขับไล่รัฐบาล โดยเฉพาะจากคนรุ่นหนุ่มสาว ปัญหาดังกล่าวคือปัญหาการว่างงาน ตามข้อมูลของกระทรวงแรงงานซาอุดีอาระเบียนั้น ในปี 2010 ซาอุดีอาระเบียมีอัตราการว่างงาน 10% แต่ร้อยละ 39 ของคนว่างงาน เป็นชาวซาอุดีอาระเบียที่มีอายุระหว่าง 20 -24 ปี ที่ผ่านมา รัฐบาลพยายามแก้ไขปัญหาการว่างงานของประชาชนโดยพยายามบรรจุให้เข้าทำงานใน หน่วยงานภาครัฐ เช่นในปี 2008 หน่วยงานของรัฐบาลซาอุดิอาระเบียรับชาวซาอุดีอาระเบียเข้าทำงานถึง 69,726 คน ซึ่งเป็นอัตราสูงที่สุดรอบ 10 ปี โดยเสนออัตราเงินเดือนที่สูงกว่าภาคเอกชน ประชาชนชาวซาอุดีอาระเบียก็นิยมทำงานในหน่วยงานภาครัฐมากกว่าภาคเอกชน ซึ่งมีผลทำให้ประสิทธิภาพแรงงานในภาครัฐต่ำลงด้วย เนื่องจากเป็๋นแรงงานที่มีประสิทธิภาพต่ำ

สำหรัีบในภาคเอกชนของซาอุดีอาระเบียนั้น ในจำนวนแรงงาน 10 คน จะเป็นชาวซาอุดีอาระเบียเพียง 1 คน นอกนั้นเป็นแรงงานต่างชาติ ในปี 2009 รัฐบาลซาอุดีอาระเบียได้ออกวีซ่าทำงานให้แก่แรงงานต่างชาติจำนวน 982,420 คน ในปี 2007 และ 2008 รัฐบาลซาอุดีอาระเบียได้ออกวีซ่าให้แก่แรงงานต่างชาติถึงปีละ 1.2 ล้านคน ตามข้อมูลของกระทรวงแรงงานซาอุดีอาระเบียในปี 2009 ภาคเอกชนซาอุดีอาระเบียว่าจ้างแรงงานทั้งหมด 6.89 ล้านคน ซึ่งในจำนวนนี้ เป็นแีรงงานต่างชาติถึง 6.21 ล้านคน โดยเพิ่มขึ้นจากปี 2006 ถึงร้อยละ 30 สถิติดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่า นโยบาย "Saudisation" ที่รัีฐบาลซาอุดีอาระเบียต้องการลดสัดส่วนการว่าจ้างแรงงานต่างชาติในภาค เอกชนซาอุดีอาระเบียไม่เป็นผลในทางปฏิบัติ

ปัจจุบัน ภาคเอกชนในซาอุดีอาระเ้บียนิยมว่าจ้างแรงงานต่างชาติมากกว่าแรงงานท้องถิ่น โดยเฉพาะแรงงานจากกลุ่มประเทศเอเชียใต้ เช่น อินเดีย ปากีสถาน บังกลาเทศ และเนปาล และประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย อีกทั้งแรงงานต่างชาติเรียกร้องค่าแรงต่ำกว่าแรงงานซาอุดีอาระเบียด้วย และในตำแหน่งแรงงานที่มีฝีมือทางเทคนิค แรงงานต่างชาติจะมีความชำนาญและคุณสมบัติที่เหนือกว่าแรงงานชาวซาอุดีอาระ เบีย สำหรับอัตราค่าจ้างเฉลี่ยในภาคเอกชนของซาอุดีอาระเ้บีย

สำหรับแรงงานชาวซาอุดีอาระเบียเท่ากับ 3,137 รียาลต่อเดือน ( 1 รียาล =8.5 บาท) ส่วนค่าจ้างเฉลี่ยของแรงงานต่างชาติในภาคเอกชนเท่ากับ 765 ริยาล ซึ่งน้อยกว่าเกือบ 4 เท่า สำหรับค่าจ้างแรงงานในหน่วยงานภาครัฐจะมีอัตราอยู่ระหว่าง 2,000 ริยาลต่อเดือน จนถึงสูงกว่า 20,000 ริยาลต่อเดือน ซึ่งขึ้นอยู่กับระดับความสามารถและประสบการณ์

นโยบายการแก้ไขการว่างงานของรัฐบาลซาอุดีอาระเบีย จึงพุ่งเป้าไปที่การแก้่ไขปัญหาการว่างงานของคนรุ่นหนุ่มสาว โดยสนับสนุนให้ภาคเอกชนว่าจ้างแรงงานท้องถิ่นมากขึ้น ลดการจ้างแรงงานต่างชาติ การลงทุนในโครงการเมืองเศรษฐกิจใหม่โดยให้แรงจูงใจแก่ภาคเอกชนในการว่าจ้าง แรงงานชาวซาอุดีอาระุเบีย การเพิ่มการว่าจ้างแรงงานสตรี การปรับปรุงหลักสูตรการศึกษาในระดับอุดมศึกษา โดยให้ความสำคัญแก่การศึกษาในสาขาวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ แพทยศาสตร์ ช่างเทคนิค คอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการในตลาดแรงงานของภาคเอกชน

ในปี 2009 รัฐบาลซาอุดีอาระเบียได้ก่อตั้ง King Abdullah University of Science and Technology ขึ้น เืพื่อการดังกล่าวโดยใช้เงินงบประมาณในการก่อสร้างทั้งสิ้น 20 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ อย่างไีรก็ตาม ในข้อเท็จจริง นักศึกษาซาอุดีอาระเบียในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ 24 แห่งทั่วประเทศ ยังมีความนิยมศึกษาในสาขาสังคมศาสตร์ ประวัติศาสตร์ วรรณคดี และศาสนา ซึ่งไม่เป็นที่ต้องการของการว่าจ้างแรงงานในภาคเอกชน

ในเดือนมกราคม 2011 กระทรวงแรงงานซาอุดีอาระเบีย ได้ตั้งเป้าไว้ให้มีการว่าจ้างแรงงานชาวซาอุดีอาระเบียเพิ่มขึ้น 5 ล้านคน ภายในปี 2030 โดยเป็นการว่าจ้างโดยภาคเอกชนประมาณ 3 ล้านคน หรือเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 60 เพื่อรองรับแรงงานรุ่นหนุ่มสาวที่จะเข้ามาสู่ตลาดแรงงานในอนาคต

จากเหตุการณ์การประท้วงที่เกิดขึ้นในวงกว้างในกลุ่มประเทศอาหรับ และอัตราการว่างงานโดยเฉพาะแรงงานรุ่นหนุ่มสาวที่มีค่อนข้างสูง ทำให้รัฐบาลซาอุุดีอาระเบียให้ความสำคัญกับการสร้างงานให้แก่แรงงานชาวซาอุ ดีอาระเบียรุ่นใหม่ และจัดให้เป็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญของประเทศในลำดับต้น


ที่มา: เว็บไซต์กรมเอเชียใต้ ตะวันออกกลางและแอฟริกา http://sameaf.mfa.go.th/th/business-center/detail.php?ID=1723

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น