วันเสาร์ที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2554

การติดตามสถานการณ์แผ่นดินไหวในญี่ปุ่น (30 เมษยน 2554)


การติดตามสถานการณ์แผ่นดินไหวในญี่ปุ่น (30 เมษยน 2554)สถานะ ณ เวลา 18.00 น. วันเสาร์ที่ 30 เมษายน 2554

1. สถานการณ์ในญี่ปุ่น

1.1 สถิติ ผู้เสียชีวิตล่าสุดรวม 14,662 ราย สูญหาย 11,019 ราย (จากรายงานของสำนักงานตำรวจแห่งชาติญี่ปุ่น ณ วันที่ 30 เม.ย. 2554)

1.2 การเกิดอาฟเตอร์ช็อค (Aftershock)

เมื่อวันที่ 30 เม.ย. 2554 ได้เกิดแผ่นดินไหวในจังหวัดต่าง ๆ ตามเวลาประเทศไทย ดังนี้

- เวลา 13.07 น. เกิดแผ่นดินไหวจุดศูนย์กลางที่ จ.อิบารากิ วัดแรงสั่นสะเทือนได้ 4.6 ริกเตอร์

- เวลา 12.50 น. เกิดแผ่นดินไหวจุดศูนย์กลางที่ จ.ฟุคุชิมะ วัดแรงสั่นสะเทือนได้ 4.5 ริกเตอร์

- เวลา 12.33 น. เกิดแผ่นดินไหวจุดศูนย์กลางที่ จ.อิบารากิ วัดแรงสั่นสะเทือนได้ 4.2 ริกเตอร์

- เวลา 12.10 น. เกิดแผ่นดินไหวจุดศูนย์กลางที่ จ.อิบารากิ วัดแรงสั่นสะเทือนได้ 5.3 ริกเตอร์

- เวลา 05.23 น. เกิดแผ่นดินไหวจุดศูนย์กลางที่ จ.มิยากิ วัดแรงสั่นสะเทือนได้ 5.2 ริกเตอร์

- เวลา 00.07 น. เกิดแผ่นดินไหวจุดศูนย์กลางที่ จ.ชิบะ วัดแรงสั่นสะเทือนได้ 4.8 ริกเตอร์อย่างไรก็ดี ยังไม่มีรายงานความเสียหายและสึนามิจากเหตุการณ์ดังกล่าว ทั้งนี้ กระทรวงที่ดิน สาธารณูปโภค คมนาคมและท่องเที่ยวของญี่ปุ่นรายงานว่า หลังจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวเมื่อวันที่ 11 มี.ค. 2554 ตรวจพบว่า พื้นดินที่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเลใน จ.มิยากิ ขยายตัวเพิ่มขึ้นกว่าก่อนเกิดแผ่นดินไหวประมาณ 5 เท่า ซึ่งจะทำให้บริเวณดังกล่าวมีโอกาสได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมและพายุไต้ฝุ่นมากยิ่งขึ้น

1.3 รายงานสถานการณ์โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุคุชิมะที่ 1 (ฟุคุชิมะ ไดอิฉิ)

ตามที่รัฐบาลญี่ปุ่นได้เคยยกระดับปริมาณกัมมันตภาพรังสีที่อนุญาตให้พนักงานสามารถอยู่ทำงานในบริเวณโรงปฏิกรณ์นิวเคลียร์ฯ ได้จาก 100 มิลลิซีเวิร์ท เพิ่มเป็น 250 มิลลิซีเวิร์ทนั้น ล่าสุดได้มีการเปิดเผยว่า ในหมู่พนักงาน 8 คนที่เข้าไปปฏิบัติหน้าที่และตรวจพบระดับกัมมันตรังสีในร่างกายมากกว่า 100 มิลลิซีเวิร์ทเมื่อปลายเดือนมีนาคมนั้น บริษัทการไฟฟ้าโตเกียว (Tokyo Electric Power Company: TEPCO) ได้ดำเนินการตรวจระดับรังสีตามอวัยวะต่าง ๆ ภายในร่างกายเพิ่มเติม และพบว่ามี 2 ราย ที่มีค่ากัมมันตรังสีเกิน 200 มิลลิซีเวิร์ท และหนึ่ง

ในนั้นมีค่าสูงถึง 240.8 มิลลิซีเวิร์ท ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ที่ไปปฏิบัติหน้าที่ที่โรงปฏิกรณ์นิวเคลียร์หมายเลข 3 เมื่อวันที่ 24 มี.ค. 2554 และได้เหยียบขาไปในน้ำที่ปนเปื้อนสารกัมมันตรังสีในระดับสูง ทั้งนี้ การตรวจการปนเปื้อนภายในนั้น ในชั้นนี้ยังต้องใช้เวลาประมาณ 1 เดือน

1.4 การอพยพคนและปฏิกิริยาจากต่างชาติ

1.4.1 ณ วันที่ 25 เม.ย. 2554 ได้มี สอท. ของประเทศต่าง ๆ ในกรุงโตเกียว รวมทั้งสิ้น 2 ประเทศ ประกาศปิดทำการชั่วคราว และสอท. ของอีก 2 ประเทศ ย้ายที่ทำการไปยังภาคตะวันตกของญี่ปุ่น อาทิ นครโอซากา เมืองโกเบ

1.4.2 รัฐบาลประเทศต่าง ๆจำนวน 21 ประเทศออกคำแนะนำการเดินทาง (Travel Advisory) ไปญี่ปุ่นรวมไปถึงมาตรการในการอพยพพลเมืองของแต่ละประเทศประเทศ

2. การดำเนินการของไทย

2.1 การติดตามระดับกัมมันตรังสี

สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ (ปส.) ยังไม่มีรายงานความเปลี่ยนแปลงในระดับกัมมันตรังสี จากรายงานวันที่ 26 เม.ย. 2554 เวลา 14.00 น. ที่มีว่า ระดับกัมมันตรังสีที่ตำแหน่งระยะห่าง 30 กม. จากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์

ฟุคุชิมะ อยู่ที่ระดับ 19.4 ไมโครซีเวิร์ท/ชม. เท่ากับปริมาณที่วัดได้เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2554 เวลา 14.00 น. ทั้งนี้ ระดับกัมมันตรังสีตามเมืองต่าง ๆ ในญี่ปุ่นยังคงอยู่ในระดับปกติและไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ (ระดับกัมมันตรังสีที่ จ.อิวาเตะ อยู่ที่ 0.025 ไมโครซีเวิร์ท/ชม. จ.อิบารากิ อยู่ที่ 0.118 ไมโครซีเวิร์ท/ชม. ที่โตเกียวอยู่ที่ 0.070 ไมโครซีเวิร์ท/ชม.)

2.2 การใช้บริการสายการบิน

บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) รายงานอัตราผู้ใช้บริการสายการบินเมื่อวันที่ 29 เม.ย. 2554 ดังนี้

กรุงเทพฯ – นาริตะ

เที่ยวบิน TG676 เวลา 07.35 – 15.45 น. อัตราผู้ใช้บริการสายการบิน 38.17% (ลดลงจาก 41.99% ในวันก่อน)

เที่ยวบิน TG640 เวลา 22.10 – 06.20 น. อัตราผู้ใช้บริการสายการบิน 39.85% (ลดลงจาก 41.07% ในวันก่อน)

เที่ยวบิน TG642 เวลา 23.50 – 08.10 น. อัตราผู้ใช้บริการสายการบิน 73.79% (เพิ่มขึ้นจาก 55.02% ในวันก่อน)

นาริตะ – กรุงเทพฯ

เที่ยวบิน TG641 เวลา 11.00 – 15.30 น. อัตราผู้ใช้บริการสายการบิน 100% (เพิ่มขึ้นจาก 99.20% ในวันก่อน)

เที่ยวบิน TG643 เวลา 12.00 – 16.30 น. อัตราผู้ใช้บริการสายการบิน 100% (เพิ่มขึ้นจาก 94.82% ในวันก่อน)

เที่ยวบิน TG677 เวลา 16.55 – 21.25 น. อัตราผู้ใช้บริการสายการบิน 98.40% (เพิ่มขึ้นจาก 98.08% ในวันก่อน)

2.3 การดูแลคนไทยในญี่ปุ่น

2.1.1 ตามที่ได้เกิดแผ่นดินไหวและ Aftershock ในบริเวณต่าง ๆ ในญี่ปุ่น ตั้งแต่วันที่ 11 เม.ย. 2554 สอท. ณ กรุงโตเกียว ได้ประสานสอบถามความเป็นอยู่ของคนไทยในพื้นที่และทราบว่าคนไทยยังปลอดภัยดี แม้บางรายจะรู้สึกตกใจในสถานการณ์ที่เกิดขึ้น และรู้สึกกังวลใจเรื่องความเป็นอยู่และความปลอดภัย แต่ในชั้นนี้ยังไม่ได้รับรายงานคนไทยเสียชีวิตหรือได้รับบาดเจ็บจากวิบัติภัยดังกล่าว

2.1.2 ข่าวสารนิเทศกระทรวงการต่างประเทศ เรื่อง “คำแนะนำในการเดินทางไปประเทศญี่ปุ่นฉบับล่าสุด” ซึ่งได้ประกาศเมื่อวันที่ 25 เม.ย. 2554 มีเนื้อหาดังนี้

“ตามที่กระทรวงการต่างประเทศได้ประกาศเตือนขอให้คนไทยติดตามข่าวสารและปฏิบัติตามคำแนะนำของกระทรวงฯ และสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโตเกียว เกี่ยวกับการเดินทางไปญี่ปุ่นนั้น ขอเรียนว่า ในชั้นนี้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของญี่ปุ่นยังมีแผ่นดินไหวจากอาฟเตอร์ช็อค (Aftershock) อยู่เป็นระยะ ประกอบกับปัญหาโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ยังไม่สามารถแก้ไขได้ กระทรวงฯ จึงขอแนะนำให้หลีกเลี่ยงการเดินทางเข้าพื้นที่ดังกล่าว ส่วนผู้ที่มีความจำเป็นต้องเดินทางเข้าพื้นที่ดังกล่าว ขอให้ใช้ความระมัดระวังอย่างเต็มที่และติดตามข้อมูลข่าวสารอย่างใกล้ชิด”

2.1.3 สอท. ได้ลงคำแนะนำในการเดินทาง ทาง twitter@rtetokyo ดังนี้

(1) โดยที่ขณะนี้ทางด้านภาคตะวันออกเฉียงเหนือของญี่ปุ่นยังมีแผ่นดินไหวจาก aftershock อยู่เป็นระยะ ประกอบกับปัญหาโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ จึงขอแนะนำให้หลีกเลี่ยงการเดินทางเข้าพื้นที่ดังกล่าว ส่วนผู้ที่มีความจำเป็นต้องเดินทางเข้าพื้นที่ดังกล่าว ขอให้ใช้ความระมัดระวังอย่างเต็มที่และติดตามข้อมูลข่าวสารอย่างใกล้ชิด

(2) ขอให้ผู้ที่เดินทางไปญี่ปุ่นแจ้งข้อมูลการเดินทาง ที่อยู่ และหมายเลขโทรศัพท์ที่สามารถติดต่อได้ในญี่ปุ่นให้ สอท. ทราบ ทางหมายเลขโทรศัพท์ +813-3222-4101 ต่อ 200 และ 275 (เวลาราชการ) หรือ +8190-8849-7785, +8190-3408-7786, +8190-1215-9369, -8190-1216-3168, +8190-1216-1871 และทางโทรสาร +813-3222-4122 หรือ E-mail: rtetokyo@hotmail.com (24 ช.ม.)

(3) สำหรับนักเรียน / นักศึกษา ที่ศึกษาในญี่ปุ่น หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการเปิดเรียนและเรื่องอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง สามารถสอบถามได้ที่ สนง.ผู้ดูแลนักเรียนในญี่ปุ่น หมายเลขโทรศัพท์ +813-5424-0652 หรือ โทรสาร + 813-5424-0658 หรือ E-mail: csctokyo@sepia.ocn.ne.jp

2.4 การให้ความช่วยเหลือของไทยต่อญี่ปุ่น

ยอดเงินบริจาคผ่านบัญชี “เงินบริจาคช่วยเหลือผู้ประสบภัยญี่ปุ่น” ณ วันที่ 29 เมษายน 2554 ณ เวลา 14.00 น. จำนวน 37 ล้านบาท (ทั้งนี้ กระทรวงฯ ได้โอนเงินงวดแรกจำนวน 125 ล้านบาท ให้ สอท. ณ กรุงโตเกียว เมื่อวันที่ 1 เม.ย. 2554 เพื่อให้ สอท. ณ กรุงโตเกียวนำไปมอบให้แก่สภากาชาดญี่ปุ่นต่อไปแล้ว)

2.5 สถิติคนไทย

2.5.1 จำนวนคนไทยในญี่ปุ่น 40,957 คน (ข้อมูลของ สนง. ตรวจคนเข้าเมืองญี่ปุ่น) โดยเป็นคนไทยที่พำนักในพื้นที่เสี่ยงต่อกัมมันตรังสี 11 จังหวัด (ฮอกไกโด อะโอโมริ อิวาเตะ มิยาหงิ ฟุคุชิมะ อิบารากิ โทชิหงิ ชิบะ โตเกียว กุมมะ คาโงชิมา) 19,547 คน และคนไทยในพื้นที่เสี่ยงสูงต่อกัมมันตรังสี 3 จังหวัด (อิวาเตะ มิยาหงิ ฟุคุชิมะ) จำนวน 488 คน

2.5.2 จำนวนนักเรียนไทยในญี่ปุ่น 2,429 คน (ข้อมูล สนง. ผู้ดูแลนักเรียนไทย) ล่าสุดติดต่อได้ 568 คน

2.5.3 จำนวนแรงงานไทยในญี่ปุ่น ประมาณ 19,541 คน (เป็นแรงงานถูกกฎหมาย 13,541 คน แรงงาน

ผิดกฎหมายประมาณ 6,000 คน) ล่าสุดติดต่อแรงงานถูกกฎหมายได้ 6,841 คน

2.5.4 จำนวนคนไทยที่ตรวจสอบแล้วว่าปลอดภัยรวม 11,156 คน (ข้อมูลของสถานเอกอัครราชทูตฯ รวบรวมจากทุกสำนักงานฯ และเครือข่ายชุมชนคนไทย)

2.5.5 จำนวนคนไทยที่เดินทางกลับ ปทท. ระหว่างวันที่ 12 มี.ค. - 15 เม.ย. 2554 จำนวน 18,039 คน (ข้อมูลศูนย์เทคโนโลยีตรวจคนเข้าเมือง)

3. ความช่วยเหลือจากต่างประเทศ

กระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่นสรุปยอดประเทศที่เสนอให้ความช่วยเหลือ มีจำนวน 146 ประเทศ และองค์กรระหว่างประเทศ 39 แห่ง ซึ่งมีทั้งในรูปแบบเงินบริจาค สิ่งของบริจาค และผู้เชี่ยวชาญ

วันศุกร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2554

เหตุระเบิดที่เมืองมาร์ราเกซ โมร็อกโก คนไทยปลอดภัย


เหตุระเบิดที่เมืองมาร์ราเกซ โมร็อกโก คนไทยปลอดภัย


สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงราบัต ประเทศโมร็อกโก รายงานว่า เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2554 เวลา 11.45 น. เกิดเหตุระเบิดที่ร้านคาเฟอาร์กานา บริเวณจตุรัส จามา เอฟนา ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวหลักของเมืองมาร์ราเกซ ทำให้มีผู้เสียชีวิต 14 คน บาดเจ็บ 20 คน สาเหตุของการระเบิดยังอยู่ระหว่างการตรวจสอบของทางการ แต่สำนักข่าวบางแห่งรายงานว่าจากหลักฐานที่พบในเบื้องต้นมีความเป็นไปได้ว่าเป็นการก่อวินาศกรรม สำหรับผู้เสียชีวิตมีรายงานข่าวว่าเป็นชาวต่างชาติ 11 ราย แต่ยังไม่สามารถระบุสัญชาติได้ และเป็นชาวมอร็อกโก 3 ราย

เมืองมาร์ราเกซมีคนไทยพำนักอยู่ 50 คน เป็นคนไทยที่ทำงานงานตามโรงแรม ร้านอาหาร และร้านสปา 30 คน เป็นนักศึกษา 20 คน ภายหลังเกิดเหตุสถานเอกอัครราชทูตได้ติดต่อสอบถามแกนนำคนไทยและนักศึกษาไทยในเมืองมาร์ราเกซแล้ว ไม่ปรากฏว่ามีคนไทยได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต สถานเอกอัครราชทูตจึงแจ้งเตือนให้ทุกคนพยายามรักษาการติดต่อ และหลีกเลี่ยงสถานที่ท่องเที่ยวหรือสถานที่อื่นที่มีนักท่องเที่ยวต่างชาติจำนวนมาก รวมทั้งให้ติดต่อสถานเอกอัครราชทูตเมื่อมีเหตุฉุกเฉิน

วันพฤหัสบดีที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2554

ประวัติความเป็นมาและบทบาทของสถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองโกตาบารู


นายสุรพล เพชรวรา
(MR. SURAPON PETCH-VRA)
กงสุลใหญ่ (Consul-General)


สถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองโกตาบารู

ประวัติความเป็นมาและบทบาทของสถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองโกตาบารู


1. การสถาปนาสถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองโกตาบารู

ในช่วงต้นรัตนโกสินทร์ คาบสมุทรมลายูซึ่งประกอบด้วยรัฐ 10 รัฐ ตกอยู่ภายใต้อำนาจของไทยถึง 6 รัฐ คือ รัฐปาหัง เปรัค เคดาห์ (ไทรบุรี) กลันตัน ตรังกานู และเปอร์ลิส นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2369 ไทยได้ทยอยเสียอำนาจปกครองให้แก่อังกฤษเรื่อยมา ครั้งสุดท้ายในปี 2452 ด้วยผลของสนธิสัญญาระหว่างสยามกับบริเทนใหญ่ ลงนามเมื่อวันที่ 10 มีนาคม ค.ศ. 1909 รัฐบาลสยามได้โอนสิทธิบรรดามีเหนือรัฐกลันตัน ตรังกานู ไทรบุรี และเปอร์ลิสให้รัฐบาลอังกฤษปกครอง ภายใต้สนธิสัญญาฉบับนี้ บุคคลในบังคับสยามในรัฐดังกล่าว หากมีความประสงค์จะมีสัญชาติไทยต่อไปต้องย้ายภูมิลำเนาไปอยู่ในดินแดนสยามภายใน 6 เดือน เป็นเหตุให้คนไทยที่พูดภาษาไทย ยาวี และมีขนบธรรมเนียมประเพณีแบบไทย แต่ไม่สามารถละทิ้งถิ่นที่อยู่ดั้งเดิมต้องตกค้างอยู่ในรัฐดังกล่าว กลายเป็นคนในบังคับของอังกฤษเป็นจำนวนมาก หลังจากนั้น ในวันที่ 31 สิงหาคม 2500 อังกฤษก็ได้ให้เอกราชสมบูรณ์แก่มาเลเซีย

สถานกงสุล ณ เมืองโกตาบารู ได้รับการสถาปนาขึ้นเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2509 โดยมีเขตอาณาเฉพาะรัฐกลันตัน ต่อมาในปี 2512 ได้ขยายเขตอาณาไปถึงรัฐตรังกานู และได้ยกฐานะเป็น “สถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองโกตาบารู” เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2520 บทบาทของสถานกงสุลฯ ในระยะแรกๆ มุ่งเน้นในการแก้ไขปัญหาชายแดน ปัญหาโจรจีนคอมมิวนิสต์ ปัญหาลักลอบการนำเข้าสินค้าเถื่อน และการอำนวยความสะดวกด้านการติดต่อระหว่างส่วนราชการและประชาชนของทั้งสองประเทศ รวมทั้งการดูแลคนเชื้อชาติไทยในรัฐกลันตันให้ได้รับความเป็นธรรมตามสมควร

2. บทบาทและอำนาจหน้าที่

ปัจจุบันสถานกงสุลใหญ่ฯ มีอำนาจหน้าที่ตามอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางกงสุล พ.ศ. 2506 และบทบาทหน้าที่อื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย สรุปได้ดังนี้

- มีส่วนร่วมในการเยียวยาและแก้ไขปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งเป็นวาระแห่งชาติที่สำคัญและเร่งด่วนของรัฐบาล

- คุ้มครองดูแลผลประโยชน์ของประเทศไทย และคนไทยที่พำนักหรือทำงานใน รัฐกลันตัน และรัฐตรังกานู ภายใต้กรอบของกฎหมาย อาทิ การช่วยเหลือแรงงาน ลูกเรือประมง ผู้ต้องโทษ รวมทั้งช่วยเหลือผู้ตกทุกข์ได้ยากชาวไทยให้กลับภูมิลำเนาเดิม

- ส่งเสริมและพัฒนาความสัมพันธ์ทางการค้า เศรษฐกิจ วัฒนธรรมและวิชาการระหว่างประเทศไทยกับมาเลเซีย ภายใต้กรอบ คณะกรรมการว่าด้วยยุทธศาสตร์การพัฒนาร่วมสำหรับพื้นที่ชายแดนไทย-มาเลเซีย (JDS หรือ Thailand-Malaysia Committee on Joint Development Strategy for border areas) อาทิ ส่งเสริมการศึกษาหาความรู้เพื่อพัฒนาความเชี่ยวชาญด้านอาชีพของชาวไทยในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ผลักดันการเปิดเที่ยวบินตรงจากโกตาบารูไปประเทศไทย

- ติดตามความเคลื่อนไหวทางด้านการค้า เศรษฐกิจ วัฒนธรรม และวิชาการของมาเลเซีย โดยเฉพาะในรัฐกลันตันและตรังกานู เพื่อรายงานให้หน่วยราชการและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องของไทยทราบ

- รับคำร้องขอมีหนังสือเดินทางจากคนไทยที่อยู่ใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และดำเนินการต่ออายุหนังสือเดินทางให้แก่คนไทยที่มีถิ่นที่อยู่ในรัฐกลันตันและตรังกานู

- ให้การตรวจลงตราหนังสือเดินทาง (Visa) แก่ชาวต่างประเทศที่ประสงค์จะเดินทางเข้าประเทศไทย

- ทำหน้าที่นิติการณ์ คือ การรับรองความถูกต้องของเอกสารงานทะเบียนราษฎร์ งานทะเบียนครอบครัว เช่น การรับรองคำแปล จดทะเบียนเกิด/ตาย ทะเบียนสมรส ทะเบียนหย่า เป็นต้น

- ให้คำปรึกษาและอำนวยความสะดวกแก่หน่วยราชการและภาคเอกชนของไทยและมาเลเซีย ติดต่อประสานงาน จัดกิจกรรมร่วมและแก้ปัญหาในระดับชาติและท้องถิ่นกับฝ่ายมาเลเซีย อาทิ ร่วมประชุมคณะกรรมาธิการร่วมไทย-มาเลเซีย (Joint Committee: JC) คณะกรรมการชายแดนทั่วไปไทย-มาเลเซีย General Border Committee: GBC) กรรมการชายแดนส่วนภูมิภาค (Regional Border Committee: RBC) และกรรมการที่ปรึกษาสภาธุรกิจชายแดนภาคใต้ภายใต้โครงการสามเหลี่ยมเศรษฐกิจ (Indonesia Malaysia Thailand Growth Triangle: IMT-GT) คณะกรรมการที่ปรึกษาศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) นอกจากนี้ ยังมีหน้าที่เป็นคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำเขตสำหรับการเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร

รายนามกงสุลและกงสุลใหญ่ ณ เมืองโกตาบารู

1. นายวิเชษฐ์ สุทธยาคม พ.ศ. 2509 – 2511 (กงสุล)

2. นายสุเมศ ศิริมงคล พ.ศ. 2511 – 2514 (กงสุลใหญ่)

3. นายสมาน ศักดิ์สงวน พ.ศ. 2514 – 2519 (กงสุลใหญ่)

4. นายประพจน์ นรินทรางกูร ณ อยุธยา พ.ศ. 2521 – 2522 (กงสุลใหญ่)

5. นายมงคล มีจุล พ.ศ. 2522 – 2524 (กงสุลใหญ่)

6. นายพินัย วงศาโรจน์ พ.ศ. 2524 – 2527 (กงสุลใหญ่)

7. นายสัญญา คุปตารมย์ พ.ศ. 2528 – 2531 (กงสุลใหญ่)

8. นายแถม ทองขุนนา พ.ศ. 2532 – 2533 (กงสุลใหญ่)

9. นายการุณย์ ฤชุโยธิน พ.ศ. 2533 – 2534 (กงสุลใหญ่)

10. นายดุสิต จันตะเสน พ.ศ. 2535 – 2540 (กงสุลใหญ่)

11. นายตวง มุกดาสนิท พ.ศ. 2541 – 2544 (กงสุลใหญ่)

12. นายสุโข ภิรมย์นาม พ.ศ. 2546 – 13 มี.ค. 2550 (กงสุลใหญ่)

13. นายสุรพล เพชรวรา 23 มี.ค. พ.ศ. 2550 - ปัจจุบัน (กงสุลใหญ่)

การสอบธรรมสนามหลวงที่วัดไทยในเมืองโกตาบารู







การสอบธรรมสนามหลวงที่วัดไทยในเมืองโกตาบารู


เมื่อวันที่ 11 ก.พ.54 นายสุรพล เพชรวรา กงสุลใหญ่ ณ เมืองโกตาบารู ประเทศมาเลเซียได้รับเชิญให้เข้าร่วมเป็นประธานในพิธีเปิดสอบนักธรรมและธรรมศึกษาสนามหลวง ซึ่งจัดขึ้นที่วัดมัชฌิมาราม อำเภอตุมปัต รัฐกลันตัน โดยในปีนี้มีภิกษุสามเณรสมัครสอบนักธรรมชั้นตรี โทและเอก จำนวน 14 รูป และมีเยาวชนชาวมาเลเซีย  เชื้อสายไทยสมัครสอบธรรมศึกษาชั้นตรี โทและเอก จำนวน 147 คน โดยมีพระสงฆ์จากกรุงเทพฯ จำนวน 5 รูป พร้อมเจ้าหน้าที่นำข้อสอบมาใช้ในการทำสอบ

ฝ่ายแรงงานประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเทลอาวีฟ ได้เดินทางไปตรวจเยี่ยมแรงงานไทยในคิบบุตส์เลกาวิม

ผู้ช่วยทูตฝ่ายแรงงานหารือกับตัวแทนคนงานไทย
สภาพบริเวณที่พักของแรงงานไทย
ผู้ช่วยทูตฝ่ายแรงงานถ่ายรูปร่วมกับตัวแทนแรงงานไทย

ฝ่ายแรงงานประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเทลอาวีฟ ได้เดินทางไปตรวจเยี่ยมแรงงานไทยในคิบบุตส์เลกาวิม


เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2554 ฝ่ายแรงงานประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเทลอาวีฟ ได้เดินทางไปตรวจเยี่ยมแรงงานไทยในภาคเกษตรกรรม ที่คิบบุตส์เลกาวิม ซึ่งมีการจ้างงานคนไทยทั้งหมด 30 คน ขณะเจ้าหน้าที่เดินทางไปถึง พบคนงาน 8 คน ที่เพิ่งกลับจากการทำงาน เนื่องจากเป็นช่วงเวลาบ่ายของวันศุกร์ ซึ่งโดยปกติแล้วคนอิสราเอลจะหยุดงานในวันดังกล่าวหรือทำงานเพียงครึ่งวัน

คนงานทั้งหมดเดินทางมาจากจังหวัดในภาคอิสานได้แก่ สกลนคร อุดรธานี นครราชสีมาและนครพนมคนงานเล่าว่า คิบบุตส์แห่งนี้ ดำเนินกิจการเพาะปลูกต้นอโวคาโด ฟาร์มโคนมและฟาร์มไก่ ดังนั้นคนงานจึงถูกมอบหมายงานให้ทำแตกต่างกัน เช่น เลี้ยงไก่ 1 คน เลี้ยงวัวกะละ 5-6 คน ที่เหลืออีก 2 คนจะมีหน้าที่หลักคือการดูแลสวนอโวคาโด ฟาร์มวัวที่นี่มีขนาดใหญ่มากมีวัวทั้งหมดประมาณ 500 ตัว นอกจากนี้ยังมีโรงรีดนมวัวที่ทันสมัย ดังนั้นคิบบุตส์จึงจ้างคนงานอาหรับในกิจการฟาร์มโคนมด้วย คนงานจะทำงานล่วงเวลาวันละประมาณ 1-1.30 ชั่วโมง คนงานมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดีพอสมควร มีห้องนอนเป็นสัดส่วนและมีอุปกรณ์อำนวยความสะดวก เช่น เครื่องซักผ้าและ ตู้เย็น เป็นต้น

เจ้าหน้าที่ได้เตือนคนงานเรื่องการรักษาความสะอาด และตอบปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน รวมทั้งรับเรื่องการขอคืนเงินชดเชยของญาติคนงานรายหนึ่งที่เสียชีวิตจากอาการไหลตาย เมื่อปี 2553 โดยมีรายงานว่ามีการโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารแล้วแต่ญาติของผู้ตายยังไม่ได้รับเงิน


ที่มา: เว็บไซต์สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเทลอาวีฟ http://www.mfa.go.th/web/1510.php?id=39260 

เอกอัครราชทูต ณ กรุงเทลอาวีฟพบปะคนไทย

ท่านทูตสนทนากับคนไทยอย่างเป็นกันเอง
ท่านทูตกล่าวต้อนรับกลุ่มคนไทยที่มาร่วมงานพบปะสังสรรค์ ณ ทำเนียบเอกอัครราชทูต และแจ้งจุดประสงค์ในการรวมกลุ่มคนไทยเพื่อสร้างเครือข่ายชุมชนไทยเข้มแข็งเพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกันในต่างแดน
กลุ่มคนไทยที่มาร่วมงานลงทะเบียนขอใช้สิทธิเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร
ท่านทูตพร้อมด้วยภริยา และเจ้าหน้าที่สถานเอกอัครราชทูตถ่ายรูปเป็นทีระลึกร่วมกับกลุ่มคนไทยในอิสราเอล



เอกอัครราชทูต ณ กรุงเทลอาวีฟพบปะคนไทย

เมื่อวันที่ 25 มี.ค. 54 นายณัฐวุฒิ โพธิสาโร เอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงเทลอาวีฟ ได้จัดงานเลี้ยงสังสรรค์เพื่อพบปะกับกลุ่มคนไทยที่ทำงานและอาศัยอยู่ ณ กรุงเทลอาวีฟ ณ ทำเนียบเอกอัครราชทูต ฯ เพื่อสร้างความคุ้นเคยกับชุมชนไทย และเพื่อใช้โอกาสนี้ในการรวมกลุ่มคนไทยเพื่อโอกาสในการสร้างชุมชนไทยที่เข้มแข็งเพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกันในต่างแดน โดยในโอกาสนี้ สถานเอกอัครราชทูต ฯ ได้ใช้โอกาสนี้ในการรับลงทะเบียนเลือกตั้งนอกราชอาณาจักรให้กับกลุ่มคนไทยที่อาศัย ณ กรุงเทลอาวีฟด้วย

ที่มา: เว็บไซต์สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเทลอาวีฟ http://www.mfa.go.th/web/1510.php?id=39262

งาน Destination Thailand 2011 ที่กัลกัตตา

ประธานกล่าวเปิดงาน

แขกที่มาร่วมงานแวะชมการแกะสลักผักและผลไม้

การแสดงของคณะนาฏศิลป์จากประเทศไทย

สร้างความประทับใจแก่แขกที่มาร่วมงานด้วยศิลปะการร่ายรำที่งดงาม

งาน Destination Thailand 2011 ที่กัลกัตตา


สถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองกัลกัตตา ได้จัดงาน Destination Thailand 2011 ที่โรงแรมเดอะ ปาร์ค ผู้มาร่วมงานในวันแรกประกอบด้วย ผู้บริหารของรัฐเบงกอลตะวันตก ผู้แทนรัฐบาลดินแดนสหภาพหมู่เกาะอันดามันและนิโคบาร์ ผู้แทนกระทรวงการต่างประเทศอินเดีย เจ้าหน้าที่ระดับสูง ผู้บริหารบริษัทอิตาเลี่ยนไทย กงสุลใหญ่อาชีพ กงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์ กงสุลกิตติมศักดิ์ นักศึกษาผู้รับทุนสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี นักเรียนไทยอื่นๆ ในวันที่สองประกอบด้วยผู้บริหารการบินไทย ผู้บริหารของภาคเอกชน บริษัทท่องเที่ยว นักรียนไทย และสื่อมวลชน

ในงานมีกิจกรรมต่างๆ อาทิ การแสดงนาฏศิลป์ไทยโดยคณะนาฏศิลป์เดินทางจากประเทศไทยจำนวน 8 คน การสาธิตการประกอบอาหารไทยได้แก่ ส้มตำกุ้งสด และขนมครก การแกะสลักผัก ผลไม้ การร้อยมาลัยแบบไทย การฉายวิดิทัศน์และจัดวางโปสเตอร์นิทรรศการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และการฉายวิดิทัศน์และจัดวางโปสเตอร์นิทรรศการเกี่ยวกับวัฒนธรรมไทย และสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ ของไทย

การติดตามสถานการณ์แผ่นดินไหวในญี่ปุ่น (28 เมษายน 2554)


การติดตามสถานการณ์แผ่นดินไหวในญี่ปุ่น (28 เมษายน 2554)


สถานะ ณ เวลา 20.00 น. วันพุธที่ 28 เมษายน 2554

1. สถานการณ์ในญี่ปุ่น

1.1 สถิติ ผู้เสียชีวิตล่าสุดรวม 14,575 ราย สูญหาย 11,324 ราย (จากรายงานของสำนักงานตำรวจแห่งชาติญี่ปุ่น ณ วันที่ 28 เม.ย. 2554 เวลาประเทศไทย 14.00 น.)

1.2 การเกิดอาฟเตอร์ช็อค (Aftershock)

เมื่อวันที่ 28 เม.ย. 2554 ได้เกิดแผ่นดินไหวในจังหวัดต่าง ๆ ตามเวลาประเทศไทย ดังนี้

- เวลา 16.28 น. เกิดแผ่นดินไหวจุดศูนย์กลางที่ จ.ฟุคุชิมะ วัดแรงสั่นสะเทือนได้ 5.7 ริกเตอร์

- เวลา 08.44 น. เกิดแผ่นดินไหวจุดศูนย์กลางที่ จ.มิยากิ วัดแรงสั่นสะเทือนได้ 4.8 ริกเตอร์

- เวลา 04.45 น. เกิดแผ่นดินไหวจุดศูนย์กลางที่ จ.มิยากิ วัดแรงสั่นสะเทือนได้ 4.8 ริกเตอร์

อย่างไรก็ดี ยังไม่มีรายงานความเสียหายและสึนามิจากเหตุการณ์ดังกล่าว

1.3 รายงานสถานการณ์โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุคุชิมะที่ 1 (ฟุคุชิมะ ไดอิฉิ)

ไม่มีความเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ ของปริมาณกัมมันรังสีที่แพร่กระจายในอากาศที่วัดได้ในพื้นที่ต่าง ๆ ทั้งนี้ การทดลองฉีดน้ำลงไปในน้ำเตาปฏิกรณ์หมายเลข 1 เพื่อทดสอบการควบคุมอุณหภูมิของแท่งเชื้อเพลิงใช้แล้วของบริษัทการไฟฟ้าโตเกียว (TEPCO) นั้น ผลปรากฏว่าอุณหภูมิมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง และผลการตรวจปริมาณสารไอโอดีนในน้ำทะเลบริเวณท่อปล่อยน้ำจากเตาปฏิกรณ์หมายเลข 2 จากตัวอย่างที่สุ่มเก็บขึ้นมาเมื่อวันที่ 27 เม.ย. 2554 พบว่า มีระดับสารไอโอดีนมากกว่ามาตรฐานประมาณ 1600 เท่า ลดลงครึ่งหนึ่งจากค่าที่ตรวจวัดได้ก่อนหน้านี้หนึ่งวัน

1.4 การอพยพคนและปฏิกิริยาจากต่างชาติ

1.4.1 ณ วันที่ 25 เม.ย. 2554 ได้มี สอท. ของประเทศต่าง ๆ ในกรุงโตเกียว รวมทั้งสิ้น 2 ประเทศ ประกาศปิดทำการชั่วคราว และสอท. ของอีก 2 ประเทศ ย้ายที่ทำการไปยังภาคตะวันตกของญี่ปุ่น อาทิ นครโอซากา เมืองโกเบ

1.4.2 รัฐบาลประเทศต่าง ๆจำนวน 21 ประเทศออกคำแนะนำการเดินทาง (Travel Advisory) ไปญี่ปุ่น รวมไปถึงมาตรการในการอพยพพลเมืองของแต่ละประเทศประเทศ

2. การดำเนินการของไทย

2.1 การติดตามระดับกัมมันตรังสี

สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ (ปส.) ยังไม่มีรายงานความเปลี่ยนแปลงในระดับกัมมันตรังสี จากรายงานวันที่ 26 เม.ย. 2554 เวลา 14.00 น. ที่มีว่า ระดับกัมมันตรังสีที่ตำแหน่งระยะห่าง 30 กม. จากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุคุชิมะ อยู่ที่ระดับ 19.4 ไมโครซีเวิร์ท/ชม. เท่ากับปริมาณที่วัดได้เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2554 เวลา 14.00 น. ทั้งนี้ ระดับกัมมันตรังสีตามเมืองต่าง ๆ ในญี่ปุ่นยังคงอยู่ในระดับปกติและไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ (ระดับกัมมันตรังสีที่ จ.อิวาเตะ อยู่ที่ 0.025 ไมโครซีเวิร์ท/ชม. จ.อิบารากิ อยู่ที่ 0.118 ไมโครซีเวิร์ท/ชม. ที่โตเกียวอยู่ที่ 0.070 ไมโครซีเวิร์ท/ชม.)

2.2 การใช้บริการสายการบิน

บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) รายงานอัตราผู้ใช้บริการสายการบินเมื่อวันที่ 27 เม.ย. 2554 ดังนี้

กรุงเทพฯ – นาริตะ

เที่ยวบิน TG676 เวลา 07.35 – 15.45 น. อัตราผู้ใช้บริการสายการบิน 50.32% (เพิ่มขึ้นจาก 37.82% ในวันก่อน)

เที่ยวบิน TG642 เวลา 23.50 – 08.10 น. อัตราผู้ใช้บริการสายการบิน 61.49% (เพิ่มขึ้นจาก 52.10% ในวันก่อน)

นาริตะ – กรุงเทพฯ

เที่ยวบิน TG643 เวลา 12.00 – 16.30 น. อัตราผู้ใช้บริการสายการบิน 94.82% (เพิ่มขึ้นจาก 92.58% ในวันก่อน)

เที่ยวบิน TG677 เวลา 16.55 – 21.25 น. อัตราผู้ใช้บริการสายการบิน 91.03% (เพิ่มขึ้นจาก 46.15% ในวันก่อน)

2.3 การดูแลคนไทยในญี่ปุ่น

2.1.1 ตามที่ได้เกิดแผ่นดินไหวและ Aftershock ในบริเวณต่าง ๆ ในญี่ปุ่น ตั้งแต่วันที่ 11 เม.ย. 2554 สอท. ณ กรุงโตเกียว ได้ประสานสอบถามความเป็นอยู่ของคนไทยในพื้นที่และทราบว่าคนไทยยังปลอดภัยดี แม้บางรายจะรู้สึกตกใจในสถานการณ์ที่เกิดขึ้น และรู้สึกกังวลใจเรื่องความเป็นอยู่และความปลอดภัย แต่ในชั้นนี้ยังไม่ได้รับรายงานคนไทยเสียชีวิตหรือได้รับบาดเจ็บจากวิบัติภัยดังกล่าว

2.1.2 ข่าวสารนิเทศกระทรวงการต่างประเทศ เรื่อง “คำแนะนำในการเดินทางไปประเทศญี่ปุ่นฉบับล่าสุด” ซึ่งได้ประกาศเมื่อวันที่ 25 เม.ย. 2554 มีเนื้อหาดังนี้

ตามที่กระทรวงการต่างประเทศได้ประกาศเตือนขอให้คนไทยติดตามข่าวสารและปฏิบัติตามคำแนะนำของกระทรวงฯ และสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโตเกียว เกี่ยวกับการเดินทางไปญี่ปุ่นนั้น ขอเรียนว่า ในชั้นนี้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของญี่ปุ่นยังมีแผ่นดินไหวจากอาฟเตอร์ช็อค (Aftershock) อยู่เป็นระยะ ประกอบกับปัญหาโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ยังไม่สามารถแก้ไขได้ กระทรวงฯ จึงขอแนะนำให้หลีกเลี่ยงการเดินทางเข้าพื้นที่ดังกล่าว ส่วนผู้ที่มีความจำเป็นต้องเดินทางเข้าพื้นที่ดังกล่าว ขอให้ใช้ความระมัดระวังอย่างเต็มที่และติดตามข้อมูลข่าวสารอย่างใกล้ชิด”

2.1.3 สอท. ได้ลงคำแนะนำในการเดินทาง ทาง twitter@rtetokyo ดังนี้

(1) โดยที่ขณะนี้ทางด้านภาคตะวันออกเฉียงเหนือของญี่ปุ่นยังมีแผ่นดินไหวจาก aftershock อยู่เป็นระยะ ประกอบกับปัญหาโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ จึงขอแนะนำให้หลีกเลี่ยงการเดินทางเข้าพื้นที่ดังกล่าว ส่วนผู้ที่มีความจำเป็นต้องเดินทางเข้าพื้นที่ดังกล่าว ขอให้ใช้ความระมัดระวังอย่างเต็มที่และติดตามข้อมูลข่าวสารอย่างใกล้ชิด

(2) ขอให้ผู้ที่เดินทางไปญี่ปุ่นแจ้งข้อมูลการเดินทาง ที่อยู่ และหมายเลขโทรศัพท์ที่สามารถติดต่อได้ในญี่ปุ่นให้ สอท. ทราบ ทางหมายเลขโทรศัพท์ +813-3222-4101 ต่อ 200 และ 275 (เวลาราชการ) หรือ +8190-8849-7785, +8190-3408-7786, +8190-1215-9369, -8190-1216-3168, +8190-1216-1871 และทางโทรสาร +813-3222-4122 หรือ E-mail: rtetokyo@hotmail.com (24 ช.ม.)

(3) สำหรับนักเรียน / นักศึกษา ที่ศึกษาในญี่ปุ่น หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการเปิดเรียนและเรื่องอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง สามารถสอบถามได้ที่ สนง.ผู้ดูแลนักเรียนในญี่ปุ่น หมายเลขโทรศัพท์ +813-5424-0652 หรือ โทรสาร + 813-5424-0658 หรือ E-mail: csctokyo@sepia.ocn.ne.jp

2.4 การให้ความช่วยเหลือของไทยต่อญี่ปุ่น

ยอดเงินบริจาคผ่านบัญชี “เงินบริจาคช่วยเหลือผู้ประสบภัยญี่ปุ่น” ณ วันที่ 25 เมษายน 2554 ณ เวลา 14.00 น. จำนวน 57,432,395.65 บาท (ทั้งนี้ กระทรวงฯ ได้โอนเงินงวดแรกจำนวน 125 ล้านบาท ให้ สอท. ณ กรุงโตเกียว เมื่อวันที่ 1 เม.ย. 2554 เพื่อให้ สอท. ณ กรุงโตเกียวนำไปมอบให้แก่สภากาชาดญี่ปุ่นต่อไปแล้ว)

2.5 สถิติคนไทย

2.5.1 จำนวนคนไทยในญี่ปุ่น 40,957 คน (ข้อมูลของ สนง. ตรวจคนเข้าเมืองญี่ปุ่น) โดยเป็นคนไทยที่พำนักในพื้นที่เสี่ยงต่อกัมมันตรังสี 11 จังหวัด (ฮอกไกโด อะโอโมริ อิวาเตะ มิยาหงิ ฟุคุชิมะ อิบารากิ โทชิหงิ ชิบะ โตเกียว กุมมะ คาโงชิมา) 19,547 คน และคนไทยในพื้นที่เสี่ยงสูงต่อกัมมันตรังสี 3 จังหวัด (อิวาเตะ มิยาหงิ
ฟุคุชิมะ) จำนวน 488 คน

2.5.2 จำนวนนักเรียนไทยในญี่ปุ่น 2,429 คน (ข้อมูล สนง. ผู้ดูแลนักเรียนไทย) ล่าสุดติดต่อได้ 568 คน

2.5.3 จำนวนแรงงานไทยในญี่ปุ่น ประมาณ 19,541 คน (เป็นแรงงานถูกกฎหมาย 13,541 คน แรงงานผิดกฎหมายประมาณ 6,000 คน) ล่าสุดติดต่อแรงงานถูกกฎหมายได้ 6,841 คน

2.5.4 จำนวนคนไทยที่ตรวจสอบแล้วว่าปลอดภัยรวม 11,156 คน (ข้อมูลของสถานเอกอัครราชทูตฯ รวบรวมจากทุกสำนักงานฯ และเครือข่ายชุมชนคนไทย)

2.5.5 จำนวนคนไทยที่เดินทางกลับ ปทท. ระหว่างวันที่ 12 มี.ค. - 15 เม.ย. 2554 จำนวน 18,039 คน (ข้อมูลศูนย์เทคโนโลยีตรวจคนเข้าเมือง)

3. ความช่วยเหลือจากต่างประเทศ

กระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่นสรุปยอดประเทศที่เสนอให้ความช่วยเหลือ มีจำนวน 146 ประเทศ และองค์กรระหว่างประเทศ 39 แห่ง ซึ่งมีทั้งในรูปแบบเงินบริจาค สิ่งของบริจาค และผู้เชี่ยวชาญ

คำแนะนำในการเดินทางไปประเทศญี่ปุ่นฉบับล่าสุด


คำแนะนำในการเดินทางไปประเทศญี่ปุ่นฉบับล่าสุด



ตามที่กระทรวงการต่างประเทศได้ประกาศเตือนขอให้คนไทยติดตามข่าวสารและปฏิบัติตามคำแนะนำของกระทรวงฯ และสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโตเกียว เกี่ยวกับการเดินทางไปญี่ปุ่น นั้น

ขอเรียนว่า ในชั้นนี้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของญี่ปุ่นยังมีแผ่นดินไหวจากแผ่นดินไหวตามมา (Aftershock) อยู่เป็นระยะ ประกอบกับปัญหาโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ยังไม่สามารถแก้ไขได้ กระทรวงฯ จึงขอแนะนำให้หลีกเลี่ยงการเดินทางเข้าพื้นที่ดังกล่าว ส่วนผู้ที่มีความจำเป็นต้องเดินทางเข้าพื้นที่ดังกล่าว ขอให้ใช้ความระมัดระวังอย่างเต็มที่และติดตามข้อมูลข่าวสารอย่างใกล้ชิด รวมถึงปฏิบัติตามคำแนะนำของรัฐบาลญี่ปุ่นอย่างเคร่งครัด

25 เมษายน 2554

ที่มา: ข่าวสารนิเทศ วันที่ 25 เมษายน 2554 กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ

เอกอัครราชทูตไทย ประจำกรุงโซล สักการะอนุเสาวรีย์ทหารไทย ณ เมือง Pocheon








เอกอัครราชทูตไทย ประจำกรุงโซล สักการะอนุเสาวรีย์ทหารไทย ณ เมือง Pocheon


ดร. ชัยยงค์ สัจจิพานนท์ เอกอัครราชทูตไทย ประจำสาธารณรัฐเกาหลี เป็นประธานในพิธีวางพวงมาลาเพื่อน้อมรำลึกและสักการะอนุเสาวรีย์ทหารไทยที่เมือง Pocheon ซึ่งรัฐบาลสาธารณรัฐเกาหลีก่อสร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1974 เพื่อเป็นอนุสรณ์สถานของความกล้าหาญและเสียสละของทหารไทยที่มาร่วมรบเพื่อปกป้องสันติภาพและความมั่นคงในคาบสมุทรเกาหลีภายใต้การนำขององค์การสหประชาชาติระหว่างปี ค.ศ. 1950-1953 โดยมีข้าราชการระดับสูงของเมือง Pocheon ผู้แทนทหารผ่านศึกสงครามเกาหลี และบุคคลสำคัญในท้องถิ่นเข้าร่วมพิธี รวมประมาณ 200 คน

ในโอกาสนี้ เอกอัครราชทูตฯ ได้เข้าพบและหารือกับนาย Seo, Jang-won นายกเทศมนตรี เมือง Pochen เกี่ยวกับการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างสถานเอกอัครราชทูตฯ กับเมือง Pocheon การแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม รวมถึงแผนการจัดเทศกาลอาหารไทยที่เมืองดังกล่าว

กงสุลสัญจรที่สตุทท์การ์ท เยอรมนี








กงสุลสัญจรที่สตุทท์การ์ท เยอรมนี


เมื่อวันที่ 9 เมษายน 2554 ระหว่าง เวลา 9.00 -17.00 น. คณะเจ้าหน้าที่สถานกงสุลใหญ่ ณ นครแฟรงก์เฟิร์ต นำโดยนายจิตติพัฒน์ ทองประเสริฐ รองกงสุลใหญ่ นายเกียรติพร วัชระกร กงสุล และเจ้าหน้าที่พร้อมทีมงานสถานกงสุลใหญ่ฯ ได้เดินทางไปให้บริการชาวไทย หรือบริการกงสุลสัญจร ครั้งที่สอง ประจำปีงบประมาณ 2554 ณ เมืองสตุทท์การ์ท ซึ่งอยู่ห่างจากนครแฟรงก์เฟิร์ต ประมาณ 220 กิโลเมตร โดยมีผู้มารับบริการด้านกงสุล อาทิ งานหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ งานนิติกรณ์ รับรองเอกสาร มอบอำนาจ ฯลฯ จำนวน 130 คน

สถานกงสุลใหญ่ฯ ได้ถือโอกาสประชาสัมพันธ์การจัดการเลือกตั้งนอกราชอาณาจักรให้แก่คนไทยและครอบครัวที่มารับบริการกงสุลสัญจรในครั้งนี้ด้วย ทั้งนี้ สถานกงสุลใหญ่ฯ ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากผู้ประสานงาน ได้แก่ คุณวลาวัลย์ อัลเบรชท และทีมงานทุกคน พร้อมทั้งศิษยานุศิษย์จากวัดสังฆวิหาร

ประชาชนที่เดินทางมาใช้บริการในครั้งนี้มีความรู้สึกขอบคุณรัฐบาลไทยที่เดินทางออกให้บริการกงสุลสัญจรเป็นประจำ เนื่องจากเป็นการช่วยอำนวยความสะดวก อีกทั้งเป็นการช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายและเวลาในการเดินทางให้แก่ชาวไทย ซึ่งพำนักอยู่ห่างไกลจากสถานกงสุลใหญ่ฯ และอาศัยกระจายกันอยู่ตามเมืองต่างๆ ในเขตอาณา

ในปีงบประมาณ 2554 สถานกงสุลใหญ่ฯ ยังมีกำหนดจัดกิจกรรมกงสุลสัญจรตามเมืองต่างๆ อีก 4 เมือง ได้แก่

1. เมืองนูเร็มเบิร์กหรือเนินเบิร์ก (Nürnberg) วันที่ 28 พฤษภาคม 2554

2. เมืองบีเลอร์เฟลด์ (Bielefeld) วันนี่ 4 มิถุนายน 2554

3. เมืองเฮาสัค (Hausach) วันที่ 23 กรกฎาคม 2554

4. นครมึนเชี่ยนหรือมิวนิก (München) วันที่ 27 สิงหาคม 2554

การคุ้มครองและดูแลผลประโยชน์นักเรียนไทยในเมืองปูเน่ รัฐมหารัชฏระ อินเดีย


การคุ้มครองและดูแลผลประโยชน์นักเรียนไทยในเมืองปูเน่ รัฐมหารัชฏระ อินเดีย

เมื่อเร็วๆ นี้ นาย Shirish Saharasbhude ผู้อำนวยการสถาบันเอลทิส (English Language Teaching Institute of Symbiosis – ELTIS) ได้เข้าพบหารือกับนายทอมวิชย์ ชาญสรรค์ กงสุลใหญ่ ณ เมืองมุมไบ เพื่อเชิญให้สถานกงสุลใหญ่ฯ เข้าร่วมงานการประชุม Symposium of International Educational Administrators จัดขึ้นที่สถาบันเอลทิส ในวันที่ 25 มีนาคม 2554 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เจ้าหน้าที่ของสถานเอกอัครราชทูตฯ และสถานกงสุลใหญ่ฯ ของประเทศต่างๆ ที่กรุงนิวเดลี และเมืองมุมไบ ที่มีเจ้าหน้าที่ดูแลนักเรียนต่างชาติของตนที่เมืองปูเน่ ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ และร่วมกันหาทางแก้ไขปัญหาที่นักเรียนต่างชาติประสบ และโดยที่เล็งเห็นว่าการเข้าร่วมงานดังกล่าวจะเป็นการส่งเสริมการคุ้มคลองและดูแลผลประโยชน์นักเรียนไทยในเมืองปูเน่ ซึ่งปัจจุบันมีนักเรียนไทยศึกษาอยู่ประมาณ 150 คน กงสุลใหญ่ฯ จึงได้มอบหมายให้นางสาวกมลวรรณ ศรีโพธิ์ศิลป์ เจ้าหน้าที่กงสุลไปเข้าร่วมงาน รวมทั้งให้ใช้โอกาสดังกล่าวพบปะนักเรียนไทยในเมืองปูเน่ด้วย ซึ่งในการประชุมฯ เจ้าหน้าที่กงสุลได้แจ้งปัญหาที่นักเรียนไทยประสบกับสำนักงานลงทะเบียนคนต่างชาติของเมืองปูเน่ หรือ Foreigners Regional Registration Office- FRRO ได้แก่ ปัญหาการลงทะเบียนพำนักและการขอต่อการตรวจลงตราของนักศึกษากับสำนักงานลงทะเบียนคนต่างชาติของเมืองปูเน่ โดยขอให้พิจารณาหาทางบรรเทาปัญหาที่นักเรียนไทยที่อยู่ที่เมืองปูเน่ประสบอยู่ให้ด้วย




หลังจากนั้น เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2554 เจ้าหน้าที่สถานกงสุลใหญ่ฯ ได้แก่ นางสาวกมลวรรณ ศรีโพธิ์ศิลป์ เจ้าหน้าที่กงสุล นายวัฒนชัย นิรันดร และนางอรพินท์ ศรีรู้ญา ได้พบปะนักเรียนไทยจำนวน 50 คนที่พุทธวิหาร มหาวิทยาลัยปูเน่ และได้ใช้โอกาสดังกล่าว ในการทำความรู้จักและรับฟังปัญหาการเรียนและพำนักในเมืองปูเน่ของนักศึกษาไทย ซึ่งส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับเรื่องการตรวจลงตราและการลงทะเบียนพำนัก นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่ฯ ได้ใช้โอกาสประชาสัมพันธ์เรื่องการเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร การซักซ้อมแผนอพยพและการดำเนินการของสมาคมนักเรียนไทยในเมืองปูเน่ รวมทั้งเชิญชวนให้สมาคมนักเรียนเสนอโครงการสำหรับงบโครงการสนับสนุนกิจกรรมคนไทยด้วย นอกจากนี้ นักเรียนได้ขอให้สถานกงสุลใหญ่ฯ จัดทำ facebook (ล่าสุด นายวัฒนชัยฯ ได้จัดทำแล้วที่หน้า mumbaiconsul@gmail.com) เพื่อเป็นหน้าต่างสื่อสารข้อมูลข่าวสารกับนักเรียน สุดท้ายทุกคนร่วมรับประทานอาหารว่างพร้อมกัน



เมืองปูเน่เป็นเมืองหนึ่งในอินเดียที่ได้รับความนิยมในกลุ่มนักเรียนไทย ซึ่งต้องการศึกษาในประเทศที่ใช้สื่อการสอนเป็นภาษาอังกฤษและค่าใช้จ่ายย่อมเยา ดังนั้น ปัญหาของการตรวจลงตราที่นักเรียนประสบ รวมทั้งปัญหานโยบายการรับนักเรียนต่างชาติที่ไม่ชัดเจนของมหาวิทยาลัยในเมืองปูเน่ปัจจุบันจะเป็นอุปสรรคที่สำคัญต่อนักเรียนไทยที่สนใจมาศึกษาที่อินเดียซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องได้รับการแก้ไขโดยเร็ว ทั้งนี้ หากมีนักเรียนสนใจหาข้อมูลศึกษาที่ปูเน่ สามารถเข้าชมข่าวสารที่เว็บไซต์ http://www.learningpune.com/  ซึ่งเป็นเว็บไซต์ที่นักเรียนไทยร่วมกันจัดทำ นอกจากนี้ สถานกงสุลใหญ่ฯ ได้ให้เงินสนับสนุนนักเรียนไทยในโครงการจัดทำวีดีทัศน์เรื่องการเรียนที่เมืองปูเน่ เพื่อเป็นสื่อให้ข้อมูลเรื่องการเตรียมความพร้อมสำหรับนักเรียนที่สนใจมาศึกษาที่ปูเน่ด้วย โดยจะแจกไปที่หน่วยงานไทยที่เกี่ยวข้องต่อไป

ชาวไต้หวันและชาวต่างชาติสนใจเข้าร่วมงาน “สัปดาห์ประเทศไทย 2554” และงาน “เทศกาลวัฒนธรรมไทย 2554”

ช่วงการสัมมนาการลงทุนในประเทศไทย

นายวิบูลย์ คูสกุล ผู้อำนวยการใหญ่สำนักงานการค้าและเศรษฐกิจไทย ประธานจัดงานกล่าวเปิดงาน
ท่านผู้อำนวยการใหญ่ถ่ายภาพร่วมกับศิลปินที่มาร่วมเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมการแสดงอันตระกานตา

การแสดงบนเวทีกลางแจ้งที่ได้รับความสนใจจากชาวไต้หวัน

วงดนตรีสุนทราภรณ์ที่ไปขับกล่อมในวันงาน

หุ่นละครเล็ก คลองบางหลวง คณะนายคำนายที่สร้างความตื่นตาตื่นใจให้ผู้ชม

ชาวไต้หวันและชาวต่างชาติสนใจเข้าร่วมงาน “สัปดาห์ประเทศไทย 2554” และงาน “เทศกาลวัฒนธรรมไทย 2554”

สำนักงานการค้าและเศรษฐกิจไทย ร่วมกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย กองแรงงานเทศบาลไทเป กองวัฒนธรรมเทศบาลไทเป เทศบาลเมืองเถาหยวน เทศบาลไถจง และ Taiwan National Symphony Orchestra จัดงาน “สัปดาห์ประเทศไทย 2554” (Thailand Week 2011) และงาน “เทศกาลวัฒนธรรมไทย 2554” (Thai Cultural Festival 2011) ขึ้นระหว่างวันที่ 7 – 12 เมษายน 2554

กิจกรรมเปิดงาน “สัปดาห์ประเทศไทย 2554” ได้แก่ การสัมมนาด้านการลงทุนในประเทศไทย “Going Green for the Future, Invest Thailand” ซึ่งจัดโดยซึ่งจัดโดยสำนักงานเศรษฐกิจการลงทุน ไทเป ในวันที่ 7 เมษายน 2554 ณ โรงแรม Shangri-La Far-Eastern Plaza Hotel ไถหนาน โดยนายวิบูลย์ คูสกุล ผู้อำนวยการใหญ่สำนักงานการค้าและเศรษฐกิจไทย ได้เป็นประธานกล่าวเปิดการสัมมนาฯ ได้ย้ำถึงจุดแข็งของไทยในการเป็นฐานการลงทุน และเน้นถึงศักยภาพของประเทศไทย ที่เป็นศูนย์กลางโครงข่ายคมนาคม ASEAN Connectivity โดยเฉพาะในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในการเป็นฐานการลงทุนในอุตสาหกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อม อาทิ การผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์

การสัมมนาฯ ผู้สนใจเข้าร่วมรับฟังการสัมมนากว่า 60 คน ทั้งนี้ ผู้เข้าร่วมสัมมนายังได้มีโอกาสรับฟังข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์สำหรับนักลงทุนจากนายโชคดี แก้วแสง รองเลขาธิการสำนักงานส่งเสริมการลงทุนแห่งประเทศไทย ทั้งนี้ ภายหลังการสัมมนา ผู้เข้าร่วมสัมมนาแสดงความสนใจลงทุนในประเทศไทยและได้ซักถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการลงทุนในประเทศไทย

ในระหว่างวันที่ 8 – 12 เมษายน 2554 สำนักงานการค้าและเศรษฐกิจไทยได้จัดงาน “เทศกาลวัฒนธรรมไทย 2554” (Thai Cultural Festival 2011) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของงาน “สัปดาห์ประเทศไทย 2554” (Thailand Week 2011) ประกอบด้วยการแสดงของวงสุนทราภรณ์ ร่วมกันหุ่นละครเล็กคลองบางหลวง คณะคำนาย ในระหว่างงานสงกรานต์ประจำปี 2554 ของเทศบาลไทเป และเทศบาลเมืองเถาหยวนในวันที่ 9 และ 10 เมษายน 2554 ต่อด้วยการแสดงที่โรงละคร Family Theater ณ เทศบาลไทเป ในวันที่ 11 เมษายน 2554 และการแสดงที่โรงละคร Chung-Hsin Hall เมืองไถจง ในวันที่ 12 เมษายน 2554 โดยมีชาวไต้หวัน และคนไทยที่พำนักอยู่ในไต้หวัน รวมถึงคณะทูต และชาวต่างชาติในไต้หวัน ให้ความสนใจเข้าร่วมชมการแสดงจำนวนมาก

การแสดงของวงสุนทราภรณ์ ซึ่งเป็นวงดนตรีที่มีชื่อเสียงที่สุดของประเทศไทยและครูเอื้อ สุนทรสนาน ผู้ก่อตั้งวงสุนทราภรณ์ก็ได้รับการยกย่องจากองค์การยูเนสโก (UNESCO) ให้เป็นบุคคลสำคัญของโลก (Personality of the Year) ในโครงการเฉลิมฉลองบุคคลสำคัญและเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ ประจำปี 2553-2554 ร่วมถึงการแสดงชุดหนุมานจับนางเบญจกายของหุ่นละครเล็กคลองบางหลวง คณะคำนาย ได้มีส่วนสำคัญในการเผยแพร่ศิลปะและวัฒนธรรมไทยให้เป็นที่รู้จักในหมู่ชาวไต้หวัน และชาวต่างชาติในไต้หวัน

งาน “สัปดาห์ประเทศไทย 2554” ซึ่งมีกิจกรรมที่ครอบคลุมมิติทั้งด้านการค้าการลงทุน และด้านวัฒนธรรม จัดขึ้นเพื่อมุ่งหวังให้ชาวไต้หวันมีความเข้าใจเกี่ยวกับประเทศไทยในด้านต่างๆ ซึ่งจะนำไปสู่การส่งเสริมความสัมพันธ์ที่ดีในระดับประชาชนต่อประชาชน ขยายโอกาสในด้านต่างๆ ทั้งด้านเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว

ที่มา: เว็บไซต์สำนักงานการค้าและเศรษฐกิจไทย ไทเป http://www.tteo.org.tw/thai/activities/?news=612

แรงงานไทยในสิงคโปร์


แรงงานไทยในสิงคโปร์



ปัจจุบันมีแรงงงานไทยในประเทศสิงคโปร์ประมาณ 40,000 คน โดยส่วนใหญ่ประมาณ 33,000 คน หรือร้อยละ 83 เป็นแรงงานก่อสร้างและแรงงานในอู่ต่อเรือ / ซ่อมเรือ และคนรับใช้ในบ้าน ที่เหลือเป็นแรงงานระดับสูงและระดับบริหารที่มีใบอนุญาตทำงานแบบ E pass และ S pass ประมาณ 7,000 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 17 ของแรงงานไทยทั้งหมด

ปัญหาของแรงงานไทย

นอกเหนือจากปัญหาการร้องทุกข์ทั่วไป อาทิ การขอกลับบ้านก่อนครบสัญญา ขอคืนภาษี ข้อเรียกร้องด้านสิทธิประโยชน์ต่างๆ รวมถึงความเดือดร้อนส่วนบุคคลแล้ว ปัญหาในภาพรวมของแรงงานไทยคือ

1. ปัญหาในการต่อใบอนุญาตทำงาน

เนื่องจากสิงคโผร์ได้ขยายเวลาของแรงงานต่างชาติประเภทมีฝีมือ (Levy ต่ำ) ซึ่งเป็นแรงงานที่เคยผ่านการทดสอบฝีมือ และส่วนใหญ่เคยเข้ามาทำงานในปประเทศสิงคโปร์แล้ว และสามารถจ้างงานได้ติดต่อกันสูงสุดได้ไม่เกิน 18 ปี หรือจนกว่าอายุจะมากเกินกว่า 50 ปี ทำให้เกิดการจ้างงานตรงระหว่างนายจ้างกับแรงงานไทย โดยไม่ผ่านสำนักงานแรงงานในประเทศสิงคโปร์ (สนร.สิงคโปร์) ทำให้เกิดปัญหาอย่างน้อย 2 ประการได้แก่

1.1 แรงงานไทยดังกล่าวไม่ได้มารายงานตัวต่อ สนร.สิงคโปร์ ทำให้ไม่ทราบจำนวนแรงงานไทยในสิงคโปร์ที่แท้จริง

1.2 เมื่อแรงงานเหล่านี้ประสบปัญหาก็ไม่สามารถขอรับความช่วยเหลือจากกองทุนเพื่อช่วยเหลือคนหางานไปทำงานในต่างประเทศได้ เนื่องจากขาดสมาชิกภาพ หรือไม่ได้สมัครเป็นสมาชิก ซึ่งจะต้องสมัครที่กรมการจัดหางานก่อนการเดินทางไปทำงานในต่างประเทศ

2. ปัญหาด้านภาษา

แรงงานไทยแม้จะเป็นแรงงานที่มีฝีมือแต่มีปัญหาด้อยด้านภาษาอังกฤษ ทำให้ไม่สามารถติดต่อสื่อสารกับนายจ้างได้ จึงเสียโฮกาสที่จะได้รับการแต่งตั้งให้รับตำแหน่งสูงขึ้น เช่น หัวหน้างาน

3. ปัญหาการกระจายตัวของแรงงานไทย

แรงงานไทยมีอยู่กระจัดกระจายทั่วไปในสิงคโปร์ เมื่อประสบปัญหา ไม่สามารถขอความช่วยเหลือจากใคร แม้จะมีสถานเอกอัครราชทูต ณ สิงคโปร์ สนร. สิงคโปร์ และสมาคมเพื่อนแรงงานไทยซึ่งมีที่ทำงานอยู่ที่โกลเดนมาย ซ่างเป็นศูนย์รวมพบปะระหว่างคนไทยและแรงงานไทยแล้ว ก็ยังให้ความช่วยเหลือได้ไม่ทั่วถึง

4. ปัญหาด้านความประพฤติ

แรงงานไทยส่วนใหญ่มักใช้เวลาว่างด้วยการจับกลุ่ม ดื่มสุราในบริเวณโกลเดนมาย ทำให้เกิดปัญหาอื่นๆตามมา รวมทั้งได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ และตำหนิจากนายจ้างท้องถิ่น รวมถึงชุมชนใกล้เคียงที่ได้รับความเดือดร้อน



ที่มา: สำนักงานแรงงานไทยในประเทศสิงคโปร์ 20 มีนาคม 2554

วันพุธที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2554

แนวโน้มความต้องการแรงงานต่างชาติของสิงคโปร์


แนวโน้มความต้องการแรงงานต่างชาติของสิงคโปร์



สิงคโปร์เป็นประเทศเล็กมีพื้นที่เพียง 710.3 ตารางกิโลเมตร มีประชากรเพียง 5.08 ล้านคน มีการวางแผนในระยะยาวที่ดีและต่อเนื่อง มีโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่าที่ต้องพึ่งพาแรงงานต่างชาติในทุกระดับเป็นจำนวนมาก ในขณะเดียวกันประชาชนชาวสิงคโปร์กดดันให้รัฐบาลลดการพึ่งพาแรงงานจากต่างประเทศ รัฐบาลสิงคโปร์จึงได้กำหนดยุทธศาสตร์การเพิ่มผลิตภาพแรงงานที่ทำงานอยู่ให้สูงขึ้น ส่งเสริมให้นายจ้างเพิ่มทักษะฝีมือแรงงาน สนับสนุนให้ผู้ประกอบการนำนวตกรรมและเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ในการผลิตและการประกอบการมากขึ้น ขณะเดียวกันก็เพิ่มอัตราค่าธรรม้เนียมการจ้างแรงงานต่างชาติให้สูงขึ้น เพื่อหลีกเลี่ยงให้นายจ้างว่าจ้างแรงงานต่างชาติ และมีการควบคุมปริมาณแรงงานต่างชาติ

ภาคธุรกิจ่ที่ต้องการแรงงานต่างชาติจำนวนมาก ประกอบด้วย

1. งานภาคก่อสร้าง สิงคโปร์ยังคงมีโครงการขนาดใหญ่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เช่น โครงการธุรกิจการเงินเขตมารีนา โครงการก่อสร้างรถไฟใต้ดิน โครงการก่อสร้างโรงงาปิโตรเคมีของบริษัท Exxon ที่มีขนาดใหญ่เป็นที่สองของโลก โครงการของบริษัท Shell โครงการพัฒนาอาคารที่พักอาศัย และอาคารพาณิชย์ต่างๆ ทั้งนี้ ตำแหน่งงานทาสำคัญและเป็นที่ต้องการคือ วิศวกรและช่างฝีมือ เช่น ช่างสำรวจ ช่างเชื่อม ช่างประกอบท่อ ช่างประปา และช่างไฟฟ้า

2. งานภาคบริการ สิงคโปร์ยังมีโครงการขนาดใหญ่ที่จะผลักดันเศรษฐกิจและการสร้างงาน เช่น โครงการ Integrated Resorts ซึ่งมีความต้องการแรงงานมากกว่า 20,000 ตำแหน่ง ธุรกิจคาสิโน ธุรกิจโรงแรม ธุรกิจท่องเที่ยว ธุรกิจการประชุม ธุรกิจการนวดสปา และธุรกิจร้านอาหารและเครื่องดื่มเป็นต้น

3. งานอุตสาหกรรมอื่นๆ อาทิ อุตสาหกรรมเคมีของบริษัท Exxon และ Shell อุตสาหกรรม Biomedical Sciences รวมทั้ง Research & Development และการผลิตยาที่มีบริษัทผลิตยาชั้นนำของโลกมาตั้งโรงงานที่สิงคโปร์ อุตสาหกรรมอากาศยาน (Aerospace) ศูนย์ซ่อมเครื่องบินของภูมิภาค มีการตั้งโรงงานของบริษัทโรลสรอยล์ เพื่อใช้เป็นเป็นยโรงงานทดสอบและประกอบรถยนต์ อุตสาหกรรมด้านโลจิสติก ซึ่งถือว่าสิงคโปร์เป็นศูนย์กลางด้านโลจิสติกที่สำคัญของโลก เนื่องจากมีความได้เปรียบในหลายๆด้าน เช่น ด้าน IT ด้านโครงสร้างพื้นฐาน ระบบเชื่อมต่อ ระบบภาษี เป็นต้น

ที่มา: สำนักงานแรงงานไทยในสิงคโปร์ 20 มีนาคม 2554

การติดตามสถานการณ์แผ่นดินไหวในญี่ปุ่น (27 เมษายน 2554)


การติดตามสถานการณ์แผ่นดินไหวในญี่ปุ่น (27 เมษายน 2554)


สถานะ ณ เวลา 20.00 น. วันพุธที่ 27 เมษายน 2554


1. สถานการณ์ในญี่ปุ่น

1.1 สถิติ ผู้เสียชีวิตล่าสุดรวม 14,517 ราย สูญหาย 11,432 ราย (จากรายงานของสำนักงานตำรวจแห่งชาติญี่ปุ่น ณ วันที่ 27 เม.ย. 2554 เวลาประเทศไทย 14.00 น.)

1.2 การเกิดอาฟเตอร์ช็อค (Aftershock)

เมื่อวันที่ 27 เม.ย. 2554 ได้เกิดแผ่นดินไหวในจังหวัดต่าง ๆ ตามเวลาประเทศไทย ดังนี้

- เวลา 19.27 น. เกิดแผ่นดินไหวจุดศูนย์กลางที่ จ.ฟุคุชิมะ วัดแรงสั่นสะเทือนได้ 3.8 ริกเตอร์

- เวลา 17.27 น. เกิดแผ่นดินไหวจุดศูนย์กลางที่ จ.นากาโนะ วัดแรงสั่นสะเทือนได้ 4.5 ริกเตอร์

- เวลา 10.55 น. เกิดแผ่นดินไหวจุดศูนย์กลางที่ จ.ฟุคุชิมะ วัดแรงสั่นสะเทือนได้ 4.3 ริกเตอร์

อย่างไรก็ดี ยังไม่มีรายงานความเสียหายและสึนามิจากเหตุการณ์ดังกล่าว

1.3 รายงานสถานการณ์โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุคุชิมะที่ 1 (ฟุคุชิมะ ไดอิฉิ)

บริษัทการไฟฟ้าโตเกียว (TEPCO) ได้เริ่มทดลองฉีดน้ำลงไปในน้ำเตาปฏิกรณ์หมายเลข 1 เพื่อทดสอบการควบคุมอุณหภูมิของแท่งเชื้อเพลิงใช้แล้วและตรวจสอบการรั่วไหลของน้ำในอาคารเตาปฏิกรณ์ซึ่งเป็นหนึ่งในการดำเนินการตามแผนงานเพื่อควบคุมอุณหภูมิของแท่งเชื้อเพลิงใช้แล้วในเตาปฏิกรณ์หมายเลข 1 และ 3 ภายในเดือนกรกฎาคม 2554 ตามแผนงานที่ประกาศเมื่อวันที่ 17 เม.ย. 2554 และได้ประกาศว่าจะเริ่มสร้างบ่อเพื่อเก็บน้ำที่ปนเปื้อนกัมมันตรังสีปริมาณ 70,000 ตัน ในเดือน พ.ค. 2554 โดยความร่วมมือกับสหรัฐฯ และฝรั่งเศส โดยมีแผนจะสร้างระบบคัดแยกกัมมันตรังสีออกจากน้ำในเดือน ก.ค. 2554 เพื่อนำน้ำดังกล่าวไปใช้หล่อเย็นเตาปฏิกรณ์

1.4 การอพยพคนและปฏิกิริยาจากต่างชาติ

1.4.1 ณ วันที่ 25 เม.ย. 2554 ได้มี สอท. ของประเทศต่าง ๆ ในกรุงโตเกียว รวมทั้งสิ้น 2 ประเทศ ประกาศปิดทำการชั่วคราว และสอท. ของอีก 2 ประเทศ ย้ายที่ทำการไปยังภาคตะวันตกของญี่ปุ่น อาทิ นครโอซากา เมืองโกเบ รายละเอียดของ สอท. ทั้ง 5 แห่งปรากฏตามเอกสารแนบ 1

1.4.2 รัฐบาลประเทศต่าง ๆ รวม 21 ประเทศออกคำแนะนำการเดินทาง (Travel Advisory) ไปญี่ปุ่น รวมถึงมาตรการในการอพยพพลเมืองของแต่ละประเทศ

2. การดำเนินการของไทย

2.1 การติดตามระดับกัมมันตรังสี

สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ (ปส.) รายงานว่า ระดับกัมมันตรังสีที่ตำแหน่งระยะห่าง 30 กม. จากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุคุชิมะ วันที่ 26 เม.ย. 2554 เวลา 14.00 น. อยู่ที่ระดับ 19.4 ไมโครซีเวิร์ท/ชม. เท่ากับปริมาณที่วัดได้เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2554 เวลา 14.00 น. ทั้งนี้ ระดับกัมมันตรังสีตามเมืองต่าง ๆ ในญี่ปุ่นยังคงอยู่ในระดับปกติและไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ (ระดับกัมมันตรังสีที่ จ.อิวาเตะ อยู่ที่ 0.025 ไมโครซีเวิร์ท/ชม. จ.อิบารากิ อยู่ที่ 0.118 ไมโครซีเวิร์ท/ชม. ที่โตเกียวอยู่ที่ 0.070 ไมโครซีเวิร์ท/ชม.)

2.2 การใช้บริการสายการบิน

บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) รายงานอัตราผู้ใช้บริการสายการบินเมื่อวันที่ 22 เม.ย. 2554 ดังนี้

กรุงเทพฯ – นาริตะ

เที่ยวบิน TG676 เวลา 07.35 – 15.45 น. อัตราผู้ใช้บริการสายการบิน 37.82% (ลดลงจาก 74.36% ในวันก่อน)

เที่ยวบิน TG642 เวลา 23.50 – 08.10 น. อัตราผู้ใช้บริการสายการบิน 52.10% (ลดลงจาก 89.56% ในวันก่อน)

นาริตะ – กรุงเทพฯ

เที่ยวบิน TG643 เวลา 12.00 – 16.30 น. อัตราผู้ใช้บริการสายการบิน 92.58% (เพิ่มขึ้นจาก 86.64% ในวันก่อน)

เที่ยวบิน TG677 เวลา 16.55 – 21.25 น. อัตราผู้ใช้บริการสายการบิน 46.15% (เพิ่มขึ้นจาก 24.68% ในวันก่อน)

2.3 การดูแลคนไทยในญี่ปุ่น

2.1.1 ตามที่ได้เกิดแผ่นดินไหวและ Aftershock ในบริเวณต่าง ๆ ในญี่ปุ่น ตั้งแต่วันที่ 11 เม.ย. 2554 สอท. ณ กรุงโตเกียว ได้ประสานสอบถามความเป็นอยู่ของคนไทยในพื้นที่และทราบว่าคนไทยยังปลอดภัยดี แม้บางรายจะรู้สึกตกใจในสถานการณ์ที่เกิดขึ้น และรู้สึกกังวลใจเรื่องความเป็นอยู่และความปลอดภัย แต่ในชั้นนี้ยังไม่ได้รับรายงานคนไทยเสียชีวิตหรือได้รับบาดเจ็บจากวิบัติภัยดังกล่าว

2.1.2 ข่าวสารนิเทศกระทรวงการต่างประเทศ เรื่อง “คำแนะนำในการเดินทางไปประเทศญี่ปุ่นฉบับล่าสุด” ซึ่งได้ประกาศเมื่อวันที่ 25 เม.ย. 2554 มีเนื้อหาดังนี้

“ตามที่กระทรวงการต่างประเทศได้ประกาศเตือนขอให้คนไทยติดตามข่าวสารและปฏิบัติตามคำแนะนำของกระทรวงฯ และสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโตเกียว เกี่ยวกับการเดินทางไปญี่ปุ่นนั้น ขอเรียนว่า ในชั้นนี้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของญี่ปุ่นยังมีแผ่นดินไหวจากอาฟเตอร์ช็อค (Aftershock) อยู่เป็นระยะ ประกอบกับปัญหาโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ยังไม่สามารถแก้ไขได้ กระทรวงฯ จึงขอแนะนำให้หลีกเลี่ยงการเดินทางเข้าพื้นที่ดังกล่าว ส่วนผู้ที่มีความจำเป็นต้องเดินทางเข้าพื้นที่ดังกล่าว ขอให้ใช้ความระมัดระวังอย่างเต็มที่และติดตามข้อมูลข่าวสาร
อย่างใกล้ชิด”

2.1.3 สอท. ได้ลงคำแนะนำในการเดินทาง ทาง twitter@rtetokyo ดังนี้

(1) โดยที่ขณะนี้ทางด้านภาคตะวันออกเฉียงเหนือของญี่ปุ่นยังมีแผ่นดินไหวจาก aftershock อยู่เป็นระยะ ประกอบกับปัญหาโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ จึงขอแนะนำให้หลีกเลี่ยงการเดินทางเข้าพื้นที่ดังกล่าว ส่วนผู้ที่มีความจำเป็นต้องเดินทางเข้าพื้นที่ดังกล่าว ขอให้ใช้ความระมัดระวังอย่างเต็มที่และติดตามข้อมูลข่าวสารอย่างใกล้ชิด

(2) ขอให้ผู้ที่เดินทางไปญี่ปุ่นแจ้งข้อมูลการเดินทาง ที่อยู่ และหมายเลขโทรศัพท์ที่สามารถติดต่อได้ในญี่ปุ่นให้ สอท. ทราบ ทางหมายเลขโทรศัพท์ +813-3222-4101 ต่อ 200 และ 275 (เวลาราชการ) หรือ +8190-8849-7785, +8190-3408-7786, +8190-1215-9369, -8190-1216-3168, +8190-1216-1871 และทางโทรสาร +813-3222-4122 หรือ E-mail: rtetokyo@hotmail.com (24 ช.ม.)

(3) สำหรับนักเรียน / นักศึกษา ที่ศึกษาในญี่ปุ่น หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการเปิดเรียนและเรื่องอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง สามารถสอบถามได้ที่ สนง.ผู้ดูแลนักเรียนในญี่ปุ่น หมายเลขโทรศัพท์ +813-5424-0652 หรือ โทรสาร + 813-5424-0658 หรือ E-mail: csctokyo@sepia.ocn.ne.jp

2.4 การให้ความช่วยเหลือของไทยต่อญี่ปุ่น

ยอดเงินบริจาคผ่านบัญชี “เงินบริจาคช่วยเหลือผู้ประสบภัยญี่ปุ่น” ณ วันที่ 25 เมษายน 2554 ณ เวลา 14.00 น. จำนวน 57,432,395.65 บาท (ทั้งนี้ กระทรวงฯ ได้โอนเงินงวดแรกจำนวน 125 ล้านบาท ให้ สอท. ณ กรุงโตเกียว เมื่อวันที่ 1 เม.ย. 2554 เพื่อให้ สอท. ณ กรุงโตเกียวนำไปมอบให้แก่สภากาชาดญี่ปุ่นต่อไปแล้ว)

2.5 สถิติคนไทย

2.5.1 จำนวนคนไทยในญี่ปุ่น 40,957 คน (ข้อมูลของ สนง. ตรวจคนเข้าเมืองญี่ปุ่น) โดยเป็นคนไทยที่พำนักในพื้นที่เสี่ยงต่อกัมมันตรังสี 11 จังหวัด (ฮอกไกโด อะโอโมริ อิวาเตะ มิยาหงิ ฟุคุชิมะ อิบารากิ โทชิหงิ ชิบะโตเกียว กุมมะ คาโงชิมา) 19,547 คน และคนไทยในพื้นที่เสี่ยงสูงต่อกัมมันตรังสี 3 จังหวัด (อิวาเตะ มิยาหงิ ฟุคุชิมะ) จำนวน 488 คน

2.5.2 จำนวนนักเรียนไทยในญี่ปุ่น 2,429 คน (ข้อมูล สนง. ผู้ดูแลนักเรียนไทย) ล่าสุดติดต่อได้ 568 คน

2.5.3 จำนวนแรงงานไทยในญี่ปุ่น ประมาณ 19,541 คน (เป็นแรงงานถูกกฎหมาย 13,541 คน แรงงานผิดกฎหมายประมาณ 6,000 คน) ล่าสุดติดต่อแรงงานถูกกฎหมายได้ 6,841 คน

2.5.4 จำนวนคนไทยที่ตรวจสอบแล้วว่าปลอดภัยรวม 11,156 คน (ข้อมูลของสถานเอกอัครราชทูตฯ รวบรวมจากทุกสำนักงานฯ และเครือข่ายชุมชนคนไทย)

2.5.5 จำนวนคนไทยที่เดินทางกลับ ปทท. ระหว่างวันที่ 12 มี.ค. - 15 เม.ย. 2554 จำนวน 18,039 คน (ข้อมูลศูนย์เทคโนโลยีตรวจคนเข้าเมือง)

3. ความช่วยเหลือจากต่างประเทศ

กระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่นสรุปยอดประเทศที่เสนอให้ความช่วยเหลือ มีจำนวน 146 ประเทศ และองค์กรระหว่างประเทศ 39 แห่ง ซึ่งมีทั้งในรูปแบบเงินบริจาค สิ่งของบริจาค และผู้เชี่ยวชาญ

สอท. ณ กรุงอาบูดาบี นำคณะนักเรียน / นักศึกษา ไทย เดินทางไปประกอบศาสนกิจอุมเราะห์







สอท. ณ กรุงอาบูดาบี นำคณะนักเรียน / นักศึกษา ไทย เดินทางไปประกอบศาสนกิจอุมเราะห์


สอท. ได้นำคณะนักเรียน / นักศึกษา ไทย – มุสลิม ในยูเออี จำนวน 10 คน เดินทางไปประกอบศาสนกิจอุมเราะห์และทัศนศึกษาโบราณสถานและสถานที่สำคัญที่เกี่ยวข้องกับศาสดาและศาสนาอิสลาม ที่เมืองมะดินะห์และเมืองมักกะห์ ประเทศซาอุดิอาระเบีย ระหว่างวันที่ 24 มีนาคม – 2 เมษายน 2554 ตามโครงการเสริมสร้างประสบการณ์ชีวิตและปลูกฝังหลักศาสนาอิสลามที่ถูกต้อง ของ สถานเอกอัครราชทูต

นายสมชัย จรณะสมบูรณ์ เอกอัครราชทูต ณ กรุงอาบูดาบี ได้ให้โอวาทแก่คณะฯ ก่อนออกเดินทาง ว่า สถานเอกอัครราชทูต เล็งเห็นถึงความสำคัญของการดำเนินโครงการในครั้งนี้ เพื่อให้ นักเรียน / นักศึกษา ไทย – มุสลิม ได้รับโอกาสไปประกอบศาสนกิจในดินแดนศักดิ์สิทธิ์ อันจะเป็นการเปิดโลกทัศน์ให้แก่นักเรียนทุกคน รวมถึงเป็นการส่งเสริมในเรื่องการเป็นศาสนิกชนที่ดี ให้ได้มีโอกาสปฏิบัติตามหลักคำสอนของศาสดาศาสนาอิสลาม นอกจากนี้ สถานเอกอัครราชทูต ได้ประสานกับ สถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองเจดดาห์ เพื่อให้คณะฯ ได้เข้าเยี่ยมคารวะ กงสุลใหญ่ ณ เมืองเจดดาห์ ด้วย

การดำเนินโครงการในครั้งนี้ มีผู้เข้าร่วม รวม 11 คน ประกอบด้วย คณะ นักเรียน /นักศึกษา ไทย – มุสลิม จำนวน 10 คน และ เจ้าหน้าที่สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงอาบูดาบี 1 คน โดยทั้งหมดได้ออกเดินทางโดยรสบัสจากรุงอาบูดาบี เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2554 ไปยังเมืองมะดินะห์ เพื่อทัศนศึกษาสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ของศาสนาอิสลาม อาทิ สุสานศาสดามูฮัมหมัด สุสานภริยาศาสดาฯ มัสยิดนาบาวี ซึ่งเป็นมัสยิดที่ใหญ่เป็นอันดับสองของโลก ภูเขาอูฮุด และสูสานซูฮาดา ฯลฯ รวมถึงได้พบปะกับ นศ. ไทย และชุมชนไทย – มุสลิม ที่เมืองดังกล่าวด้วย ต่อจากนั้น ในวันที่ 28 มีนาคม คณะฯ ได้ออกเดินทางไปประกอบพิธีอุมเราะห์ที่เมืองมักกะห์ ตลอดจนได้เยี่ยมชมมัสยิดฮารอม ซึ่งเป็นมัสยิดที่ใหญ่ที่สุดในโลก และเป็นที่ประดิษฐานของวิหารกะบะห์ และได้เข้าเยี่ยมคารวะ กสญ. ณ เมืองเจดดาห์ ด้วย

การดำเนินโครงการในครั้งนี้ประสบความสำเร็จอย่างดียิ่ง คณะ นักเรียน / นักศึกษา ได้จัดทำบันทึกรายงานผลการเดินทางต่อ สถานเอกอัครราชทูต และ รู้สึกซาบซึ้งและขอบคุณ สถานเอกอัครราชทูต และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ที่ได้ให้ให้การสนับสนุนและให้โอกาสในการสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องที่เกี่ยวกับศาสดาและศาสนอิสลามที่เป็นศูนย์รวมจิตใจของผู้เข้าร่วมทุกคน

ที่มา: ภาพและข่าวจากสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงอาบูดาบี